สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล

สโมสรฟุตบอลในลิเวอร์พูล, อังกฤษ

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (อังกฤษ: Liverpool Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่อยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ สโมสรก่อตั้งใน ค.ศ. 1892 ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกในปีต่อมาและใช้สนามแอนฟีลด์เป็นสนามเหย้าตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
ฉายาThe Reds
หงส์แดง (ฉายาในประเทศไทย)
ก่อตั้ง (1892-06-03) 3 มิถุนายน ค.ศ. 1892 (131 ปี)[1]
สนามแอนฟีลด์
Ground ความจุ60,725[2]
เจ้าของเฟนเวย์ สปอร์ต กรุป
ประธานทอม วอร์เนอร์
ผู้จัดการเยือร์เกิน คล็อพ
ลีกพรีเมียร์ลีก
2022–23พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 5 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สำหรับการแข่งขันภายในประเทศ ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกสูงสุด 19 สมัย, เอฟเอคัพ 8 สมัย, ลีกคัพ 10 สมัย (สถิติสูงสุด) และเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 16 สมัย ส่วนการแข่งขันระดับนานาชาติ ลิเวอร์พูลชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 6 สมัย, ยูฟ่าคัพ 3 สมัย, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 สมัย (ทั้งสามรายการเป็นสถิติสูงสุดของสโมสรอังกฤษ) และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 สมัย ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์คือช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อบิลล์ แชงคลี, บ๊อบ เพสลีย์, โจ เฟแกนและเคนนี แดลกลีช พาทีมชนะเลิศลีกสูงสุด 11 สมัยและยูโรเปียนคัพ 4 ใบ ต่อมาลิเวอร์พูลชนะเลิศการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนลีกอีก 2 สมัย ภายใต้การคุมทีมของราฟาเอล เบนิเตซและเยือร์เกิน คล็อพตามลำดับ ซึ่งคล็อพสามารถนำทีมชนะเลิศลีกสูงสุดใน ค.ศ. 2020 นับเป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดสมัยที่ 19 และสมัยแรกของยุคพรีเมียร์ลีก

ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ลิเวอร์พูลมีสโมสรคู่แข่งซึ่งแข่งขันด้วยกันมาอย่างยาวนาน ได้แก่ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและเอฟเวอร์ตัน ลิเวอร์พูลใช้เสื้อสีแดงและกางเกงขาสั้นสีขาวเป็นชุดแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1896 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเต็มตัวเมื่อเล่นเป็นทีมเหย้าตั้งแต่ ค.ศ. 1964 เป็นต้นมา ฉายาในภาษาอังกฤษของลิเวอร์พูลคือ "เดอะเรดส์" (The Reds) ส่วนฉายาที่ชาวไทยนิยมเรียกคือ "หงส์แดง" ลิเวอร์พูลมีเพลงประจำสโมสรคือ "ยูลล์เนฟเวอร์วอล์กอะโลน" (You'll Never Walk Alone)

แฟนบอลของสโมสรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ได้แก่ ภัยพิบัติสนามกีฬาเฮย์เซลที่กำแพงพังลงมาทับแฟนบอลในนัดชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพ 1985 ที่บรัสเซลส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 39 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลีและผู้สนับสนุนยูเวนตุส หลังจากนั้นยูฟ่าได้ระงับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยุโรปของสโมสรจากอังกฤษเป็นระยะเวลา 5 ปี และภัยพิบัติฮิลส์โบโรใน ค.ศ. 1989 เมื่อแฟนบอลของลิเวอร์พูล 97 คนเสียชีวิตจากการถูกบีบอัดติดกับรั้วที่กั้นสนาม นำไปสู่การยกเลิกรั้วกันสนามบริเวณที่ยืน โดยกำหนดให้สนามกีฬาของสโมสรในลีกสองระดับแรกของฟุตบอลอังกฤษต้องเป็นแบบมีที่นั่งทั้งหมด การรณรงค์เพื่อความยุติธรรมเป็นเวลานานทำให้มีการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ คณะกรรมการและคณะกรรมการอิสระเพิ่มเติมซึ่งทำให้ผู้สนับสนุนพ้นผิดในท้ายที่สุด

ประวัติ

 
จอห์น โฮลดิง ผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ก่อตั้งหลังเกิดข้อพิพาทระหว่างคณะกรรมการของเอฟเวอร์ตันกับจอห์น โฮลดิง ประธานสโมสรและเจ้าของที่ดินแอนฟีลด์ เอฟเวอร์ตันย้ายไปกูดิสันพาร์กใน ค.ศ. 1892 หลังใช้งานแอนฟีลด์เป็นระยะเวลาแปดปีและโฮลดิงก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลเพื่อเล่นในแอนฟีลด์[3] แต่เดิมใช้ชื่อว่า "สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันและแอตแลติกกราวด์สจำกัด" (อังกฤษ: Everton F.C. and Athletic Grounds Ltd) (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เอฟเวอร์ตันแอตแลติก) สโมสรกลายเป็นสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1892 และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในอีกสามเดือนต่อมา หลังสมาคมฟุตบอลปฏิเสธที่จะยอมรับสโมสรว่าเป็นเอฟเวอร์ตัน[4]

ลิเวอร์พูลลงแข่งขันครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1892 เป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรก่อนเริ่มต้นฤดูกาล โดยพบกับ รอเทอร์ดามทาวน์ ลิเวอร์พูลชนะด้วยผลประตูรวม 7–1 โดยผู้เล่นลิเวอร์พูลที่ลงสนามในนัดดังกล่าวนั้นเป็นชาวสก็อตแลนด์ทั้งหมด โดยผู้เล่นที่มาจากสก็อตแลนด์เพื่อมาเล่นในอังกฤษในเวลานั้น มักจะเรียกว่า สก็อตจ์โปรเฟสเซอร์ส ผู้จัดการทีม จอห์น แมกเคนนา เดินทางไปสกอตแลนด์เพื่อมองหาผู้เล่น หลังคัดเลือกผู้เล่นแล้ว พวกเขากลายเป็นที่รู้จักในนาม "ทีมออฟแมกส์"[5] ทีมชนะเลิศแลงคาเชอร์ลีกในฤดูกาลแรกที่ลงเล่น และเข้าร่วมฟุตบอลลีกเซคันด์ดิวิชันในฤดูกาล 1893–94 หลังชนะเลิศรายการดังกล่าว ทีมก็ได้เลื่อนชั้นสู่เฟิสต์ดิวิชัน แล้วก็ชนะเลิศใน ค.ศ. 1901 และ 1906[6]

ลิเวอร์พูลเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศของเอฟเอคัพครั้งแรกใน ค.ศ. 1914 โดยแพ้ให้กับเบิร์นลีย์ด้วยผลประตู 1–0 ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกสูงสุดติดต่อกันใน ค.ศ. 1922 และ 1923 แล้วก็ไม่ชนะเลิศอีกเลยจนกระทั่งฤดูกาล 1946–47 เมื่อสโมสรชนะเลิศเฟิสต์ดิวิชันเป็นสมัยที่ห้าภายใต้การคุมทีมของ จอร์จ เคย์ อดีตผู้เล่นกองหลังตัวกลางเวสต์แฮมยูไนเต็ด[7] ลิเวอร์พูลแพ้ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง โดยแพ้ให้กับอาร์เซนอล ใน ค.ศ. 1950[8] สโมสรตกชั้นไปเซคันด์ดิวิชันในฤดูกาล 1953–54[9] หลังจากลิเวอร์พูลแพ้วุร์สเตอร์ซิตี สโมสรฟุตบอลนอกลีก ในเอฟเอคัพ ฤดูกาล 1958–59 สโมสรได้แต่งตั้งให้บิลล์ แชงคลี เป็นผู้จัดการทีม เมื่อได้รับตำแหน่ง เขาปล่อยผู้เล่นจำนวน 24 คน และเปลี่ยนห้องเก็บรองเท้าที่แอนฟีลด์ให้กลายเป็นห้องสำหรับเหล่าผู้ฝึกสอนวางแผนการเล่น แชงคลีและสมาชิก "บูตรูม" คนอื่น ประกอบด้วย โจ เฟแกน, รูเบน เบนเน็ตต์และบ๊อบ เพสลีย์ เริ่มสร้างทีมใหม่กันที่นี่[10]

 
รูปปั้น บิลล์ แชงคลี ด้านนอก แอนฟีลด์ แชงคลีพาสโมสรเลื่อนชั้นสู่เฟิสต์ดิวิชันและชนะเลิศลีกสูงสุดครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1947

สโมสรเลื่อนชั้นกลับสู่เฟิสต์ดิวิชันใน ค.ศ. 1962 และชนะเลิศใน ค.ศ. 1964 ซึ่งเป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดครั้งแรกในรอบ 17 ปี สโมสรชนะเลิศเอฟเอคัพครั้งแรกใน ค.ศ. 1965 และชนะเลิศลีกสูงสุดใน ค.ศ. 1966 แต่แพ้ให้กับโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ในนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ฤดูกาล 1965–66[11] ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกและยูฟ่าคัพในฤดูกาล 1972–73 และชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้งในปีถัดมา หลังจากนั้นไม่นาน แชงคลีเกษียณออกจากตำแหน่งและบ๊อบ เพสลีย์ ผู้ช่วยของเขา ขึ้นเป็นผู้จัดการทีมแทน[12] ใน ค.ศ. 1976 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่สองที่เพสลีย์เป็นผู้จัดการทีม สโมสรชนะเลิศลีกและยูฟ่าคัพอีกครั้ง และในฤดูกาลถัดมา สโมสรชนะเลิศลีกและชนะเลิศยูโรเปียนคัพเป็นครั้งแรก แต่แพ้ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 1977 ลิเวอร์พูลชนะเลิศยูโรเปียนคัพอีกครั้งใน ค.ศ. 1978 และลีกสูงสุดใน ค.ศ. 1979[13] ตลอดเก้าฤดูกาลที่เพสลีย์เป็นผู้จัดการทีม ลิเวอร์พูลคว้าถ้วยรางวัล 20 ใบ รวมไปถึงยูโรเปียนคัพ 3 ใบ, ยูฟ่าคัพ 1 ใบ, ลีกสูงสุด 6 ใบและลีกคัพ 3 ใบติดต่อกัน การแข่งขันในประเทศรายการเดียวที่เขาไม่ได้ชนะเลิศคือเอฟเอคัพ[14]

