เนชันนัลลีก
เนชันนัลลีก (อังกฤษ: National League) หรือรู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ แวนารามาเนชันนัลลีก (อังกฤษ: Vanarama National League)[1] ด้วยเหตุผลด้านผู้สนับสนุน เป็นการแข่งขันลีกฟุตบอลอาชีพในอังกฤษ โดยแข่งขันกันระหว่าง 24 สโมสร เนชันนัลลีกเป็นดิวิชันแรกของเนชันนัลลีก และขั้นที่ 1 ของระบบเนชันนัลลีก (เอ็นเอฟแอล) และระดับที่ห้าของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ รองจากพรีเมียร์ลีก และอีเอฟแอลลีก ผู้ชนะเลิศเนชันนัลลีก จะเลื่อนชั้นสู่อีเอฟแอลลีกทู หนึ่งในดิวิชันของอิงกลิชฟุตบอลลีก[2] แต่เดิม ลีกมีชื่อว่า คอนเฟอเรนซ์เนชันนัล ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น เนชันนัลลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2015–16[3]
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1979 | (ในชื่อ อัลไลแอนซ์พรีเมียร์ลีก)
---|---|
ประเทศ | อังกฤษ (24 ทีม) |
จำนวนทีม | 24 |
ระดับในพีระมิด | 5 ขั้นที่ 1 (ระบบเนชันนัลลีก) |
เลื่อนชั้นสู่ | อีเอฟแอลลีกทู |
ตกชั้นสู่ | |
ถ้วยระดับประเทศ | |
ถ้วยระดับลีก | เนชันนัลลีกคัพ |
ถ้วยระดับนานาชาติ |
|
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | บาร์เน็ต (สมัยที่ 4) |
ชนะเลิศมากที่สุด | บาร์เน็ต (4 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | ดะโซน |
เว็บไซต์ | thenationalleague.org.uk |
ปัจจุบัน: เนชันนัลลีก ฤดูกาล 2024–25 |
อดีตสโมสรอิงกลิชฟุตบอลลีกที่แข่งขันในเนชันนัลลีก ได้แก่ ฟอเรสต์กรีนโรเวอส์, โอลดัมแอทเลติก, รอชเดล, โยวิลทาวน์, ฮาร์ตลีพูลยูไนเต็ด, สคันทอร์ปยูไนเต็ด และซัตตันยูไนเต็ด สโมสรที่อยู่ในดิวิชันนี้ยาวนานที่สุดคือ อีสต์ลีห์ โดยแข่งขันในเนชันนัลลีกตั้งแต่ฤดูกาล 2014–15
ประวัติลีก
แก้อลิอันซ์ พรีเมียร์ลีก
แก้เนชันนัลลีก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1979 ในชื่อ อลิอันซ์พรีเมียร์ลีก และจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกในฤดูกาล1979–80 และถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับการแข่งขันในระดับที่ต่ำกว่าลีกอาชีพ การหาสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันนั้นมาจากสโมสรในนอร์ธเทิร์น พรีเมียร์ลีก และเซาท์เทิร์นลีก โดยสโมสรที่ชนะเลิศในฤดูกาลแรกคือสโมสรฟุตบอลอัลทริงแฮม
การจัดการแข่งขันอลิอันซ์ พรีเมียร์ลีก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาวงการฟุตบอลในระดับล่าง และยกระดับฐานะทางการเงินของสโมสรเล็กๆในอังกฤษอย่างเป็นรูปธรรม โดยในฤดูกาล 1984–85 มีผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกคือบริษัท โกลา ผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬา ทำให้มีการตั้งชื่อการแข่งขันตามผู้สนับสนุนหลักว่า โกลา ลีก
ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์
แก้ฤดูกาล 1986–87 ได้มีการเปลี่ยนชื่อลีกเป็น ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ และมีชื่อในการแข่งขันตามผู้สนับสนุนรายใหม่ว่า จีเอ็ม วูซ์ฮอลล์ คอนเฟอเรนซ์ โดยในฤดูกาลนี้ฟุตบอลลีกของอังกฤษ ได้ยอมรับให้มีการเลื่อนชั้นและตกชั้น ระหว่างสโมสรที่ชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ และสโมสรที่ได้อันดับสุดท้ายในระดับดิวิชัน 4 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นฟุตบอลลีกทู) โดยสโมสรแรกที่ได้เลื่อนชั้นสู่ลีกอาชีพจากการชนะเลิศในฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ คือ สโมสรฟุตบอลสการ์โบโร และสโมสรแรกที่ตกชั้นจากลีกอาชีพลงมาคือ สโมสรฟุตบอลลินคอล์น ซิตี
ฤดูกาล 1999–2000 ฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ ได้มีผู้สนับสนุนรายใหม่คือบริษัท เนชันไวด์ และใช้ชื่อในการแข่งขันว่า เนชันไวด์ คอนเฟอเรนซ์
ตั้งแต่ฤดูกาล 2002–2003 เป็นต้นมาฟุตบอล คอนเฟอเรนซ์ ได้รับการเพิ่มสโมสรที่จะได้รับการเลื่อนชั้นเป็น 2 สโมสร จากเดิมเฉพาะสโมสรที่ชนะเลิศ เป็นสโมสรที่ชนะเลิศ และผู้ชนะในรอบเพลย์ออฟ ที่แข่งกันระหว่างสโมสรที่ได้อันดับ 2 – อันดับ 5 ทั้งนี้มีข้อแม้ว่าสโมสรในฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ที่จะเลื่อนชั้นได้จะต้องมีสนามเหย้าที่ได้มาตรฐานในระดับอาชีพเท่านั้น
บลูสแควร์ พรีเมียร์
แก้ฤดูกาล 2006–2007 ลีกได้ผู้สนับสนุนรายใหม่ ที่มาแทนบริษัทเนชันไวด์ จึงเปลี่ยนชื่อลีกเป็นบลูสแควร์ พรีเมียร์[4] และใช้ชื่อนี้จนจบฤดูกาล 2013–2014
เนชันนัลลีก
แก้หลังจากบริษัทสคริล ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนต่อจากบลูสแควร์ ได้เพียงแค่ฤดูกาลเดียว[5] ก็ได้บริษัทแวนอะรามา มาเป็นผู้สนับสนุนหลักรายใหม่อย่างเป็นทางการในฤดูกาล 2015–2016 และเปลี่ยนชื่อลีกเป็นเนชันนัลลีก
สมาชิกปัจจุบัน
แก้- หมายเหตุ: รายชื่อเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ
สโมสรที่ชนะเลิศ
แก้- สำหรับสโมสรที่ชนะเลิศมากกว่าหนึ่งครั้ง ตัวเลขในวงเล็บ จะแสดงถึงจำนวนครั้งที่ชนะเลิศในปีนั้น
ฤดูกาล | ชนะเลิศ | ชนะเพลย์ออฟ |
---|---|---|
1979–80 | อัลทริงแฮม1 | |
1980–81 | อัลทริงแฮม1 (2) | |
1981–82 | รันคอร์น เอฟซี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น รันคอร์น ฮัลตัน )1 |
|
1982–83 | เอนฟิลด์1 | |
1983–84 | เมดสโตน ยูไนเต็ด1 | |
1984–85 | วีลด์สโตน1 | |
1985–86 | เอนฟิลด์1 (2) | |
1986–87 | สการ์โบโร | |
1987–88 | ลิงคอล์น ซิตี | |
1988–89 | เมดสโตน ยูไนเต็ด (2) | |
1989–90 | ดาร์ลิงตัน | |
1990–91 | บาร์เน็ต | |
1991–92 | โคลเชสเตอร์ ยูไนเต็ด | |
1992–93 | วีคอมบ์ วันเดอร์เรอส์ | |
1993–94 | คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส2 | |
1994–95 | แมคเคิลส์ฟีลด์ ทาวน์2 | |
1995–96 | สตีเฟเนจ โบโร (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สตีเฟเนจ เอฟซี )2 |
|
1996–97 | แมคเคิลส์ฟีลด์ ทาวน์ (2) | |
1997–98 | ฮาลิแฟกซ์ ทาวน์ | |
1998–99 | เชลต์นัม ทาวน์ | |
1999–00 | คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส (2) | |
2000–01 | รัชเดน แอนด์ ไดมอนด์ | |
2001–02 | บอสตัน ยูไนเต็ด3 | |
2002–03 | โยวิล ทาวน์ | ดองคัสเตอร์ โรเวอส์ |
2003–04 | เชสเตอร์ ซิตี | ชริวส์บิวรี ทาวน์ |
2004–05 | บาร์เน็ต (2) | คาร์ไลล์ ยูไนเต็ด |
2005–06 | แอคคริงตัน สแตนลีย์ | เฮเรฟอร์ด ยูไนเต็ด |
2006–07 | ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์ | มอร์คัม |
2007–08 | อัลเดอร์ชอต ทาวน์ | เอ็กซิเตอร์ ซิตี |
2008–09 | เบอร์ตัน อัลเบียน | ทอร์คีย์ ยูไนเต็ด |
2009–10 | สตีเฟเนจ โบโร (2) | ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด |
2010–11 | ครอว์ลีย์ ทาวน์ | เอเอฟซี วิมเบิลดัน |
2011–12 | ฟลีตวุด ทาวน์ | ยอร์ก ซิตี |
2012–13 | แมนส์ฟิลด์ ทาวน์ | นิวปอร์ต เคาน์ตี |
2013–14 | ลูตัน ทาวน์ | เคมบริดจ์ ยูไนเต็ด |
2014–15 | บาร์เน็ต (3) | บริสตอล โรเวอส์ |
2015–16 | เชลต์นัม ทาวน์ (2) | กริมสบี ทาวน์ |
2016–17 | ลิงคอล์น ซิตี (2) | ฟอเรสต์กรีน โรเวอส์ |
2017–18 | แมคเคิลส์ฟีลด์ ทาวน์ (3) | ทรานเมียร์ โรเวอส์ |
2018–19 | เลย์ตัน โอเรียนท์ | ซอลฟอร์ด ซิตี |
2019–20 | บาร์โรว์4 | แฮร์โรเกต ทาวน์ |
2020–21 | ซัตตัน ยูไนเต็ด | ฮาร์ทลีย์พูล |
2021–22 | สต็อคพอร์ต เคาน์ตี | กริมสบี ทาวน์ |
2022–23 | เรกซัม | นอตส์เคาน์ตี |
2023–24 | เชสเตอร์ฟีลด์ | บรอมลีย์ |
- ^1 ไม่มีการเลื่อนชั้นจนถึงปี 1987
- ^2 ไม่ได้เลื่อนชั้นเนื่องจากสนามเหย้า ไม่ได้มาตรฐาน
- ^3 หลังจากคว้าตำแหน่งชนะเลิศในฤดูกาล 2001–02 และได้เลื่อนชั้น สโมสรบอสตัน ยูไนเต็ด กลับประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และถูกตัด 4 คะแนน ในฤดูกาล 2002–03
- ^4 สโมสรในลีกมีมติยุติการแข่งขันก่อนสิ้นสุดฤดูกาลเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลลีกทูฤดูกาล 2006–07 สโมสรบอสตัน ยูไนเต็ด ได้ถูกควบคุมทางการเงิน ทำให้สมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษตัด 10 คะแนนและถูกปรับตกชั้นถึง 2 ดิวิชัน จากฟุตบอลลีกทู สู่ลีก คอนเฟอเรนซ์ นอร์ท เมื่อจบฤดูกาล และถูกปรับตกชั้นอีกครั้ง ลงสู่ลีกสมัครเล่น นอร์ทเทิร์น พรีเมียร์ลีก หลังจบฤดูกาล 2008–09
ผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาล
แก้ฤดูกาล | ผู้ทำประตูสูงสุด | สัญชาติ | จำนวนประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|
1983–84 | พอล คัลปิน | 41 | นันอีตัน โบโร | |
1984–85 | พอล คัลปิน | 36 | นันอีตัน โบโร | |
1985–86 | คิม คาซีย์ | 36 | คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส | |
1986–87 | คิม คาซีย์ | 38 | คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส | |
1987–88 | สตีฟ นอร์ริส | 24 | เทลฟอร์ด ยูไนเต็ด | |
ฟิลด์ ดาร์บีเชียร์ | 24 | สแตฟฟอร์ด เรนเจอส์ | ||
พอล เดวีส | 24 | คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส | ||
1988–89 | สตีฟ บัตเลอร์ | 26 | เมดสโตน ยูไนเต็ด | |
มาร์ค กอลล์ | 26 | เมดสโตน ยูไนเต็ด | ||
