วินาศกรรม 11 กันยายน

การโจมตีของผู้ก่อการร้ายอิสลามในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2001

เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน หรือ 9/11 (ไนน์อีเลฟเว่น) เป็นการการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐ ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามจากฝั่งตะวันออกกลางอัลกออิดะฮ์จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ[2][3] โจรจี้เครื่องบินนั้นนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าว[4][5][6] และไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ

วินาศกรรม 11 กันยายน
สถานที่นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
เทศมณฑลอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย
ใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย
วันที่11 กันยายน 2001; 22 ปีก่อน (2001-09-11)
8:46 - 10:28 น. (EDT UTC−4)
ประเภทการจี้เครื่องบิน, การสังหารหมู่, การก่อการร้าย, การพลีชีพโจมตี
ตาย2,996 คน
เจ็บกว่า 25,000 คน
ผู้ก่อเหตุกลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์[1]

มีการพุ่งเป้าสงสัยไปที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อย่างรวดเร็ว อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ผู้นำกลุ่ม ซึ่งได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในตอนแรก สุดท้ายได้อ้างความรับผิดชอบเหตุวินาศกรรมดังกล่าวใน ค.ศ. 2004[1] อัลกออิดดะห์และบิน ลาดิน อ้างเหตุผลจูงใจในการก่อเหตุ ว่า การสนับสนุนอิสราเอลของสหรัฐอเมริกา การคงทหารสหรัฐประจำการไว้ในซาอุดิอาระเบีย และการลงโทษต่ออิรัก สหรัฐอเมริกาดำเนินมาตรการตอบโต้เหตุวินาศกรรมโดยการเริ่มสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror), การรุกรานอัฟกานิสถานเพื่อขับรัฐบาลตอลิบัน ซึ่งให้ที่พักพิงแก่สมาชิกอัลกออิดะฮ์ หลายประเทศเพิ่มกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและขยายอำนาจการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 หลังลอยนวลมาได้นานหลายปี บิน ลาเดนถูกพบและถูกสังหาร

เหตุวินาศกรรมทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจของแมนฮัตตันล่าง[7] การทำความสะอาดเขตเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์ 11 กันยายนแห่งชาติมีกำหนดเปิดในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2011 ที่ติดกับอนุสรณ์ วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งมีความสูง 541 เมตร ประเมินไว้ว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน ค.ศ. 2013[8] เพนตากอนซ่อมแซมภายในเวลาหนึ่งปี และมีการเปิดอนุสรณ์เพนตากอน ติดกับตัวอาคาร ใน ค.ศ. 2008 มีการจัดตั้งอนุสรณ์แห่งชาติเที่ยวบินที่ 93 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 และอนุสรณ์ดังกล่าวก่อสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2011[9][10]

การโจมตี

แก้

เหตุการณ์

แก้
คลิปกล้องรักษาความปลอดภัย เป็นภาพเที่ยวบินที่ 77 พุ่งชนอาคารเพนตากอน[11] เครื่องบินลำดังกล่าวพุ่งชนเพนตากอนประมาณ 86 วินาทีหลังบันทึกนี้เริ่มต้น

ณ เช้าวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 โจรจี้เครื่องบิน 19 คนยึดเครื่องบินพาณิชย์สี่เครื่องระหว่างทางไปซานฟรานซิสโกและลอสแอนเจลิสหลังนำเครื่องขึ้นจากบอสตัน เนวาร์ค และวอชิงตัน ดี.ซี. โจรเจตนาเลือกจี้เครื่องบินที่ต้องบินเป็นระยะทางไกลเพราะมีน้ำมันอยู่มาก[12] เมื่อเวลา 8.46 น. โจรจี้เครื่องบินห้าคนนำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 พุ่งเข้าชนกับตึกเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (1 WTC) และเมื่อเวลา 9.03 น. โจรอีกห้าคนได้นำเที่ยวบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งเข้าชนตึกใต้ (2 WTC)[13][14]

