ฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัย
ฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัย (สเปน: Selección de fútbol de Uruguay) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศอุรุกวัย อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลอุรุกวัย
![]() | |||
ฉายา | Charrúas La Celeste Olímpica (The Olympic Sky Blue) La Celeste (The Sky Blue) จอมโหด (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลอุรุกวัย | ||
สมาพันธ์ | คอนเมบอล (อเมริกาใต้) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ออสการ์ ตาบาเรซ | ||
กัปตัน | เดียโก โกดิน | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | เดียโก ฟอร์ลัน (112) | ||
ทำประตูสูงสุด | ลุยส์ ซัวเรซ (42) | ||
สนามเหย้า | เอสตาโด เซนเตนารีโอ | ||
รหัสฟีฟ่า | URU | ||
อันดับฟีฟ่า | 16 | ||
อันดับฟีฟ่าสูงสุด | 2 (มิถุนายน 2012) | ||
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด | 56 (ธันวาคม 1998) | ||
อันดับอีแอลโอ | 14 | ||
อันดับอีแอลโอสูงสุด | 1 (ในช่วงระหว่างปี 1920-31) | ||
อันดับอีแอลโอต่ำสุด | 46 (มีนาคม 1980) | ||
| |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
![]() ![]() (มอนเตวิเดโอ, อุรุกวัย; 16 พฤษภาคม 1901) | |||
ชนะสูงสุด | |||
![]() ![]() (ลิมา, เปรู; 9 พฤศจิกายน 1927) | |||
แพ้สูงสุด | |||
![]() ![]() (มอนเตวิเดโอ, อุรุกวัย; 20 กรกฎาคม 1902) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 11 (ครั้งแรกใน 1930) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ, 1930 และ 1950. | ||
โกปาอาเมริกา | |||
เข้าร่วม | 40 (ครั้งแรกใน 1916) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ, 1916, 1917, 1920, 1923, 1924, 1926, 1935, 1942, 1956, 1959, 1967, 1983, 1987, 1995, 2011. | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1997) | ||
ผลงานดีที่สุด | ที่ 4, 1997 |
สถิติเหรียญรางวัล | ||
Men's Football | ||
---|---|---|
ทอง | 1924 Paris | Team |
ทอง | 1928 Amsterdam | Team |
ทีมชาติอุรุกวัยเคยชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ครั้ง รวมถึงการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกใน ฟุตบอลโลก 1930 ที่เป็นประเทศเจ้าภาพ ชนะฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาในรอบตัดสิน 4-2 ชนะครั้งที่ 2 ใน ฟุตบอลโลก 1950 ชนะบราซิล ประเทศเจ้าภาพไป 2-1 ทีมชาติอุรุกวัยยังเคยได้เหรียญทองฟุตบอลในโอลิมปิก 2 ครั้งคือ ในปี 1924 และ 1928 ก่อนที่จะมีการจัดฟุตบอลโลก และยังชนะการแข่งขัน Mundialito ที่เป็นการแข่งขันระหว่างอดีตแชมเปียนฟุตบอลโลก จัดขึ้นในปี 1980 ที่อุรุกวัย เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีของฟุตบอลโลก ทีมชาติอุรุกวัยถือเป็นหนึ่งในทีมชาติที่ประสบความสำเร็จที่สุดทีมหนึ่ง ชนะอย่างเป็นทางการกว่า 18 รางวัล รวมถึงชนะฟุตบอลโลก 2 ครั้ง, โอลิมปิก 2 ครั้ง และโกปาอาเมริกา 15 ครั้ง
ประเทศอุรุกวัยเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยกว่า 4 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่เล็กที่สุดที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก (รองลงมาคืออาร์เจนตินา มีประชากรมากกว่า 40 ล้านคน)[1]
ประวัติแก้ไข
ในสัญลักษณ์ของทีมชาติอุรุกวัย จะมีปรากฏดาวทั้งหมด 4 ดวง ทั้งที่เคยเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกเพียง 2 สมัย แต่อีก 2 ดวงนั้นหมายถึงการที่ได้เหรียญทองฟุตบอลชายโอลิมปิกมาก่อนหน้านั้น 2 สมัย คือ โอลิมปิก 1924 และโอลิมปิก 1928 ซึ่งถือได้ว่าเป็นเสมือนแชมป์โลก เพราะเป็นการแข่งขันก่อนที่จะมีฟุตบอลโลกเกิดขึ้น[2]
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
ข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | เฟร์นันโด มุสเลรา | 16 มิถุนายน ค.ศ. 1986 (34 ปี) | 58 | 0 | กาลาตาซาราย |
12 | GK | โรดรีโก มูโญซ | 22 มกราคม ค.ศ. 1982 (39 ปี) | 0 | 0 | ลีเบร์ตัด |
23 | GK | มาร์ติน ซิลบา | 25 มีนาคม ค.ศ. 1983 (37 ปี) | 4 | 0 | วัสกู ดา กามา |
2 | DF | เดียโก ลูกาโน | 02 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 (40 ปี) | 94 | 9 | ไม่มีสังกัด |
3 | DF | เดียโก โกดิน | 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 (34 ปี) | 77 | 3 | อัตเลติโกเดมาดริด |
4 | DF | คอร์เค ฟูซีเล | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 (36 ปี) | 42 | 0 | โปร์ตู |
13 | DF | โคเซ มารีอา คีเมเนซ | 20 มกราคม ค.ศ. 1995 (26 ปี) | 6 | 0 | อัตเลติโกเดมาดริด |
16 | DF | มักซี เปเรย์รา | 8 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (36 ปี) | 90 | 3 | ไบฟีกา |
19 | DF | เซบัสเตียน โกอาเตส | 7 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (30 ปี) | 15 | 0 | นาซีโอนัล |
22 | DF | มาร์ติน กาเซเรส | 7 เมษายน ค.ศ. 1987 (33 ปี) | 57 | 1 | ยูเวนตุส |
5 | MF | วัลเตร์ การ์กาโน | 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1984 (36 ปี) | 63 | 1 | ปาร์มา |
6 | MF | อัลบาโร เปเรย์รา | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 (35 ปี) | 57 | 6 | เซาเปาลู |
7 | MF | กริสเตียน โรดรีเกซ | 30 กันยายน ค.ศ. 1985 (35 ปี) | 73 | 8 | อัตเลติโกเดมาดริด |
14 | MF | นีโกลัส โลเดย์โร | 21 มีนาคม ค.ศ. 1989 (31 ปี) | 26 | 3 | โกริงชังส์ |
15 | MF | เดียโก เปเรซ | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (40 ปี) | 89 | 2 | โบโลญญา |
17 | MF | เอคีดีโอ อาเรบาโล รีโอส | 1 มกราคม ค.ศ. 1982 (39 ปี) | 55 | 0 | อูอาเอเนเอเล |
18 | MF | กัสตอน รามีเรซ | 2 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (30 ปี) | 29 | 0 | เซาแทมป์ตัน |
20 | MF | อัลบาโร ราฟาเอล กอนซาเลซ | 29 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (36 ปี) | 43 | 2 | ลาซีโอ |
8 | FW | อาเบล เอร์นันเดซ | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1990 (30 ปี) | 12 | 7 | ปาแลร์โม |
9 | FW | ลุยส์ ซัวเรซ | 24 มกราคม ค.ศ. 1987 (34 ปี) | 77 | 38 | บาร์เซโลนา |
10 | FW | เดียโก ฟอร์ลัน | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 (41 ปี) | 110 | 36 | เซเรโซโอซากะ |
11 | FW | กริสเตียน สตัวนี | 12 ตุลาคม ค.ศ. 1986 (34 ปี) | 10 | 4 | อัสปัญญ็อล |
21 | FW | เอดินซอน กาบานี | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 (33 ปี) | 62 | 21 | ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง |
อดีตผู้เล่นคนสำคัญแก้ไข
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ในการชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก อุรุกวัยในปี 1930 มีประชากรราว 2 ล้านคน ขณะที่อาร์เจนตินาในปี 1978 มีประชากร 28 ล้านคน
- ↑ "ไทยบันเทิง: แฟชั่นในฟุตบอลโลก". ไทยพีบีเอส. 22 June 2014. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.