ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย
ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศออสเตรเลียในการแข่งขันระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลีย ปัจจุบันเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย[2][3] และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน ผู้ฝึกสอนคนปัจจุบันคือโทนี โปโปวิช
![]() | |||
ฉายา | Socceroos จิงโจ้ (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | ฟุตบอลออสเตรเลีย | ||
สมาพันธ์ย่อย | เอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) | ||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | เกรแฮม อาร์โนลด์ | ||
กัปตัน | แมทิว ไรอัน | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | มาร์ก ชวาร์เซอร์ (109) | ||
ทำประตูสูงสุด | ทิม เคฮิลล์ (50) | ||
รหัสฟีฟ่า | AUS | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 26 ![]() | ||
อันดับสูงสุด | 14 (กันยายน ค.ศ. 2009) | ||
อันดับต่ำสุด | 102 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2014) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
![]() ![]() (ดะนีดิน ประเทศนิวซีแลนด์; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1922) | |||
ชนะสูงสุด | |||
![]() ![]() (ค็อฟส์ฮาร์เบอร์ ประเทศออสเตรเลีย; 11 เมษายน ค.ศ. 2001) (สถิติโลกสำหรับการแข่งขันนานาชาติระดับสูง) | |||
แพ้สูงสุด | |||
![]() ![]() (แอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย; 17 กันยายน ค.ศ. 1955) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 6 (ครั้งแรกใน 1974) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006 และ 2022) | ||
เอเชียนคัพ | |||
เข้าร่วม | 4 (ครั้งแรกใน 2007) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2015) | ||
โอเอฟซีเนชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 6 (ครั้งแรกใน 1980) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1980, 1996, 2000, 2004) | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 4 (ครั้งแรกใน 1997) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (1997) | ||
เว็บไซต์ | www |
ในอดีต ทีมชาติออสเตรเลียได้ร่วมแข่งขันในนามสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย โดยลงแข่งขันในเกมนานาชาติครั้งแรกใน ค.ศ. 1922 และเคยทำสถิติเอาชนะอเมริกันซามัวไปถึง 31–0 ในฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือกซึ่งเป็นสถิติการชนะในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศที่มากที่สุดตลอดกาล อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นทีมอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้ แต่ออสเตรเลียไม่ประสบความสำเร็จในการผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเท่าที่ควร โดยเข้าร่วมได้เพียง 2 ครั้งจากการแข่งขันรอบคัดเลือก 11 ครั้ง ความสำเร็จในภูมิภาคนี้คือการชนะเลิศโอเอฟซีเนชันส์คัพ 4 สมัย
ออสเตรเลียได้ย้ายเป็นสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียใน ค.ศ. 2006 มีผลงานดีที่สุดคือการชนะเลิศฟุตบอลเอเชียนคัพ 1 สมัย ใน ค.ศ. 2015 ในฐานะเจ้าภาพ และรองชนะเลิศใน ค.ศ. 2011 จากความสำเร็จดังกล่าว ส่งผลให้พวกเขาเป็นชาติเดียวที่ชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าในสองสมาพันธ์ (สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย และสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย)[4] นับตั้งแต่ย้ายสมาพันธ์ ออสเตรเลียสามารถผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกได้อีก 4 ครั้ง โดยรวมแล้วพวกเขาผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 6 ครั้ง (ค.ศ. 1974, 2006, 2010, 2014, 2018 และ 2022) ผลงานดีที่สุดคือการผ่านรอบแบ่งกลุ่ม 2 ครั้งในฟุตบอลโลก 2006 และฟุตบอลโลก 2022 ออสเตรเลียเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน ใน ค.ศ. 2013 แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ลงแข่งขันรายการสำคัญอย่างฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน เนื่องมาจากข้อกังวลเกี่ยวกับมาตรฐานและคุณภาพที่สูงกว่าทีมอื่น
ออสเตรเลียยังเป็นตัวแทนของทวีปในการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ คว้าตำแหน่งรองชนะเลิศในการแข่งขัน ค.ศ. 1997 และอันดับสามใน ค.ศ. 2001 ตามลำดับ มาร์ก ชวาร์เซอร์ เป็นเจ้าของสถิติลงสนามให้ทีมชาติสูงที่สุด 109 นัด ในขณะที่ผู้ทำประตูสูงที่สุดตลอดกาลคือ ทิม เคฮิลล์ จำนวน 50 ประตู ออสเตรเลียมีทีมคู่แข่งคือนิวซีแลนด์ และอุรุกวัย และพัฒนาความเป็นอริกับญี่ปุ่นนับตั้งแต่ย้ายเข้าร่วมสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
ประวัติ
แก้ยุคแรก
แก้ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียรวมตัวกันครั้งแรกใน ค.ศ. 1922 เพื่อร่วมแข่งขันทัวร์พบกับทีมชาตินิวซีแลนด์จำนวน 3 นัด[5] ผลการแข่งขันปรากฏว่าออสเตรเลียเสมอหนึ่งนัด และแพ้สองนัด และตลอดระยะเวลา 36 ปีหลังจากนั้น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ได้ลงแข่งขันรายการทัวร์ (เกมกระชับมิตร) ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง[6] ในช่วงเวลาดังกล่าว ออสเตรเลียยังเป็นเจ้าภาพแข่งขันรายการทัวร์พบแคนาดา และอินเดียใน ค.ศ. 1924 และ 1938 ตามลำดับ[7][8] ออสเตรเลียพบกับความพ่ายแพ้ที่ขาดลอยที่สุด (นับรวมทุกรายการ) โดยแพ้ต่อทีมชาติอังกฤษด้วยผลประตู 0–17 ในการแข่งขันทัวร์วันที่ 30 มิถุนายน 1951[9] ออสเตรเลียไม่มีโอกาสร่วมแข่งขันรายการระดับนานาชาติเลยกระทั่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ซึ่งพวกเป็นเจ้าภาพ ณ เมืองเมลเบิร์น อย่างไรก็ตาม การขาดผู้เล่นที่มีประสบการณ์ในการแข่งขันระดับสูงส่งผลให้พวกเขาไม่ประสบความสำเร็จ[10] และด้วยการเดินทางทางอากาศที่มีราคาต่ำลง ทำให้ออสเตรเลียได้ร่วมแข่งขันกับชาติอื่น ๆ ในต่างทวีปมากขึ้น แต่ด้วยสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ทำให้เกิดความยากลำบากในการเดินทาง ซึ่งผลต่อการพัฒนาทีมตลอดระยะเวลา 30 ปีต่อมา ความสำเร็จรายการแรกของพวกเขาคือการชนะเลิศฟุตบอลอิสรภาพของเวียดนามใต้ใน ค.ศ. 1967 แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศ[11]
ภายหลังจากตกรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1966 และ 1970 แพ้ต่อเกาหลีเหนือ และอิสราเอลตามลำดับ ออสเตรเลียได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1974 ที่ประเทศเยอรมนีตะวันตก ก่อนจะตกรอบแบ่งกลุ่มโดยเสมอชิลี และแพ้สองนัดต่อเยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก และไม่สามารถยิงประตูในการแข่งขันได้เลยเนื่องจากทีมชุดนั้นเต็มไปด้วยผู้เล่นขาดประสบการณ์ และออสเตรเลียต้องห่างหายจากฟุตบอลโลกไปอีกหลายปี กระทั่งได้กลับมาเข้าร่วมอีกครั้งในฟุตบอลโลก 2006[12] โดยในช่วงเวลานั้น พวกเขาแพ้ในรอบคัดเลือกทุกครั้ง แพ้ต่อสกอตแลนด์ใน ค.ศ. 1986, แพ้อาร์เจนตินาใน ค.ศ. 1994 แพ้อิหร่านใน ค.ศ. 1998 และแพ้อุรุกวัยใน ค.ศ. 2002
พัฒนาทีม และเข้าร่วมสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
แก้แม้จะล้มเหลวในฟุตบอลโลก แต่ออสเตรเลียทำผลงานได้ดีช่วงนั้นเมื่อพบกับทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ พวกเขาเอาชนะแชมป์โลกอย่างอาร์เจนตินา 4–1 ในรายการ Australian Bicentennial Gold Cup ใน ค.ศ. 1988[13] ถัดมาในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ค.ศ. 1997 ออสเตรเลียเสมอกับบราซิล แชมป์ฟุตบอลโลก 1994 ตามด้วยการชนะอุรุกวัย 1–0 ผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศแต่แพ้บราซิล 0–6[14] และในการแข่งขันรายการเดียวกันใน ค.ศ. 2001 ออสเตรเลียเอาชนะแชมป์ฟุตบอลโลก 1998 อย่างฝรั่งเศสได้ในรอบแบ่งกลุ่ม และคว้าอันดับสามได้จากการชนะบราซิล 1–0[15] และยังบุกไปชนะอังกฤษ 3–1 ในเกมกระชับมิตรที่สนามบุลินกราวนด์ ซึ่งนัดนั้นเป็นการลงสนามในนามทีมชาติเกมแรกของเวย์น รูนีย์[16]
