คริกเกต
คริกเกต เป็นกีฬาไม้ตีและลูกบอล ที่เล่นระหว่างสองทีมของผู้เล่นสิบเอ็ดคนในสนามที่ศูนย์กลางมีพิทช์ความยาว 22 หลา (20 เมตร) กับวิคเกตที่ปลายแต่ละด้านของพิทช์ แต่ละวิคเกตประกอบด้วยลูกเกลียวไม้เรียกว่าเบลสองลูก วางอยู่บนแท่งไม้สามแท่งที่เรียกว่าสตัมป์ การแข่งขันคริกเกตเกิดขึ้นเมื่อผู้โยนโยนลูกคริกเกตจากด้านหนึ่งของพิทช์ไปหาผู้ตีที่อยู่อีกด้านของพิทช์ โดยผู้ตีนั้นจะสามารถทำรันได้ด้วยการตีลูกและวิ่งไปยังอีกด้านของพิทช์ โดยการวิ่งข้ามฝั่งหนึ่งครั้งจะเท่ากับหนึ่งรัน หากผู้ตีสามารถตีลูกไปจนถึงเส้นขอบสนามได้ ทีมของผู้ตีจะได้สี่รัน และหากหากผู้ตีสามารถตีลูกไปข้ามออกเส้นขอบสนามได้ ทีมของผู้ตีจะได้หกรัน
สมาพันธ์สูงสุด | สภาคริกเกตนานาชาติ |
---|---|
เล่นครั้งแรก | ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 |
ลักษณะเฉพาะ | |
การปะทะ | ไม่มี |
ผู้เล่นในทีม | ฝั่งละ 11 คน (สามารถใช้ตัวสำรองในบางสถานการณ์) |
แข่งรวมชายหญิง | ไม่มี |
หมวดหมู่ | กีฬาประเภททีม, กีฬาไม้ตีและลูกบอล |
อุปกรณ์ | ลูกคริกเกต, ลูกคริกเกต, วิคเกต (สตัมป์, เบล), เครื่องป้องกัน |
สถานที่ | สนามคริกเกต |
อภิธาน | อภิทานศัพท์คริกเกต |
จัดแข่งขัน | |
ประเทศ ภูมิภาค | ทั่วโลก (เป็นที่นิยมในเครือจักรภพ ดินแดนโพ้ทะเลของบริเทน โยเฉพาะในเอเชียใต้) |
โอลิมปิก | (เฉพาะในโอลิมปิกฤดูร้อน 1900) |
ในขณะที่ทีมของผู้โยนจะต้องทำให้ผู้ตีถูกกำจัดออกจากการแข่งขัน (นิยมเรียกว่าการทำให้ผู้ตีเอาต์) โดยการทำให้ผู้ตีเอาต์นั้นอาจเป็นการโยนลูกเพื่อทำลายวิคเก็ตให้เบลตกลงมาจากสตัมป์ (เรียกว่าโบลด์) การรับลูกคริกเกตก่อนลูกตกถึงพื้น (เรียกว่าคอท) การทำลายวิคเก็ตก่อนที่ผู้เล่นฝั่งผู้ตีจะวิ่งไปถึงอีกฝั่งของพิตช์ (เรียกว่ารันเอาต์) การที่ผู้รักษาวิคเก็ตรับลูกวิคเกตที่ผู้ตีตีไม่โดน แล้วทำลายวิคเก็ตก่อนที่ผู้เล่นผู้ตีจะกลับไปอยู่ในแดนของผู้ตีได้ทัน (เรียกว่าสตัมป์) หรือการทำโยนลูกให้โดนผู้ตีโดยที่ไม่โดนไม้คริกเกต โดยวิถีของลูกจะไปชนวิกเก็ต (เรียกว่าเลกบีฟอร์วิคเกต)
หากผู้โยนโยนบอลครบหกครั้ง จะถือว่าผู้โยนโยนครบโอเวอร์และต้องสลับให้ผู้อื่นเป็นผู้โยนแทน เมื่อผู้เล่นเอาต์ถึงสิบจากสิบเอ็ดคน หรือทีมของผู้โยนโยนลูกจนครบโอเวอร์ที่จำกัดไว้ จะถือว่าอินนิงส์จะสิ้นสุดลงหนึ่งอินนิงส์ และทีมจะสลับบทบาทกัน คริกเกตถูกตัดสินโดยผู้ตัดสินสองคน โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้ตัดสินที่สามและผู้ตัดสินแมทช์ในการแข่งขันระดับนานาชาติ
คริกเกตเป็นกีฬาที่มีหลายรูปแบบ โดยรูปแบบของคริกเกตที่เป็นนิยมนั้นมีตั้งแต่ทเวนตี 20 [Twenty20; นิยมเรียกว่าที20 (T20)] ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสตีฝั่งละ 20 โอเวอร์ และเกมโดยทั่วไปจะกินเวลาสามชั่วโมง คริกเกตทีมชาติหนึ่งวัน [One Day International; นิยมเรียกว่าโอดีไอ (ODI)] ที่แต่ละทีมจะดีฝั่งละ 50 โอเวอร์ และเกมโดยทั่วไปจะกินเวลาหกชั่วโมง และคริกเกตเทสต์ (Test Cricket) ซึ่งแต่ละทีมจะตีฝั่งละสองอินนิงส์ และแต่ละนนิงส์จะยาวกี่อินนิงส์ก็ได้ โดยคริกเกตเทสต์จะมีเวลาเล่นนานถึงห้าวัน ตามธรรมเนียมแล้วนักคริกเกตเฟิสต์คลาส (ซึ่งรวมถึงนักคริกเกตเทสต์) จะเล่นในชุดสีขาวล้วน แต่ในคริกเกตแบบจำกัดโอเวอร์ (ซึ่งรวมที20 และโอดีไอ) นักกีฬาจะสวมชุดสีตามสโมสรหรือสีประจำทีม นอกเหนือจากชุดอุปกรณ์พื้นฐานแล้ว ผู้เล่นบางคนสวมอุปกรณ์ ป้องกันเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากลูกคริกเกต ซึ่งเป็นทรงกลมแข็งที่ทำจากหนังอัด โดยมีตะเข็บเย็บที่ยกขึ้นเล็กน้อยล้อมรอบแกนไม้ก๊อกที่มีชั้นเชือกรัดแน่นหลายชั้น
วิธีการชนะในคริกเกตนั้นมีสองรูปแบบ โดยทีมที่ตีก่อนจะต้องป้องกันไม่ให้ทีมคู่แข่งทำรันให้ทันทีมของตน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ทีมตรงข้ามเอาต์ทั้งทีม หรือการจำกัดไม่ให้ทีมตรงข้ามทำรันไม่ทันเท่ากับที่ทีมตนทำได้ในจำนวนโอเวอร์ที่จำกัดไว้ ในขณะที่ทีมที่ตีทีหลังจะชนะได้หากสามารถทำรันได้ทันก่อนที่จะถูกทำให้เอาต์ทั้งทีม หรือก่อนหมดจำนวนลูกที่จะตีได้[1]
มีการอ้างอิงว่าคริกเกตมีการเล่นครั้งแรกที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 และได้แพร่กระจายไปทั่วโลกพร้อมกับการขยายตัวของจักรวรรดิอังกฤษ โดยมีการแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรกในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 หน่วยงานกำกับดูแลของเกมคือสภาคริกเกตนานาชาติ หรือไอซีซี (International Cricket Council; ICC) ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 100 สมาคม โดยสิบสองสมาคมนั้นมีสถานะเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ ที่จะสามารถแข่งคริกเกตเทสต์ได้ กฎการแข่งขันของคริกเกต (Laws of Cricket) ได้รับการดูแลโดยสโมสรคริกเกตแมรีลโบน (Marylebone Cricket Club; MCC) ใน ลอนดอน คริกเกตเป็นที่นิยมใน เอเชียใต้ ออสตราเลเซีย สหราชอาณาจักร แอฟริกาตอนใต้ และ หมู่เกาะเวสต์อินดีส[2] มีการแข่งขันคริกเกตหญิงมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ทีมชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการเล่นโอดีไอคือ ทีมชาติออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ชนะในการแข่งขันโอดีไอของไอซีซีเจ็ดรายการ รวมถึงคริกเกตโลกถึงห้าสมัย โดยทีมชาติออสเตรเลียยังเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในคริกเกตเทสต์อีกด้วย ทีมที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาตินั้นประกอบไปด้วย ทีมชาติอินเดีย ทีมชาติอังกฤษ ทีมชาติศรีลังกา ทีมชาติปากีสถาน ทีมสหชาติเวสต์อินดีส ทีมชาตินิวซีแลนด์ และทีมชาติแอฟริกาใต้
ประวัติ
แก้ต้นกำเนิด
แก้คริกเกตเป็นหนึ่งในหลาย ๆ เกมใน "คลับบอล (club ball)" ที่เกี่ยวข้องกับการตีลูกเช่นเดียวกับเบสบอล (ซึ่งมี ความคล้ายคลึงกันมากกับคริกเกต[3] ) กอล์ฟ ฮ็อกกี้ เทนนิส สควอช แบดมินตันและเทเบิลเทนนิส[4] โดยความแตกต่างระหว่างคริกเกตและเกมไม้ตีกับลูกอื่น ๆ นั้นคือการติดตั้งวิคเกตอยู่ด้านปลายทั้งสองของพิทช์ที่ผู้ตีต้องป้องกัน[5] นักประวัติศาสตร์คริกเกตแฮร์รี อัลแธมได้ระบุไว้ถึง "คลับบอล" สามกลุ่ม: "กลุ่มฮ็อกกี้" ซึ่งลูกบอลถูกส่งไปมาระหว่างสองเป้าหมาย (ประตู); "กลุ่มกอล์ฟ" ซึ่งลูกบอลถูกส่งไปยังเป้าหมายที่ไม่มีการป้องกัน (หลุม) และ "กลุ่มคริกเกต" ซึ่ง "ลูกบอลมุ่งเป้าไปที่เครื่องหมาย (วิคเกต) และถูกส่งออกไป"[6]
เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าคริกเกตมีต้นกำเนิดมาจากการละเล่นเด็ก ในมณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษในช่วงยุคกลาง[5] แม้ว่าจะมีการอ้างถึงการเล่นคริกเกตมาในช่วงก่อนหน้านี้ หลักฐานถึงการเล่นคริกเกตชัดเจนที่สุดมาจากคดีในศาลในกิลด์ฟอร์ด ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1597 (แบบเก่า) ซึ่งเทียบเท่าเท่ากับมกราคม ค.ศ. 1598 ในปฏิทินสมัยใหม่ โดยคดีนั้นเกี่ยวข้องกับการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงหนึ่ง โดยศาลได้ยินคำให้การของเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ อายุ 59 ปี ชื่อว่า จอห์น เดอร์ริกผู้ให้การเป็นพยานว่า:[7][8][9]
ในสมัยที่ยังเป็นผู้ศึกษาในโรงเรียนเอกชนกิลด์ฟอร์ด เขาและเพื่อนของเขาหลายคน ได้มีการวิ่งเล่นที่(สนาม)คริกเกตและสถานที่อื่น ๆ
เมื่อพิจารณาจากอายุของเดอร์ริกแล้ว เขาได้ศึกษาที่โรงเรียนเมื่อราว ๆ ครึ่งศตวรรษก่อน จึงเป็นที่แน่นอนว่ามีการเล่นคริกเกตในช่วงประมาณปี 1550 โดยกลุ่มเด็กชายในเซอร์รีย์[9] สมมติฐานที่มองว่าคริกเกตน้นเดิมเป็นเกมสำหรับเด็กมาจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส 1611 ของแรนเดิล คอตเกรฟว่า "ไม้คฑา (crosse)" คือ "ไม้ที่เด็กผู้ชายใช้เล่นคริกเกต" และคำกริยา " crosser " หมายถึง " ไปเล่นคริกเกต"[10][11]
อีกแหล่งที่มาที่เป็นไปได้สำหรับชื่อกีฬานี้คือคำภาษาอังกฤษโบราณ "คริซ (cryce)" หรือ "คริก (cric) " ซึ่งหมายถึงไม้ค้ำยันหรือไม้เท้า ในพจนานุกรม ของซามูเอล จอห์นสัน เขาเขียนว่า "คริกเกต" มาจาก "คริซ (cryce), แซ็กซัน, แท่งไม้"[7] ใน ภาษาฝรั่งเศสโบราณ คำว่า " คริเกต์ (criquet) " ดูเหมือนจะหมายถึงไม้กระบองหรือไม้เท้า[12] และหากพิจารณาจากความสัมพันธ์ทางการค้าในยุคกลางที่แน่นแฟ้นระหว่างมณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษและเคาน์ตีแห่งแฟลนเดอร์ส โดยรายหลังนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของของดัชชีแห่งเบอร์กันดี ชื่อนี้อาจได้มาจากภาษาดัตช์ตอนกลาง (ที่ใช้อยู่ใน แฟลนเดอร์ส ในขณะนั้น) คำว่า "คริก (krick)" ( - e ) หมายถึงไม้เท้า (ไม้หักมุม)[12] อีกแหล่งที่มาที่เป็นไปได้คือคำภาษาดัตช์กลาง "คริกสโตล (krickstoel)" ซึ่งหมายถึงเก้าอี้เตี้ยตัวยาวที่ใช้สำหรับคุกเข่าในโบสถ์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิคเกต เตี้ยยาวที่มีสตัมป์สองตัววางขนานกันที่ใช้ในคริกเกตตอนต้น[13] ไฮเนอร์ กิลไมส์เตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษายุโรปของมหาวิทยาลัยบอนน์ กล่าวว่า "คริกเกต" มาจากวลีภาษาดัตช์กลางที่ใช้สำหรับฮอกกี้, met de (krik ket)sen (เช่น "ใช้ร่วมกับแท่งไม้")[14] กิลไมส์เตอร์ได้สันนิจฐานว่าคริกเกตอาจเป็นกีฬาที่มีรากฐานมาจากเฟลมิช ไม่เพียงแค่ชื่อของกีฬาเพียงอย่างเดียว[14]
การเติบโตของคริกเกตสมัครเล่นและคริกเกตอาชีพในอังกฤษ
แก้แม้ว่าเป้าหมายหลักของเกมนี้คือการทำคะแนนการทำรันให้ได้มากที่สุด แต่รูปแบบแรกของคริกเกตนั้นแตกต่างจากเกมสมัยใหม่ในแง่มุมทางเทคนิคที่สำคัญบางประการ โดยคริกเกตที่เล่นในอเมริกาเหนือที่รู้จักกันในชื่อวิคเกตยังคงรักษาลักษณะเหล่านี้ไว้หลายประการ[15] โดยลูกคริกเกตจะถูกผู้โยนโยนลงโดยมีวิถีใต้วงแขน ตามพิทช์ไปสู่ผู้ตีที่ถือไม้ตีที่มีรูปร่างคล้ายไม้ฮอกกี้ โดยผู้ตีจะต้องปกป้องวิกเกตที่ประกอบด้วยสตัมป์ขนาดเล็กสองแท่ง โดยรันที่ผู้ตีทำได้จะถูกเรียกว่านอตช์ (notches) เพราะผู้บันทึกรันจะบันทึกรันไว้โดยการเขียนขีดเล็ก ๆ[16][17][18]
ในปี ค.ศ. 1611 ซึ่งเป็นปีที่พจนานุกรมของคอตเกรฟได้รับการตีพิมพ์ บันทึกของศาลสงฆ์ ที่ซิดเลแชมในมณฑลซัสเซ็กซ์ได้ระบุว่านักบวชสองคนคชื่อบาร์โธโลมิว ไวแอตต์และริชาร์ด แลทเทอร์ ได้ขาดจากการไปโบสถ์ในวันอีสเตอร์เพราะพวกเขากำลังเล่นคริกเกต พวกเขาถูกปรับ 12 เพนนีและถูกสั่งให้ ทำการปลงอาบัติ[19] บันทึกนี้คือการกล่าวถึงครั้งแรกของการมีส่วนร่วมของผู้ใหญ่ในกีฬาคริกเกต และศตวรรษที่ 17 คือเวลาเดียวกันกับที่มีการจัดการแข่งขันระหว่างตำบลหรือหมู่บ้านที่ที่เก่าแก่ที่สุดที่หมู่บ้านเชฟนีย์ มณฑลเคนท์[7][20] ในปี ค.ศ. 1624 ผู้เล่นชื่อแจสเปอร์ วินอลเสียชีวิตหลังจากที่เขาถูกลูกคริกเกตกระแทกที่บริเวณศีรษะโดยไม่ได้ตั้งใจในการแข่งขันระหว่างสองทีมในซัสเซกซ์[21]