เพสลีย์เกษียณใน ค.ศ. 1983 และโจ เฟแกนขึ้นเป็นผู้จัดการทีมแทน[15] ในฤดูกาลแรกของเฟแกน ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีก, ลีกคัพและยูโรเปียนคัพ กลายเป็นทีมอังกฤษทีมแรกที่ได้ถ้วยรางวัลสามใบในหนึ่งฤดูกาล[16] ลิเวอร์พูลเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศของยูโรเปียนคัพอีกครั้งใน ค.ศ. 1985 โดยพบกับยูเวนตุสที่สนามกีฬาเฮย์เซล ก่อนการแข่งขัน ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลพังรั้วซึ่งกั้นระหว่างผู้สนับสนุนทั้งสองฝั่งและเข้าปะทะกับผู้สนับสนุนยูเวนตุส น้ำหนักของกลุ่มผู้สนับสนุนส่งผลให้กำแพงที่กั้นพังลงมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 39 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลี อุบัติการณ์นี้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ภัยพิบัติเฮย์เซล การแข่งขันนั้นดำเนินการต่อ ทั้งที่มีการประท้วงจากผู้จัดการทีมทั้งสองทีมและลิเวอร์พูลก็แพ้ให้กับยูเวนตุสด้วยผลประตู 1–0 ผลจากโศกนาฏกรรมดังกล่าว ส่งผลให้สโมสรจากอังกฤษไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันในยุโรปเป็นเวลาห้าปี ขณะที่สโมสรลิเวอร์พูลได้รับโทษห้ามเข้าร่วมการแข่งขันสิบปี ซึ่งต่อมาลดเหลือหกปี ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลสิบสี่คนได้รับการลงโทษจากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา[17]

 
อนุสรณ์สถานฮิลส์โบโร จารึกชื่อผู้เสียชีวิต 96 คนจากภัยพิบัติฮิลส์โบโร

เฟแกนประกาศเกษียณก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติเฮย์เซลและเคนนี แดลกลีชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เล่น-ผู้จัดการทีม[18] ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง สโมสรชนะเลิศลีกสูงสุดอีกสามสมัยและเอฟเอคัพสองสมัย รวมไปถึงการได้ดับเบิลแชมป์จากการชนะเลิศลีกและเอฟเอคัพในฤดูกาล 1985–86 อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของลิเวอร์พูลถูกบดบังด้วยภัยพิบัติฮิลส์โบโร ซึ่งเป็นการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ ที่พบกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989 โดยผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลร้อยกว่าคนถูกบีบอัดติดกับรั้วกั้น[19] ส่งผลให้ผู้สนับสนุนเสียชีวิต 94 คนในวันนั้น สี่วันต่อมา ผู้เคราะห์ร้ายคนที่ 95 เสียชีวิตที่โรงพยาบาลจากอาการบาดเจ็บของเขา และเกือบสี่ปีต่อมา ผู้เคราะห์ร้ายคนที่ 96 ก็เสียชีวิต โดยไม่สามารถฟื้นคืนสติกลับมาได้[20] เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลทบทวนเรื่องความปลอดภัยของสนามกีฬา เทย์เลอร์รีพอร์ต ปูทางให้ออกกฎหมายให้สนามกีฬาของสโมสรลีกสูงสุดต้องเป็นแบบมีที่นั่งทั้งหมด รายงานระบุสาเหตุหลักของภัยพิบัติคือความแออัดของผู้คน เนื่องจากการควบคุมของตำรวจที่ล้มเหลว[21]

ลิเวอร์พูลเกือบชนะเลิศลีกสูงสุดในฤดูกาล 1988–89 หลังจบฤดูกาลด้วยคะแนนและผลต่างประตูเท่ากับอาร์เซนอล แต่จำนวนประตูได้น้อยกว่า เมื่ออาร์เซนอลทำประตูลูกสุดท้ายในนาทีสุดท้ายของฤดูกาล[22]

แดลกลีชลาออกใน ค.ศ. 1991 โดยอ้างภัยพิบัติฮิลส์โบโรและผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว แกรม ซูเนส อดีตผู้เล่นลิเวอร์พูล เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแทน[23] ภายใต้การคุมทีมของเขา ลิเวอร์พูลชนะเลิศเอฟเอคัพใน ค.ศ. 1992 แต่ผลงานในลีกนั้นไม่ค่อยดีนัก พวกเขาการจบอันดับที่ 6 สองฤดูกาลติดต่อกัน ทำให้ซูเนสถูกปลดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1994 และรอย อีแวนส์ เข้ารับตำแหน่งแทน ภายใต้การคุมทีมของอีแวนส์ ลิเวอร์พูลชนะเลิศฟุตบอลลีกคัพใน ค.ศ. 1995[24] และจบอันดับที่ 3 ใน ค.ศ. 1996 และ 1998 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดที่พวกเขาทำได้ เฌราร์ อูลีเย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมร่วมในฤดูกาล 1998–99 และกลายเป็นผู้จัดการทีมเดี่ยวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1998 หลังอีแวนส์ลาออก[25] ใน ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่สองอูลีเยที่ได้คุมทีมเต็มฤดูกาล ลิเวอร์พูลชนะเลิศทริปเปิลแชมป์ ได้แก่ เอฟเอคัพ, ลีกคัพและยูฟ่าคัพ[26] อูลีเยเข้ารับการผ่าตัดหัวใจระหว่างฤดูกาล 2001–02 และลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 2 ในลีกตามหลังอาร์เซนอล[27] ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกคัพใน ค.ศ. 2003 แต่ก็ยังไม่สามารถชนะเลิศลีกสูงสุดได้ในสองฤดูกาลถัดมา[28][29]

 
ถ้วยยูโรเปียนคัพที่ลิเวอร์พูลชนะเลิศสมัยที่ 5 เมื่อ ค.ศ. 2005

ราฟาเอล เบนิเตซเข้ารับตำแหน่งแทนอูลีเยหลังจบฤดูกาล 2003–04 ถึงแม้ว่าฤดูกาลแรกของเบนิเตซนั้นจะจบอันดับที่ 5 ในลีก แต่ลิเวอร์พูลก็ชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004–05 ด้วยการเอาชนะเอซี มิลานในการดวลลูกโทษด้วยผลประตู 3–2 หลังจากเสมอกันด้วยผลประตู 3–3[30] ฤดูกาลถัดมา ลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 3 ในพรีเมียร์ลีก และชนะเลิศเอฟเอคัพด้วยการเอาชนะเวสต์แฮมยูไนเต็ดในการดวลลูกโทษหลังจากเสมอกันด้วยผลประตู 3–3[31] นักธุรกิจชาวอเมริกัน จอร์จ ยิลเลตต์ และทอม ฮิกส์ กลายเป็นเจ้าของสโมสรระหว่างฤดูกาล 2006–07 หลังตกลงซื้อหุ้นของสโมสรซึ่งมีมูลค่ารวมกับหนี้คงค้างที่ 218.9 ล้านปอนด์[32] สโมสรเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกใน ค.ศ. 2007 ซึ่งพบกับมิลานอีกครั้ง เหมือนเมื่อ ค.ศ. 2005 แต่ก็แพ้ด้วยผลประตู 2–1[33] ช่วงระหว่างฤดูกาล 2008–09 ลิเวอร์พูลทำคะแนน 86 แต้ม เป็นสถิติของสโมสรที่ทำคะแนนเยอะที่สุดในยุคพรีเมียร์ลีกในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม พวกเขาจบอันดับที่ 2 ตามหลังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[34]

ในฤดูกาล 2009–10 ลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 7 ในพรีเมียร์ลีก ทำให้ไม่ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ส่งผลให้เบนิเตซลาออกจากตำแหน่งด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย[35] รอย ฮอดจ์สัน อดีตผู้จัดการทีมฟูลัม เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมลิเวอร์พูนแทน[36] ในช่วงเริ่มต้นฤดูกาล 2010–11 ลิเวอร์พูลนั้นเสี่ยงต่อการล้มละลายและเจ้าหนี้ของสโมสรขอให้ศาลสูงอนุญาตให้มีการขายสโมสรโดยปฏิเสธคำขอของฮิกส์และยิลเลตต์ จอห์น ดับเบิลยู. เฮนรี เจ้าของทีมบอสตันเรดซ็อกซ์และเฟนเวย์สปอร์ตกรุป ประมูลสโมสรสำเร็จและได้เป็นเจ้าของในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010[37] ผลการแข่งขันที่ย่ำแย่ในช่วงต้นฤดูกาล ทำให้ฮอดจ์สันลาออกจากตำแหน่งด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายและสโมสรแต่งตั้งเคนนี แดลกลีช อดีตผู้เล่นและผู้จัดการทีมเป็นผู้จัดการทีมอีกครั้ง[38] ในฤดูกาล 2011-12 ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกคัพเป็นสมัยที่ 8 และเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ แต่กลับจบอันดับที่ 8 ในพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นการจบอันดับที่แย่ที่สุดในรอบ 18 ปี ทำให้แดลกลีชถูกไล่ออก[39][40] และเบรนดัน ร็อดเจอส์เข้ารับตำแหน่งนี้แทน[41] ในฤดูกาล 2013–14 เขาพาลิเวอร์พูลเกือบชนะเลิศพรีเมียร์ลีกอย่างเหลือเชื่อโดยจบอันดับที่ 2 รองจากแมนเชสเตอร์ซิตี พวกเขาทำประตูในลีก 101 ลูก นับเป็นการทำประตูมากที่สุดตั้งแต่ฤดูกาล 1895–96 ที่ทำประตูไป 106 ลูก สิ่งนี้ทำให้ลิเวอร์พูลได้สิทธิ์กลับไปแข่งขันในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกอีกครั้ง[42][43] อย่างไรก็ตาม ผลงานอันน่าผิดหวังในฤดูกาล 2014–15 ซึ่งลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 6 ในลีก และการเริ่มต้นฤดูกาล 2015–16 ที่ย่ำแย่ ทำให้ร็อดเจอส์ถูกไล่ออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015[44]

เยือร์เกิน คล็อพ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมแทนร็อดเจอส์[45] ในฤดูกาลแรก คล็อพพาทีมเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลลีกคัพและยูฟ่ายูโรปาลีก แต่จบด้วยการเป็นรองแชมป์ทั้งสองรายการ[46] ลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 2 ในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2018–19 ด้วยคะแนน 97 แต้มโดยแพ้เพียงแค่เกมเดียวเท่านั้น ทำให้เป็นทีมที่ไม่ได้ชนะเลิศที่ทำแต้มมากที่สุด[47] คล็อพพาสโมสรเข้ารอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกสองปีติดต่อกันใน ค.ศ. 2018 และ 2019 โดยชนะทอตนัมฮอตสเปอร์ด้วยผลประตู 2–0 ในนัดชิงชนะเลิศ ค.ศ. 2019[48][49] ลิเวอร์พูลเอาชนะฟลาเม็งกู สโมสรจากบราซิลในนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2019 ด้วยผลประตู 1–0 ทำให้ลิเวอร์พูลชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งแรก[50] ลิเวอร์พูลชนะเลิศพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2019–20 เป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดครั้งแรกในรอบสามสิบปี[51] สโมสรทำหลายสถิติในฤดูกาลนี้ โดยรวมถึงการชนะเลิศลีกทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีกเจ็ดนัด ทำให้เป็นสโมสรที่ชนะเลิศลีกเร็วที่สุด[52] และการทำคะแนน 99 แต้มซึ่งเป็นสถิติใหม่ของสโมสร ลิเวอร์พูลชนะในลีกฤดูกาลนี้ 32 นัด นับเป็นสถิติร่วมของจำนวนนัดที่ชนะมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาลของลีกสูงสุด[53]

สีชุดแข่งและตราสโมสร

 
สีชุดทีมเหย้าของลิเวอร์พูลตั้งแต่ ค.ศ. 1892 ถึง 1896[54]

ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์ลิเวอร์พูล สีชุดทีมเหย้าของสโมสรเป็นสีแดงล้วน แต่ในช่วงที่สโมสรเพิ่งก่อตั้ง ชุดทีมเหย้าจะคล้ายกับเอฟเวอร์ตันในสมัยนั้น โดยเป็นเสื้อแบ่งสี่ส่วนสีฟ้าขาว ชุดดังกล่าวใช้ในการแข่งขันจนถึง ค.ศ. 1894 เมื่อสโมสรนำสีแดงซึ่งเป็นสีประจำเมืองมาใช้[3] ตั้งแต่ ค.ศ. 1901 สโมสรใช้นกไลเวอร์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลิเวอร์พูลเป็นตราสโมสร แต่ยังไม่ถูกนำมาอยู่ในชุดแข่งจนกระทั่งใน ค.ศ. 1955 ลิเวอร์พูลใส่ชุดแข่งขันเป็นเสื้อสีแดงและกางกางขาสั้นสีขาวจนถึง ค.ศ. 1964 เมื่อผู้จัดการทีม บิลล์ แชงคลี ตัดสินใจเปลี่ยนให้เป็นสีแดงล้วน[54] ลิเวอร์พูลลงเล่นในชุดสีแดงล้วนครั้งแรกในนัดที่พบกับอันเดอร์เลคต์ เอียน เซนต์ จอห์น ระลึกถึงในอัตชีวประวัติของเขาว่า:

เขา [แชงคลี] คิดว่าโทนสีจะส่งผลกระทบทางจิตวิทยา – สีแดงคือความอันตราย สีแดงคือพลัง วันหนึ่งเขาเข้ามาในห้องแต่งตัวและโยนกางเกงขาสั้นสีแดงคู่หนึ่งให้กับรอนนี ยีตส์ "ใส่กางเกงขาสั้นนั่นซะและมาดูว่าคุณเป็นยังไง" เขาพูด "ให้ตายเถอะ รอนนี คุณดูดีมาก ดูน่ากลัว คุณดูเหมือนสูง 7 ฟุต" "ทำไมไม่ทำให้มันสมบูรณ์แบบไปเลยล่ะ หัวหน้า?" ผมเสนอ "ทำไมไม่สวมถุงเท้าสีแดงล่ะ? ใส่สีแดงล้วนให้หมดไปเลย" แชงคลีอนุมัติและชุดที่เป็นที่จดจำก็ถือกำเนิดขึ้น[55]

สีชุดทีมเยือนของลิเวอร์พูลมักจะเป็นเสื้อสีเหลืองหรือสีขาวและกางเกงขาสั้นสีดำ ยกเว้นในบางครั้ง เช่น ใน ค.ศ. 1987 สโมสรใช้ชุดสีเทาล้วน และในฤดูกาล 1991–92 ซึ่งฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปี สโมสรใช้เสื้อสีเขียวและกางเกงขาสั้นสีขาว ชุดทีมเยือนมีหลากหลายสีในทศวรรษ 1990 ประกอบด้วย สีทองกับสีกรมท่า, สีเหลืองสดใส, สีดำและสีเทาและสีน้ำตาลอ่อน สโมสรสลับสีชุดทีมเยือนระหว่างสีเหลืองกับสีขาว จนกระทั่งในฤดูกาล 2008–09 ได้กลับมาใช้ชุดสีเทาอีกครั้ง สีชุดที่สามถูกออกแบบสำหรับนัดเยือนในการแข่งขันรายการยุโรป แต่ก็สามารถใส่ชุดที่สามในนัดเยือนของการแข่งขันในประเทศได้ หากสีชุดทีมเยือนนั้นซ้ำกับสีชุดทีมเหย้า วอร์ริเออร์สปอร์ตส์เป็นผู้ออกแบบชุดแข่งขันระหว่าง ค.ศ. 2012–2015 โดยเริ่มครั้งแรกในฤดูกาล 2012–13[56] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 บริษัทแม่ของวอร์ริเออร์ นิวบาลานซ์ ประกาศเข้าสู่ตลาดฟุตบอลโลก ชุดแข่งของสโมสรจึงถูกเปลี่ยนผู้ผลิตชุดจากวอร์ริเออร์เป็นนิวบาลานซ์[57] เสื้อผ้ายี่ห้ออื่นที่เคยผลิตให้กับสโมสรได้แก่ อัมโบรซึ่งเคยผลิตชุดแข่งให้จนถึง ค.ศ. 1985 จากนั้นอาดิดาสได้เข้าแทนที่ จนกระทั่ง ค.ศ. 1996 รีบอคได้เข้ามาแทนที่อาดิดาส และผลิตชุดแข่งให้สโมสรเป็นเวลา 10 ปี ก่อนที่อาดิดาสจะกลับมาผลิตชุดแข่งให้อีกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 2006 ถึง 2012[58] ไนกี้กลายเป็นผู้ผลิตชุดแข่งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ฤดูกาล 2020–21[59]

 
ตราสโมสรของลิเวอร์พูลอีกรูปแบบหนึ่งบนประตูแชงคลี

ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพแรกในอังกฤษที่มีตราของผู้สนับสนุนอยู่บนชุดแข่งขัน หลังทำสัญญากับฮิตาชิใน ค.ศ. 1979[60] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สโมสรได้รับการสนับสนุนจากคราวน์เพนต์ส, แคนดี, คาร์ลส์เบิร์กและสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สัญญาที่เซ็นกับคาร์ลส์เบิร์กใน ค.ศ. 1992 นั้นเป็นสัญญาที่ยาวนานที่สุดในลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ[61] สัญญานี้สิ้นสุดลงในช่วงต้นฤดูกาล 2010–11 เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดกลายเป็นผู้สนับสนุนของสโมสร[62]

ตราสโมสรของลิเวอร์พูลมีนกไลเวอร์ สัญลักษณ์ของเมือง ซึ่งในอดีตถูกนำมาใส่ในโล่ ต่อมาใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นปีที่มีการรำลึกถึงร้อยปีของสโมสร มีการออกแบบตราสโมสรใหม่โดยนำสัญลักษณ์ที่อยู่บนประตูแชงคลีมาใส่ไว้ด้วย ปีต่อมามีการใส่คบเพลิงคู่ไว้ทั้งสองด้านของตราสโมสร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของอนุสรณ์สถานฮิลส์โบโรที่ตั้งอยู่ด้านนอกแอนฟีลด์ และระลึกถึงผู้เสียชีวิตในภัยพิบัติฮิลส์โบโร[63] ใน ค.ศ. 2012 ชุดแข่งแรกของวอร์ริเออร์สปอร์ตส์นำโล่และประตูออกไป เหลือแค่นกไลเวอร์เหมือนกับชุดแข่งในทศวรรษ 1970 คบเพลิงถูกย้ายไปอยู่ด้านหลังเสื้อ ล้อมตัวเลข 96 ซึ่งเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตในภัยพิบัติฮิลส์โบโร[64]

ผู้ผลิตชุดและผู้สนับสนุนบนเสื้อ

ช่วงเวลา ผู้ผลิตชุด ผู้สนับสนุน (หน้าอก) ผู้สนับสนุน (แขนเสื้อ)
1973–1979 อัมโบร ไม่มี ไม่มี
1979–1982 ฮิตาชิ
1982–1985 คราวน์เพนต์ส
1985–1988 อาดิดาส
1988–1992 แคนดี
1992–1996 คาร์ลส์เบิร์ก
1996–2006 รีบอค
2006–2010 อาดิดาส
2010–2012 สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
2012–2015 วอร์ริเออร์สปอตส์
2015–2017 นิวบาลานซ์
2017–2020 เวสเทิร์นยูเนียน
2020– ไนกี้ เอ็กซ์พีเดีย[65]

สนามกีฬา

 
แอนฟีลด์ สนามเหย้าสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล

แอนฟีลด์ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1884 บนที่ดินติดกับสแตนลีย์พาร์ก ห่างจากตัวเมืองลิเวอร์พูล 2 ไมล์ (3 กิโลเมตร) แต่เดิมเคยเป็นสนามเหย้าของเอฟเวอร์ตัน ก่อนที่สโมสรจะย้ายไปกูดิสันพาร์ก หลังมีข้อพิพาทเรื่องค่าเช่ากับ จอห์น โฮลดิง เจ้าของแอนฟีลด์[66] ทำให้แอนฟีลด์ไม่มีผู้ใช้งาน โฮลดิงจึงก่อตั้งลิเวอร์พูลใน ค.ศ. 1892 และสโมสรได้ลงเล่นในแอนฟีลด์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ความจุของสนามในเวลานั้นคือ 20,000 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม มีผู้ชมเพียง 100 คนในการแข่งขันครั้งแรกของสโมสรที่สนามแห่งนี้[67]

