เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2023

เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ปี 2023 เป็นรอบชิงชนะเลิศของเอฟเอคัพ ฤดูกาล 2022–23, ครั้งที่ 142 ของทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก, สมาคมฟุตบอล ชาลเลนจ์ คัพ. ซึ่งจะลงเล่นที่ สนามกีฬาเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ, ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2023 ระหว่าง แมนเชสเตอร์ซิตี และ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นครั้งแรกของ แมนเชสเตอร์ดาร์บี ในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วย

เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2023
แมตช์นี้จะจัดขึ้นที่ สนามกีฬาเวมบลีย์
รายการเอฟเอคัพ ฤดูกาล 2022–23
วันที่3 มิถุนายน ค.ศ. 2023 (2023-06-03)
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
อิลไค กึนโดอัน (แมนเชสเตอร์ซิตี)
ผู้ตัดสินพอล เทียร์นีย์ (แลงคาเชอร์)[1]
ผู้ชม83,179 คน
สภาพอากาศมีเมฆเป็นบางส่วน
2022
2024

แมนเชสเตอร์ซิตีชนะนัดนี้ 2–1 ส่งผลให้เป็นแชมป์เอฟเอคัพของพวกเขาเป็นสมัยที่เจ็ดและเป็นดับเบิลแชมป์ในครั้งที่สอง. อิลไค กึนโดอัน ทำลายสถิติสำหรับประตูที่เร็วที่สุดในเอฟเอคัพ นัดชิงชนะเลิศ, ทำประตูได้ในเวลาเพียง 12 วินาที.

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ แก้

แมนเชสเตอร์ซิตี รอบ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
คู่แข่งขัน ผล คู่แข่งขัน ผล
เชลซี (H) 4–0 3 เอฟเวอร์ตัน (H) 3–1
อาร์เซนอล (H) 1–0 4 เรดิง (H) 3–1
บริสตอลซิตี (A) 3–0 5 เวสต์แฮมยูไนเต็ด (H) 3–1
เบิร์นลีย์ (H) 6–0 QF ฟูลัม (H) 3–1
เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด (N) 3–0 SF ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน (N) 0–0
(ต่อเวลา)

(ดวลลูกโทษ 7–6)
สัญลักษณ์: (H) = สนามทีมเหย้า; (A) = สนามทีมเยือน; (N) = สนามกลาง

ในฐานะสโมสรจากพรีเมียร์ลีก ทั้งแมนเชสเตอร์ซิตีและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเข้าสู่การแข่งขันในรอบที่สาม. ซิตีเริ่มต้นกับชัยชนะในบ้าน 4–0 เหนือ คู่ชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2022 เชลซี ที่ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์,[2] ในขณะที่ยูไนเต็ดชนะ เอฟเวอร์ตัน 3–1 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด.[3] ในรอบที่สี่, ซิตีอีกครั้งได้เล่นที่บ้าน, โดยพวกเขาเอาชนะอาร์เซนอล ผู้ที่ชนะเลิศเอฟเอคัพ 14 สมัยไปได้ 1–0.[4] ยูไนเต็ดยังต้องเจอกับการลงเล่นในบ้านอีกครั้งในรอบที่สี่, คว้าชัยชนะไปได้อีก 3–1 เหนือ เรดิง.[5] พวกเขาเก็บชัยชนะในบ้านได้อีก 3–1 ในรอบที่ห้า, เวลานี้พบกับ เวสต์แฮมยูไนเต็ด,[6] ในขณะที่ซิตีชนะ บริสตอลซิตี 3–0 ที่ สนามกีฬาแอชตันเกต.[7]

ในแมตช์รอบก่อนรองชนะเลิศ, แมนเชสเตอร์ซิตีกลับคืนสู่สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์, ซึ่งพวกเขาบันทึกเก็บชัยชนะ 6–0 เหนือ เบิร์นลีย์,[8] ในขณะที่ยูไนเต็ดชนะ 3–1 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด เป็นเกมที่สี่ติดต่อกันแล้ว, ฟูลัม ครั้งนี้เป็นทีมที่ตกเป็นฝ่ายตั้งรับ.[9] รอบรองชนะเลิศ ทั้งสองทีมลงเล่นที่ สนามกีฬาเวมบลีย์, กับซิตีเผชิญหน้ากับ เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด ในวันที่ 22 เมษายน และ ยูไนเต็ดจะพบกับ ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน ในวันถัดไป. ซิตีชนะของพวกเขาไปได้ 3–0,[10] ขณะที่ยูไนเต็ดและไบรท์ตันลงเล่นด้วยการเสมอกันไปแบบไร้สกอร์หลังจาก ช่วงต่อเวลาพิเศษ ที่ต้องมีการตัดสินกันด้วยการดวลลูกโทษ; ยูไนเต็ดชนะการยิงลูกโทษไป 7–6.[11]

แมตช์ แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แมนเชสเตอร์ซิตี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
GK 18   ชเต็ฟฟัน ออร์เทกา   81'
CB 2   ไคล์ วอล์กเกอร์   90+5'
CB 3   รูแบน ดียัช
CB 25   มานูเอ็ล อาคันจี
CM 5   จอห์น สโตนส์
CM 16   โรดริ   90'
RW 20   บือร์นาร์ดู ซิลวา
AM 17   เกฟิน เดอ เบรยเนอ   76'
AM 8   อิลไค กึนโดอัน (กัปตัน)
LW 10   แจ็ก กรีลิช   89'
CF 9   อาลิง โฮลัน
ผู้เล่นสำรอง:
GK 31   แอแดร์ซง
DF 6   นาตัน อาเก   89'
DF 14   แอมริก ลาปอร์ต   90+5'
DF 82   ริโค ลูวิส
MF 4   แคลวิน ฟิลลิปส์
MF 47   ฟิล โฟเดน   76'
MF 80   โคล พาลเมอร์
FW 19   ฆูเลียน อัลบาเรซ
FW 26   ริยาฎ มะห์รัซ
ผู้จัดการทีม:
  เปป กวาร์ดีโอลา
 
GK 1   ดาบิด เด เฆอา
RB 29   แอรอน แวน-บิสซากา   45+4'
CB 19   ราฟาแอล วาราน   83'
CB 2   วิกตอร์ ลินเดอเลิฟ
LB 23   ลู้ก ชอว์
CM 18   กาเซมีรู
CM 17   แฟรจี   79'
RW 8   บรูนู ฟือร์นังดึช (กัปตัน)
AM 14   เครสแจน อีเรกเซิน   62'
LW 25   เจดอน แซนโช   78'
CF 10   มาร์คัส แรชฟอร์ด
ผู้เล่นสำรอง:
GK 31   แจ็ก บัตแลนด์
DF 5   แฮร์รี แมไกวร์
DF 12   ตีเรลล์ มาลาเซีย
DF 20   ดีโยกู ดาโล
MF 39   สกอตต์ แม็กโทมิเนย์   83'
FW 27   เวาต์ เวคอสต์   78'
FW 28   ฟากุนโด เปลิสตริ
FW 36   แอนโทนี เอลังกา
FW 49   อาเลฆันโดร การ์นาโช   62'
ผู้จัดการทีม:
  เอริก เติน ฮัค

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
อิลไค กึนโดอัน (แมนเชสเตอร์ซิตี)

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[1]
นีล เดวีส์ (ลอนดอน)
สกอตต์ เลดเจอร์ (เซาท์ ยอร์คเชอร์)
ผู้ตัดสินที่สี่:[1]
ปีเตอร์ แบงก์ส (เมอร์ซีย์ไซด์)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:[1]
อาเดรียน โฮล์มส์ (เวสต์ ยอร์คเชอร์)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์:[1]
เดวิด คูต (นอตทิงแฮมเชอร์)
ผู้ช่วยของผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์:[1]
ไซมอน ลอง (คอร์นวอลล์)

กฏ-กติกา

  • 90 นาที
  • 30 นาทีของ การต่อเวลาพิเศษ ในกรณีที่จำเป็น
  • การดวลลูกโทษ ถ้าผลการแข่งขันยังคงเสมอกัน
  • มีรายชื่อตัวสำรองได้ถึงเก้าคน
  • การเปลี่ยนตัวสูงสุดได้ถึงห้าคน, กับคนที่หกอนุญาตได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ[note 1]

หมายเหตุ แก้

  1. แต่ละทีมจะได้รับโอกาสในการเปลี่ยนตัวเพียงแค่สามครั้งเท่านั้น, ด้วยโอกาสครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ, นับรวมการเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่เกิดขึ้นช่วงพักครึ่งแรก, ก่อนเริ่มต้นของช่วงต่อเวลาพิเศษและช่วงพักครึ่งเวลาแรกในช่วงต่อเวลาพิเศษ.

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Paul Tierney to referee 2023 Emirates FA Cup Final". The Football Association. 17 May 2023. สืบค้นเมื่อ 17 May 2023. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "officials" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. McNulty, Phil (8 January 2023). "Manchester City 4-0 Chelsea". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  3. Stone, Simon (6 January 2023). "Manchester United 3-1 Everton". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  4. McNulty, Phil (27 January 2023). "Manchester City 1-0 Arsenal". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  5. Sutcliffe, Steve (28 January 2023). "Manchester United 3-1 Reading". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  6. Emons, Michael (1 March 2023). "Manchester United 3-1 West Ham". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  7. Begley, Emlyn (28 February 2023). "Bristol City 0-3 Manchester City". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  8. Stone, Simon (18 March 2023). "Manchester City 6-0 Burnley". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  9. Stone, Simon (19 March 2023). "Manchester United 3-1 Fulham". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  10. McNulty, Phil (22 April 2023). "Manchester City 3-0 Sheffield United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  11. McNulty, Phil (23 April 2023). "Brighton 0-0 Man Utd (6-7 on pens)". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.