ในช่วงต้นปี 2005 มีรายงานว่า สหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลียได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และเป็นการยุติช่วงเวลา 40 ปีในการเป็นสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย[17] นักวิจารณ์และแฟนบอลหลายคนรวมถึงอดีตกัปตันทีมชาติออสเตรเลีย จอห์นนี วอร์เรน เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยกล่าวว่าเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานของทีมชาติออสเตรเลีย ในวันที่ 13 มีนาคม 2005 คณะกรรมการบริหารของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญออสเตรเลียเข้าร่วมสมาพันธ์ และหลังจากสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียรับรองการย้ายออกของออสเตรเลีย สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติได้อนุมัติในวันที่ 30 มิถุนายน 2005 โดยมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2006 แม้ว่าก่อนหน้านั้นออสเตรเลียจะลงแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกในโซนโอเชียเนีย
แฟรงก์ ฟารินา ผู้ฝึกสอนได้ลาออกหลังจากทำผลงานย่ำแย่ในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005 และ คืส ฮิดดิงก์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ฝึกสอนคนใหม่ ออสเตรเลียซึ่งเป็นทีมอันดับ 49 ของโลกในขณะนั้นต้องแข่งขันกับทีมอันดับ 18 อย่างอุรุกวัยในรอบเพลย์ออฟเพื่อเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2006 ภายหลังจากออสเตรเลียชนะจาไมกา 5–0 ในเกมกระชับมิตร พวกเขาลงแข่งนัดแรกกับอุรุกวัยและแพ้ 0–1 ก่อนจะกลับไปเล่นนัดที่สองที่ซิดนีย์[18] และพวกเขาเอาชนะได้ 1–0 เช่นกันจากประตูของ มาร์ค เบรสชาโน ทำให้ต้องต่อเวลาพิเศษ แต่ก็ไม่สามารถทำประตูเพิ่มกันได้ และออสเตรเลียชนะการดวลจุดโทษไป 4–2 ส่งผลให้พวกเขาเป็นชาติแรกที่ได้แข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายโดยชนะจุดโทษในเพลย์ออฟ[19] และเป็นการกลับไปแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในรอบ 32 ปี
โกลเดน เจเนอเรชัน
แก้ออสเตรเลียลงแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในฐานะทีมที่มีอันดับโลกต่ำสุดเป็นอันดับสองในการแข่งขันครั้งนั้น แม้อันดับของพวกเขาจะดีขึ้นจากการทำผลงานได้ดีในการเสมอเนเธอร์แลนด์ 1–1 รวมถึงการชนะทีมแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอย่างกรีซ ซึ่งแข่งขันกันที่สนามคริกเก็ตเมลเบิร์น ความจุกว่า 100,000 ที่นั่งและตั๋วได้ถูกขายหมดทุกที่นั่ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับบราซิล, ญี่ปุ่น และโครเอเชีย ออสเตรเลียลงสนามนัดแรกเอาชนะญี่ปุ่น 3–1 จากสองประตูของ ทิม เคฮิลล์ และหนึ่งประตูจาก จอห์น อลอยซี่ และเป็นการสร้างสถิติใหม่โดยออสเตรเลียทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้เป็นครั้งแรก, เป็นชัยชนะครั้งแรกในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายของทีมจากโอเชียเนีย รวมทั้งเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลกที่มีการทำสามประตูในช่วงเจ็ดนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน[20] ออสเตรเลียแพ้บราซิล 0–2 ในนัดต่อมา แต่เอาชนะโครเอเชียได้ในนัดสุดท้าย 1–0 ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ก่อนจะแพ้อิตาลี 0–1 ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายจากการเสียจุดโทษซึ่งเป็นลูกปัญหาในช่วงท้ายเกม[21] ฮิดดิงก์ประกาสลาออก แต่ครั้งนี้ก็ถือเป็นความสำเร็จของออสเตรเลีย โดยพวกเขาได้รับรางวัลทีมยอดเยี่ยมของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปีนั้น[22] และทีมชุดนั้นยังได้รับการยกย่องเป็น โกลเดน เจเนอเรชัน จากการสร้างประวัติศาสตร์ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกในฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก[23]
