ตัฟซีร (อาหรับ: تفسير, อักษรโรมัน: Tafsīr, แปลตรงตัว'อรรถาธิบาย') เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับการตีความ ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการแปลความหมายในอัลกุรอาน. ผู้แปลอัลกุรอานเรียกว่า มุฟัซซิร (อาหรับ: مُفسّر; พหุพจน์: อาหรับ: مفسّرون, อักษรโรมัน: มุฟัซซิรูน). การแปลอัลกุรอานจะต้องใช้การชี้แจง, คำอธิบาย, การตีความ, บริบทหรือความเห็นเพื่อเข้าถึงสิ่งที่อัลลอฮ์ประสงค์[1]

สำนักตัฟซีร

แก้

สำนักตัฟซีรมีอยู่หลายสำนัก แต่ละสำนักจะมีการแปลกุรอานตามจุดประสงค์ของตนเอง

สำนักตัฟซีรนิกายซุนนี

แก้
 
มิร เซยยิด อะลี กำลังเขียนตัฟซีรบนอัลกุรอาน ในสมัยของจักรพรรดิชาห์ชะฮันแห่งจักรวรรดิโมกุล

ตัฟซีรของซุนนีมักยึดถือตาม ญามิอ์ อัล-บะยาน ของมุฮัมหมัด อิบน์ ญาริร อัล-ตาบิรี โดยถือเป็นสารานุกรมที่สามารถนำมาใช้ในการแปลกุรอานได้ดีที่สุด[2]

สำนักตัฟซีรนิกายชีอะฮ์

แก้

ส่วนตัฟซีรของชีอะฮ์มักจะเน้นที่อายะฮ์เกี่ยวกับความสำเร็จของมุฮัมมัดโดยที่สายครอบครัวเริ่มที่อะลี และยกย่องถึงบรรดาอิหม่ามทั้งสิบสอง[1]

ในประเทศไทย

แก้

เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีวาทศิลป์เลอเลิศ จึงไม่มีใครแม้แต่ผู้เดียวยอมรับว่าสามารถแปลอัลกุรอานได้ดีพอ อย่างไรก็ตามงานแปลเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ นักวิชาการมุสลิมในแต่ละประเทศในโลกจะพยายามแปลความหมายของอัลกุรอาน ในปัจจุบันอัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาใหญ่ของโลกทุกภาษาแล้ว

ในประเทศไทยคัมภีร์อัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยท่านอดีตจุฬาราชมนตรีต่วน สุวรรณศาสตร์ ซึ่งเป็นการแปลและอธิบายความหมายพร้อมๆกัน จึงทำให้ผู้อ่านไม่ทราบว่าแม่บทในภาษาอาหรับเป็นอย่างไร ในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 70 นายดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ได้เป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์ความหมายอัลกุรอานที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งครูอิสมาอีล อะหมัด ปากพยูน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการแปลครั้งนี้

ต่อมานายมัรวาน สะมะอูน ได้แปลความหมายของอัลกุรอานให้กระทัดรัดขึ้นอีก พยายามรักษาสำนวนให้ใกล้เคียงกับแม่บทให้มากที่สุด ซึ่งก็ได้กลายเป็นหนังสืออ้างอิงสำหรับชาวไทยมาตลอด แต่ก็ยังมีข้อบกพร่อง เช่นประโยคแปลถึงแม้จะตรงกับแม่บทแต่ก็ผิดกับสำนวนไทย การแปลความหมายผิด การแปลขาดตอน เป็นต้น

ต่อมาสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับตรวจทานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อับดุลเลาะ หนุ่มสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ[3] ได้แปลความหมายอัลกุรอานตีพิมพ์ออกมาอีก โดยมีฟุตโน้ตอธิบายความหมาย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป และการแปลนี้ ก็ยังไม่อาจแก้ปัญหาความสมดุลระหว่างการพยายามรักษาคำในแม่บทเดิมและการใช้สำนวนไทยได้ อีกทั้งยังมีข้อบกพร่องเรื่องมาตรฐานในการแปล บางครั้งก็ใช้ศัพท์สูง แต่โดยปกติก็ใช้คำศัพท์ที่ง่ายเกินควร อีกทั้งการแปลขาดตอนก็มีปรากฏให้เห็นหลายที่

หนังสือแปลความหมายอัลกุรอานตัฟฮีมุลกุรอานของอบู อลา อัลเมาดูดี ซึ่งแปลโดยอาจารย์บรรจง บินกาซัน เป็นตัฟซีรที่ได้รับความนิยมเล่มหนึ่งในประเทศไทย

นายซัยนุลอาบิดีน ฟินดี้ ซึ่งนับถือชีอะฮ์ ได้แปลอัลกุรอานเป็นภาษาไทย แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก

นอกจากนี้ยังมีสำนวนแปลของผู้ที่ใช้นามปากกาว่า อะบูอิสรอฟีล ดู อัลกุรอาน สำนวนแปลอะบูอิสรอฟีลใน AbuIsraphil ซื่งใช้สำนวนได้สละสลวยยิ่งขึ้น

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jo
  2. Oliver Leaman The Qur'an: An Encyclopedia Taylor & Francis 2006 ISBN 978-0-415-32639-1 page 632
  3. มติครม. 12 พฤศจิกายน 2567