อัฒจันทร์เดอะค็อป ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1906 เนื่องจากเริ่มมีผู้ชมเข้ามาชมเกมการแข่งขันมากขึ้น ในตอนแรกนั้นเรียกว่าโอกฟิลด์โรดเอ็มแบงก์เมนต์ โดยเกมแรกหลังการสร้างอัฒจันทร์นี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1906 ในนัดที่เจ้าบ้านเอาชนะสโตกซิตีด้วยผลประตู 1–0[68] ใน ค.ศ. 1906 อัฒจันทร์ฝั่งยืนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของสนามถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็นสปิออนค็อป ตั้งชื่อตามเนินเขาในควาซูลู-นาทาล ประเทศแอฟริกาใต้[69] เนินเขาเป็นที่ตั้งของยุทธการที่สปิออนค็อปในสงครามบูร์ครั้งที่สอง ซึ่งมีทหารมากกว่า 300 นายจากกองทหารแลงคาเชอร์เสียชีวิตที่นั่น โดยหลายคนมาจากลิเวอร์พูล[70] อัฒจันทร์นี้สามารถจุได้สูงสุดถึง 28,000 คน เคยเป็นหนึ่งในอัฒจันทร์ยืนชั้นเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลายสนามในอังกฤษเริ่มมีการตั้งชื่ออัฒจันทร์ว่าสปิออนค็อป แต่อัฒจันทร์สปิออนค็อปของแอนฟีลด์นี้เป็นอัฒจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น โดยสามารถจุผู้สนับสนุนได้มากกว่าสนามฟุตบอลบางแห่ง[71]

แอนฟีลด์สามารถรองรับผู้สนับสนุนสูงสุดได้มากกว่า 60,000 คนและมีความจุปกติที่ 55,000 คน จนกระทั่งในทศวรรษ 1990 หลัง เทย์เลอร์รีพอร์ต รายงานเหตุการณ์การถล่มของอัฒจันทร์ที่สนามฮิลส์โบโร พรีเมียร์ลีกจึงมีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมดในฤดูกาล 1993–94 ความจุของแอนฟีลด์จึงลดลงเหลือ 45,276 ที่นั่ง[72] ผลจากรายงานได้ผลักดันให้มีการปรับปรุงอัฒจันทร์เคมลินโรด ซึ่งปรับปรุงเสร็จใน ค.ศ. 1992 ตรงกับการครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งสโมสร จึงตั้งชื่อว่าอัฒจันทร์เซนเทเนรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอัฒจันทร์เคนนีแดลกลีชใน ค.ศ. 2017 มีการสร้างอัฒจันทร์เพิ่มอีกหนึ่งชั้นในอัฒจันทร์ฝั่งแอนฟีลด์โรดในช่วงปลาย ค.ศ. 1998 ทำให้ความจุของสนามเพิ่มขึ้น แต่เกิดปัญหาขึ้นหลังจากการเปิดใช้งาน ทำให้ต้องมีการสร้างเสาและตอม่อค้ำจุนเสริมเข้าไปเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชั้นบนสุดของอัฒจันทร์ หลังจากมีการรายงานการสั้นของชั้นอัฒจันทร์ช่วงเริ่มต้นของฤดูกาล 1999–2000[73]

เนื่องจากข้อจำกัดในการขยายความจุของแอนฟีลด์ ลิเวอร์พูลได้ประกาศแผนย้ายไปสนามกีฬาสแตนลีย์พาร์กเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002[74] แผนนี้ได้รับการอนุมัติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004[75] และในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 สภาเมืองลิเวอร์พูลได้อนุมัติสัญญาเช่า 999 ปี ทำให้ลิเวอร์พูลได้รับอนุญาตให้สร้างสนามแห่งใหม่ใกล้สแตนลีย์พาร์ก[76] ภายหลังจากการซื้อสโมสรโดยจอร์จ ยิลเลตต์ และทอม ฮิกส์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 สนามกีฬาดังกล่าวได้รับการออกแบบใหม่ โดยได้รับการอนุมัติจากสภาเมืองในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 กำหนดเปิดในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 สนามแห่งใหม่ถูกออกแบบให้มีความจุ 60,000 คน มีบริษัท เอชเคเอส เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง[77] การก่อสร้างหยุดชั่วคราวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 หลังยิลเลตต์และฮิกส์ ประสบปัญหาในการหาเงินมาลงทุน จำนวน 300 ล้านปอนด์[78] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 บีบีซีสปอร์ต รายงานว่า เฟนเวย์สปอร์ตกรุป เจ้าของใหม่ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ได้ตัดสินใจปรับปรุงสนามแอนฟีลด์แทนการสร้างสนามใหม่ในสแตนลีย์พาร์ก โดยการปรับปรุงแอนฟีลด์จะทำให้เพิ่มความจุจาก 45,276 คนเป็นประมาณ 60,000 คน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 150 ล้านปอนด์[79] เมื่อการก่อสร้างเมนสแตนด์ของแอนฟีลด์เสร็จ จะทำให้ความจุเพิ่มเป็น 54,074 คน การสร้างส่วนต่อขยายชั้นสามของอัฒจันทร์ซึ่งใช้เงิน 100 ล้านปอนด์ เป็นส่วนหนึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบแอนฟีลด์ รวมมูลค่า 260 ล้านปอนด์ เยือร์เกิน คล็อพ ผู้จัดการทีมในเวลานั้นกล่าวถึงอัฒจันทร์ว่า "น่าประทับใจ"[80]

การสนับสนุน

 
คอปิตส์ ในฝั่ง เดอะค็อป

ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งสโมสรที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดในโลก[81][82] ลิเวอร์พูลแถลงว่ามีฐานผู้สนับสนุนทั่วโลก โดยมีผู้สนับสนุนสโมสรได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการมากกว่า 200 แห่งในอย่างน้อย 50 ประเทศ กลุ่มที่มีชื่อเสียง เช่น สปิริตออฟแชงคลี[83] สโมสรจะใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนนี้ผ่านการทัวร์ฤดูร้อนทั่วโลก[84] ซึ่งรวมถึงการลงเล่นต่อหน้าผู้ชมจำนวน 101,000 คนที่มิชิแกนในสหรัฐ และผู้ชมจำนวน 95,000 คนที่เมลเบิร์นในออสเตรเลีย[85][86] ผู้สนับสนุนของลิเวอร์พูลมักเรียกตัวเองว่าเป็น คอปิตส์ ซึ่งอ้างอิงถึงผู้สนับสนุนที่เคยยืนและนั่งบนอัฒจันทร์เดอะค็อปที่แอนฟีลด์[87] ใน ค.ศ. 2008 ผู้สนับสนุนของลิเวอร์พูลได้ก่อตั้งสโมสรชื่อว่า เอเอฟซี ลิเวอร์พูล ซึ่งลงเล่นในเกมการแข่งขันให้สำหรับผู้สนับสนุนที่ไม่มีเงินดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีก[88]

เพลง "ยูลล์เนฟเวอร์วอล์กอะโลน" แต่เดิมนั้นมาจากละครเพลงของรอดเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์ ชื่อว่า แคเรอแซล ซึ่งต่อมาเจอร์รีแอนด์เดอะพีชเมเกอร์สได้บันทึกเสียงใหม่จนกลายเป็นเพลงสรรเสริญของสโมสรที่ผู้ชมในแอนฟิลด์ร้องตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960[89] ซึ่งต่อมาก็ได้รับความนิยมในหมู่ผู้สนับสนุนของของสโมสรอื่นทั่วโลก[90] ชื่อของเพลงถูกนำไปประดับบนประตูแชงคลี ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1982 เพื่อรำลึกถึงอดีตผู้จัดการทีม บิล แชงคลี คำว่า "You'll Never Walk Alone" บนประตูแชงคลี ถูกนำไปใส่ไว้ด้านบนของตราสโมสร[91]

 
ประตูแชงคลี สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับอดีตผู้จัดการทีม บิลล์ แชงคลี

ผู้สนับสนุนของสโมสรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ ภัยพิบัติสนามกีฬาเฮย์เซลเมื่อ ค.ศ. 1985 ทำให้ผู้สนับสนุนยูเวนตุสเสียชีวิต 39 คน พวกเขาถูกขังอยู่ที่มุมหนึ่งโดยผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลที่พุ่งเข้ามาหาพวกเขา น้ำหนักของผู้สนับสนุนที่อยู่มุมนั้นทำให้กำแพงพังลงมา ยูฟ่ากล่าวโทษเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นความผิดของผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลแต่เพียงผู้เดียว[92] และระงับสิทธิ์สโมสรอังกฤษทั้งหมดจากการแข่งขันรายการฟุตบอลยุโรปเป็นเวลาห้าปี ลิเวอร์พูลได้รับโทษแบนเพิ่มเติมจนไม่สามารถเข้าร่วมยูโรเปียนคัพฤดูกาล 1990–91 แม้ว่าจะชนะเลิศลีกสูงสุดใน ค.ศ. 1990 ก็ตาม[93] ผู้สนับสนุนยี่สิบเจ็ดคนถูกจับในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาและถูกส่งตัวไปยังเบลเยียมเพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคดีเมื่อ ค.ศ. 1987[94] ใน ค.ศ. 1989 หลังการพิจารณาคดีห้าเดือนในเบลเยียม ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูล 14 คนได้รับโทษจำคุก 3 ปีจากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา[95] โทษจำคุกกึ่งหนึ่งให้รอลงอาญา[96]

ภัยพิบัติครั้งที่สองเกิดขึ้นในเอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ ระหว่างลิเวอร์พูลกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ที่สนามกีฬาฮิลส์โบโรในเชฟฟิลด์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989 ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูล 96 คน เสียชีวิตจากการที่ผู้ชมเข้ามาในอัฒจันทร์ฝั่งแลปปิงส์เลนเอ็น ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อภัยพิบัติฮิลส์โบโร วันต่อมา หนังสือพิมพ์ เดอะซัน ได้ตีพิมพ์บทความ "เดอะทรูธ" ซึ่งอ้างว่าแฟนลิเวอร์พูลได้ปล้นคนที่เสียชีวิตกับโจมตีและปัสสาวะใส่ตำรวจ[97] จากการสอบสวน ข้อกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริง นำไปสู่การคว่ำบาตรหนังสือพิมพ์ โดยผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลทั่วเมืองและที่อื่น ๆ หลายคนยังปฏิเสธที่จะซื้อ เดอะซัน แม้เวลาจะผ่านมาแล้ว 30 ปี[98] องค์กรสนับสนุนหลายแห่งได้ก่อตั้งขึ้นหลังเกิดภัยพิบัติ เช่น การรณรงค์เพื่อความยุติธรรมของฮิลส์โบโร ซึ่งเป็นตัวแทนของครอบครัวผู้สูญเสีย ผู้รอดชีวิตและผู้สนับสนุนในความพยายามที่จะรักษาความยุติธรรม[99]

