บุนเดิสลีกา

ลีกฟุตบอลอาชีพระดับสูงสุดในเยอรมนี

บุนเดิสลีกา (เยอรมัน: Bundesliga) เป็นระบบการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศเยอรมนี เริ่มก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1962 ที่เมืองดอร์ทมุนท์ และฤดูกาลแรกเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1963 ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน

บุนเดิสลีกา
ก่อตั้ง1963; 61 ปีที่แล้ว (1963)
ประเทศเยอรมนี เยอรมนี
สมาพันธ์ยูฟ่า
จำนวนทีม18
Levelในพีระมิด1
ตกชั้นสู่ซไวเทอบุนเดิสลีกา
ถ้วยระดับประเทศเดเอ็ฟเบ-โพคาล
เดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพ
ถ้วยระดับลีกเดเอ็ฟเอ็ล-ลีกาโพคาล
ถ้วยระดับนานาชาติยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่ายูโรปาลีก
ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ทีมชนะเลิศปัจจุบันไบเอิร์นมิวนิก (32 สมัย)
(2022–23)
ชนะเลิศมากที่สุดไบเอิร์นมิวนิก (32 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์สไกด็อยทช์ลันท์
อาแอร์เด
บีอินสปอตส์
พีพีทีวี (บางคู่)
เว็บไซต์www.bundesliga.com/en/
ปัจจุบัน: 2023–24

บุนเดิสลีกาแบ่งเป็น 2 ลีก คือ "ลีก 1" (First Bundesliga) รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "บุนเดิสลีกา" และ "ซไวเทอบุนเดิสลีกา" (Second Bundesliga) ซึ่งแยกออกมาจากลีก 1 เมื่อ ค.ศ. 1974 ในประเทศเยอรมนีมีแต่บุนเดิสลีกา 2 ลีกเท่านั้นที่เป็นลีกฟุตบอลอาชีพ

บุนเดิสลีกาเป็นลีกฟุตบอลอาชีพในประเทศเยอรมนีที่มีผู้เข้าร่วมในสนามโดยเฉลี่ยต่อเกมสูงที่สุดในโลกในบรรดาลีกทั้งหมด บุนเดิสลีกาประกอบด้วยทีม 18 ทีม ฤดูกาลเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤษภาคม เกมส่วนใหญ่จะเล่นในวันเสาร์และอาทิตย์โดยมีเกมไม่กี่เกมที่เล่นในวันธรรมดา ทุกสโมสรใน Bundesliga มีสิทธิ์ได้เล่น เดเอ็ฟเบ-โพคาล

ทีมที่คว้าแชมป์สูงสุดคือ ไบเอิร์นมิวนิก 32 สมัย โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 5 สมัย โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 5 สมัย

ประวัติ แก้

ค.ศ. 1963–1973 ยุคหลังสงคราม ก่อตั้งบุนเดิสลีกา แก้

ตั้งแต่ปี 1920 มีการวางแผนที่จะก่อตั้งฟุตบอลลีกอาชีพในระดับชาติขึ้นมา แต่มีกระแสต่อต้านและไม่เห็นด้วย เนื่องจากในยุคนั้นความเข้มแข็งของฟุตบอลในภูมิภาคในแคว้นยังมีมากอยู่ แต่เดิมใช้ในนามชื่อ การแข่งขันชิงชนะเลิศฟุตบอลเยอรมัน ต่อมาในฤดูร้อนปี 1962 ภายหลังความล้มเหลวของทีมชาติเยอรมนีตะวันตกในฟุตบอลโลกปี 1962 ที่พ่ายให้กับยูโกสลาเวียในรอบ 8 ทีมสุดท้าย 0-1 สมาคมฟุตบอลเยอรมัน จึงได้ตัดสินใจก่อตั้งแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อ บุนเดิสลีกา ซึ่งเป็นฟุตบอลลีกอาชีพที่แข่งทั้งประเทศ (เยอรมนีตะวันตก) เป็นลีกสูงสุดเป็นครั้งแรก และมี Oberliga (upper league) หรือ Reoaliga (ลีกภูมิภาค) ในปัจจุบัน เป็นลีกระดับสอง โดยถูกแบ่งออกเป็น 5 โซน – เหนือ, ตะวันตก, ตะวันตกเฉียงใต้, ใต้, เบอร์ลินตะวันตก ซึ่งในช่วง 2 ปีแรก บุนเดิสลีกามี 16 ทีม แต่เพิ่มเป็น 18 ทีมในปี 1965, การตกชั้น ตก 2 ทีม, การเลื่อนจากโอเบอร์ลีกา 2 ทีมแชมป์และรองแชมป์จากทั้ง 5 กลุ่ม รวม10 มาแข่งในรอบสุดท้ายแบบทัวร์นาเมนต์ เพื่อหา 2 ทีมเลื่อนชั้นไปบุนเดิสลีกา

ค.ศ. 1974–1981 แก้

ลีกระดับ 2 ได้ถูกยุบรวมเหลือเพียง 2 ลีก เป็นลีกโซนเหนือและลีกโซนใต้ โดยมีฝั่งละ 20 ทีม และเรียกว่า บุนเดิสลีกา 2 การเลื่อนชั้นไปบุนเดิสลีกา เลื่อน 3 ทีม แชมป์แต่ละโซนได้เลื่อนชั้นโดยตรง ทีมอันดับ 2 ของทั้งสองโซน มาแข่งเพลย์ออฟ กันเพื่อหาอีก 1 ทีม เลื่อนชั้นตามไปเป็นทีมที่ 3

ค.ศ. 1981–1991 แก้

ในปี 1981 ลีกระดับ 2 คือ บุนเดิสลีกา 2 ได้ถูกรวมเป็นลีกเดียว แข่งทั่วประเทศ โดยมีทีม 20 ทีม

ค.ศ. 1991–1994 การรวมชาติและรวมลีก แก้

ระบบลีกของเยอรมนีตะวันตกได้รวมกับลีกของเยอรมนีตะวันออก ในปี 1991 จำนวนทีมในบุนเดิสลีกา เพิ่มขึ้นเป็น 20 ทีม จำนวนทีมในบุนเดสลีก 2 เพิ่มขึ้นเป็น 24 ทีม ในปี 1991 ก่อนที่จะลดจำนวนลงเหลือ 20 ทีม ในปี 1993 และ เหลือ 18 ทีมในปี 1994

ค.ศ. 1994–2000 แก้

ในปี 1994 ลีกระดับภูมิภาคได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาอีกครั้ง ในลีกระดับ3ของระบบฟุตบอลลีกเยอรมัน โดยถูกจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้, ใต้) ในปีแรกหรือปี 1994 นั้น แชมป์ ของทั้ง 4 ลีก ได้สิทธิเลื่อนชั้น โดยตรง แต่ในปีต่อ ๆ มา แชมป์จากโซนใต้ได้สิทธิ์เลื่อนชั้น1ทีม แชมป์จากโซนตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ได้สิทธิเลื่อนชั้น 1 ทีม

อีก 2 ทีม แชมป์จากโซนเหนือและโซนตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องเพลย์ออฟกัน เพื่อหา 1 ทีมเลื่อนชั้น ส่วนอีกทีม ให้สิทธิ รองแชมป์จากโซนใต้ กับ รองแชมป์โซนตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ เพลย์ออฟกันเพื่อหาอีก 1 ทีมเลื่อนชั้น

ค.ศ. 2000–2008 แก้

ลีกระดับ 3 ยุบเหลือ 2 ลีก เหนือและใต้ โดยแชมป์และรองแชมป์ เลื่อนสู่บุนเดิสลีกา 2

ค.ศ. 2008–ปัจจุบัน แก้

ในปี 2006 สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ตัดสินใจก่อตั้ง ลีกา 3 ที่จัดแข่งรวมทั้งประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีกำหนดให้เริ่มใช้ในปี 2008-09 ในฤดูกาลแรก 2008-09 20 ทีมจะมาจาก 4 ทีมที่ตกชั้นจากบุนเดิสลีกา 2 ทั้งหมด 16 ทีม อันดับ 3-10 ของลีกภูมิภาค ทั้งโซนเหนือ 8 ทีม และโซนใต้อีก 8 ทีม

โครงสร้างของลีก แก้

เมื่อจบฤดูกาล 2 ทีมอันดับสุดท้ายของตารางจะตกชั้นลงไปเล่นในซไวเทอบุนเดิสลีกา และ ทีมอันดับ 1 และ 2 (แชมป์และรองแชมป์) จากซไวเทอบุนเดิสลีกาจะเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในบุนเดิสลีกา ส่วนทีมอันดับ 16 ของบุนเดิสลีกาจะเล่นเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 3 ของซไวเทอบุนเดิสลีกาเพื่อหาทีมลงเล่นในบุนเดิสลีกาประจำฤดูกาลถัดไป

4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยสี่ทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม(ทีมชนะเลิศได้อยู่โถ 1) ส่วนอันดับ 5 จะมีสิทธิเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2022–23) แก้

ที่ตั้งของทีมในบุนเดิสลีกา ฤดูกาล 2022–23
ทีม ที่ตั้ง สนาม ความจุ
(ที่นั่ง)
Ref.
เอ็ฟเซ เอาคส์บวร์ค เอาคส์บวร์ค เวเวคาอาเรนา 30,660 [1]
แฮร์ทา เบเอ็สเซ เบอร์ลิน โอลึมพีอาชตาดีอ็อน 74,649 [2]
อูนีโอนแบร์ลีน เบอร์ลิน ชตาดีอ็อนอันแดร์อัลเทินเฟิร์สเทอไร 22,012 [3]
เฟาเอ็ฟเอ็ล โบคุม โบคุม โฟโนเฟีย รูห์รชตาดีอ็อน 27,599 [4]
แวร์เดอร์เบรเมิน เบรเมิน โวห์นินเวสต์ เวเซอร์ชตาดีอ็อน 42,100 [5]
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ดอร์ทมุนท์ ซิกนาลอีดูนาพาร์ค 81,365 [6]
ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท แฟรงก์เฟิร์ต ค็อมแมทซ์บังค์-อาเรนา 51,500 [7]
เอ็สเซ ไฟรบวร์ค ไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา ชวาทซ์วัลท์-ชตาดีอ็อน 24,000 [8]
1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ ซินส์ไฮม์ พรีซีโรอาเรนา 30,150 [9]
แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ โคโลญ ไรน์เอแนร์กีชตาดีอ็อน 49,698 [10]
แอร์เบ ไลพ์ซิช ไลพ์ซิช เร็ทบุลอาเรนา 42,558 [11]
ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน เลเวอร์คูเซิน ไบอาเรนา 30,210 [12]
ไมนทซ์ 05 ไมนทซ์ โอเพิลอาเรนา 34,000 [13]
โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค เมินเชินกลัทบัค โบรุสซีอา-พาร์ค 59,724 [14]
ไบเอิร์นมิวนิก มิวนิก อัลลีอันทซ์อาเรนา 75,000 [15]
ชัลเคอ 04 เก็ลเซินเคียร์เชิน เฟ็ลทินส์-อาเรนา 62,271 [16]
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท ชตุทท์การ์ท แมร์ทเซเด็ส-เบ็นทซ์อาเรนา 60,449 [17]
เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค ว็อลฟส์บวร์ค ฟ็อลคส์วาเกินอาเรนา 30,000 [18]

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ แก้

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามปี แก้

ฤดูกาล ชนะเลิศ รองชนะเลิศ
1963–64 แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ เอ็มเอ็สเฟา ดืสบวร์ค
1964–65 เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์
1965–66 เทเอ็สเฟา 1860 มึนเชิน โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
1966–67 ไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ เทเอ็สเฟา 1860 มึนเชิน
1967–68 แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เนือร์นแบร์ค เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน
1968–69 ไบเอิร์นมิวนิก อเลมันนีอาอาเคิน
1969–70 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ไบเอิร์นมิวนิก
1970–71 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ไบเอิร์นมิวนิก
1971–72 ไบเอิร์นมิวนิก ชัลเคอ 04
1972–73 ไบเอิร์นมิวนิก แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์
1973–74 ไบเอิร์นมิวนิก โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค
1974–75 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค แฮร์ทา เบเอ็สเซ
1975–76 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา
1976–77 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ชัลเคอ 04
1977–78 แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค
1978–79 ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา เฟาเอฟเบชตุทท์การ์ท
1979–80 ไบเอิร์นมิวนิก ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา
1980–81 ไบเอิร์นมิวนิก ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา
1981–82 ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์
1982–83 ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน
1983–84 เฟาเอฟเบชตุทท์การ์ท ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา
1984–85 ไบเอิร์นมิวนิก เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน
1985–86 ไบเอิร์นมิวนิก เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน
1986–87 ไบเอิร์นมิวนิก ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา
1987–88 เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน ไบเอิร์นมิวนิก
1988–89 ไบเอิร์นมิวนิก แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์
1989–90 ไบเอิร์นมิวนิก แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์
1990–91 ไคเซิร์สเลาเทิร์น ไบเอิร์นมิวนิก
1991–92 เฟาเอฟเบชตุทท์การ์ท โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
1992–93 เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน ไบเอิร์นมิวนิก
1993–94 ไบเอิร์นมิวนิก ไคเซิร์สเลาเทิร์น
1994–95 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน
1995–96 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ไบเอิร์นมิวนิก
1996–97 ไบเอิร์นมิวนิก ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน
1997–98 ไคเซิร์สเลาเทิร์น ไบเอิร์นมิวนิก
1998–99 ไบเอิร์นมิวนิก ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน
1999–00 ไบเอิร์นมิวนิก ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน
2000–01 ไบเอิร์นมิวนิก ชัลเคอ 04
2001–02 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน
2002–03 ไบเอิร์นมิวนิก เฟาเอฟเบชตุทท์การ์ท
2003–04 เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน ไบเอิร์นมิวนิก
2004–05 ไบเอิร์นมิวนิก ชัลเคอ 04
2005–06 ไบเอิร์นมิวนิก เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน
2006–07 เฟาเอฟเบชตุทท์การ์ท ชัลเคอ 04
2007–08 ไบเอิร์นมิวนิก เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน
2008–09 เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค ไบเอิร์นมิวนิก
2009–10 ไบเอิร์นมิวนิก ชัลเคอ 04
2010–11 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน
2011–12 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ไบเอิร์นมิวนิก
2012–13 ไบเอิร์นมิวนิก โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
2013–14 ไบเอิร์นมิวนิก โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
2014–15 ไบเอิร์นมิวนิก เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค
2015–16 ไบเอิร์นมิวนิก โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
2016–17 ไบเอิร์นมิวนิก แอร์เบ ไลพ์ซิช
2017–18 ไบเอิร์นมิวนิก ชัลเคอ 04
2018–19 ไบเอิร์นมิวนิก โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
2019–20 ไบเอิร์นมิวนิก โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
2020–21 ไบเอิร์นมิวนิก แอร์เบ ไลพ์ซิช
2021–22 ไบเอิร์นมิวนิก โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
2022–23 ไบเอิร์นมิวนิก โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามสโมสร แก้

สโมสร ชนะเลิศ (สมัย) ปีที่ชนะเลิศ
ไบเอิร์นมิวนิก      32 1968–69, 1971–72, 1972–73, 1973–74, 1979–80, 1980–81, 1984–85, 1985–86, 1986–87, 1988–89, 1989–90, 1993–94, 1996–97, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2002–03, 2004–05, 2005–06, 2007–08, 2009–10, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2016–17, 2017–18, 2018–19, 2019–20, 2020–21, 2021–22, 2022–23
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์   5 1994–95, 1995–96, 2001–02, 2010–11, 2011–12
โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค   5 1969–70, 1970–71, 1974–75, 1975–76, 1976–77
แวร์เดอร์เบรเมิน  4 1964–65, 1987–88, 1992–93, 2003–04
ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา  3 1978–79, 1981–82, 1982–83
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท  3 1983–84, 1991–92, 2006–07
ไคเซิร์สเลาเทิร์น 2 1990–91, 1997–98
แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ 2 1963–64, 1977–78
แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เนือร์นแบร์ค 1 1967–68
เทเอสเฟา 1860 มิวนิก 1 1965–66
เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค 1 2008–09
ไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ 1 1966–67

