ซุนนี

(เปลี่ยนทางจาก ซุนนีย์)

ซุนนี (อาหรับ: سُنِّي, ภาษาไทยในอดีตเรียก สุหนี่[1])[a] เป็นนิกายที่มีขนาดใหญ่สุดในศาสนาอิสลามและนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก โดยมีมุมมองว่ามุฮัมมัดไม่ได้แต่งตั้งผู้สืบทอดคนใด และอะบูบักร์ (ค. 632 – 634) เศาะฮาบะฮ์ที่ใกล้ชิดที่สุด ขึนครองเป็นเคาะลีฟะฮ์ของชุมชนมุสลิมโดยชอบธรรม โดยได้รับการแต่งตั้งในการประชุมซะกีฟะฮ์ สิ่งนี้ตรงข้ามกับมุมมองชีอะฮ์ที่ถือว่ามุฮัมมัดแต่งตั้งอะลี อิบน์ อะบีฏอลิบ (ค. 656 – 661) เป็นผู้สืบทอด กระนั้น ซุนนีก็ยกย่องอะลีร่วมกับอะบูบักร์ อุมัร (ค. 634 – 644) และอุษมาน (ค. 644 – 656) ในฐานะ 'เคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรม'

คำว่า ซุนนี หมายถึงผู้ที่ทำตามซุนนะฮ์ หลักปฏิบัติของมุฮัมมัด อัลกุรอานร่วมกับฮะดีษ (โดยเฉพาะอัลกุตุบุสซิตตะฮ์) และอิจญ์มาอ์ (ฉันทามติทางวิชาการ) เป็นรากฐานของนิติศาสตร์แบบดั้งเดิมทั้งหมดในนิกายซุนนี คำวินิจฉัยตามกฎหมายชะรีอะฮ์ได้มาจากแหล่งข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ ร่วมกับการพิจารณาถึงสวัสดิการสาธารณะและการใช้ดุลยพินิจทางกฎหมาย โดยใช้หลักการนิติศาสตร์ที่พัฒนาโดยสำนักกฎหมาย 4 สำนัก ได้แก่ ฮะนะฟี ฮันบาลี มาลิกี และชาฟิอี

ที่มาของคำ

แก้

คำว่า ซุนนี มาจาก อัสซุนนะฮ์ (السنة) แปลว่า คำพูดและการกระทำหรือแบบอย่างของศาสดามุฮัมมัด (ศ) คำว่า "ญะมาอะฮ์" คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ผู้ที่บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาคือ อะฮ์มัด บินฮันบัล (ฮ.ศ. 164-241 / ค.ศ. 780-855)

คำว่า อัสซุนนะฮ์ เป็นคำที่นบีมุฮัมมัด (ศ) มักจะใช้บ่อยครั้งในคำสั่งสอนของท่าน เช่น ในฮะดีษศอฮีฮ์ฟิกฮ์ที่บันทึกโดยอิมามอะฮ์มัด, อัตติรมีซี, อะบูดาวูด และอิบนุมาญะฮ์ ซึ่งท่านนบีได้กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงยึดมั่นใน "แนวทางของฉัน" (سُنَّتِي) และแนวทางของผู้นำที่อยู่ในแนวทางอันเที่ยงธรรมของฉัน (อัลคุละฟาอ์อัรรอชิดูน) ที่จะมาหลังฉัน จงเคร่งครัดในการยึดมั่นบนแนวทางนั้น จงกัดมันด้วยฟันกราม (คืออย่าละทิ้งเป็นอันขาด) และจงหลีกให้พ้นจากอุตริกรรมในกิจการของศาสนา เพราะทุกอุตริกรรมในกิจการศาสนานั้นเป็นการหลงผิด” [1]

อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ วะ อัลญะมาอะฮ์ (أَهْلُ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ) ก็คือ ผู้ที่ยึดมั่นในซุนนะฮ์ (แนวทางของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ)) และยึดมั่นในสิ่งที่บรรดากลุ่มชนมุสลิมรุ่นแรกยึดมั่น (บุคคลเหล่านั้นคือบรรดาศ่อฮาบะหฟิกฮ์และบรรดาตาบิอีน) และพวกเขารวมตัวกัน (เป็นญะมาอะฮ์) บนพื้นฐานของซุนนะฮ์ ซึ่งชนกลุ่มนี้อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้กล่าวถึงความประเสริฐของพวกเขาไว้ว่า บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากนครมักกะฮ์) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรจากนครมะดีนะฮ์) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งสวนสวรรค์อันหลากหลายที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเบื้องล่าง พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง (ซูเราะหฟิกฮ์อัตเตาบะหฟิกฮ์ : 100) [2]

ประวัติ

แก้

ในสมัยการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะหฟิกฮ์ คำสั่งสอนแห่งอัลกุรอานและแห่งศาสนทูตถูกละทิ้ง ชาวมะดีนะฮ์ผู้เคร่งครัดถูกได้รับความกดดันจากตระกูลอุมัยยะฮ์ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลาม และภายใต้ความกดดันนั้นได้เกิดหล่อหลอมเป็นกลุ่มผู้ยึดมั่นในแนวทางอิสลามแบบเดิม เพื่อต่อต้านตระกูลอุมัยยะฮ์ โดยเฉพาะหลังจากที่กองทัพจากชาม ในสมัยการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะฮ์ฟิกฮ์ ได้สังหารฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด (ศ) พร้อมกับญาติพี่น้อง ที่กัรบะลาอ์ 73 คนในปี ค.ศ. 680 และต่อมาในปี ค.ศ. 683 ยะซีดส่งกองทัพเพื่อโจมตีพระนครมะดีนะฮ์ที่อับดุลลอฮ์ บินอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ เป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของยะซีด และโจมตีมักกะฮ์ ที่อับดุลลอฮ์ อินนุซซุเบรสถาปนาตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งอาณาจักรอิสลาม ชาวเมืองมะดีนะฮ์ร่วมกันออกต้านทัพของยะซีด ที่นำโดยอุกบะหฟิกฮ์ ณ สถานที่ที่มืชื่อว่า อัลฮัรเราะฮ์ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จนกองทัพของยะซีดสามารถเข้าปล้นสะดมเมืองมะดีนะฮ์ เป็นเวลาสามวันสามคืนตามคำสั่งของยะซีด ทหารชาม เข่นฆ่าผู้คน และข่มขืนสตรี จนกระทั่งมีผู้คนล้มตายประมาณ 10,000 คน ในจำนวนนั้นมีบุคคลสำคัญ 700 คน นอกจากนั้นมีผู้หญิงตั้งท้องเนื่องจากถูกข่มขืนชำเราอีก 500 คน หลังจากนั้นกองทัพชามก็มุ่งสู่มักกะฮ์เพื่อปราบปรามอิบนุซซุเบร โดยเข้าเผากะอ์บะฮ์ และเข่นฆ่าผู้คน ประชาชนชาวมุสลิมต่อต้านการปกครองตลอดมา แต่แล้วในปี ค.ศ. 692 อับดุลมะลิก บินมัรวานก็ส่ง ฮัจญาจญ์ บินยูสุฟ อัษษะกอฟี มาโจมตีมักกะฮ์อีกครั้ง ครั้งนี้อับดุลลอฮ์ อิบนุซซุเบร ถูกสังหารและศพถูกตรึงที่ไม้ ปักไว้หน้ากะอ์บะฮ์ ส่วนกะอ์บะฮ์ก็ถูกทำลาย

ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนในอาณาจักรอิสลามแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มชนใหญ่ ๆ พวกที่ฝักใฝ่ทางโลกก็สนับสนุนการปกครองของตระกูลอุมัยยะฮ์ พวกที่ต่อต้านการปกครองระบอบเคาะลีฟะฮ์ ยึดถือบุตรหลานศาสนทูตเป็นผู้นำก็คือพวกชีอะฮ์ พวกที่เชื่อว่าบรรดาสาวกคือผู้นำและสานต่อสาส์นแห่งอิสลามหลังจากท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) พวกนี้คือ อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์นี้ เพราะคำว่า ซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ถูกบัญญัติขึ้นมาจริง ๆ โดยอะฮ์มัด บินฮันบัล (ค.ศ. 780-855 / ฮ.ศ.164-241) นอกจากนี้ยังมีพวกคอวาริจญ์ ที่เป็นกบฏและแยกตัวออกจากอำนาจการปกครองของอิมามอะลี เมื่อครั้งที่เป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4

ในฮิจญ์เราะหฟิกฮ์ศตวรรษที่ 3 และที่ 4 ได้มีการรวบรวมฮะดีษขึ้นมา จัดเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม ในสายอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ มีมากกว่า 10 พระวจนานุกรม ที่สำคัญคือ 6 พระวจนานุกรม ที่ผู้รวบรวมโดยอัลบุคอรี, มุสลิม, อัตตัรมีซี, อะบูดาวูด, อิบนุมาญะฮ์ และอันนะซาอี นอกจากนี้ยังมีพระวจนานุกรมที่รวบรวมโดย มาลิก บินอะนัส (เจ้าสำนักมาลิกีย์) , อะฮหมัด บินฮันบัล (เจ้าสำนักฮันบะลีย์), อิบนุคุซัยมะฮ์, อิบนุฮิบบาน และอับดุรรอซซาก ในยุคหลังนี้ได้มีการตรวจสอบสายรายงานอย่างถี่ถ้วน พระวจนานุกรมอัลบุคอรีและมุสลิมได้รับการยอมรับมากที่สุดในสังคมมุสลิมซุนนี

สำนักหรือทัศนะนิติศาสตร์อิสลาม

แก้

ชะรีอะฮ์ (شريعة) หรือนิติบัญญัติอิสลามตามทัศนะของซุนนีนั้น มีพื้นฐานมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ (อิจย์มาอ์) มติฉันท์ของเหล่าผู้รู้ และกิยาส (การเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่มีอยู่แล้ว) นิกายซุนนีมีในอดีตมี 17 สำนัก แต่ได้สูญหายไปกับกาลเวลา ในปัจจุบันนิกายซุนนีมี 4 สำนัก ที่เป็นสำนักเกี่ยวกับฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ได้แก่

  1. ฮะนะฟี (ทัศนะของอะบูฮะนีฟะหฟิกฮ์ นุอฟิกฮ์มาน บินษาบิต) -
  2. มาลีกี (ทัศนะของมาลิก บินอะนัส)
  3. ชาฟีอี (ทัศนะของมุฮัมมัดมัด บินอิดริส อัชชาฟิอีย์) - ผู้ที่ยึดถือทัศนะนี้คือ คนส่วนใหญ่ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
  4. ฮันบะลี (ทัศนะของท่านอะฮ์มัด บินฮันบัล)

ปัจจุบันมีอีกกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มที่ไม่ได้ยึดถือหรือสังกัดตนอยู่ใน 4 กลุ่มข้างต้น แต่การวินิจฉัยหลักการศาสนาจะใช้วิธีศึกษาทัศนะของทั้ง 4 กลุ่มแล้ววิเคราะห์ดูว่าทัศนะใดที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยยึดอัลกุรอานและซุนนะฮฟิกฮ์เป็นธรรมนูญสำคัญในการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ในศาสนา

สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)

แก้

นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ

  1. สำนักมุอ์ตะซิละฮ์ (معتزلة) จัดตั้งขึ้นโดยวาศิล บินอะฏออ์ (ค.ศ. 699-749) ศิษย์ที่มีความคิดแตกต่างจากฮะซัน อัลบัศรี (ค.ศ. 642-728) ผู้เป็นอาจารย์
  2. สำนักอัชอะรี มาจากแนวคิดของอะบุลฮะซัน อัลอัชชะรี (ค.ศ. 873-935) แต่ผู้ที่พัฒนาแนวคิดนี้ คือ อัลฆอซาลี นักวิชาการศาสนาและปรมาจารย์ศูฟีย์
  3. สำนักมาตุรีดี เป็นทัศนะของอะบูมันศูร อัลมาตุรีดี (มรณะ ค.ศ. 944) ในตอนแรกเป็นสำนักปรัชญาของชนกลุ่มน้อย ต่อมาเมื่อเป็นที่ยอมรับของเผ่พันธุ์เติร์ก และพวกออตโตมานมีอำนาจ ก็ได้ทำให้สำนักนี้แพร่หลายในเอเชียกลาง
  4. สำนักอะษะรี เป็นทัศนะของอะฮ์มัด บินฮันบัล ผู้เป็นเจ้าสำนักฟิกฮ์ดังกล่าวมาแล้ว

หากมุอฟิกฮ์ตะซิละหฟิกฮ์แยกตัวออกจากสำนักของฮะซัน อัลบัศรี ย่อมแสดงว่าก่อนหน้านั้นต้องมีสำนักปรัชญามาก่อนแล้ว ฮะซัน อัลบัศรี เองก็มีแนวคิดของตนเช่นกัน นั่นก็เพราะ ฮะซัน อัลบัศรี เป็นปรมาจารย์ของสำนักศูฟีที่ภายหลังแตกขยายเป็นหลายสาย

ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ระหว่างปี ค.ศ. 661 ถึงปี ค.ศ. 750 ผู้คงแก่เรียนอิสลามเน้นการศึกษาที่เกี่ยวกับอัลกุรอาน แต่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ตามมาสนับสนุนการศึกษาของกรีกและมนุษย์วิทยาตามแนวคิดของตระกูลปรัชญามุอ์ตะซีลี (Mu'tazili) ของอิสลาม ตระกูลความคิดนี้ก่อตั้งขึ้นในบาสราโดยวะศีล อิบุน อะฏอ (واصل بن عطاء‎ - Wasil ibn Ata) (ค.ศ. 700–ค.ศ. 748) ที่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าอัลกุรอานมาจากอัลลอฮ์และอัลลอฮฺมีพระประสงค์อย่างเดียวคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ ปรัชญานี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยตระกูลปรัชญาอัชชาริยยะห์ (الأشاعرة - Ash'ariyyah) และ อาษาริยยะห์ (Athariyyah) ซึ่งเป็นตระกูลปรัชญาของซุนนีย์

ดังนั้น “ประตูแห่งอิญฏีหะ” (Gates of Ijtihad (اجتهاد) ) จึงเปิดขึ้นที่ทำให้เกิดการโต้แย้งกันภายในแวดวงระหว่างความคิดของปรัชญาตระกูลต่างๆ ของอิสลาม

อ้างอิง

แก้
  1. "สุหนี่". พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร.
  2. John Richard Thackrah (2013). Dictionary of Terrorism (2, revised ed.). Routledge. p. 252. ISBN 978-1135165956.
  3. Nasir, Jamal J., บ.ก. (2009). The Status of Women Under Islamic Law and Modern Islamic Legislation (revised ed.). Brill. p. 11. ISBN 978-9004172739.
  4. George W. Braswell (2000). What You Need to Know about Islam & Muslims (illustrated ed.). B&H Publishing Group. p. 62. ISBN 978-0805418293.
  5. Burton, John (1996). An Introduction to the Hadith. Edinburgh University Press. p. 201

หมายเหตุ

แก้
  1. มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ (อาหรับ: أهل السنة, แปลตรงตัว'ผู้คนแห่งซุนนะฮ์') การศึกษาวิชาการยังเรียกเป็น นิกายซุนนี (อังกฤษ: Sunnism) และบางครั้งเรียกเป็น อิสลามดั้งเดิม (Orthodox Islam)[2][3][4] แม้ว่านักวิชาการบางคนมองว่าการแปลนี้ไม่เหมาะสม[5]

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Ahmed, Khaled. Sectarian war: Pakistan's Sunni-Shia violence and its links to the Middle East (Oxford University Press, 2011).
  • Charles River Editors. The History of the Sunni and Shia Split: Understanding the Divisions within Islam (2010) 44pp excerpt; brief introduction.
  • Farooqi, Mudassir, Sarwar Mehmood Azhar, and Rubeena Tashfeen. "Jihadist Organizations History and Analysis." Journal of Social, Political, and Economic Studies 43.1/2 (2018): 142–151. online
  • Gesink, Indira Falk. Islamic reform and conservatism: Al-Azhar and the evolution of modern Sunni Islam (Tauris Academic Studies, 2010)
  • Haddad, Fanar. Understanding 'Sectarianism': Sunni-Shi'a Relations in the Modern Arab World (Oxford UP, 2020).
  • Haddad, Fanar. "Anti-Sunnism and anti-Shiism: Minorities, majorities and the question of equivalence." Mediterranean Politics (2020): 1–7 online[ลิงก์เสีย].
  • Halverson, Jeffry. Theology and creed in Sunni Islam: the Muslim Brotherhood, Ash'arism, and political Sunnism (Springer, 2010).
  • Hazleton, Lesley. After the prophet: the epic story of the Shia-Sunni split in Islam (Anchor, 2010).
  • Kamolnick, Paul. The Al-Qaeda Organization and the Islamic State Organization: History, Doctrine, Modus, Operandi, and US Policy to Degrade and Defeat Terrorism Conducted in the Name of Sunni Islam (Strategic Studies Institute, United States Army War College, 2017) online.
  • Khaddour, Kheder. Localism, War, and the Fragmentation of Sunni Islam in Syria (Carnegie Endowment for International Peace., 2019) online.
  • McHugo, John. A Concise History of Sunnis and Shi'is (2018) excerpt
  • Nuruzzaman, Mohammed. "Conflicts in Sunni Political Islam and Their Implications." Strategic Analysis 41.3 (2017): 285–296 online[ลิงก์เสีย].
  • Nydell, Margaret K. Understanding Arabs: A guide for modern times (3rd ed. Hachette UK, 2018).
  • Patler, Nicholas (2017). From Mecca to Selma: Malcolm X, Islam, and the Journey Into the American Civil Rights Movement. The Islamic Monthly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  • Tezcan, Baki. "The Disenchantment of Sufism, the Rationalization of Sunni Islam, and Early Modernity." Journal of the Ottoman and Turkish Studies Association 7.1 (2020): 67–69 online.
  • Wheeler, Branon. Applying the Canon in Islam: The Authorization and Maintenance of Interpretive Reasoning in Ḥanafī Scholarship, SUNY Press, 1996.
  •   "Sunnites" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). 1911.

ออนไลน์

แก้