ออสเตรเลีย 31–0 อเมริกันซามัว

(เปลี่ยนทางจาก Australia 31–0 American Samoa)

วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2544 มีการแข่งขันระหว่างฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียและอเมริกันซามัว ในนัดคัดเลือกทีมสำหรับฟุตบอลโลก 2002 การแข่งขันเกิดขึ้นที่สนามกีฬาแห่งชาติในคอฟส์ฮาร์เบอร์ ประเทศออสเตรเลีย ทีมชาติออสเตรเลียสร้างสถิติโลก ได้รับชัยชนะในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศมากที่สุด โดยชนะในการแข่งขัน 31–0 ส่วนผู้เล่นออสเตรเลีย อาร์ชี ทอมป์สัน ก็สร้างสถิติเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขันระหว่างประเทศ โดยเขายิงประตูได้ 13 ประตู[1] นอกจากนั้น เดวิด ซดริลิก ผู้ทำประตูได้ 8 ประตูในนัดนี้ก็เป็นผู้ทำประตูในนัดการแข่งขันระหว่างประเทศ สูงสุดอันดับ 2 นับแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก
เขตโอเชียเนีย
กลุ่ม 1
วันที่11 เมษายน พ.ศ. 2544
สนามInternational Sports Stadium, Coffs Harbour, Australia
ผู้ตัดสินRonan Leaustic (Tahiti)
ผู้ชม3,000

ผลของการแข่งขัน นำไปสู่การถกเถียงเกี่ยวกับรูปแบบการคัดเลือกการแข่งขัน โค้ชชาวออสเตรเลียและทอมป์สัน รู้สึกว่าการแข่งขันในรอบแรก ๆ ควรจะหลีกเลี่ยงทีมที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งควรพิจารณาร่วมกันจากสมาพันธ์ของฟีฟ่า ในที่สุดก็นำไปสู่การเริ่มต้นการคัดเลือกในเขตโอเชียเนียในฟุตบอลโลก 2006

สถิติ แก้

ทีมชาติออสเตรเลียชนะ 31–0 ทำให้เกิดสถิติโลก ในการชนะการแข่งขันระหว่างประเทศมากที่สุด สถิติก่อนหน้านั้น ทีมชาติออสเตรเลียชนะทีมชาติตองงา 22–0 สถิติในการแข่งขันรายการเดียวกัน ก่อนหน้านี้ 2 วัน ทั้ง 2 การชนะนี้ทำลายสถิติก่อนหน้านี้ของการชนะของฟุตบอลทีมชาติคูเวตเหนือทีมชาติภูฏาน 20–0 ในรอบคัดเลือกเอเชียนคัพ 2000 นอกจากนั้นการแข่งขันนี้ยังทำลายสถิติชนะสูงสุดในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก สถิติก่อนหน้านั้นเป็นของอิหร่านชนะเหนือกวม 19–0 ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2002

นอกเหนือจากสถิติทีมแล้ว สถิติส่วนตัวก็ยังทำลายเช่นกัน อาร์ชี ทอมป์สัน ที่ลงการแข่งขันทีมชาติเพียง 2 นัด เขาทำประตู 13 ประตูในการแข่งขันนี้ ทำลายสถิติผู้ทำประตูนัดการแข่งขันระหว่างประเทศมากที่สุด สถิติก่อนหน้านั้นเป็นของชาวออสเตรเลียเช่นกัน ที่ชื่อ แกรี โคล ทำได้ 7 ประตู ในนัดเจอกับฟุตบอลทีมชาติฟีจี ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1982 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1981[2] และชาวอิหร่าน คาริม บักเฮรี ทำประตู 7 ประตูในนัดเจอกับฟุตบอลทีมชาติมัลดีฟส์ ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1998 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1997[3] เดวิด ซดริลิก ทำประตูได้ 8 ประตูในนัดนี้ก็ถือสถิติทำประตูในนัดระหว่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจาก 13 ประตูของทอมป์สัน แต่ในความเป็นจริงแล้วน้อยกว่าการทำประตู 10 ประตูของชาวเดนมาร์ก โซฟัส นีลเซน ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 และของชาวเยอรมัน กอทฟรีด ฟัชส์ ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1912[4] อย่างไรก็ตามสถิติของซดริลิก ก็ถือเป็นสถิติอันดับ 2 ในรอบ 90 ปี และสถิติของทอมป์สันเป็นสถิติเทียบเท่าสถิติโลกทำประตูสูงสุดในนัดเดียวในนัดการแข่งขันรุ่นใหญ่ ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1885 ของจอห์น เพทรี ทำได้ 13 ประตูของสโมสรฟุตบอลอาร์โบรธชนะสโมสรฟุตบอลบอนแอ็กคอร์ด 36–0 ในการแข่งขันสกอตติชคัพ[5]

อ้างอิง แก้

  1. Davies, Christopher (April 11, 2001). "Australia score 31 without loss in record win". Telegraph.co.uk. London: Telegraph Media Group Limited. สืบค้นเมื่อ August 5, 2009.
  2. Lynch, Michael (December 12, 2004). "The all-important Cole difference". TheAge.com.au. Melbourne: The Age Company Ltd. สืบค้นเมื่อ August 5, 2009.
  3. "Iran fanatics keep close eye on the Valley". guardian.co.uk. London: Guardian News and Media Limited. December 30, 2000. สืบค้นเมื่อ August 5, 2009.
  4. Lynch, Michael (December 12, 2004). "The all-important Cole difference". TheAge.com.au. Melbourne: The Age Company Ltd. สืบค้นเมื่อ August 5, 2009.
  5. "On this day - September 12". Daily Mail. London: Associated Newspapers Ltd. September 11, 2008. สืบค้นเมื่อ August 5, 2009.