สำนักงานสอบสวนกลาง

หน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา
(เปลี่ยนทางจาก เอฟบีไอ)

สำนักงานสอบสวนกลาง[3] ย่อว่า เอฟบีไอ (อังกฤษ: Federal Bureau of Investigation: FBI) เป็นหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของสหรัฐ และเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับกลางของสหรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ภายในเขตอำนาจของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ทั้งเป็นสมาชิกของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ รายงานตรงต่อทั้งอัยการสูงสุดสหรัฐและผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ[4] อนึ่ง เอฟบีไอยังเป็นองค์การหลักของสหรัฐในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม โดยมีเขตอำนาจเหนือการละเมิดกฎหมายในกลุ่มอาชญากรรมกลางกว่า 200 กลุ่ม[5][6]

สำนักงานสอบสวนกลาง
ตราโล่เจ้าหน้าที่พิเศษสำนักงาน
ธงสำนักงาน
อักษรย่อFBI
คำขวัญเที่ยงตรง กล้าหาญ ซื่อสัตย์
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง26 กรกฎาคม 1908; 116 ปีก่อน (1908-07-26) (ในฐานะ สำนักงานสอบสวน)
เจ้าหน้าที่35,104 คน[1] (31 ตุลาคม ค.ศ. 2014)
งบประมาณรายปี9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปีงบประมาณ 2562)[2]
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา
เขตอำนาจในการปฏิบัติการสหรัฐอเมริกา
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่อาคารเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์
วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
38°53′43″N 77°01′30″W / 38.8952°N 77.0251°W / 38.8952; -77.0251
ผู้บริหารหน่วยงาน
เว็บไซต์
fbi.gov

แม้ว่าหน้าที่หลายอย่างของเอฟบีไอจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ กิจกรรมของเอฟบีไอในการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้นเทียบได้กับบทบาทของหน่วยงานเอ็มไอไฟฟ์ (MI5) ของบริเตน และเอฟเอสบี (FSB) ของรัสเซีย แต่ไม่เหมือนกับสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) เพราะซีไอเอไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และเน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างประเทศ ขณะที่เอฟบีไอเป็นหน่วยงานภายในประเทศ โดยมีสำนักงานภาคสนาม (field office) 56 แห่งในนครหลักทั่วสหรัฐ ทั้งสำนักงานประจำ (resident office) อีก 400 แห่งในนครเล็กและท้องที่อื่นทั่วประเทศ ที่สำนักงานภาคสนาม เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติไปพร้อมกันด้วย[7][8]

แม้จะเน้นเรื่องภายในประเทศ เอฟบีไอก็ยังมีเขตบริการระหว่างประเทศ (international footprint) ที่สำคัญอยู่หนึ่งเขต ทำหน้าที่บริหารสำนักงานนิติกรทูต (Legal Attache office) 60 แห่ง กับสำนักงานย่อย (sub-office) อีก 15 แห่ง ซึ่งอยู่ในสถานทูตและกงสุลสหรัฐทั่วโลก สำนักงานต่างแดนเหล่านี้มีขึ้นเพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการด้านความมั่นคงในต่างประเทศเป็นหลัก และโดยปรกติแล้วจะไม่ปฏิบัติการฝ่ายเดียวภายในประเทศที่ตั้งสำนักงาน[9] อนึ่ง เอฟบีไอยังสามารถดำเนินกิจกรรมลับในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติในบางครั้ง[10] ในทำนองเดียวกับที่ซีไอเอมีหน้าที่จำกัดในประเทศ กิจกรรมดังกล่าวโดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน

เอฟบีไอก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2451 ในฐานะ สำนักงานสอบสวน ซึ่งย่อว่าบีโอไอ หรือบีไอ และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสอบสวนกลาง ย่อว่า เอฟบีไอ ใน พ.ศ. 2478 สำนักงานใหญ่เอฟบีไออยู่ที่อาคารเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ในวอชิงตัน ดี.ซี.

