อาแอ็ส มอนาโก

(เปลี่ยนทางจาก AS Monaco FC)

อาซอซียาซียงสปอร์ตีฟว์เดอมอนาโก (ฝรั่งเศส: Association Sportive de Monaco Football Club) โดยทั่วไปเรียกว่า อาแอ็ส มอนาโก หรือย่อว่า มอนาโก เป็นสโมสรฟุตบอลฝรั่งเศส จากเมืองฟงวีแยย์ ประเทศโมนาโก สโมสรก่อตั้งในปี ค.ศ. 1924 ปัจจุบันเล่นอยู่ในลีกเอิง ลีกอันดับ 1 ของฟุตบอลฝรั่งเศส มีสนามกีฬาเหย้าคือสนามสต๊าด หลุยส์ เดอซ์

มอนาโก
ชื่อเต็มอาซอซียาซียงสปอร์ตีฟว์เดอมอนาโกแอ็สอา
ฉายามอนาโก
แดงขาว (ในประเทศไทย)
ชื่อย่อASM
ก่อตั้ง23 พฤศจิกายน 1924; 99 ปีก่อน (1924-11-23)
สนามStade Louis II
ความจุ16,500[1]
เจ้าของMonaco Sport Investment Ltd (66.67%)
ราชวงศ์กรีมัลดี (33.33%)
ประธานDmitry Rybolovlev
หัวหน้าผู้ฝึกสอนAdi Hütter
ลีกลีกเอิง
2022–23อันดับที่ 6
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าสโมสรตั้งอยู่ที่ประเทศโมนาโก แต่สโมสรก็ถือเป็นสโมสรฝรั่งเศส ในระบบการแข่งขันฟุตบอลของฝรั่งเศส และเพราะว่าโมนาโกไม่ได้เป็นสมาชิกของยูฟ่า ถือว่าเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศ ชนะในลีกเอิง 8 ครั้ง และได้ถ้วยกุปเดอฟร็องส์ 5 ครั้ง สโมสรยังได้แข่งในฟุตบอลยุโรป เคยเป็นรองชนะเลิศในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ปี ค.ศ. 1992 และ 2004 ตามลำดับ

ประวัติ

แก้

สโมสร เอเอส โมนาโก ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1919 โดยการเข้าไปร่วมกิจกรรมกับสโมสรท้องถิ่นของประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นกีฬาหลากหลายชนิดของโมนาโกก็ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1924 และเมื่อสโมสรฟุตบอลมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็ได้ก่อตั้งเป็นสโมสรฟุตบอล Monegasque sporting club ในตอนต้นสโมสรแข่งขันในลีกสมัครเล่นของลีกภูมิภาค the Provence-Alpes-Côte d’Azur region ในช่วงค.ศ. 1920 – 1933 โมนาโกได้รับเชิญจากสมาพันธ์ฟุตบอลประเทศฝรั่งเศสให้เข้าแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยเริ่มต้นในการแข่งขันในลีกระดับดิวิชั่น2 แต่ก็ล้มเหลวในฤดูกาลแรก อย่างไรก็ตามปีค.ศ.1948พวกเค้าสามารถเลื่อนชั้นมาแข่งในดิวิชั่น2 ได้อีกครั้ง และเลื่อนชั้นมาแข่งในลีกดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จในปีค.ศ.1953

ค.ศ.1960–2004 ความสำเร็จภายในประเทศและในเวทียุโรป

แก้

โมนาโกได้แชมป์ฟุตบอลระดับอาชีพครั้งแรกภายใต้การนำทีมของผู้จัดการทีมอย่าง ลูเชี่ยน เลอดุค เค้านำทีมคว้าถ้วยรางวัลชนะเลิศในรายการ the Coupe de France โดยการชนะทีม เซงเอเตียน ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ และปีถัดมาทีมก็คว้าแชมป์ในรายการเฟร้น แชมป์เปี้ยนชิพ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร และทีมยังผ่านการคัดเลือกไปแข่งขันฟุตบอลในระดับทวีปยุโรป ปีค.ศ.1963 เลอดุคยังพาทีมคว้าสองแชมป์ในรายการฟุตบอลลีกและบอลถ้วย หลังจากที่เค้าอำลาทีมไปในค.ศ.1963 สโมสรก็อยู่ในช่วงยากลำบากโดยมีอันดับของตารางคะแนนอยู่ในช่วงกลางๆ และสลับขึ้นชั้นตกชั้นระหว่างดิวิชั่น1และดิวิชั่น2อยู่ตลอด จนกระทั่งปีค.ศ.1975 จีน ลุยห์ คัมโพร่า ลูกชายของอดีตประธานสโมสร ชาร์ลส์ คัมโพร่า เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสร หลังจากนั้นฤดูกาลที่รับตำแหน่ง เค้าได้ดึง ลูเชี่ยน เลอดุค กลับมาคุมทีมอีกครั้งหนึ่ง และเลอดุคก็ช่วยให้ทีมเลื่อนชั้นขึ้นดิวิชั่นหนึ่งได้สำเร็จ และคว้าแชมป์ แชมป์เปี้ยนชิพ ได้ในปีค.ศ.1978 ต่อมาปีค.ศ.1979 เลอดุค ก็อำลาการคุมทีมอีกครั้ง สโมสรได้แต่งตั้งลูเซียน มูลเล่อ และ เจอราร์ด แบไนด์ หวังเข้ามาสานต่อความสำเร็จให้กับทีม แต่ก็ต้องผิดหวัง ทีมกลับไปอยู่ในสภาพย่ำแย่อีกครั้ง

ช่วงต้นค.ศ.1980 เป็นยุคเฟื้องฟูของสโมสร โดยทีมได้แชมป์แทบทุกปี ไม่ว่าจะเป็นการคว้าแชมป์ the Coupe de France ในค.ศ.1980 และ1985, เฟร้นแชมเปี้ยนชิพ ในค.ศ. 1982, เข้าชิงชนะเลิศ Coupe de France ในปีค.ศ.1984 และฤดูกาล 1985-1986 โมนาโกเอาชนะสโมสรบอร์กโดได้ถึง 9-0 เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสรเลยทีเดียว

ในส่วนของการแข่งขันฟุตบอลในรายการระดับยุโรปนั้น น่าผิดหวัง เมื่อทีมไม่เคยประสบความสำเร็จในรายการระดับนี้เลย โดยโมนาโกไม่เคยผ่านรอบแรกได้ ไม่ว่าจะเป็นการแพ้ต่อดันดี ยูไนเต็ด ในปีค.ศ.1981, แพ้ต่อ ซีเอสเคเอ โซเฟีย ในปีค.ศ.1982 และ 1984 และแพ้ต่อ ยูนิเวอร์ซิเตท คราอิโอว่า ในปีค.ศ.1985

ในปีค.ศ.1986 อดีตผู้จัดการทีมอาแจกซ์ สเตฟาน โควัคส์ ผู้ริเริ่มความคิดระบบโททอลฟุตบอลในการคว้าแชมป์ลีกในเนเธอแลนด์ ซึ่งประกาศรีไทร์ด้านฟุตบอลไปแล้ว3ปี ได้กลับมาเป็นผู้จัดการทีมโมนาโกอีกครั้ง แต่เค้าก็ไม่เคยนำทีมประสบความสำเร็จได้เลย ทำให้สโมสรตกอยู่ในช่วงยากลำบากอีกครั้ง ต่อมาสโมสรได้แต่งตั้งผู้จัดการทีมที่ไร้ชื่อเสียงอย่าง อาเซน เวงเกอร์ ซึ่งกำลังคุมทีมน๊องซี่อยู่และไม่เคยประสบความสำเร็จเลย ในช่วงที่เวงเกอร์คุมทีมนั้นเป็นช่วงเวลาที่สโมสรประสบความสำเร็จมากมาย โดยเค้าได้เซ็นสัญญานักเตะมากมายไม่ว่าจะเป็น จอร์จ เวอาห์, เกร็น ฮ๊อดเดิ้ล, เจอเก้น คลิ๊นแมน และยูริ ดากอร์เยฟ และด้วยนโยบายเน้นสร้างทีมเยาวชนทำให้ได้นักเตะระดับแชมป์โลกที่ผ่านการสร้างโดยสโมสรอย่าง เอ็มมานูเอล เปอตีต์, ลิลิยอง ตูราม และเทอรี่ อองรี เวงเกอร์นำทีมได้แชมป์ฟุตบอลลีกตั้งแต่ฤดูกาลแรกทีมคุมทีมคือปีค.ศ.1988 และคว้าแชมป์ the Coupe de France ในปีค.ศ.1991 และได้แข่งขันในรายการฟุตบอลยุโรปอย่างต่อเนื่อง และมีลุ้นแชมป์ทุกปี นี่เป็นช่วงเวลาที่สมสรประสบความสำเร็จมากที่สุดจนกระทั่งปีค.ศ.1993 ที่เวงเกอร์รู้สึกว่าตารางการแข่งขันไม่เป็นธรรม โดยเอื้อประโยชน์ให้กับทีมมาร์กเซย์ ในปีค.ศ.1994 สโมสรได้ยับยั้งสโมสรยักษ์ใหญ่จากเยอรมัน บาร์เยิร์นมิวนิก ในการดึงเวงเกอร์ไปเป็นผู้จัดการทีม ในตำแหน่งที่ว่างลง แต่หลังจากนั้นไม่นานเวงเกอร์กก็ออกจากทีม

หลังจากเวงเกอร์ออกจากทีมไป สโมสรก็ได้แชมป์แชมป์เปี้ยนชิพอีก 2 ครั้ง ภายใต้การคุมทีมของติกาน่า คือในปีค.ศ.1997 และการทีมทีมของ เคล้าด์ ปูเอล ในปีค.ศ.2000 อย่างไรก็ตามช่วงปลายทศวรรษมีข่าวลือมากมายเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินของสโมสร ปีค.ศ.2003 ปัญหาทางการเงินทวีความรุนแรงมากขึ้นออแม้จะจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สอง ของลีกดิวิชั่น 1 แต่ด้วยปัญหาหนี้สินกว่า68ล้านดอลล่าสหรัฐ ทำให้ทีมถูกลดชั้นไปแข่งในดิวิชั่น 2 และถูกห้ามซ้อนักเตะเข้าสโมสรอีกต่างหาก ด้วยปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ประธานาธิบดี จีน ลุยห์ คัมโพร่า ที่เป็นประธานสโมสรมากว่า 28 ปีต้องวางมือลง โดยมี ปีแอร์ เซียร่า ครอบครัวใกล้ชิดของเจ้าชายผู้ครองนครรัฐเข้ามาสานต่อ โดยที่เค้าไม่มีประสบการณ์ด้านฟุตบอลเลย

ไม่น่าเชื่อว่า ด้วยปัญหาการเงินที่รุมเร้า ทีมก็ยังประสบความสำเร็จในการแข่งขันดีทีเดียว ภายใต้อดีตกับตันทีมชาติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมอย่าง ดิดิเย่ เดอชองส์ ผสมกับนักเตะอย่าง เฟอนานโด มอริเอนเตส, ลูโดวิค จิโอลี, เจอโรม โรเธน และ ดาโด เพลโซ ทีมคว้าอันดับที่3ของดิวิชั่น 1 และได้เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าแชมป์เปี้ยนลีก โดยเอาชนะทีมอย่าง เรอัลมาดริด และเชลซีมาได้ อย่างไรก็ตามฤดูกาล 2003-2004 ทีมประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเงินมากเป็นประวัติการณ์ ในช่วง 12 เดือนดัน เดอชองส์ ได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีม เซียร่าก็ถูกแทนทีมด้วยประธานสโมสรคนใหม่อย่าง มิเชล ปาสตอร์

ตกชั้นและการเปลี่ยนแปลง

แก้

หลังจากที่เดอชองส์ลาออกไป ทีมก็ได้ ฟราเชสโก ควิโดลิน มุมทีมแทน สิ่งแรกที่ปาสตอร์ทำคือการพยายามรั้งผู้เล่นคนสำคัญไว้ในทีม เพื่อสานต่อความสำเร็จในระดับยุโรป แต่เค้าก็ทำไม่สำเร็จ ควิโดลินคุมทีมได้ 1 ปี ก็ถูกแทนที่ด้วยผู้ช่วยของเค้าอย่าง โลรองต์ แบไนด์ ก่อนที่ปีถัดมาจะได้ผู้จัดการทีมชาวบราซิลมาแทนคือ ริคาร์โด้ โกเมส ปีค.ศ.2008 หลังจาก 4 ปีที่สโมสรเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีมถึง 6 คน ปาสตอร์ก็ออกจากสโมสรท่ามกลางเสียงวิจารณ์ที่รุนแรงในการบริหารงานของเขา

ปีค.ศ. เจอโรม เดอ โบนติน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสโมสร ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงสโมสร และนำนักเตะอย่าง พาร์ค จู ยัง และ เฟร็ดดี้ อาดู เข้ามาสู่ทีม แต่เค้าก็ไม่อาจนำความสำเร็จด้านการแข่งขันมาสู่ทีมได้ โดยทีมทำได้แค่เกาะกลุ่มกลางตารางอันดับคะแนน เดอ โบนติน ได้ลาออกหลังจบฤดูกาลนั้น และถูกแทนที่ด้วยนายธนาคาร เอเตียน ฟรานซี่ พร้อมคณะกรรมการทีมชุดใหม่

เดือนกรกฎคม ค.ศ.2009 ริคาร์โด โกเมส ถูกแทนที่ด้วย อดีตโค้ชทีม ก๊อง และ นองซี่ อย่าง เกย์ ลาคอมเบ เค้าได้ดึงนักเตะเยาวชนมาเล่นให้กับทีมมากมายได้แก่ เซดริค โมงกงกู, เซอจี้ กาคเป้, วินซอง มูราโตรี, เฟรเดอริค นีมานี, นิโคลาส เอ็น คูลู, พาร์ค จู ยัง, โยฮัน มอโล และโยฮานน์ ตูราม อูลิยอง ในฤดูกาลแรกลาคอมเบนำทีมจบด้วยอันดับที่8ของตาราง ฤดูกาลที่สองเค้าก็ยังไม่สามารถเรียกฟอร์มเก่งของทีมได้ เดือนมกราคม ค.ศ.2011 โมนาโกอยู่อันดับที่ 17 เค้าถูกไล่ออกและแทนที่ด้วยโลรองต์ แบไนด์ แต่เค้าก็ไม่สามารถช่วยให้ทีมรอดตกชั้นได้ หลังจบฤดูกาลโมนาโกได้อันดับที่ 18 ตกชั้นไปแข่งในดิวิชั่น 2

เดือนธันวาคม มาหาเศรษฐีชาวรัสเซียได้ซื้อหุ้นสโมสรกว่า 66.67% ขณะนั้นทีมยังอยู่ในดิวิชั่น 2 แบไนด์เริ่มต้นฤดูกาล 2011-2012 ได้ไม่ดีนัก ทำให้เค้าถูกไล่ออก และแทนที่ด้วยผู้จัดการทีมชาวอิตาลี มาร์โค ซิโมเน่ หลังจากจบฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 8 สโมสรได้ตั้งเป้าที่จะเลื่อนชั้นและไล่ซิโมเน่ออก แต่งตั้ง คราดิโอ รานิเอรี เป็นผู้จัดการทีมแทน ด้วยการคุมทีมสไตล์ฟุตบอลเชิงบุก ทีมทำได้ 64 ประตูในฤดูกาล 2012-2013 โดยแพ้เพียงแค่ 4 นัด จบฤดูกาลโมนาโกคว้าแชมป์ เลื่อนชั้นกลับไปดิวิชั่น 1 ปีค.ศ.2013 Rybolovlev ทำให้โมนาโกเป็นทีมที่จ่ายเงินซื้อนักเตะมากที่สุดในยุโรป กว่า140ล้านปอนด์ โดยซื้อนักเตะเป็นสถิติสโมสรอย่าง ราดาเมล ฟัลเกา จากอัตเลติโกเดมาดริด 50ล้านปอนด์, เจมส์ โรดริเกวซ จากปอร์โต 40ล้านปอนด์ จบฤดูกาลนั้นทีมได้อันดับที่2ของตาราง ต่อมาทีมเปลี่ยนผู้จัดการทีมคนใหม่เป็น ลีโอนาร์โด จาร์ดิม ฤดูกาลถัดมาโมนาโกลดค่าใช้จ่ายในทีมลงด้วยการขายโรดริเกวซให้กับเรอัลมาดริด 75 ล้านปอนด์ และการปล่อยยืม ราดาเมล ฟัลเกาให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด หลังจากนั้นโมนาโกจบฤดูกาลด้วยอันดับ 3 และเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลแชมป์เปี้ยนลีก โดยชนะอาร์เซนอลในรอบ16ทีม ก่อนจะตกรอบด้วยนำมือทีมยูเวนตุส ฤดูกาล 2013-2-14 นักเตะดาวยิงของทีมอย่าง อองโตนี มาร์เทียล ย้ายไปอยู่ทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัว 60 ล้านปอนด์ ถือเป็นสถิติค่าตัวนักเตะระดับเยาวชนที่แพงที่สุดในขณะนั้น และเมื่อรวมกับการขายนักเตะออกไปมากมาย ฤดูกาลนั้นโมนาโกขายนักเตะได้เงินถึง 180 ล้านปอนด์

ค.ศ.2017 คว้าแชมป์ลีกเอิง

แก้

โมนาโกคว้าแชมป์ลีกเอิง ได้สำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม 2017 โดยชนะทีม เซง เอเตียน 2-0 และ คีเลียน เอ็มบับเป้ ทำ 30 ประตู และ26ประตูในลีค ช่วยให้โมนาโกคว้าแชมป์ลีกเอิง ได้ ในรอบ 17 ปี โดยโมนาโกไม่แพ้ใครถึง20นัดติดต่อกัน โดยชนะถึง 18 นัดอีกด้วย ช่วงต้นฤดูกาลโมนาดกเอาชนะทีม เฟเนบาเช่ และ บียาร์รีล ผ่านเค้าไปเล่นรอบแบ่งกลุ่มในฟุตบอล ยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก 2016-2017 ก่อนจะคว้าแชมป์กลุ่ม ไปชนะทีมแมนเชสเตอร์ซิตี ในรอบแรกและชนะโบรุสเซียร์ ดอร์ทมุนท์ในรอบสอง ก่อนจะตกรอบด้วยน้ำมือยูเวนตุส ช่วงปิดฤดูกาล คีเลียน เอ็มบับเป้ ถูกขายให้กับทีม PSG ด้วยราคาถึง 180 ล้านปอนด์ ราคาสูงเป็นอันดับ2รองจากเนย์มาร์ และขายเบอร์นาร์โด ซิลวา, เบนจามิน เมนดี้ ให้กับแมนเชสเตอร์ซิตีรวม 100 ล้านปอนด์ ตีมัวร์ บากาโยโก ให้เชลซี ในราคา 40 ล้านปอนด์ อย่างไรก็ตามฤดูกาล 2017-2018 โมนาโกคว้าอันดับสอง ของตาราง แต่ทำได้เพียง 2 คะแนนในการแข่งขันแชมป์เปี้ยนลีกรอบแบ่งกลุ่ม

เกียรติประวัติ

แก้

  ระดับประเทศ

แก้
  • ลีกเอิง
    • ชนะเลิศ (8): 1960–61, 1962–63, 1977–78, 1981–82, 1987–88, 1996–97, 1999–00, 2016–17
  • ช็องปียอนาเดอฟร็องซามาเตอร์
    • ชนะเลิศ (3): 1963–64, 1970–71, 2007–08
  • กุปชาร์ลดราโก
    • ชนะเลิศ (1): 1961

  ระดับทวีปยุโรป

แก้

ผู้เล่น

แก้

ชุดปัจจุบัน

แก้

ข้อมูลเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 2020 (2020 -01-01)[2]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   ดานิเย็ล ซูบาชิช (กัปตัน)
2 DF   โฟเด บัลโล-ตูเร
3 DF   กีเยร์โม มารีปัน
4 MF   เซสก์ ฟาเบรกัส
5 DF   เฌเมร์ซง
6 MF   ตีเยมูเอ บากายอโก ​(ยืมตัวจากเชลซี​)​
7 FW   เฮนรี ออนเยคูรู
8 MF   อาดริง ซิลวา ​(ยืมตัวจากเลสเตอร์ ซิตี​)​
9 FW   วีซาม แบน แยแดร์
11 FW   แฌลซัน มาร์ติงช์
12 DF   รูแบน อากีลาร์
13 FW   วิลเลม กุบแบลส์
14 FW   เกอิตา บัลเด
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 GK   ดีเอโก เบนาลโย
17 MF   อะเลคซันดร์ โกโลวิน
18 DF   อาร์ตูร์ ซาแกร
19 FW   ปิเอโตร เปลเลกรี
20 FW   อิสลาม สลีมานี ​(ยืมตัวจากเลสเตอร์ ซิตี​)​
22 FW   ฌอง-เกแว็ง ออกัสแต็ง ​(ยืมตัวจากแอร์เบ ไลพ์ซิช​)​
25 DF   คามิล กลิค
26 MF   กาเบรียล บอสชีเลีย
27 DF   นัลโด
30 GK   เซย์ดู ซี
31 MF   กิล ดิแอซ
32 DF   เบอนัวต์ บาเดียชิล
34 MF   มุสซา ซิลลา
39 DF   เบ็นยามีน เฮ็นริชส์

อ้างอิง

แก้
  1. "Presentation of the Stade Louis-II". asmonaco.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-23. สืบค้นเมื่อ 13 October 2021.
  2. "Players". AS Monaco FC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้