คู่แข่ง

 
ผู้เล่นลิเวอร์พูล (ชุดสีเทา) ระหว่างการแข่งขันพบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่โอลด์แทรฟฟอร์ด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2009 โดยลิเวอร์พูลชนะด้วยผลประตู 4–1

คู่แข่งของลิเวอร์พูลที่แข่งขันด้วยกันยาวนานที่สุดก็คือเอฟเวอร์ตัน โดยเรียกการแข่งขันนี้ว่าเมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บี จุดเริ่มต้นของการเป็นคู่แข่งนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่การก่อตั้งของลิเวอร์พูลและข้อพิพาทระหว่างคณะกรรมการของเอฟเวอร์ตันกับเจ้าของแอนฟีลด์[100] เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีเป็นหนึ่งในดาร์บีท้องถิ่นที่ไม่มีการบังคับแบ่งแยกผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย จึงเป็นที่รู้จักในฐานะ "ดาร์บีมิตรภาพ"[101] ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 การแข่งขันเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในสนามและนอกสนาม โดยเฉพาะตั้งแต่ก่อตั้งพรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 1992 เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีเป็นการแข่งขันที่มีผู้เล่นได้รับใบแดงและถูกไล่ออกจากสนามมากกว่านัดการแข่งขันอื่น ๆ เรียกได้ว่าเป็น "การแข่งขันที่ไร้กติกาและเดือดที่สุดในพรีเมียร์ลีก"[102] ในแง่ของการสนับสนุนภายในเมือง จำนวนของผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลนั้นมีมากกว่าเอฟเวอร์ตันในอัตราส่วน 2:1[103]

ความเป็นคู่แข่งของลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเกิดขึ้นมาตั้งแต่การแข่งขันของทั้งสองเมืองในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19[104] ทั้งสองเมืองเชื่อมถึงกันด้วยทางรถไฟระหว่างเมืองแห่งแรกของโลกและทางถนน ลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์นั้นห่างกันไปตามถนนอีสแลงซ์สประมาณ 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร)[105] นิตยสาร ฟรานซ์ฟุตบอล จัดอันดับให้ลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสองสโมสรที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ ทั้งสองสโมสรเป็นทีมจากอังกฤษที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และก็มีผู้สนับสนุนทั่วโลก[106][107] การแข่งขันนี้ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในคู่แข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกฟุตบอลและเป็นการแข่งขันที่มีชื่อเสียงที่สุดในฟุตบอลอังกฤษ[108][109][110] ทั้งสองสโมสรผลัดกันชนะเลิศระหว่าง ค.ศ. 1964 ถึง 1967[111] และแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกลายเป็นทีมจากอังกฤษทีมแรกที่ชนะเลิศยูโรเปียนคัพใน ค.ศ. 1968 ก่อนที่ลิเวอร์พูลจะชนะเลิศในรายการยูโรเปียนคัพ 4 สมัยในเวลาต่อมา[112] เมื่อรวมกันแล้วทั้งสองสโมสรชนะเลิศลีกสูงสุด 39 สมัยและยูโรเปียนคัพ 9 สมัย[111] ทั้งสองสโมสรนั้นประสบความสำเร็จต่างช่วงเวลา ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่ชนะเลิศลีกสูงสุดยาวนาน 26 ปี และความสำเร็จของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในยุคพรีเมียร์ลีก เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ลิเวอร์พูลไม่ชนะเลิศลีกสูงสุดยาวนาน 30 ปี[113] และทั้งสองสโมสรจบฤดูกาลเป็นที่หนึ่งกับที่สองในลีกด้วยกันแค่ห้าครั้งเท่านั้น[111] ด้วยความเป็นคู่แข่ง ทำให้ทั้งสองสโมสรทำการซื้อขายผู้เล่นระหว่างกันน้อยมาก ผู้เล่นคนสุดท้ายที่ย้ายระหว่างสองสโมสรคือ ฟิล ชิสนอลล์ ที่ย้ายจากลิเวอร์พูลไปแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเมื่อ ค.ศ. 1964[114]

ความเป็นเจ้าของและฐานะทางการเงิน

 
จอห์น ดับเบิลยู. เฮนรี ของเฟนเวย์สปอร์ตกรุป เจ้าของลิเวอร์พูล

จอห์น โฮลดิง เป็นประธานคนแรกของสโมสร ในฐานะที่เป็นเจ้าของแอนฟีลด์และผู้ก่อตั้งของลิเวอร์พูล เขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1892 จนถึง ค.ศ. 1904 ต่อมา จอห์น แมกเคนนา เข้ามารับตำแหน่งเป็นประธานสโมสรหลังจากที่โฮลดิงออกไป[115] และได้กลายเป็นประธานของฟุตบอลลีก[116] มีการผลัดเปลี่ยนตำแหน่งประธานสโมสรอยู่หลายคน ก่อนที่จอห์น สมิธ ซึ่งพ่อของเขาเป็นผู้ถือหุ้นของสโมสร เข้ามารับตำแหน่งใน ค.ศ. 1973 เขาเป็นประธานสโมสรในช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของลิเวอร์พูล ก่อนที่เขาจะก้าวลงจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1990[117] โนเอล ไวต์ เข้ารับตำแหน่งประธานสโมสรในปีเดียวกัน[118] เดวิด มัวร์ส ซึ่งครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของสโมสรยาวนานกว่า 50 ปี เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสรใน ค.ศ. 1991 ลุงของเขา จอห์น มัวร์ส เคยเป็นผู้ถือหุ้นของลิเวอร์พูลและเคยเป็นประธานของเอฟเวอร์ตัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ถึง 1973 มัวร์สเป็นเจ้าของสโมสรร้อยละ 51 และใน ค.ศ. 2004 เขาแสดงความเต็มใจที่จะพิจารณาการเสนอราคาสำหรับหุ้นของเขาในลิเวอร์พูล[119]

ท้ายที่สุด มัวร์สขายสโมสรให้กับนักธุรกิจชาวอเมริกัน จอร์จ ยิลเลตต์ และทอม ฮิกส์ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 โดยที่ข้อตกลงมีมูลค่าสโมสรและหนี้คงค้างที่ 218.9 ล้านปอนด์ ทั้งสองคนจ่าย 5,000 ปอนด์ต่อหุ้น หรือ 174.1 ล้านปอนด์สำหรับการถือหุ้นทั้งหมดและ 44.8 ล้านปอนด์เพื่อชำระหนี้สินของสโมสร[120] ความขัดแย้งระหว่างยิลเลตต์กับฮิกส์และการที่ผู้สนับสนุนไม่สนับสนุนพวกเขา ทำให้ทั้งสองคนต้องการขายสโมสร[121] มาร์ติน บรอตัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสโมสรเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2010 เพื่อดูแลการขายสโมสร[122] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 มีบัญชีที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทโฮลดิงของสโมสรมีหนี้ 350 ล้านปอนด์ (เนื่องจากการซื้อสโมสรที่ใช้เงินจากการยืม) พร้อมกับขาดทุน 55 ล้านปอนด์ ทำให้ผู้สอบบัญชีอย่างเคพีเอ็มจีมีคุณสมบัติเป็นผู้ทำรายงานตรวจสอบบัญชี[123] กลุ่มของเจ้าหนี้รวมไปถึงรอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์นำตัวยิลเลตต์กับฮิกส์ขึ้นศาล และบังคับให้พวกเขาอนุญาตให้คณะกรรมการดำเนินการขายสโมสรและสินทรัพย์หลักของบริษัทโฮลดิง คริสโตเฟอร์ ฟลอยด์ ผู้พิพากษาศาลสูง ตัดสินให้เจ้าหนี้ชนะคดีและปูทางให้เกิดการขายสโมสรให้กับเฟนเวย์สปอร์ตกรุป (อดีต นิวอิงแลนด์สปอร์ตเวนเจอร์ส) ถึงแม้ว่ายิลเลตต์กับฮิกส์ยังคงมีตัวเลือกในการอุทธรณ์[124] ยิลเลตต์กับฮิกส์ขายลิเวอร์พูลให้กับเฟนเวย์สปอร์ตกรุปเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เป็นจำนวนเงิน 300 ล้านปอนด์[125]

ลิเวอร์พูลได้รับการขนานนามว่าเป็นตราสินค้าระดับโลก จากรายงานเมื่อ ค.ศ. 2010 เครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องของสโมสรถูกประเมินมูลค่าไว้ที่ 141 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ 5 ล้านปอนด์ ลิเวอร์พูลได้รับการจัดอันดับเรตติงของแบรนด์ให้อยู่ในระดับ AA (แข็งแกร่งมาก)[126] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 นิตยสารธุรกิจ ฟอบส์ จัดอันดับให้ลิเวอร์พูลอยู่ในอันดับที่ 6 ของทีมฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก รองจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, เรอัลมาดริด, อาร์เซนอล, บาร์เซโลนา และไบเอิร์นมิวนิก โดยประเมินมูลค่าของลิเวอร์พูลไว้ที่ 822 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (532 ล้านปอนด์) ไม่รวมหนี้[127] นักบัญชีจากดีลอยต์จัดอันดับให้ลิเวอร์พูลอยู่ในอันดับที่ 8 ในดีลอยต์ฟุตบอลมันนีลีก ซึ่งเป็นการจัดอันดับสโมสรฟุตบอลในโลกในแง่ของรายได้ รายได้ของลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2009–10 อยู่ที่ 225.3 ล้านยูโร[128] รายงานของดีลอยต์เมื่อ ค.ศ. 2018 ระบุว่า ในปีก่อนหน้า สโมสรมีรายได้ประจำปีอยู่ที่ 424.2 ล้านยูโร[129] และ ฟอบส์ ประเมินมูลค่าสโมสรไว้ที่ 1.944 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[130] ต่อมาใน ค.ศ. 2018 รายได้ประจำปีเพิ่มขึ้นเป็น 513.7 ล้านยูโร[131] และ ฟอบส์ ประเมินมูลค่าสโมสรไว้ที่ 2.183 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[132] และใน ค.ศ. 2019 ดีลอยต์รายงานว่า รายได้ประจำปีเพิ่มขึ้นเป็น 604 ล้านยูโร (533 ล้านปอนด์) ทำให้สโมสรทำเงินเกินห้าร้อยล้านปอนด์[133]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 ผู้สนับสนุนและสื่อต่าง ๆ แสดงความไม่พอใจต่อเจ้าของสโมสร หลังตัดสินใจจะพักงานลูกจ้างที่ไม่ใช่นักเตะในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[134] ทำให้สโมสรกลับคำและขอโทษสำหรับการตัดสินใจในตอนแรกของพวกเขา[135] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ฟอบส์ ประเมินมูลค่าสโมสรไว้ที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสองปีนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 88 ทำให้ลิเวอร์พูลกลายเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ห้าของโลก[136]