คริกเกตยังคงเป็นกิจกรรมที่หาได้ยากในท้องถิ่นในช่วงเวลาส่วนใหญ่ในศตวรรษที่ 17[11] เป็นที่ทราบกันดีจากในบันทึกของคดีในศาลสงฆ์ และบางครั้งจากการบันทึกโดยพวกพิวริทันว่ามีการเล่นคริกเกตอยู่ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างการจัดตั้งเครือจักรภพ[22][23] พวกพิวริทันถือว่าการเล่นคริกเกตเป็นสิ่งที่ "หยาบคาย" ที่จะเล่นกันวันสะบาโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีฝูงชนจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง[24][25]
นักประวัติศาสตร์สังคมชื่อเดเรก เบอร์ลีย์ได้กล่าวว่ามี "ความนิยมในคริกเกตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ " ในปี ค.ศ. 1660[26] การพนันในคริกเกตได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญมากพอที่รัฐสภาจะผ่านพระราชบัญญัติการพนันปี ค.ศ. 1664 ถึงกระนั้นเงินเดิมพัน 100 ปอนด์ที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ก็ยังคงเป็นจำนวนเงินมหาศาลที่ยังมากกว่าเงินที่ประชากรมากกว่า 99% หาได้ตลอดทั้งปี[26] คริกเกตถูกมองว่าเป็นกีฬาการพนันควบคู่ไปกับการแข่งขันชิงรางวัล การแข่งม้า และกีฬาเลือด[27] ผู้อุปถัมภ์ร่ำรวยในสมัยนั้นนิยมจัดการแข่งขันเพื่อเงินเดิมพันสูงโดยสร้างทีมที่พวกเขามีส่วนร่วมกับผู้เล่น ที่ได้ถือว่าเป็นผู่เล่นมืออาชีพคนแรกของคริกเกต[28]
ในช่วงปลายศตวรรษ คริกเกตได้พัฒนาเป็นกีฬาหลักที่แพร่หลายไปทั่วอังกฤษ และถูกนำไปเผยแพร่ในต่างประเทศแล้วโดยกะลาสีเรือและอาณานิคมชาวอังกฤษ – การอ้างอิงถึงคริกเกตในต่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุดได้ถูกบันทึกในปี 1676[29] หนังสือพิมพ์ฉบับปี 1697 ได้รายงานถึง "การแข่งขันคริกเกตที่ยิ่งใหญ่" ที่เล่นในซัสเซ็กซ์ที่มีเดิมพัน "นัดละห้าสิบกินี" ซึ่งเป็นการแข่งขันที่โดยทั่วไปถือว่าเป็นการแข่งขันระดับเฟิร์สคลาสนัดแรก[30][31]
ผู้อุปถัมภ์และผู้เล่นคนอื่น ๆ จากชนชั้นทางสังคมที่เรียกว่า "ผู้ดี" ได้เริ่มจัดประเภทตัวเองเป็น "มือสมัครเล่น"[fn 1] เพื่อสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนจากนักกีฬามืออาชีพที่เมาจากชนชั้นแรงงาน การแบ่งแยกนั้นเคยชัดเจนถึงขั้นมีการแบ่งแยกห้องแต่งตัวและสิ่งอำนวยสะดวกต่าง ๆ[32] ผู้ดีรวมทั้งขุนนางระดับสูงเช่นดยุคแห่งริชมอนด์ ได้ใช้ สิทธิ์ของผู้ดี (noblesse oblige) เพื่อเป็นการอ้างความเป็นผู้นำในการแข่งขันกีฬาใด ๆ ที่พวกเขามีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผูดีเหล่านี้ต้องการจะเล่นเคียงข้างนักกีฬาที่ "ที่สถานะทางสังคมที่ด้อยกว่าพวกเขา"
จนกระทั่งช่วงกลางศตวรรษที่ 20 นักกีฬาสมัครเล่นมักถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำมากกว่า เนื่องจากพวกเขาเป็นคนที่มีการศึกษาในโรงเรียนเอกชนในระดับมัธยม และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์หรือมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในระดับอุดมศึกษา[33]
ในทางทฤษฎี นักคริกเกตสมัครเล่นจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการเล่น เช่นค่าเดินทางหรือค่าอุปกรณ์ ในขณะที่คู่หูมืออาชีพของเขาเล่นภายใต้สัญญาและได้รับค่าจ้างหรือค่าธรรมเนียมจากการแข่งขัน ในทางปฏิบัติ มือสมัครเล่นหลายคนมักจะได้เงินมากกว่าค่าใช้จ่ายที่พวกเขาใช้ และคำว่า "มือสมัครเล่นเก๊ (shamateur)" ก็ได้เป็นคำเยาะเย้ยต่อนักกีฬาสมัครเล่นจนกระทั่งสถานะการแบ่งแยกระหว่างมือสมัครเล่นและมืออาชีพได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1962[34][35]
คริกเกตอังกฤษในศตวรรษที่ 18 และ 19
แก้คริกเกตได้วิวัฒนาการในหลายแง่มุมจนได้เป็นกีฬาประจำชาติของอังกฤษในศตวรรษที่ 18[ต้องการอ้างอิง] การอุปถัมภ์และการเดิมพันถูกมองว่าเป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จของกีฬา[36] คริกเกตโด่งดังในลอนดอนตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1707 และในช่วงกลางของศตวรรษ ได้มีฝูงชนจำนวนมากแห่กันไปที่สนามอาร์ทิเลอรีกราวนด์ในฟินส์บรี[ต้องการอ้างอิง] คริกเกตวิคเกตเดียวได้ดึงดูดเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ชมและนักพนัน ความนิยมในคริกเกตได้ไปถึงจุดสูงสุดในฤดูกาล 1748[37] ราวปี 1760 ผู้โยนได้เปลี่ยนวิธีการส่งลูกโดยการโยนลงพิทช์ แทนที่จะกลิ้งหรือร่อนลูกไปหาผู้ตี และการเปลี่ยนวิธีการส่งลูกก็ทำให้เกิดการปฏิวัติในการออกแบบไม้ตี โดยีมการออกแบบไม้ตีทรงตรงที่ทันสมัยแทนไม้ฮอกกี้แบบเก่า เพราะไม้ทรงตรงสามารถจัดการกับลูกกระดอนจากการโยนได้ดีกว่า[38][ต้องการอ้างอิง]
สโมสรแฮมเบิลดันได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1760 สโมสรคริกเกตแมรีลโบน [Marylebone Cricket Club; หรือเอ็มซีซี (MCC)] ได้ก่อตั้งขึ้นในอีกยี่สิบปีต่อมา แฮมเบิลดันเป็นสโมสรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกีฬา หลังจากมีการเปิด สนามคริกเกตลอร์ดสในปี ค.ศ. 1787 [ต้องการอ้างอิง] ก่อนที่จะถูกแทนที่โดยเอ็มซีซีในอีกไม่นานหลังจากนั้น โดยเอ็มซีซีนี้เองก็ได้เป็นผู้ร่างกฎของคริกเกต ฉบับใหม่ที่นำมาใช้ในช่วงหลังของศตวรรษที่ 18 ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเช่น การให้วิคเกตประกอบไปด้วยสตัมป์สามแท่ง และการคิดค้นกฎเลกบีฟอร์วิคเกต [Leg Before Wicket; หรือแอลบีดับเบิลยู (lbw)][39]
ศตวรรษที่ 19 การโยนใต้วงแขนถูกแทนที่ด้วยการโยนขนานวงแขน และถูกแทนที่อีกที่โดยการโยนเหนือวงแขน การโยนสองรูปแบบหลังนั้นเคยเป็ฯประเด็นถกเกียงกันในช่วงแรกที่มีการใช้[40] การจัดเกมในระดับเทศมณฑลได้นำไปสู่การก่อตั้งสโมสรระดับเทศมณฑล โดยเริ่มจากซัสเซ็กซ์ ในปี ค.ศ. 1839[41] ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1889 แปดสโมสรชั้นนำของมณฑลได้ก่อตั้งลีกคริกเกตเฟิร์สคลาสลีกแรกของโลกในชื่อเคาน์ตีแชมเปียนชิป ซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1890[42]
ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงที่สุดในศตวรรษที่ 19 คือดับเบิลยูจี เกรซ ผู้เริ่มต้นอาชีพที่ยาวนานและทรงอิทธิพลในปี 1865 ซึ่งเกรซนี่เองเป็นผู้ที่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างมืออาชีพและมือสมัครเล่นเริ่มพร่ามัวขึ้น เนื่องจากเขานั้นเป็นนักกีฬาสมัครเล่นโดยนิตินัย แต่กลับรับรายได้แบบนักกีฬาอาชีพโดยพฤตินัย เกรซเองถูกกล่าวว่าได้รับเงินสำหรับการเล่นคริกเกตมากกว่านักกีฬามืออาชีพทุกคนที่เล่นร่วมสมัยกับเขาเสียอีก[ต้องการอ้างอิง]
ช่วงเวลาสองทศวรรษที่ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมักถูกเรียกว่า "ยุคทองของคริกเกต" ซึ่งมักจะเป็นวลีที่กล่าวถึงเพื่อหวนความหลังถึงช่วงเวลาก่อนสงครามโลก โดยช่วงเวลานั้นได้เริ่มมีการจัดการแข่งขันเคาน์ตีแชมเปียนชิป และการแข่งขันคริกเกตเทสต์เป็นประจำทุกปี พร้อมกับยังได้ผลิตนักคริกเกตชั้นนำอีกมากมาย[43]
คริกเกตได้กลายเป็นกีฬาระดับนานาชาติ
แก้ในปี ค.ศ. 1844 ได้มีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรกระหว่าง สหรัฐอเมริกาและแคนาดา[44] ในปี ค.ศ. 1859 ทีมผู้เล่นชาวอังกฤษได้เดินทางไปอเมริกาเหนือในทัวร์ต่างประเทศครั้งแรก[45] ในขณะเดียวกัน จักรวรรดิอังกฤษนั้นมีบทบาทสำคัญในการแพร่กระจายเกมไปยังต่างประเทศ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอังกฤษก็เป็นที่ยอมรับในออสเตรเลีย แคริบเบียน อินเดีย ปากีสถาน นิวซีแลนด์ อเมริกาเหนือ และแอฟริกาใต้[46]
ในปี ค.ศ. 1862 ทีมจากอังกฤษได้ออกทัวร์ออสเตรเลียเป็นครั้งแรก[47] ในขณะที่ทีมออสเตรเลียทีมแรกที่เดินทางไปต่างประเทศประกอบด้วยคนเลี้ยงปศุสัตว์ชาวอะบอริจินที่ไปทัวร์อังกฤษในปี ค.ศ. 1868[48] การแข่งขันทีมชาติหนึ่งวันนัดแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1971 ระหว่างออสเตรเลียและอังกฤษที่สนามคริกเกตเมลเบิร์น[49]
ในปี ค.ศ. 1876–1877 ทีมชาติอังกฤษได้เข้าร่วมการแข่งขันที่ได้รับการยอมรับย้อนหลังว่าเป็นการแข่งขันคริกเกตเทสต์นัดแรกที่สนามคริกเกตเมลเบิร์น กับทีมชาติออสเตรเลีย[50] การแข่งขันระหว่างอังกฤษและออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1882 ทำให้เกิดซีรีส์ที่เรียกว่าดิแอเชส และยังคงเป็นการแข่งขันที่มีชื่อเสียงที่สุดของคริกเกตเทสต์[51] คริกเกตเทสต์เริ่มขยายตัวในปี ค.ศ. 1888-89 เมื่อทีมชาติแอฟริกาใต้เล่นกับทีมชาติอังกฤษ ทำให้ทีมชาติแอฟริกาใต้กลายเป็นทีมที่สามที่ได้รับสถานะทีมคริกเกตเทสต์
โลกคริกเกตในศตวรรษที่ 20
แก้ในปี ค.ศ. 1909 ได้มีการก่อตั้งสภาคริกเกตนานาชาติ [International Cricket Council หรือไอซีซี (ICC)] ขึ้น โดยไอซีซีนั้นเป็นองค์กรหลักที่มีหน้าที่จัดการการแข่งขันคริกเกตระดับนานาชาติในระดับต่าง ๆ
ช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองถูกครอบงำโดยดอน แบรดแมน ของออสเตรเลีย ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ตีที่ยิ่งใหญ่ในประวิติศาสตร์ของคริกเกตเทสต์ คริกเกตเทสต์ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยการให้สถานะแก่ทีมสหชาติเวสต์อินดีสทีมสหชาติเวสต์อินดีส (1928) ทีมชาตินิวซีแลนด์ทีมชาตินิวซีแลนด์ (1930) และทีมชาติอินเดีย (1932) ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และทีมชาติปากีสถาน (1952) ทีมชาติศรีลังกาทีมชาติศรีลังกา (1982) ทีมชาติซิมบับเว (1992) ทีมชาติบังคลาเทศ (2000) ทีมไอร์แลนด์ และ ทีมชาติอัฟกานิสถาน (ปี 2018 ทั้งสองทีม) ในช่วงหลังสงคราม[52][53] ทีมชาติแอฟริกาใต้ถูกห้ามเล่นคริกเกตนานาชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง 1991 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตรการแบ่งแยกสีผิว[54]
การเพิ่มขึ้นของคริกเกตจำกัดโอเวอร์
แก้คริกเกตเข้าสู่ยุคใหม่ในปี ค.ศ. 1963 เมื่อมณฑลต่าง ๆ ของอังกฤษเริ่มมีการแข่งคริกเกตจำกัดโอเวอร์[55] เมื่อพบว่าคริกเกตจำกัดโอเวอร์นั้นสามารถทำเงินได้มากกว่า ทำให้มีการแข่งขันครอกเกตจำกัดโอเวอร์หนึ่งวัน เรียกว่าคริกเกตลิสต์เอ (List A Cricket) ขึ้น[56] ในเวลาต่อมาจึงได้มีการแข่งขันคริกเกตทีมชาติหนึ่งวันในปี ค.ศ. 1971 ไอซีซีได้เห็นศักยภาพของคริกเกตทีมชาติหนึ่งวัน จึงได้จัดการแข่งขันคริกเกตโลก (Cricket World Cup) เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1975[57]โดยผู้ชนะทีมแรกคือทีมเวสต์อินดีส โดยทีมชาติออสเตรเลียเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยได้เป็นผู้ชนะในรายการนี้ถึงห้าสมัย
ในศตวรรษที่ 21 ได้มีการแข่งขันคริกเกตรูปแบบใหม่ในชื่อทเวนตี 20 [Twenty20; นิยมเรียกว่าที20 (T20)] โดยที20 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในโลกคริกเกต โดยไอซีซ๊ได้มีการจัดแข่งขันรายการคริกเกตที20 โลก (T20 Cricket World Cup) มานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 โดยผู้ชนะทีมแรกคือทัมชาติอินเดีย
หลังจากการแข่งขันคริกเกตที20 โลกก็ได้มีการแข่งขันลีกที20 ระหว่างทีมแฟรนไชส์ขึ้นมาทั่วโลก เช่นอินเดียนพรีเมียร์ลีก [Indian Premier League หรือไอพีแอล (IPL)] ในประเทศอินเดีย แคริบเบียนพรีเมียร์ลีก [Caribbean Premier League หรือซีพีแอล (CPL)] ในภูมิภาคแคริบเบียน และปากีสถานซูเปอร์ลีก [Pakistan Super League หรือพีเอสแอล (PSL)] ในประเทศปากีสถาน
หลังจากที่คริกเกตเทสต์นั้นมีการแข่งขันอยู่ในระดับทัวร์มากว่า 140 ปี ในปี ค.ศ. 2019 ไอซีซีได้มีการจัดการแข่งขันคริกเกตเทสต์ชิงแชมป์โลก [ICC World Test Championship หรือดับเบิลยูทีซี (WTC)] ขึ้น โดยรายการนี้เป็นรายการที่แข่งขันเป็นแบบลีก แล้วมีการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศสำหรับทีมที่จบสองอันดับแรก โดยผู้ชนะเทสต์โลกทีมแรกในฤดูกาล 2019-21 คือทีมชาตินิวซีแลนด์[58]
กฎและการเล่น
แก้ในคริกเกต กฎของเกมระบุไว้ในหนังสือที่เรียกว่า กฎของคริกเกต (The Laws of Cricket) ซึ่งกฎเหล่านี้มีการบังคับใช้ทั่วโลก กฎของคริกเกตมีกฎหลัก 42 ข้อ (เขียนด้วยตัว "L" ใหญ่เสมอ) กฎฉบับเก่าที่สุดที่เป็นที่รู้จักถูกร่างขึ้นในปี ค.ศ. 1744 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1788 โค้ดดังกล่าวก็ได้เป็นเจ้าของและดูแลโดย สโมสรคริกเกตแมรีลโบน (Marylebone Cricket Club; MCC) ในลอนดอน[59]
พื้นที่เล่น
แก้คริกเกตเป็นเกมไม้ตีและลูกที่เล่นในสนามคริกเกต (ดูภาพด้านขวา) ระหว่างสองทีมจากผู้เล่นสิบเอ็ดคน[60] สนามมักจะมีรูปร่างเป็นวงกลมหรือวงรี และขอบของพื้นที่เล่นจะถูกทำเครื่องหมายด้วยขอบเขตซึ่งอาจเป็นรั้ว ส่วนหนึ่งของอัฒจันทร์ เชือก เส้นที่ทาสี หรือหลายอย่างรวมกัน ขอบเขตจะต้องทำเครื่องหมายตามความยาวทั้งหมดหากเป็นไปได้[61]
ในศูนย์กลางของสนามโดยประมาณเป็นพิทช์ (Pitch) สี่เหลี่ยม (ดูภาพด้านล่าง) ซึ่งกลุ่มแท่งไม้ที่เรียกว่าวิคเกต (Wicket) วางอยู่ที่ปลายแต่ละด้าน; วิคเกตทั้งสองนั้นถูกวางไว้ห่างกันระหว่างพิทช์ ซึ่งเป็นพื้นผิวเรียบกว้าง 10 ฟุต (3.0 เมตร) และยาว 22 หลา (20 เมตร)[62] โดยพิทช์นั้นมักจะมีหญ้าที่ถูกตัดให้สั้นมาก ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่พิทช์จะเสื่อมสภาพในขณะที่การแข่งขันดำเนินไป (คริกเกตสามารถเล่นบนพื้นผิวเทียมได้เช่นกัน โดยอาจเล่นบนพื้นพรม) วิคเกตแต่ละตัวจะประกอบด้วยสตัมป์ (Stumps) ไม้สามแท่ง และมีเบล (Bail) สองตัววางอยู่ข้างบน[63]
ดังที่แสดงไว้ข้างต้น ระยะพิทช์ถูกทำเครื่องหมายที่ปลายแต่ละด้านด้วยเส้นทาสีขาวสี่เส้น: โบว์ลิงครีส (Bowling Crease) ป็อปปิงครีส (Popping Crease) และรีเทิร์นครีส (Return Crease) สตัมป์ทั้งสามถูกจัดชิดตรงกลางโบว์ลิงครีสซึ่งยาวแปดฟุตแปดนิ้ว ป็อปปิงครีสนั้นถูกวาดสี่ฟุตต่อหน้าโบว์ลิงครีสและขนานไปกับมัน โดยปกตินั้นป็อปปิงครีสนั้นจะยาวสิบสองฟุต และรีเทิร์นครีสนั้นจะถูกวาดในมุมฉากกับป็อปปิงครีสเพื่อตัดปลายของโบว์ลิงครีส โดยปกตินั้นป็อปปิงครีสนั้นจะยาวแปดฟุต ทำให้รีเทิร์นครีสยาวต่อจากโบว์ลิงครีสไปอีกสี่ฟุต[64]
รูปแบบและการจบการแข่งขัน
แก้ก่อนการแข่งขันเริ่มต้น กัปตันทีม (ซึ่งเป็นผู้เล่นด้วย) จะโยนเหรียญเพื่อตัดสินใจว่าทีมใดจะตีก่อนในอินนิงส์แรก[65] โดยอินนิงส์เป็นคำที่ใช้สำหรับแต่ละช่วงของการเล่นในการแข่งขัน[65] ในแต่ละอินนิงส์ ทีมหนึ่งจะเป็นฝ่ายตี พยายามที่จะทำรัน ในขณะที่อีกทีมเป็นฝ่ายโยนลูกและวางผู้เล่นประจำตำแหน่งเพื่อที่จะจำกัดรันให้น้อยที่สุดและกำจัดผู้ตีออกไป[66][67] เมื่ออินนิงส์แรกจบลง ทีมจะเปลี่ยนบทบาท โดยการแข่งขันคริกเกตหนึ่งนัดอาจมีสองถึงสี่อินนิงส์ขึ้นอยู่กับประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีสี่อินนิงส์ตามกำหนดการจะเล่นในระยะเวลาสามถึงห้าวัน การแข่งขันที่มีสองอินนิงส์ที่กำหนดไว้มักจะเสร็จสิ้นภายในวันเดียว[65] ในระหว่างอินนิงส์ สมาชิกทั้งหมดสิบเอ็ดคนของทีมที่ประจำตำแหน่งจะลงสนาม ในขณะเดียวกัน จะมีสมาชิกของทีมที่ตีลูกเพียงสองคนเท่านั้นที่อยู่บนสนามในเวลาใดก็ตาม ข้อยกเว้นคือ ถ้าผู้ตีป่วยหรือมีการบาดเจ็บประเภทใดก็ตามที่จำกัดความสามารถในการวิ่ง ในกรณีนี้ผู้ตีจะได้รับอนุญาตให้รันเนอร์ที่สามารถวิ่งระหว่างประตูได้เมื่อผู้ตีทำรัน[68] อย่างไรก็ตาม การใช้รันเนอร์นั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในคริกเกตทีมชาติ[69]
การจัดลำดับผู้ตีในคริกเกตนั้นจะมีการประกาศมาก่อนการแข่งขัน แต่กัปตันทีมสามารถเปลี่ยนลำบกับผู้ตีได้ตามสถานการณ์ ซึ่งต่างจากเบสบอลที่ลำดับผู้ตีจะตายตัวตลอดการแข่งขัน[60]
วัตถุประสงค์หลักของแต่ละทีมคือการทำคะแนนให้มากกว่าคู่ต่อสู้ แต่ในคริกเกตบางรูปแบบ อาจมีความจำเป็นที่จะต้องกำจัดผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทั้งหมดในอินนิงส์สุดท้ายเพื่อชนะการแข่งขัน มิฉะนั้นผลการแข่งขันจะจบลงด้วยการเสมอ (Drawn)[70] ถ้าทีมที่ตีลูกสุดท้ายมีแต้มทำรันได้น้อยกว่าคู่ต่อสู้ จะถือว่า "แพ้ n รัน" (โดยที่ n คือความแตกต่างระหว่างจำนวนรันที่ทำได้โดยทีมทั้งหมด) หากทีมที่ตีลูกสุดท้ายทำรันได้มากพอที่จะชนะ เรียกว่ามี "ชนะด้วย n วิคเกต" โดยที่ n คือจำนวนวิคเกตที่ทีมที่ชนะยังเหลืออยู่ในขณะที่ทีมนั้นได้ชัยชนะไป ตัวอย่างเช่น ทีมที่ชนะโดยที่เสียไปแล้วหกวิคเกต (กล่าวคือมีผู้ตีทีมชนะเอาต์ไปแล้วหกคน) จะหมายความว่าทีมนั้นชนะการแข่งขัน "โดยสี่วิคเกต"[70]
ในการแข่งขันที่แต่ละทีมได้ตีฝั่งละสองอินนิงส์ ยอดรวมรันอินนิงส์แรกและอินนิงส์ที่สองของทีมหนึ่งอาจน้อยกว่ารันในอินนิงส์แรกของอีกทีมหนึ่ง ทีมที่มีคะแนนมากกว่าจะเรียกว่า "ชนะโดยอินนิงส์และ n รัน" และไม่จำเป็นต้องตีอีก: n คือความแตกต่างระหว่างคะแนนรวมของทั้งสองทีม
หากทีมที่ตีในอิงนิงส์สุดท้ายถูกทำให้เอาต์ทั้งทีม และทั้งสองฝ่ายได้จำนวนรันเท่ากัน การแข่งขันจะถือว่าเท่า (Tie) กัน ผลลัพธ์นี้ค่อนข้างหายากในการแข่งขันสองอินนิงส์โดยมีเพียง 63 นัด จากกว่า 6,000 นัดในการแข่งขันระดับเฟิร์สคลาส ตั้งแต่ผลเท่ากันครั้งแรกที่มีการบันทึกในปี ค.ศ. 1741 จนถึงผลเท่ากันครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2020 ในคริกเกตเฟิร์สคลาส (รวมถึงคริกเกตเทสต์) หากเวลาที่เหลือในการแข่งขันหมดก่อนที่จะได้ผู้ชนะ การแข่งขันนัดนั้นจะถือว่าเสมอกัน[70]
ในการแข่งขันที่แต่ละทีมได้ตีฝั่งละหนึ่งอินนิงส์ จะมีการกำหนดโอเวอร์สูงสุดที่แต่ละทีมจะตีได้ การแข่งขันดังกล่าวจะเรียกว่า "คริกเกตจำกัดโอเวอร์" หรือการแข่งขัน "หนึ่งวัน" และฝ่ายที่ทำคะแนนได้มากกว่าจะชนะโดยไม่คำนึงถึงจำนวนวิกเก็ตที่เสียไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสมอ ในบางกรณีที่การแข่งขันที่ผลเท่ากัน จะมีการให้แต่ละทีมตีทีมละอินนิงส์ที่ยาวเพียงหนึ่งโอเวอร์ ซึ่งเรียกว่าซูเปอร์โอเวอร์ โดยซูเปอร์โอเวอร์ครั้งถัดไปสามารถเล่นได้หากซูเปอร์โอเวอร์แรกยังจบลงด้วยการเท่ากัน หากการแข่งขันประเภทนี้ถูกขัดจังหวะชั่วคราวเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ดี จะมีการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนซึ่งรู้จักกันในชื่อ วิธีดักเวิร์ธ-ลิวอิส-สเตอร์น [Duckworth-Lewis-Stern Method; นิยมเรียกว่าดีแอลเอส (DLS)] เพื่อใช้ในการคำนวณจำนวนรันที่ทีมที่ตีทีหลังต้องทำให้ถึงเพื่อชนะ ในสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถเริ่มเล่นใหม่ได้ตามปกติ ตัวอย่างเช่น สภาพอากาศที่เปียกชื้นหรือหิมะตกอย่างยาวนาน จนการแข่งขันไม่สามารถดำเนินให้ถึงจำนวนโอเวอร์ขั้นต่ำที่สามารถนำวิธีดีแอลเอสได้ การแข่งขันแบบวันเดียวจะสามารถถูกประกาศว่า "ไม่มีผลการแข่งขัน (no-result)" ได้[70]
ในทุกรูปแบบของคริกเกต ผู้ตัดสินสามารถละทิ้งการแข่งขันได้หากแสงอาทิตย์ไม่ดีหรือมีฝนตกทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้[71] มีกรณีที่การแข่งขันต้องถูกยกเลิกโดยที่ไม่มีการเล่น แม้แต่การแข่งขันคริกเกตเทสต์มีกำหนดจะเล่นเป็นเวลาห้าวันก็เคยมีเหตุการณ์ที่การแข่งขันต้องถูกยกเลิกโดยที่ไม่มีการเล่นเลย ตัวอย่างเช่น คริกเกตเทสต์นัดที่สามของซีรีส์ดิแอเชส 1970/71 ระหว่างทีมชาติอังกฤษและทีมชาติออสเตรเลีย[72]
อินนิงส์
แก้อินนิงส์ (innings ลงท้ายด้วย 's' ทั้งในรูปเอกพจน์และพหูพจน์) เป็นคำที่ใช้สำหรับแต่ละช่วงของการเล่นระหว่างการแข่งขัน ขึ้นอยู่กับประเภทของการแข่งขันที่เล่น แต่ละทีมจะได้ตีฝั่งละหนึ่งหรือสองอินนิงส์ บางครั้งสมาชิกทั้ง 11 คนของฝ่ายตีจะได้ลงมาตี แต่ด้วยเหตุผลหลายประการ อินนิงส์หนึ่งสามารถสิ้นสุดได้ก่อนที่นักกีฬาทุกคนจะได้ตี
อินนิ่งจะสิ้นสุดลงหากทีมตีลูกบอล "เอาต์ทั้งทีม" คือ "เมื่อผู้ตีสิบจากสิบเอ็ดคนถูกกำจัดหรือขอรีไทร์ (Retired) หรือไม่มีผู้ตีที่จะเข้ามาตีแทนอีกแล้ว"[65] ในสถานการณ์นี้ ผู้ตีที่ไม่ได้ถูกทำให้เอาต์หลังจากอินนิงส์ของทีมตนจบลงจะถูกเรียกว่าเรียกว่า ไม่เอาต์ ; ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผู้เล่นคนอื่น ๆ ถูกทำให้เอาต์จนเหลือผู้ตีเพียงคนเดียว
อินนิงส์อาจสิ้นสุดก่อนเวลาขณะที่ยังมีผู้ตีอยู่สองคนในสนาม:[65]
- กัปตันทีมผู้ตีอาจประกาศจบอินนิงส์ (Declared) แม้ว่าผู้เล่นบางคนของตนบางคนยังไม่ได้ตี โดยการประกาศจบอินนิงส์นั้นอาจมาจากการที่กัปตันทีมนั้นเชื่อว่าทีมของตนทำรันได้มากพอแล้ว และเป็นการเผื่อเวลาไว้ให้มากพอที่ทีมของตนสามารถทำให้ทีมคู่แข่งเอาต์ได้ทั้งทีมเพื่อผลชนะ
- มีการเล่นจนถึงจำนวนโอเวอร์ที่กำหนดไว้ (เช่น ในการแข่งขันจำกัดโอเวอร์)
- การแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนเวลาอันควรเนื่องจากสภาพอากาศไม่ดีหรือหมดเวลาการแข่งขัน
- ในอินนิงส์สุดท้ายของการแข่งขัน ทีมผู้ตีทำรันได้ถึงเป้าหมายและเป็นทีมที่ชนะการแข่งขัน
โอเวอร์
แก้กฎของคริกเกตระบุว่า ตลอดอินนิงส์ "จะต้องมีการสลับฝั่งในการโยนลูกในทุก ๆ 6 ครั้ง"[73] ชื่อ "โอเวอร์ (Over)" เกิดขึ้นเพราะกรรมการเรียก "โอเวอร์!" เมื่อโยนลูกครบหกลูก เมื่อถึงจุดนี้ ผู้โยนอีกคนหนึ่งโยนลูกที่อีกด้านหนึ่งของพิทช์ และทีมผู้โยนจะมีการเปลี่ยนแปลงการยืนตำแหน่งในสนาม ในขณะที่ผู้ตีทั้งสองคนจะยังยืนอยู่ที่เดิม นั่นทำให้นอนสไตรเกอร์ (Non-striker คือผู้ตีที่อยู่ตรงข้ามด้านที่ผู้ตีอีกคนพบกับลูกที่ผู้โยนโยนมา) กลายเป็นสไตรเกอร์ (Striker) โดยไม่ต้องเดินสลับฝั่ง
ผู้โยนจะไม่สามารถโยนสองโอเวอร์ติดต่อกัน แม้ว่าผู้ตีสามารถ (และมักจะ) โยนลูกสลับโอเวอร์ได้จากด้านเดียวกันของพิทช์ ทำให้มีการใช้คำว่า "สเปลล์ (Spell)" หมายถึงช่วงเวลาที่ผู้โยนนั้นโยนตลอดอินนิงส์โดยไม่มีการเปลี่ยนฝั่งที่โยน
ในระหว่างโอเวอร์ผู้ตัดสินทั้งสองคนจะมีการเปลี่ยนตำแหน่ง โดยผู้ตัดสินที่อยู่ด้านหลังวิคเกตฝั่ง A (ที่เคยเป็นฝั่งของนอนสไตรเกอร์ในโอเวอร์ที่แล้ว) จะยืนอยู่ตำแหน่ง "สแควร์เลก [(Square Leg) คือยืนอยู่ด้านหลังผู้ตี ตั้งฉากระหว่างสไตรเกอร์กับนอนสไตรเกอร์]" ที่ฝั่ง A ส่วนผู้ตัดสินที่ยืนอยู่ตำแน่งสแควร์เลกฝั่ง B (ที่เคยเป็นฝั่งของสไตรเกอร์ในโอเวอร์ที่แล้ว) จะมายืนยืนอยู่ด้านหลังวิคเกตที่ฝั่ง B[73]
เสื้อผ้าและอุปกรณ์
แก้ผู้รักษาวิคเกต (ผู้ที่ยืนตำแหน่งหลังวิคเกตฝั่งสไตรเกอร์) และผู้ตีจะสวมอุปกรณ์ป้องกันเนื่องจากเพื่อป้องกันลูกคริกเกตที่แข็ง และสามารถถูกโยนด้วยความเร็วมากกว่า 145 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) ชุดป้องกันรวมถึงแผ่นสนับแข้ง (ออกแบบมาเพื่อปกป้องเข่าและหน้าแข้ง) ถุงมือผู้ตีหรือถุงมือผู้รักษาวิคเกต หมวกนิรภัยสำหรับศีรษะ และกระจับสำหรับผู้เล่นชายในกางเกง (เพื่อป้องกันบริเวณเป้า)[74] ผู้ตีบางคนจะใส่แผ่นรองเสริมด้านในเสื้อและกางเกง เช่น แผ่นรองต้นขา ผ้ารองแขน แผ่นป้องกันซี่โครง และแผ่นรองไหล่ ผู้ยืนตำแหน่งที่อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับผู้ตีมาก (เช่น ถ้าอยู่เคียงข้างหรืออยู่ข้างหน้าเขา) จะได้รับอนุญาตให้สวมอุปกรณ์ป้องกัน แต่จะไม่สามารถสวมถุงมือหรืออุปกรณ์ป้องกันขาภายนอกได้[75]
โดยทั่วไปแล้ว ชุดที่นักคริกเกตสวมใส่ในสนามจะรวมถึงเสื้อคอปกแขนสั้นหรือแขนยาว กางเกงขายาว เสื้อสวมหัวทำด้วยผ้าขนสัตว์ (ถ้าจำเป็น); หมวกคริกเกต (สำหรับทีมที่ยืนตำแหน่ง) หรือหมวกนิรภัย และรองเท้าที่มีหนามแหลมหรือรองเท้าบูทเพื่อเพิ่มการยึดเกาะ ปกติชุดที่นักคริกเกตใส่ในคริกเกตเฟิร์สคลาสและคริกเกตเทสต์จะเป็นสีขาวล้วน แต่สำหรับคริกเกตจำกัดโอเวอร์ นักคริกเกตจะใส่ชุดสีประจำทีมแทน[76]
ไม้และลูกคริกเกต
แก้แกนหลักของคริกเกตคือการที่ผู้โยน โยนลูกจากฝั่งใดด้านหนึ่งของพิทช์ไปสู่ผู้ตี ที่ยืนอยู่อีกฝั่งของพิทช์ (ดูต่อไปที่ส่วนย่อย : การเล่นพื้นฐาน)
โดยปกติไม้คริกเกตนั้นทำจากไม้ของต้นหลิวขาว (Salix alba) และมีรูปทรงแบบใบมีดที่มีด้ามเป็นทรงกระบอก ด้านไม้จะต้องมีความกว้างไม่เกิน 4.25 นิ้ว (10.8 เซนติเมตร) และมีความยาวไม่เกิน 38 นิ้ว (97 เซนติเมตร) ทั้งนี้ ไม่มีมาตรฐานสำหรับน้ำหนักของไม้คริกเกต ซึ่งมักจะอยู่ระหว่าง 2 ปอนด์ 7 ออนซ์ ถึง 3 ปอนด์ (1.1 และ 1.4 กิโลกรัม)[77][78]
ในส่วนลูกคริกเกตนั้นจะเป็นทรงกลมที่หุ้มหนังแข็ง มีเส้นรอบวง 9 นิ้ว (23 เซนติเมตร) โดยมี "ตะเข็บ" หกแถวติดเปลือกหนังของลูกเข้ากับเชือกและด้านในของไม้ก๊อก รอยต่อของลูกบอลใหม่นั้นโดดเด่นและช่วยให้ผู้โยนสามารถส่งลูกในลักษณะวิถีที่คาดเดาได้ยาก[fn 2] ในระหว่างการแข่งขัน คุณภาพของลูกจะเสื่อมลงจนใช้ไม่ได้อีกต่อไป ในระหว่างการเสื่อมสภาพนี้ พฤติกรรมในการบินของลูกจะเปลี่ยนไปและอาจส่งผลต่อผลของการแข่งขัน ดังนั้น ผู้เล่นจะพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกบอลโดยการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติทางกายภาพของลูก การขัดลูกบอลและทำให้เปียกด้วยเหงื่อหรือน้ำลายนั้นถูกกฎของคริกเกต ทำให้มีการการขัดผิวของลูกคริกเกตเพียงด้านเดียวเพื่อเพิ่มการแกว่งของลูกบอลในอากาศ แต่การถูสารอื่น ๆ เข้าไปในลูก การเกาพื้นผิว หรือการดึงที่ตะเข็บจะเป็นการงัดแงะลูกที่ผิดกฎ[79]
บทบาทของผู้เล่น
แก้การเล่นพื้นฐาน: ผู้โยนสู่ผู้ตี
แก้ระหว่างการเล่นปกติ ผู้เล่นสิบสามคนและผู้ตัดสินสองคนอยู่ในสนาม ผู้เล่นสองคนเป็นผู้และที่เหลือเป็นสมาชิกของทีมที่ยืนตำแหน่งทั้งหมดสิบเอ็ดคน ผู้เล่นอีกเก้าคนในทีมของผู้ตีจะอยู่นอกสนามในศาลาของสนาม ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการโยนลูกและใครอยู่บนหรือใกล้กับสนาม[80]
|
ในภาพ ผู้ตีสองคน (หมายเลข 3 และ 8; ใส่ชุดสีเหลือง) ยืนสนามที่ปลายแต่ละด้านของพิทช์ (6) ผู้เล่นฝั่งยืนตำแหน่ง สามคน (4 10 และ 11; ใส่ชุดสีน้ำเงินเข้ม) อยู่ประจำตำแหน่งของตน ผู้ตัดสินคนหนึ่งในสองคน (1; สวมหมวกสีขาว) ประจำการอยู่หลังวิคเกต (2) ที่ปลายของพิทช์ ของผู้โยน (4) กำลังลูกคริกเกต (5) จากปลายิทช์ไปยังผู้ตี (8) ที่ปลายอีกด้านหนึ่งซึ่งเรียกว่า "สไตรเกอร์ (striker)" ผู้ตีอีกคน (3) ที่ปลายพิทช์ที่ผู้โยนอยู่จะถูกเรียกว่า "นอนสไตรเกอร์ (non-striker)" ผู้รักษาวิคเกต (wicketkeeper) (10) ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะของทีมยืนสนาม ยืนอยู่ด้านหลังประตูของสไตรเกอร์ (9) และข้างหลังเขาเป็นหนึ่งในผู้ยืนสนามในตำแหน่งที่เรียกว่า "สลิปที่หนึ่ง (First slip)" (11) ในขณะที่ผู้ตีและสลิปที่หนึ่งสวมชุดธรรมดาเท่านั้น ผู้ตีสองคนและผู้รักษาวิคเกตสวมอุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ หมวกนิรภัย ถุงมือบุนวม และอุปกรณ์ป้องกันขา (แผ่นสนับแข้ง)
ในขณะที่ในภาพจะเห็นผู้ตัดสิน (1) ยืนอยู่ที่ปลายพิทช์ของผู้โยน จะยังมีผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งยืนอยู่ในสนาม โดยปกติแล้วจะอยู่ในหรือใกล้กับตำแหน่งการลงสนามที่เรียกว่า "สแควร์เลก" เพื่อให้เขาอยู่ในแนวเดียวกับป็อปปิงครีส (7) ที่ปลายสนามของกองหน้า โบว์ลิงครีส (ไม่มีหมายเลข) คือรอยที่วิคเกตตั้งอยู่ระหว่างรีเทิร์นครีส (12)
ผู้โยน (4) นั้นมีความตั้งใจที่จะทำลายวิคเกต (9) ด้วยการโยนลูกใส่ (5) หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อป้องกันไม่ให้สไตรเกอร์ (8) ทำรันได้ โดยสไตรเกอร์ (8) มีหน้าที่ป้องกันวิคเกต และตีลูกเพื่อทำรัน
ผู้เล่นบางคนมีความสามารถทั้งในการตีลูกและการโยนลูกหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เล่นเหล่านี้จะถูกเรียกว่าออลราวน์เดอร์ ผู้ตีแต่ละคนจะถูกจำแนกตามรูปแบบของพวกเขา โดยทั่วไปจะเป็นผู้โยนลูกเร็ว หรือผู้โยนลูกปั่น ในขณะที่ผู้ตีจะถูกจำแนกตามว่าพวกเขาถนัดที่จะตีข้างขวาหรือซ้าย
การยืนสนาม
แก้จากภาพด้านบน มีผู้เล่นสามคนจากสิบเอ็ดคนยืนประจำตำแหน่ง ส่วนอีกแปดคนอยู่ที่อื่นในสนาม ตำแหน่งของพวกเขากำหนดตามแผนการเล่นที่ใช้โดยกัปตันหรือผู้โยน การยืนตำแหน่งในคริกเกตมักจะเปลี่ยนตลอดในระหว่างการโยนลูกแต่ละครั้ง ตามคำสั่งของกัปตันหรือผู้โยน[75]
หากผู้ยืนตำแหน่งได้รับบาดเจ็บหรือป่วยในระหว่างการแข่งขัน จะมีการอนุญาตให้ผู้เล่นสำรองลงสนามแทนได้ ในคริกเกตระดับนานาชาติ ผู้เล่นสำรองจะไม่สามารถโยนหรือทำหน้าที่เป็นกัปตันได้ ยกเว้นในกรณีที่มีการใช้ผู้เล่นสำรองในกรณีที่มีผู้เล่นได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง[69] ผู้เล่นสำรองจะต้องออกจากสนามเมื่อผู้เล่นที่บาดเจ็บพร้อมกลับ[81] กฎของคริกเกตได้รับการปรับปรุงในปี ค.ศ. 2017 เพื่ออนุญาตให้ผู้เล่นสำรองสามารถทำหน้าที่เป็นผู้รักษาวิคเกต[82]
การโยนและการกำจัดผู้ตี
แก้ผู้โยนส่วนใหญ่มักได้รับเลือกให้เข้าร่วมทีมเนื่องจากทักษะของพวกเขาในฐานะผู้โยนโดยเฉพาะ แม้ว่าผู้เล่นบางคนจะเป็นออลราวเดอร์หรือเป็นผู้ตีที่โยนลูกเป็นครั้งคราว ผู้โยนจะโยนหลายครั้งในระหว่างอินนิงส์ แต่ไม่สามารถโยนสองโอเวอร์ติดต่อกันได้ หากกัปตันต้องการให้ผู้โยน "เปลี่ยนฝั่ง" ผู้โยนคนอื่นต้องโยนลูกที่ยังเหลืออยู่ในโอเวอร์นั้น ๆ[73]
โอเวอร์หนึ่ง ๆ จะเริ่มขึ้นเมื่อผู้โยนเริ่มวิ่งเข้าหาพิทช์เพื่อโยนลูก (run-up)[73] ผู้โยนลูกเร็ว (Fast bowlers) มักจะวิ่งเป็นระยะไกลเพื่อเป็นการสร้างโมเมนตัมในการโยน ส่วนผู้โยนลูกปั่น (Spin Bowlers) มักจะวิ่งเพียงำม่กี่ก้าวก่อนโยนลูฏ ผู้โยนที่เร็วที่สุดสามารถส่งลูกด้วยความเร็วมากกว่า 145 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) และบางครั้งพวกเขาก็อาศัยความเร็วเป็นหลัก เพื่อพยายามเอาชนะผู้ตีที่ถูกบังคับให้ตอบสนองอย่างรวดเร็ว ผู้โยนลูกเร็วคนอื่น ๆ อาศัยการผสมผสานระหว่างความเร็วและเล่ห์เหลี่ยมโดยทำให้ลูกวิ่งเป็นรอยตะเข็บ (Seam bowling) หรือวิ่งส่ายเป็นทางโค้ง (Swing bowling) การโยนประเภทนี้สามารถหลอกลวงผู้ตีให้ตีลูกอย่างผิดวิธีได้ ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ลูกแตะขอบไม้ตีแล้วสามารถ "รับลูกจากข้างหลัง" โดยผู้รักษาวิคเกตหรือผู้ยืนตำแหน่งสลิปได้[84] ในขณะผู้โยนอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่าผู้โยนลูกปั่น ที่โยนด้วยความเร็วที่ค่อนข้างช้าและอาศัยกลอุบายในการหลอกล่อผู้ตี ผู้โยนลูกปั่นมักจะ "ซื้อวิคเกต" โดย "โยนลูกขึ้น" (ในวิถีพาราโบลาที่ช้ากว่าและชันกว่า) เพื่อล่อให้ผู้ตีตีลูกที่ไม่ดี ผู้ตีลูกต้องระวังให้มากในการโยนลูกแต่ละครั้ง เนื่องจากลูกปั่นมักจะ "บิน" หรือถูกหมุน เพื่อที่จะทำให้ผู้ตีรับมือได้อย่างไม่ถูกต้อง และเขาอาจ "ติดกับ" และถูกทำให้เอาต์[85] ระหว่างผู้ตีลูกเร็วและผู้ตีลูกปั่น จะมีผู้โยนอีกกลุ่มหนึ่งที่จะโยนลูกด้วยความเร็วระดับปานกลาง โดยเน้นไปที่ความแม่นยำของการโยนเพื่อเป็นการทำลายสมาธิของผู้ตี[84]
ในคริกเกต มีถึงเก้าวิธีที่ผู้ตีสามารถถูกกำจัดได้ ห้าวิธีแรกสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ส่วนสี่วิธีหลังนั้นพบได้ยากมาก
- โบลด์ (bowled): การโยนลูกเพื่อทำลายวิคเก็ตให้เบลตกลงมาจากสตัมป์[86]
- คอท (caught): การรับลูกคริกเกตก่อนลูกตกถึงพื้น โดยลูกนั้นจะต้องถูกไม้หรือถุงมือของผู้ตีก่อน[87]
- รันเอาต์ (run out): การทำลายวิคเก็ตก่อนที่ผู้เล่นฝั่งผู้ตีจะวิ่งไปถึงอีกฝั่งของพิตช์ได้ทัน[88]
- สตัมป์ (stumped): การที่ผู้รักษาวิคเก็ตรับลูกวิคเกตที่ผู้ตีตีไม่โดน แล้วทำลายวิคเก็ตก่อนที่ผู้ตีจะกลับไปอยู่ในป็อปปิงครีสของตนได้ทัน[89]
- เลกบีฟอร์วิคเกต (leg before wicket; นิยมเรียกว่าแอลบีดับเบิลยู (lbw)]: การทำโยนลูกให้โดนผู้ตีโดยที่ไม่โดนไม้คริกเกต โดยวิถีของลูกจะไปชนวิกเก็ต[90]
- ฮิทวิคเกต (hit wicket) การที่ผู้ตีขยับร่างกาย ไปชนทำลายวิคเกตโดยไม่ตั้งใจ[91]
- ออบสตรัคติงเดอะฟีลด์ (obstructing the field): การกระทำที่เข้าข่ายรบกวนการเล่นของทีมที่ยืนตำแหน่ง เช่น การตีลูกสองครั้งในการโยนลูกครั้งเดียว[92][93]
- ไทม์เอาท์ (timed out): การที่ผู้ตีที่จะเข้ามาตีในสนาม ลงมาในสนามไม่ทันเวลาที่กำหนด[94]
- รีไทร์เอาต์ (retired out): การทีผู้ตีออกจากการแข่งขันโดยที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากกัปตันทีมฝั่งตรงข้ามและผู้ตัดสิน[95]
กฎของคริกเกตระบุว่าทีมยืนสนามซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นผู้โยนจะต้องเรียกร้องผู้ตัดสิน (appealing) ก่อนที่ผู้ตัดสินจะตัดสินได้ ถ้าหากผู้ตีเอาต์ กรรมการยกนิ้วชี้และพูดว่า "เอาต์!" หากผู้ตีไม่เอาต์ ผู้ตัดสินจะส่ายหัวและพูดว่า "ไม่เอาต์"[96]
การตี การวิ่ง และรันพิเศษ
แก้ผู้ตีจะเข้ามาตีตามลำดับการตี ซึ่งกัปตันทีมจะตัดสินใจล่วงหน้าและนำเสนอต่อกรรมการ แต่ลำดับการตีสามารถยืดหยุ่นได้เมื่อกัปตันทีมเสนอชื่อทีมอย่างเป็นทางการ[60] โดยทั่วไปในคริกเกตนานาชาติ จะไม่อนุญาตให้ใช้ผู้เล่นทดแทนในการตี[81] ยกเว้นในกรณีที่ใช้แทนการถูกกระทบกระแทกทางสมอง[69]
