เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน

ประธานาธิบดีตุรกี

เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน (ตุรกี: Recep Tayyip Erdoğan, เกิด 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954) เป็นนักการเมืองชาวตุรกีซึ่งปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีตุรกีนับแต่ปี 2547 เดิมเขาเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2557 และนายกเทศมนตรีอิสตันบูลตั้งแต่ปี 2537 ถึง 2541 เขาก่อตั้งพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (AKP) ในปี 2544 และนำพรรคชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2545 2550 และ 2554 ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2557 เขามาจากภูมิหลังการเมืองอิสลามมิสต์ (Islamist) และอธิบายตนเองว่าเป็นประชาธิปไตยอนุรักษนิยม เขาส่งเสริมอนุรักษนิยมทางสังคมและนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม[1] ภายใต้รัฐบาลเขา ประชาธิปไตยในประเทศตุรกีถดถอย

เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน
Recep Tayyip Erdoğan
ประธานาธิบดีตุรกี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
28 สิงหาคม ค.ศ. 2014
นายกรัฐมนตรีอาห์เหม็ด ดาวูโตกลู (2014-16)
บีนาลี ยึลดือรึม (2016-18)
รองประธานาธิบดีฟ็วต ออคเตย์ (2018-2023)
Cevdet Yılmaz (2023-ปัจจุบัน)
ก่อนหน้าอับดุลลาห์ จึล
นายกรัฐมนตรีตุรกี
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม ค.ศ. 2003 – 28 สิงหาคม ค.ศ. 2014
ประธานาธิบดีอาห์เมต เนจเดต เซแซร์
อับดุลลาห์ จึล
ก่อนหน้าอับดุลลาห์ จึล
ถัดไปอาห์เหม็ด ดาวูโตกลู
เลขาธิการพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
14 สิงหาคม ค.ศ. 2001 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 2014
รองเมห์เมต อาลี ชาฮิน
นูมัน กูร์ตุลมุช
ก่อนหน้าตำแหน่งตั้งขึ้นใหม่
ถัดไปอาห์เหม็ด ดาวูโตกลู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1954-02-26) 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954 (70 ปี)
อิสตันบูล ตุรกี
เชื้อชาติตุรกี
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
พรรคการเมืองNational Salvation Party
(1972–1981)
Welfare Party
(1983–1998)
Virtue Party
(1998–2001)
พรรคยุติธรรมและการพัฒนา
(2001–ปัจจุบัน)
คู่สมรสEmine Gülbaran (สมรส 1978)
บุตรAhmet Burak
Sümeyye
Necmettin Bilal
Esra
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมาร์มะรา
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์เว็บไซต์รัฐบาล
เว็บไซต์ส่วนตัว

แอร์โดอันเคยเล่นฟุตบอลให้กับทีมคาซิมบาซาก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีอิสตันบูลในปี 2537 จากพรรคสวัสดิการอิสลามมิสต์ เขาถูกริบตำแหน่ง ห้ามรับตำแหน่งทางการเมือง และจำคุกสี่เดือน ฐานอ่านบทกวีซึ่งส่งเสริมมุมมองการปกครองทางศาสนาระหว่างสุนทรพจน์ในปี 2541 แอร์โดอันทิ้งนโยบายอิสลามมิสต์เปิดเผยและตั้งพรรค AKP ซึ่งเป็นอนุรักษนิยมสายกลางในปี 2544 หลังพรรคชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในปี 2555 ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค อับดุลลาห์ จึล เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลประกาศให้คำสั่งห้ามรับตำแหน่งทางการเมืองของแอร์โดอันเป็นโมฆะ แอร์โดอันเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม 2546 หลังชนะการเลือกตั้งซ่อมในจังหวัดซีร์ต[2]

รัฐบาลแอร์โดอันควบคุมการเจรจาสมาชิกภาพของตุรกีในสหภาพยุโรป การฟื้นฟูเศรษฐฏิจหลังภาวะการเงินตกต่ำในปี 2544 การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติในปี 2550 และ 2553 นโยบายต่างประเทศออตโตมันใหม่ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนน สนามบินและเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง[3][4] และสุดท้ายวิกฤตเงินตราและหนี้ตุรกีปี 2561[5][6][7] ด้วยความช่วยเหลือของขบวนการกูเลน แอร์โดอันสามารถกำราบอำนาจของกองทัพผ่านคดีความในศาล ปลายปี 2555 รัฐบาลของเขาเริ่มการเจรจาสันติภาพกับพรรคแรงงานเคอร์ดิสถานเพื่อยุติการก่อการกำเริบของพรรคฯ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2521 การหยุดยิงล้มเหลวในปี 2558 นำไปสู่การบานปลายของความขัดแย้งรอบใหม่ ในปี 2559 มีความพยายามรัฐประหารที่ไม่สำเร็จต่อแอร์โดอันและสถาบันของรัฐตุรกี เกิดการกวาดล้างและภาวะฉุกเฉินที่กำลังดำเนินอยู่ตามมา

