ฟุตบอลโลก 2010

การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 19

ฟุตบอลโลก ฟีฟ่า 2010 เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 19 ที่เป็นรายการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยเริ่มการคัดเลือกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีฟุตบอลทีมชาติสมาชิกฟีฟ่า เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 204 จาก 208 ทีม ฟุตบอลโลกครั้งนี้จึงเป็นการแข่งขันซึ่งมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันจำนวนมากที่สุด เทียบเท่ากับจำนวนประเทศในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และยังเป็นฟุตบอลโลกครั้งแรกที่ชาติจากทวีปแอฟริกาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากที่แอฟริกาใต้ประมูลชนะโมร็อกโกและอียิปต์ในการเสนอชื่อ ทั้งนี้ ทีมชาติอิตาลีจะลงแข่งขันเพื่อป้องกันตำแหน่งชนะเลิศที่ได้มาในฟุตบอลโลก 2006 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศเยอรมนี

ฟุตบอลโลก 2010
2010 FIFA World Cup South Africa
FIFA Sokker-Wêreldbekertoernooi in 2010
สัญลักษณ์ฟุตบอลโลก 2010 อย่างเป็นทางการ
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพแอฟริกาใต้
วันที่11 มิถุนายน - 11 กรกฎาคม
ทีม32 (จาก 6 สมาพันธ์)
สถานที่10 (ใน 9 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติสเปน สเปน (สมัยที่ 1)
รองชนะเลิศธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
อันดับที่ 3ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี
อันดับที่ 4ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน64
จำนวนประตู145 (2.27 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม3,178,856 (49,670 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดเยอรมนี โทมัส มึลเลอร์
สเปน ดาบิด บียา
เนเธอร์แลนด์ เวสลีย์ สไนเดอร์
อุรุกวัย เดียโก ฟอร์ลัน
(5 ประตู)
ผู้เล่นยอดเยี่ยมอุรุกวัย เดียโก ฟอร์ลัน[1]
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมสเปน อิเกร์ กาซิยัส
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมเยอรมนี โทมัส มึลเลอร์
รางวัลแฟร์เพลย์ธงชาติสเปน สเปน
2006
2014

ทีมชาติสเปนซึ่งชนะเลิศมาจากการแข่งขันชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2551 ชนะเลิศในการแข่งขันกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 1 ต่อ 0 ประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยอันเดรส อีเนียสตาทำประตูให้กับสเปน และทำให้ทีมสเปนชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นสมัยแรก, ผู้ชนะเลิศครั้งก่อนอย่างอิตาลี รวมถึงฝรั่งเศสซึ่งเป็นทีมรองชนะเลิศครั้งก่อน ล้วนแต่ตกรอบแรก โดยที่อาร์เจนตินา (รอบ 8 ทีม), บราซิล (รอบ 8 ทีม) และเยอรมนี (รอบรองชนะเลิศ) ส่วนเจ้าภาพตกรอบแรก โดยมี 4 คะแนน ได้อันดับ 3 ของกลุ่ม A

การคัดเลือกเจ้าภาพ

แก้

แอฟริกาใต้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010 ตามนโยบายการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในแต่ละสมาพันธ์ฟุตบอลต่าง ๆ (ตามมติในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550) มีทีมจากทวีปแอฟริกาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010:

ต่อมาคณะกรรมการบริหารของฟีฟ่าไม่อนุญาตให้มีเจ้าภาพร่วมในการจัดการแข่งขัน ตูนิเซียถอนตัวออกจากการคัดเลือก คณะกรรมการตัดสิทธิลิเบียออกจากการคัดเลือกเนื่องจากมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ

หลังจากการลงคะแนนเสียง ผู้ชนะการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพถูกประกาศโดยเซปป์ แบลตเตอร์ ประธานฟีฟ่า ต่อหน้าสื่อมวลชนในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ณ เมืองซูริกว่าประเทศแอฟริกาใต้ได้รับสิทธิ์ให้เป็นผู้จัดการแข่งขันอย่างถูกต้อง เอาชนะโมร็อกโกและอียิปต์[2]

