ปฏิทินโฮโลซีน (อังกฤษ: Holocene calendar เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สมัยโฮโลซีน (Holocene Era) หรือ สมัยมนุษย์ (Human Era; HE) เป็นระบบการนับปีที่บวก 10,000 ปีจากปีที่ใช้ในปัจจุบัน (ค.ศ./ก่อนคริสตกาล หรือ สากลศักราช/ก่อนสากลศักราช) โดยเริ่มต้นปีแรกที่ใกล้ช่วงต้นของสมัยโฮโลซีนและการปฏิวัติยุคหินใหม่ เมื่อมนุษย์เปลี่ยนวิถีชีวิตจากคนเก็บของป่าล่าสัตว์เป็นการทำเกษตรกรรมและตั้งถิ่นฐาน. ปีปัจจุบันตามปฏิทินกริกอเรียนคือปีค.ศ.2024 เป็นปีที่ 12024 HE ตามปฏิทินโฮโลซีน. ปฏิทินโฮโลซีนถูกเสนอครั้งแรกโดยเซซาเร เอมิลิอานี (Cesare Emiliani) ในปีค.ศ.1993 (11993 HE).[1]

ภาพรวม แก้

จุดประสงค์ของเซซาเร เอมิลิอานีคือการปฏิรูปปฏิทินเพื่อแก้ปัญหาของปี คริสต์ศักราช โดยมีหัวข้อดังนี้:

  • ปีคริสต์ศักราช ตั้งฐานมาจากการประเมินที่ผิดพลาดของปีประสูติของพระเยซู. ปีที่พระเยซูประสูติอยู่ในปีค.ศ.1 แต่นักวิชาการสมัยใหม่ส่วนใหญ่ยืนยันว่าพระเยซูประสูติในหรือก่อน 4 ปีก่อนคริสตกาล
  • ปีประสูติของพระเยซูเป็นต้นยุคอ้างอิงที่มีความเกี่ยวข้องในระดับสากลน้อยกว่าจุดเริ่มต้นของสมัยโฮโลซีน
  • ปี คริสต์ศักราช ไม่มีปี 0 เพราะ 1 ปีก่อนค.ศ. จะตามมาด้วย ค.ศ.1 ทันที

ผลประโยชน์ แก้

ปฏิทินโฮโลซีนทำให้การคำนวณในธรณีวิทยา, โบราณคดี, กาลานุกรมต้นไม้ และประวัติศาสตร์ง่ายขึ้น และเป็นหน่วยที่มีความเกี่ยวข้องในระดับสากลมากกว่าปีประสูติของพระเยซู

การแปลง แก้

การแปลงจากปฏิทินจูเลียน หรือปฏิทินกริกอเรียนเป็นปฏิทินโฮโลซีนสามารถทำได้โดยการบวกอีก 10,000 ในปีค.ศ./สากลศักราช. ปีปัจจุบัน (2024) สามารถแปลงเป็นปีโฮโลซีนได้โดยการใส่เลข "1" ด้านหน้ามัน ทำให้กลายเป็น 12,024 HE. ส่วนปีก่อนค.ศ./ก่อนสากลศักราช แปลงได้โดยการลบปีของเลขนั้นด้วย 10,001.

การเปรียบเทียบกับวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ในปฏิทินกริกอเรียนและปฏิทินโฮโลซีน
ปีกริกอเรียน ISO 8601 ปีโฮโลซีน เหตุการณ์
10001 ปีก่อนค.ศ. −10000[a] 0 HE เริ่มต้นปฏิทินโฮโลซีน
9701 ปีก่อนค.ศ. −9700 300 HE สมัยไพลสโตซีนสิ้นสุดลง และสมัยโฮโลซีนได้เริ่มต้นขึ้น[2]
4714 ปีก่อนค.ศ. −4713 5287 HE ต้นยุคอ้างอิงของระบบวันจูเลียน: วันจูเลียนที่ 0 เริ่มที่เส้นเมริเดียนแรก ตอนเที่ยงของวันที่ 1 มกราคม 4713 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินจูเลียน ซึ่งเป็นวันที่ 24 พฤศจิกายน 4714 ปีก่อนคริสตกาลในปฏิทินกริกอเรียน[3]: 10 
3761 ปีก่อนค.ศ. −3760 6240 HE เริ่มต้นปีอันโน มุนดีในปฏิทินฮีบรู[3]: 11 
3102 ปีก่อนค.ศ. −3101 6899 HE เริ่มเข้าช่วงกลียุคในจักรวาลวิทยาของศาสนาฮินดู[ต้องการอ้างอิง]
2250 ปีก่อนค.ศ. −2251 7751 HE เริ่มต้นยุคเมฆาลัย (Meghalayan) ยุคปัจจุบันจากทั้งสามยุคในสมัยโฮโลซีน.[4][5]
45 ปีก่อนค.ศ. −0044 9956 HE การริเริ่มปฏิทินจูเลียน
1 ปีก่อนค.ศ. +0000 10000 HE ปี 0 ในระบบ ISO 8601
ค.ศ. 1 +0001 10001 HE เริ่มต้นปีสากลศักราชและคริสต์ศักราช จากการคาดการโดยไดโอนิซิอุส จากพระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ของพระเยซู
ค.ศ. 622, ฮ.ศ.1 +0622 10622 HE การอพยพของมุฮัมมัดจากมักกะฮ์ไปมะดีนะฮ์ (ฮิจเราะห์) เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิทินฮิจเราะห์[6][7]
ค.ศ. 1582 +1582 11582 HE การริเริ่มปฏิทินกริกอเรียน[3]: 47 
ค.ศ. 1912 +1912 11912 HE ต้นยุคอ้างอิงของปฏิทินเกาหลีเหนือ[ต้องการอ้างอิง] และปฏิทินหมินกั๋ว[ต้องการอ้างอิง]
ค.ศ. 1950 +1950 11950 HE ต้นยุคอ้างอิงของรูปแบบวันที่ก่อนปัจจุบัน[8]: 190 
ค.ศ. 1970 +1970 11970 HE ต้นยุคอ้างอิงของเวลายูนิกซ์[9]
ค.ศ. 1993 +1993 11993 HE ปีที่เผยแพร่ปฏิทินโฮโลซีน
2024 +2024 12024 HE ปัจจุบัน
ค.ศ. 10000 +10000 20000 HE
  1. Emiliani[1] states his proposal "would make the year AD 1 into the year 10,001" but does not mention the Julian or Gregorian calendar. The proposal does not explicitly designate any particular date as the beginning of the era.

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ emiliani
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ jqs
  3. 3.0 3.1 3.2 Dershowitz, Nachum; Reingold, Edward M. (2008). Calendrical Calculations (3rd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-70238-6.
  4. "ICS chart containing the Quaternary and Cambrian GSSPs and new stages (v 2018/07) is now released!". สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  5. Conners, Deanna (September 18, 2018). "Welcome to the Meghalayan age". สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  6. Aisha El-Awady (2002-06-11). "Ramadan and the Lunar Calendar". Islamonline.net. สืบค้นเมื่อ 2006-12-16.
  7. Hakim Muhammad Said (1981). "The History of the Islamic Calendar in the Light of the Hijra". Ahlul Bayt Digital Islamic Library Project. สืบค้นเมื่อ 2006-12-16.
  8. Currie Lloyd A (2004). "The Remarkable Metrological History of Radiocarbon Dating [II]" (PDF). Journal of Research of the National Institute of Standards and Technology. 109 (2): 185–217. doi:10.6028/jres.109.013. PMC 4853109. PMID 27366605. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-06. สืบค้นเมื่อ 2019-08-31.
  9. "The Open Group Base Specifications Issue 7, Rationale, section 4.16 Seconds Since the Epoch". The OpenGroup. 2018.

สารานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้