ตามปกติแล้ว ผู้ตีส่วนไหญ่จะยืนตำแหน่งโดยต้องหมอบลงเล็กน้อย โดยให้เท้าชี้ขนานวิคเกต มองไปในทิศทางของผู้โยน และจับไม้ตีให้ข้ามเท้าไป และปลายไม้วางอยู่บนพื้นใกล้กับนิ้วเท้าของเท้าหลัง[97]
ผู้ตีที่มีทักษะสามารถ "ยิง (shot)" หรือ "วาดวง (stroke)" ได้หลากหลายท่าทั้งในรูปแบบป้องกันและโจมตี แนวคิดหลักของการตีคือการตีลูกให้ได้ผลดีที่สุดกับพื้นผิวเรียบของใบของไม้ ถ้าลูกสัมผัสกับด้านข้างของไม้ จะถูกเรียกว่า "โดนขอบ" ผู้ตีไม่จำเป็นต้องเล่นลูกและสามารถให้ลูกผ่านไปยังผู้รักษาวิคเกตได้ ในทำนองเดียวกันเขาไม่ต้องพยายามวิ่งเมื่อเขาตีลูกด้วยไม้ตีเช่นกัน และผู้ตีไม่ได้พยายามตีลูกบอลให้แรงที่สุดเสมอไป และผู้ตีที่ดีสามารถทำรันได้ด้วยการตีอย่างคล่องแคล่วเพียงด้วยการหมุนข้อมือ หรือเพียงแค่ "บล็อก" ลูกบ แต่ให้นำลูกให้หนีออกจากผู้ยืนสนามเพื่อที่เขาจะได้มีเวลาวิ่ง ในครกิเกตมีการเล่นช็อตที่หลากหลาย และผู้ตีสามารถตีลูกออกไปในทุกทิศทางที่ต้องการ ท่าตีต่าง ๆ ในคริกเกตมักนิยมถูกเรียกตามทิศทางของผู้ตีตามรูปด้านข้าง: เช่น "คัต (cut)" "ไดรฟ์ (drive)" "ฮุก (hook)" หรือ "พุล (pull)"[98]
สไตรเกอร์จะต้องป้องกันไม่ให้ลูกชนวิคเกตและพยายามที่จะทำรัน โดยการใช้ไม้ตีตีลูกเพื่อให้เขาและเพื่อนผู้ตีของเขามีเวลาที่จะวิ่งออกจากปลายด้านหนึ่งของพิทช์ก่อนที่ฝ่ายสนามจะคืนบอลได้ ในการทำรัน ผู้ตีทั้งสองต้องแตะพื้นที่อยู่หลังป็อปปิงครีสด้วยไม้ตีหรือร่างกายของผู้ตีเอง การวิ่งที่เสร็จสิ้นแต่ละครั้งจะมีค่าเท่ากับหนึ่งรัน[99]
การตัดสินใจของผู้ตีที่จะพยายามวิ่ง จะขึ้นอยู่กับผู้ตีที่มีมุมมองที่ดีกว่าเกี่ยวกับความคืบหน้าของลูกบอล ว่าควรที่จะวิ่งทำรันหรือไม่ และสิ่งนี้จะได้รับการสื่อสารโดยการเรียกว่า "ใช่" "ไม่" หรือ "รอ" ผู้ตีสามารถทำคะแนนได้มากกว่าหนึ่งรันจากการโจมตีครั้งเดียว: การโจมตีที่คุ้มค่าหนึ่งถึงสามรันนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ขนาดของสนามนั้นมักจะเป็นเรื่องยากที่จะทำถึงสี่รันหรือมากกว่านั้น[99] เพื่อชดเชยสิ่งนี้ การตีที่ไปถึงขอบเขตของสนามจะได้รับสี่รันโดยอัตโนมัติหากลูกบอลสัมผัสพื้นระหว่างเส้นทางไปยังขอบเขต หรือหกรันหากลูกบอลบินข้ามเขตโดยไม่สัมผัสพื้นภายในเขต ในกรณีเหล่านี้ ผู้ตีไม่จำเป็นต้องวิ่ง[100] การทำได้ห้ารันหรือมากกว่าเป็นเรื่องผิดปกติ โดยมักจะมาจากการ "โยนเกิน (overthrow)" โดยผู้เล่นสนามที่พยายามส่งลูกกลับ หากสไตรเกอร์ทำแต้มได้เป็นเลขคี่ ผู้ตีทั้งสองยืนสลับกัน และนอนสไตรเกอร์จะเป็นสไตรเกอร์แทน ในขณะที่รันทั้งหมดจะถูกรวมเข้ากับยอดรวมของทีม ในการนับรันส่วนตัวจะมีเพียงแค่สไตรเกอร์เท่านั้นที่มีรายชื่อเป็นผู้ทำรัน[99]
ทีมของผู้ตีสามารถได้จากรันพิเศษ (extras) (เรียกว่า "รันจิปาถะ (sundries)" ในออสเตรเลีย) ซึ่งเป็นรันที่มาจจากข้อผิดพลาดที่เกิดจากฝ่ายสนาม โดยรันพิเศษนั้นมีสี่ที่มา:
- โนบอล (no-ball): การโยนลูกอย่างผิดกฎ เช่น การที่เท้าหน้าของผู้โยนเหยียบเลยป็อปปิงครีส การยืดข้อศอกในการโยน (การขว้าง) หรือการโยนลูกสู่ผู้ตีที่ตำแหน่งที่สูงกว่าเอวโดยไม่กระดอนพื้นก่อน[101]
- ไวด์ (wide): การที่ผู้โยนโยนลูกในวิถีที่ผู้ตีไม่สามารถตีลูกโดน เช่น การโยนลูกที่สูงหรือห่างตัวเกินไป หรือการโยนลูกที่ผู้ตีไม่สามารถตีให้โดนโดยยังคงยืนในตำแหน่งเดิมอยู่[102]
- บาย (bye): การที่ผู้โยนโยนลูกไม่ถูกผู้ตีหรือไม้ตี แต่มีความผิดพลาดจากผู้เล่นสนาม (มักเป็นผู้รักษาวิคเกต) จนผูตีฉวยโอกาสวิ่งทำรันได้[103]
- เลกบาย (leg bye): การที่ผู้โยนโยนลูกไปถูกร่างกายผู้ตี แต่ไม่โดนไม้หรือถุงมือของผู้ตี แล้วผูตีฉวยโอกาสวิ่งทำรันได้[103]
ถ้าผู้โยนโยนโนบอลหรือไวด์ เขาจะต้องโยนลูกอีกครั้งเป็นการทดแทน[fn 3][101][102]
ทั้งนี้ รันพิเศษจะไม่ถูกนับเป็นรันส่วนตัวที่สไตรเกอร์ทำได้ และบายกับเลกบายไม่ถูกนับเป็นรันส่วนตัวที่ผู้โยนเสีย
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
แก้กัปตันทีมมักจะเป็นผู้เล่นที่มีประสบการณ์มากที่สุดและมีกลยุทธ์ที่เฉียบแหลมที่สุดในทีม ในคริกเกต กัปตันทีมนั้นจะเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อทีมมากกว่ากัปตันในกีฬาอื่น ๆ ในกฎของคริกเกต กัปตันมีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอชื่อผู้เล่นของเขาให้เป็นผู้ตัดสินก่อนการแข่งขัน เป็นผู้ที่เลือกผู้โยนในโอเวอร์หนึ่ง ๆ เป็นผู้ที่จัดวางตำแหน่งการยืนของผู้ร่วมทีมในสนาม และดูแลให้ผู้เล่นของเขาประพฤติตน "ภายในจิตวิญญาณและประเพณีของการแข่งขันตลอดจนการประพฤติตนในกฎของคริกเกต"[60]
ผู้รักษาวิคเกต (wicket-keeper) [(บางครั้งเรียกว่า "ผู้รักษา (keeper)"] เป็นผู้มีทักษะการรับลูกมากกว่าเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ เขาเป็นสมาชิกคนเดียวของฝ่ายสนามที่สามารถทำสตัมป์สตัมป์ได้ และเป็นคนเดียวที่ได้รับอนุญาตให้สวมถุงมือและอุปกรณ์ป้องกันขาภายนอก[104] โดยทั่วไปแล้ว ทีมหนึ่งทีมจะประกอบด้วยผู้ตีเชี่ยวชาญพิเศษห้าหรือหกคน ผู้โยนเชี่ยวชาญพิเศษสี่หรือห้าคน และผู้รักษาวิคเกท[105][106]
ผู้ตัดสินและผู้บันทึกคะแนน
แก้การแข่งขันในสนามถูกควบคุมโดยผู้ตัดสินสองคน คนหนึ่งยืนอยู่หลังประตูที่ปลายนักโยน อีกคนอยู่ในตำแหน่งที่เรียกว่า "สแควร์เลก" ซึ่งอยู่ห่างจากผู้ตีฝั่งสไตรเกอร์ประมาณ 15-20 เมตร จากป็อปปิงครีส ผู้ตัดสินมีความรับผิดชอบหลายอย่างรวมทั้งการพิจารณาว่าลูกได้รับการโยนอย่างถูกต้อง (เช่นไม่ได้เป็นโนบอล หรือไวด์ ) การตัดสินว่ามีการทำรันแล้ว การตัดสินว่าผู้ตีเอาต์หรือไม่ (ฝ่ายสนามต้องอุทธรณ์ผู้ตัดสินก่อน [โดยปกติแล้วจะใช้วลี "เป็นยังไงบ้าง (How's that?)" หรือ "โอวซัท? (Owzat?) หรือเพียงแค่ตะโกนเฉย ๆ "] ผู้ตัดสินยังคอยดูเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการแข่งขัน และความเหมาะสมของสภาพ สนาม และสภาพอากาศในการเล่น ผู้ตัดสินได้รับอนุญาตให้หยุดการแข่งขันหรือละทิ้งการแข่งขันเนื่องจากสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้เล่น เช่น สนามที่เปียกชื้นหรือแสงที่เริ่มมัวลง[71]
ในการแข่งขันทางโทรทัศน์ มักจะมีผู้ตัดสินคนที่สามนอกสนามที่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์บางอย่างได้โดยใช้หลักฐานทางวิดีโอ สำหรับคริกเกตเทสต์และโอดีไอ เล่นระหว่างประเทศสมาชิกสมบูรณ์ทั้งสิบสองชาติ จะต้องมีผู้ตัดสินที่สามประจำอยู่เสมอ การแข่งขันเหล่านี้ยังมีผู้ตัดสินแมตช์ที่มีหน้าที่ดูแลให้การเล่นเป็นไปตามกฎหมายและจิตวิญญาณของการแข่งขัน[71]
รายละเอียดการแข่งขัน รันและการกำจัดผู้ตีนั้นจะถูกบันทึกโดยผู้บันทึกคะแนนสองคน โดยคนหนึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละทีม ผู้บันทึกคะแนนจะถูกกำกับโดยสัญญาณมือของผู้ตัดสิน (ดูภาพด้านขวา) ตัวอย่างเช่น ผู้ตัดสินยกนิ้วชี้เพื่อส่งสัญญาณว่าผู้ตีเอาต์ (ถูกกำจัด) เขายกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ ถ้าคนตีทำได้หกรัน ผู้บันทึกคะแนนต้องบันทึกทุกรันที่ทำได้ ทุกวิคเกตที่ทำได้ และทุกโอเวอร์ที่มีการโยน ในทางปฏิบัติ พวกเขายังเขียนข้อมูลเพิ่มเติมจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน[107]
สถิติการแข่งขันจะสรุปไว้ในตารางสรุปสถิติ ในสมัยก่อนที่ตารางสรุปสถิติจะเป็นที่นิยม การบันทึกคะแนนส่วนใหญ่ทำโดยการเขียนขีดแทนรันบนไม้[108] อ้างอิงจากโรว์แลนด์ โบเวน ตารางสรุปสถิติที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1776 โดยที. แพรตต์ จากเมืองซีฟโนกส์ และในไม่ช้าตารางสรุปสถิติก็มีการใช้งานโดยทั่วไป[109] เชื่อกันว่าตารางสรุปสถิติถูกพิมพ์และขายที่สนามคริกเกตลอร์ดสเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1846[110]
"จิตวิญญาณของคริกเกต"
แก้นอกจากการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว นักคริกเกตยังต้องเคารพ "จิตวิญญาณของคริกเกต (Spirit of Cricket)" ซึ่งเป็นแนวคิดที่รวมความเป็นน้ำใจนักกีฬา การเล่นที่ยุติธรรม และความเคารพซึ่งกันและกัน "จิตวิญญาณของคริกเกต" นี้ถือเป็นส่วนสำคัญของกีฬามานานแล้ว แต่มีการกำหนดไว้อย่างคลุมเครือเท่านั้น ท่ามกลางความกังวลว่า "จิตวิญญาณของคริกเกต" กำลังจะอ่อนแอลง ในปี ค.ศ. 2000 ได้มีการเขียนคำนำเข้าไปในกฎหมายซึ่งแนะนำให้ผู้เข้าร่วมทุกคนเล่นด้วยจิตวิญญาณของการแข่งขัน คำนำได้รับการปรับปรุงล่าสุดในปี ค.ศ. 2017 ที่เขียนเปิดว่า:[111]
"ความน่าดึงดูดและความสนุกสนานของคริกเกตส่วนมาก มาจากการที่การแข่งขันนั้นไม่ได้มีการเล่นตามเพียงแค่กฎเท่านั้น แต่ยังเล่นตามจิตวิญญาณของคริกเกตอีกด้วย"
คำนำเป็นคำกล่าวสั้น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเน้น "พฤติกรรมเชิงบวกที่ทำให้คริกเกตเป็นการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นที่ส่งเสริมความเป็นผู้นำ มิตรภาพ และการทำงานเป็นทีม"[112] บรรทัดที่สองระบุว่า "ความรับผิดชอบหลักในการสร้างความยุติธรรมนั้นอยู่ที่กัปตัน แต่ความรับผิดชอบนั้นขยายไปถึงผู้เล่นทุกคน เจ้าหน้าที่การแข่งขัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคริกเกตรุ่นเยาว์ ครู ผู้ฝึกสอน และผู้ปกครอง"[111]
กรรมการเป็นผู้ตัดสินการเล่นที่ยุติธรรมและไม่ยุติธรรม การเข้าไปแทรกแซงในกรณีที่มีการเล่นที่เป็นอันตรายหรือไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่ผู้เล่นมีพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้ จะต้องอยู่ภายใต้กฎของคริกเกต
รูปแบบก่อนหน้าของ "จิตวิญญาณของคริกเกต" มีการระบุถึงการกระทำที่ถือว่าเป็นการทำให้ "จิตวิญญาณของคริกเกต" เสื่อมเสีย (เช่น การอุทธรณ์ทั้งที่รู้าผู้ตีไม่เอาต์) แต่รายละเอียดทั้งหมดตอนนี้ครอบคลุมอยู่ในกฎของคริกเกต กฎกติกาการเล่นและประมวลวินัยที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว โดยการตัดสินว่าการกระทำต่าง ๆ นั้นอยู่ใน "จิตวิญญาณของคริกเกต" หรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับผู้ตัดสิน กัปตันทีม สโมสร และหน่วยงานกำกับดูแล
คริกเกตหญิง
แก้บันทึกแรกเกี่ยวกับคริกเกตหญิงนั้นถูกบันทึกในเซอร์รีย์ ในปี ค.ศ. 1745[113] การพัฒนาคริกเกตนานาชาติได้เริ่มขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 และการคริกเกตเทสต์หญิงนัดแรกระหว่างทีมชาติออสเตรเลียและทีมชาติอังกฤษ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1934[114] ในปีถัดมาทีมชาตินิวซีแลนด์ได้ร่วมเล่นคริกเกตเทสต์ด้วย และในปี ค.ศ. 2007 ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นทีมที่สิบที่ได้เล่นคริกเกตเทสต์ โดยคู่แข่งทีมแรกคือทีมชาติแอฟริกาใต้
ในปี ค.ศ. 1958 ได้มีการก่อตั้งสภาคริกเกตสตรีสากล (International Women's Cricket Council)[114] ในปี ค.ศ. 1973 การแข่งขันคริกเกตโลกครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อมีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงในอังกฤษ[114] ในปี ค.ศ. 2005 สภาคริกเกตสตรีสากลได้รวมเข้ากับสภาคริกเกตนานาชาติ (ICC) เพื่อสร้างองค์กรแบบครบวงจรเพื่อช่วยในการจัดการและพัฒนาคริกเกต
ทีมชาติออสเตรเลียคือเป็นทีมชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในคริกเกตหญิง โดยเป็นผู้ชนะคริกเกตโลกหญิงทั้งในรูปแบบโอดีไอและที20 ถึงรายการละห้าสมัย และเป็นทีมที่ครองอันดับหนึ่งในการจัดอันดับทีมโอดีอของไอซีซีมาหลายปี[115]
การปกครอง
แก้สภาคริกเกตนานาชาติ หรือไอซีซี (International Cricket Council; ICC) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ดูไบ เป็นองค์กรปกครองคริกเกตระดับโลก ก่อตั้งขึ้นในชื่อ ราชคณะคริกเกต (Imperial Cricket Conference) ในปี ค.ศ. 1909 โดยตัวแทนจากอังกฤษ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะคริกเกตนานาชาติ (International Cricket Conference) ในปี ค.ศ. 1965 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในปี ค.ศ. 1989[114] ในปี พ.ศ. 2021 ไอซีซีมีสมาชิก 105 ประเทศ โดย 12 ประเทศมีสถานะเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบและสามารถเล่นคริกเกตเทสต์ได้[116] โดยไอซีซีมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดระเบียบและกำกับดูแลการแข่งขันคริกเกตระดับนานาชาติที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริกเกตโลกชายและหญิง ทั้งในรูปแบบโอดีไอและที20 นอกจากนี้ไอซีซียังมีหน้าที่แต่งตั้งผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่ในการแข่งขันคริกเกตเทสต์ โอดีไอ และที20 ทีมชาติ
ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะมีคณะกรรมการคริกเกตระดับชาติซึ่งควบคุมการแข่งขันคริกเกตที่เล่นในประเทศของตน เลือกผู้เล่นในทีมชาติ และจัดทัวร์เหย้าและเยือนสำหรับทีมชาติ[117] ในภูมิภาคเวสต์อินดีส ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ประกอบไปด้วยชาติที่เคยเป็นอาณานิคมของจักรววรดิอังกฤษในแคริบเบียน คริกเกตในภูมิภาคนี้จะถูฏควบคุมโดยคริกเกตเวสต์อินดีส[118]
ตารางด้านล่างแสดงรายชื่อสมาชิกเต็มรูปแบบของไอซีซี และคณะกรรมการคริกเกตในแต่ละประเทศ:[119]
ชาติ | องค์การปกครอง | เป็นสมาชิกตั้งแต่[120] |
---|---|---|
อัฟกานิสถาน | คณะกรรมการคริกเกตอัฟกานิสถาน | 22 มิถุนายน ค.ศ. 2017 |
ออสเตรเลีย | คริกเกตออสเตรเลีย | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1909 |
บังกลาเทศ | คณะกรรมการคริกเกตบังกลาเทศ | 26 มิถุนายน ค.ศ. 2000 |
อังกฤษ | คณะกรรมการคริกเกตอังกฤษและเวลส์ | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1909 |
อินเดีย | คณะกรรมการควบคุมคริกเกตในอินเดีย | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 |
ไอร์แลนด์ | คริกเกตไอร์แลนด์ | 22 มิถุนายน ค.ศ. 2017 |
นิวซีแลนด์ | คริกเกตนิวซีแลนด์ | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 |
ปากีสถาน | คณะกรรมการคริกเกตปากีสถาน | 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 |
แอฟริกาใต้ | คริกเกตแอฟริกาใต้ | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1909 |
ศรีลังกา | คริกเกตศรีลังกา | 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 |
เวสต์อินดีส | คริกเกตเวสต์อินดีส | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 |
ซิมบับเว | คริกเกตซิมบับเว | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 |
รูปแบบของคริกเกต
แก้คริกเกตเป็นกีฬาที่มีความซับซ้อน และมีการเล่นคริกเกตในหลายรูปแบบโดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ คือ คริกเกตเฟิสต์คลาส (First Class Cricket) และคริกเกตจำกัดโอเวอร์ (Limited Overs Cricket) รูปแบบคริกเกตที่ได้รับการยกว่าเป็นมาตรฐานสูงสุดของกีฬาคือคริกเกตเทสต์ (Test Cricket; อาจเขียนด้วยตัว "T") ซึ่งถือว่าเป็นสับเซ็ตของคริกเกตเฟิสต์คลาส โดยทีมที่ลงเล่นในคริกเกตเทสต์นั้นเป็นทีมที่เป็นตัวแทนของสิบสองประเทศที่เป็นสมาชิกเต็มรูปแบบของไอซีซี (ดูด้านบน) โดยซีรีส์แรกที่ได้ชื่อว่าเป็นการแข่งขันคริกเกตเทสต์ซีรีส์แรก คือการแข่งขันระหว่างทีมชาติออสเตรเลีย และทีมชาติอังกฤษ ในออสเตรเลียในฤดูกาล 1876–1877 ; ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1882 ซีรีส์เทสต์ส่วนใหญ่ระหว่างทีมชาติออสเตรเลียและอังกฤษจะนิยมเรียกว่าดิแอเชส (The Ashes) คำว่า "เฟิสต์คลาส (First Class)" ที่แปลว่า "ชั้นหนึ่ง" โดยทั่วไปใช้กับคริกเกตที่เล่นกันฝั่งละสองอินนิงส์ในประเทศที่เป็นสมาชิกเต็มรูปแแบบของไอซีซี คริกเกตเทสต์จะมีเวลาในการเล่นทั้งหมดห้าวัน และสามถึงสี่วันในคริกเกตเฟิสต์คลาส ในการแข่งขันทั้งหมดเหล่านี้ แต่ละทีมจะได้เล่นกันฝั่งละสองอินนิงส์ และผลเสมอสามารถเกิดขึ้นได้[121]
คริกเกตแบบจำกัดโอเวอร์มีกำหนดให้มีผลแพ้ชนะภายในวันเดียว และแต่ละทีมจะได้เล่นกันฝั่งละหนึ่งอินนิงส์ และสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ คือคริกเกตลิสต์เอ (List A Cricket) ซึ่งปกติจะเล่นห้าสิบโอเวอร์ต่อทีม; และคริกเกตทเวนตี20 [Twenty20; อ่านว่า ทเวนตีทเวนตี นิยมเรียกว่า ที20 (T20)]ซึ่งแต่ละทีมจะเล่นยี่สิบโอเวอร์ต่อทีม โดยคริกเกตแบบจำกัดโอเวอร์ทั้งสองแบบจะเล่นในระดับสากลในฐานะคริกเกตทีมชาติหนึ่งวัน [Limited Overs Internationals หรือโอดีไอ (LOI)] และคริกเกตทีมชาติที20 [Twenty20 Internationals หรือที20ไอ (T20I)] ตามลำดับ
มีการเริ่มเล่นคริกเกตลิสต์เอในอังกฤษในฤดูกาล 1963 ในฐานะถ้วยแพ้คัดออกที่แข่งขันกันโดยสโมสรระดับเฟิร์สคลาส ในปี ค.ศ. 1969 ได้มีการจัดการแข่งขันระดับชาติขึ้น แนวคิดนี้ค่อย ๆ นำมาใช้กับประเทศคริกเกตชั้นนำอื่น ๆ และการแข่งขันแบบจำกัดโอเวอร์ระหว่างประเทศครั้งแรกเริ่มเล่นในปี 1971 ในปี 1975 ได้มีการจักแข่งขันคริกเกตโลกครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ ในขณะที่ที 20 เป็นรูปแบบใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การแข่งขันเสร็จสิ้นภายในเวลาประมาณสามชั่วโมง โดยปกติการแข่งขันในรูปแบบนี้จะนิยมเล่นกันในช่วงเย็น มีการคริกเกตที20 โลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 คริกเกตแบบจำกัดโอเวอร์จะไม่มีการเสมอ และการแข่งขันที่ยังไม่จบจะถูกประกาศว่า "ไม่มีผลการแข่งขัน"[122][123]
คริกเกตวิคเกตเดียวเคยเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 18 และ 19 และเคยถูกยกว่าเป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสูงสุดของกีฬา ในรูปแบบนี้ แม้ว่าแต่ละทีมอาจมีผู้เล่นตั้งแต่หนึ่งถึงหกคน แต่ก็มีผู้ตีเพียงครั้งละหนึ่งคนเท่านั้น และเขาต้องเผชิญหน้าการโยนลูกทุกครั้งในขณะที่อินนิงส์ของเขายังคงอยู่ แทบไม่มีการเล่นคริกเกตวิคเกตเดียวนับตั้งแต่มีการเล่นคริกเกตแบบจำกัดโอเวอร์ แต่ละทีมจะได้เล่นฝั่งละสองอินนิงส์และสามารถมีผลเสมอได้[124]
การแข่งขัน
แก้มาการแข่งขันคริกเกตทั้งในระดับนานาชาติและในประเทศ มีการแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติที่สำคัญหนึ่งรายการต่อรูปแบบ และในประเทศที่เป็นสมาชิกเต็มรูปแบบของไอซีซี จะมีการแข่งขันในประเทศระดับประเทศอย่างน้อยหนึ่งรายการต่อรูปแบบ ในปัจจุบันได้มีการจัดแข่งขันลีกที20เป็นจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งทำให้เกิดวลีว่า "ปรากฏการณ์ที20"[125]
การแข่งขันระดับนานาชาติ
แก้การแข่งขันระดับนานาชาติส่วนใหญ่จะเล่นเป็นส่วนหนึ่งของ 'ทัวร์' เมื่อทีมชาติของประเทศหนึ่งเดินทางไปยังอีกประเทศหนึ่งเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และเล่นการแข่งขันหลายประเภทกับประเทศเจ้าภาพ บางครั้งจะมีการมอบถ้วยรางวัลให้กับทีมผู้ชนะซีรีส์คริกเกตเทสต์ โดยซีรีส์ซึ่งมีชื่อเสียงมากที่สุดคือรายการดิแอชเชสระหว่างทีมชาติอังกฤษและออสเตรเลีย และรายการบอร์เดอร์-กาวาสการโทรฟีระหว่างทีมชาติออสเตรเลียกับอินเดีย
นอกจากนี้ ไอซีซียังจัดการแข่งขันสำหรับหลายประเทศพร้อมกัน เช่น รายการคริกเกตโลก รายการคริกเกตที20โลก และรายการไอซีซีแชมเปียนส์โทรฟี ไอซีซียังมีการจัดการแข่งขันลีกสำหรับคริกเกตเทสต์ที่นำผลการแข่งขันจากซีรีส์คริกเกตเทสต์ต่าง ๆ คือ ไอซีซีเวิลด์เทสต์แชมเปียนชิป โดยเริ่มการแข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 2019 มีการแข่งขันลีกสำหรับโอดีไอ ไอซีซีเวิลด์คัพซูเปอร์ลีก เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 เพื่อเป็นการหาทีมเข้าสู่รายการคริกเกตโลก
ไอซีซียังเป็นผู้ที่ทำการจัดอันดับทีมเทสต์ ทีมโอดีไอ และทีมที20 และมีการจัดอันดับผู้เล่นในตำแหน่งผู้ตี ผู้โยน และออลราวเดอร์ในทั้งสามรูปแบบอีกด้วย
การแข่งขันสำหรับประเทศสมาชิกของไอซีซีที่มีสถานะเป็นสมาชิกร่วม ประกอบไปด้วย ไอซีซีอินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ สำหรับการแข่งขันคริกเกตเฟิสต์คลาส และเวิลด์คริกเกตลีกสำหรับการแข่งขันแบบวันเดียว การแข่งขันในรอบสุดท้ายของรายการนี้ยังทำหน้าที่เป็นรอบคัดเลือกของคริกเกตโลกอีกด้วย
การแข่งขันระดับประเทศ
แก้คริกเกตเฟิสต์คลาส
แก้คริกเกตเฟิร์สคลาสในอังกฤษส่วนใหญ่จะเล่นโดย 18 สโมสรระดับเทศมณฑลซึ่งแข่งขันในลีกเคาน์ตีแชมเปียนชิป (County Championship) แนวคิดของแชมป์ระดับประเทศมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 แต่การแข่งขันอย่างเป็นทางการยังไม่เป็นที่ยอมรับจนถึงปี ค.ศ. 1890[42] สโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือยอร์คเชอร์ ซึ่งเป็นผู้ชนะในรายการนี้ที่ 33 สมัย[126]
ต่อมาได้มีก่อตั้งการแข่งขันลีกชิงแชมป์ระดับเฟิร์สคลาสในออสเตรเลียขึ้นในปี ค.ศ. 1892-93 ในชื่อเชฟฟิลด์ชิลด์ (Sheffield Shield) ในออสเตรเลีย ทีมระดับเฟิร์สคลาสเป็นตัวแทนของรัฐต่าง ๆ[127] โดยทีมนิวเซาธ์เวลส์เป็นทีมทีชนะเป็นจำนวนครั้งมากที่สุดที่ 47 สมัย
ในอินเดีย ได้มีจัดแข่งขันลีกคริกเกตเฟิสต์คลาสเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 1934-35 ในชื่อรันจีโทรฟี (Ranji Trophy) โดยทีมมุมไบเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยได้ตำแหน่งชนะเลิศที่ 41 สมัย
ประเทศสมาชิกไอซีซีเต็มรูปแบบประเทศอื่น ๆ เองก็ได้มีการแข่งขันคริกเกตเฟิสต์คลาสระดับชาติของตนเอง โดยประกอบไปด้วย อาห์มัด ชาห์ อับดาลี โฟร์เดย์ทัวร์นาเมนท์ (อัฟกานิสถาน); ลีกคริกเกตแห่งชาติ (บังคลาเทศ); การแข่งขันชิงแชมป์ระหว่างจังหวัด (ไอร์แลนด์); พลันเกตชิลด์ (นิวซีแลนด์); ไควด์-อี-อาซัม โทรฟี (ปากีสถาน); เคอร์รีคัพ (แอฟริกาใต้); พรีเมียร์โทรฟี (ศรีลังกา); เชลล์ชิลด์ (เวสต์อินดีส); และโลแกนคัพ (ซิมบับเว)
คริกเกตลิสต์เอ
แก้การแข่งขันคริกเกตลิสต์เอรายการแรกคือรายการจิลเลตต์คัพ (Gillette Cup) ซึ่งประกอบด้วยทีมมณฑลทั้ง 18 ทีมของอังกฤษ โดยมีการแข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1963 การแข่งขันคริกเกตลิสต์เอในประเทศอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่รายการรอยัลลอนดอนวันเดย์คัพ (Royal London One-Day Cup) ในประเทศอังกฤษ วิชัย ฮาซาเร โทรฟี (Vijay Hazare Trophy) ในประเทศอินเดีย และมาร์ชวันเดย์คัพ (Marsh One-Day Cup) ในประเทศออสเตรเลีย
คริกเกตที 20
แก้ที20 บลาสต์ [T20 Blast] เป็นการแข่งขันคริกเกตที20 รายการแรกที่เริ่มมีการแข่งขันขึ้นในปี ค.ศ. 2003 ในชื่อทเวนตี20คัพ (Twenty20 Cup) โดยประกอบด้วยทีมมณฑลทั้ง 18 ทีมของอังกฤษเช่นเดียวกับจิลเลตต์คัพ จดประสงค์ของการแข่งขันรูปแบบใหม่นั้นเกิดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มฐานผู้รับชมคริกเกตในอังกฤษที่กำลังลดลง ซึ่งในรอบชิงชนะเลิศระหว่างเซอร์รีย์และมิดเดิลเซกส์ มียอดผู้ชมที่ 27,509 คน ซึ่งเป็นยอดผู้ชมที่สูงที่สุดในคริกเกตมณฑล (ยกเว้นการแข่งขันคริกเกตลิตส์เอรอบชิงชนะเลิศ) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953[128] ซึ่งความสำเร็จนี้ได้ทำให้มีการเริ่มจัดแข่งขันคริกเกตที 20 ขึ้นมาในประเทศต่าง ๆ
อินเดียนพรีเมียร์ลีก [(Indian Premier League หรือไอพีแอล (IPL)] เป็นลีกคริกเกตแฟรนไชส์ที่เล่นในรูปแบบที 20 ที่จัดแข่งขันในประเทศอินเดีย และเป็นลีกที่ได้ชื่อว่ามีมูลค่าสูงที่สุดในคริกเกต โดยมีมูลค่าที่ 475 พันล้านรูปีในปี ค.ศ. 2019[129] ไอพีแอลเริ่มมีการแข่งขันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2008 จากความสำเร็จของคริกเกตที 20โลกในปีก่อนหน้านั้น ทีมประสบความสำเร็จมากที่สุดในไอพีแอลคือทีมมุมไบอินเดียนส์ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศที่ 5 สมัย
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคริกเกตได้ได้ให้ความเห็นว่าไอพีแอลนั้นได้ส่งผลต่อวงการคริกเกตทั่วโลก โดยนอกจากจะทำให้วงการคริกเกตมีเงินสะพัดในระดับที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนแล้ว ความสำเร็จไอพีแอลยังส่งผลให้มีการก่อตั้งการแข่งขันแฟรนไชส์ที 20 ขึ้นมาทั่วโลก เช่น แคริบเบียนพรีเมียร์ลีก [Caribbean Premier League หรือซีพีแอล (CPL)] ในภูมิภาคแคริบเบียน ปากีสถานซูเปอร์ลีก [Pakistan Super League หรือพีเอสแอล (PSL)] ในประเทศปากีสถาน และบิกแบชลีก [Big Bash League หรือบีบีแอล(BBL)] ในประเทศออสเตรเลีย[130][131]
อื่น ๆ
แก้ไมเนอร์เคาน์ตีสคริกเกตแชมเปียนชิป เป็นรายการแข่งขันคริกเกตสามวันที่เริ่มมีการแข่งขันในปี ค.ศ. 1895 โดยมีทีมจากมณฑลที่ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันในเคาน์ตีแชมเปียนชิป และทีมสำรองจากทีมในเคาน์ตีแชมเปียนชิป ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1959 ทีมสำรองทั้งหลายได้แยกออกมาแข่งขันคริกเกตสามวันในชื่อเซเคินด์ XI แชมเปียนชิป
คริกเกตสโมสรและโรงเรียน
แก้การแข่งขันคริกเกตที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันคือการแข่งขันคริกเกตระดับหมูบ้านที่ฟมู่บ้านเชฟนิง (Chevening) ในมณฑลเคนต์ ซึ่งอนุมานได้จากคดีในศาลในปี 1640 ที่บันทึกถึง "การเล่นคริกเกต" ของทีม "วีลด์และพวกอัปแลนด์ (Weald and the Upland)" กับทีม "ชอล์คฮิลล์ (Chalk Hill)" เมื่อ "ประมาณสามสิบปีแล้ว" ( คือ ป. 1611 ). การแข่งขันระหว่างตำบลเริ่มได้รับความนิยมในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 17 และยังคงพัฒนาต่อไปจนถึงศตวรรษที่ 18 โดยมีลีกท้องถิ่นลีกแรก ๆ ก่อตั้งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19[20]
ในระดับรากหญ้า มีการเล่นคริกเกตระดับสโมสรมักจะหมายถึงคริกเกตระดับสมัครเล่นที่ผู้เล่นเล่นเป็นงานอดิเรก แต่บางครั้งอาจหมายถึงคริกเกตที่เล่นในการแข่งขันในช่วงสุดสัปดาห์หรือในตอนเย็น คริกเกตระดับโรงเรียนซึ่งมีหลักฐานว่ามีการเล่นเป็นครั้งแรกในตอนใต้ของอังกฤษในศตวรรษที่ 17 และยังคงเล่นดันอย่างทั่วไปในทณฑลที่คริกเกตเป็นที่นิยม[132] แม้ว่ารูปแบบการแข่งขันจะมีความแตกต่างกันเมื่อเทียบกับคริกเกตมืออาชีพ การแข่งขันระดับสมัครเล่นยังคงเล่นภายใต้กฎของคริกเกต และการแข่งขันของสโมสร/โรงเรียนยังถือว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นทางการและมีการแข่งขันเป็นรายการชิงแชมป์[133] นอกจากนี้ ยังมีการเล่นคริกเกตในระดับสมัครเล่นในแบบที่ไม่เป็นทางการมากมาย เช่น คริกเกตฝรั่งเศส[134]
คริกเกตและวัฒนธรรม
แก้อิทธิพลของคริกเกตในชีวิตประจำวัน
แก้คริกเกตมีผลกระทบในวงกว้างต่อวัฒนธรรมสมัยนิยม ทั้งในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ และที่อื่น ๆ ตัวอย่างเช่น มีอิทธิพลต่อศัพท์เฉพาะของชาติเหล่านี้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ด้วยวลีต่าง ๆ เช่น
- "นั่นไม่ใช่คริกเกต (that's not cricket)" หมายถึง ไม่ยุติธรรม
- "มีอินนิงส์ที่ดี (had a good innings)" หมายถึง มีอายุยืนยาว
- " วิคเกตเหนียว (sticky wicket)" หรือ "บนวิคเกตเหนียว (On a sticky wicket)" [หรือที่รู้จักว่า "สุนัขเหนียว (sticky dog)" หรือ "หม้อกาว (glue pot)"][135] เป็น คำอุปมา[136] ใช้เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่ยากลำบาก มีต้นกำเนิดมาจากคำที่ใช้เรียกสภาพการตีลูกยากในคริกเกต ซึ่งเกิดจากสนามที่เปียกชื้น ซึ่งเป็นสภาพวิคเกตที่เห็นได้ทั่วไปในอดีต[137]
คริกเกตในศิลปะและวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้คริกเกตเป็นหัวข้อที่กวีชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงหลายคนเคยใช้ รวมถึงวิลเลียม เบลก และลอร์ดไบรอน[138] โดย บียอนด์อะบาวน์ดารีย์ (Beyond a Boundary) (1963) เขียนโดยนักเขียนชาวตรินิแดด ซี.แอล.อาร์. เจมส์ เป็นหนังสือที่มักได้รับการขนานนามว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดในกีฬาทุกประเภทที่เคยเขียนมา[139]
ในทัศนศิลป์ ได้มีภาพวาดคริกเกตที่โดดเด่น ได้แก่ภาพ เคนต์พบแลงคาเชอร์ที่แคนเทอบรี (Kent vs Lancashire) (1907) ของอัลเบิร์ต เชอวาลิเยร์ เทย์เลอร์ และภาพ เหล่านักคริกเกต (The Cricketers) (1948) ของ รัสเซล ดรายส์เดล ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "ภาพวาดจากออสเตรเลียที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20"[140] จิตรกรอิมเพรสชันนิสม์ชาวฝรั่งเศส กามีร์ ปีซาโร ได้วาดภาพคริกเกตเมื่อไปเยือนอังกฤษในช่วงทศวรรษที่ 1890 ภาพยนตร์ของผู้ตีของ ฟรานซิส เบคอน ที่เป็นแฟนคริกเกตตัวยง[138] ภาพคริกเกตของเวนดี นานัน ศิลปินชาวแคริบเบียน[141] ถูกนำใช้ในฉบับแรกของชุดสแตมป์ "เวิลด์ออฟอินเวนชัน (World of Invention)" ของราชไปรษณีย์อังกฤษ ซึ่งเป็นการฉลองการประชุมคริกเกตลอนดอนในวันที่ 1-3 มีนาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรกในการประชุมเชิงศิลปะระดับนานาชาติครั้งแรกที่เกี่ยวกับคริกเกต และเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองการแข่งขันคริกเกตโลก 2007[142]
อิทธิพลของคริกเกตต่อกีฬาอื่น ๆ
แก้คริกเกตมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้ชิดกับออสเตรเลียนฟุตบอล และผู้เล่นหลายคนได้เข้าแข่งขันในระดับสูงสุดในกีฬาทั้งสองประเภท[143] ในปี ค.ศ. 1858 ทอม วิลส์ นักคริกเกตชาวออสเตรเลียผู้โด่งดังได้เรียกร้องให้มีการสร้าง "สโมสรฟุตบอล" เพื่อให้นักคริกเกตยังคงสภาพร่างกายในช่วงนอกฤดูกาล ในปีต่อมาสโมสรฟุตบอลเมลเบิร์นได้ก่อตั้งขึ้น ในขณะที่วิลส์และสมาชิกอีกสามคนได้เขียนกฎฉบับแรกของของกีฬาขึ้นมา[144] โดยทั่วไปแล้ว ออสเตรเลียนฟุตบอลจะเล่นในสนามคริกเกตที่ดัดแปลงให้เหมาะสม[145]
ในอังกฤษ สโมสรแอสโซซิเอชันฟุตบอลหลายแห่งมีต้นกำเนิดมาจากการที่นักนักคริกเกตที่ต้องการตั้งสโมสรเพื่อเล่นฟุตบอล ในแผนการรักษาร่างกายให้สมบูรณ์ตลอดช่วงฤดูหนาว ในปี ค.ศ. 1884 สโมสรฟุตบอลดาร์บีเคาน์ตีได้ก่อตั้งขึ้นในฐานะสาขาหนึ่งของสโมสรคริกเกตมณฑลดาร์บีเชอร์[146] ในช่วงนั้นเอง สโมสรแอสตันวิลลา (1874) และสโมสรเอฟเวอร์ตัน (1876) ได้ก่อตั้งโดยสมาชิกของทีมคริกเกตของโบสถ์ท้องถิ่น[147] สนามบรามอลล์เลน ของ เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด เคยเป็นสนามเหย้าของสโมสรคริกเกตเชฟฟีลด์และสโมสรคริกเกตมณฑลยอร์กเชอร์ ; ไม่มีการใช้สำหรับฟุตบอลจนกระทั่งปี ค.ศ. 1862 และถูกใช้ร่วมกันโดยยอร์คเชอร์และเชฟฟิลด์ยูไนเต็ดจาก ค.ศ. 1889 ถึง 1973[148]
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อดีตนักคริกเกตที่เกิดในอังกฤษชื่อเฮนรี แชดวิก จากบรุกลิน นิวยอร์ก ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างใบบันทึกคะแนนเบสบอลใบแรก[149] ซึ่งเขาดัดแปลงมาจากใบบันทึกคะแนนคริกเกต ใบบันทึกคะแนนใบแรกปรากฏให้เห็นในฉบับปี 1859 ของนิตยสาร คลิปเปอร์ (Clipper)[150] ใบบันทึกคะแนนของแชดวิกมีความสำคัญต่อ "แก่นแท้ทางประวัติศาสตร์" ของเบสบอลเป็นอย่างมาก จนทำให้บางครั้งนักประวัติศาสตร์เบสบอลได้เรียกแชดวิกว่า "บิดาของเบสบอล" เพราะเขาผู้เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยทำให้เบสบอลเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงศตวรรษที่ 19[151]
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถ
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ คำว่า "มือสมัครเล่น" ในบริบทนี้ ไม่ได้หมายถึงผู้ที่เล่นคริกเกตเป็นงานอดิเรก ผู้เล่นสมัครเล่นหลายคนนั้นเล่นคริกเกตเฟิร์สทคลาสเป็นงานเต็มเวลา ซึ่งรสมไปถึงผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์กีฬาคนหนึ่งอย่างดับเบิลยู.จี. เกรซ
- ↑ ความแตกต่างที่สำคัญของคริกเกตกับกีฬาไม้ตีและลูกกีฬาอื่น ๆ คือในขณะที่เบสบอลและเทนนิสจะมีการเปลี่ยนลูกเพื่อให้คงสภาพที่ดีที่สุดในการเล่น ในคริกเกตจะมีการใช้ลูกคริกเกตอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการเปลี่ยนลูกในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบ
- ในคริกเกตเทสต์ จะมีการเปลี่ยนลูกทุก ๆ 80 โอเวอร์ หรือจนกว่าจะขึ้นอินนิงส์ใหม่
- ในคริกเกตโอดีไอ จะมีการใช้ลูกคริกเกตสองลูกในแต่ละอินนิงส์ โดยการเปลี่ยนลูกจะเกิดขึ้นในโอเวอร์ที่ 34
- ในคริกเกตที 20 จะมีการใช้ลูกคริกเกตเพียงลูกเดียวตลอดทั้งอินนิงส์
- ↑ ในกรณีของคริกเกตจำกัดโอเวอร์ หากผู้โยนโยนโนบอล ลูกที่ผู้โยนต้องโยนทดแทนจะเรียกว่าฟรีฮิต (free hit) ซึ่งผู้ตีจะไม่สามารถถูกทำให้เอาต์จากวิธีการใด ๆ ยกเว้นรันเอาต์ได้
อ้างอิง
แก้- ↑ https://australiansportscamps.com.au/blog/how-to-teach-cricket-to-kids-beginners/
- ↑ "ICC survey reveals over a billion fans – 90% in subcontinent".
- ↑ "Cricket, baseball, rounders and softball: What's the difference?". www.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 5 September 2020.
- ↑ Major (2007), p. 17.
- ↑ 5.0 5.1 Barclays (1986), p. 1.
- ↑ Altham (1962), pp. 19–20.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Altham (1962), p. 21.
- ↑ Underdown (2000), p. 3.
- ↑ 9.0 9.1 Major (2007), p. 19.
- ↑ Altham (1962), p. 22.
- ↑ 11.0 11.1 Major (2007), p. 31.
- ↑ 12.0 12.1 Birley (1999), p. 3.
- ↑ Bowen (1970), p. 33.
- ↑ 14.0 14.1 Terry, David (2000). "The Seventeenth Century Game of Cricket: A Reconstruction of the Game" (PDF). The Sports Historian, No. 20. London: The British Society of Sports History. pp. 33–43. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 November 2009. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
- ↑ Hardman, Ray (31 October 2013). "Before There Was Baseball, There Was Wicket". www.wnpr.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 September 2020.
- ↑ Birley (1999), p. 9.
- ↑ Barclays (1986), pp. 1–2.
- ↑ Major (2007), pp. 21–22.
- ↑ McCann (2004), p. xxxi.
- ↑ 20.0 20.1 Underdown (2000), p. 4.
- ↑ McCann (2004), pp. xxxiii–xxxiv.
- ↑ McCann (2004), pp. xxxi–xli.
- ↑ Underdown (2000), pp. 11–15.
- ↑ Birley (1999), pp. 7–8.
- ↑ Major (2007), p. 23.
- ↑ 26.0 26.1 Birley (1999), p. 11.
- ↑ Birley (1999), pp. 11–13.
- ↑ Webber (1960), p. 10.
- ↑ Haygarth (1862), p. vi.
- ↑ McCann (2004), p. xli.
- ↑ Major (2007), page 36.
- ↑ Major (2007), pp. 268–269.
- ↑ Williams (2012), p. 23.
- ↑ Williams (2012), pp. 94–95.
- ↑ Birley (1999), p. 146.
- ↑ Birley (1999), pp. 14–16.
- ↑ Ashley-Cooper, F. S. (1900). "At the Sign of the Wicket: Cricket 1742–1751". Cricket: A Weekly Record of the Game. Cardiff: ACS. pp. 4–85. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017. สืบค้นเมื่อ 8 September 2017.
- ↑ Nyren (1833), pp. 153–154.
- ↑ Wisden. "Evolution of the Laws of Cricket". Wisden Cricketers' Almanack, 100th edition (1963 ed.). London: Sporting Handbooks Ltd. pp. 184–187.
- ↑ Birley (1999), pp. 64–67, 97–101.
- ↑ Barclays (1986), p. 456.
- ↑ 42.0 42.1 "Annual Meeting of County Secretaries – the programme for 1890". Cricket: A Weekly Record of the Game. Cardiff: ACS. 1889. pp. 478–479. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ Frith, David (1978). The Golden Age of Cricket: 1890–1914. Guildford: Lutterworth Press. ISBN 0-7188-7022-0.
- ↑ Das, Deb (n.d.). "Cricinfo – Cricket in the USA". ESPNcricinfo. สืบค้นเมื่อ 9 March 2007.
- ↑ Birley (1999), pp. 96–97.
- ↑ Barclays (1986), pp. 62, 78, 87, 99, 113, 127 & 131.
- ↑ Birley (1999), p. 97.
- ↑ "The Australian Eleven: The first Australian team". National Museum of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-08. สืบค้นเมื่อ 30 December 2014.
- ↑ Anthony Bateman; Jeffrey Hill (17 March 2011). The Cambridge Companion to Cricket. Cambridge University Press. p. 101. ISBN 978-0-521-76129-1.
- ↑ Reg Hayter, "The Centenary Test Match", Wisden 1978, pp. 130–32.
- ↑ Lewis, Wendy; Simon Balderstone; John Bowan (2006). Events That Shaped Australia. New Holland. p. 75. ISBN 978-1-74110-492-9.
- ↑ Wisden. "Dates in Cricket History". Wisden Cricketers' Almanack, 100th edition (1963 ed.). London: Sporting Handbooks Ltd. p. 183.
- ↑ "Notes by the Editor". Wisden Cricketers' Almanack online. ESPNcricinfo. 1982. สืบค้นเมื่อ 2 July 2017.
- ↑ Booth, Douglas (1998). The Race Game: Sport and Politics in South Africa. Routledge. p. 88. ISBN 0-7146-4799-3.
- ↑ Wisden. "One-Day Knockout Competition, 1963". Wisden Cricketers' Almanack, 100th edition (1963 ed.). London: Sporting Handbooks Ltd. pp. 1074–1076.
- ↑ Barclays (1986), pp. 495–496.
- ↑ Barclays (1986), pp. 496–497.
- ↑ "Not luck, not fluke - New Zealand deserve to be the World Test Champions". ESPNcricinfo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.
- ↑ "Laws". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ 60.0 60.1 60.2 60.3 "Law 1 – Players". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
- ↑ "Law 19 – Boundaries". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ "Law 7 – The pitch". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ "Law 8 – The wickets". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ "Law 9 – The bowling, popping and return creases". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ 65.0 65.1 65.2 65.3 65.4 "Law 12 – Innings". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 2 July 2017.
- ↑ "Law 18 – Scoring runs". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 2 July 2017.
- ↑ "Law 27 – Appeals". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 2 July 2017.
- ↑ "LAW 25 BATTER'S INNINGS; RUNNERS | MCC". www.lords.org. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 69.0 69.1 69.2 "ICC Test Match Playing Conditions" (PDF). ICC. 1 September 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.
- ↑ 70.0 70.1 70.2 70.3 "Law 21 – The result". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2 July 2017.
- ↑ 71.0 71.1 71.2 "Law 3 – The umpires". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ "Australia v England, 3rd Test, 1970/71". CricketArchive. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ 73.0 73.1 73.2 73.3 "Law 22 – The over". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ "Appendix D". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ 75.0 75.1 "Law 41 – The fielder". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ Birley (1999), p. 343.
- ↑ "Law 6 – The bat". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ "Appendix E – The bat". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ "Law 5 – The ball". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ ภาพนี้เป็นภาพถ่ายจากการแข่งขันโอดีไอระหว่าง ทีมชาติออสเตรเลียและทีมชาติศรีลังกา โดยผู้โยนมุตติยะห์ มุระลิถารันจากศรีลังกากำลังโยนลูกไปหาผู้ตีออสเตรเลียอดัม กิลคริสต์
- ↑ 81.0 81.1 "Law 2 – Substitutes, etc". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ Marylebone Cricket Club. "Summary of changes to the Laws of Cricket 2017 Code" (PDF). Lords the Home of Cricket. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 June 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ "Most wickets taken in an ICC World Cup career (male)". Guinness World Records. สืบค้นเมื่อ 23 June 2015.
- ↑ 84.0 84.1 "Types of fast bowling". TalkCricket. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Spin bowling". TalkCricket. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 30 – Bowled". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 32 – Caught". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 38 – Run out". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 39 – Stumped". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 36 – Leg before wicket". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 35 – Hit wicket". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 37 – Obstructing the field". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 34 – Hit the ball twice". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 31 – Timed out". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Law 2 – Section 9: Batsman retiring". MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 18 July 2017.
- ↑ "Law 27 – Appeals". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ "Grip, Stance, Back-Lift". สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Batting". TalkCricket. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ 99.0 99.1 99.2 "Law 18 – Scoring runs". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "Law 19 – Boundaries". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ 101.0 101.1 "Law 24 – No ball". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ 102.0 102.1 "Law 25 – Wide ball". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ 103.0 103.1 "Law 26 – Bye and Leg bye". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "Law 40 – The wicket-keeper". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ "Bowling Strategy". TalkCricket. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "Batting Strategy". TalkCricket. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "Law 4 – The scorers". Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ Bowen (1970), p. 57.
- ↑ Bowen (1970), p. 266.
- ↑ Bowen (1970), p. 274.
- ↑ 111.0 111.1 "Preamble to the Laws". Laws of Cricket. MCC. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
- ↑ "Summary of changes to the Laws of Cricket 2017 Code" (PDF). Laws of Cricket. MCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 June 2017. สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.
- ↑ "ICC History of Cricket (pre-1799)". ICC. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ 114.0 114.1 114.2 114.3 "ICC History of Cricket (20th century)". ICC. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "ICC Launches Global Women's T20I Team Rankings" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 October 2018.
- ↑ "About the ICC". ICC. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "About the England and Wales Cricket Board". ECB. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "Cricket West Indies". Cricket West Indies. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "ICC Rankings". International Cricket Council. ICC Development (International) Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-07. สืบค้นเมื่อ 9 February 2016.
- ↑ "A brief history ..." Cricinfo. สืบค้นเมื่อ 2 May 2008.
- ↑ Rundell, Michael (2006). Dictionary of Cricket. London: A&C Black Publishers Ltd. p. 336. ISBN 978-0-7136-7915-1. สืบค้นเมื่อ 17 October 2011.
- ↑ "ICC clarification of limited overs". ESPNcricinfo. สืบค้นเมื่อ 8 July 2017.
- ↑ "The first official T20". ESPNcricinfo. 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 July 2017.
- ↑ Major (2007), pp. 155–167 & 404–410.
- ↑ "The T20 Revolution - The Freelancers". Cricbuzz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.
- ↑ Playfair. Marshall, Ian (บ.ก.). Playfair Cricket Annual (70th edition) (2017 ed.). London: Headline. p. 216.
- ↑ Harte, p. 175.
- ↑ Weaver, Paul (25 May 2009). "Usman Afzaal gives Surrey winning start but absent fans fuel concerns". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 May 2012.
- ↑ Laghate, Gaurav (20 September 2019). "IPL brand valuation soars 13.5% to Rs 47,500 crore: Duff & Phelps". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 22 September 2019.
- ↑ "IPL world's 6th most attended league, Big Bash 9th: Report".
- ↑ "The lowdown on the major T20 leagues".
- ↑ Birley (1999), pp. 9–10.
- ↑ Birley (1999), pp. 151–152.
- ↑ "Rules of French Cricket". topend sports. สืบค้นเมื่อ 8 July 2017.
- ↑ Green, Jonathon (1987). Dictionary of Jargon. Routledge. p. 528. ISBN 9780710099198.
- ↑ Marcus Callies; Wolfram R. Keller; Astrid Lohöfer (2011). Bi-directionality in the Cognitive Sciences: Avenues, Challenges, and Limitations. John Benjamins Publishing. pp. 73–. ISBN 978-90-272-2384-5.
- ↑ Robert Hendrickson (2001). World English: From Aloha to Zed. Wiley. ISBN 978-0-471-34518-3.
- ↑ 138.0 138.1 Smart, Alastair (20 July 2013). "The art of cricket: Enough to leave you stumped", The Telegraph. Retrieved 12 March 2016.
- ↑ Rosengarten, Frank (2007). Urbane Revolutionary: C. L. R. James and the Struggle for a New Society. University Press of Mississippi, ISBN 87-7289-096-7 p. 134
- ↑ Meacham, Steve (6 June 2009). "Montmartre, with eucalypts". Sydney Morning Herald. Fairfax. สืบค้นเมื่อ 31 August 2009.
- ↑ "Caribbean cricket art, in the middle". BBC News. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
- ↑ "Cricket: Dawn of a New World". Bletchley Park Post Office. March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-16. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
- ↑ Blainey, Geoffrey (2010). A Game of Our Own: The Origins of Australian Football. Black Inc. p. 186. ISBN 978-1-86395-347-4.
- ↑ de Moore, Greg (2008). Tom Wills: His Spectacular Rise and Tragic Fall. Allen & Unwin. pp. 77, 93–94. ISBN 978-1-74175-499-5.
- ↑ Hess, Rob (2008). A National Game: The History of Australian Rules Football. Viking. p. 44. ISBN 978-0-670-07089-3.
- ↑ Goldstein, p. 184.
- ↑ Goldstein, pp. 15 & 184.
- ↑ Goldstein, p. 458.
- ↑ His Hall of Fame plaque states, in part: "Inventor of the box score. Author of the first rule-book ... Chairman of rules committee in first nationwide baseball organization." Lederer, Rich. By the Numbers: Computer technology has deepened fans' passion with the game's statistics. Memories and Dreams (Vol. 33, No. 6; Winter 2011[–2012], pp. 32–34). National Baseball Hall of Fame official magazine.
- ↑ Pesca, Mike (30 July 2009). "The Man Who Made Baseball's Box Score a Hit". National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 8 March 2014.
- ↑ Arango, Tim (12 November 2010). "Myth of baseball's creation endures, with a prominent fan". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
- Guha, Ramachandra (2002). A Corner of a Foreign Field: The Indian History of a British Sport. London: Picador. ISBN 0-330-49117-2. OCLC 255899689.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้องค์กรและการแข่งขัน
สื่อ
- คำอธิบายของคริกเกต:
- คริกเกตคืออะไร? ทำความรู้จักกับกีฬา : วิดีโอที่ผลิตโดยสภาคริกเกตนานาชาติ
ข่าวสารและข้อมูลอื่น ๆ
- "คริกเกต" . สารานุกรมบริแทนนิกา ออนไลน์