ฟุตบอลทีมชาติบราซิล
ฟุตบอลทีมชาติบราซิล (โปรตุเกส: Seleção Brasileira de Futebol) เป็นทีมฟุตบอลชายตัวแทนของประเทศบราซิล อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล (CBF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฟุตบอลในประเทศบราซิล พวกเขาเป็นสมาชิกของฟีฟ่ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1923 และเป็นสมาชิกของคอนเมบอลมาตั้งแต่ ค.ศ. 1916
ฉายา | A Seleção (ทีมชาติ) Canarinho (นกขมิ้นน้อย) แซมบ้า (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล (CBF) | ||
สมาพันธ์ | คอนเมบอล (อเมริกาใต้) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | เฟอร์นันโด ดินิซ (รักษาการ) | ||
กัปตัน | คาเซมิโร่ | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | กาฟู (142)[1][2] | ||
ทำประตูสูงสุด | เนย์มาร์ (79) [3] | ||
สนามเหย้า | หลายแห่ง | ||
รหัสฟีฟ่า | BRA | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 4 1 (20 มิถุนายน 2024)[4] | ||
อันดับสูงสุด | 1 (159 ครั้งใน 8 โอกาส[5]) | ||
อันดับต่ำสุด | 22 (6 มิถุนายน ค.ศ. 2013) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
อาร์เจนตินา 3–0 บราซิล (บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา; 20 กันยายน ค.ศ. 1914)[6][7] | |||
ชนะสูงสุด | |||
บราซิล 10–1 โบลิเวีย (เซาเปาลู ประเทศบราซิล; 10 เมษายน ค.ศ. 1949)[8] บราซิล 9–0 โคลอมเบีย (ลิมา ประเทศเปรู; 24 มีนาคม ค.ศ. 1957) | |||
แพ้สูงสุด | |||
อุรุกวัย 6–0 บราซิล (บิญญาเดลมาร์ ประเทศชิลี; 18 กันยายน ค.ศ. 1920) บราซิล 1–7 เยอรมนี (เบลูโอรีซองชี ประเทศบราซิล; 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2014) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 22 (ครั้งแรกใน 1930) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) | ||
โกปาอาเมริกา | |||
เข้าร่วม | 37 (ครั้งแรกใน 1916) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1919, 1922, 1949, 1989, 1997, 1999, 2004, 2007, 2019) | ||
แพนอเมริกันแชมเปียนชิป | |||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 1952) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1952, 1956) | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 7 (ครั้งแรกใน 1997) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1997, 2005, 2009, 2013) | ||
บราซิลเป็นทีมชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในฟุตบอลโลก โดยชนะเลิศทั้งสิ้น 5 สมัยในปี 1958, 1962, 1970, 1994 และ 2002 นอกจากนี้ ยังทำอีกหลายสถิติในฟุตบอลโลก ได้แก่ ชนะมากที่สุดที่ 76 นัดจากการลงเล่น 114 นัด ทำผลต่างประตูได้ถึง 129 ลูก ทำคะแนนได้ถึง 247 แต้ม และแพ้เพียงแค่ 19 นัดเท่านั้น[9][10] บราซิลเป็นเพียงทีมชาติเดียวที่ลงแข่งขันฟุตบอลโลกครบทุกครั้ง และไม่เคยต้องแข่งขันในรอบเพลย์ออฟ[11]
บราซิลเป็นทีมชาติที่มีอันดับอีโลโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก และมีอันดับอีโลสูงสุดสูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก โดยการจัดอันดับนี้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1962[12] บราซิลได้รับรางวัลทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของฟีฟ่ามากที่สุดที่ 13 ครั้ง[13] บรรดานักวิจารณ์และอดีตผู้เล่นต่างออกมายกย่องว่าทีมชาติบราซิลยุคปี 1970 เป็นทีมฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก[14][15][16][17][18] ส่วนทีมชาติบราซิลในยุคอื่น ๆ ก็ถูกมองว่าเป็นทีมที่มีคุณภาพดีด้วยเช่นกัน อย่างเช่น ทีมชาติในปี 1958–62 และ 1982[19][20][21][22]
บราซิลเป็นเพียงชาติเดียวที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกบนสี่ทวีปที่แตกต่างกัน ได้แก่ หนึ่งสมัยที่ยุโรป (สวีเดน 1958), หนึ่งสมัยที่อเมริกาใต้ (ชิลี 1962), สองสมัยที่อเมริกาเหนือ (เม็กซิโก 1970 และสหรัฐ 1994) และหนึ่งสมัยที่เอเชีย (เกาหลีใต้/ญี่ปุ่น 2002) พวกเขาเป็นหนึ่งในสามทีมชาติร่วมกับฝรั่งเศสและอาร์เจนตินาที่ชนะเลิศการแข่งขันครบสามรายการใหญ่ของฟีฟ่า ได้แก่ ฟุตบอลโลก, คอนเฟเดอเรชันส์คัพ และโอลิมปิกฤดูร้อน[note 1] พวกเขาเคยครองสถิติไม่แพ้ใครติดต่อกันมากที่สุดที่ 35 นัดร่วมกับทีมชาติสเปน[23] บราซิลยังเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในรายการฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพจากการชนะเลิศสี่สมัยใน ค.ศ. 1997, 2005, 2009 และ 2013 และจากการคว้าเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ส่งผลให้บราซิลเป็นชาติที่สองต่อจากฝรั่งเศสที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชายของฟีฟ่าแบบผู้เล่น 11 คนในทุกรุ่นอายุ[24][25][26][27]
บราซิลมีทีมชาติคู่ปรับหลายทีม ได้แก่ อาร์เจนตินา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Superclássico das Américas ในภาษาโปรตุเกส, อิตาลี ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Clásico Mundial ในภาษาสเปนหรือ เวิลด์ดาร์บี ในภาษาอังกฤษ[28][29] อุรุกวัย จากเหตุการณ์มารากานาโซอันเป็นบาดแผลทางใจของบราซิล[30] ฝรั่งเศส จากการพบกันในฟุตบอลโลกที่บราซิลมักเป็นรองกว่า[31] เนเธอร์แลนด์ จากการพบกันในฟุตบอลโลกและรูปแบบการเล่นของทั้งสองทีมที่คล้ายกัน[32] และโปรตุเกส จากการที่ทั้งคู่มีมรดกและวัฒนธรรมร่วมกัน เช่นเดียวกับการที่มีนักฟุตบอลชาวบราซิลหลายคนเกิดที่โปรตุเกส[33][34] มีคำพูดหนึ่งที่กล่าวว่า "อังกฤษคิดค้นฟุตบอล แต่บราซิลทำให้มันสมบูรณ์แบบ" (Os ingleses o inventaram, os brasileiros o aperfeiçoaram)[35]
ประวัติ
แก้ก่อตั้งทีมยุคแรก (1914–1922)
แก้เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าการแข่งขันครั้งแรกของฟุตบอลทีมชาติบราซิลเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1914 เป็นการรวมตัวนักฟุตบอลชาวบราซิลจากเมืองริโอเดอจาเนโรและเซาเปาลู โดยได้แข่งขันกับสโมสรฟุตบอลจากประเทศอังกฤษกับสโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ซิตี ที่สนามฟลูมีเนงซีสเตเดียม.[36][37] ผลปรากฏว่าทีมชาติบราซิลเอาชนะไปได้ 2–0 จากประตูของ ออสวัลโด โกมีซ และ ออสแมน,[36][37][38] ซึ่งในปีเดียวกันเกมส์ในระดับนานาชาติครั้งแรกของทีมชาติบราซิลคือการเล่นกับ อาร์เจนตินา โดยนัดนี้บราซิลได้แพ้ไป 3–0 โดยแข่งกันที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ต่อมา ภายใต้การคุมทีมของอาร์ตูร์ ฟรีเดนริช หนึ่งในกองหน้าระดับตำนานของบราซิล พวกเขาชนะเลิศการแข่งขันรายการแรกในโกปาอาเมริกา ค.ศ. 1919 ตามด้วยแชมป์สมัยที่สองในอีกสามปีถัดมา
ฟุตบอลโลกครั้งแรก (1930–1949)
แก้บราซิลลงแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี 1930 ที่ประเทศอุรุกวัย พวกเขาเริ่มต้นด้วยการชนะโบลิเวีย แต่แพ้ยูโกสลาเวียตกรอบแบ่งกลุ่ม[39] ต่อมาในฟุตบอลโลก 1934 ที่อิตาลีเป็นเจ้าภาพ พวกเขาตกรอบแรกโดยแพ้สเปน 1–3 และมีผลงานที่ดีที่สุดในฟุตบอลโลก 1938 โดยเข้าถึงรอบรองชนะเลิศก่อนจะแพ้ทีมแชมป์ในครั้งนั้นคืออิตาลี 1–2 โดยพวกเขาเป็นทีมจากทวีปอเมริกาใต้เพียงทีมเดียวที่ได้แข่งขันในครั้งนี้ บราซิลยุติช่วงเวลา 27 ปีที่ไม่สามารถชนะเลิศการแข่งขันระดับทางการด้วยการคว้าแชมป์โกปาอเมริกาด้วยผลงานชนะถึง 6 จาก 7 นัด จบอันดับหนึ่งในการแข่งขันซึ่งในครั้งนี้พวกเขาเป็นเจ้าภาพเช่นเดียวกับปี 1922
มารากานาซู
แก้บราซิลเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1950 พวกเขาทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก และลงเล่นนัดตัดสินกับอุรุกวัยในนัดสุดท้ายของรอบต่อมา ณ สนามกีฬามารากานัง โดบบราซิลต้องการเพียงผลเสมอเพื่อคว้าแชมป์โลก แต่เป็นฝ่ายแพ้ไปด้วยผลประตู 1–2 การแข่งขันในนัดนี้ถูกเรียกว่า "มารากานาซู" นำไปสู่ความผิดหวังของชาวบราซิลทั้งประเทศ
ต่อมา ในฟุตบอลโลก 1954 ที่สวิตเซอร์แลนด์ บราซิลมีการสร้างทีมขึ้นใหม่อีกครั้ง รวมถึงเปลี่ยนสีชุดแข่งขันจากสีขาวล้วนมาเป็นสีเหลืองและสีเขียวเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นสีธงชาติ ทั้งนี้ เพื่อต้องการเพิ่มสีสันและความมีชีวิตชีวาให้ชาวบราซิลหลังจากความผิดหวังในฟุตบอลโลกครั้งก่อน แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้เล่นหลายรายแต่ยังมีผู้เล่นชื่อดังหลายคน พวกเขาเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศและแพ้ทีมเต็งแชมป์อย่างฮังการีด้วยผลประตู 2–4 ซึ่งเป็นหนึ่งในนัดการแข่งขันฟุตบอลที่ดุเดือดและได้รับการวิจารณ์ถึงความรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง โดยมีผู้เล่นได้รับใบแดงถึงสามคนได้รับการตั้งชื่อว่าเป็น "การต่อสู้แห่งเมืองแบร์น"
ยุคทองของเปเล่ (1958–70)
แก้ในฟุตบอลโลก 1958 บราซิลถูกจับสลากอยู่กลุ่มเดียวกับอังกฤษ, สหภาพโซเวียต และออสเตรีย พวกเขาเปิดสนามด้วยการเอาชนะออสเตรีย 3–0 ต่อด้วยการเสมออังกฤษ 0–0 และในนัดสุดท้ายของกลุ่ม หัวหน้าผู้ฝึกสอน บีเซนเต ฟีโอลา เลือกที่จะพักผู้เล่นตัวหลักสามคนอย่างซีตู, การิงชา และเปเล่เป็นตัวสำรอง ทำให้ถูกวิจารณ์ว่าบราซิลจะต้องแพ้โซเวียตอย่างแน่นอน เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน พวกเขาแข่งขันด้วยความกดดันในช่วง 3 นาทีแรก (ซึ่ง 3 นาทีนี้ถูกเรียกว่าเป็น "สามนาทีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอล")[40] ก่อนที่วาว่าจะยิงประตูขึ้นนำ และจบลงด้วยชัยชนะ 2–0 ของบราซิล ต่อมา เปเล่ทำประตูชัยช่วยให้ทีมเอาชนะเวลส์ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนที่ทีมจะไปเอาชนะฝรั่งเศสในรอบรองชนะเลิศ 5–2 และในรอบชิงชนะเลิศ บราซิลเอาชนะสวีเดนไปได้ 5–2 ทำให้พวกเขาชนะเลิศฟุตบอลโลกสมัยแรกและเป็นชาติแรกที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกนอกทวีปของตน เปเล่ร้องไห้พร้อมกล่าวว่า เวลาของเขากับทีมชาติมาถึงแล้ว[41]
ในฟุตบอลโลก 1962 บราซิลคว้าแชมป์โลกสมัยที่สองโดยมีการิงชาเป็นผู้เล่นตัวหลัก แม้ว่าเปเล่จะได้รับบาดเจ็บในนัดที่สองของกลุ่มที่พบกับเชโกสโลวาเกียจนไม่สามารถลงเล่นในนัดที่เหลือได้ก็ตาม[42][43]
ในฟุตบอลโลก 1966 บราซิลมีผลงานในฟุตบอลโลกที่ย่ำแย่ พวกเขากล่าวว่าการแข่งขันครั้งนี้มีการเข้าสกัดที่หนักและเปเล่ก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ได้รับผลกระทบนั้น โดยในนัดที่พบกับโปรตุเกส เปเล่ถูกผู้เล่นโปรตุเกสเข้าสกัดอย่างหนักถึง 7 ครั้งก่อนที่เขาจะต้องออกจากเกมและไม่ได้ลงเล่นในรายการนั้นอีกเลย บราซิลจึงตกรอบแรกของฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1934 และกลายเป็นแชมป์โลกเก่าทีมที่สองที่ต้องตกรอบแรกต่อจากอิตาลีใน ค.ศ. 1950 เช่นเดียวกันกับฝรั่งเศส, อิตาลี, สเปน และเยอรมนีที่เป็นแชมป์เก่าและตกรอบแรกเช่นกันในปี 2002, 2010, 2014 และ 2018 ตามลำดับ หลังการแข่งขันครั้งนั้น เปเล่ประกาศว่าเขาจะไม่ลงเล่นในฟุตบอลโลกอีก อย่างไรก็ตาม เขากลับมาลงเล่นอีกครั้งใน ค.ศ. 1970[44]
บราซิลชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นสมัยที่สามที่เม็กซิโกในปี 1970 โดยผู้เล่นชุดนั้นถูกขนานนามว่าเป็นผู้เล่นชุดที่ดีที่สุดในโลก[14][15][16][19] ซึ่งประกอบไปด้วยเปเล่ที่ลงเล่นฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย, กัปตันทีม การ์ลุส อัลเบร์ตู ตูร์เรซ, แจร์ซิญโญ, ตอสเตา, แกร์สัน และรีเวลีนู แม้ว่าการิงชาจะเลิกเล่นไปแล้ว แต่ทีมก็ยังมีขุมกำลังที่แข็งแกร่ง พวกเขาชนะรวดทั้ง 6 นัด ตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่มที่เอาชนะเชโกสโลวาเกีย, อังกฤษ และโรมาเนีย ต่อด้วยการเอาชนะเปรู, อุรุกวัย และอิตาลีในรอบแพ้คัดออก แจร์ซิญโญเป็นผู้เล่นที่ทำประตูมากเป็นอันดับที่สองในรายการนั้นที่ 7 ประตู และเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่ทำประตูครบทุกนัดในฟุตบอลโลก ในขณะเปเล่ทำได้ 4 ประตู บราซิลได้ชูถ้วยรางวัลชูลส์รีเมต์เป็นครั้งที่ 3 ทำให้พวกเขาเป็นชาติแรกที่ได้เก็บถ้วยรางวัลนี้เป็นการถาวร ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนรูปแบบถ้วยรางวัลใหม่ ซึ่งบราซิลต้องใช้เวลาถึง 24 ปีกว่าจะได้ชูถ้วยรางวัลนี้อีกครั้ง[45]
ยุคถดถอย (1974–1990)
แก้หลังจากที่เปเล่และผู้เล่นตัวหลักคนอื่น ๆ ที่ลงแข่งขันฟุตบอลโลก 1970 ประกาศเลิกเล่นทีมชาติ บราซิลมีผลงานที่แย่ลง โดยพ่ายแพ้ให้กับเนเธอร์แลนด์ในฟุตบอลโลก 1974 ที่เยอรมนีตะวันตก และจบอันดับที่ 4 หลังจากที่แพ้ในการชิงอันดับที่ 3 ให้กับโปแลนด์[46]
ในรอบแบ่งกลุ่มรอบสองของฟุตบอลโลก 1978 บราซิลต้องแย่งชิงอันดับเพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศกับเจ้าภาพอย่างอาร์เจนตินา โดยในนัดสุดท้ายของกลุ่ม บราซิลเอาชนะโปแลนด์ 3–1 และขึ้นเป็นจ่าฝูงของกลุ่มด้วยผลต่างประตู +5 ในขณะที่อาร์เจนตินา ซึ่งยังไม่ได้แข่งขันในนัดสุดท้าย มีผลต่างประตู +2 เท่านั้น แต่ในนัดสุดท้ายของกลุ่มของอาร์เจนตินา พวกเขาเอาชนะเปรูยับเยิน 6–0 ทำให้อาร์เจนตินามีผลต่างประตูแซงบราซิลจนได้เข้าชิงชนะเลิศ ส่วนบราซิลต้องไปชิงอันดับที่สาม ซึ่งพวกเขาสามารถเอาชนะอิตาลีได้ และยังเป็นทีมเดียวที่ไม่แพ้ใครในรายการแข่งขันครั้งนั้น
ในฟุตบอลโลก 1982 ที่ประเทศสเปน บราซิลถูกมองว่าเป็นตัวเต็งของรายการนั้น แต่ความพ่ายแพ้ของพวกเขาต่ออิตาลี 3–2 ที่บาร์เซโลนา ทำให้พวกเขาต้องตกรอบ โดยการตกรอบครั้งนั้นถูกเรียกว่า "หายนะที่ซาร์เรีย" ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อสนามที่แข่งขัน ทีมชาติบราซิลในฟุตบอลโลกครั้งนั้นมีกองกลางอย่างโซกราเตส, ซิโก้, ฟัลเกา และเอแดร์ พวกเขาถูกจดจำในฐานะทีมที่ดีที่สุดที่ไม่ชนะเลิศฟุตบอลโลก[20]
ผู้เล่นบางคนจากฟุตบอลโลก 1982 อย่างโซกราเตสและซิโก้ ได้กลับมาลงเล่นในฟุตบอลโลก 1986 ที่ประเทศเม็กซิโก บราซิลยังคงมีทีมที่ดีและมีแนวรับที่แข็งแกร่งกว่าเมื่อสี่ปีก่อน พวกเขาพบกับฝรั่งเศสซึ่งนำทีมโดยมีแชล ปลาตีนีในรอบก่อนรองชนะเลิศซึ่งถือเป็นเกมโททัลฟุตบอลที่คลาสสิกเกมหนึ่ง ผลจบลงด้วยการเสมอในเวลาปกติ 1–1 และไม่มีการทำประตูเพิ่มในช่วงต่อเวลาพิเศษ ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ซึ่งบราซิลเป็นฝ่ายแพ้ไป 4–3 ต่อมาบราซิลชนะเลิศโกปาอาเมริกา 1989 นับเป็นการชนะเลิศรายการนี้ครั้งแรกในรอบ 40 ปี และเป็นการชนะเลิศครั้งที่สี่จากการแข่งขันรายการใหญ่สี่ครั้งที่จัดขึ้นในประเทศตัวเอง นี่ยังถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของบราซิลในรอบ 19 ปีหลังจากที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1970
บราซิลเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 1990 ที่ประเทศอิตาลี ภายใต้การคุมทีมของเซบัสตีเอา ลาซาโรนี ซึ่งเคยคุมทีมชนะเลิศโกปาอาเมริกา 1989 ทีมชาติชุดนี้เน้นระบบเกมรับโดยมีกองกลางอย่างดุงกา, กองหน้าอย่างคาเรซา และเซ็นเตอร์แบ็กถึงสามคน แม้ว่าทีมจะขาดความสร้างสรรค์ในการเข้าทำ แต่พวกเขาก็ผ่านเข้าสู่รอบที่สองได้ พวกเขาตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายด้วยการพ่ายแพ่ต่ออาร์เจนตินาที่นำทีมโดยดิเอโก มาราโดนา 1–0 ที่ตูริน[47]
กลับมาประสบความสำเร็จ (1994–2002)
แก้หลังจากที่ไม่ชนะเลิศหรือเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกมาเป็นเวลานานถึง 24 ปี บราซิลได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 1994 ที่สหรัฐ โดยทีมชาติชุดนั้นมีแนวรุกอย่างโรมารีอูและเบแบตู, กองกลางอย่างกัปตันดุงกา, ผู้รักษาประตู เกลาดีโอ ทัฟฟาเรล และกองหลังอย่างฌอร์ฌีญู พวกเขาคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้เป็นสมัยที่ 4 โดยทำผลงานอันโดดเด่นด้วยการเอาชนะสหรัฐ 1–0 ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เอาชนะเนเธอร์แลนด์ 3–2 ในรอบก่อนรองชนะเลิศที่แดลลัส และเอาชนะสวีเดน 1–0 ในรอบรองชนะเลิศที่โรสโบวล์ในแพซาดีนา ก่อนที่จะเข้าไปชิงชนะเลิศกับอิตาลีที่แพซาดีนาเช่นกัน เกมนัดชิงชนะเลิศจบลงด้วยผลเสมอไร้ประตู ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ซึ่งบราซิลเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้หลังจากที่โรแบร์โต บัจโจ คนยิงสุดท้ายของอิตาลี ยิงลูกโทษไม่เข้า[48] แม้ว่าจะบราซิลจะประสบความสำเร็จ แต่ทีมชุดที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกครั้งนั้นกลับไม่ได้รับการยกย่องเทียบเท่ากับทีมชุดชนะเลิศฟุตบอลโลกครั้งอื่น โดยโฟร์โฟร์ทูกล่าวว่าทีมชาติชุดชนะเลิศฟุตบอลโลก 1994 ไม่เป็นที่ชื่นชอบของแฟนบอลในประเทศ เนื่องด้วยรูปแบบการเล่นที่เน้นรับมากกว่ารุก[45]
บราซิลเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 ในฐานะแชมป์เก่า ซึ่งพวกเขาจบด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศ ในรายการนั้น บราซิลจบอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม ก่อนที่จะเอาชนะได้ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายและรอบก่อนรองชนะเลิศ บราซิลเอาชนะการยิงลูกโทษต่อเนเธอร์แลนด์หลังจากที่เสมอกัน 1–1 ในรอบรองชนะเลิศ ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์อย่างโรนัลโดทำ 4 ประตูและ 3 แอสซิสต์ ช่วยให้ทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นที่ดีที่สุดในโลก ณ ตอนนั้นอย่างโรนัลโด กลับประสบภาวะลมชักเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนเริ่มแข่ง[49] การประกาศรายชื่อผู้เล่นตัวจริงซึ่งไม่มีโรนัลโด ส่งความประหลาดใจให้กับสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม โรนัลโดกล่าวว่าเขารู้สึกดีขึ้นและต้องการลงเล่น ทำให้ผู้ฝึกสอนส่งชื่อของเขาลงเล่นทันที โรนัลโดเล่นได้ต่ำกว่ามาตรฐานในเกมนัดนั้น ส่งผลให้ทีมพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสที่นำทีมโดยซีเนดีน ซีดาน 3–0[50]
ในฟุตบอลโลก 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วม บราซิลซึ่งนำทัพโดยสามประสานกองหน้า "3R" (โรนัลโด, รีวัลดู และรอนัลดีนโย) สามารถคว้าแชมป์สมัยที่ 5 ได้สำเร็จ พวกเขาเริ่มต้นด้วยการเอาชนะคู่แข่งครบทั้งสามนัดในรอบแบ่งกลุ่มที่เกาหลีใต้ โดยในนัดเปิดสนามที่บราซิลพบกับตุรกีที่อุลซันนั้น รีวัลดูล้มลงบนพื้นพร้อมเอามือกุมหน้า หลังจากที่ถูกผู้เล่นของตุรกีอย่าง Hakan Ünsal เตะลูกบอลไปโดนขาของเขา รีวัลดูรอดพ้นจากการถูกแบน แต่ต้องเสียค่าปรับ 5,180 ปอนด์จากการแสดงละครตบตา เขากลายเป็นผู้เล่นคนแรกที่ถูกลงโทษด้วยกรณีพุ่งล้มจากทางฟีฟ่า ในรอบแพ้คัดออกที่แข่งขันกันที่ญี่ปุ่น บราซิลเอาชนะเบลเยียม 2–0 ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่โคเบะ ต่อมาพวกเขาเอาชนะอังกฤษ 2–1 ในรอบก่อนรองชนะเลิศที่ชิซูโอกะ โดยได้ประตูชัยจากฟรีคิกระยะ 40 หลาของรอนัลดีนโย[51] และเอาชนะตุรกี 1–0 ในรอบรองชนะเลิศที่ไซตามะ ก่อนที่จะเข้าชิงชนะเลิศกับเยอรมนีที่โยโกฮามะ ซึ่งโรนัลโดทำสองประตูช่วยให้บราซิลเอาชนะไปได้ 2–0[52] โรนัลโดได้รับรางวัลรองเท้าทองคำประจำทัวร์นาเมนต์จากการที่เขาทำได้ถึง 8 ประตู[53] ความสำเร็จของบราซิลครั้งนั้นทำให้เขาได้รับรางวัลทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของลอรีอุสเวิลด์สปอร์ตส[54]
ไร้ความสำเร็จในฟุตบอลโลก (2002–ปัจจุบัน)
แก้บราซิลชนะเลิศโกปาอาเมริกา 2004 ซึ่งเป็นแชมป์รายการที่สามจากการแข่งขันสี่ครั้งหลังสุดนับตั้งแต่ ค.ศ. 1997[55] นอกจากนี้ พวกเขายังชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005 ซึ่งถือเป็นแชมป์สมัยที่สองของพวกเขาในรายการนี้[56] ผู้จัดการทีมอย่างการ์ลุส อับแบร์ตู ปาร์ไรราก่อร่างสร้างทีมด้วยระบบ 4–2–2–2 ซึ่งมีชื่อเรียกติดปากว่า "เมจิกควอเต็ต" (Magic quartet) ระบบนี้มีผู้เล่นในแนวรุกถึงสี่คน ได้แก่ โรนัลโด, อาดรียานู, กาก้า และรอนัลดีนโย[57]
ในฟุตบอลโลก 2006 บราซิลชนะในสองนัดแรกเหนือโครเอเชีย (1–0) และออสเตรเลีย (2–0) และในนัดสุดท้ายของกลุ่ม บราซิลเอาชนะฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นไปได้ถึง 4–1 โดยโรนัลโดทำสองประตูจนกลายเป็นสถิติร่วมของผู้ที่ทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายมากที่สุด ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้าย บราซิลเอาชนะกานา 3–0 โดยโรนัลโดทำประตูที่ 15 ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่ทำประตูในรายการนี้มากที่สุดแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม บราซิลตกรอบก่อนรองชนะเลิศด้วยการพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส 1–0 ซึ่งฝรั่งเศสได้ประตูชัยจากตีแยรี อ็องรี[57]
ดุงกาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมใน ค.ศ. 2006[58] บราซิลชนะเลิศโกปาอาเมริกา 2007 ซึ่งกองหน้าอย่างโรบินยูได้รับรางวัลรองเท้าทองคำและผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์ สองปีถัดมา บราซิลชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 ด้วยการเอาชนะสหรัฐ 3–2 ในรอบชิงชนะเลิศ ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์รายการนี้ได้เป็นสมัยที่สาม[59] กาก้าได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์ ในขณะที่กองหน้าตัวเป้าอย่างลูอีส ฟาเบียนูได้รับรางวัลดาวซัลโวประจำทัวร์นาเมนต์[60]
ในฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ พวกเขาเอาชนะสองนัดแรกในรอบแบ่งกลุ่มเหนือต่อเกาหลีเหนือ (2–1) และโกตดิวัวร์ (3–1) ก่อนที่จะเสมอกับโปรตุเกส 0–0 ในนัดสุดท้าย พวกเขาเอาชนะชิลีในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 3–0 ก่อนที่จะตกรอบก่อนรองชนะเลิศด้วยการแพ้เนเธอร์แลนด์ 2–1[61]
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 มาโน มีนีซีสเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่[62] ในโกปาอาเมริกา 2011 บราซิลตกรอบก่อนรองชนะเลิศด้วยการแพ้ต่อปารากวัย แม้ว่าบราซิลจะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2014 ด้วยการเป็นเจ้าภาพ แต่การไม่ได้แข่งขันในรอบคัดเลือก ทำให้พวกเขามีอันดับโลกฟีฟ่าที่ตกลงไปถึงอันดับที่ 11
การกลับมาของสโกลารี (2013–14)
แก้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 มาโน มีนีซีสถูกไล่ออกจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน โดยมีลูอิส ฟีลีปี สโกลารีเข้ามาทำหน้าที่แทน[63][64]
วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2013 บราซิลรั้งอันดับโลกฟีฟ่าที่อันดับ 22 ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ของพวกเขา[65] พวกเขาเข้าร่วมแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 ในฐานะแชมป์เก่า โดยในรอบชิงชนะเลิศ พวกเขาเอาชนะสเปน 3–0[66] และคว้าแชมป์รายการนี้ได้เป็นสมัยที่สี่[67][68] เนย์มาร์ นอกจากจะได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์แล้ว ยังได้รับรางวัลบอลทองคำและรองเท้าเงินอาดิดาส ในขณะที่ผู้รักษาประตูอย่างชูลีอู เซซาร์ได้รับรางวัลถุงมือทองคำและผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์[69]
ฟุตบอลโลก 2014
แก้ในฟุตบอลโลก 2014 บราซิลประเดิมสนามด้วยการเอาชนะโครเอเชียโดยได้สองประตูจากเนย์มาร์และอีกหนึ่งประตูจากโอสการ์ ทำให้พวกเขาชนะนัดเปิดสนามฟุตบอลโลกในประเทศตัวเองเป็นครั้งแรกในรอบ 64 ปี[70] นัดถัดมา พวกเขาเสมอกับเม็กซิโก และสามารถผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้หลังจากที่เอาชนะแคเมอรูน 4–1 โดยได้สองประตูจากเนย์มาร์และอีกคนละประตูของแฟรจีและเฟร์นังจิญญู[71][72] ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่บราซิลเสมอกับชิลี 1–1 พวกเขาได้ประตูขึ้นนำในนาทีที่ 18 จากดาวิด ลูอีซ ซึ่งถือเป็นประตูของเขาในนามทีมชาติ ก่อนที่สุดท้าย บราซิลจะเอาชนะการยิงลูกโทษไปได้ 3–2 จากการยิงของเนย์มาร์, ดาวิด ลูอีซ และมาร์เซลู และการเซฟทั้งสามลูกยิงของชูลีอู เซซาร์[73]
ต่อมาในรอบก่อนรองชนะเลิศ พวกเขาพบกับทีมจากอเมริกาใต้อีกครั้ง โดยสามารถเอาชนะโคลอมเบียไปได้ 2–1 พวกเขาได้ประตูจากกองหลัง ดาวิด ลูอีซ และกัปตันทีม ชียากู ซิลวา อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายของเกม เนย์มาร์ต้องออกจากการแข่งขันหลังจากที่เข่าของฆวน คามิโล ซูนิกาไปกระแทกใส่หลังของกองหน้าคนนี้ เนย์มาร์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและได้รับการวินิจฉัยว่ากระดูกสันหลังหัก ทำให้เขาจะไม่ได้ลงเล่นในนัดที่เหลือต่อจากนี้[74] ก่อนที่จะบาดเจ็บ เนย์มาร์ยิงได้สี่ประตู ทำหนึ่งแอสซิสต์ และได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดถึงสองครั้ง บราซิลต้องพบกับปัญหาใหญ่ในรอบรองชนะเลิศที่จะพบกับเยอรมนี เมื่อชียากู ซิลวาติดโทษแบนหลังจากที่ได้รับใบเหลืองครบสองใบในทัวร์นาเมนต์หลังจบรอบก่อนรองชนะเลิศ[75]
ในรอบรองชนะเลิศ บราซิลแพ้เยอรมนียับเยิน 1–7 นี่เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดในฟุตบอลโลกและเป็นความพ่ายแพ้ในบ้านในเกมการแข่งขันครั้งแรกของพวกเขานับตั้งแต่ ค.ศ. 1975[76] ก่อนที่จะจบเกม แฟนบอลเจ้าบ้านส่งเสียงร้องเพลง "โอเล" ในทุก ๆ ครั้งที่เยอรมนีจ่ายบอล และส่งเสียงโห่ใส่ผู้เล่นของฝั่งตนเองหลังจากที่มีเสียงนกหวีดเป่าจบเกม[77] เกมนั้นถูกเรียกว่า มีเนย์ราซู ตามชื่อสนามมีเนย์เรา เพื่อให้คล้ายกับเหตุการณ์มารากานาซูที่บราซิลแพ้ในบ้านต่ออุรุกวัยในปี 1950[78] ต่อมา บราซิลพ่ายแพ้ต่อเนเธอร์แลนด์ในรอบชิงอันดับที่สาม 0–3[79][80] ทำให้ในการแข่งขันครั้งนั้น บราซิลกลายเป็นชาติที่เสียประตูเยอะที่สุดในบรรดา 32 ชาติที่เข้าร่วมแข่งขัน โดยเสียไปทั้งสิ้น 14 ประตู[81] มีเพียงเกาหลีเหนือและซาอุดีอาระเบียเท่านั้นที่เสียมากกว่าหรือเท่ากับ 12 ประตูในการแข่งขันฟุตบอลโลกรูปแบบปัจจุบัน[82] หลังจากที่ทำผลงานได้ย่ำแย่ สโกลารีได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน[83]
การกลับมาของดุงกา (2014–2016)
แก้วันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ดุงกากลับมาเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนอีกครั้งหลังจากที่ลาออกไปตอนฟุตบอลโลก 2010[84]
ดุงกาคุมทีมหนที่สองเป็นนัดแรกในเกมกระชับมิตรที่พบกับโคลอมเบียที่ซันไลฟ์สเตเดียมในไมอามีเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2014 ซึ่งบราซิลเอาชนะไปได้ 1–0 ด้วยประตูชัยจากฟรีคิกของเนย์มาร์ในนาทีที่ 83[85] นัดถัดมา ดุงกาคุมทีมเอาชนะเอกวาดอร์ (1–0),[86] อาร์เจนตินา (2–0),[87] ญี่ปุ่น (4–0),[88] ตุรกี (0–4)[89] และออสเตรีย (1–2)[90] ดุงกายังคงคุมทีมชนะอย่างต่อเนื่องใน ค.ศ. 2015 โดยเอาชนะฝรั่งเศสในเกมกระชับมิตร 3–1 ต่อด้วยการเอาชนะชิลี (1–0), เม็กซิโก (2–0) และฮอนดูรัส (1–0)
บราซิลประเดิมสนามในโกปาอาเมริกา 2015 ด้วยการเอาชนะเปรู 2–1 โดยได้ประตูชัยจากโดกลัส กอสตาในช่วงท้ายเกม[91] นัดถัดมา พวกเขาพลิกแพ้ต่อโคลอมเบีย 1–0[92] ก่อนที่จะกลับมาเอาชนะเวเนซุเอลา 2–1 ในนัดสุดท้ายของกลุ่ม[93] ต่อมาในรอบแพ้คัดออก บราซิลพบกับปารากวัย ทั้งสองทีมเสมอกันในเวลา 1–1 ก่อนที่บราซิลจะแพ้การยิงลูกโทษต่อปารากวัย 4–3[94] ทำให้บราซิลไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี[95]
ต่อมาในโกปาอาเมริกาเซนเตนาริโอครั้งพิเศษที่จัดขึ้นใน ค.ศ. 2016 บราซิลประเดิมสนามด้วยการเสมอแบบไร้ประตูกับเอกวาดอร์ โดยในช่วงครึ่งหลัง เอกวาดอร์ทำประตูได้แต่ก็ถูกปฏิเสธ[96] นัดถัดมา บราซิลถล่มเอาชนะเฮติ 7–1 โดยฟีลีปี โกชิญญูสามารถทำแฮตทริกได้[97] และในนัดสุดท้าย พวกเขาขอเพียงแค่ผลเสมอก็จะสามารถผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้ อย่างไรก็ตาม บราซิลพ่ายแพ้เปรูอย่างพลิกความคาดหมาย 1–0 โดยเปรูได้ประตูชัยจากราอุล รุยดิอัซในนาทีที่ 75[98] บราซิลแพ้เปรูเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1985[99] และตกรอบแบ่งกลุ่มของรายการใหญ่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่โกปาอาเมริกา 1987[100][101][102]
ยุคของชีชี (2016–22)
แก้วันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2016 ดุงกาถูกไล่ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม[103] โดยมีชีชี ผู้จัดการทีมที่เคยพาโกริงชังส์คว้าแชมป์กังเปโอนาตูบราซีเลย์รูแซรียีอาในปี 2015 และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกในปี 2012 เข้ารับตำแหน่งในอีกหกวันถัดมา[104] ชีชีประเดิมคุมทีมนัดแรกในนัดที่บุกไปเอาชนะเอกวาดอร์ 3–0 เมื่อวันที่ 2 กันยายน[105] หลังจากนั้น เขาคุมทีมเอาชนะโคลอมเบีย 2–1, ชนะโบลิเวีย 5–0 และบุกชนะเวเนซุเอลา 2–0 ทำให้บราซิลขึ้นเป็นอันดับที่หนึ่งของตารางคะแนนฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกนับตั้งแต่ ค.ศ. 2011[106] บราซิลกลายเป็นทีมแรกที่ผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย (หากไม่นับเจ้าภาพอย่างรัสเซีย) หลังจากที่เอาชนะปารากวัย 3–0[107]
บราซิลประเดิมสนามฟุตบอลโลก 2018 ด้วยการเสมอกับสวิตเซอร์แลนด์ โดยบราซิลได้ประตูจากฟีลีปี โกชิญญูในระยะ 25 หลา นี่เป็นครั้งแรกที่บราซิลไม่ชนะในนัดเปิดสนามของฟุตบอลโลกนับตั้งแต่ปี 1978[108] นัดถัดมา โกชิญญูและเนย์มาร์ทำคนละประตูช่วยให้ทีมเอาชนะคอสตาริกา 2–0[109] และในนัดสุดท้ายของกลุ่ม พวกเขาเอาชนะเซอร์เบีย 2–0 โดยได้ประตูจากเปาลิญญูและชียากู ซิลวา ทำให้บราซิลผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายในฐานะแชมป์กลุ่ม[110] ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม เนย์มาร์และโรแบร์ตู ฟีร์มีนูทำคนละประตูช่วยให้บราซิลชนะเม็กซิโก 2–0 ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ[111] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 กรกฎาคม บราซิลตกรอบก่อนรองชนะเลิศด้วยการแพ้เบลเยียม 2–1 โดยเฟร์นังจิญญูพลาดทำเข้าประตูตัวเอง ในขณะที่เรนาตู เอากุสตูเป็นผู้ทำประตูให้กับบราซิล[112][113][114]
แม้ว่าจะล้มเหลวในฟุตบอลโลก แต่ชีชียังคงได้รับโอกาสคุมทีมลุยศึกโกปาอาเมริกา 2019 อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มต้นทัวร์นาเมนต์ เนย์มาร์ได้รับบาดเจ็บในเกมกระชับมิตรที่บราซิลเอาชนะแชมป์เอเชียนคัพ 2019 อย่างกาตาร์ 2–0[115] แม้ว่าทีมจะไม่มีเนย์มาร์ แต่ชีชีก็คุมทีมคว้าแชมป์โกปาอาเมริกาได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 2007 บราซิลประเดิมสนามด้วยการเอาชนะโบลิเวียแม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการที่พวกเขาทำประตูในครึ่งแรกไม่ได้[116] นัดถัดมา พวกเขาถล่มเอาชนะเปรู 5–0[117] ก่อนที่จะเสมอกับเวเนซุเอลาแบบไร้ประตูทั้งที่พวกเขาทำประตูได้ถึงสามครั้งแต่ก็ถูกปฏิเสธโดยวีเออาร์ทั้งหมด[118] ต่อมาในรอบก่อนรองชนะเลิศ บราซิลชนะการยิงลูกโทษต่อปารากวัย 4–3 หลังจากที่เสมอกันในเวลาแบบไร้ประตู[119] ต่อมาในรอบรองชนะเลิศ พวกเขาเอาชนะคู่ปรับร่วมทวีปอย่างอาร์เจนตินาไปได้ 2–0 ผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศโดยจะพบกับเปรูอีกครั้ง[120] และในรอบชิงชนะเลิศ บราซิลก็สามารถเอาชนะเปรูได้อีกครั้งด้วยผล 3–1 คว้าแชมป์โกปาอาเมริกาสมัยที่ 9 ได้สำเร็จ[121] อย่างไรก็ตาม แชมป์ของบราซิลในครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติอาร์เจนตินาอย่างลิโอเนล เอสกาโลนิว่ามีการล็อกวีเออาร์และมีการเอื้อประโยชน์ให้บราซิลได้แชมป์[122] โดยชีชีได้ออกมาปฏิเสธข้อหาดังกล่าว
ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2021 บราซิลบุกไปเอาชนะปารากวัยด้วยผลประตู 2–0 ที่อาซุนซิออน ถือเป็นการชนะที่ประเทศปารากวัยครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1985[123] ในฟุตบอลโลก 2022 บราซิลคว้าอันดับหนึ่งในรอบแบ่งกลุ่ม โดยเอาชนะเซอร์เบีย 2–0, ชนะสวิตเซอร์แลนด์ 1–0 และแพ้แคเมอรูน 0–1 ตามด้วยการเอาชนะเกาหลีใต้ขาดลอย 4–1[124] แต่ต้องหยุดเส้นทางในรอบต่อมาด้วยการแพ้จุดโทษโครเอเชีย[125] จากความล้มเหลวดังกล่าว เป็นเหตุให้ชีชีลาออก[126]
2024–ปัจจุบัน
แก้บราซิลภายใต้การนำของผู้ฝึกสอนอย่าง ดูริวัล จูเนียร์ ทำผลงานได้น่าผิดหวังในการแข่งขันโกปาอาเมริกา 2024 โดยแพ้อุรุกวัยในรอบก่อนรองชนะเลิศจากการดวลจุดโทษ
ฉายา
แก้ฟุตบอลทีมชาติบราซิลมีฉายาที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลก ฉายาที่ใช้เรียกทีมชาติ อาทิ คานาริญญู แปลว่า 'นกน้อย' สื่อถึงนกสายพันธุ์หนึ่งที่พบได้เฉพาะที่บราซิล มีสีเหลืองสว่าง ฉายานี้ถูกเรียกกันมากขึ้นจากอิทธิพลของนักเขียนการ์ตูน Fernando "Mangabeira" Pieruccetti ในช่วงฟุตบอลโลก 1950[127] ฉายาอื่น ๆ ได้แก่ Amarelinha (พวกสีเหลืองน้อย), Seleção (ผู้ถูกเลือกของชาติ), Verde-amarela (เขียวเหลือง), Pentacampeão (แชมป์ห้าสมัย)[128] และ Esquadrão de Ouro (ผู้เล่นทองคำ) ในขณะที่นักวิจารณ์ชาวละตินอเมริกาบางคนก็เรียกชื่อทีมบราซิลว่า El Scratch (The Scratch)[129]
ภาพลักษณ์ทีม
แก้ขุดแข่งขันแรกของทีมบราซิลเป็นเสื้อสีขาวที่มีคอปกสีน้ำเงิน แต่หลังจากความพ่ายแพ้ที่สนามกีฬามารากานังในฟุตบอลโลก 1950 สีนี้กลับถูกวิจารณ์ว่าไร้ชาตินิยม สมาพันธ์กีฬาบราซิลจึงอนุญาตให้หนังสือพิมพ์ Correio da Manhã จัดการประกวดชุดแข่งใหม่โดยอิงจากสีของธงชาติ[130] ชุดแข่งขันที่ชนะเลิศคือชุดแข่งที่มีเสื้อสีเหลืองขริบเขียว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงินขริบขาว ซึ่งออกแบบโดย Aldyr Garcia Schlee เด็กหนุ่มอายุ 19 ปีจากเมือง Pelotas[131] ชุดแข่งแบบใหม่ถูกใช้งานครั้งแรกในนัดที่พบกับชิลีเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1954 และชุดแข่งนั้นก็ใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ท็อปเปอร์เป็นผู้ผลิตชุดแข่งจนถึงนัดที่พบกับเวลส์เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1991 หลังจากนั้น อัมโบรได้เข้ามาผลิตชุดแข่งแทนนับตั้งแต่นัดที่พบกับยูโกสลาเวียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา[132] ปัจจุบัน ไนกี้เป็นผู้ผลิตชุดแข่งทีมชาติ โดยผลิตชุดแข่งครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1998[133]
สีน้ำเงินและขาวถูกใช้เป็นสีชุดแข่งขันที่สองโดยอิงจากสีประจำราชวงศ์โปรตุเกส พวกเขาใช้สีนี้มาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 และได้ใช้งานถาวรอันเนื่องจากความบังเอิญในฟุตบอลโลก 1958 รอบชิงชนะเลิศ ที่บราซิลจะต้องพบกับสวีเดนที่สวมชุดแข่งสีเหลืองในฐานะทีมเหย้า แต่บราซิลไม่มีชุดแข่งที่สอง จึงต้องสวมเสื้อสีน้ำเงินธรรมดาพร้อมเย็บตราทีมชาติที่แกะออกจากเสื้อแข่งสีเหลือง[134]
ผู้ผลิตชุดแข่ง
แก้ผู้ผลิตชุด | ปี |
---|---|
Athleta | ค.ศ. 1954–1977[135] |
อาดิดาส | ค.ศ. 1977–1981 |
ท็อปเปอร์ | ค.ศ. 1981–1991 |
อัมโบร | ค.ศ. 1991–1996 |
ไนกี้ | ค.ศ. 1997–ปัจจุบัน |
สัญญาชุดแข่ง
แก้ผู้ผลิต | ปี | รายละเอียดสัญญา | ระยะสัญญา | มูลค่า | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ไนกี้ | ค.ศ. 1997–ปัจจุบัน | ค.ศ. 2008–2018 | 30.7 ล้านยูโรต่อปี[136] |
สนามแข่ง
แก้บราซิลไม่ได้มีสนามเหย้าของทีมชาติเช่นเดียวกันกับหลายชาติอื่น ๆ พวกเขาหมุนเวียนใช้งานสนามหลายแห่งสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก อาทิ สนามกีฬามารากานังในรีโอเดจาเนโร ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2006 บราซิลลงเล่นเกมกระชับมิตรที่เอมิเรตส์สเตเดียมของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล นอกจากนี้ ยังลงเล่นเกมกระชับมิตรอีกหลายนัดที่สหรัฐและส่วนอื่นของโลกสำหรับทัวร์กระชับมิตรบราซิล
ทีมชาติลงฝึกซ้อมที่กรันจาคอมารีที่ Teresópolis ซึ่งอยู่ห่างจากรีโอเดจาเนโร 90 กิโลเมตร[137] สนามซ้อมแห่งนี้เปิดใช้งานใน ค.ศ. 1987[138] และปรับปรุงใหม่ใน ค.ศ. 2013 และ 2014
ทีมงานฝึกสอน
แก้ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | เฟอร์นันโด ดินิซ |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | Cléber Xavier |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | Matheus Bacchi |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | Cláudio Taffarel |
ผู้ฝึกสอนกายภาพ | Fábio Mahseredjian |
ผู้ประสานงานทั่วไป | Juninho Paulista |
ผู้เล่น
แก้ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[139][140][141]
ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ ตูนิเซีย
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | อาลีซง | 2 ตุลาคม ค.ศ. 1992 | 57 | 0 | ลิเวอร์พูล |
12 | GK | แวแวร์ตง | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1987 | 8 | 0 | ปัลเมย์รัส |
23 | GK | แอแดร์ซง | 17 สิงหาคม ค.ศ. 1993 | 18 | 0 | แมนเชสเตอร์ซิตี |
2 | DF | ดานีลู | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 | 46 | 1 | ยูเวนตุส |
3 | DF | ชียากู ซิลวา (กัปตัน) | 22 กันยายน ค.ศ. 1984 | 109 | 7 | เชลซี |
4 | DF | มาร์กิญญุส | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 | 71 | 5 | ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง |
6 | DF | อาแลกส์ ซังดรู | 26 มกราคม ค.ศ. 1991 | 37 | 2 | ยูเวนตุส |
13 | DF | ดานีแยล อัลวิส | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 | 124 | 8 | อูนัม |
14 | DF | แอแดร์ มีลีเตา | 18 มกราคม ค.ศ. 1998 | 23 | 1 | เรอัลมาดริด |
16 | DF | อาแลกส์ แตลิส | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1992 | 8 | 0 | เซบิยา |
22 | DF | เบรเมอร์ | 18 มีนาคม ค.ศ. 1997 | 1 | 0 | ยูเวนตุส |
5 | MF | กาเซมีรู | 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 | 65 | 5 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด |
7 | MF | ลูคัส ปาเกต้า | 27 สิงหาคม ค.ศ. 1997 | 35 | 7 | เวสต์แฮมยูไนเต็ด |
8 | MF | แฟรจี | 5 มีนาคม ค.ศ. 1993 | 28 | 0 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด |
15 | MF | ฟาบิญญู | 23 ตุลาคม ค.ศ. 1993 | 28 | 0 | ลิเวอร์พูล |
17 | MF | บรูนู กีมาไรส์ | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | 8 | 1 | นิวคาสเซิลยูไนเต็ด |
26 | MF | แอแวร์ตง รีเบย์รู | 10 เมษายน ค.ศ. 1989 | 21 | 3 | ฟลาเม็งกู |
9 | FW | รีชาร์ลีซง | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 | 38 | 17 | ทอตนัมฮอตสเปอร์ |
10 | FW | เนย์มาร์ | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 | 121 | 75 | ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง |
11 | FW | ราฟีญา | 14 ธันวาคม ค.ศ. 1996 | 11 | 5 | บาร์เซโลนา |
18 | FW | แอนโทนี | 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 | 11 | 2 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด |
19 | FW | กาบรีแยล เฌซุส | 3 เมษายน ค.ศ. 1997 | 56 | 19 | อาร์เซนอล |
20 | FW | วีนีซียุส ฌูนีโยร์ | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 | 16 | 1 | เรอัลมาดริด |
21 | FW | โรดรีกู | 9 มกราคม ค.ศ. 2001 | 5 | 1 | เรอัลมาดริด |
24 | FW | กาบรีแยล มาร์ชีแนลี | 18 มิถุนายน ค.ศ. 2001 | 3 | 0 | อาร์เซนอล |
25 | FW | เปโดร | 20 มิถุนายน ค.ศ. 1997 | 2 | 1 | ฟลาเม็งกู |
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
แก้สถิติส่วนบุคคล
แก้สถิติผู้เล่น
แก้ผู้เล่นที่ลงเล่นมากที่สุด
แก้- ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2021[142]
- ผู้เล่น ตัวหนา คือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้กับทีมชาติบราซิล
อันดับ | ผู้เล่น | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่นนัดแรก | ลงเล่นนัดล่าสุด |
---|---|---|---|---|---|
1 | กาฟู | 142 | 5 | 12 กันยายน 1990 | 1 กรกฎาคม 2006 |
2 | ดานีแยล อัลวิส | 126 | 8 | 10 ตุลาคม 2006 | 5 ธันวาคม 2022 |
3 | โรแบร์ตู การ์ลุส | 125 | 11 | 26 กุมภาพันธ์ 1992 | 1 กรกฎาคม 2006 |
เนย์มาร์ | 125 | 79 | 10 สิงหาคม 2010 | 8 กันยายน 2023 | |
5 | ชียากู ซิลวา | 113 | 7 | 12 ตุลาคม 2008 | 9 ธันวาคม 2022 |
6 | ลูซียู | 105 | 4 | 15 พฤศจิกายน 2000 | 5 กันยายน 2011 |
7 | Cláudio Taffarel | 101 | 0 | 7 กรกฎาคม 1988 | 12 กรกฎาคม 1998 |
8 | โรบินยู | 100 | 28 | 13 กรกฎาคม 2003 | 25 มกราคม 2017 |
9 | Djalma Santos | 98 | 3 | 10 เมษายน 1952 | 9 มิถุนายน 1968 |
โรนัลโด | 98 | 62 | 23 มีนาคม 1994 | 7 มิถุนายน 2011 |
ผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุด
แก้อันดับ | ผู้เล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตูเฉลี่ย ต่อนัด |
ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|---|
1 | เนย์มาร์ | 79 | 124 | 0.62 | 2010–ปัจจุบัน |
2 | เปเล่ | 77 | 92 | 0.84 | 1957–1971 |
3 | โรนัลโด | 62 | 98 | 0.63 | 1994–2011 |
4 | โรมารีอู | 55 | 70 | 0.79 | 1987–2005 |
5 | ซิโก | 48 | 71 | 0.68 | 1976–1986 |
6 | เบแบตู | 39 | 75 | 0.52 | 1985–1998 |
7 | รีวัลดู | 35 | 74 | 0.47 | 1993–2003 |
8 | รอนัลดีนโย | 33 | 97 | 0.34 | 1999–2013 |
แจร์ซินโญ่ | 33 | 81 | 0.41 | 1964–1982 | |
10 | ทอสเทา | 32 | 54 | 0.59 | 1966–1972 |
อเดเมียร์ | 32 | 39 | 0.82 | 1945–1953 |
ผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ทำประตูได้
แก้- เปเล่ (16 ปี 9 เดือน)[143]
สถิติผู้จัดการทีม
แก้- คุมทีมมากที่สุด
- Mário Zagallo: 72 นัด
สถิติของทีม
แก้สถิติการแข่งขัน
แก้ฟุตบอลโลก
แก้บราซิลผ่านรอบคัดเลือกไปเล่นฟุตบอลโลกได้ทุกครั้งโดยไม่จำเป็นต้องแข่งขันในรอบเพลย์ออฟ พวกเขาชนะเลิศการแข่งขันรายการนี้มากกว่าชาติอื่น ๆ ในโลก
สถิติในฟุตบอลโลก | สถิติรอบคัดเลือก | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย | ผู้เล่น | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | |
1930 | รอบแบ่งกลุ่ม | อันดับที่ 6 | 2 | 1 | 0 | 1 | 5 | 2 | ผู้เล่น | ถูกเชิญเข้าร่วมแข่งขัน | ||||||
1934 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | อันดับที่ 14 | 1 | 0 | 0 | 1 | 1 | 3 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบอัตโนมัติ | ||||||
1938 | อันดับที่ 3 | อันดับที่ 3 | 5 | 3 | 1 | 1 | 14 | 11 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบอัตโนมัติ | ||||||
1950 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 6 | 4 | 1 | 1 | 22 | 6 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นเจ้าภาพ | ||||||
1954 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 5 | 3 | 1 | 1 | 1 | 8 | 5 | ผู้เล่น | 4 | 4 | 0 | 0 | 8 | 1 | |
1958 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 6 | 5 | 1 | 0 | 16 | 4 | ผู้เล่น | 2 | 1 | 1 | 0 | 2 | 1 | |
1962 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 6 | 5 | 1 | 0 | 14 | 5 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์เก่า | ||||||
1966 | รอบแบ่งกลุ่ม | อันดับที่ 11 | 3 | 1 | 0 | 2 | 4 | 6 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์เก่า | ||||||
1970 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 6 | 6 | 0 | 0 | 19 | 7 | ผู้เล่น | 6 | 6 | 0 | 0 | 23 | 2 | |
1974 | อันดับที่ 4 | อันดับที่ 4 | 7 | 3 | 2 | 2 | 6 | 4 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์เก่า | ||||||
1978 | อันดับที่ 3 | อันดับที่ 3 | 7 | 4 | 3 | 0 | 10 | 3 | ผู้เล่น | 6 | 4 | 2 | 0 | 17 | 1 | |
1982 | รอบแบ่งกลุ่ม (รอบ 2) | อันดับที่ 5 | 5 | 4 | 0 | 1 | 15 | 6 | ผู้เล่น | 4 | 4 | 0 | 0 | 11 | 2 | |
1986 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 5 | 5 | 4 | 1 | 0 | 10 | 1 | ผู้เล่น | 4 | 2 | 2 | 0 | 6 | 2 | |
1990 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | อันดับที่ 9 | 4 | 3 | 0 | 1 | 4 | 2 | ผู้เล่น | 4 | 3 | 1 | 0 | 13 | 1 | |
1994 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 7 | 5 | 2 | 0 | 11 | 3 | ผู้เล่น | 8 | 5 | 2 | 1 | 20 | 4 | |
1998 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 7 | 4 | 1 | 2 | 14 | 10 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์เก่า | ||||||
2002 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 7 | 7 | 0 | 0 | 18 | 4 | ผู้เล่น | 18 | 9 | 3 | 6 | 31 | 17 | |
2006 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 5 | 5 | 4 | 0 | 1 | 10 | 2 | ผู้เล่น | 18 | 9 | 7 | 2 | 35 | 17 | |
2010 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 6 | 5 | 3 | 1 | 1 | 9 | 4 | ผู้เล่น | 18 | 9 | 7 | 2 | 33 | 11 | |
2014 | อันดับที่ 4 | อันดับที่ 4 | 7 | 3 | 2 | 2 | 11 | 14 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นเจ้าภาพ | ||||||
2018 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 6 | 5 | 3 | 1 | 1 | 8 | 3 | ผู้เล่น | 18 | 12 | 5 | 1 | 41 | 11 | |
2022 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 7 | 5 | 3 | 1 | 1 | 8 | 3 | ผู้เล่น | 17 | 14 | 3 | 0 | 40 | 5 | |
2026 | ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน | |||||||||||||||
2030 | ||||||||||||||||
2034 | ||||||||||||||||
ทั้งหมด | 5 สมัย | 22/22 | 114 | 76 | 19 | 19 | 237 | 108 | – | 127 | 82 | 33 | 12 | 280 | 75 |
- *การเสมอนับรวมถึงการตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
โกปาอาเมริกา
แก้สถิติในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้และโกปาอาเมริกา | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย | |
1916 | อันดับ 3 | อันดับที่ 3 | 3 | 0 | 2 | 1 | 3 | 4 | |
1917 | อันดับ 3 | อันดับที่ 3 | 3 | 2 | 0 | 1 | 5 | 3 | |
1919 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 3 | 2 | 1 | 0 | 11 | 3 | |
1920 | อันดับ 3 | อันดับที่ 3 | 3 | 1 | 0 | 2 | 1 | 8 | |
1921 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 3 | 1 | 0 | 2 | 4 | 3 | |
1922 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 4 | 1 | 3 | 0 | 4 | 2 | |
1923 | อันดับ 4 | อันดับที่ 4 | 3 | 0 | 0 | 3 | 2 | 5 | |
1924 | ถอนตัวจากการแข่งขัน | ||||||||
1925 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 4 | 2 | 1 | 1 | 11 | 9 | |
1926 | ถอนตัวจากการแข่งขัน | ||||||||
1927 | |||||||||
1929 | |||||||||
1935 | |||||||||
1937 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 5 | 4 | 0 | 1 | 17 | 9 | |
1939 | ถอนตัวจากการแข่งขัน | ||||||||
1941 | |||||||||
1942 | อันดับ 3 | อันดับที่ 3 | 6 | 3 | 1 | 2 | 15 | 7 | |
1945 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 6 | 5 | 0 | 1 | 19 | 5 | |
1946 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 5 | 3 | 1 | 1 | 13 | 7 | |
1947 | ถอนตัวจากการแข่งขัน | ||||||||
1949 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 7 | 6 | 0 | 1 | 39 | 7 | |
1953 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 6 | 4 | 0 | 2 | 15 | 6 | |
1955 | ถอนตัวจากการแข่งขัน | ||||||||
1956 | อันดับที่ 4 | อันดับที่ 4 | 5 | 2 | 2 | 1 | 4 | 5 | |
1957 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 6 | 4 | 0 | 2 | 23 | 9 | |
1959 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 6 | 4 | 2 | 0 | 17 | 7 | |
1959 | อันดับ 3 | อันดับที่ 3 | 4 | 2 | 0 | 2 | 7 | 10 | |
1963 | อันดับ 4 | อันดับที่ 4 | 6 | 2 | 1 | 3 | 12 | 13 | |
1967 | ถอนตัวจากการแข่งขัน | ||||||||
1975 | อันดับที่ 3 | อันดับที่ 3 | 6 | 5 | 0 | 1 | 16 | 4 | |
1979 | อันดับที่ 3 | อันดับที่ 3 | 6 | 2 | 2 | 2 | 10 | 9 | |
1983 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 8 | 2 | 4 | 2 | 8 | 4 | |
1987 | รอบแรก | อันดับที่ 5 | 2 | 1 | 0 | 1 | 5 | 4 | |
1989 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 7 | 5 | 2 | 0 | 11 | 1 | |
1991 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 7 | 4 | 1 | 2 | 12 | 8 | |
1993 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 5 | 4 | 1 | 2 | 1 | 6 | 4 | |
1995 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 6 | 4 | 2 | 0 | 10 | 3 | |
1997 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 6 | 6 | 0 | 0 | 22 | 3 | |
1999 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 6 | 6 | 0 | 0 | 17 | 2 | |
2001 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 6 | 4 | 2 | 0 | 2 | 5 | 4 | |
2004 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 6 | 3 | 2 | 1 | 13 | 6 | |
2007 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 6 | 4 | 1 | 1 | 15 | 5 | |
2011 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 8 | 4 | 1 | 3 | 0 | 6 | 4 | |
2015 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันดับที่ 5 | 4 | 2 | 1 | 1 | 5 | 4 | |
2016 | รอบแบ่งกลุ่ม | อันดับที่ 9 | 3 | 1 | 1 | 1 | 7 | 2 | |
2019 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 6 | 4 | 2 | 0 | 13 | 1 | |
2021 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 7 | 5 | 1 | 1 | 12 | 3 | |
2024 | |||||||||
ทั้งหมด | 9 สมัย | 37/47 | 191 | 108 | 38 | 45 | 430 | 204 |
- *การเสมอนับรวมถึงการตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
สถิติในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย | ผู้เล่น |
1992 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | ||||||||
1995 | |||||||||
1997 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 5 | 4 | 1 | 0 | 14 | 2 | ผู้เล่น |
1999 | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 2 | 5 | 4 | 0 | 1 | 18 | 5 | ผู้เล่น |
2001 | รอบชิงที่สาม | อันดับที่ 4 | 5 | 1 | 2 | 2 | 3 | 3 | ผู้เล่น |
2003 | รอบแบ่งกลุ่ม | อันดับที่ 5 | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | ผู้เล่น |
2005 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 5 | 3 | 1 | 1 | 12 | 6 | ผู้เล่น |
2009 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 5 | 5 | 0 | 0 | 14 | 5 | ผู้เล่น |
2013 | ชนะเลิศ | อันดับที่ 1 | 5 | 5 | 0 | 0 | 14 | 3 | ผู้เล่น |
2017 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | ||||||||
ทั้งหมด | 4 สมัย | 7/10 | 33 | 23 | 5 | 5 | 78 | 28 | — |
สถิติโอลิมปิกส์เกมส์
แก้สถิติโอลิมปิกส์เกมส์ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | GP | W | D* | L | GF | GA |
1900 | Did not participate | |||||||
1908 | ||||||||
1912 | ||||||||
1920 | ||||||||
1924 | Did not Qualify | |||||||
1928 | Did not Participate | |||||||
1936 | ||||||||
1948 | ||||||||
1952 | Quarter-finals | 6th | 3 | 2 | 0 | 1 | 9 | 6 |
1956 | Did not Qualify | |||||||
1960 | Round 1 | 6th | 3 | 2 | 0 | 1 | 10 | 6 |
1964 | Round 1 | 9th | 3 | 1 | 1 | 1 | 5 | 2 |
1968 | Round 1 | 11th | 3 | 0 | 2 | 1 | 4 | 5 |
1972 | Round 1 | 12th | 3 | 0 | 1 | 2 | 4 | 6 |
1976 | Fourth Place | 4th | 5 | 2 | 1 | 2 | 6 | 6 |
1980 | Did not Qualify | |||||||
1984 | Runners-up | 2nd | 6 | 4 | 1 | 1 | 9 | 5 |
1988 | Runners-up | 2nd | 6 | 4 | 1 | 1 | 12 | 4 |
1992 | Did not Qualify | |||||||
1996 | Third Place | 3rd | 6 | 4 | 1 | 1 | 16 | 8 |
2000 | Quarter-finals | 6th | 4 | 2 | 0 | 2 | 6 | 6 |
2004 | Did not Qualify | |||||||
2008 | Third Place | 3rd | 6 | 4 | 1 | 1 | 14 | 3 |
2012 | Runners-up | 2nd | 6 | 5 | 0 | 1 | 16 | 7 |
2016 | Hosts | |||||||
รวม | - | - | 48 | 25 | 9 | 13 | 95 | 57 |
แพนอเมริกาเกมส์
แก้สถิติแพนอเมริกาเกมส์ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | GP | W | D* | L | GS | GA |
1951 | Did not enter | |||||||
1955 | ||||||||
1959 | Runners-up | 2nd | 6 | 4 | 1 | 1 | 27 | 11 |
1963 | Champions | 1st | 4 | 3 | 1 | 0 | 18 | 3 |
1967 | Did not Qualify | |||||||
1971 | ||||||||
1975 | Champions | 1st | 7 | 5 | 2 | 0 | 33 | 2 |
1979 | Champions | 1st | 5 | 5 | 0 | 0 | 14 | 1 |
1983 | Third Place | 3rd | 3 | 2 | 0 | 1 | 3 | 1 |
1987 | Champions | 1st | 5 | 4 | 1 | 0 | 10 | 2 |
1991 | Did not Qualify | |||||||
1995 | Quarter-finals | 5th | 4 | 2 | 2 | 0 | 5 | 2 |
1999 | Did not Qualify | |||||||
2003 | Runners-up | 2nd | 5 | 4 | 0 | 1 | 12 | 2 |
2007 | Round 1 | 5th | 3 | 2 | 0 | 1 | 7 | 4 |
2011 | Round 1 | 6th | 3 | 0 | 2 | 1 | 2 | 4 |
2015 | ||||||||
Total | 4 Titles | 10/16 | 45 | 31 | 9 | 5 | 131 | 32 |
เกียรติประวัติ
แก้ทีมชุดใหญ่
แก้แชมป์
แก้- ฟุตบอลโลก:
- ฟุตบอลชิงแชมป์อเมริกาใต้ / โกปาอาเมริกา:
- ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ:
- แพนอเมริกันแชมเปียนชิป:
- คอนคาแคฟโกลด์คัพ:
รางวัล
แก้- ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของฟีฟ่า:
- ชนะเลิศ (12): 1994, 1995, 1996, 1997, 1998, 1999, 2000, 2002, 2003, 2004, 2005, 2006
- ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของเวิลด์ซอกเกอร์
- ชนะเลิศ (2): 1982, 2002
- ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของลอริอุสเวิลด์
- ชนะเลิศ: 2003
- รางวัลแฟร์เพลย์ฟุตบอลโลก:
- รางวัลแฟร์เพลย์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ:
- รางวัลแฟร์เพลย์โกปาอาเมริกา:
กระชับมิตร
แก้- บราซิลเลียนอินดีเพนเดนซ์คัพ: 1972
- Taça do Atlântico (3): 1956, 1970, 1976[144]
- ยูเอสเอ ไบเซนเทนเนียลคัพทัวร์นาเมนต์: 1976
- รูสคัพ: 1987
- ออสเตรเลียไบเซนเตแนรีโกลด์คัพ: 1988
- อัมโบรคัพ: 1995
- เนลสัน แมนเดลาแชลเลนจ์: 1996
- ลูนาร์นิวเยียร์คัพ: 2005
- โรกาคัพ / ซูเปร์กลาซิโก เด ลัส อาเมริกัส: (12): 1914, 1922, 1945, 1957, 1960, 1963, 1971, 1976, 2011, 2012, 2014, 2018
- โกปารีโอบรังโก: (7): 1931, 1932, 1947, 1950, 1967, 1968, 1976
- Taça Oswaldo Cruz: (8): 1950, 1955, 1956, 1958, 1961, 1962, 1968, 1976
ทีมโอลิมปิกและแพนอเมริกัน
แก้- โอลิมปิกฤดูร้อน:[145]
- แพนอเมริกันเกมส์:
- คอนเมบอลปรีโอลิมปิกทัวร์นาเมนต์:
- ชนะเลิศ (7): 1968, 1971, 1976, 1984, 1987, 1996, 2000
- รองชนะเลิศ (2): 1964, 2020
- อันดับที่สาม (2): 1960, 2004
ตารางสรุป
แก้การแข่งขัน | ทั้งหมด | |||
---|---|---|---|---|
ฟุตบอลโลก | 5 | 2 | 2 | 9 |
โกปาอาเมริกา | 9 | 12 | 7 | 28 |
โกลด์คัพ | 0 | 2 | 1 | 3 |
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | 4 | 1 | 0 | 5 |
โอลิมปิกฤดูร้อน | 2 | 3 | 2 | 7 |
รวม | 21 | 20 | 12 | 52 |
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ แม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะชนะเลิศโอลิมปิกในปี 1976 แต่การชนะเลิศนี้ไม่ถูกรวมในเกียรติประวัติของทีมชาติเยอรมนีในปัจจุบัน
อ้างอิง
แก้- ↑ "FIFA Century Club" เก็บถาวร 18 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIFA. Retrieved 9 June 2018
- ↑ "Marcos Evangelista de Morais "CAFU" – Century of International Appearances". RSSSF. 23 July 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2009. สืบค้นเมื่อ 23 January 2009.
- ↑ "เนย์มาร์ ขึ้นที่ 1 ! ดาวซัลโวตลอดกาล ทีมชาติบราซิล". ขอบสนาม. 2023-09-09. สืบค้นเมื่อ 2023-09-09.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ 23 กันยายนถึง 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993, 19 เมษายนถึง 14 มิถุนายน ค.ศ. 1994, 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 ถึง 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2001, 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 ถึง 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007, 18 กรกฎาคมถึง 19 กันยายน ค.ศ. 2007, 1 กรกฎาคมภึง 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009, 28 เมษายนถึง 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2010, 6 เมษายน ค.ศ. 2017
- ↑ "Argentina v Brazil, 20 September 1914". 11v11.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-26. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "Brazil & Argentina: A rivalry like no other - FIFA Museum (english)". www.fifamuseum.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "Brazil matches, ratings and points exchanged". Eloratings.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2018. สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
- ↑ "Soccer World Cup All-Time Standings". Thesoccerworldcups.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
- ↑ All-time table of the FIFA World Cup
- ↑ ฟุตบอลทีมชาติบราซิลในฟุตบอลโลก
- ↑ "World Football Elo Ratings". eloratings.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2021. สืบค้นเมื่อ 29 June 2021.
- ↑ Team of the Year Award 2010 เก็บถาวร 18 ธันวาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the FIFA website
- ↑ 14.0 14.1 "Beckenbauer says Brazil 1970 was the best national team of all time". Beckenbauer diz que Brasil de 1970 foi melhor seleção de todos os tempos (Portuguese). Gazeta do Povo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2014. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ 15.0 15.1 Pitt-Brooke, Jack (3 July 2012). "The greatest team of all time: Brazil 1970 v Spain 2012". The Independent. London: The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ 16.0 16.1 "10 Greatest National Teams in World Football History". Bleacher Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2018.
- ↑ Lea, Greg. "The Best Ever International Teams: Part Two". betsson.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2 January 2018.
- ↑ "The 30 greatest international teams of all time". The Football Pantheon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
- ↑ 19.0 19.1 "Soccer great Zico: Brazil '58 best team ever". Zico. CNN. 5 July 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ 20.0 20.1 "Phenomenal goals, silky skills and tight blue shorts – Why Brazil 1982 was the best World Cup team ever". Mirror.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
- ↑ "World Cup: The 10 best teams of all times". LA Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2018.
- ↑ "Euro 2016: Which is the greatest team in history of international football?". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2 January 2018.
- ↑ "Spain win again to extend unbeaten streak". CNN. 20 June 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2014. สืบค้นเมื่อ 8 August 2014.
- ↑ "How many times have Brazil won the World Cup? Selecao history and record at FIFA tournament | Sporting News". www.sportingnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-12-10.
- ↑ "Brazil won the U20 World Cup five times: who were the famous heroes". Sambafoot EN. 2023-05-21.
- ↑ Jimenez, Juan Salas. "Brazil Wins U17 FIFA World Cup". Eagle Eye.
- ↑ "Rio 2016: Neymar PK wins Brazil's first Olympic soccer gold | NBC Olympics". www.nbcolympics.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ víctor pérez. "Brasil-Italia, el clásico del fútbol mundial que consagró el viejo Sarriá". ABC.es. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
- ↑ Molinaro, John (20 June 2009). "World Derby: Brazil vs Italy". CBC Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
- ↑ "FIFA U-20 World Cup 2015 - News - Brazil & Uruguay, a rivalry with history - FIFA.com". www.fifa.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 6 June 2019.
- ↑ "Brasil e França cultivam rivalidade de 85 anos e quatro Copas do Mundo - Esportes". Estadão. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 23 May 2020.
- ↑ Salgado, Diego (9 July 2014). "Brazil and Netherlands face each other for the fifth time in World Cups". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2020 – โดยทาง www.exame.com.
- ↑ "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 13 October 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ https://scholarcommons.sc.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1169&context=senior_theses
- ↑ "The birth of a revolution". FIFA.com. 1 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2012. สืบค้นเมื่อ 19 February 2009.
- ↑ 36.0 36.1 Dart, Tom (May 31, 2004). "Magic of Brazil comes to a corner of Devon". The Times. London. สืบค้นเมื่อ May 15, 2009.
- ↑ 37.0 37.1 Bellos, Alex (May 31, 2004). "Grecians paved way despite kick in teeth". The Guardian. London os. สืบค้นเมื่อ May 15, 2009.
- ↑ Bellos, Alex (2002). Futebol: the Brazilian way of life. London: Bloomsbury. p. 37. ISBN 0-7475-6179-6.
- ↑ Glanville, Brian (2005). The Story of the World Cup. London: Faber and Faber. p. 19
- ↑ Garrincha 122.
- ↑ Pelé (13 May 2006). "How a teenager took the world by wizardry". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2014. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
- ↑ "FIFA Classic Player". FIFA.com. 23 October 1940. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2015. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012.
- ↑ "PELE – International Football Hall of Fame". Ifhof.com. 23 October 1940. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012.
- ↑ "PELE – International Football Hall of Fame". ifhof.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 August 2016.
- ↑ 45.0 45.1 "Boring, boring Brazil? Why the Seleção's 1994 winners were unloved back home". FourFourTwo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2021. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
- ↑ "Brazil not too comfortable as World Cup favorite". USA Today. 23 May 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 February 2009.
- ↑ "World Cup 1990" เก็บถาวร 25 เมษายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.ESPN. Retrieved 9 June 2018
- ↑ "1994 Brazil winning team". FIFA. 9 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2018.
- ↑ "The great World Cup Final mystery". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 2 April 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2011. สืบค้นเมื่อ 10 June 2018.
- ↑ "World Cup: 25 stunning moments ... No15: Ronaldo falters as France win" เก็บถาวร 29 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Guardian. Retrieved 10 June 2018
- ↑ "Brazil end England's dream" เก็บถาวร 12 ธันวาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. BBC Sport. Retrieved 14 January 2020
- ↑ "Brazil crowned world champions". BBC Sport. 30 June 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2012. สืบค้นเมื่อ 22 August 2009.
- ↑ "Redemption for Ronaldo as world's eyes turn east" เก็บถาวร 29 ธันวาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIFA.com. Retrieved 9 June 2018
- ↑ "Laureus World Team of the Year 2003 nominees". Laureus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2017.
- ↑ "Brazil 2–2 Argentina: Shoot-out drama". ESPNsoccernet. 26 July 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2012. สืบค้นเมื่อ 5 January 2009.
- ↑ "Brazil 4–1 Argentina: Adriano stars". ESPNsoccernet. 29 June 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2012. สืบค้นเมื่อ 5 January 2009.
- ↑ 57.0 57.1 Vickery, Tim (18 December 2017). "Kaka's spectacular run with Milan and Brazil overshadowed by his successors". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 9 June 2018.
- ↑ "Dunga completa dois anos na seleção garantindo ser um desafio ganhar o ouro". Globo Esporte (ภาษาโปรตุเกส). 24 July 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2008. สืบค้นเมื่อ 5 January 2009.
- ↑ Dawkes, Phil (28 June 2009). "USA 2–3 Brazil". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2019. สืบค้นเมื่อ 28 June 2009.
- ↑ "FIFA Confederations Cup South Africa 2009 | Awards". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association (FIFA). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2019. สืบค้นเมื่อ 20 October 2017.
- ↑ Bevan, Chris (2 July 2010). "Netherlands 2–1 Brazil: The Netherlands produced a stunning second-half comeback to reach the semi-finals as Brazil's World Cup imploded in a dramatic game in Port Elizabeth". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2010. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
- ↑ "Brazil name Dunga's replacement as they rebuild for the next World Cup". The Guardian. London: Guardian Media Group. Press Association. 24 July 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2021. สืบค้นเมื่อ 26 July 2010.
- ↑ "Mano Menezes sacked as Brazil coach". Goal.com. 23 November 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
- ↑ "Felipão é o novo técnico da Seleção, e Andrés deixa cargo na CBF" (ภาษาโปรตุเกส). Globoesporte.com. 28 November 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020. สืบค้นเมื่อ 28 November 2012.
- ↑ "Netherlands go fifth in Fifa ranking". Goal.com. 6 June 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2020. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013.
- ↑ "Brazil-Spain: a showdown 27 years in the making". Marca. 28 June 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2020. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ "Fred and Neymar claim Confeds for Brazil". FIFA.com. 1 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ "Brazil defeats Spain to win Confederations Cup". CBC. 30 June 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2019. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ "Neymar breaks through for top award". FIFA.com. 1 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ "Brazil 3–1 Croatia". BBC Sport. 12 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ "Cameroon 1–4 Brazil". BBC. 23 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ "Brazil 0–0 Mexico". FIFA.com. 17 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ Ornstein, David (28 June 2014). "Brazil 1–1 Chile". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ "Neymar: Injured Brazil forward ruled out of World Cup". BBC Sport. 4 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2014. สืบค้นเมื่อ 5 July 2014.
- ↑ "World Cup 2014: Brazil fail to have Thiago Silva booking rescinded". BBC Sport. 7 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ "The greatest half-hour in World Cup history?". Eurosport. 9 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ "Brazil 1–7 Germany: World Cup 2014 semi-final – as it happened". The Guardian. 9 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ "Maracanazo foi trágico, 'Minerazo', a maior vergonha do Brasil". ESPN. 8 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
- ↑ Kilpeläinen, Juuso (18 March 2018). "Neymar and the magical influence of an enigmatic amulet". Football Paradise. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2021. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
For the Brazilians, the disappointment was too much to cope with. Canarinho subsequently dropped to fourth place as Holland cruised to a relatively comfortable 3–0 victory in the third place play-off at Estádio Nacional.
- ↑ "Brazil 0–3 Netherlands". BBC. 12 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014.
- ↑ "2014 FIFA World Cup Brazil™ – Statistics – Teams – Top goals – FIFA.com" เก็บถาวร 16 มิถุนายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIFA.com. Retrieved 13 June 2014.
- ↑ "Netherlands ensure miserable end for hosts". ESPN.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2014. สืบค้นเมื่อ 13 July 2014.
- ↑ "Luiz Felipe Scolari resigns after Brazil's World Cup 2014 humiliation". The Guardian. 14 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "Dunga sends Brazil back to the future". Goal.com. 22 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Brazil 1–0 Colombia". BBC Sports. 6 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2016. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
- ↑ "Brazil 1–0 Ecuador". BBC Sports. 10 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2016. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
- ↑ "Argentina 0–2 Brazil". BBC Sports. 11 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2016. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
- ↑ "Japan 0–4 Brazil". BBC Sports. 14 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2016. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
- ↑ "Turkey 0–4 Brazil". BBC Sport. 12 November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2016. สืบค้นเมื่อ 6 March 2015.
- ↑ "International friendly: Brazil score late on to sink Austria 2–1 in Vienna". SkySports. 19 November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2014. สืบค้นเมื่อ 6 March 2015.
- ↑ "Brazil 2–1 Peru: Douglas Costa wins it late for Selecao". Goal.com. 15 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
- ↑ "Brazil 0–1 Colombia: Murillo shocks struggling Selecao". Goal.com. 18 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
- ↑ "VIDEO HIGHLIGHTS: Brazil 2–1 Venezuela: Thiago Silva and Firmino seal top spot". Goal.com. 21 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
- ↑ "Brazil 1–1 Paraguay (3–4 on pens): Selecao dumped out of Copa America". Goal.com. 28 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
- ↑ "Brasil fica fora da Copa das Confederações após 20 anos" (ภาษาโปรตุเกส). Terra. 27 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
- ↑ Adams, Jonathan (5 June 2016). "Who Won the Brazil vs. Ecuador Match in Copa America?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ "Liverpool's Philippe Coutinho scores hat-trick for Brazil". BBC Sport. 8 June 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2021. สืบค้นเมื่อ 9 June 2016.
- ↑ Wiener, David. "Brazil v Peru: Raul Ruidiaz scores controversial goal that eliminates Dunga's side from Copa America". Fox Sports Australia. News Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ "Dunga says 'everyone saw' Ruidiaz's handball on Peru winner vs. Brazil". ESPN FC. ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ "Brazil knocked out of Copa America by Peru thanks to 'handball' goal". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ "Brazil dumped out of Copa America by lowly Peru for earliest exit since 1987". Independent.ie. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2020. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ "Brazil exits Copa America after blatant handball goal". Herald Sun. News Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ Edwards, Daniel (14 June 2016). "Dunga sacked as Brazil coach". Goal.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
- ↑ "Brazil confirm appointment of Tite as new coach to replace Dunga". The Guardian. Guardian News and Media Limited. Reuters. 20 June 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 28 June 2016.
- ↑ PA Sport (2 September 2016). "Ecuador 0–3 Brazil: Gabriel Jesus scores twice on full international debut". SkySports. Sky UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 10 October 2016.
- ↑ Staff (6 April 2017). "Brazil top FIFA rankings for first time in seven years". Reuters. Zurich. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 5 June 2017.
- ↑ "World Cup qualifying: Brazil beat Paraguay to seal place in Russia". BBC Sport. BBC. 29 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2018. สืบค้นเมื่อ 29 March 2017.
- ↑ Peterson, Joel (17 June 2018). "For Brazil, a Disappointing Start to World Cup". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 17 June 2018.
- ↑ "Brazil 2–0 Costa Rica". FIFA. 22 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
- ↑ "Brazil 2–0 Serbia". FIFA.com. 3 July 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ "Brazil beat Mexico to reach last 8". BBC. 2 July 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
- ↑ Johnston, Neil (6 July 2018). "World Cup 2018: Belgium produce masterclass to knock out Brazil with 2–1 win". BBC Sport. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
- ↑ Rogers, Martin (6 July 2018). "Brazil is no longer the class of world soccer". USA Today. Gannett. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
- ↑ Wiggins, Brandon (6 July 2018). "Brazil, the overwhelming favorite to win the World Cup, has been knocked out, and now the tournament is wide open". Business Insider. Axel Springer. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.[ลิงก์เสีย]
- ↑ sport, Guardian (6 June 2019). "Brazil's Neymar ruled out of Copa América with ankle injury". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019 – โดยทาง www.theguardian.com.
- ↑ "Brazil 3-0 Bolivia: Copa America: Brazil fans jeer hosts despite Coutinho brace in 3-0 win". 15 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2019. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019 – โดยทาง www.bbc.com.
- ↑ "Samba swagger returns for Brazil as they put five past Peru". AS.com. 22 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019.
- ↑ "Brazil vs. Venezuela - Football Match Report - June 18, 2019 - ESPN". ESPN.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2020. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019.
- ↑ "Copa America: Brazil beat Paraguay on penalties to reach semi-finals". 28 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
- ↑ "Brazil 2-0 Argentina | Copa América semi-final match report". 3 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2019. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019 – โดยทาง www.theguardian.com.
- ↑ "Copa America 2019: Brazil beat Peru 3-1 to win first title in 12 years". 7 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2019. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019 – โดยทาง www.bbc.com.
- ↑ Meda, Tomás Pavel Ibarra (5 July 2019). "Scaloni still thinks Argentina was robbed by Conmebol". Ronaldo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019.
- ↑ "Brazil defeat Paraguay 2-0: Highlights and goals". Bolavip US (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-09.
- ↑ Liew, Jonathan (2022-12-05). "Brazil dismantle South Korea to dance into World Cup quarter-finals". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.
- ↑ Church, Ben (2022-12-09). "Tournament favorite Brazil out of World Cup after losing to Croatia on penalties". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Liew, Jonathan (2022-12-09). "Tite to step down amid criticism after Brazil's defeat to Croatia". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.
- ↑ "Fernando Pieruccetti creates the Canarinhos". Terra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 6 October 2006.
- ↑ "Reference to Pentacampeão". BBC Brasil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 October 2006.
- ↑ "Reference to the Scratch". Guilherme Soares. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 16 June 2011.
- ↑ Futebol, p64
- ↑ Ibid
- ↑ "Topper 1991 Brazil Match Worn Home Shirt". footballshirtculture.com. Football Shirt Culture. 3 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 3 February 2018.
- ↑ "FIFA World Cup 1998 Group A". historicalkits.co.uk. Historical Football Kits. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 3 February 2018.
- ↑ Futebol, p67
- ↑ "Adidas, Topper, Umbro e Nike: todas as camisas da seleção desde 1977". Placar. 11 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
- ↑ "Most Valuable National Football Team Kit Deals". TOTAL SPORTEK. 2 September 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
- ↑ "Brazil's national team begins preparations for World Cup at home amid protests - World - Coast Reporter". 29 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2014.
- ↑ "Brazil's Team Base Camp Granja Comary is reopened". www.copa2014.gov.br. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2014. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.
- ↑ "Brazil FIFA World Cup 2022 Squad: 26 Men Probable Player List - FIFA World Cup 2022" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-11-07.
- ↑ "Seleção Brasileira está convocada para a Copa do Mundo FIFA Qatar 2022" (ภาษาโปรตุเกส). CBF. 7 November 2022. สืบค้นเมื่อ 7 November 2022.
- ↑ "Veja a numeração dos jogadores da seleção brasileira na Copa do Mundo de 2022" (ภาษาโปรตุเกส). Grupo Globo. 7 November 2022. สืบค้นเมื่อ 7 November 2022.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อapppearancesandgoals
- ↑ Lang, Jack (7 July 2017). "60 years ago today, Pele scored his first Brazil goal and began a career that would change football". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
- ↑ "Sala de Troféus da CBF" (ภาษาโปรตุเกส). Confederação Brasileira de Futebol (CBF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2009. สืบค้นเมื่อ 5 January 2009.
- ↑ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ทีมชาติที่ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อนจะถูกจำกัดให้มีผู้เล่นที่มีอายุมากกว่า 23 ปีเพียงแค่สามคนเท่านั้น เกียรติประวัติในรายการนี้จะไม่ถูกรวมในทีมชุดใหญ่อย่างเป็นทางการ
ข้อมูล
แก้- Ruy Castro (2005). Garrincha – The triumph and tragedy of Brazil's forgotten footballing hero. แปลโดย Andrew Downie. London: Yellow Jersey Press. ISBN 0-224-06433-9.
- Ivan Soter (2015). Enciclopédia da Seleção: 100 anos de seleção brasileira de futebol. Rio de Janeiro: Folha Seca. ISBN 978-85-87199-29-4.