บริสเบน (อังกฤษ: Brisbane, /ˈbrɪzbən/ briz-bən[8]) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของรัฐควีนส์แลนด์[9] อีกทั้งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศออสเตรเลียและโอเชียเนีย มีจำนวนประชากรประมาณ 2.6 ล้านคน[10] บริสเบนเป็นเมืองที่อยู่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก และมีแม่น้ำบริสเบน (Brisbane River) ไหลผ่านบนที่ราบระหว่างมอร์ทันเบย์ (Moreton Bay) กับเทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) ส่วนชื่อเมืองตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์โทมัส บริสเบน (Sir Thomas Brisbane). บริสเบนได้รับเลือกให้เป็นเมืองเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2032 และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2032[11][12][13]

บริสเบน
รัฐควีนส์แลนด์
Skyline
Story Bridge and Citycat
City Hall
Gallery of Modern Art/QAGOMA
Queenslander architecture
Queensland Parliament
แผนที่เขตปริมณฑลบริสเบน
บริสเบนตั้งอยู่ในออสเตรเลีย
บริสเบน
บริสเบน
พิกัดภูมิศาสตร์27°28′04″S 153°01′41″E / 27.46778°S 153.02806°E / -27.46778; 153.02806
ประชากร2,560,700 (2020)[1] (3rd)
 • ความหนาแน่น159/km2 (410/sq mi) [2] (2021 GCCSA)
ก่อตั้ง13 พฤษภาคม ค.ศ. 1825 (1825-05-13)
พื้นที่15,842 km2 (6,116.6 sq mi)[2] (2021 GCCSA)
เขตเวลาAEST (UTC+10:00)
ที่ตั้ง
LGA(s)
ภูมิภาคSouth East Queensland
เทศมณฑลStanley, Canning, Cavendish, Churchill, Ward
State electorate(s)41 เขต
Federal Division(s)17 เขต
Mean max temp Mean min temp Annual rainfall
25.4 °C
78 °F
15.7 °C
60 °F
1,036 mm
40.8 in

การท่องเที่ยวและการพักผ่อน

แก้

การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของบริสเบน โดยเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมอันดับสามสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติรองจากซิดนีย์และเมลเบิร์น[14][15]

นอกเขตตัวเมือง บริสเบนมีสถานที่ท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทางมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ในเซนต์ลูเซีย โรงบ่มไวน์ซีร์โรเมตในเมาท์คอตตอน แทงกาลูมาบนเกาะมอร์ตัน เขตอนุรักษ์โคอาล่าโลนไพน์ในฟิกทรีพ็อกเก็ต อีทสตรีท (ตลาดอาหารกลางคืน) ในฮามิลตันเหนือ ฟอร์ตลิตตัน และเมาท์คูทตา (รวมถึงเขตอนุรักษ์เมาท์คูทตา จุดชมวิวเมาท์คูทตา สวนพฤกศาสตร์เมาท์คูทตา) อีกทั้งยังมีสวนและหอดูดาวเซอร์โทมัสบรีสเบนซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับการเดินเล่นและการเดินทางเพื่อออกผจญภัยในพืชพันธุ์ต่างๆ[16][17]

อ่าวมอร์ตันและอุทยานทางทะเลก็เป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยมเช่นกัน โดยบนสามเกาะหลักคือ มอร์ตอนไอส์แลนด์, นอร์ธสแตรดบรอคไอส์แลนด์ และบรีบีไอส์แลนด์ สามารถเดินทางไปได้โดยเรือเฟอร์รี่ ซึ่งมีชายหาดสำหรับโต้คลื่นและรีสอร์ทที่เป็นที่นิยม[18] รีสอร์ทแทงกาลูมาบนมอร์ตอนไอส์แลนด์ได้รับความนิยมจากการให้อาหารปลาโลมาป่าตอนกลางคืนและการล่องเรือชมวาฬที่ยาวนานที่สุดในออสเตรเลีย[19]

ทางตอนใต้และตอนเหนือของบริสเบนคือ โกลด์โคสต์และซันไชน์โคสต์ตามลำดับ ที่มีหาดทรายที่มีชื่อเสียงสำหรับการว่ายน้ำและโต้คลื่นในออสเตรเลีย อีกทั้งยังเป็นจุดพักผ่อนยอดนิยมสำหรับทริปวันเดียวและสุดสัปดาห์ของชาวบริสเบน[20]

