20°S 30°E / 20°S 30°E / -20; 30

สาธารณรัฐซิมบับเว

Nyika yeZimbabwe (โชนา)
Dziko la Zimbabwe (เชวา)
Lefatshe la Zimbabwe (สวานา)
Riphabliki ra Zimbabwe (ซองกา)
Riphabuḽiki ya Zimbabwe (เวนดา)
IRiphabhlikhi yaseZimbabwe (กอซา)
Rephabliki ea Zimbabwe (โซโท)
Nyika yeZimbabwe (อึงเดา)
ตราแผ่นดินของซิมบับเว
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"เอกภาพ อิสรภาพ การงาน"[1]
ที่ตั้งของ ประเทศซิมบับเว  (เขียวเข้ม)
ที่ตั้งของ ประเทศซิมบับเว  (เขียวเข้ม)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ฮาราเร
17°49′45″S 31°03′08″E / 17.82917°S 31.05222°E / -17.82917; 31.05222
ภาษาราชการ16 ภาษา:[3]
กลุ่มชาติพันธุ์
(สำมะโนประชากร 2022)[4]
ศาสนา
(2017)[5]
  • 10.2% ไม่นับถือศาสนา
  • 4.5% ความเชื่อพื้นบ้าน
  • 1.2% อื่น ๆ
เดมะนิมชาวซิมบับเว
ชาวซิมโบ[6] (ภาษาพูด)
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา
คอนสแตนติโน ชีเวงกา
เกมโบ โมฮาดี
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราชจากสหราชอาณาจักร
11 พฤศจิกายน 1965
2 มีนาคม 1970
1 มิถุนายน 1979
18 เมษายน 1980
15 พฤษภาคม 2013
พื้นที่
• รวม
390,757 ตารางกิโลเมตร (150,872 ตารางไมล์) (อันดับที่ 60)
1
ประชากร
• มกราคม 2024 ประมาณ
16,868,409[7] (อันดับที่ 73)
• สำมะโนประชากร 2022
15,178,957[8]
39 ต่อตารางกิโลเมตร (101.0 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2023 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น $44.448 พันล้าน[9] (อันดับที่ 131)
เพิ่มขึ้น $2,749[9] (อันดับที่ 175)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2023 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น $32.424 พันล้าน[9] (อันดับที่ 153)
เพิ่มขึ้น $2,005[9] (อันดับที่ 149)
จีนี (2019)Negative increase 50.3[10]
สูง
เอชดีไอ (2022)ลดลง 0.550[11]
ปานกลาง · อันดับที่ 159
สกุลเงินZiG[12]
ดอลลาร์สหรัฐ ($) (USD)[13]
แรนด์แอฟริกาใต้;[13] สกุลอื่น ๆ[c]
เขตเวลาUTC+2 (CAT[14])
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+263
โดเมนบนสุด.zw

ซิมบับเว (อังกฤษ: Zimbabwe)[d] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐซิมบับเว (อังกฤษ: Republic of Zimbabwe) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำแซมบีซีและแม่น้ำลิมโปโป มีพรมแดนติดกับประเทศแอฟริกาใต้ทางทิศใต้ ติดกับประเทศบอตสวานาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับประเทศแซมเบียทางทิศเหนือ และติดกับประเทศโมซัมบิกทางทิศตะวันออก เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ คือ กรุงฮาราเร และเมืองใหญ่อันดับสอง คือ บูลาวาโย

ประเทศมีประชากรราว 16.6 ล้านคน ตามการสํารวจสํามะโนประชากร ค.ศ. 2024[15] โดยมีชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่สุด คือ ชาวโชนา คิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด ตามมาด้วยชาวนอร์เทิร์นอึงเดเบเลและกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซิมบับเวมีภาษาราชการทั้งหมด 16 ภาษา[3] โดยภาษาอังกฤษ ภาษาโชนา และภาษานอร์เทิร์นอึงเดเบเลเป็นภาษาทั่วไปที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้กันมากที่สุด ซิมบับเวเป็นสมาชิกสหประชาชาติ สมาคมพัฒนาแอฟริกาใต้ สหภาพแอฟริกา และตลาดทั่วไปสําหรับแอฟริกาตะวันออกและใต้

ประวัติศาสตร์ซิมบับเวเริ่มต้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ในช่วงปลายยุคเหล็ก เมื่อชาวบันตู (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโชนา) ได้สร้างนครรัฐเกรตซิมบับเว ซึ่งเป็นนครรัฐที่ต่อมาจะกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของแอฟริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ถูกทิ้งร้างไปในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15[16] จากนั้นมีการสถาปนาอาณาจักรซิมบับเว ตามมาด้วยจักรวรรดิรอซวีและอาณาจักรมูตาปา ต่อมาบริษัทแอฟริกาใต้ของบริเตนของเซซิล โรดส์ ได้กำหนดเขตแดนของภูมิภาคโรดีเชียใน ค.ศ. 1890 เมื่อกองกำลังของบริษัทเข้าพิชิตมาโชนาแลนด์ และต่อมาได้ยึดครองมาตาเบเลเลนด์ใน ค.ศ. 1893 หลังจากสงครามมาตาเบเลครั้งที่หนึ่ง การปกครองของบริษัทสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1923 เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมปกครองตนเองเซาเทิร์นโรดีเชีย จากนั้นใน ค.ศ. 1965 รัฐบาลชนกลุ่มน้อยผิวขาวได้ประกาศเอกราชฝ่ายเดียวเป็นประเทศโรดีเชีย รัฐต้องเผชิญกับการถูกโดดเดี่ยวจากนานาประเทศ กอปรกับสงครามกองโจรของกองกำลังชาตินิยมชนผิวดำที่กินเวลาตลอด 15 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้จบลงด้วยความตกลงสันติภาพที่สร้างรัฐอธิปไตยโดยนิตินัยในชื่อ "ซิมบับเว" ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1980

รอเบิร์ต มูกาบี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซิมบับเวใน ค.ศ. 1980 หลังพรรคสหภาพแห่งชาติแอฟริกาแห่งซิมบับเว (แนวร่วมรักชาติ) ชนะการเลือกตั้งทั่วไป ส่งผลให้การปกครองโดยชนกลุ่มน้อยผิวขาวเป็นอันยุติและพรรคแนวร่วมรักชาติก็คงเป็นพรรคที่ปกครองประเทศตั้งแต่บัดนั้น เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซิมบับเวตั้งแต่ ค.ศ. 1987 หลังจากที่เปลี่ยนระบบรัฐสภาของประเทศให้กลายเป็นระบบประธานาธิบดี จนกระทั่งเขาลาออกใน ค.ศ. 2017 ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมของมูกาบี อำนาจความมั่นคงของรัฐมีอิทธิพลเหนือประเทศ และมีส่วนรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง[17] ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง ค.ศ. 2008 เศรษฐกิจของประเทศประสบกับการถดถอยอย่างต่อเนื่อง (และในช่วงหลังเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง) แม้ว่าในเวลาต่อมาเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากที่อนุญาตให้ใช้สกุลเงินอื่นนอกเหนือจากดอลลาร์ซิมบับเว ในปี 2017 ท่ามกลางการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ยาวนานกว่า 1 ปี และเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรวดเร็ว การรัฐประหารได้นำไปสู่การลาออกของมูกาบี ตั้งแต่นั้นมา เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซิมบับเว

ชื่อประเทศ

แก้

ชื่อซิมบับเวมาจากคำว่า "Dzimba dza mabwe" ซึ่งแปลว่าบ้านหินใหญ่ในภาษาโชนา[18] ชื่อนี้ถูกนำมาจากเกรตซิมบับเวซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรเกรตซิมบับเว

ภูมิศาสตร์

แก้

ซิมบับเวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ทางใต้โดยมีแม่น้ำลิมโปโปกั้นอยู่ บอตสวานาทางตะวันตก แซมเบียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และโมซัมบิคทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ซิมบับเวยังมีจุดที่ติดต่อกับประเทศนามิเบียทางตะวันตกอีกด้วย จุดที่สูงที่สุดของประเทศคือภูเขาเนียนกานี ซึ่งสูง 2,592 เมตร[19]

