การปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (อังกฤษ: Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1760 ถึง ค.ศ. 1850 เมื่อการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรกรรม การผลิต การทำเหมืองแร่ การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในขณะนั้น การปฏิวัติเริ่มต้นในสหราชอาณาจักร จากนั้นจึงแพร่ขยายไปยังยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น จนขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลกระทบในเกือบทุกแง่มุมของชีวิตประจำวันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือการที่รายได้และจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยเริ่มที่จะขยายตัวอย่างยั่งยืนในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้สองร้อยปีหลังจาก ค.ศ. 1800 ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของโลกขยายตัวมากกว่าสิบเท่า ในขณะที่จำนวนประชากรขยายตัวมากกว่าหกเท่า[1] ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โรเบิร์ต อี. ลูคัส จูเนียร์ ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในยุคอุตสาหกรรมว่า: "เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่มาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนธรรมดาส่วนมากเริ่มเติบโตอย่างมั่นคง ซึ่งไม่เคยมีพฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน"[2]
สหราชอาณาจักรได้วางรากฐานทางกฎหมายและวัฒนธรรมซึ่งเปิดโอกาสให้นายทุนสามารถริเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม[3] ตัวแปรหลักที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยนี้ได้แก่
- ช่วงเวลาแห่งความสงบสุขและมั่นคงจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์
- ไม่มีข้อกีดกันทางการค้าระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์
- หลักนิติรัฐ (เคารพความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญาการค้า)
- ความเถรตรงของระบบกฎหมายซึ่งเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งบริษัทมหาชน
- แนวคิดการค้าเสรี (เศรษฐกิจทุนนิยม)[4]
กระบวนการเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ด้วยการเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเครื่องจักรเป็นหลักของสหราชอาณาจักร โดยเริ่มในอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมแรก อันเป็นผลมาจากการพัฒนากรรมวิธีการหลอมเหล็กและความนิยมในการใช้ถ่านหินโค้กที่แพร่หลายขึ้น[5] การขยายตัวของการค้าขายเป็นผลมาจากการพัฒนาคลอง ถนน และทางรถไฟ[6] ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรมไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้เกิดการไหลบ่าของประชากรจากชนบทเข้าสู่เมืองขนานใหญ่ และก่อให้เกิดการขยายตัวของจำนวนประชากร[7]
การเปลี่ยนแปลงการผลิตครั้งสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือการผลิตชิ้นส่วนซึ่งสามารถสับเปลี่ยนกันได้ เครื่องกลึงและเครื่องกลอื่น ๆ ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้การผลิตสินค้ามีความละเอียดแม่นยำสูงและสามารถผลิตซ้ำเช่นเดิมได้เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น การผลิตปืนซึ่งในอดีตผลิตได้ทีละกระบอกด้วยการนำชิ้นส่วนเข้าประกอบกันอย่างพอดีจนได้ออกมาเป็นหนึ่งกระบอก หากแต่ชิ้นส่วนในการประกอบปืนครั้งนั้นไม่สามารถใช้แทนกันกับชิ้นส่วนจากปืนกระบอกอื่นได้ ด้วยความละเอียดแม่นยำในการผลิตซ้ำจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เอง ทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืนสามารถแลกเปลี่ยนทดแทนกันได้ และยังก่อให้เกิดการผลิตแบบจำนวนมาก ๆ จนส่งผลให้ราคาสินค้าจากการผลิตแบบนี้ลดลงไปอย่างมาก
การกำเนิดขึ้นของเครื่องจักรไอน้ำซึ่งใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก ความนิยมในอรรถประโยชน์ของกังหันน้ำ และเครื่องจักรที่ใช้พลังงานขับเคลื่อน (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอ) เป็นตัวสนับสนุนให้กำลังการผลิตขยายตัวอย่างมาก[6] การพัฒนาเครื่องมือโลหะในช่วงสองทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการมีเครื่องจักรการผลิตที่มากขึ้นแลบะนำไปใช้ได้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ผลกระทบเกิดขึ้นแพร่ขยายออกไปทั่วยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนในที่สุดก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลก กระบวนการที่ดำเนินไปนี้เรียกว่าการทำให้เป็นอุตสาหกรรม และทำให้เกิดผลกระทบอย่างมโหฬารต่อสังคม[8]
