ในศาสนาฮินดู กลียุค (อักษรเทวนาครี: कली युग) เป็นยุค (ยุคของโลก) ที่ 4 ซึ่งเป็นยุคที่สั้นและแย่ที่สุดในวัฏจักรยุค เกิดขึ้นหลังทวาปรยุคและตามมาด้วยกฤต (สัตย) ยุคของวัฏจักรใหม่ เชื่อกันว่าเป็นยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและบาปกรรม[1][2][3]

ตำราปุราณะหลายแห่งรายงานว่า[a] การสวรรคตของพระกฤษณะเป็นจุดสิ้นสุดของทวาปรยุคและเป็นจุดเริ่มต้นของกลียุคที่ระบุจุดเริ่มที่ 17/18 กุมภาพันธ์ 3102 ปีก่อน ค.ศ.[9][10] โดยกินระยะเวลา 432,000 ปี (1,200 ปีเทพเจ้า) กลียุคเริ่มต้นเมื่อ 5,126 ปีก่อน ทำให้เหลืออีก 426,874 ปี (ณ ค.ศ. 2025) [11][12][13] ก่อนที่กลียุคจะสิ้นสุดใน ค.ศ. 428,899[14][b]

เมื่อใกล้สิ้นสุดกลียุคที่ศีลธรรมอยู่ในจุดต่ำสุด จะเกิดหายนะและสถาปนาธรรมขึ้นใหม่ เพื่อเข้าสู่ยุค "กฤต (สัตย) ยุค" ในรอบต่อไป ตามคำทำนายที่กัลกิจะปรากฏขึ้น[15]

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ยุค (สันสกฤต: युग) ในเนื้อหานี้คือ "ยุคของโลก" โดยรูปสะกดเก่าของคำนี้คือ yug ซึ่งมีรูปอื่น เช่น yugam, yugānāṃ และ yuge ที่มาจากคำว่า yuj (สันสกฤต: युज्, แปลตรงตัว'การเข้าร่วมหรือประสาน') เชื่อว่ามาจากคำว่า *yeug- (อินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม: แปลว่า 'เข้าร่วมหรือรวมกัน')[16]

กลียุค (สันสกฤต: कलियुग, อักษรโรมัน: kaliyuga หรือ kali-yuga) หมายถึง "ยุคของกลี", "ยุคแห่งความมืด", "ยุคแห่งความชั่วร้ายและความทุกข์ยาก" หรือ "ยุคแห่งการทะเลาะวิวาทและความเสแสร้ง"[17]

รายละเอียดเกี่ยวกับกลียุคแบบสมบูรณ์พบได้ในมหาภารตะ, Manusmriti, Vishnu Smriti และปุราณะหลายตำรา[18]

วันเริ่มต้น

แก้
 
จุดบริการข้อมูลที่Bhalka สถานที่ซึ่งพระกฤษณะออกจากพื้นพิภพเมื่อ 3,102 ปีก่อน ค.ศ.

วันที่และเวลาที่กลียุคเริ่มต้นคือตอนเที่ยงคืน (00:00) ของวันที่ 17/18 กุมภาพันธ์ 3,102 ปีก่อน ค.ศ.[9][19][14][20][10]

อารยภัฏ นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่เกิดใน ค.ศ. 476 เขียนหนังสือAryabhatiyaเสร็จใน ค.ศ. 499 โดยเขียนไว้ว่า "เมื่อไตรยุค (สัตยยุค, เตรตายุค และทวาปรยุค) ได้ผ่านไป และกลียุคผ่านไปแล้ว 60 x 60 (3,600) ปี ตัวข้านั้นมีอายุ 23 ปี" เมื่ออิงจากข้อมูลนี้ กลียุคเริ่มต้นเมื่อ 3102 ปีก่อน ค.ศ. โดยคำนวณจาก 3600 - (476 + 23) + 1 (ไม่มีปีศูนย์จาก 1 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 1)[21]

K. D. Abhyankar รายงานว่า จุดเริ่มต้นของกลียุคคือการจัดตำแหน่งของดาวเคราะห์ที่หายากยิ่ง ซึ่งปรากฏในตราประทับที่โมเฮนโจ-ดาโร[22]

ระยะเวลาและโครงสร้าง

แก้

ตำราฮินดูกล่าวถึง 4 ยุค ในวัฏจักรยุคที่เริ่มต้นในยุคแรกของ กฤต (สัตย) ยุค แต่ละ ยุค มีความยาวลดลงหนึ่งในสี่ (25%) ทำให้แบ่งสัดส่วนได้เป็น 4:3:2:1 แต่ละยุคมีสมัยหลัก (หรือรู้จักกันในชื่อ yuga proper) ที่อยู่ระหว่างยุคสนธยา (รุ่งอรุณ) กับ yuga-sandhyāṃśa (พลบค่ำ) แต่ละช่วงสนธยา (รุ่งอรุณ/พลบค่ำ) กินเวลาของสมัยหลักไปหนึ่งส่วนสิบ (10%) ความยาวของยุคระบุเป็นปีของเทพเจ้า แต่ละยุคนานถึง 360 ปีสุริยะ (มนุษย์)[11][12][13]

กลียุคที่เป็นยุคที่ 4 ในวัฏจักร มีระยะเวลา 432,000 ปี (1,200 ปีเทพเจ้า) โดยช่วงหลักกินระยะเวลาถึง 360,000 ปี (1,000 ปีเทพเจ้า) และช่วงพลบค่ำสองอันแต่ละครั้งกินระยะเวลา 36,000 ปี (100 ปีเทพเจ้า) ยุคปัจจุบันตามวัฎจักรกลียุคอิงจากวันที่เริ่มต้นเมื่อ 3102 ปีก่อน ค.ศ.:[11][12][13]

กลียุค
ช่วง เริ่มต้น (– สิ้นสุด) ความยาว
กลียุคสนธยา (รุุ่งอรุณ)* 3102 ปีก่อน ค.ศ. 36,000 (100)
กลียุค (แท้) ค.ศ. 32,899 360,000 (1,000)
Kali-yuga-sandhyamsa (พลบค่ำ) ค.ศ. 392,899–428,899 36,000 (100)
ปี: 432,000 สุริยะ (1,200 เทพเจ้า)
(*) ปัจจุบัน [14]

หมายเหตุ

แก้
  1. ภาควตปุราณะ (1.18.6),[4] วิษณุปุราณะ (5.38.8),[5] Brahmanda Purana (2.3.74.241),[6] วายุปุราณะ (2.37.422),[7] และ พรหมปุราณะ (2.103.8)[8] ระบุว่าวันที่พระกฤษณะออกจากโลกนี้เป็นวันที่ทวาปรยุคสิ้นสุดลง และกลียุคได้เริ่มต้นขึ้น
  2. การคำนวณไม่นับปีศูนย์ 1 ปีก่อน ค.ศ. ไปเป็น ค.ศ. 1 คือหนึ่งปี ไม่ใช่สองปี

อ้างอิง

แก้
  1. "yuga". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  2. "kali yuga". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  3. Smith, John D. (2009). The Mahābhārata: an abridged translation. Penguin Classics. p. 200. ISBN 978-0-670-08415-9.
  4. "Skanda I, Ch. 18: Curse of the Brahmana, Sloka 6". Bhagavata Purana. Vol. Part I. Motilal Banarsidass Publishers Private Limited. 1950. p. 137. On the very day, and at the very moment the Lord [Krishna] left the earth, on that very day this Kali, the source of irreligiousness, (in this world), entered here.
  5. Wilson, H. H. (1895). "Book V, Ch. 38: Arjuna burns the dead, etc., Sloka 8". The Vishnu Purana. S.P.C.K. Press. p. 61. The Parijata tree proceeded to heaven, and on the same day that Hari [Krishna] departed from the earth the dark-bodied Kali age descended.
  6. "Ch. 74, Royal Dynasties, Sloka 241". The Brahmanda Purana. Vol. Part III. Motilal Banarsidass. 1958. p. 950. Kali Yuga began on the day when Krsna passed on to heaven. Understand how it is calculated.
  7. "Ch. 37, Royal Dynasties, Sloka 422". The Vayu Purana. Vol. Part II. Motilal Banarsidass. 1988. p. 824. ISBN 81-208-0455-4. Kali Yuga had started on the very day when Krsna passed away.
  8. "Ch. 103, Episode of Krsna concluded, Sloka 8". Brahma Purana. Vol. Part II. Motilal Banarsidass. 1955. p. 515. It was on the day on which Krishna left the Earth and went to heaven that the Kali age, with time for its body set in.
  9. 9.0 9.1 Matchett, Freda; Yano, Michio (2003). "Part II, Ch. 6: The Puranas / Part III, Ch. 18: Calendar, Astrology, and Astronomy". ใน Flood, Gavin (บ.ก.). The Blackwell Companion to Hinduism. Blackwell Publishing. p. 390. ISBN 0631215352. The [Kali yuga] epoch arrived at ... was midnight of February 17/18 in 3102 BC according to the midnight (ardharatika) school, and the sunrise of February 18 (Friday) of the same year according to the sunrise (audayika) school.
  10. 10.0 10.1 Burgess 1935, p. 19: The instant at which the [kali yuga] Age is made to commence is midnight on the meridian of Ujjayini, at the end of the 588,465th and beginning of the 588,466th day (civil reckoning) of the Julian Period, or between the 17th and 18th of February 1612 J.P., or 3102 B.C. [4713 BCE = 0 JP; 4713 BCE - 1612 + 1 (no year zero) = 3102 BCE.]
  11. 11.0 11.1 11.2 Godwin, Joscelyn (2011). Atlantis and the Cycles of Time: Prophecies, Traditions, and Occult Revelations. Inner Traditions. pp. 300–301. ISBN 9781594778575.
  12. 12.0 12.1 12.2 Merriam-Webster (1999). "Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions". ใน Doniger, Wendy; Hawley, John Stratton (บ.ก.). Merriam-Webster. Merriam-Webster, Incorporated. pp. 445 (Hinduism), 1159 (Yuga). ISBN 0877790442.
  13. 13.0 13.1 13.2 Gupta, S. V. (2010). "Ch. 1.2.4 Time Measurements". ใน Hull, Robert; Osgood, Richard M. Jr.; Parisi, Jurgen; Warlimont, Hans (บ.ก.). Units of Measurement: Past, Present and Future. International System of Units. Springer Series in Materials Science: 122. Springer. pp. 6–8. ISBN 9783642007378.
  14. 14.0 14.1 14.2 Godwin 2011, p. 301: The Hindu astronomers agree that the [Dvapara Yuga ended and] Kali Yuga began at midnight between February 17 and 18, 3102 BCE. Consequently [Kali Yuga] is due to end about 427,000 CE, whereupon a new Golden Age will dawn.
  15. Merriam-Webster 1999, p. 629 (Kalki): At the end of the present Kali age, when virtue and religion have disappeared into CHAOS and the world is ruled by unjust men, Kalki will appear to destroy the wicked and usher in a new age. ... According to some myths, Kalki's horse will stamp the earth with its right foot, causing the tortoise that supports the world to drop into the deep. Then Kalki will restore the earth to its initial purity.
  16. "युग (yuga)". Wiktionary. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
    "yuga". Wiktionary. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
    "Yuga". Wisdom Library. 29 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
    "युज् (yuj)". Wiktionary. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
    "*yeug-". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
    "yug". Wiktionary. 6 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-09-01.
  17. "कलि (kali)". Wiktionary. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
    "Kali Yuga". Wiktionary. 25 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
    "Kaliyuga, Kali-yuga". Wisdom Library. 11 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  18. Kane, P. V. (September 1936). Sukthankar, Dr. V. S.; Fyzee, A. A. A.; Bhagwat, N. K. (บ.ก.). "Kalivarjya (actions forbidden in the Kali Age)". Journal of the Bombay Branch of the Royal Asiatic Society. The Asiatic Society of Bombay. 12 (1–2): 4.
  19. Gupta 2010, p. 8: The current Kali Yuga (Iron Age) began at midnight on 17/18 February 3102 BC in the proleptic Julian calendar.
  20. The Induand the Rg-Veda, Page 16, By Egbert Richter-Ushanas, ISBN 81-208-1405-3
  21. H.D. Dharm Chakravarty Swami Prakashanand Saraswati. Encyclopedia Of Authentic Hinduism The True History and the Religion of India, Hardbound, 2nd Edition, 2003, ISBN 0967382319 Retrieved 2015-01-21
  22. Abhyankar, K. D. (1993). "Astronomical significance to two Mohenjodaro seals". Astronomical Society of India, Bulletin. 21 (3–4): 477. Bibcode:1993BASI...21..475A.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   นิยามแบบพจนานุกรมของ Kali Yuga ที่วิกิพจนานุกรม