ออสเตรเลียร่วมแข่งขัน เอเชียนคัพ 2007 เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของ เกรแฮม อาร์โนลด์ โดยผู้เล่น 15 คนอยู่ในชุด โกลเดน เจเนอเรชั่น ที่สร้างชื่อในฟุตบอลโลก พวกเขาอยู่ในกลุ่มเอร่วมกับโอมาน (เสมอ 1–1 ), ไทย (ชนะ 4–0) และ อิรัก (แพ้ 1–3) ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายแต่แพ้จุดโทษญี่ปุ่น ก่อนที่อาร์โนลด์จะคุมทีมนัดสุดท้ายในเกมกระชับมิตรที่พวกเขาแพ้อาร์เจนตินา 0–1 และเขาถูกแทนที่โดย ปิม เฟอร์เบก ชาวดัดซ์ ในเดือนธันวาคม 2007[24]
ออสเตรเลียลงแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชียเป็นครั้งแรกในรอบคัดเลือก - เอเอฟซี รอบที่ 3 พวกเขาอยู่ร่วมกับกาตาร์, อิรัก และจีน และผ่านเข้ารอบในฐานะทีมอันดับหนึ่ง ตามด้วยการเป็นที่หนึ่งอีกครั้งในรอบคัดเลือกรอบที่ 4 ซึ่งอยู่ร่วมกับญี่ปุ่น, บาห์เรน, กาตาร์ และอุซเบกิสถาน โดยผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีกสองนัด โดยจบการแข่งขันด้วยการมีคะแนนมากกว่าทีมอันดับสองอย่างญี่ปุ่น 5 คะแนน
ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มดีในฟุตบอลโลก 2010 ร่วมกับเยอรมนี, กานา และเซอร์เบีย พวกเขาลงแข่งขันนัดแรกแพ้เยอรมนี 0–4 ปิม เฟอร์เบก ได้รับการวิจารณ์ถึงการจัดตัวผู้เล่นและการวางแผน โดยเขาไม่ส่งผู้เล่นตำแหน่งกองหน้าลงไปเป็น 11 ตัวจริงแม้แต่คนเดียวในนัดนั้น[25] เอสบีเอส สื่อของออสเตรเลียนำเสนอข่าวเรียกร้องให้ทำการปลดเฟอร์เบก[26] ออสเตรเลียเสมอกานาในนัดที่สอง 1–1 ปิดท้ายด้วยการชนะเซอร์เบีย 2–1 แต่ไม่เพียงพอต่อการเข้ารอบ เฟอร์เบกถูกแทนที่โดย โฮลเกอร์ โอซีค[27] ซึ่งพาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมในเอเชียนคัพ 2011 ผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศก่อนจะแพ้ญี่ปุ่น 0–1 ในช่วงต่อเวลา
ใน ค.ศ. 2012 ออสเตรเลียตอบรับการร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันออก[28] และเดินทางไปแข่งขันรอบคัดเลือกที่ฮ่องกงและคว้าอับดับหนึ่งได้โดยมีคะแนนเหนือฮ่องกง, เกาหลีเหนือ, กวม และไต้หวัน แต่พวกเขาจบอันดับสุดท้ายในการแข่งขันรอบสุดท้าย ตามหลังญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และ จีน[29] ต่อมาในวันที่ 23 สิงหาคม 2013 ออสเตรเลียได้รับสถานะเป็นสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียนในทางนิตินัย[30] กระนั้น พวกเขาไม่ได้ร่วมแข่งขันรายการสำคัญกับชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน เนื่องจากมาตรฐานทีมที่เหนือกว่าทีมอื่น ๆ มาก[31]
ออสเตรเลียเตรียมความพร้อมสำหรับฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก โดยลงเล่นเกมกระชับมิตรหลายนัด และทำผลงานยอดเยี่ยม พบสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เสมอ 0–0), เยอรมนี (ชนะ 2–1), นิวซีแลนด์ (ชนะ 3–0), เซอร์เบีย (เสมอ 0–0) และเวลส์ (ชนะ 2–1) ลงแข่งขันรอบคัดเลือกรอบที่สามและจบอันดับหนึ่ง ก่อนจะจบด้วยอันดับสองในรอบที่สี่ได้สิทธิ์แข่งขันฟุตบอลโลก 2014[32] ต่อมาออสเตรเลียแพ้สองนัดติดต่อกันในเกมกระชับมิตรกับบราซิล และฝรั่งเศส 0–6 ทั้งสองนัด และโอซีคลาออก
สายเลือดใหม่ และแชมป์เอเชียนคัพ (2015–2020)
แก้แองเจลอส พอสเตคูกลู เข้ามาคุมทีมต่อ ซึ่งได้รับมอบหมายให้สร้างทีมขึนใหม่เนื่องจากที่ผ่านมาสหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลียมองว่าทีมชุดนี้พึ่งพานักเตะแกนหลักในยุค โกลเดน เจเนอเรชัน มากเกินไป พอสเตคูกลูคุมทีมนัดแรกเอาชนะคอสตาริกา 1–0 ในเกมกระชับมิตรจากประตูของทิม เคฮิลล์[33] ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย พวกเขาอยู่กลุ่มบีร่วมกับแชมป์เก่าอย่างสเปน, รองแชมป์เก่าอย่างเนเธอร์แลนด์ รวมถึงชิลี พวกเขาแพ้ชิลีในนัดแรก 1–3 โดยเสียสองประตูในช่วง 15 นาทีแรก และสู้กับเนเธอร์แลนด์ได้สูสีในนัดที่สองแต่ก็แพ้ 2–3 ปิดท้ายด้วยการแพ้สเปน 0–3 แต่แฟน ๆ ของออสเตรเลียก็ยกย่องทีมจากการทำผลงานได้ดีแม้อยู่ในกลุ่มที่หนักร่วมกับทีมชั้นนำอีกสามทีม และได้รับการยกย่องว่าทีมชุดนี้จะเป็นสายเลือดใหม่หรือ โกลเดน เจเนอเรชั่น ยุคใหม่[34]
ออสเตรเลียแพ้เบลเยียมในเกมกระชับมิตร 0–2 ก่อนจะคว้าชัยชนะนัดแรกในรอบสิบเดือน และเป็นชัยชนะนัดที่สองของพอสเตคูกลูในนัดที่ชนะซาอุดีอาระเบีย 3–2 ที่ลอนดอน ก่อนจะเสมอสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแพ้สองนัดต่อกาตาร์และญี่ปุ่น ส่งผลให้อันดับโลกของพวกเขาร่วงไปอันดับที่ 94 และ 102 ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีม[35]
ออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2015 โดยเป็นการร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่สามติดต่อกัน ในสองนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่ม พวกเขาเอาชนะคูเวต (4–1) และโอมาน (4–0) ได้อย่างง่ายดาย ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที แม้จะแพ้เกาหลีใต้ (1–3) ในนัดสุดท้ายที่บริสเบน ตามด้วยการชนะจีน 2–0 ในรอบก่อนรองชนะเลิศจากสองประตูของ ทิม เคฮิลล์ และชนะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในรอบรองชนะเลิศ 2–0 ผ่านเข้าชิงชนะเลิศสองสมัยติดต่อกัน และเอาชนะเกาหลีใต้ 2–1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ คว้าแชมป์เป็นสมัยแรก[36] และได้สิทธิ์แข่งขัน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 แต่ตกรอบแบ่งกลุ่ม
ออสเตรเลียผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 2018 และแบร์ต ฟัน มาร์ไวก์[37] อดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติเนเธอร์แลนด์เข้ามารับตำแหน่งต่อจากพอสเตคูกลู ใน ค.ศ. 2017[38] และเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2018 ภายหลังการประกาศรายชื่อนักเตะที่จะลงแข่งขันฟุตบอลโลก สหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลียประกาศว่า เกรแฮม อาร์โนลด์ จะรับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนภายหลังจบฟุตบอลโลก 2018 ไปจนถึงฟุตบอลโลก 2022[39] ในฟุตบอลโลก 2018 ออสเตรเลียอยู่ร่วมกลุ่มกับเดนมาร์ก, ฝรั่งเศส และเปรู ในนัดแรกพวกเขาแพ้ฝรั่งเศส 1–2 โดยได้รับความชื่นชมจากผลงาน[40] และยังเล่นได้อย่างยอดเยี่ยม เสมอเดนมาร์กในนัดที่สอง 1–1[41] ก่อนจะตกรอบโดยแพ้เปรูในนัดสุดท้าย 0–2[42]
ฟัน มาร์ไวก์ ลาออกเพื่อเปิดทางให้กับ อาร์โนลด์ ด้วยความคาดหวังว่าออสเตรเลียจะทำผลงานได้ดีและป้องกันแชมป์เอเชียนคัพได้ในปี 2019 พวกเขาอยู่ร่วมกลุ่มกับจอร์แดน, ซีเรีย และ ปาเลสไตน์ พวกเขาแพ้ในนัดแรกต่อจอร์แดนอย่างเหนือความคาดหมาย 0–1[43] แต่ยังเข้าสู่รอบต่อไปจากการชนะในสองนัดถัดมาที่พบกับ ปาเลสไตน์ (3–0) และ ซีเรีย (3–2)[44] ตามด้วยการชนะจุดโทษอุซเบกิสถานในรอบ 16 ทีมสุดท้าย[45] แต่พวกเขาแพ้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เจ้าภาพ 0–1 ในรอบก่อนรองชนะเลิศที่สนามกีฬาฮัซซาอ์ บิน ซายิด สนามเดียวกับที่พวกเขาแพ้จอร์แดนในนัดเปิดสนาม[46]
2022–ปัจจุบัน
แก้ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 ออสเตรเลียชนะรวด 8 นัดผ่านเข้าสู่รอบที่ 3 อย่างง่ายดาย โดยในรอบที่ 3 นี้พวกเขาอยู่ร่วมกับซาอุดีอาระเบีย, ญี่ปุ่น, โอมาน, จีน และ เวียดนาม แม้จะเริ่มต้นได้ยอดเยี่ยมด้วยการชนะ 3 นัดแรก แต่ใน 3 นัดต่อมา พวกเขาบุกไปแพ้ญี่ปุ่น ตามด้วยเสมอสองนัดกับซาอุดีอาระเบียและจีน ทำให้อันดับของพวกเขาตกลงไป แม้จะกลับมาเปิดบ้านชนะเวียดนาม 4–0 แต่การสะดุดอีกครั้งใน 3 นัดสุดท้ายที่พวกเขาบุกไปเสมอโอมาน 2–2, เปิดบ้านแพ้ญี่ปุ่น 0–2 และบุกไปแพ้ซาอุดีอาระเบีย 0–1 ไม่เพียงพอต่อการเข้ารอบโดยอัตโนมัติ ออสเตรเลียต้องไปแข่งขันรอบที่ 4 พบกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และการแข่งขันต้องย้ายไปเล่นที่สนามกลางในโดฮา เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ออสเตรเลียเอาชนะไป 2–1 ผ่านเข้าไปพบเปรูในรอบเพลย์ออฟระหว่างสมาพันธ์ ก่อนจะเอาชนะในการดวลจุดโทษหลังจากเสมอกัน 0–0 ผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่ 6[47]