นักรัฐศาสตร์ไม่ถือว่าประเทศตุรกีเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อีกต่อไป โดยยึดการขาดการเลือกตั้งที่อิสระและยุติธรรม การกวาดล้างและจำคุกฝ่ายตรงข้าม การจำกัดเสรีภาพสื่อและความพยายามของแอร์โดอันในการขยายอำนาจบริหารของเขาและลดความรับผิดของฝ่ายบริหารของเขา[8][9][10][11] การประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2556 เกิดจากประชาชนมองว่านโยบายเขาเป็นเผด็จการ เขาวิจารณ์ผู้ประท้วงและสั่งตำรวจปราบปราม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 22 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รัฐบาลต่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนประณามเหตุดังกล่าว เหตุนี้ยังทำให้การเจรจาสมาชิกภาพสหภาพยุโรปหยุดชะงัก หลังแตกแยกกับกูเลน แอร์โดอันประกาศการปฏิรูปตุลาการอย่างกว้างขวางซึ่งเขายืนกรานว่าจำเป็นเพื่อกวาดล้างผู้เข้ากับกูเลน แต่ถูกวิจารณ์ว่าคุกคามความเป็นอิสระของตุลาการ กรณีอื้อฉาวฉ้อราษฎร์บังหลวง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 นำไปสู่การจับกุมพันธมิตรใกล้ชิดของแอร์โดอัน และตัวเขาเองก็ถูกกล่าวโทษด้วย[12][13][14] นับแต่นั้นรัฐบาลเขาถูกวิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนและปราบปรามสื่อมวลชนและสื่อสังคม โดยสกัดกั้นการเข้าถึงวิกิพีเดีย ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊กและยูทูบในหลายโอกาส[15] รัฐบาลแอร์โดอันยุติคำสั่งห้ามตามคำสั่งศาล[16][17][18] แต่ต่อมาก็ออกคำสั่งใหม่[19][20] ในปี 2559 ประเทศตุรกีภายใต้แอร์โดอันเริ่มการกวาดล้างเสรีภาพสื่อ ในปี 2559 และ 2560 มีนักหนังสือพิมพ์ถูกขังในประเทศตุรกีมากที่สุดในโลก[21] เขาได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2561 และรับตำแหน่งประธานาธิบดีบริหารและเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 แอร์โดอันได้เปลี่ยนสถานะฮาเกียโซเฟียไปเป็นมัสยิด[22] การเปลี่ยนครั้งนั้นสร้างเสียงวิจารณ์และคัดค้านทั้งฝ่ายค้าน, ยูเนสโก, สภาคริสตจักรสากล และผู้นำนานาชาติหลายแห่ง[23][24][25]

อ้างอิง

แก้
  1. "Turkey's Davutoglu expected to be a docile Prime Minister with Erdogan calling the shots". Fox News. Associated Press. 21 August 2014. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
  2. Arda Can Kumbaracibasi (24 July 2009). Turkish Politics and the Rise of the AKP: Dilemmas of Institutionalization and Leadership Strategy. Routledge. pp. 1–2. ISBN 978-0-203-87629-9.
  3. Nick Tattersall (28 February 2013). "Erdogan's ambition weighs on hopes for new Turkish constitution". Stratejik Boyut. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-17. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  4. "Growing consumption". Metro Group. 24 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-02. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.
  5. Borzou Daragahi (25 May 2018). "Erdogan Is Failing Economics 101". Foreign Policy.
  6. "Inflation rise poses challenge to Erdogan as election looms". Financial Times. 5 June 2018.
  7. Matt O'Brien (13 July 2018). "Turkey's economy looks like it's headed for a big crash". Washington Post.
  8. Yildirim, A. Kadir; Lynch, Marc (2016-12-08). "Is there still hope for Turkish democracy?". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
  9. "Rising competitive authoritarianism in Turkey". Third World Quarterly. 2016. doi:10.1080/01436597.2015.1135732.
  10. "Turkey". freedomhouse.org (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
  11. "Turkey takes a big step toward nationalist fascism". www.washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
  12. Genç, Göksel; Esit, Elif (27 ธันวาคม 2013). "Yeni yolsuzluk dosyasının ekonomik boyutu 100 milyar dolar" [New economic corruption files valued at $100 billion]. Zaman (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2014.
  13. "100 milyar dolarlık yolsuzluk" [$100 billion dollar corruption]. Sözcü (ภาษาตุรกี). 26 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014.
  14. "Yolsuzluk operasyonunun maliyeti 100 milyar Euro" [Corruption operation costs 100 billion euros]. Milliyet (ภาษาตุรกี). 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014.
  15. "Turkey Blocks Twitter". The Washington Post. 21 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-22. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
  16. "Official in Turkey 'lift Twitter ban'". BBC News. 3 April 2014. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
  17. "Turkey lifts Twitter ban after court ruling". Reuters. 3 April 2014. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
  18. "YouTube access restored in Turkey". BBC News. 4 June 2014. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BanReimposed1
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BanReimposed2
  21. Record number of journalists jailed as Turkey, China, Egypt pay scant price for repression, Committee to Protect Journalists (December 13, 2017).
  22. "Presidential Decree on the opening of Hagia Sophia to worship promulgated on the Official Gazette". Presidency of the Republic of Turkey: Directorate of Communications (ภาษาอังกฤษ). 2020-07-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-05. สืบค้นเมื่อ 2020-07-17.
  23. "Church body wants Hagia Sophia decision reversed". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 11 July 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
  24. "Pope 'pained' by Hagia Sophia mosque decision". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 12 July 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
  25. "World reacts to Turkey reconverting Hagia Sophia into a mosque". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 10 July 2020. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)