งบประมาณ ภารกิจ และลำดับความสำคัญ

แก้
 
คู่มือการปฏิบัติการและการสืบสวนภายในประเทศ เอฟบีไอ

ในปีงบประมาณ 2562 งบประมาณรวมของสำนักงานมีประมาณ 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เป้าหมายหลักของเอฟบีไอคือปกป้องและป้องกันสหรัฐ ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายอาญาของสหรัฐ และเพื่อสร้างเสริมความเป็นผู้นำและการบริการความยุติธรรมทางอาญาให้แก่ รัฐบาลกลาง รัฐ เทศบาล และหน่วยงานนานาชาติ

สำดับความสำคัญสูงสุดในปัจจุบันของสำนักงานสอบสวนกลาง มีดังนี้:[11]

  1. ปกป้องสหรัฐจากการโจมตีของผู้ก่อการร้าย
  2. ปกป้องสหรัฐจากการโจรกรรมและการปฏิบัติการณ์ข่าวกรองของต่างประเทศ
  3. ปกป้องสหรัฐจากการโจมตีทางไซเบอร์และอาชญากรรมทางเทคโนโลยีระดับสูง
  4. ต่อสู้กับการทุจริตของเอกชนในทุกระดับ
  5. ปกป้องสิทธิมนุษยชน
  6. ต่อสู้กับองค์กรอาชญกรรมระดับชาติ/ข้ามชาติ
  7. ต่อสู้กับอาชญากรรมคอปกขาวขนาดใหญ่
  8. ต่อสู้กับอาชญากรรมรุนแรงที่สำคัญ
  9. สนับสนุนรัฐบาลกลาง รัฐ ท้องถิ่น และนานาประเทศ
  10. พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้งาน เพื่อให้ทำภารกิจที่ระบุไว้ข้างต้นประสบความสำเร็จ

ประวัติ

แก้

ภูมิหลัง

แก้

ในปี พ.ศ. 2439 สำนักงานการระบุตัวอาชญากรแห่งชาติ (อังกฤษ: National Burau of Criminal Identification; NCBI) ได้ถูกก่อตั้งขี้น ซึ่งมีหน้าที่ให้ข้อมูลเพื่อระบุตัวอาชญากรที่เป็นที่รู้จักแก่หน่วยงานทั่วประเทศ จนกระทั่งมีการลอบสังหารประธานาธิบดี วิลเลียม แมกคินลีย์ ในปี พ.ศ. 2444 ก็ทำให้พวกเขารู้โดยทันทีว่าอเมริกาอยู่ภายใต้การคุกคามจากผู้นิยมอณาธิปไตย แม้กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงแรงงานสหรัฐจะได้จัดเก็บข้อมูลของผู้นิยมอณาธิปไตยมาเป็นปีแล้ว แต่ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ต้องการอำนาจมากกว่าเดิมในการสังเกตการณ์พวกเขา

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้รับหน้าที่ให้ดูแลกฎระเบียบการค้าระหว่างรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 แม้จะขาดแคลนบุคลากรก็ตาม ทำให้เกิดมีความพยายามเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากร จนกระทั่งมีเรื่องอื้อฉาวการโกงที่ดินใน รัฐออริกอน ประธานาธิบดีโรสเวลต์ได้สั่งให้อัยการสูงสุดชาร์ลส์ โบนาปาร์ต จัดตั้งหน่วยงานราชการด้านการสืบสวนอย่างอิสระซึ่งจะรายงานต่ออัยการสูงสุดเท่านั้น

อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้ยืมมือจากหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงหน่วยราชการลับ (อังกฤษ: U.S. Secret Service; USSS) ในเรื่องกำลังพลหรือก็คือพนักงานสืบสวนนั่นเอง ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 รัฐสภาสหรัฐห้ามไม่ให้กระทรวงยุติธรรมใช้บุคลากรจากกระทรวงการคลัง โดยอ้างว่าพวกเขาเกรงว่าหน่วยงานใหม่จะกลายเป็นกรมตำรวจลับ อีกครั้งจากการชี้แนะของประธานาธิบดีโรสเวลต์ อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้ย้ายไปจัดตั้งสำนักงานสอบสวนอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายหลังก็ได้มีเจ้าหน้าพิเศษ (อังกฤษ: Special Agents) เป็นของตนเอง

การก่อตั้งสำนักงานสอบสวน

แก้

สำนักงานสอบสวนก่อตั้งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 อัยการสูงสุดโบนาปร์ตได้ใช้กองทุนค่าใช้จ่ายของกระทรวงยุติธรรมจ้างคน 34 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์บางคนของหน่วยราชการลับ เพื่อทำงานในหน่วยงานสืบสวนสอบสวนแห่งใหม่ อธิบดีของที่นี้คนแรก (ปัจจุบันรู้จักในนามผู้อำนวยการ) คือ สแตนลีย์ ฟินช์ อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้แจ้งต่อรัฐสภาสหรัฐเกี่ยวกับการกระทำเหล่านี้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2451