ประวัติศาสตร์

แก้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

แก้

มีหลักฐานว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในของซิมบับเวตั้งแต่ห้าแสนปีก่อน ช่วงสองร้อยปีหลังคริสตกาล ชาวกอยเซียนได้เข้ามาตั้งรกรากที่พื้นที่แถบนี้ นอกจากนั้นมีชาวบันตู ชาวโชนา ชาวงูนี และชาวซูลู

อาณานิคมสหราชอาณาจักร

แก้

นักสำรวจชาวอังกฤษได้เข้ามาในซิมบับเวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเริ่มการล่าอาณานิคมขึ้น ดินแดนแซมเบเซียต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในนามโรดีเซียในพ.ศ. 2435 หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นโรดีเซียเหนือและในที่สุดได้กลายมาเป็นแซมเบีย ใน พ.ศ. 2441 ตอนใต้ของพื้นที่ แซมเบเซีย ถูกเรียกว่าโรดีเซียใต้ ต่อมาได้กลายมาเป็นซิมบับเวในอีกหลายปีหลังจากนั้น

หลังการประกาศเอกราช

แก้

หลังจากผ่านการขัดแย้งกันทางสีผิว รวมไปถึงบทบาทจากสหประชาชาติ และการต่อสู้ของกองโจรในช่วง พ.ศ. 2503 ในที่สุดซิมบับเวได้รับอิสรภาพในพ.ศ. 2523 ในปีเดียวกันนั้น รอเบิร์ต มูกาบี ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ และเป็นประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2530 จนกระทั่งถูกกดดันให้ลาออกใน พ.ศ. 2560

การเมืองการปกครอง

แก้
 
รัฐสภาแห่งซิมบับเวในฮาราเร

ซิมบับเวเป็นสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี ระบบกึ่งประธานาธิบดีถูกยกเลิกพร้อมกับการนำรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้หลังจากการลงประชามติในปี พ.ศ. 2556 ภายใต้การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2548 สภาสูงซึ่งก็คือวุฒิสภาก็ได้รับการฟื้นฟู[20] สภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาล่าง

ในปี พ.ศ. 2530 มูกาเบได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกตำแหน่งประธานาธิบดีในพิธีการและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งประธานาธิบดีที่เป็นผู้บริหาร ซึ่งเป็นระบบประธานาธิบดี พรรค ZANU-PF ของเขาชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับตั้งแต่ได้รับเอกราช - ในการเลือกตั้งปี 1990 พรรคที่ได้อันดับสองคือ Zimbabwe Unity Movement (ZUM) ของ Edgar Tekere ได้รับคะแนนเสียง 20%[21][22]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
เขตการปกครองในประเทศซิมบับเว

ซิมบับเวมีรัฐบาลแบบรวมศูนย์และแบ่งออกเป็นแปดจังหวัดและสองเมืองที่มีสถานะเป็นจังหวัดเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหาร แต่ละจังหวัดมีเมืองหลวงของจังหวัดซึ่งโดยปกติจะบริหารงานของรัฐ[2]

จังหวัด เมืองหลัก
บูลาวาโย บูลาวาโย
ฮาราเร ฮาราเร
มานิคาแลนด์ มูตาเร
มาโชนาแลนด์กลาง บินดูรา
มาโชนาแลนด์ตะวันออก มาโรนเดรา
มาโชนาแลนด์ตะวันตก ชิโนยิ
มาสวินโก เมืองมาสวินโก
มาทาเบเลแลนด์เหนือ ลูแปง
มาทาเบเลแลนด์ใต้ กวอนดา
มิดแลนด์ เกวรู

กองทัพ

แก้
 
ธงของกองกำลังป้องกันประเทศซิมบับเว

กองกำลังป้องกันซิมบับเวได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยการรวมกองกำลังกบฏสามกองกำลังเข้าด้วยกัน ได้แก่ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซิมบับเวแห่งแอฟริกา (ZANLA) กองทัพปฏิวัติประชาชนซิมบับเว (ZIPRA) และกองกำลังความมั่นคงโรดีเซียน (RSF) - ภายหลังได้รับเอกราชซิมบับเวในปี พ.ศ. 2523 ช่วงเวลาบูรณาการมีการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติซิมบับเว (ZNA) และกองทัพอากาศซิมบับเว (AFZ) เป็นหน่วยงานที่แยกจากกันภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโซโลมอน มูจูรูและพลอากาศเอกนอร์มัน วอลช์ ซึ่งเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2525 และถูกแทนที่โดยพลอากาศเอกอาซิม เดาโปตา ซึ่งส่งต่อคำสั่งให้กับพลอากาศเอก Josiah Tungamirai ในปี 1985 ในปี 2003 นายพล Constantine Chiwenga ได้รับการเลื่อนตำแหน่งและแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศซิมบับเว พลโท พี.วี. ซีบันดา ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแทน[23]

ZNA มีกำลังประจำการอยู่ที่ 30,000 นาย กองทัพอากาศมีกำลังพลประจำการประมาณ 5,139 นายตำรวจสาธารณรัฐซิมบับเว (รวมถึงหน่วยสนับสนุนตำรวจ ตำรวจกึ่งทหาร) เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังป้องกันซิมบับเว[24]

เศรษฐกิจ

แก้

โครงสร้างเศรษฐกิจ

แก้
 
การส่งออกของประเทศซิมบับเวในปี 2549
 
ผลผลิตทางการเกษตรในซิมบับเวลดลงอย่างมาในระยะหลายปีที่ผ่านมา

การส่งออกแร่ธาตุ การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่นำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ซิมบับเว[25] การทำเหมืองแร่ยังคงเป็นธุรกิจที่ให้กำไรมาก ซิมบับเวมีแหล่งทรัพยากรแพลทินัมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก[26] ซิมบับเวเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปของแอฟริกาใต้[27]

ซิมบับเวมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 (อัตราการเติบโตของจีดีพีร้อยละ 5.0 ต่อปี) และ 1990 (ร้อยละ 4.3 ต่อปี) อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเริ่มถดถอยลงตั้งแต่ปี 2000 โดยลดลงร้อยละ 5 ในปี 2000, ร้อยละ 8 ในปี 2001, ร้อยละ 12 ในปี 2002, และร้อยละ 18 ในปี 2003[28] รัฐบาลซิมบับเวประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่างหลังจากล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด เช่นปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมาก และการขาดแคลนอุปทานของสินค้าต่าง ๆ การที่ซิมบับเวมีส่วนร่วมกับสงครามในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ระหว่างปี 1998 ถึง 2002 ทำให้ต้องสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ออกจากระบบเศรษฐกิจ[29]

เศรษฐกิจที่ดิ่งลงเหวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริหารที่ล้มเหลวและการคอร์รัปชันของรัฐบาลมูกาเบ และการขับไล่ชาวไร่ผิวขาวกว่า 4,000 คนในระหว่างการจัดสรรที่ดินที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในปี 2000[30][31][32] ซึ่งทำให้ซิมบับเวซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดกลับกลายเป็นผู้นำเข้าแทน[26] ปริมาณการส่งออกยาสูบก็ลดลงอย่างมาก จากรายงานในเดือนมิถุนายน 2007 ของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ซิมบับเว ประมาณว่าซิมบับเวสูญเสียสัตว์ป่าไปถึงร้อยละ 60 ตั้งแต่ปี 2000 ในรายงานยังได้กล่าวเตือนอีกว่าการสูญเสียพันธุ์สัตว์ป่าและการทำลายป่าไม้อย่างกว้างขวางนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อธุรกิจท่องเที่ยว[33]

ปลายปี 2006 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้าย รัฐบาลเริ่มประกาศอนุญาตให้ชาวไร่ผิวขาวกลับมาสู่ที่ดินของตนอีกครั้ง[34] มีชาวไร่ผิวขาวเหลืออยู่ในประเทศประมาณ 400-600 คน แต่ที่ดินที่ถูกยึดคืนส่วนใหญ่นั้นกลายเป็นที่ดินเสื่อมสภาพและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป[34][35] ในเดือนมกราคม 2007 รัฐบาลยอมให้ชาวไร่ผิวขาวเซ็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว[36] แต่แล้วในปีเดียวกันรัฐบาลก็กลับขับไล่ชาวไร่ผิวขาวออกจากประเทศอีกครั้ง[37][38]

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 ต่อปีในปี 1998[39] จนถึงร้อยละ 231,000,000 ตามสถิติของทางการในเดือนกรกฎาคม 2008[39] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และทำให้ธนาคารต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์มาใช้[40] [41] ในเดือนพฤศจิกายน 2008 ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวพุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 516 ล้านล้านล้านต่อปี และราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 1.3 วัน[42] และนับเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรงที่เลวร้ายเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โลก รองจากวิกฤติเงินเฟ้อในฮังการีในปี 1946 ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 15.6 ชั่วโมง[42]

ประชากรศาสตร์

แก้

ในปี 2008 ซิมบับเวมีประชากรประมาณ 11.4 ล้านคน[43] จากรายงานขององค์การอนามัยโลก อายุคาดหมายเฉลี่ยสำหรับผู้ชายชาวซิมบับเวคือ 37 ปี และสำหรับผู้หญิงคือ 34 ปี ซึ่งเป็นสถิติต่ำสุดของปี 2004[44] อัตราการติดเชื้อเอดส์ ในประชากรระหว่างอายุ 15-49 ปี ถูกประมาณไว้ที่ร้อยละ 20.1 ในปี 2006[45]

เชื้อชาติ

แก้

ประชากรประมาณร้อยละ 98 เป็นชาวพื้นเมืองผิวดำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโชนา (ประมาณร้อยละ 80-84) รองลงมาคือชาวเดเบเล (ประมาณร้อยละ 10-15)[46][47] ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากซูลูที่อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีคนผิวขาวซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ

ภาษา

แก้

ภาษาทางการคือภาษาอังกฤษ[43] แต่ภาษาที่ใช้มากได้แก่ภาษาโชนา และภาษาเดเบเล[48]

วัฒนธรรม

แก้

ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และมีภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ คือ Shona Sindebele ศาสนา ลัทธิผสม (ระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% ศาสนาคริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% ศาสนาอิสลามและอื่น ๆ 1%

หมายเหตุ

แก้
  1. Mainly โชนา and อึงเดเบเล
  2. รวมถึงคนเชื้อสายเอเชีย
  3. หลังจากมีการระงับสกุลเงินดอลลาร์ซิมบับเวไปอย่างไม่มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2009 สกุลเงินยูโร ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์สเตอร์ลิง แรนด์แอฟริกาใต้ ปูลาบอตสวานา, ดอลลาร์ออสเตรเลีย หยวนจีน รูปีอินเดีย และเยน จึงกลายเป็นเงินที่ถูกกฎหมาย
  4. /zɪmˈbɑːbw, -wi/ (  ฟังเสียง); เสียงอ่านภาษาโชนา: [zi.ᵐba.ɓwe]

อ้างอิง

แก้
  1. "Zimbabwe". The Beaver County Times. 13 September 1981. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
  2. 2.0 2.1 "The World Factbook – Zimbabwe". Central Intelligence Agency. 2 December 2021.
  3. 3.0 3.1 "Constitution of Zimbabwe (final draft)" (PDF). Government of Zimbabwe. January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 October 2013 – โดยทาง Kubatana.net.
  4. "Zimbabwe 2022 Population and Housing Census Report, vol. 1" (PDF). ZimStat. Zimbabwe National Statistics Agency. p. 122. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 October 2024.
  5. "Inter Censal Demography Survey 2017 Report" (PDF). Zimbabwe National Statistics Agency. 2017.
  6. "Developments in English". International Association of University Professors of English Conference. Cambridge University Press. 31 October 2014. ISBN 9781107038509 – โดยทาง Google Books.
  7. "Zimbabwe Population Live". สืบค้นเมื่อ 23 October 2023.
  8. "2022 Population and Housing Census - Preliminary Report - Zimbabwe Data Portal". zimbabwe.opendataforafrica.org. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Economic Outlook Database, October 2023 Edition. (Zimbabwe)". IMF.org. International Monetary Fund. 10 October 2023. สืบค้นเมื่อ 15 October 2023.
  10. "GINI Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
  11. "Human Development Report 2023/24" (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 13 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2024. สืบค้นเมื่อ 22 March 2023.
  12. "Zimbabwe introduces new currency as depreciation and rising inflation stoke economic turmoil". Associated Press News. 5 April 2024.
  13. 13.0 13.1 "Zimbabwe adopts new inflation rate based on U.S. dollar, local currency". Reuters. Harare. 3 March 2023. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023.
  14. "Zimbabwe Time". Greenwich Mean Time. Greenwich 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2017.
  15. "Zimbabwe Population (2024) - Worldometer".
  16. "Who built Great Zimbabwe? And why? - Breeanna Elliott". TED-Ed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
  17. "Zimbabwe 2015 Human Rights Report". United States Department of State Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. 2015. สืบค้นเมื่อ 6 May 2016.
  18. "Zimbabwe - big house of stone". Somali Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
  19. "Zimbabwe Parks and Wildlife Management Authority". สืบค้นเมื่อ 2007-11-13.
  20. "Constitution of Zimbabwe Amendment (No. 17) Act, 2005". kubatana.net. NGO Network Alliance Project. 16 September 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007.
  21. "Tekere says Mugabe 'insecure' in new book". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2007. สืบค้นเมื่อ 6 January 2008.
  22. Mugabe, Robert. (2007). Encyclopædia Britannica 2007 Ultimate Reference Suite, Chicago: Encyclopædia Britannica.
  23. "Zimbabwe Ministry of Defence". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2007. สืบค้นเมื่อ 17 November 2007.
  24. Chari, Freeman Forward (24 December 2007). "MILITARISATION OF ZIMBABWE: Does the opposition stand a chance?". zimbabwejournalists.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2008.
  25. "Country Profile – Zimbabwe". Foreign Affairs and International Trade Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02. ประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายเช่นแร่ธาตุ ที่ดิน และสัตว์ป่า ยังมีโอกาสมากมายที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจที่มีทรัพยากรเป็นพื้นฐาน เช่นการทำเหมืองแร่ การเกษตร และการท่องเที่ยว และธุรกิจที่ต่อเนื่องจากธุรกิจเหล่านี้
  26. 26.0 26.1 "No quick fix for Zimbabwe's economy". BBC. 2008-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
  27. "Zimbabwe-South Africa economic relations since 2000". Africa News. 2007-10-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-01. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03.
  28. Richardson, C.J. 2005. The loss of property rights and the collapse of Zimbabwe. Cato Journal, 25, 541-565. [1] เก็บถาวร 2011-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. Organised Violence and Torture in Zimbabwe in 1999 เก็บถาวร 2010-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 1999. Zimbabwe Human Rights NGO Forum.
  30. Robinson, Simon. "A Tale of Two Countries" เก็บถาวร 2019-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTime Magazine — Monday, February 18, 2002
  31. "Zimbabwe forbids white farmers to harvest"USA Today — 06/24/2002
  32. "White farmers under siege in Zimbabwe"BBC — Thursday, 15 August, 2002
  33. Nick Wadhams (2007-08-01). "Zimbabwe's Wildlife Decimated by Economic Crisis". Nairobi: National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
  34. 34.0 34.1 "Desperate Mugabe allows white farmers to come back". The Independent. 2006-12-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  35. Meldrum, Andrew (2005-05-21). "As country heads for disaster, Zimbabwe calls for return of white farmers". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  36. Timberg, Craig (2007-01-06). "White Farmers Given Leases In Zimbabwe". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  37. "Zimbabwe threatens white farmers". Washington Post. 2007-02-05.
  38. Chinaka, Cris (2007-08-08). "Zimbabwe threatens white farmers on evictions". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  39. 39.0 39.1 "Zimbabwe inflation hits 11,200,000". CNN.com. 2008-08-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
  40. "Zimbabwe introduces $100 billion banknotes". CNN.com. 2008-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  41. "A worthless currency". The Economist. 2008-07-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-05.
  42. 42.0 42.1 "Hyperinflation in Zimbabwe". Telegraph.co.uk. 2008-11-13.
  43. 43.0 43.1 "Zimbabwe". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 2008-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-16. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  44. The World Health Organization. "Annex Table 1—Basic indicators for all Member States". The World Health Report 2006 (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-03-10.
  45. "Zimbabwe". UNAIDS. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03.
  46. "The People of Zimbabwe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-12. สืบค้นเมื่อ 2007-11-13.
  47. "Ethnicity/Race of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2008-01-06.
  48. "Languages of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2009-03-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ข้อมูลทั่วไป
รัฐบาล
ท่องเที่ยว
การศึกษา