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกซึ่งเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถูกรวมเข้ากับการปฏิวัติครั้งที่สองในราวปี ค.ศ. 1850 เมื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้รับแรงขับเคลื่อนจากการพัฒนาเรือกลไฟ ทางรถไฟ และต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ช่วงของเวลาที่ถูกครอบคลุมด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นหลากหลายและแตกต่างกันออกไปในนักประวัติศาสตร์แต่ละคน อีริก ฮอบส์บอว์ม กล่าวว่ามันเกินขึ้นในสหราชอาณาจักรในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1780 และไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างจริงจังจนกระทั่งทศวรรษที่ 1830 หรือ 1840[9] ขณะที่ ที. เอส. แอชตัน กล่าวว่ามันเกิดขึ้นอย่างฉาบฉวยระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1760 และ 1830[10]
นักประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 บางคนอย่าง จอห์น คลาแฟม และนิโคลัส คราฟต์ส ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป และเห็นว่าวาทกรรมในเชิงการปฏิวัตินั้นเป็นการเรียกที่ผิดเพี้ยน ซึ่งนี่ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์[11][12] ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวนั้นเคยนิ่งเฉยไม่มีการเปลี่ยนแปลงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการกำเนิดขึ้นของเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่[13] การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดยุคของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม[14] นักประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าการเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ตั้งแต่มนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรมและเลี้ยงปศุสัตว์[15]
ศัพท์มูลวิทยาแก้ไข
การใช้คำว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งแรกสุดสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นจดหมายของราชทูตฝรั่งเศส หลุยส์-กิโยม อ็อตโต ฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1799 ประกาศว่าฝรั่งเศสได้เข้าร่วมการแข่งขันในการ อ็องดุซตรีแยลีส (การทำให้เป็นอุตสาหกรรม)[16] ในหนังสือของเรย์มอนด์ วิลเลียมส์ ในปี ค.ศ. 1976 คำหลัก: คำศัพท์แห่งวัฒนธรรมและสังคม เข้าได้กล่าวในคำนำถึงคำว่าอุตสาหกรรม: "แนวคิดด้านการจัดระเบียบสังคมใหม่โดยยึดหลักการบนการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมที่สำคัญซึ่งกระจ่างชัดในโรเบิร์ต เซาท์ธีย์ และโรเบิร์ต โอเวน ระหว่างปี ค.ศ. 1811 และ 1818 และเป็นการแน่แท้เร็วเท่ากับวิลเลียม เบลค ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1790 และวิลเลียม เวิร์ดเวิร์ธ ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษใหม่" การใช้คำว่า "การปฏิวัติอุตสาหกรรม" ใช้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้กลายมาเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1830 ที่ซึ่งเชร็อง-อะด็อฟเฟอ บล็องกิ ได้ให้นิยามไว้ใน ลาเรวอลูซียงอ็องดุซตรีแยล (La révolution industrielle)[17] ฟรีดริช เอ็นเกลส์กล่าวในหนังสือ สภาพความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงานในอังกฤษ ค.ศ. 1844 (The Condition of the Working Class in England in 1844) ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ "การปฏิวัติที่เปลี่ยนแปลงสังคมอารยชนในเวลาเดียวกัน" และอาร์โนลด์ โทยินบี คือผู้ที่ทำให้วาทกรรมนี้โด่งดังจาการเขียนรายละเอียดอรรถาธิบายเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1881[18]
นวัตกรรมแก้ไข
จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมถูกเชื่อมโยงอย่างมากกับนวัตกรรมจำนวนหนึ่ง[19] ที่ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ดังต่อไปนี้:
- สิ่งทอ – การปั่นฝ้ายโดยใช้เครื่องปั่นด้ายพลังน้ำ วอเทอร์เฟรม ของริชาร์ด อาร์คไรต์, เครื่องปั่นด้าย สปินนิงเจนนี ของเจมส์ ฮาร์กรีฟส์ และเครื่องปั่นด้าย สปินนิงมูล ของแซมมูเอล ครอมป์ตัน (สิ่งประดิษฐ์ผสมผสานระหว่างวอเทอร์เฟรมและสปินนิงเจนนี) สิ่งประดิษฐ์นี้ได้รับสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1769 ก่อนจะหลุดจากสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1783 จากจุดนี้เองที่ตามมาด้วยการสร้างโรงงานปั่นฝ้ายมากมาย เทคโนโลยีนี้ยังถูกนำไปประยุกต์กับการปั่นผ้าเนื้อละเอียดและเส้นด้ายในภายหลังเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผ้าลินินและสิ่งทอต่างๆ การปฏิวัติฝ้ายครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นในเมืองเดอร์บี ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในฉายาว่า "โรงไฟฟ้าแห่งภาคเหนือ"
- เครื่องจักรไอน้ำ – เครื่องจักรไอน้ำถูกประดิษฐ์โดยเจมส์ วัตต์ และได้รับสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1775 ซึ่งจุดประสงค์หลักก็เพื่อสร้างพลังงานในการสูบน้ำออกจากเหมือง แต่เมื่อถึงยุค ค.ศ. 1780 เป็นต้นไป มันก็ถูกประยุกต์ใช้กับการสร้างพลังงานให้แก่เครื่องจักรชนิดอื่น ๆ ก่อให้เกิดการพัฒนาโรงงานกึ่งอัตโนมัติขึ้นอย่างรวดเร็วในระดับที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้คาดการณ์ไว้มาก่อน โดยเป็นครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ที่ผู้คนไม่ต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์ แรงงานสัตว์ จากลมหรือจากน้ำอีกต่อไป เครื่องจักรไอน้ำจึงถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้สูบน้ำออกจากเหมือง, ใช้ลากล้อเลื่อนบรรทุกถ่านหินขึ้นมายังผิวโลก ใช้เป่าลมเข้าสู่เตาหลอมเหล็ก ใช้บดดินในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา และใช้สร้างพลังงานแก่โรงงานทุกประเภท กล่าวได้ว่าเป็นเวลามากกว่าหนึ่งร้อยปีที่เครื่องจักรไอน้ำครองตำแหน่งราชาแห่งบรรดาอุตสาหกรรม
- การผลิตเหล็กกล้า – ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก ถ่านหินถูกประยุกต์เข้ากับทุกขั้นตอนของการหลอมเหล็กแทนที่ถ่านฟืนจากไม้ การนำถ่านหินมาใช้นี้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตทองแดงและตะกั่วมาก่อนแล้ว เช่นเดียวกับในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กดิบในเตาถลุงทรงสูง แต่ในขั้นที่สองของการผลิตเหล็กดัดต้องพึ่งพานวัตกรรมการขึ้นรูปและการประทับตรา (ซึ่งสิทธิบัตรหมดอายุลงในปี ค.ศ. 1786) และเตาพุดดลิงของเฮนรี คอร์ต (ได้รับสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1784)
"ภาคอุตสาหกรรมชั้นนำ" ข้างต้นทั้งสามภาคนี้คือนวัตกรรมหลักที่ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดโดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมมักจะกล่าวถึงอยู่เสมอ นี้ไม่ได้หมายถึงการดูแคลนนวัตกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหากปราศจากนวัตกรรมยุคก่อนหน้าอย่าง สปินนิงเจนนี หรือ ฟลายอิงชัตเทิล หรือการหลอมเหล็กดิบด้วยถ่านฟืน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นครั้งสำคัญนี้ก็อาจจะเป็นไปไม่ได้ ส่วนนวัตกรรมยุคหลังๆ อย่าง หูกทอผ้า หรือ เครื่องจักรไอน้ำแรงดันสูง ของริชาร์ด เทรวิทิค ก็ยังเป็นส่วนสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักร การใช้เครื่องจักรไอน้ำให้พลังงานแก่โรงงานปั่นฝ้ายและโรงงานผลิตเหล็กยังทำให้การตั้งโรงงานสามารถทำในที่ใดก็ได้ตามแต่สะดวก ไม่จำเป็นต้องตั้งใกล้แม่น้ำในการใช้พลังงานจากกังหันน้ำอีกต่อไป
นอกจากนี้การค้นพบวิธีการทำคอนกรีตอีกครั้งในปี ค.ศ. 1756 (บนพื้นฐานมาจากการทำปูนปลาสเตอร์) โดยวิศวกรชาวอังกฤษนามว่า จอห์น สมีตัน ก็ยังมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งความรู้ดังกล่าวสูญหายไปเป็นเวลากว่า 1,300 ปี[20]
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
บรรณานุกรมแก้ไข
- Ashton, Thomas S. (1948). "The Industrial Revolution (1760-1830)". Oxford University Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Berlanstein, Lenard R., บ.ก. (1992). The Industrial Revolution and work in nineteenth-century Europe. London and New York: Routledge.
