การปฏิวัติยุคหินใหม่
การปฏิวัติยุคหินใหม่ หรือ การปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งที่หนึ่ง เป็นการเปลี่ยนผ่านอย่างกว้างขวางของวัฒนธรรมมนุษย์ในยุคหินใหม่จากสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ (สังคมแบบยังชีพ) สู่สังคมเกษตรกรรม และสังคมเมือง ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร[4] การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวทำให้มนุษย์มีโอกาสสังเกตและทดลองพันธุ์พืช นำไปสู่ความรู้ในการปรับปรุงไม้ป่าเป็นไม้เลี้ยง[5] แนวคิดการปฏิวัติยุคหินใหม่นี้คิดค้นโดย วี. กอร์ดอน ไชลด์ นักโบราณคดีชาวออสเตรเลียในหนังสือ Man Makes Himself[6]


การปฏิวัติยุคหินใหม่ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรมที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่แค่เพิ่มองค์ความรู้ในการผลิตอาหาร แต่เป็นการเปลี่ยนจากการใช้ชีวิตร่อนเร่ไปสู่การตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านและเมือง มีการชลประทานและถางป่าเพื่อทำการเพาะปลูก รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ การทำเครื่องปั้นดินเผา การปรับปรุงเครื่องมือหิน และการสร้างบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ของการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า การเปลี่ยนผ่านทางประชากรยุคหินใหม่
หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เกิดขึ้นแยกกันในหลายแห่งทั่วโลก เริ่มในสมัยโฮโลซีนเมื่อ 11,700 ปีก่อน[7] ช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค[8] เริ่มจากบริเวณพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ราว 10,000–8,000 ปีก่อนคริสตกาล[9] ตามด้วยลุ่มแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำหวงราว 7,000 ปีก่อนคริสตกาล[10] และที่สูงนิวกินีราว 7,000–3,000 ปีก่อนคริสตกาล[11] มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนมาทำการเกษตร เช่น พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์[12] การใช้เกษตรกรรมเป็นเครื่องมือแสดงอำนาจ[13] ปัจจัยด้านประชากร[14][15] การปรับตัวของมนุษย์และพืช[16] สภาพอากาศคงที่หลังยุคน้ำแข็ง[17] และการสูญพันธุ์ของสัตว์ใหญ่ (megafauna)[18] มีหลักฐานการเพาะปลูกธัญพืช 8 ชนิดเป็นครั้งแรกในลิแวนต์ช่วงราว 9,500 ปีก่อนคริสตกาล[19] ขณะที่การเลี้ยงสัตว์เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นโดยสัตว์กลุ่มแรก ๆ ที่มนุษย์นำมาเลี้ยงได้แก่ สุนัข (13,000 ปีก่อนคริสตกาล[20]) แพะ (10,000 ปีก่อนคริสตกาล[21]) สุกร (9,000 ปีก่อนคริสตกาล[22]) แกะ (9,000–8,500 ปีก่อนคริสตกาล[23]) และวัว (8,000 ปีก่อนคริสตกาล[24])
มุมมองดั้งเดิมของการปฏิวัติยุคหินใหม่คือการเกษตรมีส่วนสนับสนุนประชากรที่มากขึ้น ทำให้ชุมชนยิ่งแผ่ขยาย ขณะเดียวกันก็เกิดแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป ทำให้ผู้คนมีหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคม และเมื่อสังคมซับซ้อนขึ้นก็เกิดชนชั้นนำผู้ทำหน้าที่ปกครองชุมชน[25] พัฒนาการดังกล่าวหรือบางครั้งเรียกว่า การรวมกลุ่มยุคหินใหม่ (Neolithic package) เอื้อให้เกิดรากฐานโครงสร้างทางการเมือง การปกครองแบบรวมอำนาจ อุดมการณ์แบบลำดับชั้น การกระจายงาน และการค้าที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาการเขียน ศิลปะ และสถาปัตยกรรม นำไปสู่อารยธรรมแรกสุดอย่างซูเมอร์ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมีย (ราว 6500 BP) อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสัมฤทธิ์[26]
ถึงแม้ว่าการปฏิวัติยุคหินใหม่จะนำพาความก้าวหน้าต่าง ๆ แต่งานศึกษาทางชาติพันธุ์วิทยาและโบราณคดีหลายชิ้นพบว่าการที่มนุษย์เปลี่ยนมากินอาหารจากธัญพืชมากขึ้นทำให้การคาดหมายคงชีพลดลง การเสียชีวิตในทารกเพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของโรคติดเชื้อและโรคเสื่อม การเพาะปลูกกลับเป็นการจำกัดความหลากหลายของอาหาร ทำให้มนุษย์ขาดวิตามินและแร่ธาตุ[27] นอกจากนี้จาเรด ไดมอนด์ นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันยังเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคมและความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพ[28]
อ้างอิง แก้
- ↑ Diamond, J.; Bellwood, P. (2003). "Farmers and Their Languages: The First Expansions". Science. 300 (5619): 597–603. Bibcode:2003Sci...300..597D. CiteSeerX 10.1.1.1013.4523. doi:10.1126/science.1078208. PMID 12714734. S2CID 13350469.
- ↑ Zalloua, Pierre A.; Matisoo-Smith, Elizabeth (6 January 2017). "Mapping Post-Glacial expansions: The Peopling of Southwest Asia". Scientific Reports. 7: 40338. Bibcode:2017NatSR...740338P. doi:10.1038/srep40338. ISSN 2045-2322. PMC 5216412. PMID 28059138.
- ↑ http://www.atmo.arizona.edu/students/courselinks/fall12/atmo336/lectures/sec5/holocene.html
- ↑ Jean-Pierre Bocquet-Appel (July 29, 2011). "When the World's Population Took Off: The Springboard of the Neolithic Demographic Transition". Science. 333 (6042): 560–561. Bibcode:2011Sci...333..560B. doi:10.1126/science.1208880. PMID 21798934. S2CID 29655920.
- ↑ Pollard, Elizabeth; Rosenberg, Clifford; Tigor, Robert (2015). Worlds together, worlds apart. Vol. 1 (concise ed.). New York: W.W. Norton & Company. p. 23. ISBN 978-0-393-25093-0.
- ↑ Childe, Vere Gordon (1936). Man Makes Himself (ภาษาอังกฤษ). London: Watts & Company.
- ↑ "International Stratigraphic Chart". International Commission on Stratigraphy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-12. สืบค้นเมื่อ 2012-12-06.
- ↑ Blakemore, Erin (April 5, 2019). "The Neolithic Revolution". National Geographic. สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
- ↑ Graeme Barker (2009). The Agricultural Revolution in Prehistory: Why did Foragers become Farmers?. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-955995-4.
- ↑ Cohen, David Joel (October 2011). "The Beginnings of Agriculture in China: A Multiregional View". Current Anthropology. 52 (S4): S273–S293. doi:10.1086/659965. สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
- ↑ Shaw, Ben; Field, Judith H.; Summerhayes, Glen R.; Coxe, Simon; Coster, Adelle C. F.; Ford, Anne; Haro, Jemina; Arifeae, Henry; Hull, Emily; Jacobsen, Geraldine; Fullagar, Richard; Hayes, Elspeth; Kealhofer, Lisa (March 25, 2020). "Emergence of a Neolithic in highland New Guinea by 5000 to 4000 years ago". Science Advances. 6 (13). doi:10.1126/sciadv.aay4573. สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
- ↑ Charles E. Redman (1978). Rise of Civilization: From Early Hunters to Urban Society in the Ancient Near East. San Francisco: Freeman.
- ↑ Hayden, Brian (1992). "Models of Domestication". ใน Anne Birgitte Gebauer and T. Douglas Price (บ.ก.). Transitions to Agriculture in Prehistory. Madison: Prehistory Press. pp. 11–18.
- ↑ Sauer, Carl O. (1952). Agricultural origins and dispersals. Cambridge, MA: MIT Press.
- ↑ Binford, Lewis R. (1968). "Post-Pleistocene Adaptations". ใน Sally R. Binford and Lewis R. Binford (บ.ก.). New Perspectives in Archaeology. Chicago: Aldine Publishing Company. pp. 313–342.
- ↑ Rindos, David (December 1987). The Origins of Agriculture: An Evolutionary Perspective. Academic Press. ISBN 978-0-12-589281-0.
- ↑ Richerson, Peter J.; Boyd, Robert (2001). "Was Agriculture Impossible during the Pleistocene but Mandatory during the Holocene?". American Antiquity. 66 (3): 387–411. doi:10.2307/2694241. JSTOR 2694241. S2CID 163474968.
- ↑ Anderson, David G; Albert C. Goodyear; James Kennett; Allen West (2011). "Multiple lines of evidence for possible Human population decline/settlement reorganization during the early Younger Dryas". Quaternary International. 242 (2): 570–583. Bibcode:2011QuInt.242..570A. doi:10.1016/j.quaint.2011.04.020.
- ↑ Zeder, Melinda (October 2011). "The Origins of Agriculture in the Near East". Current Anthropology. 52 (S4): 221–235. doi:10.1086/659307. JSTOR 10.1086/659307. S2CID 8202907.
- ↑ Sablin, Mikhail V.; Khlopachev, Gennady A. (2002). "The Earliest Ice Age Dogs: Evidence from Eliseevichi 11". Current Anthropology. 43 (5): 795–799. doi:10.1086/344372. S2CID 144574445.
- ↑ Zeder, Melinda A. (2011). "The Origins of Agriculture in the Near East". Current Anthropology. 52: S221–S235. doi:10.1086/659307. S2CID 8202907.
- ↑ Giuffra, E.; Kijas, J. M.; Amarger, V.; Carlborg, O.; Jeon, J. T.; Andersson, L. (2000). "The origin of the domestic pig: Independent domestication and subsequent introgression". Genetics. 154 (4): 1785–91. PMC 1461048. PMID 10747069.
- ↑ Zeder, Melinda A. (2008). "Domestication and early agriculture in the Mediterranean Basin: Origins, diffusion, and impact". Proceedings of the National Academy of Sciences. 105 (33): 11597–11604. Bibcode:2008PNAS..10511597Z. doi:10.1073/pnas.0801317105. PMC 2575338. PMID 18697943.
- ↑ Wendorf, Fred; Schild, Romuald (1998). "Nabta Playa and its Role in Northeastern African Prehistory". Journal of Anthropological Archaeology. 17 (2): 97–123. doi:10.1006/jaar.1998.0319.
- ↑ Eagly, Alice H.; Wood, Wendy (June 1999). "The Origins of Sex Differences in Human Behavior: Evolved Dispositions Versus Social Roles". American Psychologist. 54 (6): 408–423. doi:10.1037/0003-066x.54.6.408.
- ↑ "Neolithic Revolution". HISTORY. January 12, 2018. สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
- ↑ Armelagos, George J. (2014). "Brain Evolution, the Determinates of Food Choice, and the Omnivore's Dilemma". Critical Reviews in Food Science and Nutrition. 54 (10): 1330–1341. doi:10.1080/10408398.2011.635817. ISSN 1040-8398. PMID 24564590. S2CID 25488602.
- ↑ Diamond, Jared (May 1987). "The Worst Mistake in the History of the Human Race". Discover Magazine: 64–66.