ลิเวอร์พูลในสื่อ

ลิเวอร์พูลปรากฏในรายการ แมตช์ออฟเดอะเดย์ ของบีบีซี ซึ่งออกอากาศไฮไลต์การแข่งขันระหว่างพวกเขากับอาร์เซนอลที่แอนฟีลด์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1964 การแข่งขันฟุตบอลนัดแรกที่ออกอากาศเป็นภาพสีทางโทรทัศน์คือ นัดการแข่งระหว่างลิเวอร์พูลกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด ถ่ายทอดสดในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1967[137] ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลปรากฏในเพลงของพิงก์ฟลอยด์ชื่อว่า "เฟียร์เลสส์" โดยพวกเขาร้องเพลงที่ตัดตอนมาจากเพลง "ยูลล์เนฟเวอร์วอล์กอะโลน"[138] ลิเวอร์พูลปล่อยเพลง "แอนฟีลด์แรป" โดยมีจอห์น บาร์นส์ และสมาชิกคนอื่น ๆ ในทีมร่วมร้องเพลงนี้ เพื่อเป็นที่จดจำของสโมสรที่เข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพเมื่อ ค.ศ. 1988 [139]

ละครสารคดีเกี่ยวกับภัยพิบัติฮิลส์โบโร เขียนบทโดยจิมมี แมกโกฟเวิร์น ออกอากาศเมื่อ ค.ศ. 1996 แสดงนำโดยคริสโตเฟอร์ เอกเกิลสตัน เป็นเทรเวอร์ ฮิกส์ ผู้สูญเสียลูกสาววัยรุ่นสองคนในภัยพิบัติ และเป็นผู้รณรงค์เพื่อการออกแบบสนามกีฬาที่ปลอดภัยและช่วยก่อตั้งกลุ่มสนับสนุนครอบครัวฮิลส์โบโร[140] ลิเวอร์พูลปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง คู่บรรลัย ใส่เกียร์ลุย (อังกฤษ: The 51st State) โดยตัวละครอดีตนักฆ่า เฟลิกซ์ เดอซูซา (รอเบิร์ต คาร์ไลล์) เป็นผู้สนับสนุนของทีมและฉากสุดท้ายเกิดขึ้นในเกมการแข่งขันระหว่างลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[141] สโมสรปรากฏในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก สกัลลี ซึ่งเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่พยายามเข้ามาทดสอบฝีเท้ากับลิเวอร์พูล[142]

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2024[143]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   อาลีซง แบเกร์ (กัปตันคนที่ 4)
2 DF   โจ โกเมซ
3 MF   วาตารุ เอ็นโด
4 DF   เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ (กัปตัน)
5 DF   อีบราอีมา โกนาเต
6 MF   เตียโก อัลกันตารา
7 FW   ลุยส์ ดิอัซ
8 MF   โดมินิก โซโบสลอยี
9 FW   ดาร์วิน นุญเญซ
10 MF   อาเลกซิส มัก อาลิสเตร์
11 FW   มุฮัมมัด เศาะลาห์
13 GK   อาเดรียน
17 MF   เคอร์ติส โจนส์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 FW   โกดี คักโป
19 FW   ฮาร์วีย์ เอลเลียต
20 FW   ดีโยกู ฌอตา
21 DF   กอสตัส ซีมีกัส
26 DF   แอนดรูว์ รอเบิร์ตสัน (กัปตันคนที่ 3)
32 DF   ฌอแอล มาติป
38 MF   ไรอัน กราเฟินแบร์ค
43 MF   สเตฟาน บัยเชติช
50 FW   เบ็น โดก
62 GK   คีวีน เคลลิเฮอร์
66 MF   เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ (รองกัปตัน)
78 DF   จาเรลล์ ควอนซาห์
84 DF   คอเนอร์ แบรดลีย์

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 DF   แคลวิน แรมซีย์ (ไป โบลตันวอนเดอเรอส์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2024)[144]
28 FW   ฟาบียู การ์วัลยู (ไป ฮัลล์ซิตี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2024)[145]
45 GK   มาร์เซลู ปิตาลูกา (ไป เซนต์แพตทริคส์แอธเลติก จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024)[146]
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
46 DF   รีส วิลเลียมส์ (ไป พอร์ตเวล จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2024)[147]
47 DF   นาธาเนียล ฟิลลิปส์ (ไป คาร์ดิฟฟ์ซิตี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2024)[148]
72 DF   แซ็ปป์ ฟัน เดิน แบร์ค (ไป ไมนทซ์ 05 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2024)[149]

ทีมสำรองและศูนย์เยาวชน

อดีตผู้เล่น

สถิติผู้เล่น

กัปตันทีม

ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรใน ค.ศ. 1892 มีผู้เล่น 45 คนที่ได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล[150] แอนดรูว์ ฮานนาห์ เป็นกัปตันทีมคนแรกหลังจากที่ลิเวอร์พูลก่อตั้งสโมสรโดยแยกตัวจากเอฟเวอร์ตัน อเล็กซ์ เรสเบค เป็นกัปตันทีมระหว่าง ค.ศ. 1899–1909 และเป็นผู้เล่นที่ทำหน้าที่กัปตันทีมยาวนานที่สุด ก่อนที่สตีเวน เจอร์ราด ซึ่งอยู่กับลิเวอร์พูลยาวนานถึง 12 ฤดูกาล ตั้งแต่ 2003–04 จะทำลายสถิติ[150] กัปตันทีมคนปัจจุบันคือ เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ ทำหน้าที่แทน จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ในฤดูกาล 2023–24 หลังเฮนเดอร์สันย้ายไป อัลอิตติฟาก

ชื่อ ระยะเวลา
  แอนดรูว แฮนนาห์ 1892–1895
  จิมมี รอสส์ 1895–1897
  จอห์น แม็กคาร์ตนีย์ 1897–1898
  แฮร์รี สโตเรอร์ 1898–1899
  อเล็กซ์ เรสเบค 1899–1909
  อาเธอร์ กอดดาร์ด 1909–1912
  อีเฟรียม ลองเวิร์ธ 1912–1913
  แฮร์รี โลว์ 1913–1915
  โดนัลด์ แมกคินลีย์ 1919–1920
  อีเฟรียม ลองเวิร์ธ 1920–1921
  โดนัลด์ แมกคินลีย์ 1921–1928
  ทอม บรอมโลว์ 1928–1929
  เจมส์ แจ็คสัน จูเนียร์ 1929–1930
  ทอม มอร์ริสัน 1930–1931
  ทอม บราดชอว์ 1931–1934
  ทอม คูเปอร์ 1934–1939
ชื่อ ระยะเวลา
  แมตต์ บัสบี 1939–1940
  วิลลี เฟแกน 1945–1947
  แจ็ก บัลเมอร์ 1947–1950
  ฟิล เทย์เลอร์ 1950–1953
  บิลล์ โจนส์ 1953–1954
  ลอรี ฮิวจ์ส 1954–1955
  บิลลี ลิดเดลล์ 1955–1958
  จอห์นนี วีลเลอร์ 1958–1959
  รอนนี โมแรน 1959–1960
  ดิก ไวต์ 1960–1961
  รอน ยีตส์ 1961–1970
  ทอมมี สมิธ 1970–1973
  เอมลิน ฮิวจ์ส 1973–1978
  ฟีล ทอมป์สัน 1978–1981
  เกรอัม ซูนิสส์ 1982–1984
  ฟีล นีล 1984–1985
ชื่อ ระยะเวลา
  แอลัน แฮนเซน 1985–1988
  รอนนี วีแลน 1988–1989
  แอลัน แฮนเซน 1989–1990
  รอนนี วีแลน 1990–1991
  สตีฟ นิโคล 1990–1991
  มาร์ก ไรท์ 1991–1993
  เอียน รัช 1993–1996
  จอห์น บานส์ 1996–1997
  พอล อินซ์ 1997–1999
  เจมี เรดเนปป์ 1999–2002
  ซามี ฮูเปีย 2001–2003
  สตีเวน เจอร์ราร์ด 2003–2015
  จอร์แดน เฮนเดอร์สัน 2015–2023
  เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ 2023–

ผู้เล่นแห่งฤดูกาล

บุคลากร

เกียรติประวัติ

 
ถ้วยยูโรเปียนคัพหกใบที่ลิเวอร์พูลได้จากการชนะเลิศตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ถึง 2019 จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ของสโมสร

ถ้วยรางวัลแรกของลิเวอร์พูลคือแลงคาเชอร์ลีก ซึ่งชนะเลิศในฤดูกาลแรกของสโมสร[5] ต่อมาใน ค.ศ. 1901 สโมสรชนะเลิศลีกสมัยแรก ในขณะที่สมัยที่ 19 หรือสมัยล่าสุดเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2020 ความสำเร็จแรกในเอฟเอคัพเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1965 ช่วงที่ลิเวอร์พูลชนะถ้วยรางวัลมากที่สุดคือทศวรรษ 1980 ซึ่งสโมสรชนะเลิศลีก 6 สมัย เอฟเอคัพ 2 สมัย ลีกคัพ 4 สมัย ฟุตบอลลีกซูเปอร์คัพ 1 สมัย แชริตีชีลด์ 5 สมัย (ร่วมกับสโมสรอื่น 1 สมัย) และยูโรเปียนคัพ 2 สมัย

สโมสรมีจำนวนนัดที่ชนะและคะแนนบนลีกสูงสุดมากกว่าทีมอื่นในอังกฤษ[158] ลิเวอร์พูลยังมีอันดับในลีกโดยเฉลี่ยสูงสุด (3.3) ในช่วง 50 ปีนับถึง ค.ศ. 2015[159] และมีอันดับลีกเฉลี่ยสูงเป็นอันดับที่สอง (8.7) ในช่วง ค.ศ. 1900–1999 รองจากอาร์เซนอล[160]

ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรบริติชที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในระดับนานาชาติที่ 14 สมัย โดยชนะเลิศยูโรเปียนคัพหรือยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสโมสรสูงสุดของยูฟ่า 6 สมัย นับเป็นสถิติสูงสุดของทีมอังกฤษ และเป็นรองเพียงเรอัลมาดริดและเอซี มิลาน การชนะเลิศยูโรเปียนคัพสมัยที่ 5 ของลิเวอร์พูลใน ค.ศ. 2005 ทำให้สโมสรได้รับถ้วยรางวัลถาวรและยังได้รับตราผู้ชนะหลายสมัยด้วย[161][162] ลิเวอร์พูลยังถือสถิติเป็นทีมจากอังกฤษที่ชนะเลิศยูฟ่าคัพ การแข่งขันระดับที่สองของสโมสรยุโรป มากที่สุดที่ 3 สมัย[163] ใน ค.ศ. 2019 สโมสรชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกเป็นสมัยแรก ทำให้เป็นสโมสรแรกจากอังกฤษที่ชนะเลิศสามรายการระดับทวีป ได้แก่ สโมสรโลก แชมเปียนส์ลีก และยูฟ่าซูเปอร์คัพ[164][165]

เกียรติประวัติของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
ระดับ การแข่งขัน ชนะเลิศ ฤดูกาล
ประเทศ เฟิสต์ดิวิชัน/พรีเมียร์ลีก[note 1] 19 1900–01, 1905–06, 1921–22, 1922–23, 1946–47, 1963–64, 1965–66, 1972–73, 1975–76, 1976–77, 1978–79, 1979–80, 1981–82, 1982–83, 1983–84, 1985–86, 1987–88, 1989–90, 2019–20
เซคันด์ดิวิชัน[note 1] 4 1893–94, 1895–96, 1904–05, 1961–62
เอฟเอคัพ 8 1964–65, 1973–74, 1985–86, 1988–89, 1991–92, 2000–01, 2005–06, 2021–22
ฟุตบอลลีกคัพ/อีเอฟแอลคัพ 10 1980–81, 1981–82, 1982–83, 1983–84, 1994–95, 2000–01, 2002–03, 2011–12, 2021–22, 2023-24
เอฟเอแชริตีชีลด์/เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 16 1964*, 1965*, 1966, 1974, 1976, 1977*, 1979, 1980, 1982, 1986*, 1988, 1989, 1990*, 2001, 2006, 2022 (* ร่วม)
ทวีป ยูโรเปียนคัพ/ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 6 1976–77, 1977–78, 1980–81, 1983–84, 2004–05, 2018–19
ยูฟ่าคัพ/ยูฟ่ายูโรปาลีก 3 1972–73, 1975–76, 2000–01
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 1977, 2001, 2005, 2019
โลก ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 2019

ระดับรอง

ดับเบิลแชมป์และทริปเปิลแชมป์

อ้างอิง

  1. "Happy birthday LFC? Not quite yet..." Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 15 March 2014. Liverpool F.C. was born on 3 June 1892. It was at John Houlding's house in Anfield Road that he and his closest friends left from Everton FC, formed a new club.
  2. Beattie, Adam (2024-02-10). "12 new photos and video as Anfield Road End nears full capacity". This Is Anfield (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  3. 3.0 3.1 "Liverpool Football Club is formed". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
  4. Graham 1985, p. 14.
  5. 5.0 5.1 Kelly 1988, p. 15.
  6. Graham 1985, pp. 16–18.
  7. Graham 1985, p. 20.
  8. Liversedge 1991, p. 14.
  9. Kelly 1988, pp. 50–51.
  10. Kelly 1988, p. 57.
  11. "1965/66: Stan the man for Dortmund". Union of European Football Associations (UEFA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2014.
  12. Kelly 1999, p. 86.
  13. Pead 1986, p. 414.
  14. Kelly 1988, p. 157.
  15. Kelly 1988, p. 158.
  16. Cox, Russell & Vamplew 2002, p. 90.
  17. "On This Day – 29 May 1985: Fans die in Heysel rioting". BBC. 29 May 1985. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
  18. Kelly 1988, p. 172.
  19. "On This Day – 15 April 1989: Soccer fans crushed at Hillsborough". BBC. 15 April 1989. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
  20. Pithers, Malcolm (22 December 1993). "Hillsborough victim died 'accidentally': Coroner says withdrawal of treatment not to blame". The Independent. สืบค้นเมื่อ 28 August 2010.
  21. "A hard lesson to learn". BBC. 15 April 1999. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
  22. Cowley, Jason (29 March 2009). "The night Football was reborn". The Observer. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  23. Liversedge 1991, pp. 104–105.
  24. Scully, Mark (22 February 2012). "LFC in the League Cup final: 1995 – McManaman masterclass wins praise from wing wizard Matthews". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
  25. Kelly 1999, p. 227.
  26. "Houllier acclaims Euro triumph". BBC Sport. 16 May 2001. สืบค้นเมื่อ 24 March 2007.
  27. "Houllier 'satisfactory' after surgery". BBC Sport. 15 October 2001. สืบค้นเมื่อ 13 March 2007.
  28. "Liverpool lift Worthington Cup". BBC Sport. 2003-03-02. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
  29. "English Premier League 2003–2004: Table". Statto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
  30. "AC Milan 3–3 Liverpool (aet)". BBC Sport. 25 May 2005. สืบค้นเมื่อ 15 April 2007.
  31. "Liverpool 3–3 West Ham (aet)". BBC Sport. 13 May 2006. สืบค้นเมื่อ 26 August 2010.
  32. "US pair agree Liverpool takeover". BBC Sport. 6 February 2007. สืบค้นเมื่อ 2 March 2007.
  33. McNulty, Phil (23 May 2007). "AC Milan 2–1 Liverpool". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 May 2007.
  34. "Liverpool's top-flight record". LFC History. สืบค้นเมื่อ 19 August 2011.
  35. "Rafael Benitez leaves Liverpool: club statement". The Daily Telegraph. 3 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-06. สืบค้นเมื่อ 3 June 2010.
  36. "Liverpool appoint Hodgson". Liverpool F.C. 1 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
  37. Gibson, Owen (15 October 2010). "Liverpool FC finally has a new owner after 'win on penalties'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
  38. "Roy Hodgson exits and Kenny Dalglish takes over". BBC Sport. 8 January 2011. สืบค้นเมื่อ 22 April 2011.
  39. Bensch, Bob; Panja, Tariq (16 May 2012). "Liverpool Fires Dalglish After Worst League Finish in 18 Years". Bloomberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2012.
  40. Ingham, Mike (16 May 2012). "Kenny Dalglish sacked as Liverpool manager". BBC. สืบค้นเมื่อ 10 June 2012.
  41. "Liverpool manager Brendan Rodgers to 'fight for his life'". BBC. 1 June 2012. สืบค้นเมื่อ 10 June 2012.
  42. Ornstein, David (12 May 2014). "Liverpool: Premier League near-miss offers hope for the future". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  43. "Goals". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2012.
  44. "Brendan Rodgers: Liverpool boss sacked after Merseyside derby". BBC Sport. 4 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
  45. Smith, Ben (8 October 2015). "Liverpool: Jurgen Klopp confirmed as manager on £15m Anfield deal". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
  46. "Liverpool 1–3 Sevilla". BBC. 18 May 2016.
  47. "Premier League: The numbers behind remarkable title battle" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2019-05-19.
  48. "Liverpool beat Spurs to become champions of Europe for sixth time". BBC. สืบค้นเมื่อ 1 June 2019.
  49. "Real Madrid 3-1 Liverpool" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-05-26. สืบค้นเมื่อ 2019-05-19.
  50. "Firmino winner seals Club World Cup win". BBC. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
  51. "Liverpool win Premier League: Reds' 30-year wait for top-flight title ends". BBC. สืบค้นเมื่อ 25 June 2020.
  52. Sport, Telegraph (2020-07-22). "Liverpool lift the Premier League trophy tonight - these are the records they've broken on the way". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2020-07-24.
  53. "Champions Liverpool beat Newcastle to finish on 99 points". BBC. 26 July 2020. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
  54. 54.0 54.1 "Historical LFC Kits". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2010. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  55. St. John, Ian (9 October 2005). "Shankly: the hero who let me down". The Times. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
  56. "LFC and Warrior announcement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2012. สืบค้นเมื่อ 18 January 2012.
  57. Badenhausen, Kurt (4 February 2015). "New Balance Challenges Nike And Adidas With Entry into Global Soccer Market". Forbes. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
  58. Crilly 2007, p. 28.
  59. "LFC announces multi-year partnership with Nike as official kit supplier from 2020-21". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
  60. Dart, James; Tinklin, Mark (6 July 2005). "Has a streaker ever scored?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 August 2007.
  61. Espinoza, Javier (8 May 2009). "Carlsberg and Liverpool might part ways". Forbes. สืบค้นเมื่อ 23 July 2008.
  62. "Liverpool and Standard Chartered announce sponsorship deal". Standard Chartered Bank. 14 September 2009. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  63. "Hillsborough". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  64. "Liverpool kit launch sparks anger among Hillsborough families". BBC Sport. BBC. 11 May 2012. สืบค้นเมื่อ 17 May 2012.
  65. "Liverpool land Expedia sleeve deal following Western Union departure - SportsPro Media". www.sportspromedia.com. สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
  66. Liversedge 1991, p. 112.
  67. Kelly 1988, p. 187.
  68. Moynihan 2009, p. 24.
  69. Liversedge 1991, p. 113.
  70. Kelly 1988, p. 188.
  71. Pearce, James (23 August 2006). "How Kop tuned into glory days". Liverpool Echo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2009. สืบค้นเมื่อ 6 December 2008.
  72. "Club Directory" (PDF). Premier League Handbook Season 2010/11. Premier League. 2010. p. 35. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 December 2010. สืบค้นเมื่อ 17 August 2010.
  73. "Anfield". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 15 August 2010.
  74. "Liverpool unveil new stadium". BBC Sport. 17 May 2002. สืบค้นเมื่อ 17 March 2007.
  75. Hornby, Mike (31 July 2004). "Reds stadium gets go-ahead". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
  76. "Liverpool get go-ahead on stadium". BBC Sport. 8 September 2006. สืบค้นเมื่อ 8 March 2007.
  77. "Liverpool's stadium move granted". BBC. 6 November 2007. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  78. "Liverpool stadium 'will be built'". BBC Sport. 17 September 2009. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  79. Smith, Ben (15 October 2012). "Liverpool to redevelop Anfield instead of building on Stanley Park". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
  80. "Liverpool's new Main Stand boosts Anfield capacity to 54,000". BBC News. BBC. 9 September 2016. สืบค้นเมื่อ 27 September 2019.
  81. "How Liverpool's worldwide fanbase will be tuning into events at Manchester United". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
  82. Rice, Simon (6 November 2009). "Manchester United top of the 25 best supported clubs in Europe". The Independent. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
  83. "LFC Official Supporters Clubs". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
  84. "Asia Tour 2011". Liverpool F.C. 27 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2015. สืบค้นเมื่อ 2 September 2014.
  85. "Steven Gerrard delights the MCG crowd as Liverpool beats Melbourne Victory 2–0". ABC. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
  86. "Man Utd 1–4 Liverpool: Xherdan Shaqiri scores stunning overhead kick". BBC. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
  87. "Anfield giants never walk alone". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). 11 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2008. สืบค้นเมื่อ 14 November 2008.
  88. George, Ricky (18 March 2008). "Liverpool fans form a club in their price range". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 18 March 2008.
  89. Hart, Simon (25 October 2013). "Anfield's 50 years of never walking alone". The Independent. สืบค้นเมื่อ 20 July 2018.
  90. "Liverpool". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  91. "LFC Crests". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
  92. McKie, David (31 May 1985). "Thatcher set to demand FA ban on games in Europe". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 December 2008.
  93. "The Heysel disaster". BBC. 29 May 2000. สืบค้นเมื่อ 7 December 2008.
  94. "1987: Liverpool fans to stand trial in Belgium". BBC. 9 September 1987. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  95. Jackson, Jamie (4 April 2005). "The witnesses". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 May 2006.
  96. "Liverpool remembers Heysel". BBC. 29 May 2000. สืบค้นเมื่อ 24 May 2006.
  97. Smith, David (11 July 2004). "The city that eclipsed the Sun". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 December 2008.
  98. Burrell, Ian (8 July 2004). "An own goal? Rooney caught in crossfire between 'The Sun' and an unforgiving city". The Independent. สืบค้นเมื่อ 22 December 2008.
  99. "Hillsbrough Family Support Group". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2012. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  100. "Classic: Everton-Liverpool". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). 11 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2009. สืบค้นเมื่อ 20 December 2008.
  101. Smith, Rory (24 January 2009). "Liverpool and Everton no longer play the 'friendly derby' as fans become more vitriolic". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 26 August 2010.
  102. Smith, Rory (7 February 2010). "Liverpool 1 Everton 0: match report". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
  103. "Everton's research confirms Liverpool fans vastly outweigh them in the city". MSN. 20 February 2020.
  104. Rohrer, Finlo (21 August 2007). "Scouse v Manc". BBC. สืบค้นเมื่อ 3 April 2008.
  105. "Red rivalry on England's north-west". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-09. สืบค้นเมื่อ 8 July 2020.
  106. Bray, Joe (12 February 2019). "Manchester United ranked as the biggest football club in England ahead of Liverpool FC". Manchester Evening News. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  107. Taylor, Daniel (21 October 2019). "Manchester United v Liverpool: the battle for Asia". The Athletic. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  108. "Manchester United v Liverpool: The biggest game in football". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  109. "The 20 biggest rivalries in world football ranked – Liverpool vs Manchester Utd". The Telegraph. 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
  110. "The 7 Greatest Rivalries in Club Football: From Boca to the Bernabeu". The Bleacher Report. 26 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
  111. 111.0 111.1 111.2 Cox, Michael (12 December 2014). "Man Utd vs. Liverpool is close to a classic rivalry, but lacks major drama". ESPN FC.
  112. "Liverpool VS Manchester United: Red rivalry on England's north-west". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-03. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
  113. Jolly, Richard (13 December 2014). "Manchester United – Liverpool remains English football's No.1 rivalry". Goal.com.
  114. Ingle, Sean; Murray, Scott (10 May 2000). "Knowledge Unlimited". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 26 February 2008.
  115. Liversedge 1991, p. 108.
  116. Liversedge 1991, p. 109.
  117. Liversedge 1991, p. 110.
  118. Reade 2009, p. 206.
  119. Narayana, Nagesh (5 March 2008). "Factbox Soccer who owns Liverpool Football Club". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  120. Wilson, Bill (6 February 2007). "US business duo at Liverpool helm". BBC. สืบค้นเมื่อ 2 December 2008.
  121. McNulty, Phil (20 January 2008). "Liverpool braced for takeover bid". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2 December 2008.
  122. Bandini, Paolo (16 April 2010). "Liverpool appoint Martin Broughton as chairman to oversee sale of club". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010.
  123. Conn, David (7 May 2010). "Auditors cast doubt on future of Liverpool after losses". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 8 May 2010.
  124. "Liverpool takeover to go ahead as owners lose case". ESPN. 13 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-16. สืบค้นเมื่อ 23 March 2011.
  125. "Liverpool takeover completed by US company NESV". BBC Sport. 15 October 2010. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  126. "Top 25 Football Club Brands" (PDF). Brand Finance. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  127. "Liverpool". Forbes. 21 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 August 2010.
  128. Wilson, Bill (10 February 2011). "Real Madrid top football rich list for sixth year". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  129. "Deloitte Football Money League 2018". Deloitte. 23 January 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2018.
  130. Ozanian, Mike. "The World's Most Valuable Soccer Teams 2018". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2018-06-12.
  131. "Deloitte Football Money League 2018". Deloitte. 23 January 2018. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
  132. Ozanian, Mike. "The Business Of Soccer". Forbes. สืบค้นเมื่อ 17 August 2019.
  133. "Liverpool's ranking in world's richest teams revealed as Reds generate £533m revenue". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  134. Hunter, Andy (2020-04-04). "Liverpool under fire for furloughs while PFA points to pay-cut tax trap". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
  135. "Liverpool: Premier League leaders reverse furlough decision & apologise to fans". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
  136. Ozanian, Mike. "The World's Most Valuable Soccer Teams: Barcelona Edges Real Madrid To Land At No. 1 For First Time". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  137. Kelly 1988, p. 192.
  138. "The Hillsborough Tragedy". BBC. 16 June 2000. สืบค้นเมื่อ 23 December 2008.
  139. "Footballer Barnes for rap return". BBC. 3 March 2006. สืบค้นเมื่อ 2 December 2008.
  140. "Hillsborough's Sad Legacy". BBC. 14 April 1999. สืบค้นเมื่อ 23 December 2008.
  141. Ebert, Roger (18 October 2002). "Formula 51". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-08. สืบค้นเมื่อ 19 August 2011.
  142. "Scully". BBC. 20 August 2009. สืบค้นเมื่อ 19 August 2011.
  143. 143.0 143.1 "Mens". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ July 2, 2023.
  144. "Calvin Ramsay joins Bolton Wanderers on loan". Liverpool FC. 29 January 2024. สืบค้นเมื่อ 29 January 2024.
  145. "Fabio Carvalho completes loan switch to Hull City". Liverpool FC. 10 January 2024. สืบค้นเมื่อ 10 January 2024.
  146. "Marcelo Pitaluga signs new LFC deal and joins St Patrick's Athletic on loan - Liverpool FC".
  147. "Rhys Williams completes loan move to Port Vale". Liverpool FC. 16 January 2024. สืบค้นเมื่อ 16 January 2024.
  148. "Nat Phillips joins Cardiff City on loan". Liverpool FC. 30 January 2024. สืบค้นเมื่อ 30 January 2024.
  149. "Sepp van den Berg joins Mainz on loan for 2023-24". Liverpool FC. 13 July 2023. สืบค้นเมื่อ 13 July 2023.
  150. 150.0 150.1 "Captains for Liverpool FC since 1892". Liverpool F.C. 29 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2009. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  151. "Michael Owen becomes LFC international ambassador". Liverpool F.C. 21 April 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2022. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
  152. "Directors". Liverpool FC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
  153. 153.0 153.1 "The Liverpool Football Club & Athletic Grounds Limited". Premier League. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2022. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
  154. "Kenny Dalglish returns to Liverpool on board of directors". BBC. 4 October 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
  155. "LFC appoints director of communications". Liverpool F.C. 18 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2013.
  156. Pearce, James (2 July 2015). "Liverpool FC's transfer committee – who did what to bring new signings to Anfield". Liverpool Echo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2019. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  157. Lynch, David (12 November 2018). "Liverpool get one up over title rivals Manchester City as physio Lee Nobes takes Anfield role". London Evening Standard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2 October 2019.
  158. Pietarinen, Heikki (15 July 2011). "England – First Level All-Time Tables 1888/89-2009/10". Rec. Sport. Soccer Statistics Foundation (RSSSF). สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  159. "Liverpool lead Manchester United, Arsenal, Everton and Tottenham in Ultimate League". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
  160. Hodgson, Guy (17 December 1999). "How consistency and caution made Arsenal England's greatest team of the 20th century". The Independent. สืบค้นเมื่อ 23 October 2009.
  161. Keogh, Frank (26 May 2005). "Why it was the greatest cup final". BBC. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
  162. "Regulations of the UEFA Champions League" (PDF). Union of European Football Associations. p. 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 March 2007. สืบค้นเมื่อ 19 June 2008.
  163. "New format provides fresh impetus". Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  164. Ladson, Matt (22 December 2019). "What does Liverpool's Club World Cup victory mean for the rest of their season?". fourfourtwo.com. FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  165. "Roberto Firmino scores extra-time winner as Liverpool beat Flamengo to lift Club World Cup". Metro. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
  166. Rice, Simon (20 May 2010). "Treble treble: The teams that won the treble". The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 July 2010.

เชิงอรรถ

  1. 1.0 1.1 พรีเมียร์ลีก ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1992 กลายเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ จากนั้นฟุตบอลลีกเฟิสต์และเซคันด์ดิวิชัน ได้กลายเป็นลีกระดับที่สองและสาม ตามลำดับ และตั้งแต่ ค.ศ. 2004 เฟิสต์ดิวิชันกลายเป็นแชมเปียนชิปและเซคันด์ดิวิชันกลายเป็นลีกวัน
  2. 2.0 2.1 ดับเบิลที่เป็นส่วนหนึ่งของทริปเปิลแชมป์ อาทิ เอฟเอคัพและลีกคัพใน ค.ศ. 2001 จะไม่นับรวมในดับเบิลแชมป์

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น