- Clapham, J. H. (1926). "An Economic History of Modern Britain: The Early Railway Age, 1820-1850". Cambridge University Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Clapham, J. H. The Economic Development of France and Germany 1815-1914 (1936)
- Clark, Gregory (2007). A Farewell to Alms: A Brief Economic History of the World. Princeton University Press. ISBN 0-691-12135-4.
- Daunton, M. J. (1995). "Progress and Poverty: An Economic and Social History of Britain, 1700-1850". Oxford University Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Dunham, Arthur Louis (1955). "The Industrial Revolution in France, 1815-1848". New York: Exposition Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Gatrell, Peter (2004). "Farm to factory: a reinterpretation of the Soviet industrial revolution". The Economic History Review. 57 (4): 794. doi:10.1111/j.1468-0289.2004.00295_21.x.
- Haber, Ludwig. The Chemical Industry During the Nineteenth Century: A Study of the Economic Aspect of Applied Chemistry in Europe and North America (1958); The Chemical Industry: 1900-1930: International Growth and Technological Change (1971)
- Jacob, Margaret C. (1997). "Scientific Culture and the Making of the Industrial West". Oxford, UK: Oxford University Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Kisch, Herbert (1989). "From Domestic Manufacture to Industrial Revolution The Case of the Rhineland Textile Districts". Oxford University Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Kornblith, Gary. The Industrial Revolution in America (1997)
- McNeil, Ian, ed. An Encyclopedia of the History of Technology (1996), 1063pp excerpt and text search
- Maddison, Angus (2003). "The World Economy: Historical Statistics". Paris: Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). Cite journal requires
|journal=
(help) - Mantoux, Paul (First English translation 1928, revised 1961). "The Industrial Revolution in the Eighteenth Century". Check date values in:
|date=
(help) - McLaughlin Green, Constance (1939). "Holyoke, Massachusetts: A Case History of the Industrial Revolution in America". New Haven, CT: Yale University Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Mokyr, Joel (1999). "The British Industrial Revolution: An Economic Perspective".
- More, Charles (2000). "Understanding the Industrial Revolution". London: Routledge. Cite journal requires
|journal=
(help) - Olson, James S. Encyclopedia of the Industrial Revolution in America (2001)
- Pollard, Sidney (1981). "Peaceful Conquest: The Industrialization of Europe, 1760-1970". Oxford University Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Rider, Christine, ed. Encyclopedia of the Age of the Industrial Revolution, 1700-1920 (2 vol. 2007)
- Smelser, Neil J. (1959). "Social Change in the Industrial Revolution: An Application of Theory to the British Cotton Industry". University of Chicago Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Staley, David J. ed. Encyclopedia of the History of Invention and Technology (3 vol 2011), 2000pp
- Stearns, Peter N. (1998). "The Industrial Revolution in World History". Westview Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Smil, Vaclav (1994). "Energy in World History". Westview Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Snooks, G.D. (2000). "Was the Industrial Revolution Necessary?". London: Routledge. Cite journal requires
|journal=
(help) - Szostak, Rick (1991). "The Role of Transportation in the Industrial Revolution: A Comparison of England and France". Montreal: McGill-Queen's University Press. Cite journal requires
|journal=
(help) - Toynbee, Arnold (1884). Lectures on the Industrial Revolution of the Eighteenth Century in England. ISBN 1-4191-2952-X.
- Uglow, Jenny (2002). "The Lunar Men: The Friends who made the Future 1730-1810". London: Faber and Faber. Cite journal requires
|journal=
(help) - Usher, Abbott Payson (1920). "An Introduction to the Industrial History of England". University of Michigan Press. Cite journal requires
|journal=
(help)
ประวัติศาสตร์นิพนธ์แก้ไข
- Chambliss, William J. (editor), Problems of Industrial Society, Reading, Massachusetts: Addison-Wesley Publishing Co, December 1973. ISBN 978-0-201-00958-3
- Hawke, Gary. "Reinterpretations of the Industrial Revolution" in Patrick O'Brien and Roland Quinault, eds. The Industrial Revolution and British Society (1993) pp 54–78
- McCloskey, Deirdre (2004). "Review of The Cambridge Economic History of Britain (edited by Roderick Floud and Paul Johnson)". Times Higher Education Supplement. 15 (January).