หน้าที่แรกอย่างเป็นทางการของสำนักงานคือทำการสำรวจย่านค้าประเวณี เพื่อเตรียมตัวในการบังคับใช้รัฐบัญญัติแมนน์ (อังกฤษ: Mann Act) ที่ได้ลงมติผ่านร่างกฎหมายไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2453 และในปี พ.ศ. 2475 สำนักงานได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานสอบสวนแห่งสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: United States Bureau of Investigation)

การก่อตั้งสำนักงานสอบสวนกลาง

แก้

ในปีต่อมา พ.ศ. 2476 สำนักงานสอบสวนก็ได้ถูกรวมเข้ากับสำนักงานสิ่งของต้องห้าม (อังกฤษ: Bureau of Prohibition) และได้ชื่อใหม่ว่าแผนกสอบสวนย่อว่า ดีโอไอ (อังกฤษ: Division of Investigation; DOI) ก่อนจะมาเป็นหน่วยงานราชการอิสระภายใต้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐในปี พ.ศ. 2478 และในปีเดียวกันชื่อก็ได้ถูกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการโดยเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์กลายเป็นชื่อเดียวกันกับปัจจุบันคือ สำนักงานสอบสวนกลาง (อังกฤษ: Federal Bureau of Investigation; FBI)

เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ในฐานะผู้อำนวยการเอฟบีไอ

แก้
 
เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอตั้งแต่ค.ศ. 1924 ถึง 1972

เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ รับราชการเป็นผู้อำนวยการเอฟบีไอตั้งแต่ปี 2467 ถึง 2515 รวมทั้งหมด 48 ปีรวมกันทั้งบีโอไอ ดีโอไอ และเอฟบีไอ เขามีส่วนรับผิดชอบที่สำคัญต่อการก่อตั้ง แล็บวิจัยการตรวจจับอาชญากรรมทางวิทยาศาสตร์ หรือ แล็บวิจัยเอฟบีไอ (อังกฤษ: FBI Laboratory) ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการในปี 2475 โดยเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของเขาเพื่อเพิมความเป็นมืออาชีพในการสืบสวนโดยรัฐบาล ฮูเวอร์ได้มีส่วนเกี่ยงข้องอย่างเป็นจริงเป็นจังต่อคดีใหญ่ๆและโครงกานส่วนมากที่เอฟบีไอรับผิดชอบในขณะที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่จากรายละเอียดข้างล่างนี้ เขาเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการถกเถียงกันมากมายในเรื่องดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเอฟบีไอ โดยเฉพาะในช่วงปีหลัง ๆ หลังจากการเสียชีวิตของฮูเวอร์ รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านกฎหมายซึ่งได้จำกัดเวลาดำรงตำแหน่งของผอ.เอฟบีไอในอนาคตเป็น 10 ปี

การสืบสวนคดีฆาตกรรมในช่วงแรกเริ่มของหน่วยงานใหม่นั้นรวมถึง คดีฆาตกรรมโอเซจอินเดียนด้วย (อังกฤษ: Osage Indian murders) ในช่วงสงครามอาชญากรรมตั้งแต่ปี 2473 เจ้าหน้าที่เอฟบีไอจับกุมและวิสามัญอาชญากรฉาวโฉ่ได้เป็นจำนวนมาก ทั้งจากคดีลักพาตัว โจรกรรม และฆาตกรรมจากทั่วทั้งประเทศ โดยรวมถึง จอห์น ดิลลิงเจอร์ ด้วย

อีกกิจกรรมหนึ่งในช่วงทศวรรษแรกคือการมีบทบาทชี้ขาดในการลดขอบเขตและอิทธิพลของคูคลักซ์แคลน นอกจากนี้จากการทำงานของเอดวิน อาเธอร์ตัน บีโอไอกล่าวอ้างว่าพวกเขาได้รับความสำเร็จในการจับกุมกองกำลังทั้งหมดของคณะปฏิวัติแนวคิดใหม่ชาวเม็กซิโก ภายใต้การนำของนายพลเอนรีเก เอสตราดาตอนกลางช่วงปี 2463 ตะวันออกของซานดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย

ฮูเวอร์เริ่มใช้การดักฟังโทรศัพท์ในปี 2463 ระหว่างการใช้กฎสิ่งของต้องห้าม (อังกฤษ: Prohibition) เพื่อการจับกลุ่มผู้ลักลอบค้าของเถื่อน ในคดีออล์มสเตด วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2470 (อังกฤษ: Olmstead v. United States) ซึ่งผู้ลักลอบค้าของเถื่อนได้ถูกจับได้ผ่านการดักฟังโทรศัพท์ ศาลสูงสุดสหรัฐกล่าวว่าการดักฟังของเอฟบีไอจะไม่ละเมิดมาตรา 4 (อังกฤษ: Fourth Amendment) ในเรื่องการตรวจค้นและการตวจยึดอย่างผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อ เอฟบีไอไม่ได้เข้าไปในบ้านของใครดดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อให้สำเร็จการดักฟังโทรศัพท์ หลังจากได้ยกเลิกการใช้กฎสิ่งของต้องห้าม รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านรัฐบัญญัติการสื่อสารปี 2477 (อังกฤษ: Communications Act of 2477) ซึ่งระบุให้การดักฟังโทรศัพท์อย่างไม่ได้รับการยินยอมนั้นผิดกฎหมาย แต่อนุญาตให้มีการดักฟังได้ ในคดีนาร์ดัน วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2482 (อังกฤษ: Nardone v. United States) ศาลกล่าวว่าจากกฎหมายปี 2477 หลักฐานที่เอฟบีไอได้มาจากการดักฟังโทรศัพท์ไม่สามารถจะยอมรับได้ในชั้นศาล หลังจากคดีแคทซ์ วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2510 (อังกฤษ: Katz v. United State) ได้กลับคดีปี 2470 ที่ได้อนุญาตให้มีการดักฟังได้ รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านรัฐบัญญัติควบคุมอาชญากรรมรวมเรื่อง (อังกฤษ: Omnibus Crime Control Act) ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สาธารณะทำการดักฟังโทรศัพท์ระหว่างสืบสวนได้ หากพวกเขาได้รับหมายศาลมาก่อน

ความมั่นคงแห่งชาติ

แก้

เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 2483 ถึงช่วงปี 2513 สำนักงานได้สืบสวนหลาย ๆ คดีเกี่ยวกับการจารกรรมต่อสหรัฐและชาติพันธมิตร เจ้าหน้าที่นาซี 8 คนซึ่งได้วางแผนวินาศกรรมต่อเป้าหมายอเมริกาได้ถูกจับและอีก 6 คนถูกประหาร (คดี Ex parte Quirin) ภายใต้คำพิพากษาของพวกเขา และเช่นกัน ณ เวลาขณะนั้น ความพยายามแกะรหัสร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรซึ่งเรียกว่า โปรเจกต์วีโนนา (อังกฤษ: Venona Project) ซึ่งเอฟบีไอได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก สามารถแกะรหัสการสื่อสารด้านข่าวกรองและการทูตโซเวียตได้ ทำให้รัฐบาลสหรัฐและบริเตนอ่านการสื่อสารของโซเวียตได้ ความพยายามนี้เป็นตัวพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของชาวอเมริกาที่ทำงานในสหรัฐด้านข่าวกรองโซเวียต ฮูเวอร์เองทำหน้าที่บริหารโปรเจกต์นี้แต่เขาเพิกเฉยต่อการแจ้งให้สำนักข่าวกรองกลางหรือซีไอเอทราบจนกระทั่งปี 2495 คดีที่มีชื่อเสียงอีกคดีนึงคือ การจับกุมสายลับโซเวียตชื่อ รูดอล์ฟ เอเบล ในปี 2500 จากการค้นพบสายลับโซเวียตปฏิบัติการในสหรัฐทำให้ฮูเวอร์สามารถทำตามแนวคิดที่มีมาอย่างยาวนานของเขากับภัยคุกคามที่เขาได้รับมาจากฝ่ายซ้าย ตั้งแต่ผู้จัดตั้งสหภาพพรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐอเมริกาไปจนถึงพวกเสรีนิยมชาวอเมริกา

การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น

แก้

ในปี 2482 สำนักงานเริ่มรวบรวมรายขื่อการคุมขัง (อังกฤษ: Custodial Detention List) ซึ่งมีรายชื่อคนที่จะถูกนำไปคุมขังในสถานการณ์สงครามกับชาติอักษะ ชื่อส่วนใหญ่ในรายชื่อเป็นของผู้นำชุมชนอิสเซ เพราะการสืบสวนของเอฟบีไอสร้างมาจากรายชื่อของสำนักงานข่าวกรองกองทัพเรือที่มีอยู่ ซึ่งจะเน้นไปที่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นในฮาวายและชายฝั่งตะวันตก แต่พลเมืองชาวเยอรมันและอิตาลีหลาย ๆ คนก็มีชื่ออยู่ในรายชื่อลับเช่นกัน โรเบร์ต ชีเวอรส์หัวหน้าสำนักงานโฮโนลูลูได้รับอนุญาตจากฮูเวอร์ให้เริ่มการจับกุมคนที่อยู่ในรายชื่อได้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2484 ในขณะที่ระเบิดยังคงตกลงใส่ท่าเพิร์ล การตรวจค้นบ้านและการจับกุมอย่างล้นหลาม (ส่วนมากกระทำโดยไม่มีหมายศาล) เริ่มต้นขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังการโจมตีและในหลายอาทิตย์ต่อมา ชาวอิสเซมากกว่า 5500 คนถูกคุมตัวโดยเอฟบีไอ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2485 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน โรสเวลต์ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหารที่ 9066 (อังกฤษ: Executive Order 9066) ซึ่งได้มอบอำนาจในการขับไล่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นออกจากชายฝั่งตะวันตก ผู้อำนวยการเอฟบีไอฮูเวอร์ได้ต่อต้านการคุมขังและการขับไล่จำนวนมากที่จะตามมาจากข้อบังคับใช้เกี่ยวกับชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นภายใต้คำสั่งบริหารที่ 9066 แต่โรสเวลต์ก็เอาชนะได้ เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับคำสั่งยกเว้นที่ตามมา แต่ในบางกรณีซึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบทางทหารใหม่ เจ้าหน้าที่เอฟบีไอก็จัดการจับกุมด้วยตัวเอง สำนักงานทำการสังเกตการณ์ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงสงคราม ทำการตรวจสอบภูมิหลังผู้ขอตั้งถิ่นฐานนอกค่ายและการเข้ามาในค่าย (ส่วนใหญ่โดยไม่มีการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการของกองบังคับการย้ายถิ่นฐานระหว่างสงคราม) และทำการฝึกสายข่าวเพื่อการจับตาพวกต่อต้านและพวกสร้างปัญหา หลังจากสงคราม เอฟบีไอได้รับมอบหมายให้ปกป้องชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่กลับมาจากการโจมตีของชุมชนผิวขาวที่ไม่เป็นมิตร

องค์กร

แก้

โครงสร้างองค์กร

แก้
 
แผนที่แผนกภาคสนามเอฟบีไอ
 
ผังองค์กรสำหรับเอฟบีไอ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2014

สำนักงานสอบสวนกลางแบ่งออกเป็นสาขาการทำงาน และสำนักงานผู้อำนวยการซึ่งประกอบด้วยสำนักงานบริหารส่วนมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารมีหน้าที่จัดการสาขาต่างๆ แต่ละสาขาก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นสำนักงานและแผนกอีกทีซึ่งมีผู้ช่วยผู้อำนวยการเป็นหัวหน้า โดยที่แผนกต่างๆยังสามารถแบ่งออกเป็นสาขาย่อย ซึ่งมีรองผู้ช่วยผู้อำนวยการเป็นหัวหน้า ในสาขาย่อยพวกนี้ก็สามารถแบ่งออกเป็นฝ่ายได้อีก โดยมีหัวหน้าฝ่ายเป็นหัวหน้าซึ่งเป็นตำแหน่งที่คล้ายกับเจ้าหน้าที่พิเศษรักษาการ สาขา 4 สาขารายงายต่อรองผู้อำนวยการ ในขณะที่อีก 2 สาขารายงานต่อผู้อำนวยการช่วยว่าการ สาขาการทำงานของสำนักงานสอบสวนกลาง มีดังนี้:

  • สาขาข่าวกรอง
  • สาขาความมั่นคงแห่งชาติ
  • สาขาอาชญากรรม, ไซเบอร์, ตอบโต้, และบริการ
  • สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สาขาสารสนเทศและเทคโนโลยี
  • สาขาทรัพยากรมนุษย์

สำนักงานผู้อำนวยการทำหน้าที่เป็นส่วนบริหารกลางของเอฟบีไอ อำนวยงานด้านการสนับสนุนบุคลากร (เช่น การจัดการอาคารและการเงิน) ให้กับสาขาการทำงาน 5 สาขาและแผนกภาคสนามต่างๆ สำนักงานได้รับการจัดการโดยผู้อำนวยการช่วยว่าการ ผู้ซึ่งดูแลการทำงานของทั้งสาขาทรัพยากรมนุษย์และสาขาสารสนเทศและเทคโนโลยี

  • สำนักงานผู้อำนวยการ
    • สำนักงานประจำผู้อำนวยการ
    • สำนักงานรองผู้อำนวยการ
    • สำนักงานผู้อำนวยการช่วยว่าการ
    • สำนักงานกิจการรัฐสภาสหรัฐ
    • สำนักงานกิจการโอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน
    • สำนักงานหัวหน้าที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
    • สำนักงานความซื่อสัตย์และการปฏิบัติตาม
    • สำนักงานผู้ตรวจการ
    • สำนักงานจรรยาบรรณวิชาชีพ
    • สำนักงานกิจการสาธารณะ
    • แผนกตรวจราชการ
    • แผนกบริการอาคารสถานที่และการเงิน
    • แผนกแผนงานทรัพยากร
    • แผนกการจัดการสารสนเทศ
    • สำนักงานหัวหน้าเจ้าหน้าที่สารสนเทศ
 
เจ้าหน้าที่เอฟบีไอในที่เกิดเหตุ

โครงสร้างตำแหน่ง

แก้

ต่อไปนี้เป็นโครงสร้างตำแหน่งของสำนักงานสอบสวนกลางโดยสมบูรณ์:[12]

  • เจ้าหน้าที่ภาคสนาม
    • เจ้าหน้าที่ฝึกงาน
    • เจ้าหน้าที่พิเศษ
    • เจ้าหน้าที่พิเศษอาวุโส
    • เจ้าหน้าที่พิเศษกำกับดูแล
    • ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พิเศษรักษาการ
    • เจ้าหน้าที่พิเศษรักษาการ
  • ฝ่ายการจัดการ
    • รองผู้ช่วยผู้อำนวยการ
    • ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
    • ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารช่วยว่าการ
    • ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร
    • รองผู้อำนวยการช่วยว่าการ
    • รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่
    • หัวหน้าเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาด้านกฎหมายพิเศษแก่ผู้อำนวยการ
    • รองผู้อำนวยการ
    • ผู้อำนวยการ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Quick Facts". Federal Bureau of Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-06. สืบค้นเมื่อ 2014-12-17.
  2. "Mission & Priorities". Federal Bureau of Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2019. สืบค้นเมื่อ 29 July 2019.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 29 มีนาคม 2552).
  4. "Our Strength Lies in Who We Are". intelligence.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2014. สืบค้นเมื่อ August 4, 2014.
  5. "How does the FBI differ from the Drug Enforcement Administration (DEA) and the Bureau of Alcohol, Tobacco, Firearms and Explosives (ATF)?". Federal Bureau of Investigation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-11-02.
  6. "Federal Bureau of Investigation – Quick Facts". Federal Bureau of Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17.
  7. Statement Before the House Appropriations Committee, Subcommittee on Commerce, Justice, Science, and Related Agencies, Federal Bureau of Investigation, March 26, 2014
  8. FBI gets a broader role in coordinating domestic intelligence activities, Washington Post, June 19, 2012
  9. Overview of the Legal Attaché Program เก็บถาวร มีนาคม 13, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Federal Bureau of Investigation, Retrieved: March 25, 2015
  10. Spies Clash as FBI Joins CIA Overseas: Sources Talk of Communication Problem in Terrorism Role, Associated Press via NBC News, February 15, 2005
  11. "FBI- Quick Facts". Federal Bureau of Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2015. สืบค้นเมื่อ 19 April 2015.
  12. "fbi.gov". fbi.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-03-03.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้