ฟุตบอลทีมชาติสเปน
ฟุตบอลทีมชาติสเปน (สเปน: Selección Española de Fútbol) เป็นทีมฟุตบอลประจำประเทศสเปน อยู่ภายใต้การควบคุมและเป็นตัวแทนของราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในการแข่งขันระหว่างประเทศนัดต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นโดยสหพันธ์สมาคมฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) และสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า)
![]() | |||
ฉายา | La Roja ("สีแดง") La Furia Roja ("แดงเดือด")[1] กระทิงดุ (ฉายาในประเทศไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | ราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปน (เอร์เรเฟฟ) | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | Luis de la Fuente | ||
กัปตัน | จอร์ดี้ อัลบา | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | เซร์ฆิโอ ราโมส (180)[2] | ||
ทำประตูสูงสุด | ดาบิด บิยา (59) | ||
สนามเหย้า | หลายแห่ง | ||
รหัสฟีฟ่า | ESP | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 10 ![]() | ||
อันดับสูงสุด | 1 (กรกฎาคม ค.ศ. 2008 – มิถุนายน ค.ศ. 2009, ตุลาคม ค.ศ. 2009 – มีนาคม ค.ศ. 2010, กรกฎาคม ค.ศ. 2010 – กรกฎาคม ค.ศ. 2011, ตุลาคม ค.ศ. 2011 – กรกฎาคม ค.ศ. 2014) | ||
อันดับต่ำสุด | 25 (มีนาคม ค.ศ. 1998) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
![]() ![]() (บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม; 28 สิงหาคม ค.ศ. 1920) | |||
ชนะสูงสุด | |||
![]() ![]() (มาดริด ประเทศสเปน; 22 สิงหาคม ค.ศ. 1933) | |||
แพ้สูงสุด | |||
![]() ![]() (อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์; 4 มิถุนายน ค.ศ. 1928) ![]() ![]() (ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 9 ธันวาคม ค.ศ. 1931) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 16 (ครั้งแรกใน 1934) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2010) | ||
ชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 11 (ครั้งแรกใน 1964) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1964, 2008, 2012) | ||
เนชันส์ลีกรอบสุดท้าย | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2021) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (2021) | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 2 (ครั้งแรกใน 2009) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (2013) | ||
ทีมชาติสเปนเป็นที่รู้จักกันในฉายา "La Furia Española"[4] และฉายาซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าคือ "La Furia Roja" มาจากคำที่ชาวอิตาลีเป็นผู้คิดขึ้นและนำมาใช้เรียกทีมชาตินี้ในภาษาของตนว่า "Furia Rossa"[5] คำว่า "ฟูเรีย" (ความดุเดือด, ความโมโหร้าย) มาจากรูปแบบการเล่นที่ค่อนข้างรุนแรงของนักฟุตบอลสเปนในการแข่งขันนัดต่าง ๆ ที่ทีมชาติสเปนเข้าร่วมเป็นครั้งแรกที่เมืองแอนต์เวิร์ป (ประเทศเบลเยียม) และต่อมาก็ถูกนำมาใช้เรียกเหตุการณ์การปล้นเมืองแอนต์เวิร์ปของสเปนในสงครามแปดสิบปี (ค.ศ. 1576) ซึ่งเป็นตำนานมืดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์การทหารของสเปนด้วย ส่วน "รอสซา" (สีแดง) มาจากสีของเสื้อทีม สำหรับในประเทศไทยนั้นทีมนี้มีฉายาว่า "กระทิงดุ"
สเปนได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 12 ครั้ง และเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในฟุตบอลโลก ปี 1982 ผลงานที่ดีที่สุดที่ทีมชาติสเปนเคยทำได้นั้นคือชนะเลิศในปี2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้
ทีมชาติสเปนยังได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ฟุตบอลยูโร) 8 ครั้ง ครั้งสำคัญคือฟุตบอลยูโร ปี 1964 ซึ่งถือเป็นแชมป์ในบ้านตัวเองหลังจากเอาชนะสหภาพโซเวียตไป 2-1 แต่ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร ปี 1984 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส สเปนทำได้เพียงรองแชมป์เพราะแพ้ให้กับเจ้าบ้านด้วยคะแนน 2-0 และไม่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศอีกเลยจนกระทั่งในการแข่งขันฟุตบอลยูโร ปี 2008 สเปนก็ผ่านเข้ามาถึงรอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จโดยพบกับเยอรมนีและคว้าแชมป์ไปได้ในที่สุด
ความสำเร็จครั้งใหญ่ที่สุดในกีฬาโอลิมปิกของฟุตบอลทีมชาติสเปนได้แก่ การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 1992 ที่เมืองบาร์เซโลนา สเปนคว้าเหรียญทองได้สำเร็จหลังจากเอาชนะโปแลนด์ 3-2 ในรอบชิงชนะเลิศที่สนามกัมนอว์ (Camp Nou) ส่วนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ค.ศ. 2000 สเปนได้เหรียญเงินโดยแพ้แคเมอรูนหลังจากการดวลจุดโทษในรอบชิงชนะเลิศ[6] นอกจากนี้ สเปนยังเคยได้เหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิกที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม ค.ศ. 1920 อีกด้วย
นอกจากนี้ สเปนยังเป็นหนึ่งในสองชาติ ที่ชนะเลิศทั้งประเภทชายและประเภทหญิงชนะคู่ 1 ครั้ง โดยประเภทชายชนะเลิศในปี 2010 ส่วนประเภทหญิงชนะเลิศในปี 2023
ประวัติการแข่งขัน แก้ไข
การแข่งขันครั้งแรก แก้ไข
ฟุตบอลทีมชาติสเปนได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวแทนประเทศสเปนไปแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 7 ที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม ทีมชาติสเปนลงสนามอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1920 โดยพบกับทีมชาติเดนมาร์กที่สนามกีฬาในกรุงบรัสเซลส์ และสามารถเอาชนะเดนมาร์ก 1-0 ด้วยการยิงประตูจากปาตรีเซียว ทีมชาติสเปนได้เหรียญเงินเป็นครั้งแรกจากการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนั้น
การแข่งขันใหญ่ระหว่างปี ค.ศ. 1950-2004 แก้ไข
- 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1950; รีโอเดจาเนโร (บราซิล): สเปน-อังกฤษ (1-0, ประตูจากซาร์รา) ฟุตบอลโลก ปี 1950
- 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1950; รีโอเดจาเนโร (บราซิล): สเปน-สวีเดน (1-3) ฟุตบอลโลกปี 1950
- 21 มิถุนายน ค.ศ. 1964; มาดริด: สเปน-สหภาพโซเวียต (2-1) รอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร ปี 1964
- 21 ธันวาคม ค.ศ. 1983; เซบิยา: สเปน-มอลตา (12-1) ในรอบคัดเลือกฟุตบอลยูโร ปี 1984
- 27 มิถุนายน ค.ศ. 1984; ปารีส: สเปน-ฝรั่งเศส (0-2) รอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร ปี 1984
- 18 มิถุนายน ค.ศ. 1986; เกเรตาโร (เม็กซิโก): สเปน-เดนมาร์ก (5-1) ในฟุตบอลโลก ปี 1986
- 8 สิงหาคม ค.ศ. 1992; บาร์เซโลนา: สเปน-โปแลนด์ (3-2) รอบชิงชนะเลิศในโอลิมปิกปี 1992
- 30 กันยายน ค.ศ. 2000; ซิดนีย์: สเปน-แคเมอรูน (2-3) รอบชิงชนะเลิศในโอลิมปิกปี 2000
- 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004; มาดริด: สเปน-อังกฤษ (1-0) เป็นการลงสนามครั้งที่ 500 ของทีมชาติสเปน[7]
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 แก้ไข
แม้จะทำผลงานครั้งแรก ๆ ได้ไม่ดีนักเมื่อเริ่มต้นแข่งขันรอบคัดเลือกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 แต่สเปนก็สามารถผ่านเข้ามาในรอบแบ่งกลุ่มของการแข่งขันฟุตบอลยูโรที่ออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ได้สำเร็จ ในช่วงนี้เองเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้จัดการทีมลุยส์ อาราโกเนสกับสื่อมวลชนสเปน ครั้งแรกในเรื่องผลการแข่งขันที่ผ่านมาซึ่งย่ำแย่ และครั้งที่ 2 ในเรื่อง "ข่าว" ความขัดแย้งกับอดีตกัปตันทีมชาติราอุล กอนซาเลซ[8]
ในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มสเปนอยู่ในกลุ่ม D ร่วมกับสวีเดน กรีซ และรัสเซีย ในนัดแรกที่พบกับรัสเซียนั้นผลออกมาคือสเปนชนะไป 4-1 โดยได้ 3 ประตูจากดาบิด บียา และอีก 1 ประตูจากเซสก์ ฟาเบรกัส ส่วนในนัดที่ 2 ที่พบกับสวีเดน สเปนก็ยังเอาชนะได้ด้วยคะแนน 2-1 จากการยิงของเฟร์นันโด ตอร์เรสและบียา และในนัดสุดท้ายที่พบกับแชมป์เก่ากรีซ สเปนสามารถเอาชนะได้เช่นกันด้วยคะแนน 1-2 โดยได้ประตูจากรูเบน เด ลา เรด และดานี กวีซา
ด้วยชัยชนะทั้งสามครั้งรวดทำให้สเปนอยู่ในอันดับที่ 1 ของกลุ่ม และต้องไปพบกับอิตาลีในรอบก่อนรองชนะเลิศ ซึ่งสเปนสามารถยิงจุดโทษเอาชนะไปได้ 4-2 หลังจากต่อเวลาพิเศษแล้วยังเสมอกัน 0-0 ในนัดนี้อีเกร์ กาซียัส ผู้รักษาประตูฝ่ายสเปนสามารถหยุดลูกยิงจากฝ่ายตรงข้ามไว้ได้ 2 ลูก ส่วนผู้ทำประตูให้กับสเปนในนัดนี้ได้แก่ บียา, กาซอร์ลา, เซนนา และฟาเบรกัส
สเปนลงแข่งในรอบรองชนะเลิศกับรัสเซียเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน และเอาชนะไปได้ด้วยคะแนน 3-0 ซึ่งเป็นประตูที่ยิงได้ในครึ่งหลังทั้งหมดจากชาบี อาร์นันดัส, ดานี กวีซา และดาบิด ซิลบา ทำให้สเปนผ่านเข้าไปเล่นในรอบชิงชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปี อย่างไรก็ตาม สเปนก็ต้องขาดบียากองหน้าคนสำคัญไปเพราะได้รับบาดเจ็บที่ต้นขาจากการเตะลูกฟรีคิกในนัดที่แข่งกับรัสเซีย
ในวันที่ 29 มิถุนายน สเปนพบกับเยอรมนีซึ่งชนะตุรกีมาได้ด้วยคะแนน 3-2 ในนัดนี้ เฟร์นันโด ตอร์เรสทำประตูให้สเปนขึ้นนำเยอรมนีได้ในนาทีที่ 33 โดยไม่มีฝ่ายใดทำประตูเพิ่มอีกในครึ่งหลัง เกมจึงสิ้นสุดลงด้วยคะแนน 1-0 ทำให้ทีมชาติสเปนได้ครองแชมป์การแข่งขันใหญ่อีกครั้งหลังจากว่างเว้นไปถึง 44 ปี
ฟุตบอลโลก 2010 แก้ไข
ในฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ ก่อนการแข่งขันสเปนถูกยกให้เป็นเต็ง 1 ที่จะคว้าแชมป์ได้ แต่เมื่อได้แข่งนัดแรกแล้ว สเปนกลับเป็นฝ่ายพลิกล็อกแพ้สวิตเซอร์แลนด์ไป 0-1 แต่หลังจากนั้นสเปนก็ทำผลงานกระเตื้องขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ[9]
ในรอบชิงชนะเลิศ สเปนเป็นฝ่ายเอาชนะเนเธอร์แลนด์ ที่ชนะมาทุกรอบได้ ไป 1-0 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ หลังจากเสมอมาในเวลาปกติ 0-0 จากการยิงประตูของอันเดรส อีเนียสตา ในนาทีที่ 116 ทำให้สเปนได้ครองแชมป์โลกเป็นครั้งแรก และเป็นทีมจากทวีปยุโรปทีมแรกที่คว้าแชมป์โลกได้นอกทวีปของตนเอง และเป็นทีมแรกที่แพ้ก่อนในนัดแรกแต่พลิกกลับๅ/มาเป็นแชมป์ได้ในที่สุด[10][11]
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 แก้ไข
ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ที่โปแลนด์และยูเครนเป็นเจ้าภาพ สเปนในฐานะแชมป์เก่าสามารถป้องกันแชมป์เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกันได้สำเร็จ โดยในรอบชิงชนะเลิศสามารถระเบิดฟอร์มถล่มอิตาลีไปอยางขาดลอยถึง 4-0[12]
ฟุตบอลโลก 2014 แก้ไข
ในฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพ สเปนในฐานะแชมป์เก่าอยู่กลุ่ม B ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นคู่ชิงชนะเลิศเมื่อคราวที่แล้ว, ชิลี และออสเตรเลีย ในนัดแรก สเปนเป็นฝ่ายแพ้เนเธอร์แลนด์ไปมากถึง 1-5 ซึ่งนับเป็นผลการแข่งขันที่สเปนแพ้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ทีมชาติอีกด้วย[13] และในนัดถัดมา สเปนก็เป็นฝ่ายแพ้ต่อ ชิลี 0-2 ทำให้ตกรอบแรกไปทันที โดยไม่ต้องรอผลการแข่งขันนัดที่ 3 กับออสเตรเลีย อีกทั้งถือว่า สเปนเป็นทีมแชมป์เก่าที่ตกรอบแรกฟุตบอลโลกเป็นทีมที่ 4 ต่อจาก อิตาลี ในฟุตบอลโลก 1950, บราซิล ในฟุตบอลโลก 1966 และ ฝรั่งเศส ในฟุตบอลโลก 2002[14]
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 แก้ไข
สเปนในฐานะแชมป์เก่า และแชมป์ 2 สมัยติดต่อกัน ได้ลงเล่นในกลุ่ม D ร่วมกับโครเอเชีย, สาธารณรัฐเช็ก และตุรกี โดยก่อนการแข่งขันถูกยกให้เป็นทีมเต็ง 3 ที่จะได้แชมป์ในคราวนี้[15] ผลปรากฏว่าในรอบแรก สเปนได้ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายหรือรอบที่ 2 ด้วยการเป็นที่ 2 ของกลุ่ม เนื่องจากนัดสุดท้ายแพ้ต่อ โครเอเชียไป 1-2[16] แต่ต้องตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายเมื่อเป็นฝ่ายแพ้ต่อ อิตาลี ซึ่งเป็นคู่ชิงชนะเลิศเมื่อ 4 ปีก่อน ไป 2-0[17] ทำให้ บีเซนเต เดล โบสเก หัวหน้าผู้ฝึกสอนประกาศลาออกจากตำแหน่ง[18] ซึ่งราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนได้ประกาศแต่งตั้งยูเลน โลเปเตกี ที่เคยพาทีมชาติสเปนรุ่นอายุไม่เกิน 19 และ 21 ปีคว้าแชมป์ยุโรปเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่[19]
ผู้เล่น แก้ไข
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้ไข
รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[20]
ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับโปรตุเกส
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | โรเบร์ต ซันเชซ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | 1 | 0 | ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน |
13 | GK | ดาบิด รายา | 15 กันยายน ค.ศ. 1995 | 1 | 0 | เบรนต์ฟอร์ด |
23 | GK | อูไน ซิมอน | 11 มิถุนายน ค.ศ. 1997 | 27 | 0 | อัตเลติกบิลบาโอ |
2 | DF | เซซาร์ อัซปิลิกูเอตา | 28 สิงหาคม ค.ศ. 1989 | 41 | 1 | เชลซี |
3 | DF | เอริก การ์ซิอา | 9 มกราคม ค.ศ. 2001 | 18 | 0 | บาร์เซโลนา |
4 | DF | เปา ตอร์เรส | 16 มกราคม ค.ศ. 1997 | 21 | 1 | บิยาร์เรอัล |
14 | DF | โฆเซ กายา | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 | 18 | 3 | บาเลนเซีย |
15 | DF | อูโก กิยามอน | 31 มกราคม ค.ศ. 2000 | 3 | 1 | บาเลนเซีย |
18 | DF | ฌอร์ดี อัลบา (รองกัปตัน) | 21 มีนาคม ค.ศ. 1989 | 86 | 9 | บาร์เซโลนา |
20 | DF | ดานิ การ์บาฆัล | 11 มกราคม ค.ศ. 1992 | 30 | 0 | เรอัลมาดริด |
24 | DF | แอมริก ลาปอร์ต | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 | 15 | 1 | แมนเชสเตอร์ซิตี |
5 | MF | เซร์ฆิโอ บุสเกตส์ (กัปตัน) | 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 | 139 | 2 | บาร์เซโลนา |
6 | MF | มาร์โกส โยเรนเต | 30 มกราคม ค.ศ. 1995 | 17 | 0 | อัตเลติโกเดมาดริด |
8 | MF | โกเก | 8 มกราคม ค.ศ. 1992 | 67 | 0 | อัตเลติโกเดมาดริด |
9 | MF | กาบิ | 5 สิงหาคม ค.ศ. 2004 | 12 | 1 | บาร์เซโลนา |
16 | MF | โรดริ | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1996 | 34 | 1 | แมนเชสเตอร์ซิตี |
19 | MF | การ์โลส โซเลร์ | 2 มกราคม ค.ศ. 1997 | 11 | 3 | ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง |
26 | MF | เปดริ | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 | 14 | 0 | บาร์เซโลนา |
7 | FW | อัลบาโร โมราตา | 23 ตุลาคม ค.ศ. 1992 | 57 | 27 | อัตเลติโกเดมาดริด |
10 | FW | มาร์โก อาเซนซิโอ | 21 มกราคม ค.ศ. 1996 | 29 | 1 | เรอัลมาดริด |
11 | FW | เฟร์รัน ตอร์เรส | 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 | 30 | 13 | บาร์เซโลนา |
12 | FW | นีโก วิลเลียมส์ | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 | 2 | 0 | อัตเลติกบิลบาโอ |
17 | FW | เยเรมิ ปิโน | 20 ตุลาคม ค.ศ. 2002 | 6 | 1 | บิยาร์เรอัล |
21 | FW | ดานิ โอลโม | 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 | 24 | 4 | แอร์เบ ไลพ์ซิช |
22 | FW | ปาโบล ซาราเบีย | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 | 24 | 9 | ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง |
25 | FW | อันซู ฟาตี | 31 ตุลาคม ค.ศ. 2002 | 4 | 1 | บาร์เซโลนา |
ผู้เล่นที่ลงเล่นมากที่สุด แก้ไข
ข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2016
# | ชื่อ | ปี | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|---|
1 | อีเกร์ กาซียัส | 2000-2016 | 167 | 0 |
2 | เซร์คีโอ ราโมส | 2005- | 136 | 10 |
3 | ชาบี อาร์นันดัส | 2000-2014 | 133 | 12 |
4 | อันโดนี ซูบีซาร์เรตา | 1985-1998 | 126 | 44 |
5 | ชาบี อาลอนโซ | 2003-2014 | 114 | 16 |
6 | อันเดรส อีเนียสตา | 2006- | 113 | 13 |
7 | เซสก์ ฟาเบรกัส | 2006- | 110 | 15 |
เฟร์นันโด ตอร์เรส | 2003- | 110 | 38 | |
9 | ดาบิด ซิลบา | 2006- | 103 | 24 |
10 | ราอุล กอนซาเลซ | 1996-2006 | 102 | 44 |
ผู้เล่นที่ทำประตูมากที่สุด แก้ไข
ข้อมูลเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015
# | ชื่อ | ปี | ประตู (ลงเล่น) | เฉลี่ย/เกม |
---|---|---|---|---|
1 | ดาบิด บียา | 2005-2014 | 59 (97) | 0.61 |
2 | ราอุล | 1996-2006 | 44 (102) | 0.43 |
3 | เฟร์นันโด ตอร์เรส | 2003- | 38 (110) | 0.35 |
4 | เฟร์นันโด เอียร์โร | 1989-2002 | 29 (89) | 0.33 |
5 | เฟร์นันโด โมเรียนเตส | 1998-2007 | 27 (47) | 0.57 |
6 | เอมีเลียว บูตราเกโญ | 1984-1992 | 26 (69) | 0.38 |
7 | อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน | 1957-1961 | 23 (31) | 0.74 |
8 | ดาบิด ซิลบา | 2003- | 23 (94) | 0.24 |
9 | คูเลียว ซาลีนัส | 1986-1996 | 22 (56) | 0.39 |
10 | มีเชล | 1985-1992 | 21 (66) | 0.32 |
สถิติโลกใหม่ ชนะรวด 15 นัด ทำลายสถิติโลกมากที่สุด แก้ไข
เป็นสถิติชนะมากกว่าสถิติเดิมที่บราซิล ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย ทำไว้ คือ ชนะติดต่อกัน 14 นัด ซึ่งเป็นสถิติที่ฟีฟ่า (FIFA) บันทึกไว้
- นัดที่ 1 วันที่ 26 มิถุนายน 2551 สเปน ชนะ รัสเซีย 3-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 รอบรองชนะเลิศ
- นัดที่ 2 วันที่ 29 มิถุนายน 2551 สเปน ชนะ เยอรมนี 1-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 รอบชิงชนะเลิศ
- นัดที่ 3 วันที่ 20 สิงหาคม 2551 สเปน ชนะ เดนมาร์ก 3-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 4 วันที่ 6 กันยายน 2551 สเปน ชนะ บอสเนีย 1-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 5 วันที่ 10 กันยายน 2551 สเปน ชนะ อาร์มีเนีย 4-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 6 วันที่ 11 ตุลาคม 2551 สเปน ชนะ เอสโตเนีย 3-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 7 วันที่ 15 ตุลาคม 2551 สเปน ชนะ เบลเยียม 2-1 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 8 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 สเปน ชนะ ชิลี 3-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 9 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 สเปน ชนะ อังกฤษ 2-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 10 วันที่ 28 มีนาคม 2552 สเปน ชนะ ตุรกี 1-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 11 วันที่ 1 เมษายน 2552 สเปน ชนะ ตุรกี 2-1 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 12 วันที่ 9 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ อาเซอร์ไบจาน 6-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 13 วันที่ 14 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ นิวซีแลนด์ 5-0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
- นัดที่ 14 วันที่ 17 มิถุนายน 2552สเปน ชนะ อิรัก 1-0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
- นัดที่ 15 วันที่ 20 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ แอฟริกาใต้ 2-0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
สถิติโลกใหม่ เทียบเท่าทีมชาติบราซิล ไม่แพ้ทีมใด 35 นัดติดต่อกัน แก้ไข
- นัดที่ 1 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 (2007) อังกฤษ ชนะ สเปน 0 - 1 กระชับมิตร
- นัดที่ 2 วันที่ 24 มีนาคม 2550 (2007) สเปน ชนะ เดนมาร์ก 2-1 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 3 วันที่ 28 มีนาคม 2550 (2007) สเปน ชนะ ไอซ์แลนด์ 1 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 4 วันที่ 2 มิถุนายน 2550 (2007) ลิทัวเนีย แพ้ สเปน 0-2 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 5 วันที่ 6 มิถุนายน 2550 (2007) ลิกเตนสไตน์ แพ้ สเปน 0 - 2 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 6 วันที่ 22 สิงหาคม 2550 (2007) กรีซ แพ้ สเปน 2 - 3 กระชับมิตร
- นัดที่ 7 วันที่ 8 กันยายน 2550 (2007) ไอซ์แลนด์ เสมอ สเปน 1 - 1 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 8 วันที่ 12 กันยายน 2550 (2007) สเปน ชนะ ลัตเวีย 2 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 9 วันที่ 13 ตุลาคม 2550 (2007) เดนมาร์ก แพ้ สเปน 1 - 3 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 10 วันที่ 17 ตุลาคม 2550 (2007) ฟินแลนด์ เสมอ สเปน 0 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 11 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2550 (2007) สเปน ชนะ สวีเดน 3 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 12 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 (2007) สเปน ชนะ ไอร์แลนด์เหนือ 1 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 13 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 (2008) สเปน ชนะ ฝรั่งเศส 1 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 14 วันที่ 26 มีนาคม 2551 (2008) สเปน ชนะ อิตาลี 1 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 15 วันที่ 31 พฤษภาคม 2551 (2008) สเปน ชนะ เปรู 2 - 1 กระชับมิตร
- นัดที่ 16 วันที่ 4 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ สหรัฐอเมริกา 1 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 17 วันที่ 10 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ รัสเซีย 4 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 18 วันที่ 14 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ สวีเดน 2 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 19 วันที่ 18 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ กรีซ 2 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 20 วันที่ 22 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน เสมอ อิตาลี 0 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 21 วันที่ 26 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ รัสเซีย 3 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 22 วันที่ 29 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ เยอรมนี 1 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์ ชิงชนะเลิศ
- นัดที่ 23 วันที่ 20 สิงหาคม 2551 (2008) เดนมาร์ก แพ้ สเปน 0 - 3 กระชับมิตร
- นัดที่ 24 วันที่ 6 กันยายน 2551 (2008) สเปน ชนะ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 1 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 25 วันที่ 10 กันยายน 2551 (2008) สเปน ชนะ อาร์มีเนีย 4 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 26 วันที่ 11 ตุลาคม 2551 (2008) เอสโตเนีย แพ้ สเปน 3 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 27 วันที่ 15 ตุลาคม 2551 (2008) เบลเยียม แพ้ สเปน 1 - 2 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 28 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 (2008) สเปน ชนะ ชิลี 3 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 29 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 (2009) สเปน ชนะ อังกฤษ 2 - 0 ฟุตบอลกระชับมิตร
- นัดที่ 30 วันที่ 28 มีนาคม 2552 (2009) สเปน ชนะ ตุรกี 1 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 31 วันที่ 1 เมษายน 2552 (2009) ตุรกี แพ้ สเปน 1 - 2 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 32 วันที่ 9 มิถุนายน 2552 (2009) สเปน ชนะ อาเซอร์ไบจาน 6 - 0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 33 วันที่ 14 มิถุนายน 2552 (2009) สเปน ชนะ นิวซีแลนด์ 5 - 0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
- นัดที่ 34 วันที่ 17 มิถุนายน 2552 (2009) สเปน ชนะ อิรัก 1 - 0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
- นัดที่ 35 วันที่ 20 มิถุนายน 2552 (2009) สเปน ชนะ แอฟริกาใต้ 2 - 0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ""La Roja"". 17 June 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ "Statistics – Most-capped players". European football database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 January 2016.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 22 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2022.
- ↑ El Mundo. "El inspirador de la "furia española" fue un vasco" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2008..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Nace la Furia Roja" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2008..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Terra Networks. "2-2. España pierde el oro en los penaltis" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-21. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2008..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Diario de Córdoba. "España jugará ante Inglaterra su partido número 500" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2008..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ El Mundo. "Aragonés pierde los nervios por Raúl" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2008..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ล็อกถล่ม สเปนแพ้ สวิสฯ 0-1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-20. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.
- ↑ รายงานผล
- ↑ น ซิวแชมป์โลกสมัยแรก 'อิเนียสตา' ซัดประตูชัย 1-0 น.116จากไทยรัฐ
- ↑ "บันทึกที่สุดยูโร 2012 กระทิงดุ สเปน ที่สุดของที่สุด". สยามสปอร์ต. July 3, 2012. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
- ↑ "กระทิงจุก!แพ้ยับสุดในบอลโลกเป็นอันดับ2ของชาติ". สยามสปอร์ต. 14 June 2014. สืบค้นเมื่อ 19 June 2014.
- ↑ "ย้อนรอย!4แชมป์เก่าจอดป้ายรอบแรก". สยามสปอร์ต. 19 June 2014. สืบค้นเมื่อ 19 June 2014.
- ↑ "จัดอันดับทีมเต็งแชมป์ยูโร 2016". fun78. May 24, 2016. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สเปน แชมป์เก่าพลาดท่าแพ้ โครเอเชีย 2-1 ผ่านเข้ารอบเป็นอันดับ 2 บอลยูโร". ช่อง 7. June 22, 2016. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อิตาลีโชว์เหนือ! ชนะสเปน แชมป์เก่า 2-0 ลิ่ว 8 ทีมสุดท้าย ยูโร2016". เนชั่นทีวี. June 28, 2016. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
- ↑ "พอแล้ว!เดลบอสเก้ขอลาออกกุนซือกระทิง". สยามกีฬารายวัน. 1 กรกฎาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-09. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สเปนตั้งโลเปเตกีกุมบังเหียนต่อเดลบอสเก้". สยามกีฬารายวัน. 21 กรกฎาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "OFICIAL | Lista de convocados para la Copa Mundial de Fútbol de la FIFA Catar 2022". sefutbol (ภาษาสเปน). 11 November 2022.