ซามูเอล จอห์นสัน

ซามูเอล จอห์นสัน รู้จักกันในชื่อ ดร. จอห์นสัน (อังกฤษ: Samuel Johnson; 18 กันยายน ค.ศ. 1709 [รูปแบบเก่า 7 กันยายน] – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1784) เป็นนักพจนานุกรม นักวิจารณ์และกวี เกิดที่เมืองลิชฟิลด์ สแตฟฟอร์ดไชร์ ตอนกลางของประเทศอังกฤษ เป็นบุตรชายของเจ้าของร้านขายหนังสือ นับถือนิกายแองกลิคัน[1]โดยเข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยลิชฟิลด์และออกซฟอร์ดแต่ลาออกก่อนได้รับปริญญาเพื่อมาเป็นครู ในปี พ.ศ. 2280 จอห์นสันย้ายไปอยู่ที่กรุงลอนดอนทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ หลังจากปี พ.ศ. 2290 ไปอีก 8 ปี จอห์นสันได้เขียนงานพจนานุกรม “พจนานุกรมภาษาอังกฤษ” (Dictionary of English Language) ซึ่งมีนิยามคำศัพท์มากถึง 40,000 คำโดยมีตัวอย่างประกอบการใช้คำด้วยพร้อมข้อความอ้างอิงต่างๆ มากกว่า 100,000 รายการ พจนานุกรมของจอห์นสันกลายเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษมาตรฐานที่ใช้กันยาวนานจนกระทั่งมีการตีพิมพ์พจนานุกรมใหม่ คือ Oxford English Dictionary ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2427[2]

ซามูเอล จอห์นสัน
Samuel Johnson by Joshua Reynolds.jpg
ซามูเอล จอห์นสัน ประมาณ ค.ศ 1772,
ภาพวาดโดย Sir Joshua Reynolds
เกิด18 กันยายน ค.ศ. 1709(1709-09-18)
(รูปแบบเก่า 7 กันยายน)
ลิชฟีลด์, สแตฟฟอร์ดเชอร์, ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต13 ธันวาคม ค.ศ. 1784(1784-12-13) (75 ปี)
ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
สุสานเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
พรรคการเมืองทอรีย์
คู่สมรสElizabeth Porter (née Jervis) (สมรส ค.ศ. 1735; เสียชีวิต ค.ศ. 1752)
Writing career
นามปากกาดร. จอห์นสัน
ภาษาอังกฤษ
จบจากPembroke College, Oxford
(ไม่มีปริญญา)
ผลงานที่สำคัญ
ลายมือชื่อ
Samuel Johnson signature EMWEA.png

ในปี พ.ศ. 2302 จอห์นสันได้ออกวารสารเชิงจริยธรรมที่โด่งดังชื่อ “เดอะแรมเบลอร์” (The Rambler) และในปี พ.ศ. 2311 เขียนงานร้อยแก้วเกี่ยวกับอบิสซิเนียเรื่อง “ราสเซลลาส์” (Rassellas)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2314 จอห์นสันได้รับเบี้ยยังชีพจากราชสำนักทำให้เขาสามารถเข้าสู่แวดวงของสมาคมบรรณโลกและกลายเป็นบุคคลสำคัญในสังคม โดยเฉพาะสมาคมนักอักษรศาสตร์ที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2307 ในปีถัดมา จอห์นสันเริ่มตีพิมพ์งานชุดเช็คสเปียร์ ปี พ.ศ. 2315 ได้เริ่มงานออกหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับการเมือง พ.ศ. 2315 ได้ออกเดินทางกับเจมส์ บอสเวลล์ไปทัศนาจรสก็อตแลนด์และกลับมาเริ่มเขียนหนังสือเรื่อง “ชีวิตของกวี” (Lives of the Poets) ระหว่าง พ.ศ. 2322-24)

ชื่อเสียงของจอนห์สันในด้านความเป็นนักสนทนาในยุคนั้นได้บดบังชื่อเสียงในความสามารถด้านอักษรศาสตร์ของเขาเองเกือบหมดสิ้น หากไม่มี เจมส์ บอสเวลล์ นักเขียนชาวสก็อตผู้เป็นเพื่อนสนิทเป็นผู้เปิดเผยผลงานในสมาคมนักอักษรศาสตร์ของเขาในหนังสือชีวประวัติ "Life of Samuel Johnson" ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2324 ก็คงไม่มีใครทราบถึงความสามารถที่แท้จริงของเขา

ซามูเอล จอนห์สัน มีชีวิตอยู่ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัชสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

อ้างอิงแก้ไข

จำเพาะ

  1. Meyers 2008, p. 2
  2. Rogers, Pat (2006), "Johnson, Samuel (1709–1784)", Oxford Dictionary of National Biography (online ed.), Oxford University Press, สืบค้นเมื่อ 25 August 2008

ทั่วไป

อ่านเพิ่มแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข