สโมสรฟุตบอลฟูลัม

(เปลี่ยนทางจาก Fulham F.C.)

โมสรฟุตบอลฟูลัม (อังกฤษ: Fulham Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพจากอังกฤษ ตั้งอยู่ที่ฟูลัมในกรุงลอนดอน พวกเขาลงแข่งขันในพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2022–23 หลังจากที่เลื่อนชั้นจากอีเอฟแอลแชมเปียนชิปในฤดูกาลก่อนหน้า สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1879 ถือได้ว่าเป็นสโมสรฟุตบอลจากลอนดอนที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงแข่งขันในระบบอาชีพ[4]

ฟูลัม
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลฟูลัม
ฉายาThe Cottage
เจ้าสัวน้อย (ภาษาไทย)
ก่อตั้ง1879; 146 ปีที่แล้ว (1879) (ในฐานะ St Andrews Cricket & Football Club)[1]
สนามเครเวนคอตทิจ ลอนดอน
ความจุ19,359 ที่นั่ง[2]
เจ้าของชาฮีด ข่าน[3]
ประธานชาฮีด ข่าน[3]
หัวหน้าผู้ฝึกสอนมาร์กู ซิลวา
ลีกพรีเมียร์ลีก
2023–24พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 13 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรได้ลงเล่นในลีกสูงสุดของอังกฤษถึง 27 ฤดูกาล โดยช่วงเวลาที่สโมสรได้ลงเล่นบนลีกสูงสุดเกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 และ 2000 เป็นส่วนใหญ่ ประวัติศาสตร์ของสโมสรในช่วงหลังมีความเกี่ยวข้องกับโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด อดีตประธานสโมสรชาวอียิปต์ซึ่งได้มอบเงินลงทุนจำนวนมหาศาลในการซื้อนักเตะเข้าทีมทำให้ทีมไต้เต้าขึ้นมาจากลีกระดับที่สี่ในทศวรรษ 1990 ฟูลัมได้เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญถึงสองครั้ง ได้แก่ เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1975 ที่พวกเขาพ่ายแพ้ต่อเวสต์แฮมยูไนเต็ด และยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2010 ที่พวกเขาแพ้อัตเลติโกมาดริดในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2–1

คู่ปรับสำคัญของฟูลัมได้แก่สโมสรที่ตั้งอยู่ในลอนดอนตะวันตกด้วยกันอย่างเชลซี ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ และเบรนต์ฟอร์ด ฟูลัมใช้เสื้อเชิ้ตสีขาวและกางเกงสีดำเป็นชุดเหย้ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน [5]

ผู้ผลิตชุดและผู้สนับสนุนบนชุดแข่ง

แก้

ในฤดูกาล 2002–03 ฟูลัมได้รับการสนับสนุนโดยเบ็ตแฟร์ซึ่งถือเป็นบริษัทการพนันแห่งแรกที่สนับสนุนสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ ต่อมาพระราชบัญญัติการพนัน ค.ศ. 2005 ได้อนุญาตให้บริษัทการพนันสามารถโฆษณาผ่านช่องทางโทรทัศน์และวิทยุได้ ทำให้ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ครึ่งหนึ่งของทีมในพรีเมียร์ลีกมีบริษัทการพนันเป็นผู้สนับสนุน[6][7]

วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 มีการประกาศว่าเวิลด์โมบายล์จะเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสรในระยะเวลาอีกสามปี[8]

ช่วงปี ผู้ผลิตชุด ผู้สนับสนุนบนชุดแข่ง
1974–1977 อัมโบร ไม่มี
1977–1981 อาดิดาส
1981–1984 ออสกา
1984–1985 อัมโบร วิลเลียม ยังเกอร์
1985–1987 เพรสทีจทราเวล
1987 สกอร์ไลน์ ไม่มี
1988 เอมิเรตส์
1988–1990 เทเลคอนเนกต์
1990–1991 ริเบโร
1991–1992 ไม่มี
1992–1993 ดีเอ็มเอฟสปอร์ตสแวร์
1993–1996 แวนดาเนล จีเอ็มบี
1996–1997 เลอ ค็อก สปอร์ต
1997–1998 อาดิดาส
1998–2001 ดีมอนอินเตอร์เน็ต
2001–2002 พิซซ่าฮัท
2002–2003 เบตแฟร์.คอม
2003–2005 พูมา แดบส์.คอม
2005–2006 ไพเพ็กซ์
2006–2007 แอร์เนสส์
2007–2010 ไนกี้ แอลจี
2010–2013 แคปปา เอฟเอ็กซ์โปร
2013–2015 อาดิดาส มาราทอนเบต
2015–2017 วิสิตฟลอริดา
2017–2018 กรอสเวเนอร์คาสิโนส์
2018–2020 ดาฟาเบต
2020–2021 เบ็ตวิกเทอร์
2021–2022 เวิลด์โมบาย
2022–2023 ดับเบิลยู88
2023– เอสบีโอเบท

ทีมงานชุดปัจจุบัน

แก้
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการทีม   มาร์กู ซิลวา
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม   สจวต เกรย์
ผู้ฝึกสอนทีมชุดแรก   Luis Boa Morte
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู   Hugo Oliveira
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส   Goncalo Pedro
นักวิเคราะห์ทีมชุดแรก   Antonios Lemonakis
หัวหน้าฝ่ายผลงาน   Bruno Mendes
ผู้อำนวยการทีมเยาวชน   ไมก์ เคฟ
ผู้ฝึกสอนทีมชุดอายุไม่เกิน 23 ปี   Steve Wigley
ผู้ฝึกสอนทีมชุดอายุไม่เกิน 18 ปี   Ali Melloul

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้
ณ วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2024[9]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   แบนท์ เลโน (รองกัปตัน)
2 DF   เคนนี เทต
3 DF   คาลวิน แบสซีย์
5 DF   โยอาคิม แอนเดอร์สัน
6 MF   แฮริสัน รีด
7 FW   ราอุล ฆิเมเนซ
8 MF   แฮร์รี วิลสัน
9 FW   โรดริกู มูนิซ
10 MF   ทอม แคร์นีย์ (กัปตัน)[10]
11 FW   อาดามา ตราโอเร
15 DF   ฮอร์เก เควงกา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 MF   แซนเดอร์ เบอร์เก
17 MF   อเล็กซ์ อิโวบี
18 MF   อังเดรอัส เปเรย์รา
20 MF   ซาซา ลูคิช
21 DF   ตีมอตี กัสตาญ
23 GK   สตีเวน เบนดา
30 MF   ไรอัน เซสเซยง
31 DF   อีซา ดีย็อป
32 MF   เอมีล สมิท ราว
33 DF   แอนโทนี รอบินสัน
FW   รีสส์ เนลสัน (ยืมตัวจาก อาร์เซนอล)

ผู้เล่นอื่นภายใต้สัญญา

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
FW   การ์ลุส วีนีซียุส

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF   ลุก แฮร์ริส (ไป เบอร์มิงแฮมซิตี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)

ฟูลัมในการแข่งขันฟุตบอลยุโรป

แก้

ฟูลัมเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรยุโรป พวกเขาเคยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยุโรปถึงสี่ครั้ง ครั้งแรกได้เข้าร่วมในยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากฤดูกาลแรกที่พวกเขาได้ลงเล่นในพรีเมียร์ลีก ต่อมาพวกเขาได้เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่าคัพจากการชนะเลิศอินเตอร์โตโตคัพ และพวกเขายังได้เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีกอีกสองครั้งด้วย ฟูลัมไม่เคยแพ้ใครในบ้านในการแข่งขันระดับทวีป โดยพวกเขาชนะ 17 นัดและเสมอ 6 นัดจากการลงเล่นในบ้านทั้งหมด 23 นัด ใน ค.ศ. 2010 ฟูลัมสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูโรปาลีก ซึ่งพวกเขาแพ้ให้กับอัตเลติโกมาดริด 2–1

สโมสรคู่อริ

แก้

แฟนสโมสรฟุตบอลฟูลัมมองว่าเชลซีเป็นคู่ปรับที่สำคัญของพวกเขา แม้ว่าทั้งคู่จะไม่ได้พบกันบ่อยนักเนื่องจากฟูลัมมีช่วงเวลาที่ไม่ได้ลงเล่นบนลีกสูงสุด สนามเหย้าของเชลซี สแตมฟอร์ดบริดจ์ ก็ตั้งอยู่ในเขตฟูลัมและห่างจากเครเวนคอตทิจเพียง 1.8 ไมล์เท่านั้น

คู่ปรับสำคัญลำดับที่สองคือ ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ โดยฟูลัมสามารถเอาชนะคิวพีอาร์ได้ทั้งไปและกลับในฤดูกาล 2011–12 เริ่มต้นด้วยการเปิดสนามเครเวนคอตทิจเอาชนะไปได้ 6–0 ตามด้วยการบุกไปเอาชนะ 1–0 ที่ลอฟตัสโรด[11] ทั้งคู่ต่างเคยพบกันหลายครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแชมเปียนชิป

คู่ปรับสำคัญลำดับที่สามคือ เบรนต์ฟอร์ด ซึ่งฟูลัมสามารถเอาชนะไปได้ 2–1 ในการแข่งขันชิงชนะเลิศเพลย์ออฟแชมเปียนชิปเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2020 คู่ปรับอื่น ๆ ของสโมสรภายในลอนดอน ได้แก่ คริสตัลพาเลซ

นอกเหนือจากสโมสรในลอนดอนแล้ว จิลลิงงัมก็ถือเป็นอีกหนึ่งสโมสรคู่ปรับสำคัญ แม้ว่าทั้งสองสโมสรจะไม่ได้ลงเล่นในลีกระดับเดียวกันมาตั้งแต่ฤดูกาล 2000–01 แต่เมื่อใดที่ทั้งคู่พบกัน ก็มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ดุเดือดอยู่เสมอ ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตของแฟนฟูลัมด้วย[12]

ผู้จัดการทีม

แก้

ฟูลัมมีผู้จัดการทีมทั้งหมด 37 คนในช่วงเวลา 114 ปี ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งผู้จัดการทีมคนแรก (แบรดชอว์ใน ค.ศ. 1904) ตำแหน่งนี้จะถูกมอบหมายให้แก่บุคคลที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเลขานุการสโมสร กัปตันทีม และเจ้าหน้าที่สโมสรคนอื่น ๆ

ชื่อ ตั้งแต่ ถึง
  แฮร์รี แบรดชอว์ 1904 1909
  Phil Kelso 1909 1924
  Andy Ducat 1924 1926
  Joe Bradshaw 1926 1929
  Ned Liddell 1929 1931
  Jimmy McIntyre 1931 1934
  Jimmy Hogan 1934 1935
  Jack Peart 1935 1948
  Frank Osborne* 1948 1949
  Bill Dodgin, Sr. 1949 1953
  Frank Osborne* 1953 1956
  Doug Livingstone 1956 1958
  Bedford Jezzard 1958 1964
  Vic Buckingham 1965 1968
  Bobby Robson 1968 1968
  Bill Dodgin, Jr. 1969 1972
  Alec Stock 1972 1976
  Bobby Campbell 1976 1980
  Malcolm Macdonald 1980 1984
  Ray Harford 1984 1986
  Ray Lewington 1986 1990
  Alan Dicks 1990 1991
  Don Mackay 1991 1994
  Ian Branfoot** 1994 1996
  Micky Adams 1996 1997
  Ray Wilkins 1997 1998
  เควิน คีแกน 1998 1999
  Paul Bracewell 1999 2000
  Jean Tigana 2000 2003
  Chris Coleman 2003 2007
  Lawrie Sanchez 2007 2007
  รอย ฮอดจ์สัน 2007 2010
  มาร์ก ฮิวส์ 2010 2011
  มาร์ติน โยล 2011 2013
  René Meulensteen§± 2013 2014
  เฟลิคส์ มากัท 2014 2014
  Kit Symons 2014 2015
  สลาวิชา ยอกานอวิช± 2015 2018
  เกลาดีโอ รานีเอรี 2018 2019
  สก็อต พาร์กเกอร์± 2019 2021
  มาร์กู ซิลวา± 2021
  • * Frank Osborne ได้รับการจ้างโดยสโมสรในช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1963 แต่ทำหน้าที่ในฐานะผู้จัดการทีมที่ได้รับการแต่งตั้งเท่านั้น
  • ** Ian Branfoot ยังคงได้รับการจ้างโดยสโมสรหลังจากที่ถูกปลดจากตำแหน่งผู้จัดการทีม
  • เควิน คีแกน ได้รับการจ้างโดยสโมสรให้ทำหน้าที่ผู้บริหารหลักคนหนึ่ง (ซึ่งในช่วงเวลานั้นเขาก็ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการทีมไปด้วย) ในช่วงเวลาที่ผู้จัดการทีมคนก่อนหน้า (Ray Wilkins) ยังคงอยู่ในตำแหน่ง
  • § René Meulensteen ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนภายใต้ผู้จัดการทีมคนก่อนหน้าอย่างมาร์ติน โยล (ซึ่งในช่วงเวลานั้นเขาก็ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการทีมไปด้วย) แต่หลังจากที่โยลออกไป เขาก็ไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะ "ผู้จัดการทีม" จริง ๆ เขายังคงทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนในช่วงเวลาเพียงสี่วันหลังจากที่มากัทเข้ารับตำแหน่ง
  • ± ผู้จัดการทีมเหล่านี้มีการอธิบายถึงตัวเขาว่าเป็นเพียง "หัวหน้าผู้ฝึกสอน" มากกว่า "ผู้จัดการทีม" จริง ๆ[13]

อ้างอิง

แก้
  1. "History". Fulham F.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2015.
  2. "Premier League Handbook 2020/21" (PDF). Premier League. p. 18. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  3. 3.0 3.1 "Welcome To Shahid Khan". Fulham F.C. 12 กรกฎาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013.
  4. 1879 according to the club history เก็บถาวร 13 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the official website and 1886/7 "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2009. สืบค้นเมื่อ 27 July 2009.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) according to 'How a church's cricket and football club became Fulham Football Club' – Morgan Phillips 2007.
  5. "Fulham - Historical Football Kits". Historicalkits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 16 July 2020.
  6. Longley, Scott (14 มีนาคม 2018). "A short history of betting shirt sponsorship in football (part 1)". SBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2018.
  7. Reuben, Anthony (22 กันยายน 2018). "Premier League shirts row: The fickle fashions of sponsorship". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2018.
  8. "World Mobile Fulham's official Principal Partner". WorldMobile.io. 27 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-05-21.
  9. "Fulham FC: MEN". Fulham F.C. 14 August 2024. สืบค้นเมื่อ 14 August 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "Captain's message". Fulham F.C. 21 มิถุนายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2018.
  11. Match Report – Fulham v QPR – 2 October 2011 เก็บถาวร 13 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sky Sports
  12. "BBC News | UK | Football fan jailed for killing rival supporter". news.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2 March 2018.
  13. "Fulham Appoint Marco Silva". Fulham FC. สืบค้นเมื่อ 1 July 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้