สถิติผู้ชนะเลิศ แก้

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามรัฐ แก้

รัฐ สมัย ทีมชนะเลิศ
ไบเอิร์น
34
ไบเอิร์นมิวนิก (32), แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เนือร์นแบร์ค (1), เทเอสเฟา 1860 มิวนิก (1)
นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน
12
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ (5), โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค (5), แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ (2)
เบรเมิน
4
แวร์เดอร์เบรเมิน (4)
ฮัมบวร์ค
3
ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา (3)
บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
3
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท (3)
ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์
2
ไคเซิร์สเลาเทิร์น (2)
นีเดอร์ซัคเซิน
2
เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค (1), ไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ (1)

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามเมือง แก้

เมือง สมัย ทีมชนะเลิศ
มิวนิก
33
ไบเอิร์นมิวนิก (32), เทเอสเฟา 1860 มิวนิก (1)
ดอร์ทมุนท์
5
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ (5)
เมินเชินกลัทบัค
5
โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค (5)
เบรเมิน
4
แวร์เดอร์เบรเมิน (4)
ฮัมบวร์ค
3
ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา (3)
ชตุทท์การ์ท
3
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท (3)
โคโลญ
2
แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ (2)
ไคเซิร์สเลาเทิร์น
2
ไคเซิร์สเลาเทิร์น (2)
เนือร์นแบร์ค
1
แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เนือร์นแบร์ค (1)
ว็อลฟส์บวร์ค
1
เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค (1)
เบราน์ชไวค์
1
ไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ (1)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Zahlen und Fakten". fcaugsburg.de (ภาษาเยอรมัน). FC Augsburg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  2. "Das Berliner Olympiastadion". herthabsc.de (ภาษาเยอรมัน). Hertha BSC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  3. "Unsere Heimat seit 1920". fc-union-berlin.de (ภาษาเยอรมัน). 1. FC Union Berlin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2019. สืบค้นเมื่อ 28 May 2019.
  4. "Zahlen und Fakten: Über das Stadion" [Facts and figures: About the stadium]. VfL Bochum (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-03. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  5. "The wohninvest WESERSTADION". werder.de. SV Werder Bremen. สืบค้นเมื่อ 15 May 2022.
  6. "Signal Iduna Park". bvb.de (ภาษาเยอรมัน). Borussia Dortmund GmbH & Co. KGaA. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  7. "Eckdaten". eintracht.de (ภาษาเยอรมัน). Eintracht Frankfurt. 2 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-05. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  8. "Schwarzwald-Stadion". scfreiburg.com (ภาษาเยอรมัน). SC Freiburg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2017.
  9. "Die Wirsol Rhein-Neckar-Arena in Zahlen". achtzehn99.de (ภาษาเยอรมัน). TSG 1899 Hoffenheim Fußball-Spielbetriebs GmbH. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  10. "RheinEnergieSTADION". rheinenergiestadion.de. Kölner Sportstätten GmbH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-06. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  11. "Daten und Fakten". dierotenbullen.com (ภาษาเยอรมัน). RasenBallsport Leipzig. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-17. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  12. "Die BayArena". bayer04.de (ภาษาเยอรมัน). Bayer 04 Leverkusen Fußball GmbH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-16. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  13. "Unsere Arena". mainz05.de (ภาษาเยอรมัน). 1. FSV Mainz 05 e. V. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  14. "Das ist Der Borussia-Park". borussia.de (ภาษาเยอรมัน). Borussia Mönchengladbach. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  15. "Allgemeine Informationen zur Allianz Arena". allianz-arena.com (ภาษาเยอรมัน). FC Bayern München AG. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  16. "Die VELTINS-Arena". schalke04.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
  17. "Daten & Fakten". mercedes-benz-arena-stuttgart.de (ภาษาเยอรมัน). VfB Stuttgart Arena Betriebs GmbH. สืบค้นเมื่อ 21 May 2017.
  18. "Daten und Fakten". vfl-wolfsburg.de (ภาษาเยอรมัน). VfL Wolfsburg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-26. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้