ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ (อังกฤษ: FIFA Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จัดขึ้นทุกสี่ปีโดยฟีฟ่า เป็นการแข่งขันระหว่างทีมที่ชนะเลิศจากแต่ละภูมิภาคทั่วโลก (เอเชียนคัพ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ โกลด์คัพ โกปาอาเมริกา โอเอฟซีเนชันส์คัพ และ ยูโร) พร้อมทั้งทีมที่ชนะฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดและทีมเจ้าภาพในปีถัดไป ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 ทีม โดยเริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ในชื่อ คิงฟาฮัดคัพที่จัดขึ้นที่ซาอุดีอาระเบีย และในปี พ.ศ. 2540 ทางฟีฟ่าได้มาเป็นผู้จัดการการแข่งขันทั้งหมด
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2535 (1992) |
---|---|
ยกเลิก | พ.ศ. 2562 (2019) |
ภูมิภาค | นานาชาติ (ฟีฟ่า) |
จำนวนทีม | 8 (จาก 6 สมาพันธ์) |
ทีมชนะเลิศล่าสุด | เยอรมนี (สมัยที่ 1) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | บราซิล (4 สมัย) |
เว็บไซต์ | www |
ผู้ชนะครั้งล่าสุดคือทีมชาติบราซิล[1] โดยได้มีการจัดขึ้นก่อนฟุตบอลโลก 2014 ที่จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล และในปี พ.ศ. 2560 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพจะจัดขึ้นที่ประเทศรัสเซีย ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018
ทีมทีได้สิทธิในการเข้าร่วม
แก้- เจ้าภาพฟุตบอลโลก
- แชมป์ฟุตบอลโลก
- แชมป์ฟุตบอลยูโร
- แชมป์ฟุตบอลโกลด์คัพ
- แชมป์ฟุตบอลเอเชียนคัพ
- แชมป์ฟุตบอลโกปาอาเมริกา
- แชมป์ฟุตบอลโอเอฟซีเนชันส์คัพ
- แชมป์ฟุตบอลแอฟริกาคัพออฟเนชันส์
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
แก้หมายเหตุ สำหรับฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2 ครั้งแรกใช้ชื่อว่า คิงส์ ฟาฮัดคัพ
คิงส์ ฟาฮัดคัพ
แก้ปี | เจ้าภาพ | ชิงชนะเลิศ | ชิงอันดับที่สาม | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | ผลการแข่งขัน | รองชนะเลิศ | อันดับ 3 | ผลการแข่งขัน | อันดับ 4 | ||
1992 [2] รายละเอียด |
ซาอุดีอาระเบีย | อาร์เจนตินา | 3–1 | ซาอุดีอาระเบีย | สหรัฐ | 5–2 | โกตดิวัวร์ |
1995 [2] รายละเอียด |
ซาอุดีอาระเบีย | เดนมาร์ก | 2–0 | อาร์เจนตินา | เม็กซิโก | 1–1 (5–4 ดวลลูกโทษ) |
ไนจีเรีย |
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
แก้ปี | เจ้าภาพ | ชิงชนะเลิศ | ชิงอันดับที่สาม | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | ผลการแข่งขัน | รองชนะเลิศ | อันดับ 3 | ผลการแข่งขัน | อันดับ 4 | ||
1997 รายละเอียด |
ซาอุดีอาระเบีย | บราซิล | 6–0 | ออสเตรเลีย | เช็กเกีย | 1–0 | อุรุกวัย |
1999 รายละเอียด |
เม็กซิโก | เม็กซิโก | 4–3 | บราซิล | สหรัฐ | 2–0 | ซาอุดีอาระเบีย |
2001 รายละเอียด |
เกาหลีใต้ / ญี่ปุ่น |
ฝรั่งเศส | 1–0 | ญี่ปุ่น | ออสเตรเลีย | 1–0 | บราซิล |
2003 รายละเอียด |
ฝรั่งเศส | ฝรั่งเศส | 1–0 (โกลเดนโกล) |
แคเมอรูน | ตุรกี | 2–1 | โคลอมเบีย |
2005 รายละเอียด |
เยอรมนี | บราซิล | 4–1 | อาร์เจนตินา | เยอรมนี | 4–3 (หลังต่อเวลาพิเศษ) |
เม็กซิโก |
2009 รายละเอียด |
แอฟริกาใต้ | บราซิล | 3–2 | สหรัฐ | สเปน | 3–2 (หลังต่อเวลาพิเศษ) |
แอฟริกาใต้ |
2013 รายละเอียด |
บราซิล | บราซิล | 3–0 | สเปน | อิตาลี | 2–2 (3–2 ดวลลูกโทษ) |
อุรุกวัย |
2017 รายละเอียด |
รัสเซีย | เยอรมนี | 1–0 | ชิลี | โปรตุเกส | 2–1 (หลังต่อเวลาพิเศษ) |
เม็กซิโก |
ทีมชนะอันดับหนึ่งถึงสี่
แก้ทีม | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับสาม | อันดับสี่ |
---|---|---|---|---|
บราซิล | 4 (1997, 2005, 2009, 2013) | 1 (1999) | - | 1 (2001) |
ฝรั่งเศส | 2 (2001, 2003*) | - | - | - |
อาร์เจนตินา | 1 (1992) | 2 (1995, 2005) | - | - |
เม็กซิโก | 1 (1999*) | - | 1 (1995) | 2 (2005, 2017) |
เยอรมนี | 1 (2017) | - | 1 (2005*) | - |
เดนมาร์ก | 1 (1995) | - | - | - |
สหรัฐ | - | 1 (2009) | 2 (1992, 1999) | - |
ออสเตรเลีย | - | 1 (1997) | 1 (2001) | - |
สเปน | - | 1 (2013) | 1 (2009) | - |
ซาอุดีอาระเบีย | - | 1 (1992*) | - | 1 (1999) |
ญี่ปุ่น | - | 1 (2001*) | - | - |
แคเมอรูน | - | 1 (2003) | - | - |
ชิลี | - | 1 (2017) | - | - |
เช็กเกีย | - | - | 1 (1997) | - |
ตุรกี | - | - | 1 (2003) | - |
อิตาลี | - | - | 1 (2013) | - |
โปรตุเกส | - | - | 1 (2017) | - |
อุรุกวัย | - | - | - | 2 (1997, 2013) |
โกตดิวัวร์ | - | - | - | 1 (1992) |
ไนจีเรีย | - | - | - | 1 (1995) |
โคลอมเบีย | - | - | - | 1 (2003) |
แอฟริกาใต้ | - | - | - | 1 (2009*) |
- *: เจ้าภาพ
อ้างอิง
แก้- ↑ สถิติการแข่งขัน จาก rsssf
- ↑ 2.0 2.1 The first two editions were in fact the defunct King Fahd Cup. FIFA later recognized them retroactively as Confederations Cups. See Previous Tournaments เก็บถาวร 2009-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์คอนเฟเดอเรชันส์คัพอย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2008-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน