ไทม์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ไทม์ (อังกฤษ: Time หรือตามเครื่องหมายการค้าคือ TIME) เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เริ่มพิมพ์ฉบับแรก โดยเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์เล่มแรกของประเทศ โดยในปัจจุบันไทม์มีจัดพิมพ์หลายแห่งทั่วโลก โดยในยุโรปใช้ชื่อว่า "ไทม์ยุโรป" (หรือที่ในอดีตเรียกว่า ไทม์แอตแลนติก) มีสำนักงานอยู่ที่ลอนดอน และออกจำหน่ายในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา รวมถึงละตินอเมริกา ส่วนในเอเชีย ใช้ชื่อว่า "ไทม์เอเชีย" มีสำนักงานที่ฮ่องกง ขณะที่ "ไทม์แคนาดา" เป็นฉบับสัญชาติแคนาดาซึ่งจัดจำหน่ายในประเทศแคนาดา และ "ไทม์เซาท์แปซิฟิก" ซึ่งจัดจำหน่ายครอบคลุมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ซิดนีย์
บรรณาธิการ | Edward Felsenthal |
---|---|
หมวดหมู่ | นิตยสารข่าว |
นิตยสารราย | รายสัปดาห์ |
ยอดพิมพ์รวม (2017) | 3,028,013[1] |
ฉบับแรก | 3 มีนาคม 1923 |
บริษัท |
|
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
เมือง | นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
เว็บไซต์ | time |
ISSN | 0040-781X |
OCLC | 1311479 |
ในปัจจุบัน นิตยสารไทม์จัดการโดยบริษัทไทม์วอร์เนอร์ สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก และมีนายริชาร์ด สเตนเจล เป็นบรรณาธิการบริหาร
ประวัติ
แก้ไทม์ก่อตั้งโดย บริตัน แฮดเดน และ เฮนรี ลูซในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ถือได้ว่าเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกาหัวแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ ทั้งสองทำงานร่วมกันในฐานะประธานและบรรณาธิการบริหาร เยลเดลี่นิวส์ (Yale Daily News) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเยล นิตยสารไทม์ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยผู้อ่านหลายคนว่า มีความจริงจังน้อยเกินไปกับข่าวที่เคร่งเครียดและเหมาะสมกับการทำข่าวเกี่ยวกับบุคคลผู้มีชื่อเสียง (ซึ่งรวมถึงนักการเมืองด้วย) อุตสาหกรรมบันเทิง และวัฒนธรรมป็อป เป็นเวลาหลายทศวรรษซึ่งปกของนิตยสารเป็นรูปของบุคคลคนเดียว ไทม์ ฉบับแรกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2466 โดยปกเป็นรูปของนายโจเซฟ จี. แคนนอน โฆษกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งปลดเกษียณแล้ว นิตยสาร พีเพิล ก็ยังได้รับแรงบันดาลใจแรกเริ่มจากหน้าข่าวบุคคลของไทม์อีกด้วย
เมื่อนายแฮดเด้นถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2472 นายลูซจึงเป็นผู้ควบคุม ไทม์ แต่เพียงผู้เดียวและได้กลายเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการสื่อสมัยศตวรรษที่ 20
มุมมองทางการเมือง
แก้โดยทั่วไปแล้ว ไทม์เป็นนิตยสารที่เป็นกลางทางการเมือง แม้ว่านิตยสารจะตีพิมพ์บทความของ ชาร์ลส์ เคราแธมเมอร์ (Charles Krauthammer) ซึ่งเป็นนักวิจารณ์สังคมฝ่ายอนุรักษนิยมสมัยใหม่ก็ตาม
บุคคลแห่งปี
แก้ตลอดอายุแปดสิบสามปีของนิตยสาร ฉบับหัวข้อบุคคลแห่งปีนั้นเป็นฉบับที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด โดย ไทม์จะทำการยกย่องบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้สร้างผลกระทบมากที่สุดต่อเหตุการณ์ในระหว่างปีนั้น ถึงแม้จะตั้งหัวเรื่องว่า 'บุคคล'แห่งปี แต่ผู้ได้รับการคัดเลือกก็ไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์เสมอไป ดังเช่นในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้รับการยกย่องให้เป็น "เครื่องจักรแห่งปี"
นอกจากนั้น หัวข้อในปี พ.ศ. 2542 ก็ถูกเปลี่ยนเป็น "บุคคลแห่งศตวรรษ" และผู้ได้รับการคัดเลือกคือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
เป็นครั้งคราวซึ่งมีการถกเถียงกันถึงความเหมาะสมในการคัดเลือกเมื่อปรากฏว่าผู้นำเผด็จการหรือผู้ก่อสงครามได้ถูกคัดเลือกให้รับตำแหน่ง "บุคคลแห่งปี" ทั้งนี้ หลักเกณฑ์สำคัญในการคัดเลือกคือ บุคคลคนนั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อเหตุการณ์ในปีนั้นมากที่สุด ไม่ว่าจะในทางที่ดีหรือร้ายก็ตาม ในบางครั้งตำแหน่งนี้จึงไม่ใช่การยกย่องหรือเป็นเกียรติประวัติแต่อย่างใด ในอดีต กระทั่งบุคคลอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หรือ โจเซฟ สตาลิน ก็เคยได้รับการคัดเลือกมาแล้ว
เกร็ด
แก้- เป็นที่รู้กันว่าเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของไทม์คือกรอบสีแดงบนหน้าปก กรอบสีแดงนี้มีการเปลี่ยนไปเฉพาะในโอกาสฉลองครบรอบ 80 ปีของนิตยสาร และฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งตีพิมพ์หลังจากเหตุการณ์ก่อการร้าย 11 กันยายนในสหรัฐอเมริกา ที่มีการเปลี่ยนกรอบเป็นสีดำ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัย
- ไทม์ได้ออกฉบับแถลงการณ์บรรณาธิการอย่างเป็นทางการเพียงฉบับเดียวในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเรียกร้องให้นายริชาร์ด นิกสันลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี
- ↑ "Consumer Magazines". Alliance for Audited Media. สืบค้นเมื่อ October 6, 2016.