คนร้ายห้าคนนำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอนเมื่อเวลา 9.37 น.[15] ส่วนเที่ยวบินที่สี่ ภายใต้การควบคุมของคนร้ายสี่คน ชนยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อเวลา 10.03 น. หลังผู้โดยสารสู้กับคนร้าย เป้าหมายแท้จริงของเที่ยวบิน 93 นั้นเชื่อกันว่าน่าจะเป็นอาคารรัฐสภาหรือไม่ก็ทำเนียบขาว[12] เครื่องบันทึกเสียงห้องนักบินของเที่ยวบินที่ 93 เปิดเผยว่า ลูกเรือและผู้โดยสารพยายามยึดการควบคุมเครื่องคืนจากคนร้าย หลังทราบผ่านโทรศัพท์ว่ามีเครื่องบินที่ถูกจี้คล้ายกันพุ่งเข้าชนอาคารเช้าวันนั้น[16] เมื่อชัดเจนแก่คนร้ายแล้วว่าผู้โดยสารอาจยึดเครื่องคืน คนร้ายคนหนึ่งจึงออกคำสั่งที่เหลือให้หมุนเครื่องบินและตั้งใจให้เครื่องตก[17] ไม่นานหลังจากนั้น เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์

ผู้โดยสารบางคนสามารถใช้โทรศัพท์ได้โดยใช้บริการแอร์โฟนเคบิน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้รายละเอียดว่ามีคนร้ายจี้เครื่องบินหลายคนบนเครื่องบินแต่ละเครื่อง มีการใช้สเปรย์พริก (mace) แก๊สน้ำตา หรือสเปรย์พริกไทย และบางคนบนเครื่องถูกแทง[18][19][20][21][22][23][24] รายงานชี้ว่าโจรจี้เครื่องบินแทงและฆ่านักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่อง และผู้โดยสารหนึ่งคนหรือมากกว่า[25][26] ในรายงานสุดท้าย คณะกรรมการ 9/11 พบว่า โจรจี้เครื่องบินได้ซื้อเครื่องมืออเนกประสงค์และเลือกมีดและใบมีด[27][28] พนักงานต้อนรับบนเที่ยวบินที่ 11 ผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ 175 และผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ 93 กล่าวว่าคนร้ายจี้เครื่องบินมีระเบิด แต่มีผู้โดยสารอีกคนหนึ่งกล่าวเช่นกันว่า เขาคิดว่าระเบิดเป็นของปลอม เอฟบีไอไม่พบร่องรอยวัตถุระเบิดที่จุดตก และคณะกรรมการ 9/11 สรุปว่าระเบิดอาจเป็นของปลอม[25]

เมื่อเป็นที่ทราบแล้วว่าเที่ยวบินที่ 11 ถูกจี้เครื่อง เครื่องบินเอฟ-15 สองลำเร่งรีบออกจากฐานป้องกันแห่งชาติทางอากาศโอติสในรัฐแมสซาชูเซตส์ และขนมาทางอากาศก่อนเวลา 8.53 น.[29] หน่วยบัญชาการป้องกันอวกาศอเมริกาเหนือ (NORAD) มีประกาศ 9 นาทีว่า เที่ยวบินที่ 11 ถูกจี้เครื่อง แต่เพราะการสื่อสารที่เลวกับสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) จึงไม่รับทราบเกี่ยวกับเที่ยวบินอื่นก่อนที่จะชนกับอาคาร[29] หลังอาคารคู่ถูกชนทั้งสองหลังแล้ว เครื่องบินขับไล่เร่งรีบออกมากมากขึ้นจากฐานทัพอากาศแลงเลย์ในรัฐเวอร์จิเนีย เมื่อเวลา 9.30 น.[29] ต่อมาเวลา 10.20 น. มีคำสั่งให้ยิงอากาศยานพาณิชย์ลำใดก็ตามที่สามารถชี้ว่าถูกจี้เครื่อง คำชี้แจงเหล่านี้ไม่ได้ถ่ายทอดมาทันเวลาที่เครื่องบินขับไล่จะปฏิบัติการ[29][30][31][32] เครื่องบินขับไล่บางลำนำเครื่องขึ้นสู่อากาศโดยไม่มีกระสุนจริง และทราบว่าการขัดขวางคนร้ายมิให้นำเครื่องบินชนเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ นักบินจะต้องใช้วิธีการชนเครื่องบินขับไล่ลำที่ตนขับมานั้นเข้ากับเครื่องบินที่ถูกจี้ และดีดตัวออกจากเครื่องในช่วงสุดท้าย[33] ในการสัมภาษณ์นักบินเครื่องบินขับไล่ที่ตอบสนองจากฐานป้องกันแห่งชาติทางอากาศโอติส นักบินคนหนึ่งกล่าวว่า "จะไม่มีใครเรียกเราว่าวีรบุรุษ หากเรายิงเครื่องบินทั้งสี่ลำในวันที่ 11 กันยายน"[34]

อาคารสามหลังในกลุ่มอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มลงมาเพราะความเสียหายทางโครงสร้าง[35] ตึกใต้ถล่มลงเมื่อเวลา 9.59 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 56 นาที ซึ่งเกิดจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งชนอาคาร[35] ตึกเหนือถล่มลงมาเมื่อเวลา 10.28 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 102 นาที[35] เมื่อตึกเหนือถล่ม เศษซากปรักหักพักตกลงมาโดนอาคาร 7 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้อาคารเสียหายและเกิดเพลิงไหม้ ไฟเหล่านี้ลุกไหม้นานหลายชั่วโมง เป็นอันตรายต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างอาคาร กระทั่ง 7WTC ถล่มลงมาเมื่อเวลา 17.21 น.[36][37]

อากาศยานทุกลำภายในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ถูกสั่งห้ามขึ้นบิน และอากาศยานที่กำลังบินอยู่ถูกบังคับให้ลงจอดทันที อากาศยานพลเรือนระหว่างประเทศทุกลำหันหลังกลับหรือเปลี่ยนเส้นทางไปยังท่าอากาศยานในแคนาดาหรือเม็กซิโก และเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดถูกห้ามลงจอดบนแผ่นดินสหรัฐเป็นเวลาสามวัน[38] เหตุโจมตีสร้างความสับสนอย่างกว้างขวางในหมู่สำนักข่าวและผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ ในการรายงานข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันและมักขัดแย้งกันที่ออกอากาศทั้งวันนั้น หนึ่งในข่าวที่แพร่หลายที่สุดว่า มีคาร์บอมบ์ถูกจุดระเบิดที่สำนักงานใหญ่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.[39] เครื่องบินอีกลำหนึ่ง เดลตาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 1989 ต้องสงสัยว่าถูกจี้เครื่อง แต่กลับกลายเป็นว่าไม่จริง หลังเครื่องตอบรับผู้ควบคุมและลงจอดอย่างปลอดภัยในคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ[40]

ในการสัมภาษณ์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 คาลิด ซีกห์ โมฮัมเหม็ด (Khalid Sheikh Mohammed) และรอมซี บิน อัล-ชิบฮ์ (Ramzi bin al-Shibh) ผู้ซึ่งถูกเชื่อว่าเป็นผู้จัดการโจมตี กล่าวว่า เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ของเที่ยวบินที่ 93 คือ อาคารรัฐสภาสหรัฐ มิใช่ทำเนียบขาว[41] ระหว่างขั้นวางแผนการโจมตี ฮาเหม็ด อัตตา (Mohamed Atta) โจรจี้เครื่องบินและนักบินเที่ยวบินท่ 11 คิดว่าทำเนียบขาวอาจเป็นเป้าหมายที่ยากเกินไป และสอบถามการประเมินจาก Hani Hanjour ผู้ซึ่งภายหลังจี้เครื่องบินและเป็นนักบินของเที่ยวบินที่ 77[42] โมฮัมเหม็ดยังว่า เดิมอัลกออิดะฮ์วางแผนจะพุ่งเป้าไปยังโรงงานนิวเคลียร์แทนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตากอน แต่ตัดสินใจคัดค้าน ด้วยเกรงว่าทุกสิ่งอาจ "อยู่นอกเหนือการควบคุม"[43] ตามข้อมูลของโมฮัมเหม็ด การตัดสินใจเลือกเป้าหมายครั้งสุดท้ายอยู่ในมือของนักบิน[42]