หมายเหตุแก้ไข
- ↑ Maddison, Angus (2003). The World Economy: Historical Statistics. Paris: Development Centre, OECD. pp. 256–62, Tables 8a and 8c.
- ↑ Lucas, Robert E., Jr. (2002). Lectures on Economic Growth. Cambridge: Harvard University Press. pp. 109–10. ISBN 978-0-674-01601-9.
- ↑ Julian Hoppit, "The Nation, the State, and the First Industrial Revolution," Journal of British Studies (April 2011) 50#2 pp p307-331
- ↑ "Industrial Revolution," New World Encyclopedia, (http://www.newworldencyclopedia.org/entry/Industrial_Revolution)
- ↑ Beck B., Roger (1999). World History: Patterns of Interaction. Evanston, Illinois: McDougal Littell.
- ↑ 6.0 6.1 Business and Economics. Leading Issues in Economic Development, Oxford University Press US. ISBN 0-19-511589-9 Read it
- ↑ Redford, Arthur (1976), "Labour migration in England, 1800-1850", p. 6. Manchester University Press, Manchester.
- ↑ Russell Brown, Lester. Eco-Economy, James & James / Earthscan. ISBN 1-85383-904-3 Read it
- ↑ Eric Hobsbawm, The Age of Revolution: Europe 1789–1848, Weidenfeld & Nicolson Ltd. ISBN 0-349-10484-0
- ↑ Joseph E Inikori. Africans and the Industrial Revolution in England, Cambridge University Press. ISBN 0-521-01079-9 Read it
- ↑ Berg, Maxine; Hudson, Pat (1992). "Rehabilitating the Industrial Revolution". The Economic History Review. The Economic History Review, Vol. 45, No. 1. 45 (1): 24. doi:10.2307/2598327. JSTOR 2598327. More than one of
|pages=
และ|page=
specified (help) - ↑ Rehabilitating the Industrial Revolution Archived 2006-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Julie Lorenzen, Central Michigan University. Retrieved November 2006.
- ↑ Robert Lucas, Jr. (2003). "The Industrial Revolution". Federal Reserve Bank of Minneapolis. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.
it is fairly clear that up to 1800 or maybe 1750, no society had experienced sustained growth in per capita income. (Eighteenth century population growth also averaged one-third of 1 percent, the same as production growth.) That is, up to about two centuries ago, per capita incomes in all societies were stagnated at around $400 to $800 per year.
- ↑ Lucas, Robert (2003). "The Industrial Revolution Past and Future". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
[consider] annual growth rates of 2.4 percent for the first 60 years of the 20th century, of 1 percent for the entire 19th century, of one-third of 1 percent for the 18th century
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "The Industrial Revolution Past and Future" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ McCloskey, Deidre (2004). "Review of The Cambridge Economic History of Modern Britain (edited by Roderick Floud and Paul Johnson), Times Higher Education Supplement, 15 January 2004".
- ↑ Crouzet, François (1996). "France". ใน Teich, Mikuláš; Porter, Roy (บ.ก.). The industrial revolution in national context: Europe and the USA. Cambridge University Press. p. 45. ISBN 978-0-521-40940-7. LCCN 95025377.CS1 maint: multiple names: editors list (link)
- ↑ BLANQUI Jérôme-Adolphe, Histoire de l'économie politique en Europe depuis les anciens jusqu'à nos jours, 1837, ISBN 978-0-543-94762-8
- ↑ Hudson, Pat (1992). The Industrial Revolution. London: Edward Arnold. p. 11. ISBN 978-0-7131-6531-9.
- ↑ Eric Bond; Sheena Gingerich; Oliver Archer-Antonsen; Liam Purcell; Elizabeth Macklem (17 February 2003). "The Industrial Revolution – Innovations". Industrialrevolution.sea.ca. สืบค้นเมื่อ 30 January 2011.
- ↑ Encyclopædia Britannica (2008) "Building construction: the reintroduction of modern concrete"
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |