อะบูซะอีด อัลฮะซัน อิบน์ อะบิลฮะซัน ยะซาร อัลบัศรี หรือ มักเรียกกันว่า ฮะซัน อัลบัศรี (อาหรับ: الحسن البصري, อักษรโรมัน: Al-Ḥasan al-Baṣrī; 642 - 15 ตุลาคม 728) หรือในชื่อ ฮะซันแห่งบัศเราะฮ์ เป็นนักเผยแพร่ชาวมุสลิมยุคแรก, ผู้สมถะ, นักศาสนศาสตร์, นักตัฟซีร, นักปราชญ์ และผู้พิพากษา[1] เกิดในอัลมะดีนะฮ์ ในปี 642[2]

ฮะซัน อัลบัศรี
คำนำหน้าชื่อชัยคุลอิสลาม
อิมามแห่งบรรดาผู้สมถะ
อิมามแห่งบรรดาตาบิอีน
อิมามแห่งบัศเราะฮ์
ตะเกียงแห่งบัศเราะฮ์
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 642
ฮ.ศ. 21
มรณภาพ15 ตุลาคม ค.ศ. 728
วันศุกร์ที่ 5 เราะญับ ฮ.ศ. 110
ศาสนาอิสลาม
ภูมิภาคตะวันออกกลาง
นิกายซุนนี
ลัทธิอะษะรียะฮ์
ตำแหน่งชั้นสูง
มีอิทธิพลต่อ

ชีวประวัติ แก้

ฮะซันเกิดที่อัลมะดีนะฮ์ ในปีคริสตศักราช 642[3] แม่ของเขาชื่อ ค็อยเราะฮ์ เป็นสาวใช้ของหนึ่งในภรรยาของนบีมุฮัมมัดคือ อุมม์ ซะลามะฮ์ (เสียชีวิต 683) ในขณะที่พ่อของเขา เปโรซ เป็นทาสชาวเปอร์เซีย ที่มีพื้นเพมาจากภาคใต้ของอิรัก[4][5] ตามที่มีรายงาน ฮะซันเติบโตในมะดีนะฮ์ ในช่วงชีวิตวัยเด็ก ก่อนที่ครอบครัวของเขาจะย้ายไปที่บัศเราะฮ์ หลังจากยุทธการที่ศิฟฟีน[3]

ชีวประวัติต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ระบุว่า ครั้งหนึ่งฮะซันได้รับการเลี้ยงดูจากอุมม์ ซะลามะฮ์[3] และมารดาของเขาได้พาเขาไปหา เคาะลีฟะฮ์อุมัร (ค.ศ. 644) ซึ่งอุมัรได้อวยพรเขาด้วยคำดุอาอ์: "โอ้อัลลอฮ์! โปรดทำให้เขาหลักแหลมในเรื่องความศรัทธาและเป็นที่รักของคนทั้งมวล"[3] เมื่อเขาเติบโตขึ้น ฮะซันเริ่มได้รับความชื่นชมอย่างกว้างขวางจากความสัตย์ซื่อที่แน่วแน่ต่อแบบอย่างของมุฮัมมัด[3] แหล่งข้อมูลต่างๆ ในยุคแรกๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตของฮะซันเล่าว่า เขามักจะศึกษาเรียนรู้แทบเท้าจากอะลี (เสียชีวิต 661) ในช่วงเวลานี้ ซึ่งกล่าวกันว่าเขาได้สอนฮะซันในขณะที่ยังเป็น "วัยรุ่น"[6]

เมื่อยังเป็นหนุ่ม ฮะซันเข้าร่วมในการพิชิตอิหร่านตะวันออก (ประมาณปี ค.ศ. 663) และทำงานเป็นพ่อค้าอัญมณี[3] ก่อนที่จะละทิ้งธุรกิจและชีวิตทางการทหารเพื่อกลายเป็นผู้สมถะและนักวิชาการที่บริสุทธิ์[7] ในช่วงหลังนี้เองที่เขาเริ่มวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของผู้ว่าการในอิรักอย่างเปิดเผย ถึงกับปลุกระดมผู้มีอำนาจจนถึงระดับที่เขาต้องหลบหนีเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของเขาภายใต้การปกครองของอัลฮัจญาจญ์ ซึ่งได้โกรธแค้นฮะซัน มันเริ่มขึ้นเนื่องจากการประณามอย่างตรงไปตรงมาต่อการก่อตั้งวาซิฏในปี ค.ศ. 705[3] ฮะซันเสียชีวิตที่เมืองบัศเราะฮ์ในปี ค.ศ. 728 ขณะมีอายุได้แปดสิบหกปี[3] ตามรายงานที่ยกมาโดย อัลกุชัยรี นักหะดีษในยุคกลาง (เสียชีวิต 1074) "ในคืนที่อัลฮะซัน อัลบัศรีเสียชีวิต ... [คนในท้องถิ่น] เห็นในความฝันว่าประตูสวรรค์เปิดออกและมีผู้ประกาศว่า: 'แท้จริงแล้ว อัลฮะซัน อัลบัศรี กำลังมาหาอัลลอฮ์ตะอาลส, ผู้ทรงพอพระทัยในตัวเขา'" [8]

ลักษณะเฉพาะ แก้

ตามแหล่งประวัติศาสตร์ต่างๆ ว่ากันว่าฮะซันได้รับความชื่นชมจากคนรุ่นราวคราวเดียวกันในเรื่องรูปร่างหน้าตาที่หล่อเหลาของเขา[9] ในเรื่องนี้ อิบน์ อัลก็อยยิม อัลเญาซียะฮ์ (เสียชีวิต 1350) กล่าวถึงรายงานเก่าแก่ซึ่งกล่าวว่า: "ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งออกไปในวันอีด และออกไปดูผู้คน พวกนางถูกถามว่า 'ใครหล่อที่สุดที่เจ้าเห็นวันนี้?' พวกนางตอบว่า 'เป็นครูสวมผ้าโพกหัวสีดำ' พวกนางหมายถึง อัลฮะซัน อัลบัศรี"[9] สำหรับบุคลิกของเขา มันเกี่ยวเนื่องกับการที่ฮะซันเป็นคนร้องไห้บ่อย คนรอบข้างพวกเขารู้ดี "เพราะน้ำตามากมายที่เขาหลั่งออกมาเพราะสำนึกผิดต่อบาปของเขา"[10] รายงานหนึ่งเล่าว่าวันหนึ่งเขาร้องไห้อย่างหนักบนดาดฟ้าจนน้ำตาที่มากมายของเขาเริ่มไหลออกมา ผู้ที่ผ่านมาถามว่าน้ำนี่สะอาดไหม[10] ฮะซันบอกชายที่อยู่เบื้องล่างทันที โดยบอกเขาว่า "ไม่ เพราะนี่คือน้ำตาของคนบาป"[11] เช่นนี้ "เขาแนะนำให้ผู้ผ่านไปมาชำระร่างกายทันที"[11] ในทำนองเดียวกัน กุชัยรี กล่าวถึงฮะซัน: "ไม่มีใครเห็นอัลฮะซัน อัลบัศรี โดยไม่คิดว่าเขาเพิ่งประสบกับโศกนาฏกรรมอันเลวร้าย"[12] เกี่ยวกับรายงานเหล่านี้ นักวิชาการคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่าเห็นได้ชัดว่าฮะซัน "มีความโศกเศร้าและความกลัวอย่างสุดซึ้งตามแบบฉบับของนักพรตในทุกศาสนา"[13]

การตอบรับ แก้

เกาะตาดะฮ์ อิบน์ ดิอามะฮ์ (ร.) กล่าวว่า “ข้าไม่นั่งกับนักฟิกฮ์ แต่ข้าเห็นความเหนือของอัลฮะซัน มากกว่าเขา”

ฮัฟศ์ อัดดูรี (ร.) กล่าวว่า “อัลฮะซันร้องไห้ และมีคนพูดกับเขาว่า: อะไรทำให้ท่านร้องไห้? เขากล่าวว่า ข้ากลัวว่าพรุ่งนี้พระองค์จะทรงโยนข้าเข้าไปในกองไฟและพระองค์จะทรงไม่สนใจ“

อิมามอัลเฆาะซาลี (ร.) กล่าวว่า “อัลฮะซัน อัลบัศรีนั้น คล้ายกับวจนะของศาสดามากที่สุด และใกล้เคียงที่สุด เป็นคำชี้นำจากบรรดาเศาะฮาบะฮ์และเขาเป็นนักพูดที่ยอดเยี่ยม และสติปัญญาก็หลั่งไหลออกมาจากเขา”[14]

อ้างอิง แก้

  1. Frye, Richard Nelson (1975-06-26). The Cambridge History of Iran (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 449. ISBN 9780521200936. was born in Medina in 21/642
  2. Mourad, Suleiman A., “al-Ḥasan al-Baṣrī”, in: Encyclopaedia of Islam, THREE, Edited by: Kate Fleet, Gudrun Krämer, Denis Matringe, John Nawas, Everett Rowson.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Ritter, H., “Ḥasan al-Baṣrī”, in: Encyclopaedia of Islam, Second Edition, Edited by: P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel, W.P. Heinrichs. Brill Online.
  4. Frye, R.N., บ.ก. (1975). The Cambridge history of Iran (Repr. ed.). London: Cambridge U.P. p. 449. ISBN 978-0-521-20093-6. The founder of the Basra school of Sufism, which is itself the source for all later Sufi schools, is the celebrated Hasan al-Basri, who was born in Medina in 21/642, the son of a Persian slave, and who died after a long and fruitful life in Basra in 110/728.
  5. Donner, F.M. (1988). "BASRA". Encyclopaedia Iranica, Vol. III, Fasc. 8. pp. 851–855. Some of these cultural figures were of Iranian descent, including the early paragon of piety Ḥasan al-Baṣrī; Sebawayh, one of the founders of the study of Arabic grammar; the famed poets Baššār b. Bord and Abū Nowās; the Muʿtazilite theologian ʿAmr b. ʿObayd; the early Arabic prose stylist Ebn al-Moqaffaʿ; and probably some of the authors of the noted encyclopedia of the Eḵwān al-Ṣafāʾ.
  6. Martin Lings (Abu Bakr Siraj ad-Din), What is Sufism? (Lahore: Suhail Academy, 1975), p. 104
  7. Ritter, H., “Ḥasan al-Baṣrī”, in: Encyclopaedia of Islam, Second Edition, Edited by: P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel, W.P. Heinrichs. Brill Online.
  8. Qushayri, Risala, trans. A. Knysh (Reading, Garnet Publishers: 2007), p. 397
  9. 9.0 9.1 Ibn al-Qayyim, Rawda al-Muhibbin wa Nuzha al-Mushtaqin, p. 225
  10. 10.0 10.1 John Renard, Friend of God: Islamic Images of Piety, Commitment, and Servanthood (Berkeley: University of California Press, 2008), p. 47
  11. 11.0 11.1 John Renard, Friend of God: Islamic Images of Piety, Commitment, and Servanthood (Berkeley: University of California Press, 2008), p. 47; see source in notes, with p. 286
  12. Qushayri, Risala, trans. A. Knysh (Reading, Garnet Publishers: 2007), p. 157
  13. Qushayri, Risala, trans. A. Knysh (Reading, Garnet Publishers: 2007), p. 157
  14. Abu Hamid al-Ghazali. Ihya' 'Uloom al-Din. Beirut, Lebanon: Dar al-Ma'rifa. pp. (1/77).