ผู้เสียชีวิต

แก้

มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 2,996 คนจากเหตุวินาศกรรมครั้งนี้ ประกอบด้วยโจรจี้เครื่องบิน 19 คน และเหยื่อ 2,977 คน เหยื่อนี้แบ่งเป็น 246 คนบนเครื่องบินทั้งสี่เครื่อง (ซึ่งไม่มีผู้รอดชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว), 2,606 คนในนครนิวยอร์ก ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในอาคารระฟ้าทั้งสองและบนพื้นดิน และ 125 คนที่อาคารเพนตากอน เหยื่อเกือบทั้งหมดเป็นพลเรือน แต่มีทหาร 55 นายเสียชีวิตที่เพนตากอน

คนทำงานและผู้เยี่ยมชมมากกว่า 90% ที่เสียชีวิตในหอคอยทั้งสองนั้นอยู่บนหรือเหนือชั้นที่เป็นจุดที่ถูกเครื่องบินชน ในอาคารเหนือ มี 1,355 คนอยู่ในชั้นหรือเหนือชั้นที่เป็นจุดที่ถูกชน ซึ่งติดอยู่หรือเสียชีวิตด้วยการสูดหายใจเอาควันเข้าไป ตกลงหรือกระโดดออกจากอาคารเพื่อหนีควันและเปลวไฟ หรือเสียชีวิตหลังอาคารถล่มลงมาหลังจากนั้น มีอีก 107 คนที่อยู่ต่ำกว่าชั้นที่ถูกชนไม่รอดชีวิต ในอาคารใต้ มีปล่องบันไดปล่องหนึ่งยังไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้มี 18 คนหลบหนีจากชั้นเหนือกว่าชั้นที่ถูกชนได้ ในอาคารใต้มีผู้เสียชีวิต 630 คน น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตในอาคารเหนือ ผู้เสียชีวิตในอาคารใต้ลดลงอย่างมากจากการตัดสินใจของผู้ที่ทำงานอยู่ภายในซึ่งเริ่มอพยพเมื่ออาคารเหนือถูกเครื่องบินชน

ลำดับเหตุการณ์

แก้

วินาศกรรมในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น ณ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เพียงแห่งเดียว แต่อาคารเพนตากอน ก็ได้ถูกโจมตีด้วย โดยมีการใช้เครื่องบินถึง 3 ลำในการก่อการ ซึ่งผู้ก่อการในครั้งนี้ได้เข้ายึดครองเพื่อบังคับให้พุ่งเข้าชนอาคารสำคัญ และยังมีเครื่องบินอีกหนึ่งลำที่ถูกปล้นด้วยแต่ไม่สามารถชนอาคารได้ ทั้งนี้คาดว่าการขัดขืนจากลูกเรือและผู้โดยสารทำให้เครื่องบินลำดังกล่าวตกลงในเขตชนบทที่ซอมเมอร์เซ็ต

เครื่องบินที่ถูกปล้นทั้ง 4 ลำเป็นเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง โดยเป็นรุ่น โบอิง 767-200ER จำนวน 2 ลำ (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175) อีก 2 ลำเป็นโบอิง 757-200 (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 และจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93) ทั้ง 4 ลำเป็นเที่ยวบินที่บินข้ามจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตก ดังนั้นจึงบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงไปเต็มที่ และเชื่อว่าการพังทลายของอาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ น่าจะเกิดมาจากปริมาณน้ำมันจำนวนมากที่บรรทุกอยู่บนเครื่องบินเหล่านั้น

