เคปทาวน์
เคปทาวน์ (อังกฤษ: Cape Town; อาฟรีกานส์: Kaapstad, ออกเสียง [ˈkɑːpstat]; โคซา: iKapa) เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสองของประเทศแอฟริกาใต้รองจากโจฮันเนสเบิร์ก และเป็นเมืองหลวงฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศ
เคปทาวน์ | |
---|---|
บนลงล่างและซ้ายไปขวา: เคปทาวน์จากเชิงเขาโต๊ะ, ทิวทัศน์ย่านซิทีโบวล์, หาดคลิฟทัน, สแตรนด์, ท่าเรือเคปทาวน์, ย่านริมน้ำวิกตอเรียแอนด์อัลเฟรด | |
สมญา: เมืองแม่ (Mother City), โรงเตี๊ยมแห่งทะเลทั้งปวง (Tavern of the Seas), เวสต์ไซด์ (West side) | |
คำขวัญ: Spes Bona (ภาษาละตินแปลว่า "Good Hope") | |
พิกัด: 33°55′31″S 18°25′26″E / 33.92528°S 18.42389°E | |
ประเทศ | แอฟริกาใต้ |
จังหวัด | เวสเทิร์นเคป |
เทศบาล | นครเคปทาวน์ |
ก่อตั้ง | 1652 |
จัดตั้งเทศบาล | 1839 |
การปกครอง[1] | |
• ประเภท | เทศบาลมหานคร |
• นายกเทศมนตรี | แดน เพลโท (DA) |
• รองนายกเทศมนตรี | เอียน นีลซัน (DA) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 2,461 ตร.กม. (950 ตร.ไมล์) |
ความสูงจุดสูงสุด | 1,590.4 เมตร (5,217.8 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด | 0 เมตร (0 ฟุต) |
ประชากร (2011)[2] | |
• ทั้งหมด | 3,740,026 คน |
• ประมาณ (2016)[3] | 4,005,016 คน |
• ความหนาแน่น | 1,500 คน/ตร.กม. (3,900 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | Capetonian |
ประชากรแบ่งตามสีผิว (2011)[2] | |
• ผิวดำ | 38.6% |
• ผิวสี | 42.4% |
• อินเดีย/เอเชีย | 1.4% |
• ผิวขาว | 15.7% |
• อื่น ๆ | 1.9% |
เขตเวลา | UTC+2 (SAST) |
รหัสไปรษณีย์ | 7400–8099 |
PO | 7000 |
เว็บไซต์ | www |
เมืองได้รับฉายาว่าเมืองแม่ (Mother City)[4] และเป็นเมืองใหญ่สุดในจังหวัดเวสเทิร์นเคป[5] และเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลมหานครที่ชื่อนครเคปทาวน์ รวมถึงเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแอฟริกาใต้[6] ในฐานะเมืองหลวงฝ่ายนิติบัญญัติ สำหรับเมืองหลวงอีกสองแห่งของประเทศอยู่ในจังหวัดเคาเต็ง (พริทอเรีย เมืองหลวงฝ่ายบริหาร ที่ตั้งของสำนักประธานาธิบดี) และจังหวัดฟรีสเตต (บลูมฟอนเทน เมืองหลวงฝ่ายตุลาการ ที่ตั้งของศาลอุทธรณ์สูงสุด)[7] เคปทาวน์เป็นที่รู้จักจากท่าเรือ สถานที่ตั้งทางธรรมชาติซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคพันธุ์ดอกไม้เคป (Cape Floristic Region) และสถานที่สำคัญเช่นภูเขาโต๊ะและแหลมเคป ในจำนวนประชากรจังหวัดเวสเทิร์นเคปมีชาวเคปทาวน์ถึง 49%[8] เคปทาวน์ได้รับตำแหน่งเมืองหลวงการออกแบบโลกประจำปี 2014 โดยสภาสมาคมการออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาติ[9]
ในปี 2014 เคปทาวน์ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองที่น่ามาเที่ยวที่สุดในโลกจาก เดอะนิวยอร์กไทมส์[10] และ เดอะเดลี่เทเลกราฟ[11] เคปทาวน์ยังเคยเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันรักบี้เวิลด์คัพปี 1995 และ ฟีฟ่าเวิลด์คัพ ปี 2010
อ้างอิง
แก้- ↑ "City of Cape Town announces new city manager". News24. 26 April 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2019. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Statistics by place - City of Cape Town". Census 2011. Statistics South Africa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
- ↑ Community Survey 2016: Provincial profile: Western Cape (PDF) (Report). Statistics South Africa. 2018. p. 7.
- ↑ withbeyond.com. "The Mother City Cape Town". Skylife (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
- ↑ "Discover the 9 Provinces of South Africa and their Capital Cities". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2017. สืบค้นเมื่อ 22 June 2017.
- ↑ "Western Cape | province, South Africa". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2017. สืบค้นเมื่อ 22 June 2017.
- ↑ "Pretoria | national administrative capital, South Africa". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2018. สืบค้นเมื่อ 18 July 2018.
- ↑ Bartie, Herman (19 December 2020). "South Africa Population (2020) - Worldometer". www.worldometers.info (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ "Cape Town Hosts Official WDC 2014 Signing Ceremony". World Design Capital. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2012.
- ↑ "14 Fun Facts You Didn't Know About Cape Town - Interesting & Amusing Things about the Mother City". Cape Town Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
- ↑ Bruyn, Pippa de (5 February 2016). "The world's best cities". Telegraph.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 April 2018.