1989–90 | รอบบี้ คุ้ก | 28 | เคตเทอริง | |
1990–91 | แกรี บูลล์ | 30 | บาร์เน็ตต์ | |
1991–92 | พอล คาร์เวลล์ | 29 | เร้ดบริดจ์ ฟอเรสต์ | |
เทอร์รี ร็อบบินส์ | 29 | เวลลิง ยูไนเต็ด | ||
1992–93 | เดฟ ลีเวิร์ทธี | 32 | ฟาร์นโบโร | |
1993–94 | พอล ดอบสัน | 25 | เกตส์เฮ้ด | |
1994–95 | พอล ดอบสัน | 25 | เกตส์เฮ้ด | |
1995–96 | แบรี เฮย์ลส์ | 29 | สตีเฟเนจ โบโร | |
1996–97 | ลี ฮิวจ์ | 30 | คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส | |
1997–98 | เจฟฟ์ ฮอร์สฟิลด์ | 30 | ฮาลิแฟกซ์ ทาวน์ | |
1998–99 | คาร์ล อัลฟอร์ด | 26 | สตีเฟเนจ โบโร | |
1999–00 | จัสติน แจ็กสัน | 29 | มอร์คัม | |
2000–01 | ดวน ดาร์บี | 24 | รัชเดน แอนด์ ไดมอนส์ | |
2001–02 | ดาริล แคลร์ | 24 | บอสตัน ยูไนเต็ด | |
มาร์ค สตีน | 24 | ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์ | ||
2002–03 | พอล บาร์นส์ | 25 | ดอนคาสเตอร์ โรเวอส์ | |
2003–04 | ดาริล แคลร์ | 29 | เชสเตอร์ ซิตี | |
2004–05 | จูเลียโน กราซิโอลี | 29 | บาร์เน็ต | |
2005–06 | แอนดี บิชอป | 23 | ยอร์ก ซิตี | |
2006–07 | พอล เบนสัน | 28 | ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์ | |
2007–08 | สจ๊วต ฟลีตวู้ด | 28 | ฟอเรสต์กรีน โรเวอส์ | |
2008–09 | แอนดรูว์ มอร์แกน | 26 | ฟอเรสต์กรีน โรเวอส์ | |
2009–10 | ริชาร์ด โบรดี | 26 | ยอร์ก ซิตี | |
2010–11 | แมตต์ ทับส์ | 37 | ครอว์ลีย์ ทาวน์ | |
2011–12 | เจมี วาร์ดี | 31 | ฟลีตวูด ทาวน์ | |
2012–13 | แมตต์ กรีน | 25 | แมนส์ฟิลด์ ทาวน์ | |
2013–14 | อังเดร เกรย์ | 30 | ลูตัน ทาวน์ | |
2014–15 | จอห์น อคินเด | 31 | บาร์เน็ต | |
2015–16 | แดน โฮลมอน | 30 | เชลต์นัม ทาวน์ | |
พาเดร็ก อามอนด์ | 30 | กริมสบี ทาวน์ | ||
2016–17 | ริกกี มิลเลอร์ | 40 | โดเวอร์ แอธเลติก | |
2017–18 | แอนดี คุ้ก | 24 | ทรานสเมียร์ โรเวอส์ | |
แดนนี โรว์ | 24 | เอเอฟซี ไฟลด์ | ||
2018–19 | แดนนี โรว์ | 26 | เอเอฟซี ไฟลด์ | |
2019–20 | สก็อต ควิกลีย์ | 20 | บาร์โรว์ | |
2020–21 | ไมเคิล ชีค | 21 | บรอมลีย์ |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Vanarama". York City Football Club (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-09-27.
- ↑ Mukherjee, Soham (5 April 2023). "How does National League promotion work? Race to the English Football League explained". GOAL. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2024. สืบค้นเมื่อ 13 October 2024.
- ↑ "Football Conference to be renamed as National League". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-04-06. สืบค้นเมื่อ 2025-05-23.
- ↑ "Conference announces new sponsors". BBC News. 11 April 2007. สืบค้นเมื่อ 5 October 2007.
- ↑ "Skrill is the new title sponsor for the Football Conference Leagues". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2015-08-11.