ผลการลงคะแนน
ประเทศ คะแนนเสียง
  แอฟริกาใต้ 14
  โมร็อกโก 10
  อียิปต์ 0
  •   ตูนิเซีย ถอนตัวในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 หลังไม่อนุญาตให้มีเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขัน
  •   ลิเบีย การเสนอตัวถูกปฏิเสธ: เนื่องจากคุณสมบัติไม่เพียงพอ

ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2550 ได้เกิดกระแสข่าวลือขึ้นในแหล่งข่าวหลายแห่งว่าการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 อาจย้ายไปจัดในประเทศอื่น[3][4] มีรายงานว่าผู้บริหารฟีฟ่าบางคนแสดงว่ากังวลต่อการวางแผน การจัดการ และความคืบหน้าของการเตรียมการของแอฟริกาใต้[3][5] อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าได้แสดงความเชื่อมั่นว่าแอฟริกาใต้จะสามารถเป็นเจ้าภาพได้ โดยกล่าวว่าแผนฉุกเฉินจะเกิดขึ้นเฉพาะเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลโลกในอดีต[6]

รายชื่อประเทศที่เข้ารอบ

แก้

ทีมที่ร่วมแข่งขัน

แก้

ในครั้งนี้มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 32 ทีม โดยทีมจากแอฟริกาใต้ผ่านรอบคัดเลือกในฐานะทีมเจ้าภาพ และสำหรับทีมอื่นจะทำการแข่งขันดังนี้

  • ยุโรป - 13 ทีม เริ่มแข่งขันรอบคัดเลือกเมื่อ กันยายน 2551
  • แอฟริกา - 6 ทีม
  • อเมริกาใต้ - 4.5 ทีม โดยแข่งเพลย์ออฟกับอเมริกาเหนือ
  • อเมริกาเหนือ - 3.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับอเมริกาใต้
  • เอเชีย - 4.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับโอเชียเนีย
  • โอเชียเนีย - 0.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับเอเชีย

ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย

แก้

ผลการจับสลากแบ่งกลุ่มในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย

กลุ่ม A กลุ่ม B กลุ่ม C กลุ่ม D
กลุ่ม E กลุ่ม F กลุ่ม G กลุ่ม H

สัญลักษณ์และเพลงประจำการแข่งขัน

แก้

แมสคอท

แก้

แมสคอทอย่างเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ชื่อ ซากูมี (Zakumi) เกิดเมื่อ (1994-06-16) 16 มิถุนายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) เป็นมนุษย์ครึ่งเสือดาวผมสีเขียว ชื่อซากูมีมีที่มาจาก "ZA" ซึ่งเป็นรหัสประเทศของประเทศแอฟริกาใต้ และ "kumi" ซึ่งมีความหมายว่า "สิบ" ซึ่งเป็นจำนวนภาษาที่หลากหลายในแอฟริกา[7] สีของตัวนำโชคนี้บ่งบอกถึงชุดที่ทีมเจ้าภาพใช้ทำการแข่งขัน คือ สีเหลืองและสีเขียว

วันเกิดของซากูมีใช้วันเดียวกับวันเด็กในประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งเป็นวันที่ทีมชาติแอฟริกาใต้จะทำการแข่งขันนัดที่ 2 ในรอบแบ่งกลุ่ม นอกจากนี้วันเกิดของซากูมิยังหมายถึงวันแรกของแอฟริกาใต้ที่มีการเลือกตั้งแบบไม่จำกัดสีผิวและเชื้อชาติ[8]

คำขวัญของซากูมี คือ "Zakumi's game is Fair Play." แปลว่า "เกมของซากูมีคือเกมที่ขาวสะอาด" โดยคำขวัญนี้ได้แสดงในป้ายโฆษณาดิจิทัลระหว่างการแข่งขันคอนเฟเดอเรชันคัพ 2009 และจะปรากฏอีกในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010[8]

เพลงประกอบการแข่งขัน

แก้

สถานที่แข่งขัน

แก้
แผนที่พิกัดทั้งหมด กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML

ในปี พ.ศ. 2548, ผู้จัดการแข่งขันได้เปิดเผยรายชื่อสถานที่ใช้ทำการแข่งขันฟุตบอลโลกทั้ง 13 ที่เมืองบลูมฟอนเทน, เคปทาวน์, เดอร์บัน, โจฮันเนสเบิร์ก (2 สถานที่), คิมเบอร์ลีย์, เนลสไปรต์, ออร์กนีย์, โพโลเควน, พอร์ตเอลิซาเบท, พริทอเรีย และรุสเทนเบิร์ก โดย 10 สนาม[10] ที่แสดงอยู่ด้านล่าง เป็นสนามที่ได้รับการรับรองจากฟีฟ่าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549

โจฮันเนสเบิร์ก เคปทาวน์ เดอร์บัน โจฮันเนสเบิร์ก
ซอกเกอร์ซิตี เคปทาวน์ โมเสสมาบีดา เอลลิสปาร์ก
26°14′5.27″S 27°58′56.47″E / 26.2347972°S 27.9823528°E / -26.2347972; 27.9823528 (Soccer City) 33°54′12.46″S 18°24′40.15″E / 33.9034611°S 18.4111528°E / -33.9034611; 18.4111528 (Cape Town Stadium) 29°49′46″S 31°01′49″E / 29.82944°S 31.03028°E / -29.82944; 31.03028 (Moses Mabhida Stadium) 26°11′51.07″S 28°3′38.76″E / 26.1975194°S 28.0607667°E / -26.1975194; 28.0607667 (Ellis Park Stadium)
ความจุ: 84,490 ความจุ: 64,100 ความจุ: 62,760 ความจุ: 55,686
     
พริทอเรีย พอร์ตเอลิซาเบท
ลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ เนลสันมันเดลาเบย์
25°45′12″S 28°13′22″E / 25.75333°S 28.22278°E / -25.75333; 28.22278 (Loftus Versfeld Stadium) 33°56′16″S 25°35′56″E / 33.93778°S 25.59889°E / -33.93778; 25.59889 (Nelson Mandela Bay Stadium)
ความจุ: 42,858 ความจุ: 42,486
   
โพโลเควน เนลสไปรต์ บลูมฟอนเทน รุสเทนเบิร์ก
23°55′29″S 29°28′08″E / 23.924689°S 29.468765°E / -23.924689; 29.468765 (Peter Mokaba Stadium) 25°27′42″S 30°55′47″E / 25.46172°S 30.929689°E / -25.46172; 30.929689 (Mbombela Stadium) 29°07′02.25″S 26°12′31.85″E / 29.1172917°S 26.2088472°E / -29.1172917; 26.2088472 (Free State Stadium) 25°34′43″S 27°09′39″E / 25.5786°S 27.1607°E / -25.5786; 27.1607 (Royal Bafokeng Stadium)
ปีเตอร์โมกาบา อึมบอมเบลา ฟรีสเตต รอยัลบาโฟเกง
ความจุ: 41,733 ความจุ: 40,929 ความจุ: 40,911 ความจุ: 38,646
     

ผู้ตัดสิน

แก้

ฟีฟ่าได้เลือกผู้ตัดสินตามรายชื่อต่อไปนี้เพื่อทำหน้าที่ในฟุตบอลโลก:[11]

ผลการแข่งขัน

แก้

รอบแรก (แบ่งกลุ่ม)

แก้

กลุ่ม A

แก้
ทีม
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง แต้ม
  อุรุกวัย 3 2 1 0 4 0 +4 7
  เม็กซิโก 3 1 1 1 3 2 +1 4
  แอฟริกาใต้ 3 1 1 1 3 5 −2 4
  ฝรั่งเศส 3 0 1 2 1 4 −3 1


11 มิถุนายน
แอฟริกาใต้  
ซีพีเว ชาบาลาลา (น.55)
1–1   เม็กซิโก
ราฟาเอล มาร์เกซ (น.79)
ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก
อุรุกวัย   0–0   ฝรั่งเศส สนามกีฬากรีนพอยต์ เคปทาวน์
16 มิถุนายน
แอฟริกาใต้   0–3   อุรุกวัย
เดียโก ฟอร์ลัน (น.24, จุดโทษ น.80),
อัลบาโร เปเรย์รา (น.95)
สนามกีฬาลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย
17 มิถุนายน
ฝรั่งเศส   0-2   เม็กซิโก
คาเบียร์ เอร์นันเดซ บัลกาซาร์ (น.64),
เกวาเตมอก บลังโก (จุดโทษ, น.79)
สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบา โพโลเควน
22 มิถุนายน
เม็กซิโก   0-1   อุรุกวัย
ลุยส์ อัลเบร์โต ซัวเรซ (น.43)
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก
ฝรั่งเศส  
ฟลอรอง มาลูดา (น.70)
1-2   แอฟริกาใต้
บองกานี คูมาโล (น.20),
คัตเลโก อึมเพลา (น.37)
สนามกีฬาฟรีสเตต บลูมฟอนเทน

กลุ่ม B

แก้
ทีม
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง แต้ม
  อาร์เจนตินา 3 3 0 0 7 1 +6 9
  เกาหลีใต้ 3 1 1 1 5 6 −1 4
  กรีซ 3 1 0 2 2 5 −3 3
  ไนจีเรีย 3 0 1 2 3 5 −2 1


12 มิถุนายน
เกาหลีใต้  
ลี จุง-ซู (น.7),
ปาร์ก จี-ซอง (น.52)
2–0   กรีซ
สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์ พอร์ตเอลิซาเบท
อาร์เจนตินา  
กาเบรียล เอย์นเซ (น.5)
1–0   ไนจีเรีย สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก
17 มิถุนายน
อาร์เจนตินา  
ปาร์ก ชู-ยอน (เข้าประตูตัวเอง; น.16),
กอนซาโล อีกวาอิน (น.32, 76, 80)
4-1   เกาหลีใต้
ลี ชุง-ยอง (น.46)
ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก
กรีซ  
ดีมีทริส ซัลพีกีดิส (น.44),
วาซีริส โทโรซีดิส (น.71)
2-1   ไนจีเรีย
คาลู อูเช (น.16)
สนามกีฬาฟรีสเตต โจฮันเนสเบิร์ก
22 มิถุนายน
ไนจีเรีย  
คาลู อูเช (น.12),
ยาคูบู ไอเยกเบนี (จุดโทษ น.69)
2-2   เกาหลีใต้
ลี จุง-ซู (น.38),
ปาร์ก ชู-ยอง (น.49)
สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน
กรีซ   0-2   อาร์เจนตินา
มาร์ติน เดมีเชลิส (น.77),
มาร์ติน ปาเลร์โม (น.89)
สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบา, โพโลเควน

กลุ่ม C

แก้
ทีม
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง แต้ม
  สหรัฐ 3 1 2 0 4 3 +1 5
  อังกฤษ 3 1 2 0 2 1 +1 5
  สโลวีเนีย 3 1 1 1 3 3 0 4
  แอลจีเรีย 3 0 1 2 0 2 −2 1


12 มิถุนายน
อังกฤษ  
สตีเฟน เจอร์ราร์ด (น.4)
1–1   สหรัฐ
คลินต์ เดมป์ซีย์ (น.40)
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก
13 มิถุนายน
แอลจีเรีย   0–1   สโลวีเนีย
โรเบิร์ต โคเรน (น.79)
สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบา โพโลเควน
18 มิถุนายน
สโลวีเนีย  
วัลเตอร์ บีร์ซา (น.13),
ซลาตัน ลูบียันคิช (น.42)
2-2   สหรัฐ
แลนดอน ดอโนแวน (น.48),
ไมเคิล แบรดลีย์ (น.82)
สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก
อังกฤษ   0-0   แอลจีเรีย สนามกีฬากรีนพอยต์ เคปทาวน์
23 มิถุนายน
สโลวีเนีย   0-1   อังกฤษ
เจอร์เมน เดโฟ (น.23)
สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์ พอร์ตเอลิซาเบท
สหรัฐ  
แลนดอน ดอโนแวน (น.90+1)
1-0   แอลจีเรีย สนามกีฬาลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย

กลุ่ม D

แก้
ทีม
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง แต้ม
  เยอรมนี 3 2 0 1 5 1 +4 6
  กานา 3 1 1 1 2 2 0 4
  ออสเตรเลีย 3 1 1 1 3 6 −3 4
  เซอร์เบีย 3 1 0 2 2 3 −1 3


13 มิถุนายน
เซอร์เบีย   0-1   กานา
อซาโมอาห์ กียาน (จุดโทษ น.85)
สนามกีฬาลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย
เยอรมนี  
ลูคัส โพโดลสกี (น.8),
มิโรสลาฟ โคลเซ (น.27),
โทมัส มึลเลอร์ (น.68),
คาเคา (น.70)
4–0   ออสเตรเลีย สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน
18 มิถุนายน
เยอรมนี   0-1   เซอร์เบีย
มิลาน โยวาโนวิช (น.38)
สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์ พอร์ตเอลิซาเบท
19 มิถุนายน
กานา  
อซาโมอาห์ กียาน (จุดโทษ น.25)
1-1   ออสเตรเลีย
เบรตต์ โฮลแมน (น.11)
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก
23 มิถุนายน
กานา   0-1   เยอรมนี
เมซุท เอิทซิล (น.60)
ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก
ออสเตรเลีย  
ทิม เคฮิลล์ (น.69),
เบรตต์ โฮลแมน (น.73)
2-1   เซอร์เบีย
มาร์โก พานเตลิช (น.84)
สนามกีฬาอึมบอมเบลา เนลสไปรต์

กลุ่ม E

แก้
ทีม
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง แต้ม
  เนเธอร์แลนด์ 3 3 0 0 5 1 +4 9
  ญี่ปุ่น 3 2 0 1 4 2 +2 6
  เดนมาร์ก 3 1 0 2 3 6 −3 3
  แคเมอรูน 3 0 0 3 2 5 −3 0


14 มิถุนายน
เนเธอร์แลนด์  
ดาเนียล แอกเกอร์ (เข้าประตูตัวเอง) (น.46),
ดีร์ก เกยต์ (น.85)
2-0   เดนมาร์ก ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก
ญี่ปุ่น  
เคซุเกะ ฮนดะ (น.39)
1–0   แคเมอรูน สนามกีฬาฟรีสเตต บลูมฟอนเทน
19 มิถุนายน
เนเธอร์แลนด์  
เวสลีย์ สไนเดอร์ (น.53)
1-0   ญี่ปุ่น สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน
แคเมอรูน  
ซามูเอล เอโต (น.10)
1-2   เดนมาร์ก
นิคลาส เบนท์เนอร์ (น.33),
เดนนิส รอมเมดาห์ล (น.61)
ลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย
24 มิถุนายน
เดนมาร์ก  
ยอน ดาห์ล โทมัสสัน (น.81)
1-3   ญี่ปุ่น
เคซุเกะ ฮนดะ (น.17),
ยะซุฮิโตะ เอ็นโด (น.30),
ชินจิ โอะกะซะกิ (น.87)
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก
แคเมอรูน  
ซามูเอล เอโต (จุดโทษ น.65)
1-2   เนเธอร์แลนด์
โรบิน ฟัน แปร์ซี (น.36),
กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์ (น.83)
สนามกีฬาเคปทาวน์ เคปทาวน์

กลุ่ม F

แก้
ทีม
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง แต้ม
  ปารากวัย 3 1 2 0 3 1 +2 5
  สโลวาเกีย 3 1 1 1 4 5 −1 4
  นิวซีแลนด์ 3 0 3 0 2 2 0 3
  อิตาลี 3 0 2 1 4 5 −1 2


14 มิถุนายน
อิตาลี  
ดานีเอเล เด รอสซี (น.63)
1-1   ปารากวัย
อันโตลิน อัลการัซ (น. 39)
สนามกีฬากรีนพอยต์ เคปทาวน์
15 มิถุนายน
นิวซีแลนด์  
วินสตัน รีด (น.93)
1-1   สโลวาเกีย
รอเบิร์ต วิตเตก (น.50)
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก
20 มิถุนายน
สโลวาเกีย   0-2   ปารากวัย
เอนรีเก เบรา (น.27),
กริสเตียน รีเบโรส (น.86)
สนามกีฬาฟรีสเตต บลูมฟอนเทน
อิตาลี  
วินเชนโซ ยากวินตา (น.29)
1-1   นิวซีแลนด์'
เชน สเมลตซ์ (น.7)
สนามกีฬาอึมบอมเบลา เนลสไปรต์
24 มิถุนายน
สโลวาเกีย  
รอเบิร์ต วิตเตก (น.25,73),
คามิล โคปูเนก (น.89)
3-2   อิตาลี
อันโตนีโอ ดี นาตาเล (น.81),
ฟาบีโอ กวัลยาเรลลา (น.90+2)
สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก
ปารากวัย   0-0   นิวซีแลนด์ สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบา โพโลเควน

กลุ่ม G

แก้
ทีม
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง แต้ม
  บราซิล 3 2 1 0 5 2 +3 7
  โปรตุเกส 3 1 2 0 7 0 +7 5
  โกตดิวัวร์ 3 1 1 1 4 3 +1 4
  เกาหลีเหนือ 3 0 0 3 1 12 −11 0


15 มิถุนายน
โกตดิวัวร์   0-0   โปรตุเกส สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์ พอร์ตเอลิซาเบท
บราซิล  
ไมคอน (น.55),
เอลานู (น.72)
2-1   เกาหลีเหนือ
จี ยุน-นัม (น.89)
สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก
20 มิถุนายน
บราซิล  
ลูอีส ฟาเบียนู (น.25, 50),
เอลานู (น.62)
3-1   โกตดิวัวร์
ดีดีเย ดร็อกบา (น.79)
ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก
21 มิถุนายน
โปรตุเกส  
ราอูล ไมเรลิช (น.29),
ซีเมา ซาบรอซา (น.53),
อูกู อาลไมดา (น.56),
เตียกู เมงดิช (น.60, 89),
ลีเอดซง (น.81),
คริสเตียโน โรนัลโด (น.87)
7-0   เกาหลีเหนือ สนามกีฬากรีนพอยต์ เคปทาวน์
25 มิถุนายน
โปรตุเกส   0-0   บราซิล สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน
เกาหลีเหนือ   0-3   โกตดิวัวร์
ยาย่า ตูเร (น.14),
กอฟี อึนดรี รอมาริก (น.20), ซาโลมง กาลู (น.82)
สนามกีฬาอึมบอมเบลา เนลสไปรต์

กลุ่ม H

แก้
ทีม
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง แต้ม
  สเปน 3 2 0 1 4 2 +2 6
  ชิลี 3 2 0 1 3 2 +1 6
  สวิตเซอร์แลนด์ 3 1 1 1 1 1 0 4
  ฮอนดูรัส 3 0 1 2 0 3 −3 1


16 มิถุนายน
ฮอนดูรัส   0–1   ชิลี
ชอง โบเซชูร์ (น.34)
สนามกีฬาอึมบอมเบลา เนลสไปรต์
สเปน   0–1   สวิตเซอร์แลนด์
เกลสัน เฟอร์นันเดส (น.52)
สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน
21 มิถุนายน
ชิลี  
มาร์ก กอนซาเลซ (น.75)
1-0   สวิตเซอร์แลนด์ สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์, พอร์ทเอลิซาเบท
สเปน  
ดาบิด บียา (น.17, 51)
2-0   ฮอนดูรัส สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก
25 มิถุนายน
ชิลี  
โรดรีโก มียาร์ (น.47)
1-2   สเปน
ดาบิด บียา (น.24),
อันเดรส อีเนียสตา (น.37)
สนามกีฬาลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย
สวิตเซอร์แลนด์   0-0   ฮอนดูรัส สนามกีฬาฟรีสเตต บลูมฟอนเทน