ในขณะที่เกิดเหตุหายนะอยู่นี้ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เดินทางจากฟลอริดากลับสู่วอชิงตัน และได้ออกแถลงการณ์ในเหตุการณ์ โดยขอให้ประชาชนร่วมกันสวดมนต์ให้กับผู้เคราะห์ร้าย รวมทั้งยังประกาศว่า "ผู้ที่กระทำการครั้งนี้จะต้องชดใช้ในสิ่งที่ทำ"

ต่อมามีรายงานว่าอาคารอื่น ๆ ในบริเวณนั้นก็ได้พังทลายลงทั้งหมด (เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ประกอบด้วยอาคาร 7 หลัง) อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า อาคาร 5 ยังคงตั้งอยู่แต่ก็เสียหายเป็นอย่างมากเช่นกัน สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้นยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบศพแล้วกว่า 200 ศพ และยังสูญหายอีกประมาณ 6,000 คน (ณ วันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2001)

ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐได้กำหนดวันที่ 11 กันยายนเป็นวันรำลึกเหตุวินาศกรรม 11 กันยายนแห่งชาติ (อังกฤษ: National Day of Service and Remembrance) โดยเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2002 เป็นต้นไป

ผู้เสียชีวิต (ไม่รวมผู้ก่อการร้าย 19 คน)
นครนิวยอร์ก เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เสียชีวิต 2,602 คน และสูญหาย 24 คน[44][45]
อเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 88[46]
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 59[47]
อาคารเพนตากอน อาคาร 125[48]
อเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 59[49]
Shanksville ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 40[50]
รวม เสียชีวิต 2,973 คน และสูญหาย 24 คน

สรุปผู้เสียชีวิต

แก้

มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 3,400 คน แบ่งเป็น เสียชีวิตบนเครื่องบิน 246 คน ในอาคารและพื้นดินของนครนิวยอร์ก 2,602 คน และในอาคารเพนตากอน 125 คน รวมถึงนักผจญเพลิงนครนิวยอร์ก 343 คน ตำรวจนครนิวยอร์ก 23 คน ตำรวจการท่าเรือของนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี 37 คน และผู้สูญหายอีก 24 คน[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Bin Laden claims responsibility for 9/11". CBC News. October 29, 2004. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01. al-Qaeda leader Osama bin Laden appeared in a new message aired on an Arabic TV station Friday night, for the first time claiming direct responsibility for the 2001 attacks against the United States.
  2. Holmes (2006), pp ??
  3. Keppel (2008), pp ??
  4. "Man's death from World Trade Center dust brings Ground Zero toll to 2,753". NY Daily News. Associated Press. June 18, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-13. สืบค้นเมื่อ September 1, 2011.
  5. "Top military officer honors 9/11 Pentagon victims". Associated Press. September 11, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-12. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  6. "9 Years Later, Nearly 900 9/11 Responders Have Died, Survivors Fight for Compensation". FOX News. September 11, 2010. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  7. Summers and Swan (2011), p. 75.
  8. "1 World Trade Center". Lower Manhattan Development Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-19. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.
  9. "Ground broken for Flight 93 memorial". The Associated Press. November 8, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  10. "Memorial takes shape". Philadelphia Media Network Inc. August 14, 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  11. "Flight 77, Video 2". Judicial Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 2011-06-26.
  12. 12.0 12.1 "The Attack Looms". 9/11 Commission Report. National Commission on Terrorist Attacks Upon the United States. 2004. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  13. "Flight Path Study – American Airlines Flight 11" (PDF). National Transportation Safety Board. February 19, 2002.
  14. "Flight Path Study – United Airlines Flight 175" (PDF). National Transportation Safety Board. February 19, 2002.
  15. "Flight Path Study – American Airlines Flight 77" (PDF). National Transportation Safety Board. February 19, 2002.
  16. Snyder, David (April 19, 2002). "Families Hear Flight 93's Final Moments". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  17. "Text of Flight 93 Recording". Fox News. April 12, 2006. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  18. McKinnon, Jim (September 16, 2001). "The phone line from Flight 93 was still open when a GTE operator heard Todd Beamer say: 'Are you guys ready? Let's roll'". Pittsburgh Post-Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  19. "Relatives wait for news as rescuers dig". CNN. September 13, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-22. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  20. Summers and Swan (2011), pp. 58, 463n, 476n.
  21. Wilgoren, Jodi and Edward Wong (September 13, 2001). "On Doomed Flight, Passengers Vowed To Perish Fighting". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  22. Serrano, Richard A. (April 11, 2006). "Moussaoui Jury Hears the Panic From 9/11". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  23. Goo, Sara Kehaulani (January 28, 2004). "Hijackers used Mace, knives to take over airplanes". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  24. Ahlers, Mike M. (January 27, 2004). "9/11 panel: Hijackers may have had utility knives". CBS News. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  25. 25.0 25.1 9/11 Commission Report, pp. 4–14.
  26. "Encore Presentation: Barbara Olson Remembered". Larry King Live. CNN. January 6, 2002. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  27. "National Commission Upon Terrorist Attacks in the United States". National Commission Upon Terrorist Attacks in the United States. January 27, 2004. สืบค้นเมื่อ January 24, 2008.
  28. Summers and Swan (2011), p. 343.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 "We Have Some Planes" (pdf). The 911 Commission Report. 911 Commission. pp. 20–42. สืบค้นเมื่อ 2011-09-09.
  30. "Cheney: Order To Shoot Down Hijacked 9/11 Planes 'Necessary'". Fox News. September 4, 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-09-09.
  31. Schrader, Esther (June 18, 2004). "Cheney Gave Order to Shoot Down Jets". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2011-09-09.
  32. Greer, Gordon (2005). What Price Security?. iUniverse, Inc. p. 73. ISBN 059535792X.
  33. Hendrix, Steve (September 8, 2011). "F-16 pilot was ready to give her life on Sept. 11". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2011-09-09.
  34. Viser, Matt (September 11, 2005). "Two pilots revisit their 9/11". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2011-09-09.
  35. 35.0 35.1 35.2 Miller, Bill (May 1, 2002). "Report Assesses Trade Center's Collapse". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2011-09-02.
  36. World Trade Center Building Performance Study, Ch. 5 WTC 7 – section 5.5.4
  37. Final Report on the Collapse of World Trade Center Building 7, p. xxxvii.
  38. "Profiles of 9/11 – About 9/11". The Biography Channel. A&E Television Networks. สืบค้นเมื่อ 2011-09-02.
  39. Miller, Mark (August 26, 2002). "Broadcasting and Cable". Broadcasting & Cable. Reed Business Information. สืบค้นเมื่อ 2011-09-02.
  40. Adams, Marilyn (August 13, 2002). "Part II: No one was sure if hijackers were on board". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2011-09-02. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  41. Fouda and Fielding (2004), pp. 158–9.
  42. 42.0 42.1 {Summers and Swan (2011), p. 323.
  43. "Al-Qaeda 'plotted nuclear attacks'". BBC News. September 8, 2002. สืบค้นเมื่อ 2011-09-02.
  44. "2006 9/11 Death Toll". CNN. 2006, April 26. สืบค้นเมื่อ 2006-09-07. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  45. "24 Remain Missing". September 11 Victims. 2006, August 12. สืบค้นเมื่อ 2006-09-07. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  46. "American Airlines Flight 11". CNN. สืบค้นเมื่อ 2006-09-07.
  47. "United Airlines Flight 175". CNN. สืบค้นเมื่อ 2006-09-07.
  48. "American Airlines Flight 77". CNN. สืบค้นเมื่อ 2006-09-07.
  49. "American Airlines Flight 77". CNN. สืบค้นเมื่อ 2006-09-07.
  50. Roddy, Dennis B. (2001, October 28). "Flight 93: Forty lives, one destiny". Pittsburgh Post-Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-05. สืบค้นเมื่อ 2006-09-07. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้