สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด

สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด (อังกฤษ: West Ham United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษ มีฉายาในภาษาไทยว่า "ทีมขุนค้อน" (The Hammer) ตั้งอยู่ในสแตรตเฟิร์ด, ลอนดอนตะวันออก, ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของอังกฤษ เดิมใช้สนามเหย้าคือ บุลินกราวนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1904 จนจบฤดูกาล 2015–16 ก่อนที่พวกเขาจะย้ายไปใช้สนามเหย้าแห่งใหม่ที่ สนามกีฬาโอลิมปิกในอุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ

เวสต์แฮมยูไนเต็ด
ตราสัญลักษณ์สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด
ฉายาเดอะแฮมเมอส์
ขุนค้อน (ภาษาไทย)
ชื่อย่อWHU
ก่อตั้ง1895; 129 ปีที่แล้ว (1895), ในชื่อ เทมส์ไอรอนเวิกส์
5 กรกฎาคม 1900; 123 ปีก่อน (1900-07-05), ในชื่อ เวสต์แฮมยูไนเต็ด
สนามสนามกีฬาลอนดอน
Ground ความจุ60,000[1]
เจ้าของเดวิด ซุลลิแวน (55.6%)
เดวิด โกลด์ (30.6%)
นักลงทุนอื่นๆ (13.8%)[2]
ผู้จัดการเดวิด มอยส์
ลีกพรีเมียร์ลีก
2022–23พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 14 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
ฤดูกาลปัจจุบัน

เวสต์แฮมชนะเลิศฟุตบอลถ้วยรายการเอฟเอคัพสามสมัย ในปี 1964, 1975 และ 1980 และ รองชนะเลิศอีกสองสมัย ในปี 1923 และ 2006 สโมสรได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในรายการยุโรป 2 รายการ โดยชนะการแข่งขันยูโรเปี้ยนคัพวินเนอร์สคัพในปี 1965 และได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศในปี 1976 เวสต์แฮมยังชนะเลิศรายการอินเตอร์โตโตคัพในปี 1999 พวกเขาเป็นหนึ่งในแปดสโมสรในอังกฤษที่ไม่เคยตกลงไปเล่นในระดับต่ำกว่าระดับสอง (Second tier) ในการแข่งขันด้วยระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ โดยสามารถเล่นในลีกสูงสุดจำนวน 63 จาก 95 ฤดูกาล รวมถึงฤดูกาล 2020-21 ในปัจจุบัน และ สถิติอันดับในลีกสูงสุดของสโมสรได้แก่ฤดูกาล 1985-1986 ซึ่งทีมจบฤดูกาลด้วยอันดับ 3

ผู้เล่นเวสต์แฮมจำนวนสามคน ได้แก่ กัปตัน บ็อบบี้ มัวร์, จอฟฟ์ เฮิร์สต์ และ มาร์ติน ปีเตอร์ส เป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติอังกฤษชุดที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 1966 สโมสรมีการแข่งขันและความเป็นอริที่ยาวนานกับสโมสรมิลล์วอลล์และการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีมได้รับชื่อเสียงและความอื้อฉาวจากเหตุการณ์ความรุนแรงจากการปะทะกันของแฟนบอลฮูลิแกนบ่อยครั้ง สโมสีเวสต์แฮมได้เริ่มนำโทนสีฟ้าและสีน้ำเงินมาใช้ในทีมในช่วงต้นทศวรรษ 1900 โดยมีการออกแบบแขนเสื้อสีฟ้าใช้เป็นชุดเหย้าครั้งแรกในปี 1904

ประวัติ แก้

เวสต์แฮมยูไนเต็ด จัดเป็นสโมสรฟุตบอลขนาดกลาง ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยคนงานในโรงงานถลุงเหล็ก จึงเป็นที่มาของฉายา The Irons หรือ The Hammers (ขุนค้อน-ในภาษาไทย) มีสีประจำคือ สีฟ้า-แดงเลือดหมู ได้รับการยกย่องว่าเป็น สถาบันฟุตบอล (The Academy of Football) เพราะเป็นทีมขนาดเล็กที่ปั้นนักฟุตบอลที่ต่อมามีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จกับสโมสรใหญ่ ๆ หลายคน ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เช่น บ๊อบบี้ มัวร์, จอฟฟ์ เฮิร์สต์, ริโอ เฟอร์ดินานด์, ไมเคิล คาร์ริก, โจ โคล, แฟรงค์ แลมพาร์ด, เจอร์เมน เดโฟ เป็นต้นและยังมีนักเตะชื่อดังเข้ามาเล่นให้ทีมเช่น จิแลร์โม่ ฟรังโก้ ,ดิเอโก้ ตริสตัน,เปาโล ดิ คานิโอ,การ์โลส เตเบซ, คาเบียร์ มาเชราโน,อเลาโญ่ อิลาน,ดาวอร์ ซูเคอร์ เป็นต้น ในประวัติศาสตร์ผู้จัดการทีมจะเป็นชาวสหราชอาณาจักรยกเว้นมีเพียงคนเดียวที่เป็นต่างชาติคือ จันฟรังโก โซลา ที่เป็นอิตาลี เวสต์แฮมเคยเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ กับ ลิเวอร์พูล ในฤดูกาล 2005-2006 แต่ก็ได้เพียงรองแชมป์

ฤดูกาล 2006-2007 แก้

เวสแฮมต์ฟอร์มตกอย่างหนักทำให้ อลัน พาร์ดิว ถูกไล่ออกและเป็น อลัน เคอร์บิชลี่ย์ เข้ามาคุมแทนทำให้เวสแฮมต์ชนะ7จาก9นัดหลังสุด ซึ่งเป็นการชนะอาร์เซนอล 1-0 และชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในนัดสุดท้าย1-0จากประตูชัยของ คาร์ลอส เตเบซ ทำให้จบฤดูกาลด้วยอันดับ 15

ฤดูกาล 2007-2008 แก้

ในฤดูกาล 2007-2008 เวสต์แฮมมีสถานการณ์ที่เริ่มปลอดภัยมากขึ้นเพราะสามารถไต่อันดับอยู่ครึ่งบนในตารางคะแนนของลีกได้ แม้นักเตะที่เซ็นสัญญาเข้ามาใหม่อย่าง เคร็ก เบลลามี และ คีรอน ดายเออร์ ได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง และเกมส์สุดท้ายของฤดูกาลนี้ที่ บุลินกราวนด์ คือในนัดที่เวสต์แฮมเสมอไป 2-2 กับ แอสตันวิลลา พร้อมกับจนอับดับที่ 10 ซึ่งสามารถแซงหน้า ทอตนัมฮอตสเปอร์ สโมสรร่วมเมืองไปหนึ่งอันดับโดยมีแต้มมากกว่าสเปอร์อยู่สามแต้ม

ฤดูกาล 2008-2009 แก้

หลังจากมีเหตุการณ์ว่านักเตะของเวสต์แฮมยูไนเต็ดมีเรื่องทะเลาะกับคณะกรรมการของฝ่ายการตลาด แอนทอน เฟอร์ดินานด์ และ จอร์จ แม็กคาร์ทเนย์ ได้ย้ายไปอยู่กับ ซันเดอร์แลนด์ และ ผู้จัดการทีม อลัน เคอร์บิชลีย์ ได้ลาออกเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2008 ทายาทของเขาที่เคยเป็นอดีตกองหน้าของเชลซี จานฟรังโก โซลา ได้มารับงานคุมทีมเวสต์แฮมยูไนเต็ดซึ่งมาคุมทีมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2008 และในการทำเช่นนั้นก็กลายเป็นผู้จัดการทีมที่ไม่ใช่ชาวอังกฤษครั้งแรกของสโมสร[3] และเขาสามารถนนำเวสต์แฮมยูไนเต็ดจบอันดับที่ 9 ใน พรีเมียร์ลีก

