อิมามะฮ์ (อาหรับ: إمامة) หรือ ตำแหน่งการเป็นผู้นำ ตัวแทนท่านศาสดา (ศ) ถือเป็นหนึ่งในหลักศรัทธาของอิสลามนิกายชีอะฮ์ และเนื่องจากความสำคัญยิ่งยวดของหลักศรัทธาข้อนี้ พวกเขาจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอิมามียะฮ์[1]

คำว่า อิมามะฮ์ ตามรากศัพท์ภาษาอาหรับ หมายถึง ผู้นำ และตามจริงแล้วทุกประชาชาติและกลุ่มชนไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากผู้นำ

หลักศรัทธาชองนิกายชีอะฮ์ : เตาฮีด, นุบูวัต, มะอาด, อัดล์ และอิมามะฮ์

บรรดาชีอะฮ์จะอ้างอิงความเชื่อทั้งหมดของพวกเขาจากโองการในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและในเรื่องของอิมามะฮ์ก็เช่นเดียวกัน

อิมามะฮ์-ตำแหน่งผู้นำในคัมภีร์อัลกุรอาน แก้

  • ในโองการที่24 ซูเราะห์ อัสสัจญ์ดะฮ์ ได้กล่าวไว้ว่า:

وَجَعَلْنَا مِنْهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا لَمَّا صَبَرُوا وَكَانُوا بِآيَاتِنَا يُوقِنُونَ

 อัส-สัจญ์ดะฮฺ - 24

และเราได้จัดให้มีหัวหน้าจากพวกเขา เพื่อจะได้ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องตามคำบัญชาของเรา ในเมื่อพวกเขามีความอดทนและพวกเขาเชื่อมั่นต่ออายาตทั้งหลายของเรา

[2]

  • ในซูเราห์ อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่124ก็ได้กล่าวไว้เช่านเดียวกันว่า:

وَإِذِ ابْتَلَىٰ إِبْرَاهِيمَ رَبُّهُ بِكَلِمَاتٍ فَأَتَمَّهُنَّ قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا قَالَ وَمِن ذُرِّيَّتِي قَالَ لَا يَنَالُ عَهْدِي الظَّالِمِينَ อัลบะเกาะเราะฮ์ - 124 และจงรำลึกถึง ขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม.

อิมามะฮ์ (ตำแหน่งผู้นำ) ในฮะดีษ แก้

  • ในตำราฮะดีษของสายอะฮลิซซุนนะฮ์ ศอเฮียะฮ์บุคคอรีและศอเฮียะฮ์มุสลิม, มุสนัด ตอยาลีซี และ อะฮ์หมัด อิบนิ ฮันบัล, ซุนันติรมีซี และ อิบนิ มาญะฮ์ และตำราอ้างอิงฮะดีษอื่น ๆ ระบุไว้ว่าท่านศาสดา (ศ) ได้กล่าวกับอิมามอาลีว่า: เจ้าสำหรับข้าเปรียบเสมือนฮารูนสำหรับอิบรอฮีม แตกต่างกันตรงที่หลังจากฉันจะไม่มีนบีอีกแล้วเท่านั้น [3]

จำนวนของอิมาม แก้

ชีอะฮ์อ้างอิงรายงานจากจาบิร อันศอรี และจากรายงานของท่านอื่น ๆ มีความเชื่อว่าอิมามทั้งหมดมีสิบสองท่านซึ่งถูกเลือกจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และได้รับการแต่งตั้งตั้งแต่ในยุคของศาสดามุฮัมมัด (ศ) นักวิชาการบางท่านอ้างอิงประเด็นการเป็นอิมามจาะฮะดีษษะกอลัยน์ ตัวอย่างเช่น ท่านมุสลิมบันทึกไว้ในตำราฮะดีษของเขาว่ารายงานจากท่านญาบิรบิน ษะมะเราะห์ ที่กล่าวว่าฉันได้ยินมาจากท่านศาสดา (ศ) ว่าท่านกล่าวว่า :

ศาสนานี้จะดำเนินสืบต่อไปจนกว่าจนกว่าอิมามทั้งสิบสองท่านจะขึ้นมาดำรงค์ตำแหน่งคอลีฟะฮ์, ซึ่งคอลีฟะฮ์เหล่านี้ล้วนมาจากเผ่ากุเรชทั้งสิ้น.

ในริวายัตอีกบทหนึ่ง ศาสดา (ศ) ได้กล่าวว่า : การงานของประชาชาติในยุคนี้จะราบรื่นเสมอจนกว่าคอลีฟะฮ์ทั้งสิบสองท่านนี้จะจากไป

รายชื่ออิมามทั้งสิบสองท่าน แก้

ชีอะฮ์อ้างอิงรายงานจาก จาบิร อันศอรี และจากรายงานของท่านอื่น ๆ มีความเชื่อว่าอิมามทั้งหมดมีสิบสิงท่านซึ่งถูกเลือกจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และแต่งตั้งตั้งแต่ในยุคของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) นักวิชาการบางท่านอ้างอิงประเด็นการเป็นอิมามจาะฮะดีษษะกอลัยน์ ตัวอย่างเช่น ท่านมุสลิมบันทึกไว้ในตำราฮะดีษของเขาว่ารายงานจากท่านจาบิรบิน ษะมะเราะห์ ที่กล่าวว่าฉันได้ยินมาจากท่านศาสดา (ศ) ว่าท่านกล่าวว่า:

ศาสนานี้จะดำเนินสืบต่อไปจนกว่าจนกว่าอิมามทั้งสิบสองท่านจะขึ้นมาดำรงค์ตำแหน่งคอลีฟะฮ์, ซึ่งคอลีฟะฮ์เหล่านี้ล้วนมาจากเผ่ากุเรชทั้งสิ้น.[4]

ในริวายัตอีกบทหนึ่งทานศาสดา (ศ) ได้กล่าวว่า:การงาานของปราชาชาติในยุคนี้จะราบรื่นเสมอจนกว่าคอลีฟะฮ์ทั้งสิบสองท่านนี้จะจากไป[5]

รายชื่อมีดังต่อไปนี้:

อิมามญุวัยนีรายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบนิอับบาส ว่าทานศาสดา (ศ) กล่าวว่า:

ฉันเป็นหัวหน้าของบรรดาอัมบิยา (ศาสดา) ทั้งหลายและอลี อิบนิ อบีตอลิบเป็นหัวหน้าของเอาศิยา (ตัวแทนศาสดา) ทั้งหลายและเอาศิยาเหล่านี้มีทั้งหมดสิบสองท่านคนแรกของพวกเขาคืออลี อิบนิ อบี ฎอลิบ และคนสุดท้ายของพวกเขาคือ มะฮ์ดี.

อิมามญุวัยนยังรายงานต่อจากสายรายงานเดิมอีกว่าฉันได้ยินจากศาสดา (ศ) ที่ท่านกล่าว่า:

ฉัน อลี และ ฮะซัน และบุตรอีกเก้าคนจากเชื้อสายของฮุเซน คือผู้บริสุทธิ์ และไร้มลทิน.
  • 1-อาลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ บุตรของอะบูฏอลิบ ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของนบีมุฮัมมัด นบีได้ชุบเลี้ยงมาตั้งแต่ยังเยาว์ เป็นผู้แรกที่ศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม ภายหลังสมรสกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ธิดานบีมุฮัมมัด
  • 2-ฮะซัน บุตรของอะลีย์ และฟาฏิมะหฺ
  • 3- ฮุเซน บุตรของอะลีย์ และฟาฏิมะหฺ น้องชายของฮะซัน
  • 4-อาลี ซัยนุลอาบิดีน บุตรอิมามที่3
  • 5- มุฮัมมัด อัลบากิร บุตรอิมามที่ 4
  • 6-ญะอฺฟัร อัศศอดิก บุตรอิมามที่ 5
  • 7-มูซา อัลกาซิม บุตรอิมามที่ 6
  • 8-อาลี อัรริฎอ บุตรอิมามที่ 7
  • 9- อัตตะกีย์ บุตรอิมามที่ 8
  • 10-อัลฮาดี บุตรอิมามที่ 9
  • 11- ฮะซัน อัลอัสกะรีย์ บุตรอิมามที่ 10
  • 12-มุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี บุตรอิมามที่ 11

คุณสมบัติต่าง ๆ แก้

  1. ความบริสุทธิ์ : ปราศจากความผิดบาปของอิมามทั้งสิบสองท่านรวมถึงท่านศาสดาและท่านหญิงฟาติมะฮ์ทั้งหมดเป็นสิบสี่ท่าน, จากนัยยะและการอธิบายของโองการตัฎฮีรหมายถึงโองการที่33 ซูเราะห์ อะห์ซฺาบ บ่งชี้ว่าพวกท่านเหล่านี้ปราศจากความผิดบาปทุกประเภทอย่างไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นบาปเล็กหรือบาปใหญ่ก็ตามเพราะการเป็นผู้นำและแบบฉบับนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ปราศจากข้อผิดพลาดทุกประการจึงจะเป็นข้อพิสูจน์สำหรับผู้อื่นได้.
  2. ความยุติธรรม :
  3. ความรู้ :
  4. การเป็นข้อพิสูจน์ :
  5. การเป็นผู้นำ :

หน้าที่ความรับผิดชอบ แก้

1- การเป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนา

ในมุมมองของชีอะฮ์ หลังจากการบัญญัติทางศาสนาเสร็จสิ้นแล้วโดยท่านศาสดา (ศ) อิมามมะอฺศูม (อ) จะเป็นผู้ที่ถ่ายทอดและอรรฐาธิบายวิชาการทางศาสนาในเรื่องปลีกย่อยต่าง ๆ ที่ต้องได้มาจากผู้ที่ปราศจากการบิดเบือนหรือคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงแก่ประชาชน

2- การเป็นผู้นำ-ผู้ปกครองของสังคม :

ความเป็นผู้นำคำนี้ถือเป็นคำที่เข้าใจเหมือนกันในหมู่มุสลิมทั้งชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนีะฮ์ หมายถึงการยอมรับว่าสังคมจะต้องมีบุคคลหนึ่งที่มาเป็นผู้นำทางสังคมโยที่ฝ่ายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์จะเรียกโยใช้คำว่า (คอลีฟะฮ์) โดยที่พวกเขายอมรับว่าให้มีตำแหน่งนี้จากากรเลือกโดยตัวแทนของสังคมหมายถึงเหล่าสาวกในยุคนั้น (ชูรอ) วึ่งณตอนนั้นถือเป็นประเด็นถกเถียงและขัดแย้งกันอย่างมากในหมู่สาวกของท่าศาสดา (ศ) ถึงขั้นที่มีสาวกบางท่านยกดาบฟาดฟัดกันเพื่อได้มาซึ่งตำแหน่งนี้, แต่ในมุมมองของชีอะฮ์ บุคคลดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมทั้งมนด้านของความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อศาสนา, ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์, เป็นผู้ที่มีความยุติธรรมและมีหลักฐานยืยยันการเป็นตัวแทนของเขาเพื่อที่จะสามารถวินิจฉัยและชี้นำอิสลามได้อย่างถูกต้องและตามมาซึ่งหน้าที่ของประชาชนในการยอมรับและปฏิบัติตามลำดับต่อไป

ตามที่โองการ 59 ซูเราะห์นิซาอ์ :

บรรดาผู้มีศรัทธา! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังศาสนทูต และผู้ปกครองในหมู่พวกเธอเถิด แต่ถ้าพวกเธอขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺและศาสนทูต หากพวกเธอศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง

และโองการที่55ซูเราะห์มาอิดะฮ์:

อันที่จริง มิตรของพวกเธอนั้นคืออัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์และบรรดาผู้มีศรัทธาที่ดำรงไว้ซึ่งการนมาซ และชำระซะกาต และขณะเดียวกันพวกเขาก็เป็นผู้ก้มรุกูอฺ

3- การเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ:

หมายถึงการที่พวกท่านสามารให้การอนุเคราะห์และช่วยเหลือผู้อื่นได้เนื่องจากฐานันดรอันสูงส่งที่พวกท่านมีณเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)

การดำรงตำแหน่งในยุคสมัยต่าง ๆ ของพวกท่าน : แก้

ช่วงเริ่มต้นของตำแหน่งอิมามะฮ์จนยุคของการเร้นกายของอิมามท่านที่สิบสองมีสี่ยุคสมัยดังต่อไปนี้:

  1. ยุคของมีอยู่ของอิมาม เริ่มตั้งแต่สมัยของอิมามอลี (อ) จนถึงการเร้นกายของอิมามมะฮ์ดี (อ) [6]
  2. ยุคของการเร้นกาย เริ่มตั้งแต่การเร้นกายระยะสั้นของอิมามมะฮ์ดีย์ (อ) ครอบคลุมระยะยาวไปจนถึงช่วงการปรากฏตัวของท่าน.[7]
  3. ยุคของการปรากฏตัวของอิมามท่านที่สิบสอง เริ่มตั้งแต่หารปรากฏตัวของท่านไปจนถึงการสิ้นสุดการปกครองของท่าน.[8]
  4. ยุคของริจอัต เริ่มตั้งแต่การกลับมาของเอาลิยาบางท่านจนวันสิ้นสุดของโลกดุนยานี้.[9]

รายชื่อผู้ดำรงค์ตำแหน่งสิบสองท่านในปีต่าง ๆ แก้

  1. อาลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ ตั้งแต่ 632-661 ฮ.ศ.
  2. ฮะซัน อับมุจะตะบา ตั้งแต่ 661-670 ฮ.ศ.
  3. ฮุเซน อัชชะฮีด ตั้งแต่ 670-680 ฮ.ศ.
  4. อาลี ซัยนุลอาบิดีน ตั้งแต่ 680-712 ฮ.ศ.
  5. มุฮัมมัด อัลบากิร ตั้งแต่ 712-732 ฮ.ศ.
  6. ญะอฺฟัร อัศศอดิก ตั้งแต่ 732-765 ฮ.ศ.
  7. มูซา อัลกาซิม ตั้งแต่ 765-799 ฮ.ศ.
  8. อาลี อัรริฎอ ตั้งแต่ 799-817 ฮ.ศ.
  9. มุฮัมมัด อัตตะกีย์ ตั้งแต่ 817-835 ฮ.ศ.
  10. อาลี อันนะกี ตั้งแต่ 835-868 ฮ.ศ.
  11. อะซัน อัลอัสการี ตั้งแต่ 868-874 ฮ.ศ.
  12. ฮุจจะตุ้ล มะฮดีย์ ตั้งแต่ 874 ฮ.ศ.จนถึงปัจจุบัน

หมายเหตุ แก้

  • รูปแบบการเรียงลำดับข้างต้นเป็นไปตามความเชื่อของนิกายชีอะฮ์อิมามียะฮ์
  • ตามทัสนะของชีอะฮ์ อิมาม อาลี ดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์ตั้งแต่การจากไปของท่านศาสดา (ศ) แต่ได้รับตำแหน่งผู้ปกครองประชาชาติมุสลิมภายหลังการเสียชีวิตของ อุษมาน คอลีฟะฮ์คนที่สาม
  • การดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์จะเริ่มต้นหลังจากการเสียชีวิตของอิมามท่านก่อนทันที
  • อิมาม มะฮดีย์ อิมามท่านที่ สิบสอง ดำรวค์ตำแหน่งอิมามะฮ์ตั้งแต่การจากำปของอิมามฮะซัน อัสการี มาจนถึงปัจจุบัน .[10]

อ้างอิง แก้

  • ฮะซันซฺอเดะฮ์ อามุลี, ฮะซัน. انسان کامل از دیدگاه نهج‌البلاغه.
  • มุฎอฮะรี, มุรตะฏอ. امامت و رهبری เก็บถาวร 2006-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนانتشارات صدرا, สำนักพิมพ์ศ็อดรอ.
  • เคอร์บิน, ฮันรี่. Historie de la Philosophie Islamique. แปลฟาร์ซี: ญะวาด ตอบาตอบาอี, เตหะราน, กะวีรสำนักพิมพ์อิหร่านศึกษา ภาคฝรั่งเศส.
  1. ซัยยิดมุรตะฏอ. อำนาจการปกครองของอิมามอลีในโองการและฮะดีษ. สำนักพิมพ์มุนีร, พิมพ์ครั้งที่ 7.
  2. มุฮ์ซิน , กิรออัตตี ตัฟซีร นูร , เล่ม7, หน้า318.
  3. ศอเฮี้ยะฮ์บุคอรี , หัวข้อ ความประเสริฐของอลี อิบนิ อบี ตอลิบ , เล่ม2/200
  4. มุสลิม, ศอเฮียะฮ์มุสลิม, เล่ม3, 1453, ฮะดีษบทที่1821
  5. มุนตะคอบ กันซุลอุมมาล, เล่ม5, 321
  6. มุฏอฮรี , มุรตะฏอ, อิมามะฮ์ วะ ระฮ์บะรี
  7. ชะฮรฺอาชูบ, มุฮัมมหัด, มะนากิบ
  8. มุฮัมมหัด อิบนิ อิบรอฮีม , กิตาบุ้ลฆีย์บะฮ์
  9. บิฮารุนอันวาร, เล่มที่53
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-07. สืบค้นเมื่อ 2018-02-09.

บรรณานุกรม แก้