ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี

ทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเยอรมนี

ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsche Fußballnationalmannschaft) เป็นทีมฟุตบอลของประเทศเยอรมนีในการแข่งขันระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (ก่อตั้งใน ค.ศ. 1900) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) และสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยลงแข่งขันทางการนัดแรกใน ค.ศ. 1908 และภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฟีฟ่าได้ให้การรับรองทีมเยอรมนีตะวันตก (สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี), ทีมซาร์ลันด์ และทีมเยอรมนีตะวันออก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) ในการแข่งขันทางการ[9] เยอรมนีตะวันตกลงเล่นในฐานะตัวแทนของสมาคมฟุตบอลเยอรมันระหว่าง ค.ศ. 1949–1990 ในขณะที่ทีมซาร์ลันด์เป็นตัวแทนของรัฐซาร์ลันด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1950–56 และทีมชาติเยอรมนีตะวันออกเป็นตัวแทนของประเทศเยอรมนีตะวันออกตั้งแต่ ค.ศ. 1952–1990 ก่อนที่ทีมชาติเยอรมนีอย่างในปัจจุบันจะก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1990 จากการรวมประเทศเยอรมนี

เยอรมนี
Shirt badge/Association crest
ฉายาNationalelf (ชาติที่สิบเอ็ด)
DFB-Elf (เดเอ็ฟเบ สิบเอ็ด)
Die Mannschaft (ทีม)[a]
อินทรีเหล็ก (ฉายาในภาษาไทย)[3]
สมาคมสมาคมฟุตบอลเยอรมัน
(Deutscher Fußball-Bund; DFB; เดเอ็ฟเบ)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ทวีปยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนยูลีอาน นาเกิลส์มัน
กัปตันอิลไค กึนโดอัน
ติดทีมชาติสูงสุดโลทาร์ มัทเทอุส (150)
ทำประตูสูงสุดมีโรสลัฟ โคลเซอ (71)
รหัสฟีฟ่าGER
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 16 Steady (15 กุมภาพันธ์ 2024)[4]
อันดับสูงสุด1[5] (ธันวาคม ค.ศ. 1992 – สิงหาคม ค.ศ. 1993, ธันวาคม ค.ศ. 1993 – มีนาคม ค.ศ. 1994, มิถุนายน ค.ศ. 1994, กรกฎาคม ค.ศ. 2014 – มิถุนายน ค.ศ. 2015, กรกฎาคม ค.ศ. 2017, กันยายน ค.ศ. 2017 – มิถุนายน ค.ศ. 2018)
อันดับต่ำสุด22[5] (มีนาคม ค.ศ. 2006)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 5–3 เยอรมนี ธงชาติเยอรมนี
(บาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์; 5 เมษายน ค.ศ. 1908)[6]
ชนะสูงสุด
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 16–0 รัสเซีย ธงชาติจักรวรรดิรัสเซีย
(สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน; 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1912)[7]
แพ้สูงสุด
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 9–0 เยอรมนี ธงชาติเยอรมนี
(ออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ; 13 มีนาคม ค.ศ. 1909)[8][b]
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม19 (ครั้งแรกใน 1934)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1954, 1974, 1990, 2014)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม13 (ครั้งแรกใน 1972)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1972, 1980, 1996)
โอลิมปิกฤดูร้อน
เข้าร่วม13[c] (ครั้งแรกใน 1912)
ผลงานดีที่สุด1 เหรียญทอง (1976)
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1999)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2017)

เยอรมนีเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการแข่งขันนานาชาติ โดยชนะเลิศฟุตบอลโลกสี่สมัย (ฟุตบอลโลก 1954, 1974, 1990 และ 2014) ซึ่งเป็นสถิติมากที่สุดอันดับสองร่วมกับอิตาลี และเป็นรองเพียงบราซิล (ห้าสมัย) และชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสามสมัย (ค.ศ. 1972, 1980 และ 1996) เป็นสถิติสูงสุดร่วมกับสเปน และยังชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพอีกหนึ่งครั้ง (2017)[10] พวกเขายังคว้าตำแหน่งรองชนะเลิศในฟุตบอลโลกสี่ครั้ง และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอีกสามครั้ง และอันดับสามในฟุตบอลโลกอีกสี่ครั้ง ทีมเยอรมนีตะวันออกยังคว้าเหรียญทองในฟุตบอลโอลิมปิกฤดูร้อน 1976[11] เยอรมนีเป็นเพียงหนึ่งในสามชาติที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชายของฟีฟ่าแบบ 11 คนในทุกช่วงอายุ (อีกสองทีมคือบราซิลและฝรั่งเศส) จากการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในนามทีมชาติชุดใหญ่, ฟุตบอลโลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี, ฟุตบอลโลก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี, แชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ และเหรียญทองโอลิมปิก พวกเขายังเป็นหนึ่งในสองชาติ (อีกทีมหนึ่งคือสเปน) ที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกทั้งในทีมชายและทีมหญิง[12]

เยอรมนียังเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลโลกมากที่สุดเมื่อนับรวมทั้งทีมชายและทีมหญิง โดยทีมชายคว้าแชมป์สี่สมัยและทีมหญิงเป็นแชมป์สองสมัย หลังจบการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 เยอรมนีกลายเป็นทีมที่มีอันดับโลกอีโลสูงที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ด้วยคะแนน 2,223 คะแนน[13] พวกเขายังเป็นชาติเดียวในยุโรปที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกในทวีปอเมริกา เยอรมนีมีชาติคู่ปรับหลายทีมด้วยกัน เช่น บราซิล, อาร์เจนตินา, อิตาลี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ และ เนเธอร์แลนด์

ประวัติ แก้

ยุคแรก (1899–1942) แก้

 
ทีมชาติเยอรมนีในปี 1908

เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1897 เยอรมนีจัดการแข่งขันครั้งฟุตบอลนัดแรกขึ้นในเมืองฮัมบวร์ค ผลปรากฏว่าเดนมาร์กชนะทีมสมาคมฮัมบวร์ค-อัลโทนาไปได้ 5–0[14][15] ในช่วงระหว่างปี 1899 ถึง 1901 ก่อนมีการก่อตั้งทีมชาติอย่างเป็นทางการ มีการแข่งขันนานาชาติอย่างไม่เป็นทางการอีก 5 นัดระหว่างทีมคัดเลือกจากเยอรมนีและอังกฤษซึ่งเยอรมนีแพ้ไปอย่างยับเยินทุกนัดรวมถึงการแพ้ด้วยผลประตู 0–12 ณ สนามไวต์ฮาร์ตเลนต่อมาอีก 8 ปี ภายหลังการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (DFB) ใน ค.ศ. 1900 มีการแข่งขันนัดแรกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1908 พบกับสวิตเซอร์แลนด์ที่เมืองบาเซิล โดยเยอรมนีแพ้ 3–5[16] ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดของเยอรมนีในการแข่งขันทางการเกิดขึ้นในอีกหนึ่งปีหลังจากนั้น เมื่อพวกเขาแพ้ต่อทีมสมัครเล่นของอังกฤษถึง 0–9 การแข่งขันครั้งนี้ได้รับการบันทึกโดยสมาคมฟุตยอลเยอรมัน แต่ไม่ได้รับการรับรองโดยฟีฟ่า เนื่องจากมีการใช้ผู้เล่นสมัครเล่นหลายราย[17] ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นความเป็นอริระหว่างอังกฤษและเยอรมนี[18] ยูลีอุส เฮิร์สช์ เป็นผู้เล่นชาวยิวคนแรกที่เป็นตัวแทนทีมชาติเยอรมนีหลังเข้าร่วมทีมในปี 1911[19] และยิง 4 ประตูในนัดที่พบกับเนเธอร์แลนด์ในปี 1912[20] เขากลายเป็นผู้เล่นเยอรมนีคนแรกที่ยิงได้ถึง 4 ประตูในนัดเดียว[21]

 
กอทท์ฟรีด ฟุช ผู้ยิง 10 ประตูในนัดเดียวซึ่งเป็นสถิติตลอดกาลของทีมชาติเยอรมนี

ต่อมา กอทท์ฟรีด ฟุช สร้างสถิติทำ 10 ประตูในนัดที่เยอรมนีชนะทีมจักรวรรดิรัสเซีย 16–0 ในกีฬาโอลิมปิก 1912 ที่ประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นสถิติมาอย่างยาวนานจนถึงปี 2001[22] ก่อนจะถูกทำลายโดยผู้เล่นชาวออสเตรเลีย อาร์ชี ทอมป์สัน ซึ่งทำคนเดียว 13 ประตูในนัดที่ทีมชาติออสเตรเลียชนะหมู่เกาะซามัวไปได้ถึง 31–0 แต่ฟุชยังเป็นเจ้าของสถิติทำประตูมากที่สุดในนัดเดียวของเยอรมนีจนถึงปัจจุบัน[23]

ในยุคแรก นักเตะทีมชาติทุกคนถูกคัดเลือกโดยตรงจากสมาคมฟุตบอลเนื่องจากยังไม่มีผู้ฝึกสอนที่เหมาะสม ผู้จัดการทีมคนแรกคือ อ็อตโต เนิร์ซ ครูจากโรงเรียนมันไฮม์และอดีตนายทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งคุมทีมตั้งแต่ปี 1926–1936[24] รัฐบาลเยอรมนีไม่มีงบประมาณให้ทีมชาติเดินทางไปร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก ณ ประเทศอุรุกวัย ในปี 1930 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เยอรมนีเข้าร่วมฟุตบอลโลกครั้งแรกของพวกเขาในปี 1934 และคว้าอันดับ 3 หลังจากนั้นทีมมีผลงานย่ำแย่ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ที่กรุงเบอร์ลิน ทำให้ เซ็พพ์ แฮร์แบร์เกอร์ เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม โดยมีผลงานที่เป็นที่จดจำคือการรวบรวมผู้เล่น 11 ตัวจริงที่มีผลงานโดดเด่นจนได้รับฉายากจากสื่อในประเทศว่า Breslau Elf (Breslau Eleven) ซึ่งมีผลงานสำคัญคือการเอาชนะเดนมาร์ก 8–0[25]

ภายหลังออสเตรียกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีจากเหตุการณ์อันชลุสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 ส่งผลให้ฟุตบอลทีมชาติออสเตรียซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่แข็งแกร่งที่สุดในยุคนั้น ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันฟุตบอลโลก 1938 แม้จะผ่านรอบคัดเลือกแล้ว และด้วยเหตุผลทางการเมืองรัฐบาลนาซีออกคำสั่งให้ผู้เล่นตัวหลักจากออสเตรียประมาณหกราย เข้าร่วมแข่งขันในนามทีมชาติเยอรมนีเพื่อความสามัคคี เยอรมนีชุดนั้นเริ่มต้นฟุตบอลโลก 1938 ด้วยการเสมอสวิตเซอร์แลนด์ 1–1 และแพ้ในนัดแข่งใหม่ที่ปารีส 2–4 เป็นครั้งแรกที่พวกเขาไม่สามารถผ่านรอบแรกของการแข่งขันได้ ซึ่งนี่เป็นสถิติต่อเนื่องมาอย่างยาวนาจนถึงฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ซึ่งพวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่ม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีลงแข่งขันในนามทีมชาติจำนวน 30 นัดระหว่างเดือนกันยายน 1939 ถึงเดือนพฤศจิกายน 1942 ก่อนที่การแข่งขันฟุตบอลจะถูกระงับ และผู้เล่นเกือบทุกคนจะต้องเข้าร่วมกองทัพ ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้เล่นตัวหลักของเยอรมนีได้รับความคุ้มครองจากกองทัพอากาศ ที่ต้องการปกป้องนักฟุตบอลในช่วงสงคราม

ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์นและแชมป์โลกสมัยแรก (1954) แก้

ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง มีรัฐที่เกิดขึ้นใหม่ คือ เยอรมนีตะวันตก ซาร์ลันด์ และเยอรมนีตะวันออก โดยเยอรมนีถูกฟีฟ่าห้ามลงแข่งขันจนถึงปี 1950

 
ฟริตซ์ วอลเตอร์ (ซ้ายมือ) กัปตันทีมชาติเยอรมนีตะวันตกในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1954 ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยแรก

เยอรมนีตะวันตกนำโดย ฟริตซ์ วอลเตอร์ เป็นกัปตันทีมในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1954 ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งพบกับทีมเต็งอย่างทีมชาติฮังการีในรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะแพ้ไป 3–8 ก่อนที่ทั้งสองทีมจะมาพบกันอีกครั้งในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเยอรมนีถูกมองว่าเป็นรองเนื่องจากก่อนหน้านั้นทีมชาติฮังการีมีสถิติไม่แพ้ใครติดต่อกันทุกรายการรวม 32 นัด แต่เยอรมนีตะวันตกเอาชนะไปได้ 3–2 อย่างเหนือความคาดหมาย โดยเฮลมุท ราห์น เป็นผู้ทำประตูชัยในช่วงท้ายเกม ส่งผลให้เยอรมนีคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้เป็นสมัยแรกในนามเยอรมนีตะวันตก[26] และความสำเร็จในครั้งนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็น "ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น" (Das Wunder von Bern)[27]

การแข่งขันครั้งประวัติศาสตร์ (1958–1970) แก้

ภายหลังจากเยอรมนีตะวันตกทำได้เพียงคว้าอันดับ 4 ในฟุตบอลโลก 1958 และตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 1962 สมาคมจึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มมีการจ้างทีมงานอาชีพและคัดทีมจากลีกท้องถิ่นเข้าสู่บุนเดิสลีกาที่เปิดใหม่ (ในปี 1963) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ทีมชาติ

ในฟุตบอลโลก 1966 เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าชิงชนะเลิศได้โดยเอาชนะโซเวียตได้ในรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะเข้าไปพบกับทีมชาติอังกฤษเจ้าภาพในช่วงต่อเวลาพิเศษ และประตูแรกของเจฟฟ์ เฮิร์สท์ ถือเป็นหนึ่งในประตูที่มีการโต้เถียงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลโลก[28][29] โดยผู้กำกับเส้นส่งสัญญาณว่าลูกฟุตบอลได้ข้ามเส้นไปแล้วหลังจากกระเด้งลงมาจากคานประตู แต่เมื่อดูภาพรีเพลย์ซ้ำอีกครั้งดูเหมือนลูกบอลยังไม่ข้ามเส้นไปทั้งใบ[30][31] จากนั้นเฮิร์สต์ก็ยิงประตูเพิ่มให้อังกฤษเอาชนะไป 4–2[32]

ในฟุตบอลโลก 1970 เยอรมนีตะวันตกเอาชนะอังกฤษคืนได้ 3–2 ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย[33] แต่ไปแพ้อิตาลี 3–4 ในช่วงต่อเวลาพิเศษรอบรองชนะเลิศ ซึ่งมีการทำประตูกันมากถึง 5 ประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ และจัดเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่น่าตื่นเต้นที่สุดนัดหนึ่งรวมทั้งได้รับขนานนามว่าเป็น "เกมแห่งศตวรรษ" [34] เยอรมนีตะวันตกจบการแข่งขันด้วยอันดับ 3 และผู้ทำประตูสูงสุดในรายการได้แก่ แกร์ท มึลเลอร์ (10 ประตู)

แชมป์ยุโรปสมัยแรกและแชมป์โลกสมัยที่สอง แก้

 
ว็อล์ฟกัง โอเวรัท (ซ้ายมือ) กับ แกร์ท มึลเลอร์ (ขวามือ) กำลังชูถ้วยฟุตบอลโลก 1974

ในปี 1971 ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ เป็นกัปตันทีมชาติเยอรมนีตะวันตกและพาทีมคว้าแชมป์ยูโร 1972 โดยเอาชนะสหภาพโซเวียต 3–0 คว้าแชมป์ได้เป็นสมัยแรก

 
การแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 รอบชิงชนะเลิศระหว่างเยอรมนีตะวันตกและเนเธอร์แลนด์ ณ เมืองมิวนิก

ต่อมา พวกเขาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1974 และสามารถคว้าแชมป์ได้เป็นสมัยที่สอง หลังจากชนะเนเธอร์แลนด์ 2–1 ในรอบชิงชนะเลิศที่เมืองมิวนิก ในรายการนี้เยอรมนีได้ส่งทีมเข้าแข่งขัน 2 ทีมได้แก่ เยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีตะวันตก ซึ่งทั้งสองทีมพบกันในรอบแบ่งกลุ่มและเยอรมนีตะวันออกเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1–0 ก่อนที่เยอรมนีตะวันตกจะสามารถผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศและคว้าแชมป์ไปได้[35]

ล้มเหลวในการป้องกันแชมป์สองรายการใหญ่ (1976–1980) แก้

เยอรมนีตะวันตกไม่สามารถป้องกันแชมป์ได้ในการแข่งขันสองรายการต่อมา โดยแพ้เชโกสโลวาเกีย 3-5 ในการดวลจุดโทษนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1976[36] และนับตั้งแต่นั้น เยอรมนีไม่แพ้การดวลจุดโทษให้กับทีมใดอีกเลยในการแข่งขันรายการใหญ่[37] ในฟุตบอลโลก 1978 เยอรมนีตะวันตกตกรอบแบ่งกลุ่มหลังแพ้ออสเตรีย 2–3 และ จุปป์ เดอร์วอลล์ เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อ

เดอร์วอลล์พาทีมประสบความสำเร็จในการกลับมาชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1980 เป็นสมัยที่สอง ซึ่งเยอรมนีตะวันตกเอาชนะเบลเยียมไปได้ 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ ต่อมา เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 แต่แพ้อิตาลี 1–3[38] ในช่วงเวลาดังกล่าว แกร์ท มึลเลอร์ ทำสถิติทำ 14 ประตูในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2 สมัย และจำนวน 10 ประตูที่เขาทำได้ในฟุตบอลโลก 1970 ถือเป็นสถิติสูงที่สุดอันดับ 3 ในฟุตบอลโลก (ต่อมาถูกทำลายโดยโรนัลโดในฟุตบอลโลก 2006 และอีกครั้งในฟุตบอลโลก 2014 โดย มีโรสลัฟ โคลเซอ)[39]

การคุมทีมของฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ (1984–1990) แก้

หลังจากเยอรมนีตะวันตกตกรอบแรกในฟุตบอลยูโร 1984 ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม โดยเยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าชิงชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1986 ก่อนจะแพ้อาร์เจนตินาซึ่งนำโดยดิเอโก มาราโดนา ไป 2–3 และในสองปีถัดมา เยอรมนีตะวันตกในฐานะเจ้าภาพยูโร 1988 ผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศก่อนจะแพ้เนเธอร์แลนด์ 1–2

 
ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ บุคคลแรกที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้ทั้งในฐานะนักเตะและผู้จัดการทีม

ในฟุตบอลโลก 1990 เยอรมนีตะวันตกคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยที่ 3 ซึ่งเป็นการผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน ทีมชุดนั้นมีกัปตันทีมคือ โลธาร์ มัทเธอุส และพวกเขาสามารถล้างตาเอาชนะอาร์เจนตินาในรอบชิงชนะเลิศ 1–0[40] และฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ถือเป็นบุคคลแรกที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้ทั้งในฐานะนักเตะและผู้จัดการทีม[41] ซึ่งก่อนหน้านี้เขาอยู่ในทีมชุดที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1974[42]

หลังรวมประเทศ แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1990 หลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกจับสลากมาอยู่กลุ่มเดียวกันในยูโร 1992 รอบคัดเลือกกลุ่ม 5 โดยในเดือนพฤศจิกายน 1990 สมาคมฟุตบอลแห่งเยอรมันตะวันออก (Deutscher Fußball-Verband) ได้รวมเข้ากับ DFB และทีมเยอรมนีตะวันออกได้ยุติบทบาทลงอย่างเป็นทางการ โดยเล่นนัดสุดท้ายในวันที่ 12 กันยายน 1990 ทีมชาติเยอรมนีที่รวมกันเป็นหนึ่งมีการปรับโครงสร้างของลีกฟุตบอลภายในประเทศในปี 1991–92 เกมแรกอย่างเป็นทางการหลังจากรวมตัวกันคือการพบกับสวีเดนในวันที่ 10 ตุลาคม 1990[43] ในการแข่งขันกระชับมิตรซึ่งเยอรมนีชนะ 3–1

หลังจบฟุตบอลโลก 1990 เบ็คเคินเบาเออร์ได้ประกาศวางมือและผู้ที่มารับตำแหน่งต่อคือ แบร์ตี โฟกตส์ โดยได้พาทีมประเดิมในฟุตบอลยูโร 1992 แต่พ่ายให้กับเดนมาร์กในรอบชิงชนะเลิศไป 0–2 ต่อมาในฟุตบอลโลก 1994 เยอรมนีตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยแพ้บัลแกเรีย 1–2

เยอรมนีคว้าแชมป์รายการแรกหลังรวมประเทศได้ในยูโร 1996 ซึ่งเป็นการคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 3 (นับรวมสมัยเยอรมนีตะวันตก) โดยชนะทีมชาติอังกฤษเจ้าภาพในรอบรองชนะเลิศ[44] ก่อนจะเอาชนะทีมชาติเช็กเกียในช่วงต่อเวลาพิเศษ (golden goal)[45] อย่างไรก็ตาม ในฟุตบอลโลก 1998 ที่ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนีตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายโดยแพ้ให้กับโครเอเชีย 0–3 ซึ่งประตูทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากกองหลังเยอรมนีได้รับใบแดง[46] แบร์ตี้ โฟ้กตส์ได้ประกาศลาออก และผู้ที่มาทำหน้าที่แทนได้แก่ เอริช ริบเบ็ค[47]

ยุคของ อ็อลลีเวอร์ คาห์น และมิชชาเอล บัลลัค (2000–2006) แก้

ในฟุตบอลยูโร 2000 เยอรมนีตกรอบแรก เริ่มจากพ่ายทีมชาติอังกฤษ 0–1, พ่ายโปรตุเกส 0–3 และเสมอโรมาเนีย ริบเบ็ค ได้ลาออกและรูดี เฟิลเลอร์ เข้ามารับตำแหน่งต่อ ต่อมา เยอรมนีเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 โดยมีนักเตะชื่อดัง เช่น อ็อลลีเวอร์ คาห์น, มิชชาเอล บัลลัค และมีโรสลัฟ โคลเซอเป็นกำลังหลัก โดยก่อนเริ่มรายการ ความคาดหวังไม่ค่อยสูงนักเนื่องจากพวกเขาทำผลงานไม่ค่อยดีในรอบคัดเลือก แต่ทีมก็ผ่านรอบแบ่งกลุ่มเข้าสู่รอบตัดเชือกโดยชนะ 1–0 ได้ในสามนัดถัดมา (พบปารากวัย, สหรัฐ และเกาหลีใต้เจ้าภาพร่วมตามลำดับ) และเข้าชิงชนะเลิศก่อนจะแพ้บราซิล 0–2 จากประตูของโรนัลโด[48] แต่อ็อลลีเวอร์ คาห์น ยังได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันซึ่งถือเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลกที่ผู้รักษาประตูได้รับรางวัลนี้[49]

เยอรมนีตกรอบแรกในฟุตบอลยูโร 2004 โดยเสมอ 2 นัด และแพ้เช็กเกียในรอบแบ่งกลุ่ม[50] รูดี เฟิลเลอร์ลาออก[51] และเยือร์เกิน คลีนส์มัน เข้ามารับช่วงต่อ เขาพาทีมผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพโดยแพ้อิตาลีในช่วงต่อเวลา 0–2[52] แต่ยังคว้าอันดับสามได้โดยชนะโปรตุเกส 3–1[53][54]

โยอาคิม เลิฟ และแชมป์โลกสมัยที่ 4 (2006–2021) แก้

โยอาคิม เลิฟ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการทีมเข้ามารับตำแหน่งต่อจากคลีนส์มัน และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร 2008 แต่แพ้สเปน 0–1 ต่อมา ในฟุตบอลโลก 2010 เยอรมนีเข้าสู่รอบตัดเชือกโดยเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่ม ก่อนจะชนะอังกฤษ 4–1 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ซึ่งนัดนั้นมีกรณีปัญหาที่ถกเถียงกันจากประตูของ แฟรงก์ แลมพาร์ด ที่ทำประตูได้แต่ผู้ตัดสินกลับไม่ให้เป็นประตู[55][56] เยอรมนีชนะอาร์เจนตินา 4–0 ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนจะแพ้สเปนในรอบรองชนะเลิศ 0–1[57] และเอาชนะอุรุกวัย 3–2 ในนัดชิงอันดับที่ 3 และโทมัส มึลเลอร์ ได้รับรางวัลรองเท้าทองคำ (FIFA World Cup Golden Boot) และรางวัลนักเตะดาวรุ่งผู้มีผลงานโดดเด่น (Best Young Player Award)[58]

 
ทีมชาติเยอรมนีในฟุตบอลยูโร 2012

ต่อมา ในฟุตบอลยูโร 2012 เยอรมนีชนะโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์กได้ทั้ง 3 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ตามด้วยการชนะกรีซในรอบ 8 ทีมสุดท้าย และสร้างสถิติชนะรวด 15 นัดในการแข่งขันทุกรายการในขณะนั้นก่อนจะไปแพ้อิตาลี 1–2 ในรอบรองชนะเลิศ[59]

ฟุตบอลโลก 2014 แก้

 
ทีมชาติเยอรมนีฉลองแชมป์ฟุตบอลโลก 2014

เยอรมนีคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยที่ 4 ในฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล โดยทำผลงานยอดเยี่ยมตั้งแต่รอบคัดเลือก โดยในรอบแบ่งพวกเขาอยู่ร่วมกับสหรัฐอเมริกา, กานา และโปรตุเกส และทำผลงานชนะ 2 นัด และเสมอ 1 นัด ต่อมา ใน 16 ทีมสุดท้ายพวกเขาชนะแอลจีเรีย 2–1 จากประตูของเมซุท เออซิล ในนาทีสุดท้ายช่วงต่อเวลาพิเศษ ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย และชนะฝรั่งเศส 1–0 จากประตูของ มัทซ์ ฮุมเมิลส์ ทำสถิติเป็นทีมแรกที่เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 4 สมัยติดต่อกัน

ในรอบรองชนะเลิศ เยอรมนีถล่มเอาชนะบราซิลไปถึง 7–1 โดยพวกเขาใช้เวลาเพียง 30 นาทีแรกในการทำ 5 ประตู และถือเป็นความพ่ายแพ้ที่ยับเยินที่สุดของบราซิลในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย[60] และเป็นการแพ้ที่ยับเยินที่สุดในทุกรายการนับตั้งแต่ปี 1920[61] เยอรมนีสร้างสถิติใหม่หลายรายการ ได้แก่: เป็นทีมแรกที่ยิงได้ 7 ประตูในการแข่งขันรอบแพ้คัดออกในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย, เป็นทีมที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการยิง 5 ประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (และใช้เวลาเพียง 400 วินาที ในการทำ 4 ประตูแรก), เป็นทีมแรกที่ยิง 5 ประตูในครึ่งเวลาแรกในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย และเป็นทีมที่ทำประตูรวมในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายมากที่สุดนับตั้งแต่จัดการแข่งขันครั้งแรกในปี 1930 (223 ประตู) นอกจากนี้ มีโรสลัฟ โคลเซอ ยังเป็นผู้เล่นที่ทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้มากที่สุดตลอดกาล (16 ประตู)[62]

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2014 ณ กรุงรีโอเดจาเนโร โดยเยอรมนีเอาชนะอาร์เจนตินาคู่แข่งสำคัญที่นำโดย ลิโอเนล เมสซิไปได้ 1–0[63] จากประตูชัยของ มารีโอ เกิทเซอ ในช่วงต่อเวลา ซึ่งถือเป็นการชนะอาร์เจนตินาในฟุตบอลโลก 4 ครั้งติดต่อกัน[64] พร้อมทำสถิติเป็นทีมจากยุโรปเพียงชาติเดียวที่คว้าแชมป์โลกที่ทวีปอเมริกาใต้[65]

ฟุตบอลยูโร 2016 และคอนเฟเดอเรชัน คัพ 2017 แก้

ภายหลังจากคว้าแชมป์โลก ทีมเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยผู้เล่นหลายคนได้อำลาทีมชาติ เช่น ฟิลลิพ ลาห์ม, มีโรสลัฟ โคลเซอ และแพร์ แมร์เทิสอัคเคอร์ ก่อนเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลยูโร 2016 แม้ว่าเยอรมนีจะทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในรอบแบ่งกลุ่ม ตามด้วยการชนะสโลวาเกียในรอบ 16 ทีมสุดท้าย รวมทั้งชนะอิตาลีได้ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยการดวลจุดโทษ แต่พวกเขาต้องตกรอบรองชนะเลิศโดยแพ้ฝรั่งเศสเจ้าภาพไป 0–2 และถือเป็นการแพ้ฝรั่งเศสในการแข่งขันรายการใหญ่เป็นครั้งแรกในรอบ 58 ปี[66] แต่กลับมาประสบความสำเร็จในรายการใหญ่อีกครั้งโดยคว้าแชมป์คอนเฟเดอเรชัน คัพ 2017 ณ ประเทศรัสเซีย ชนะชิลีในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 คว้าแชมป์เป็นสมัยแรก[67]

ล้มเหลวฟุตบอลโลก 2018, ยูฟ่าเนชันส์ลีก และฟุตบอลยูโร 2020 แก้

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ถือเป็นความล้มเหลวอย่างแท้จริงโดยพวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่ม ในนัดแรกของกลุ่มเอฟ พวกเขาแพ้เม็กซิโก 0–1 ก่อนจะชนะสวีเดนได้ 2–1 แต่แพ้ให้กับเกาหลีใต้ในนัดสุดท้าย 0–2 และถือเป็นการตกรอบที่เร็วที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายของพวกเขานับตั้งแต่ปี 1938 และเป็นการตกรอบแบ่งกลุ่มครั้งแรกนับตั้งแต่การแข่งขันปรับรูปแบบมาใช้ระบบใหม่ในการเล่นรอบแบ่งกลุ่มในปี 1950[68] หลังจากนั้น เยอรมนียังคงมีผลงานย่ำแย่ในยูฟ่าเนชันส์ลีก ซึ่งพวกเขาอยู่ในลีกเอร่วมกับกับฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ โดยในนัดแรกพวกเขาเสมอฝรั่งเศส 0–0 ตามด้วยแพ้เนเธอร์แลนด์ 0–3[69] และพ่ายแพ้ต่อเนื่องให้กับฝรั่งเศส 1–2 ส่งผลให้เยอรมนีต้องแพ้เป็นนัดที่ 4 จากการแข่งขันรายการใหญ่ 6 นัดหลังสุด[70] ในเดือนมีนาคม ปี 2021 สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ประกาศว่า โยอาคิม เลิฟ จะยุติบทบาทภายหลังจบฟุตบอลยูโร 2020 และ ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค จะเข้ามารับตำแหน่งต่อ[71]

เยอรมนีลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ในเดือนมิถุนายน โดยอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับโปรตุเกส, ฝรั่งเศส และฮังการี และผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้อังกฤษ 0–2 และเป็นการยุติบทบาทผู้จัดการทีม 15 ปีของเลิฟ[72][73]

2021–ปัจจุบัน: ยุคใหม่ แก้

ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค เข้ารับตำแหน่งหลังจบยูโร 2020 และพาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โดยชนะรวด 5 นัดในการพบกับ ลิกเตนสไตน์, อาร์มีเนีย, ไอซ์แลนด์, โรมาเนีย และ นอร์ทมาซิโดเนีย โดยในวันที่ 11 ตุลาคม เยอรมนีเป็นชาติแรกที่ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ หลังจากบุกไปชนะ นอร์ทมาซิโดเนีย 4–0 ต่อมา ในวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากชนะลิกเตนสไตน์ 9–0 ฟลิคเป็นผู้จัดการทีมชาติเยอรมนีคนแรกที่พาทีมชนะรวด 6 นัดแรกในการคุมทีม[74] ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เยอรมนีอยู่ร่วมกลุ่มกับสเปน ญี่ปุ่น และคอสตาริกา และพวกเขาทำผลงานน่าผิดหวังอีกครั้งโดยตกรอบแบ่งกลุ่มจากการมี 4 คะแนน และยังตกรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2022–23[75]

จากผลงานอันย่ำแย่ ส่งผลให้ฟลิคถูกปลดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2023 และถูกแทนที่โดยยูลีอาน นาเกิลส์มัน[76] ซึ่งจะพาทีมลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 โดยเยอรมนีเป็นเจ้าภาพ

ภาพลักษณ์ทีม แก้

ชุดแข่งและสัญลักษณ์ แก้

ผู้ผลิตชุดแข่ง แก้

ผู้ผลิตชุดแข่ง ช่วงปี หมายเหตุ
  Leuzela ไม่ทราบปี–1954 เยอรมนีสวมชุดแข่งของ Leuzela ในฟุตบอลโลก 1954[77]
  อาดิดาส 1954–ปัจจุบัน ในทศวรรษ 1970 เยอรมนีสวมชุดแข่งของ Erima
(แบรนด์ของเยอรมนีซึ่งเดิมเป็นบริษัทลูกของอาดิดาส[78][79]

ข้อตกลงชุดแข่ง แก้

ผู้ผลิตชุด ช่วงปี สัญญา หมายเหตุ
วันที่ประกาศ ระยะเวลา
  อาดิดาส 1954–ปัจจุบัน 20 มิถุนายน 2016 2019–2022 (4 ปี)[80] 50 ล้านยูโรต่อปี (56.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ทั้งหมด: 250 ล้านยูโร (283.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[81][82]
10 กันยายน 2018 2023–2026 (4 ปี) ไม่เปิดเผย[83]

ชุดแข่งในแต่ละปี แก้

ชุดเหย้า[84]

 
 
 
 
 
 
 
1908
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1934
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1938 [85]
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1954
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1962
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1966
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1970
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1974
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1978
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1980
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก 1982
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1984
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1986
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1988 และ ฟุตบอลโลก 1990
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1992
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1994
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1996
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1998
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2000
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2002
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2004
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2006
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2008
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2010
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2012
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2014
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2016
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
2017
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2018

ชุดเยือน[84]

 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1954 – 1958
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1966 – 1970
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1974 – 1978
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1980 – ฟุตบอลโลก 1982
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1984
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก 1986
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1988 – ฟุตบอลโลก 1990
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1992
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1994
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1996
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1998
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2000
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2002
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2004
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
2005
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2006
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2008
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2010
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2012
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2014
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2016
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2018

สนามแข่ง แก้

 
สนามโอลึมพีอาชตาดีอ็อน ณ กรุงเบอร์ลิน

ทีมชาติเยอรมนีใช้สนามแข่งขันในหลายเมืองทั่วประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงตามรายการแข่งขัน, สภาพอากาศ, คู่แข่ง และปัจจัยอื่น ๆ ที่ผ่านมาเยอรมนีใช้สนามแข่งขันจากเมืองต่าง ๆ รวม 43 เมืองด้วยกันรวมถึงสนามกีฬาในกรุงเวียนนา, ประเทศออสเตรีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีในอดีตจำนวน 3 นัด ในช่วงระหว่างปี 1938-42

เยอรมนีมักจะใช้สนามกีฬาของกรุงเบอร์ลินเป็นสนามเหย้าหลัก (42 นัด) ซึ่งเป็นสนามนัดเหย้านัดแรกของเยอรมนีในปี 1908 ซึ่งพบกับทีมชาติอังกฤษ สนามในเมืองอื่นๆ ที่ทีมชาติเยอรมนีใช้ในฐานะเจ้าบ้าน ได้แก่ ฮัมบวร์ค (34 นัด), ชตุทท์การ์ท (32 นัด), ฮันโนเฟอร์ (28 นัด) และดอร์ทมุนด์ ส่วนสนามแข่งขันที่โดดเด่นอีกแห่งอยู่ที่มิวนิก ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันนัดสำคัญหลายรายการรวมถึงรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1974 ซึ่งเยอรมนีตะวันตกเอาชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ไปได้[86][87]

สถิติต่าง ๆ แก้

สถิติฟุตบอลโลก แก้

  ชนะเลิศ    รองชนะเลิศ    อันดับที่สาม    อันดับที่สี่  

สถิติในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย สถิติในรอบคัดเลือก
ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ* แพ้ ได้ เสีย ผู้เล่น แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
  1930 ไม่เข้าร่วม ไม่เข้าร่วม
  1934 อันดับที่ 3 3 4 3 0 1 11 8 ผู้เล่น 1 1 0 0 9 1 1934
  1938 รอบแรก 10 2 0 1 1 3 5 ผู้เล่น 3 3 0 0 11 1 1938
  1950 ถูกสั่งห้ามแข่งขัน 1950
  1954 ชนะเลิศ 1 6 5 0 1 25 14 ผู้เล่น 4 3 1 0 12 3 1954
  1958 อันดับที่ 4 4 6 2 2 2 12 14 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า 1958
  1962 รอบก่อนรองชนะเลิศ 7 4 2 1 1 4 2 ผู้เล่น 4 4 0 0 11 5 1962
  1966 รองชนะเลิศ 2 6 4 1 1 15 6 ผู้เล่น 4 3 1 0 14 2 1966
  1970 อันดับที่ 3 3 6 5 0 1 17 10 ผู้เล่น 6 5 1 0 20 3 1970
  1974 ชนะเลิศ 1 7 6 0 1 13 4 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ 1974
  1978 รอบแบ่งกลุ่มที่สอง 6 6 1 4 1 10 5 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า 1978
  1982 รองชนะเลิศ 2 7 3 2 2 12 10 ผู้เล่น 8 8 0 0 33 3 1982
  1986 รองชนะเลิศ 2 7 3 2 2 8 7 ผู้เล่น 8 5 2 1 22 9 1986
  1990 ชนะเลิศ 1 7 5 2 0 15 5 ผู้เล่น 6 3 3 0 13 3 1990
  1994 รอบก่อนรองชนะเลิศ 5 5 3 1 1 9 7 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า 1994
  1998 รอบก่อนรองชนะเลิศ 7 5 3 1 1 8 6 ผู้เล่น 10 6 4 0 23 9 1998
    2002 รองชนะเลิศ 2 7 5 1 1 14 3 ผู้เล่น 10 6 3 1 19 12 2002
  2006 อันดับที่ 3 3 7 5 1 1 14 6 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ 2006
  2010 อันดับที่ 3 3 7 5 0 2 16 5 ผู้เล่น 10 8 2 0 26 5 2010
  2014 ชนะเลิศ 1 7 6 1 0 18 4 ผู้เล่น 10 9 1 0 36 10 2014
  2018 รอบแบ่งกลุ่ม 22 3 1 0 2 2 4 ผู้เล่น 10 10 0 0 43 4 2018
  2022 17 3 1 1 1 6 5 ผู้เล่น 10 9 0 1 36 4 2022
      2026 ยังไม่กำหนดแข่งขัน ยังไม่กำหนดแข่งขัน 2026
      2030 ยังไม่กำหนดแข่งขัน ยังไม่กำหนดแข่งขัน 2030
  2034 ยังไม่กำหนดแข่งขัน ยังไม่กำหนดแข่งขัน 2034
ทั้งหมด 20/22 4 สมัย 112 68 21* 23 232 130 104 83 18 3 328 74 ทั้งหมด
* นัดที่เสมอ รวมนัดแพ้คัดออกที่ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
** กรอบสีแดง หมายถึง การแข่งขันที่ชาตินี้เป็นเจ้าภาพ


นอกจากนี้แล้วทีมชาติเยอรมนี ถือเป็นทีมแรกจากทวีปยุโรปที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในทวีปอเมริกาใต้ได้ (ฟุตบอลโลก 2014 ณ ประเทศบราซิล)[88]และยังเป็นทีมที่เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกมากที่สุดจำนวน 8 ครั้ง[89]

สถิติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ แก้

การแข่งขันคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
ปี รอบ อันดับ จำนวนนัดรวม ชนะ เสมอ แพ้ ประตูที่ได้ ประตูที่เสีย Squad
  1992 ไม่เข้าร่วม[90]
  1995 ไม่เข้าร่วม
  1997 ไม่เข้าร่วม[91]
  1999 รอบแบ่งกลุ่ม 5th 3 1 0 2 2 6 Squad
    2001 ไม่เข้าร่วม
  2003 ไม่เข้าร่วม[92]
  2005 อันดับสาม 3rd 5 3 1 1 15 11 Squad
  2009 ไม่เข้าร่วม
  2013
  2017 ชนะเลิศ 1st 5 4 1 0 12 5 Squad
รวม ชนะเลิศ 1 สมัย 3/10 13 8 2 3 29 22 -

สถิติฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป แก้

ปี รอบ จำนวนนัดรวม ชนะ เสมอ แพ้ ประตูที่ได้ ประตูที่เสีย Squad
  1960 ไม่เข้าร่วม - - - - - - -
  1964 ไม่เข้าร่วม - - - - - - -
  1968 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - -
  1972 ชนะเลิศ 2 2 0 0 5 1 Squad
  1976 รองชนะเลิศ 2 1 1 0 6 4 Squad
  1980 ชนะเลิศ 4 3 1 0 6 3 Squad
  1984 รอบแรก 3 1 1 1 2 2 Squad
  1988 รอบรองชนะเลิศ 4 2 1 1 6 3 Squad
  1992 รองชนะเลิศ 5 2 1 2 7 8 Squad
  1996 ชนะเลิศ 6 4 2 0 10 3 Squad
   2000 รอบแรก 3 0 1 2 1 5 Squad
  2004 รอบแรก 3 0 2 1 2 3 Squad
   2008 รองชนะเลิศ 6 4 0 2 10 7 Squad
   2012 รอบรองชนะเลิศ 5 4 0 1 10 6 -
  2016 รอบรองชนะเลิศ 6 3 2 1 7 3 -
  2020 รอบ 16 ทีมสุดท้าย 4 1 1 2 6 7 -
รวม 13/16 53 27 13 13 78 55

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[93]

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2022 หลังแข่งขันกับ โอมาน[94]

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK มานูเอ็ล น็อยเออร์ (กัปตัน) (1986-03-27) 27 มีนาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 114 0   ไบเอิร์นมิวนิก
12 1GK เควิน ทรัพ (1990-07-08) 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี) 6 0   ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท
22 1GK มาร์ค-อันเดร แทร์ สเตเกิน (1992-04-30) 30 เมษายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 30 0   บาร์เซโลนา

2 2DF อันโทนีโอ รือดีเกอร์ (1993-03-03) 3 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 54 2   เรอัลมาดริด
3 2DF ดาวิท เราม์ (1998-04-22) 22 เมษายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 12 0   แอร์เบ ไลพ์ซิช
4 2DF มัททีอัส กินเทอร์ (1994-01-19) 19 มกราคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 47 2   เอ็สเซ ไฟรบวร์ค
5 2DF ทีโล เคเรอร์ (1996-09-21) 21 กันยายน ค.ศ. 1996 (27 ปี) 23 0   เวสต์แฮมยูไนเต็ด
15 2DF นิคคลัส ซือเลอ (1995-09-03) 3 กันยายน ค.ศ. 1995 (28 ปี) 42 1   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
16 2DF ลูคัส โคลสเทอร์มัน (1996-06-03) 3 มิถุนายน ค.ศ. 1996 (27 ปี) 19 0   แอร์เบ ไลพ์ซิช
20 2DF คริสทีอัน กึนเทอร์ (1993-02-28) 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 7 0   เอ็สเซ ไฟรบวร์ค
23 2DF นีโค ชล็อทเทอร์เบ็ค (1999-12-01) 1 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (24 ปี) 6 0   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
25 2DF อาร์เม็ล เบ็ลลา-ค็อทชัพ (2001-12-11) 11 ธันวาคม ค.ศ. 2001 (22 ปี) 2 0   เซาแทมป์ตัน

6 3MF โยซูอา คิมมิช (1995-02-08) 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 71 5   ไบเอิร์นมิวนิก
7 3MF ไค ฮาเวิทซ์ (1999-06-11) 11 มิถุนายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 31 10   เชลซี
8 3MF เลอ็อน โกเร็ทซ์คา (1995-02-06) 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 45 14   ไบเอิร์นมิวนิก
11 3MF มารีโอ เกิทเซอ (1992-06-03) 3 มิถุนายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 63 17   ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท
14 3MF จามาล มูซีอาลา (2003-02-26) 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 (21 ปี) 17 1   ไบเอิร์นมิวนิก
17 3MF ยูลีอาน บรันท์ (1996-05-02) 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 39 3   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
18 3MF โยนัส โฮฟมัน (1992-07-14) 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 17 4   โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค
21 3MF อิลไค กึนโดอัน (1990-10-24) 24 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี) 63 16   แมนเชสเตอร์ซิตี

9 4FW นิคคลัส ฟึลครูค (1993-02-09) 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 1 1   แวร์เดอร์เบรเมิน
10 4FW แซร์ช กนาบรี (1995-07-14) 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 36 20   ไบเอิร์นมิวนิก
13 4FW โทมัส มึลเลอร์ (1989-09-13) 13 กันยายน ค.ศ. 1989 (34 ปี) 118 44   ไบเอิร์นมิวนิก
19 4FW ลีร็อย ซาเน (1996-01-11) 11 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 48 11   ไบเอิร์นมิวนิก
24 4FW คาริม อเดเยมี (2002-01-18) 18 มกราคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 4 1   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
26 4FW ยูซูฟา มูโกโก (2004-11-20) 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 (19 ปี) 1 0   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ แก้

 
มานูเอ็ล น็อยเออร์ ผู้รักษาประตูมือหนึ่งและกัปตันทีมคนปัจจุบัน

หมายเหตุ:(!)=เคยเล่นให้กับทีมชาติเยอรมนีตะวันออกมาก่อน

สถิติสำคัญของผู้เล่น แก้

ณ วันที่ 29 June 2021[95]
รายชื่อผู้เล่นที่เป็นตัวหนา คือผู้เล่นที่ยังคงเล่นอยู่ในปัจจุบัน

ผู้เล่นที่ลงสนามมากที่สุด แก้

 
โลธาร์ มัทเธอุส เจ้าของสถิติลงสนามให้ทีมชาติเยอรมนีจำนวน 150 นัด
อันดับ ผู้เล่น จำนวนนัดที่ลงเล่น จำนวนประตู ช่วงเวลา
1 โลธาร์ มัทเธอุส 150 23 1980–2000
2 มีโรสลัฟ โคลเซอ 137 71 2001–2014
3 ลูคัส โพด็อลสกี 130 49 2004–2017
4 บัสทีอัน ชไวน์ชไตเกอร์ 121 24 2004–2016
5 ฟิลลิพ ลาห์ม 113 5 2004–2014
6 เยือร์เกิน คลีนส์มัน 108 47 1987–1998
7 โทนี โครส 106 17 2010–2021
โทมัส มึลเลอร์ 39 2010–ปัจจุบัน
9 เยือร์เกิน โคห์เลอร์ 105 2 1986–1998
10 แพร์ แมร์เทิสอัคเคอร์ 104 4 2004–2014
มานูเอ็ล น็อยเออร์ 0 2009–ปัจจุบัน

ผู้ทำประตูสูงสุด แก้

 
มีโรสลัฟ โคลเซอ ผู้ทำประตูสูงที่สุดตลอดกาลของทีมชาติเยอรมนี
อันดับ ผู้เล่น จำนวนประตู จำนวนนัดที่ลงเล่น ค่าเฉลี่ย ช่วงเวลา
1 มีโรสลัฟ โคลเซอ 71 137 0.52 2001–2014
2 แกร์ท มึลเลอร์ 68 62 1.1 1966–1974
3 ลูคัส โพด็อลสกี 49 130 0.38 2004–2017
4 รูดี เฟิลเลอร์ 47 90 0.52 1982–1994
เยือร์เกิน คลีนส์มัน 47 108 0.44 1987–1998
6 คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเกอ 45 95 0.47 1976–1986
7 อูเวอ เซเลอร์ 43 72 0.6 1954–1970
8 มิชชาเอล บัลลัค 42 98 0.43 1999–2010
9 โทมัส มึลเลอร์ 39 106 0.37 2010–2021
10 โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟฟ์ 37 70 0.53 1996–2002

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำปี แก้

เกียรติประวัติ แก้

การแข่งขัน       รวม
ฟุตบอลโลก 4 4 4 12
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 3 3 3 9
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 1 0 1 2
เนชันส์ลีก 0 0 0 0
รวมทั้งหมด 8 7 8 23

ประวัติอันดับโลกของทีมชาติเยอรมนี แก้

อ้างอิงจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ:[101]

1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019
1 5 2 2 2 3 5 11 12 4 12 19 17 6 5 2 6 3 3 2 2 1 4 3 1 16 15

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ในเยอรมนีมักเรียกว่า Die Nationalmannschaft (ทีมชาติ), DFB-Elf (เดเอ็ฟเบ สิบเอ็ด), DFB-Auswahl (เดเอ็ฟเบ ผู้ถูกเลือก) หรือ Nationalelf (ชาติที่สิบเอ็ด) ในขณะที่สื่อมวลชนต่างประเทศมักเรียกว่า Die Mannschaft (หมายถึง: ทีม)[1] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 เดเอ็ฟเบได้กำหนดให้ใช้เป็นชื่อเล่นอย่างเป็นทางการ[2]
  2. ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษไม่ถือเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ และไม่ปรากฏในบันทึกสถิติของทีมชาติอังกฤษ
  3. ในฐานะทีมชาติเยอรมนี, ทีมชาติเยอรมนีตะวันออก, ทีมรวมเยอรมนี และทีมชาติเยอรมนี อายุไม่เกิน 23 ปี

อ้างอิง แก้

  1. "The "Mannschaft" :: National Teams :: DFB – Deutscher Fußball-Bund e.V." dfb.de. สืบค้นเมื่อ 12 June 2018.
  2. "DFB unveil new 'Die Mannschaft' branding". DFB. สืบค้นเมื่อ 8 June 2015.
  3. "ฝนทำพิษ!อินทรีเหล็กเละคารังพ่ายสโลวัก1-3". สยามกีฬา. 30 May 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2016.
  4. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 15 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2024.
  5. 5.0 5.1 "Germany: FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2007. สืบค้นเมื่อ 12 September 2013.
  6. "All matches of The National Team in 1908". DFB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2012. สืบค้นเมื่อ 1 August 2008.
  7. "All matches of The National Team in 1912". DFB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2012. สืบค้นเมื่อ 1 August 2008.
  8. "All matches of The National Team in 1909". DFB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2009. สืบค้นเมื่อ 1 August 2008.
  9. Editors, History com. "Berlin is divided". HISTORY (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  10. "FIFA.com". web.archive.org. 2007-06-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "FIFA.com - Previous Tournaments". web.archive.org. 2012-01-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. "FIFA.com". web.archive.org. 2007-06-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "World Football Elo Ratings". www.eloratings.net (ภาษาอังกฤษ).
  14. "Fodboldens indtog i Danmark - 1889 til 1908". TotalBold.dk (ภาษาเดนมาร์ก). 2008-12-26.
  15. "Dänische Nationalmannschaft: Rekorde, Erfolge, Trainer – alle Infos". tz.de (ภาษาเยอรมัน). 2021-05-14.
  16. "DFB Deutscher Fußball-Bund e.V. All Games". web.archive.org. 2012-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  17. "England Matches - The Amateurs 1906-1939". englandfootballonline.com.
  18. "Germany's Worst Ever Defeats - Ranked". 90min.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-11-18.
  19. Simpson, Kevin E. (2016-09-22). Soccer under the Swastika: Stories of Survival and Resistance during the Holocaust (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-4422-6163-1.
  20. "The War Generation - Julius Hirsch". Inside Futbol | Latest Football News, Transfer Rumours & Articles » Football - » Features | Inside Futbol - Online World Football Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2011-04-14.
  21. "Remembering the cream of Jewish footballing talent killed in the Holocaust". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-06.
  22. "Football Tournament 1912 Olympiad". www.rsssf.com.
  23. "Gottfried Fuchs Bio, Stats, and Results | Olympics at Sports-Reference.com". web.archive.org. 2020-04-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-17. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  24. "DFB Deutscher Fußball-Bund e.V. Professor Otto Nerz". web.archive.org. 2012-03-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  25. Muras, Udo (2007-05-16). "Breslau-Elf: Nur Hitler konnte sie stoppen". DIE WELT. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  26. Welle (www.dw.com), Deutsche. "World Cup Final, 1954: Hungary vs. West Germany | DW | 01.04.2010". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  27. "FIFA". origin1904-p.cxm.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  28. King, Dominic (2016-01-04). "Geoff Hurst's goal against West Germany DID cross the line". Mail Online.
  29. Limited, Bangkok Post Public Company. "Germans still disputing England 1966 World Cup final goal". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
  30. "That 1966 goal: do we finally have proof that it crossed the line?". World Soccer. 2016-01-05.
  31. "Geoff Hurst's crucial second goal in the World Cup final comes under the MNF microscope". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
  32. "FIFA Men's World Cup History: World Cup Winners, Hosts, Stats". www.foxsports.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  33. "World Cup stunning moments: Gordon Banks is stricken". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-25.
  34. Welle (www.dw.com), Deutsche. "World Cup Semi-Final, 1970: Italy vs. West Germany | DW | 01.04.2010". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  35. Welle (www.dw.com), Deutsche. "World Cup Final, 1974: West Germany vs. The Netherlands | DW | 01.04.2010". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  36. UEFA.com (2003-10-03). "Panenka makes his name as Czechoslovakia beat West Germany in EURO 1976 final shoot-out". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  37. Fennessy, Paul. "Germany's 40-year penalty record continues and more Euro 2016 thoughts". The42 (ภาษาอังกฤษ).
  38. "FIFA". origin1904-p.cxm.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  39. "Klose sets World Cup goals record". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  40. "West Germany National Football Team Results 1990". eu-football.info (ภาษาอังกฤษ).
  41. "Three players who won the World Cup as a player and a manager | Goal.com". www.goal.com.
  42. "Franz Beckenbauer | German soccer player". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  43. "West Germany National Football Team Results 1990". eu-football.info (ภาษาอังกฤษ).
  44. UEFA.com (2003-10-06). "Germany beat England on penalties to reach EURO '96 final". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  45. UEFA.com (2003-10-06). "Bierhoff the hero of Germany's EURO '96 final win against Czech Republic". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  46. Longman, Jere (1998-07-05). "WORLD CUP '98; Croatia Stuns Germany With the Aid Of a Red Card". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  47. Hughes, Rob; Tribune, International Herald (1998-09-09). "Another Day, Another Coach Gone:Now It's Vogts". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  48. "BBC SPORT | WORLD CUP | Germany v Brazil | Brazil crowned world champions". news.bbc.co.uk.
  49. "Kahn named top keeper" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2002-06-30. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  50. "Germany 1-2 Czech Rep" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-06-23. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  51. "Voeller quits Germany role" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  52. "Last-gasp Italy knock Germany out" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-07-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  53. "Klose finishes as leading scorer" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  54. "Germany 3-1 Portugal" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-07-08. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  55. "Frank Lampard's 'goal' against Germany should have stood – linesman". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-07-05.
  56. "FIFA World Cup moments: When Frank Lampard's disallowed goal against Germany provided impetus for goalline technology-Sports News , Firstpost". Firstpost. 2018-06-11.
  57. "Germany 0-1 Spain | World Cup 2010 semi-final match report". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-07-07.
  58. "FIFA". origin1904-p.cxm.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  59. UEFA.com (2012-06-22). "Germany overpower Greece in UEFA EURO 2012 quarter-finals". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  60. Staff, Reuters (2014-07-08). "Records in Brazil's 7-1 World Cup loss to Germany". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  61. "16 incredible stats from Germany's 7-1 rout of Brazil". ESPN.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  62. https://fcbayern.com/en/news/2020/06/miroslav-klose-profile
  63. "Why Mueller is the World Cup superstar Messi only dreams of being | The Rio Report - Yahoo Eurosport UK". web.archive.org. 2014-10-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  64. "Germany national football team: record v Argentina". www.11v11.com.
  65. Borden, Sam (2014-07-13). "Germans End Long Wait: 24 Years and a Bit Extra". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  66. Hayward, Paul (2016-07-07). "Euro 2016: France's 2-0 semi-final victory over Germany strikes poignant note on night of ancient rivalry and modern spirit". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  67. "Germany win Confederations Cup after Lars Stindl punishes error to deny Chile". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2017-07-02.
  68. "Germany knocked out of 2018 World Cup". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  69. "Germany 'broke apart' in loss to Dutch". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  70. "UEFA Nations League: Germany's struggles continue with loss to France". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-17.
  71. "Hansi Flick to replace Joachim Löw as Germany head coach". bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ).
  72. UEFA.com (2021-06-29). "England 2-0 Germany: Sterling and Kane send Three Lions through". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  73. "England end 55-year wait for knockout win over Germany". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
  74. https://www.dw.com/en/l%C3%B6w-says-goodbye-as-germany-set-new-record-under-hansi-flick/a-59776461
  75. "Germany hit five goals past Italy". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
  76. "Nagelsmann named Germany boss". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
  77. "Das Geschäft mit den Trikots". merkur.de. 10 August 2018. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
  78. "Deutsche Fußball-Nationalmannschaft 1978–1980". sportmuseum.de. 4 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
  79. "DFB-Trikot 2012". hansanews.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-10. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
  80. "Adidas pays up to extend deal with German soccer". The Irish Times.
  81. Smith, Matt. "Adidas agrees record new deal with German soccer team". สืบค้นเมื่อ 17 November 2018.
  82. "German Team Scores Record Deal with Adidas". 21 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 17 November 2018.
  83. ADIDAS AND DFB EXTEND PARTNERSHIP UNTIL 2026
  84. 84.0 84.1 "Germany Football Shirts – Old Football Kits". oldfootballshirts.com. สืบค้นเมื่อ 25 December 2011.
  85. "FIFA ฟุตบอลโลก 1938 – Historical Football Kits". Historicalkits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 13 July 2014.
  86. "World Cups remembered: West Germany 1974". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
  87. Limited, Alamy. "Stock Photo - 1974 World Cup Final, Olympic Stadium, Munich. West Germany 2 v Holland 1. West German team celebrate with trophy. July 1974". Alamy (ภาษาอังกฤษ).
  88. "เยอรมนี ชนะ อาร์เจนตินา 1 - 0 คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยที่ 4". ไทยพีบีเอส. 14 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-03. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  89. "เยอรมันดวลฟ้าขาว ชิงแชมป์ นัดหยุดโลกคืนนี้ จับตา"เมสซี่"ระเบิดฟอร์มเทพ สถิติเจอกันอาร์เจนตินาเหนือกว่า". ข่าวสด. 13 July 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  90. As 1990 FIFA World Cup Champions
  91. As UEFA Euro 1996 Champions
  92. As 2002 FIFA World Cup Runners-up
  93. "Flick beruft Moukoko, Füllkrug und Götze in WM-Kader" (ภาษาเยอรมัน). German Football Association. 10 November 2022. สืบค้นเมื่อ 10 November 2022.
  94. "Team" (ภาษาเยอรมัน). German Football Association. สืบค้นเมื่อ 16 November 2022.
  95. Mamrud, Roberto. "(West) Germany - Record International Players". RSSSF.
  96. "Arsenal playmaker Mesut Ozil wins Germany player of the year award". The Guardian. 14 January 2016. สืบค้นเมื่อ 17 March 2016.
  97. "Mesut Ozil: Arsenal midfielder wins Germany's Player of the Year for fifth time". BBC Sport. 15 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 January 2017.
  98. "Joshua Kimmich named Germany's 2017 Player of the Year". Bundesliga. 19 January 2018. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
  99. "Matthias Ginter: The spare part who became the main man for Germany | DW | 10.01.2020". DW.COM.
  100. "Neuer ist "Nationalspieler des Jahres 2020"". German Football Association (ภาษาเยอรมัน). 10 January 2021. สืบค้นเมื่อ 14 January 2021.
  101. "Member Association - Germany - FIFA.com". www.fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-29. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้