ฤดูกาล 2009-2010 แก้

ในฤดูกาล 2009–10 เวสต์แฮมเริ่มต้นในการเปิดฤดูกาลได้อย่างสวยด้วยการชนะทืมน้องใหม่ที่พึ่งเลื่อนชั้นมาอย่าง วูลฟ์แฮมป์ตันวันเดอเรอส์ ไป 2-0 จากประตูของ มาร์ก โนเบิล ต่อมาเขาก็ได้รับตำแหน่งเป็นกัปตันทีมต่อจาก แมตทิว อัปสัน และในการแข่งขันลีกคัพที่พบกับอดีตคู่ปรับเก่าอย่าง มิลวอล ได้เกิดเหตุจลาจลรุนแรงเกี่ยวกับพื้นดินนอกเช่นเดียวกับการรุกรานสนามและปัญหาภายในฝูงชนอัพตันปาร์ค[4][5] ในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 2009 ความกังวลทางการเงินของในบริษัทของไอซ์แลนด์เจ้าของ บริษัท คนปัจจุบันไม่สามารถที่จะให้ทุนใด ๆ จนกว่าทางสโมสรจะได้เจ้าของใหม่สปอนเซอร์ใหม่และพอผ่านได้ไม่ถึงเดือนก็ได้มีสปอนเซอร์อย่าง สโบเบ็ต ที่ได้เข้ามาสนับสนุนและได้เงินที่ได้เสริมงบนักเตะแล้วทางสโมสรได้ซื้อนักเตะตำแหน่งกองหน้าอย่าง อเล็สซานโดร เดียมานติ มาจาก ลิวอร์โน

เวสต์แฮมมีฤดูกาลที่ตกอับของพวกเขาเช่นกันด้วยการดิ้นรนหนีจากโซนตกชั้น แต่ในที่สุดพวกเขาก็รอดตกชั้นทั้งที่ที่เหลือการแข่งขันอีกสองเกม โดยการเอาชนะวีแกนแอธเลติก 3-2 สโมสรได้คะแนนทั้งหมด 35 คะแนนจากทั้งหมด 38 เกม

ฤดูกาล 2010-2011 แก้

วันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 สองวันหลังจากจบฤดูกาล 2009–10 เวสต์แฮมประกาศปลดโซลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีม[6] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2010 อัฟราม แกรนท์ ผู้จัดการทีมชาว อิสราเอล ได้ลงนามเซ็นสัญญาในการเป็นผู้จัดการทีมของเวสต์แฮมยูไนเต็ดด้วยสัญญา 4 ปี[7] ถึงแม้จะได้แกรนท์มาคุมทีมแต่ก็ทำผลงานไม่ค่อยเข้าทีเข้าทางอย่างมั่นคงสักที ซึ่งเวสต์แฮมก็คงอยู่ใกล้โซนตกชั้นตลอด,[8] ในการแข่งขัน ลีกคัพ เวสต์แฮมได้สร้างความประทับใจด้วยการโชว์ฟอร์มอันยอดเยี่ยมถล่ม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ไป 4-0 ในรอบแปดทีมสุดท้าย แต่รูปแบบเวสต์แฮมในพรีเมียร์ลีกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบของพวกเขาในสองถ้วยในประเทศ[9] ในลีกคัพรอบก่อนรองชนะเลิศเวสต์แฮมแพ้ให้กับเบอร์มิงแฮมซิตีไป 1-3 และส่วนในถ้วยเอฟเอคัพ เวสต์แฮมแพ้ให้กับสโต๊คซิตีไป 2-1 ในรอบแปดทีมสุดท้าย

วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 เวสต์แฮมแพ้ให้กับ วีแกนแอธเลติก ในนัดรองสุดท้ายที่สนาม ดีดับเบิลยูสเตเดียม ซึ่งในครึ่งแรกเวสต์แฮมนำไปก่อน 2-0 จากการยิงคนเดียวสองลูกของ เดมบา บา แต่ในครึ่งหลังวีแกนกลับมาเข้าเกมส์อย่างมั่นคงและยิง 3 ประตู ทำให้วีแกนชนะไป 3-2 ด้วยการยิงประตูชัยของ ชาร์ลส์ เอ็น'ซ็อกเบีย ทำให้ต้องตกชั้นไปเล่นในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป และนั่นเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เวสต์แฮมปลด อัฟราม แกรนท์ ออกจากการเป็นผู้จัดการทีม[10]

ฤดูกาล 2011-2012 แก้

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2011 แซม อัลลาร์ไดซ์ ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมของเวสต์แฮมยูไนเต็ดถัดจาก อัฟราม แกรนท์[11]

สโมสรเวสต์แฮมจบในอันดับที่สามของ ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2011–12 ด้วยการมีทั้งหมด 86 แต้ม และได้สิทธิไปเล่นในรอบเพลย์ออฟในการหาทีมอีกหนึ่งทีมที่จะได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นใน พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2012–13 ซึ่งนัดในแรกพวกเขาชนะ คาร์ดิฟฟ์ซิตี ทั้งสองนัดรวมสกอร์ทั้งหมด 5-0 และในนัดชิงได้เจอกับ แบล็กพูล โดยได้เล่นที่สนามเวมบลีย์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 คาร์ลตัน โคล ยิงให้เวสต์แฮมนำไปก่อน 1-0 ก่อนที่แบล็กพูลจะมาตีเสมอได้ ในช่วงปลายครึ่งแรก และในช่วงครึ่งหลังเกมส์ทำท่าว่าจะจบด้วยการเสมอ แต่ในนาทีที่ 87 ริคาร์โด วาซ เต มายิงประตูชัยให้เวสต์แฮมชนะไป 2-1 คว้าตั๋วเลื่อนชั้นใบสุดท้ายได้สำเร็จ[12]

การย้ายสู่สนามเหย้าแห่งใหม่ (2016-ปัจจุบัน) แก้

ภายหลังจากที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะเลิศเอฟเอคัพในปี 2016 เวสต์แฮม คว้าโควตานพื้นที่ยูโรป้าลีกและผ่านเข้ารอบที่สามของการแข่งขันดังกล่าวในปี 2016–17 ในฤดูกาลแรกในการย้ายสนามแห่งใหม่สู่ ลอนดอน สเตเดียม ทีมประสบกับช่วงเวลายากลำบากและมีฟอร์มการเล่นที่ย่ำแย่ โดยทำได้เพียงจบอันดับที่ 11 ใน พรีเมียร์ ลีก พร้อมกับต้องรับมือกับการจากไปของผู้เล่นคนสำคัญของทีม ดิมิทรีปาเยต์ และ ในฤดูกาลต่อมาทีมยังประสบกับปัญหาฟอร์มการเล่นที่ย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง โดยคว้าชัยชนะได้เพียง 2 นัด จากการเปิดสนาม 11 เกมแรก หลังจากพ่ายแพ้ลิเวอร์พูลในบ้าน 1-4 และ ทีมสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการต้องหนีตกชั้น ผู้จัดการทีมชาวโครเอเชีย สลาเวน บิลิซ ถูกไล่ออกในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2017 โดยอดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมซันเดอร์แลนด์ เดวิด มอยส์ ได้ทำหน้าที่แทนด้วยสัญญาจนถึงสิ้นสุดฤดูกาล ทีมมีผลงานที่ไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งฤดูกาล แต่สามารถหนีกาตกชั้นได้สำเร็จและจบอันดับที่ 13 ในลีก มอยส์ไม่ได้รับการเสนอสัญญาฉบับใหม่อย่างเป็นทางการและยุติบทบาทผู้จัดการทีมเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2018

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม สโมสรแต่งตั้งผู้จัดการทีมชาวชิลี "มานูเอล เปเยกรินี" อดีตผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี เข้ามาดำรงตำแหน่งด้วยสัญญา 3 ปี อย่างไรก็ตามในฤดูกาลแรกของเปเยกรินีทีมยังไม่สามารถพัฒนาฟอร์มการเล่นได้ และ ทำได้เพียงจบอันดับที่ 10 ในลีก และ ในฤดูกาลถัดมาภายหลังจากผลงานอันย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง ทีมได้ทำการปลดเปเยกรินี่ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในเดือนธันวาคม 2019 ซึ่งในขณะนั้นเวสต์แฮมมีคะแนนนำหน้าพื้นที่ตกชั้นเพียง 1 คะแนนเท่านั้น นัดสุดท้ายในการคุมทีมของเปเยกรินีคือการเปิดบ้านพ่ายให้กับ เลสเตอร์ ซิตี 1-2 ประตู ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ผู้จัดการทีมคนใหม่ก็คือ เดวิด มอยส์ ซึ่งเป้นการกลับมารับตำแหน่งเป็นครั้งที่สองในรอบ 2 ปี

นับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 2010 การประท้วงของแฟนบอลทีมีต่อ เดวิด ซัลลิแวน และ เดวิด โกลด์ เจ้าของทีมร่วมได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม ปี 2018 ในนัดที่เวสต์แฮมพ่ายให้แก่เบิร์นลีย์คาบ้าน 0-3 หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม กลุ่มผู้ประท้วงกว่า 2,500 คน ได้ร่วมเดินขบวนประท้วงขับไล่เจ้าของทีมตามเส้นทางบนถนนกรีนเวย์ในนิวแฮม

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

ณ วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 2023[13]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   วูกัช ฟาเบียญสกี
2 DF   เบน จอห์นสัน
3 DF   แอรอน เครสส์เวลล์
4 DF   กูร์ต ซูมา (กัปตันทีม)
5 DF   วลาดีมีร์ โซวฟาล
7 MF   เจมส์ วอร์ด-พราวส์
8 MF   ปาโบล ฟอร์นัลส์
9 FW   มิคาอิล อันโตนิโอ
10 MF   ลูกัส ปาเกตา
14 FW   โมแฮมเมด คูดุส
15 DF   กอนสตันตีโนส มัฟโรปาโนส
17 MF   แม็กซ์เวล คอร์เน็ต
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 FW   แดนนี อิงส์
19 MF   เอดซอน อัลบาเรซ
20 FW   จาร์ร็อด โบเวน
21 DF   อันเจโล อ็อกบอนนา (รองกัปตันทีม)
22 FW   ซาอิด เบนรามา
23 GK   อาลฟงส์ อาเรออลา
24 DF   ทีโล เคเรอร์
27 DF   นายิฟ อะกัรด์
28 MF   โตมาช โซว์แช็ก
33 DF   แอแมร์ซง ปัลมีเอรี
49 GK   โจเซฟ แอแนง

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

เกียรติประวัติ แก้

ระดับประเทศ แก้

1957–58, 1980–81, 2005 (play off), 2012 (เพลย์ออฟ)
1963–64, 1974–75, 1979–80
1964 (shared)

ระดับทวีปยุโรป แก้

1964–65
2022–23
1999

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Premier League Handbook 2020/21" (PDF). Premier League. p. 40. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  2. "ownership West Ham United". whufc corporate information. สืบค้นเมื่อ 28 June 2015.
  3. Ashdown, John (11 September 2008). "West Ham unveil Zola as new manager". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 12 September 2008.
  4. "Mass violence mars London derby". BBC News. 25 August 2009. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  5. "'Bring your bats ... but don't bring your kids': Thugs planned West Ham v Millwall rampage on internet chatrooms". Daily Mail. UK. 26 August 2009. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  6. "West Ham United statement". West Ham United F.C. 11 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-13. สืบค้นเมื่อ 11 May 2010.
  7. "Avram Grant confirmed as West Ham United manager". BBC Sport. 3 June 2010. สืบค้นเมื่อ 3 June 2010.
  8. Chowdhury, Saj (5 January 2011). "BBC Sport – Football – Newcastle 5–0 West Ham". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  9. Whyatt, Chris (30 November 2010). "BBC Sport – Football – West Ham 4–0 Manchester United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  10. "BBC Sport – West Ham part company with Avram Grant". BBC Sport. 16 May 2011. สืบค้นเมื่อ 17 May 2011.
  11. "Sam's the man". West Ham United F.C. 1 June 2011. สืบค้นเมื่อ 1 June 2011.
  12. Gibbs, Thom (19 May 2012). "Blackpool v West Ham United: live". The Daily Telegraph. London.
  13. "First team: Squad". West Ham United F.C. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
  14. Up until 1992, the top division of English football was the Football League First Division; since then, it has been the Premier League. Similarly until 1992, the Second Division was the second tier of league football, when it became the First Division, and is now known as The Championship. The third tier was the Third Division until 1992, and is now known as League One.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้