ออสเตรเลียลงแข่งกระชับมิตรสองนัดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนฟุตบอลโลก โดยเอาชนะเพื่อนบ้านอย่างนิวซีแลนด์ทั้งสองนัด และในฟุตบอลโลก 2022 ออสเตรเลียลงแข่งขันนัดแรกในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 แพ้ฝรั่งเศสในนัดแรก 1–4 แต่เอาชนะตูนิเซียในนัดต่อมา 1–0 และเอาชนะเดนมาร์กทีมที่เข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ได้ 1–0 จากประตูของแมทธิว เล็คกี ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้อาร์เจนตินา 1–2 จากประตูของลิโอเนล เมสซิ และฆูเลียน อัลบาเรซ ด้วยความผิดพลาดของผู้รักษาประตูอย่างแมทิว ไรอัน แม้จะมีโอกาสตีเสมอในช่วงท้ายเกมแต่ก็ถูกขัดขวางโดยเอมิเลียโน มาร์ติเนซ[48] อย่างไรก็ตาม การผ่านรอบแบ่งกลุ่มในครั้งนี้ได้รับเสียงชื่นชมจากแฟนบอลออสเตรเลียอย่างมาก แฟน ๆ หลายคนออกมาเฉลิมฉลองหลังจากชนะตูนิเซียและเดนมาร์ก รวมทั้งได้รับการยกย่องจากแอนโทนี แอลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย[49][50] นับเป็นครั้งที่สองที่พวกเขาผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก ต่อจากฟุตบอลโลก 2006
อาร์โนลด์อำลาตำแหน่งผู้ฝึกสอนในเดือนกันยายน ค.ศ. 2024[51] และผู้ที่มารับตำแหน่งแทนคือโทนี โปโปวิช อดีตผู้เล่นกองหลังทีมชาติออสเตรเลีย ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2023 ออสเตรเลียผ่านรอบแบงกลุ่มในฐานะแชมป์กลุ่มด้วยการมี 7 คะแนน ตามด้วยการชนะอินโดนีเซีย 4–0 แต่พวกเขาแพ้เกาหลีใต้ในรอบก่อนรองชนะเลิศในช่วงต่อเวลา 1–2 ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 ออสเตรเลียเข้ารอบในฐานะทีมอันดับ 1 ของกลุ่มไอ ด้วยผลงานชนะรวดทั้ง 6 นัด ยิงได้ 22 ประตู และไม่เสียแม้แต่ประตูเดียว ผ่านเข้าสู่รอบที่ 3 รวมทั้งได้สิทธิ์แข่งขันเอเชียนคัพ 2027 และในการแข่งขันรอบที่ 3 พวกเขาเปิดบ้านแพ้บาห์เรนในนัดแรกอย่างเหนือความคาดหมาย 0–1 ตามด้วยการบุกเสมออินโดนีเซีย 0–0, เปิดบ้านชนะจีน 3–1, บุกไปเสมอญี่ปุ่น 1–1, เปิดบ้านเสมอซาอุดีอาระเบีย 0–0 และบุกไปเสมอบาห์เรน 2–2 และอยู่ในอันดับ 2 ของกลุ่มเมื่อสิ้นสุดปี 2024
ชื่อเรียก
แก้ทีมชาติออสเตรเลียมีฉายาที่เรียกกันทั่วไปว่า ซอกเกอร์รูส์ (Socceroos) คิดค้นโดย โทนี ฮาลสเดต ผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลียในปี 1967 ในการรายงานข่าวของเขาในขณะทีมร่วมแข่งขันรายการพิเศษที่เวียดนามในช่วงสงครามเวียดนาม และนับตั้งแต่นั้นชื่อนี้ก็เป็นที่นิยมเรียกทั้งในกลุ่มผู้สนับสนุนในประเทศ และสหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลีย ชื่อนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของชาวออสเตรเลียในการใช้ภาษาพูดในประเทศ[52] รวมถึงความนิยมในการใช้ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย (Australian English) ในการตั้งชื่อทีมกีฬา[53] และชื่อนี้ยังสื่อความหมายถึงจิงโจ้ (Kangaroo) ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศ
คำว่า รูส์ ยังเป็นที่นิยมในการเรียกทีมกีฬาระดับชาติอื่น ๆ ของออสเตรเลียเช่น Hockeyroos ใช้สำหรับทีมฮอกกี้หญิงทีมชาติออสเตรเลีย และในปัจจุบันสายการบินควอนตัสเป็นผู้สนับสนุนหลักของทีมชาติออสเตรเลีย จึงนิยมเรียกกันว่าควอนตัสซอกเกอร์รูส์
ผลงาน
แก้- 1930-1962 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1966-1970 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1974 - รอบแรก
- 1978-2002 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2006 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย
- 2010 - รอบแรก
- 2014 - รอบแรก
- 2018 - รอบแรก
- 2022 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย
- 1992, 1995 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1997 - รองชนะเลิศ
- 1999 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2001 - อันดับสาม
- 2003 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2005 - รอบแรก
- 2017 - รอบแรก
- ชนะเลิศ - 1980, 1996, 2000, 2004
- อันดับสอง - 1998, 2002
- ไม่ได้เข้าร่วม - 1973
นักเตะชุดปัจจุบัน
แก้รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3 พบกับ อินโดนีเซีย และ จีน ในวันที่ 20 และ 25 มีนาคม 2025 ตามลำดับ[54]
ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 หลังจากการพบกับ บาห์เรน
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
GK | แมทิว ไรอัน (กัปตัน) | 8 เมษายน ค.ศ. 1992 | 96 | 0 | ล็องส์ | |
GK | Tom Glover | 24 ธันวาคม ค.ศ. 1997 | 0 | 0 | มิดเดิลส์เบรอ | |
GK | Paul Izzo | 6 มกราคม ค.ศ. 1995 | 0 | 0 | Randers | |
DF | แอซิซ เบอิช | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1990 | 77 | 2 | Melbourne City | |
DF | มิล็อช เดเกเน็ก | 28 เมษายน ค.ศ. 1994 | 44 | 1 | TSC | |
DF | Kye Rowles | 24 มิถุนายน ค.ศ. 1998 | 24 | 1 | D.C. United | |
DF | Jason Davidson | 29 มิถุนายน ค.ศ. 1991 | 23 | 1 | Panserraikos | |
DF | Fran Karačić | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 | 13 | 1 | โลโคโมติวา | |
DF | Cameron Burgess | 21 ตุลาคม ค.ศ. 1995 | 13 | 0 | อิปสวิชทาวน์ | |
DF | Lewis Miller | 24 สิงหาคม ค.ศ. 2000 | 10 | 1 | Hibernian | |
DF | Jason Geria | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 | 5 | 0 | อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ | |
DF | Alex Grant | 23 มกราคม ค.ศ. 1994 | 0 | 0 | ซิดนีย์ | |
DF | Kai Trewin | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 | 0 | 0 | Melbourne City | |
MF | แจ็กสัน เออร์วิน | 7 มีนาคม ค.ศ. 1993 | 76 | 11 | St. Pauli | |
MF | Aiden O'Neill | 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 | 17 | 0 | Standard Liège | |
MF | Anthony Caceres | 29 กันยายน ค.ศ. 1992 | 2 | 0 | ซิดนีย์ | |
MF | Ryan Teague | 24 มกราคม ค.ศ. 2002 | 0 | 0 | Melbourne Victory | |
MF | Nectarios Triantis | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 | 0 | 0 | Hibernian | |
FW | Martin Boyle | 25 เมษายน ค.ศ. 1993 | 30 | 9 | Hibernian | |
FW | Craig Goodwin | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 | 30 | 7 | Al-Wehda | |
FW | Adam Taggart | 2 มิถุนายน ค.ศ. 1993 | 20 | 7 | Perth Glory | |
FW | Brandon Borrello | 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 | 13 | 2 | Western Sydney Wanderers | |
FW | Kusini Yengi | 15 มกราคม ค.ศ. 1999 | 11 | 6 | พอร์ตสมัท | |
FW | Marco Tilio | 23 สิงหาคม ค.ศ. 2001 | 9 | 0 | Melbourne City | |
FW | Daniel Arzani | 4 มกราคม ค.ศ. 1999 | 7 | 1 | Melbourne Victory | |
FW | Nishan Velupillay | 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 | 3 | 1 | Melbourne Victory |
อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
- ↑ "Our History". Socceroos (ภาษาอังกฤษ). 2017-08-22.
- ↑ "Australia gets President's blessing to join AFC in 2006". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2005-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ Smith, Pete (2015-01-31). "Socceroos lift Asian Cup after dramatic extra-time win over South Korea". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-31.
- ↑ "Australia Vs New Zealand 1922". www.ozfootball.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ "Australian Socceroos". web.archive.org. 2014-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1923 Australia Men's National Team Results". www.ozfootball.net.
- ↑ "1938 Australia Men's National Team Results". www.ozfootball.net.
- ↑ "Australia Vs England 1951". www.ozfootball.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ Gillespie, James; Tyrrell, Ian (2001). "Deadly Enemies: Tobacco and Its Opponents in Australia". Labour History (81): 224. doi:10.2307/27516824. ISSN 0023-6942.
- ↑ "As Socceroos face moment of truth, let's remember our football triumph of 1967". theconversation.com.
- ↑ "The World Cup Dream - Australian football timeline". web.archive.org. 2014-12-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-17. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Socceroo 1988 Matches". www.ozfootball.net.
- ↑ "Socceroo 1997 Matches". www.ozfootball.net.
- ↑ "Socceroo 2001 Matches". www.ozfootball.net.
- ↑ "Socceroos win 3-1 against England". The Age (ภาษาอังกฤษ). 2003-02-14.
- ↑ "Goal at last: Australia joining Asia". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2005-03-11.
- ↑ "FIFA.com - Aloisi ends Aussie wait". web.archive.org. 2013-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ "From the Terraces: It's Us Against The World- by Jay Nair". web.archive.org. 2012-10-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Australia 3-1 Japan" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ "Italy 1 Australia 0: Totti makes most of referee's penalty present". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2006-06-26.
- ↑ "Ref's Room • Information". web.archive.org. 2013-12-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Foster, Craig (2012-07-21). "Socceroos' golden generation has much to teach our youth". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Verbeek is new Socceroos coach". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2007-12-06.
- ↑ Lynch, Michael (2010-06-13). "Verbeek takes blame for Socceroos defeat". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.theaustralian.com.au/sport/world-cup-2010/craig-foster-sack-pim-verbeek-immediately/story-fn4l4sip-1225880401600
- ↑ "Motorsport Video |Motorsport Highlights, Replays, News, Clips". FOX SPORTS (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
- ↑ "Australia sets sights on East Asia Cup : The World Game on SBS". web.archive.org. 2013-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Rookie Socceroos selected for East Asian Cup". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2012-11-22. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ "Australia joins ASEAN Football Federation | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ Bossi, Dominic (2019-01-31). "Socceroos seeking entrance into 2020 Suzuki Cup". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Super-sub Kennedy sends Australia to Brazil : The World Game on SBS". web.archive.org. 2013-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Lynch, Michael (2013-11-19). "Positive signs emerge for Socceroos as bold new era begins in earnest". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "News". Football Australia (ภาษาอังกฤษ). 2017-09-19.
- ↑ "FIFA rankings: Socceroos hit their first century as Japan emerges as Asia's top side". Fox Sports (ภาษาอังกฤษ). 2014-11-27.
- ↑ "Aussies win dramatic Asian Cup final". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ Bossi, Dominic (2018-01-25). "FIFA World Cup 2018: Bert van Marwijk appointed new Socceroos coach". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Socceroos go Dutch for World Cup with Van Marwijk appointment". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2018-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ "No surprises as Graham Arnold takes on impossible Socceroos job | Jonathan Howcroft". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-08.
- ↑ Howcroft, Jonathan; Howcroft, Jonathan (2018-06-16). "France 2-1 Australia: World Cup 2018 – as it happened". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ "Denmark vs. Australia 2018 World Cup: A 1-1 tie keeps the Socceroos alive". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ Broun, Alex. "Football news: Andre Carrillo and Luis Advíncula both get an 8 as Peru cruise past Australia 2-0 on World Cup bow - Sport360 News". sport360.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ OPTA (2019-01-06). "AFC Asian Cup 2019: Australia 0 Jordan 1: Champions stunned in Group B opener". mykhel.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Socceroos hold out spirited Syria 3-2 to progress in Asian Cup". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2019-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ "Australia 0 Uzbekistan 0 (aet, 4-2 on penalties): Ryan heroics see holders hobble onwards". beIN SPORTS (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Asian Cup 2019: UAE v Australia as it happened - UAE win 1-0 thanks to Ali Mabkhout strike". The National. 2019-01-25.
- ↑ "Socceroos vs Peru result: Australia earns World Cup berth after winning playoff on penalties". www.sportingnews.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Rugari, Vince (2022-12-03). "Messi genius and a Ryan mistake: Argentina end Socceroos' World Cup". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "'The best game of football': Fans react as Socceroos win first World Cup game in 12 years". SBS News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Farrer, Martin (2022-11-30). "'A magnificent win': Australia's World Cup victory sparks wild celebrations back home". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-31.
- ↑ Rugari, Vince (2024-09-20). "Muscat out of the running as Socceroos begin hunt for Arnold's replacement". The Age (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "O'Neill wants to lose Roos in the name of progress". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2005-01-14.
- ↑ "Soccer's Australian name change". The Age (ภาษาอังกฤษ). 2004-12-16.
- ↑ "Subway Socceroos squad named for March World Cup Qualifiers | Football Australia". www.footballaustralia.com.au (ภาษาอังกฤษ). 2025-03-14. สืบค้นเมื่อ 2025-03-14.