รอบแพ้คัดออก

แก้
รอบ 16 ทีม รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศ
                           
26 มิ.ย. – พอร์ตเอลิซาเบท            
    อุรุกวัย   2
2 ก.ค. – ซอกเกอร์ซิตี
    เกาหลีใต้  1  
    อุรุกวัย   1 (4)
26 มิ.ย. – รุสเทนเบิร์ก
      กานา   1 (2)  
    สหรัฐ   1
6 ก.ค. – เคปทาวน์
    กานา   2  
    อุรุกวัย   2
28 มิ.ย. – เดอร์บัน
      เนเธอร์แลนด์   3  
    เนเธอร์แลนด์   2
2 ก.ค. – พอร์ตเอลิซาเบท
    สโลวาเกีย   1  
    เนเธอร์แลนด์   2
28 มิ.ย. – เอลลิสพาร์ก
      บราซิล   1  
    บราซิล   3
11 ก.ค. – ซอกเกอร์ซิตี
    ชิลี   0  
    เนเธอร์แลนด์   0
27 มิ.ย. – ซอกเกอร์ซิตี
      สเปน   1
    อาร์เจนตินา   3
3 ก.ค. – เคปทาวน์
    เม็กซิโก   1  
    อาร์เจนตินา   0
27 มิ.ย. – บลูมฟอนเทน
      เยอรมนี   4  
    เยอรมนี   4
7 ก.ค. – เดอร์บัน
    อังกฤษ   1  
    เยอรมนี   0
29 มิ.ย. – พริทอเรีย
      สเปน   1   อันดับที่ 3
    ปารากวัย   0 (5)
3 ก.ค. – เอลลิสพาร์ก 10 ก.ค. – เนลสันมันเดลาเบย์
    ญี่ปุ่น   0 (3)  
    ปารากวัย   0     อุรุกวัย   2
29 มิ.ย. – เคปทาวน์
      สเปน   1       เยอรมนี   3
    สเปน   1
    โปรตุเกส   0  

รอบ 16 ทีมสุดท้าย

แก้

เวลามาตรฐานแอฟริกาใต้ (UTC+02) ตามด้วยเวลาประเทศไทย (UTC+07) ในวงเล็บ







ปารากวัย  5 – 3 (ลูกโทษตัดสิน  ญี่ปุ่น
(เอดการ์ บาร์เรโต  
ลูกัส บาร์รีโอส  
กริสเตียน รีเบโรส  
เนลซอน บัลเดซ  
โอสการ์ การ์โดโซ   )
หลังต่อเวลาพิเศษ 0 – 0)
รายงาน
(ยะซุฮิโตะ เอ็นโด  
มะโกะโตะ ฮะเซะเบะ  
ยูอิจิ โคะมะโนะ (x)
เคซุเกะ ฮนดะ   )


รอบ 8 ทีมสุดท้าย

แก้




รอบรองชนะเลิศ

แก้


นัดชิงอันดับที่สาม

แก้

นัดชิงชนะเลิศ

แก้

นัดชิงชนะเลิศมีขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม ที่สนามซอกเกอร์ซิตี เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ผลคือทีมชาติสเปนชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 1 ต่อ 0 ประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยอันเดรส อีเนียสตาเป็นผู้ทำประตูให้กับสเปน[13] ส่งผลให้ทีมสเปนเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยแรก[14] ในการแข่งขันมีการทำฟาวล์อยู่หลายครั้ง รวมถึงลูกที่ไนเจล เด ย็องถีบยอดอกชาบี อลอนโซ่ ที่ยังถูกล้อเลียนและพูดถึงจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะจากทีมชาติเนเธอร์แลนด์[14] มีการให้ใบเหลืองทั้งหมด 14 ครั้ง และจอห์น ไฮทิงกาจากเนเธอร์แลนด์ต้องออกจากสนามเพราะได้รับใบเหลืองที่สอง แต่เนเธอร์แลนด์ก็มีโอกาสทำประตูหลายครั้ง โดยเฉพาะในนาทีที่ 60 ที่อาร์เยน ร็อบเบนได้บอลจากเวสลีย์ สไนเดอร์ จากนั้นก็เข้าชิงประตูแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับอีเกร์ กาซียัส ผู้รักษาประตูของสเปน แต่กาซียัสใช้ขาสกัดออกไปได้ ในที่สุด อันเดรส อีเนียสตา กองกลางของสเปนก็ทำประตูได้ในนาทีที่ 116 ของช่วงต่อเวลาพิเศษด้วยการยิงกึ่งวอลเลย์ หลังจากแซ็สก์ ฟาบรากัสผ่านบอลมาให้[15]

ผู้ทำประตู

แก้
5ประตู
4ประตู
3ประตู
2ประตู
1ประตู

เงินรางวัลและการจ่ายเงิน

แก้

เงินรางวัลตลอดทั้งการแข่งขันที่ได้รับการยืนยันจากฟีฟ่าคือ 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มจากในการแข่งขันในปี 2006 ร้อยละ 60 [16] ก่อนการแข่งขัน ทุกทีมที่เข้าแข่งขันจะได้รับเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ และเมื่อถึงการแข่งขันรอบแบ่งทีม จะได้รับเงิน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นแต่ละทีมจะได้รับเงินดังต่อไปนี้

  • 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 16 ทีมสุดท้าย
  • 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 8 ทีมสุดท้าย
  • 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 4 ทีมสุดท้าย
  • 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – รองชนะเลิศ
  • 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – ผู้ชนะเลิศ

สิทธิการออกอากาศ

แก้

ฟีฟ่าได้ตกลงการซื้อขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดแก่สถานีโทรทัศน์จากทั่วโลก อาทิ บีบีซี, ซีซีทีวี, อัลญาซีรา, เอบีซี เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต จำกัด (อาร์เอสบีเอส) ในเครืออาร์เอส เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว โดยถือลิขสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2006 และต่อเนื่องไปถึงปี 2014 อาร์เอสบีเอสมอบหมายให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ดำเนินการถ่ายทอดสดในระบบโทรทัศน์ปกติสลับหมุนเวียนครบทุกนัดโดยไม่มีโฆษณาคั่นระหว่างการแข่งขัน นับเป็นประเทศที่มีจำนวนสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีร่วมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้มากเป็นอันดับสองของโลก รองจากญี่ปุ่นที่มี 6 สถานี นอกจากนี้อาร์เอสบีเอสยังมอบลิขสิทธิ์ให้ทรูวิชั่นส์ดำเนินการถ่ายทอดสดในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง ผ่านช่องทรูสปอร์ต เอชดี นับเป็นการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในระบบนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย[17]

อ้างอิง

แก้
  1. "Golden Ball". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-15. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010.
  2. "Host nation of 2010 FIFA World Cup - South Africa". FIFA. 15 May 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-05-28. สืบค้นเมื่อ 8 January 2006.
  3. 3.0 3.1 Luke Harding (12 June 2006). "Doubt over South Africa 2010". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 August 2006.
  4. Jermaine Craig (3 July 2006). "Fifa denies SA may lose 2010 World Cup". The Star. สืบค้นเมื่อ 30 August 2006.
  5. "Beckenbauer issues 2010 warning". BBC Sport. 20 September 2006. สืบค้นเมื่อ 19 October 2006.
  6. Sean Yoong (8 May 2007). "FIFA says South Africa 'definitely' will host 2010 World Cup". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 15 May 2007.
  7. "Leopard takes World Cup spotlight". BBC Sport. 22 September 2008. สืบค้นเมื่อ 23 September 2008.
  8. 8.0 8.1 "Meet Zakumi, the face of 2010". IOL. 2008-09-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-31. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23.
  9. Waka Waka แปลว่าอะไร ? เก็บถาวร 2010-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากพันทิป
  10. "locations 2010 in Google Earth". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 11 July 2007.
  11. "Referees". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-10. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010.
  12. "สไนเดอร์"ขึ้นนำดาวซัลโวร่วม หลังฟีฟ่าเปลี่ยนให้เป็นคนยิงประตูแทน "เมโล" จากมติชนออนไลน์
  13. Stevenson, Jonathan (11 July 2010). "Netherlands 0–1 Spain". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
  14. 14.0 14.1 Dall, James (11 July 2010). "World domination for Spain". Sky Sports. BSkyB. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
  15. "Spain beat Holland 1–0 to win World Cup". AFP. 11 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-14. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
  16. "Record prize money on offer at World Cup finals only increases pain for Irish". London: The Times. 4 December 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-09. สืบค้นเมื่อ 9 December 2009.
  17. ทรูวิชั่นส์เปิดช่องไฮเดฟิเนชัน สัมผัสฟุตบอลโลกแบบเอชดีครั้งแรกในโลก[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้