รอบ ๆ บริสเบนมีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับการเดินป่าและการเดินทางแคมปิ้ง อุทยานแห่งชาติดากิลาร์ครอบคลุมแนวชายแดนตะวันตกเฉียงเหนือของบริสเบนในหุบเขาดากิลาร์และมีจุดเดินป่าที่นิยม เช่น เมาท์เนโบ, แคมป์เมาท์เทน, เมาท์เพลเซ็นท์, เมาท์กลอเรียส, เมาท์แซมซัน, และเมาท์เมอี อุทยานแห่งชาติกลาเฮ้าส์เมาท์เทนส์ตั้งอยู่ทางเหนือของเขตเมืองในเทือกเขากลาเฮ้าส์เมาท์เทนส์ระหว่างบริสเบนและชายฝั่งซันไชน์[21]

สภาพอากาศ

แก้

ภูมิอากาศของเมืองบริสเบนจัดอยู่ในกลุ่มเขตกึ่งร้อนชื้น (humid subtropical climate) มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 16-25 องศาเซลเซียส และบริสเบนได้รับแสงแดดโดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวันตลอดทั้งปี จึงทำให้บริสเบนเป็นเมืองที่มีอากาศอบอุ่นทุกฤดู โดยมีอยู่ 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน (ธ.ค.-ก.พ.), ฤดูใบไม้ร่วง (มี.ค.-พ.ค.), ฤดูหนาว (มิ.ย.-ส.ค.), ฤดูใบไม้ผลิ (ก.ย.-พ.ย.)

อ้างอิง

แก้
  1. "Regional population, 2019-20 financial year | Australian Bureau of Statistics". Abs.gov.au. 13 April 2021.
  2. 2.0 2.1 "2021 Greater Brisbane, Census Community Profiles | Australian Bureau of Statistics". Abs.gov.au. สืบค้นเมื่อ 1 July 2022.
  3. "Great Circle Distance from between Brisbane and Sydney". Geoscience Australia. March 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.
  4. "Great Circle Distance between Brisbane and Canberra". Geoscience Australia. March 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.
  5. "Great Circle Distance between Brisbane and Melbourne". Geoscience Australia. March 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.
  6. "Great Circle Distance between Brisbane and Adelaide". Geoscience Australia. March 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.
  7. "Great Circle Distance between Brisbane and Perth". Geoscience Australia. March 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.
  8. Macquarie Dictionary. The Macquarie Library. 2003. p. 121. ISBN 1-876429-37-2.
  9. แม่แบบ:Cite QPN
  10. "3218.0 – Regional Population Growth, Australia, 2019–20". Australian Bureau of Statistics. 30 March 2021. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
  11. "Australian bid put on IOC fast track to host 2032 Olympics". The Independent. 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  12. "Brisbane and AOC invited to targeted dialogue for the Olympic Games 2032 – Olympic News". International Olympic Committee. 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  13. "Brisbane set to be named 2032 Olympics host". ESPN.com. 10 June 2021. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
  14. "Brisbane – the third most populous city in Australia". www.travelcenter.uk. สืบค้นเมื่อ 2025-01-17.
  15. "Brisbane Ranked Australia's Most-Visited Destination in 2024: Report". australiannationalreview.com. สืบค้นเมื่อ 2025-01-17.
  16. "Sir Thomas Brisbane Planetarium". www.weekendnotes.com. สืบค้นเมื่อ 2025-01-17.
  17. "22 Epic Things to Do in Brisbane". www.nomadasaurus.com. สืบค้นเมื่อ 2025-01-17.
  18. "What to Do in Brisbane. Outdoor Attractions & Family-Friendly Activities". www.agoda.com. สืบค้นเมื่อ 2025-01-17.
  19. "Discover Brisbane: The Vibrant Capital of Queensland". www.backpackertours.com.au. สืบค้นเมื่อ 2025-01-17.
  20. "12 Of The Best Brisbane Beaches For Summer Swims". www.theurbanlist.com. สืบค้นเมื่อ 2025-01-17.
  21. "National Parks in Brisbane". www.brisbane-australia.com. สืบค้นเมื่อ 2025-01-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้