ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส

ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Équipe de France de football) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศฝรั่งเศส เป็นสมาชิกของสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปในการแข่งขันระดับทวีป และสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติในการแข่งขันระดับโลก มีสนามเหย้าคือสตาดเดอฟร็องส์ สีประจำทีมคือสีน้ำเงินและสีแดงซึ่งมีต้นแบบมาจากธงชาติฝรั่งเศส ถือเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จทีมหนึ่งในทวีปยุโรป มีผลงานชนะเลิศฟุตบอลโลก 2 สมัย (1998 และ 2018), ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2 สมัย (1984 และ 2000), ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2 สมัย (2001 และ 2003) ยูฟ่าเนชันส์ลีก 1 สมัย (ค.ศ. 2021), คอนเมบอล–ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียนส์ 1 สมัย (ค.ศ. 1985) และเหรียญทองโอลิมปิก 1 สมัย

ฝรั่งเศส
Shirt badge/Association crest
ฉายาLes Bleus (สีน้ำเงิน)
ตราไก่ (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส (FFF)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนดีดีเย เดช็อง
กัปตันกีลียาน อึมบาเป [1]
ติดทีมชาติสูงสุดอูว์โก โยริส (143)
ทำประตูสูงสุดออลีวีเย ฌีรู (56)
สนามเหย้าสตาดเดอฟร็องส์
รหัสฟีฟ่าFRA
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 2 Steady (20 มิถุนายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด1 (พฤษภาคม ค.ศ. 2001 – พฤษภาคม ค.ศ. 2002, สิงหาคม – กันยายน ค.ศ. 2018)
อันดับต่ำสุด26 (กันยายน ค.ศ. 2010)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 3–3 ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส
(อุกล์ ประเทศเบลเยียม; 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904)
ชนะสูงสุด
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 14–0 ยิบรอลตาร์ ธงชาติยิบรอลตาร์
(นิส ประเทศฝรั่งเศส; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 17–1 ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส
(ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 22 ตุลาคม ค.ศ. 1908)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม15 (ครั้งแรกใน 1930)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1998, 2018)
ยูโร
เข้าร่วม10 (ครั้งแรกใน 1960)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1984, 2000)
เนชันส์ลีก รอบสุดท้าย
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2021)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2021)
คอนเมบอล-ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียนส์
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1985)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1985)
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม2 (ครั้งแรกใน 2001)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2001, 2003)

ทีมชาติฝรั่งเศสเริ่มก่อตั้งทีมใน ค.ศ. 1904 ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในสี่ชาติของยุโรปที่ได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี 1930 ถัดมาอีก 28 ปี ฝรั่งเศสภายใต้ผู้เล่นชื่อดังอย่าง เรมง โกปา และ ฌุสต์ ฟงแตน พาทีมคว้าอันดับสามในฟุตบอลโลก 1958 ต่อมา ในปี 1984 ฝรั่งเศสคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร) ได้เป็นสมัยแรกภายใต้นักเตะชื่อดัง มิเชล พลาตินี่ และทีมชุดนั้นยังผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกได้อีกสองสมัย พวกเขาเข้าสู่ยุคทองในช่วงทศวรรษ 2000 ในยุคของนักเตะชื่อดัง ซีเนดีน ซีดาน และกัปตันทีม ดีดีเย เดช็อง โดยคว้าแชป์ฟุตบอลโลก 1998 ในฐานะเจ้าภาพ ตามด้วยแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 และแชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2001 และ 2003 และผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2006 แต่แพ้จุดโทษอิตาลี[3] พวกเขาเข้าสู่ช่วงตกต่ำหลายปีและไม่ประสบความสำเร็จรายการใด[4] ก่อนจะผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ซึ่งพวกเขาแพ้โปรตุเกสในช่วงต่อเวลา และกลับสู่ความสำเร็จได้อีกครั้งจากการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2018[5] ตามด้วยแชมป์ ยูฟ่าเนชันส์ลีก[6] เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2021 และเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2022 ก่อนจะแพ้อาร์เจนตินาในการดวลจุดโทษ

ฝรั่งเศสยังเป็นชาติแรกที่ชนะการแข่งขันรายการสำคัญของฟีฟ่าครบทั้ง 3 รายการ ได้แก่ ฟุตบอลโลก ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ และกีฬาโอลิมปิก (คว้าเหรียญทอง) และยังเป็นชาติเดียวในโลกที่ชนะการแข่งขันของฟีฟ่าและยูฟ่าครบทุกรายการ ทั้งในฐานะทีมชาติชุดใหญ่และทีมชุดเยาวชน[7] นอกจากนี้ พวกเขายังเป็นหนึ่งในสองชาติ (ร่วมกับบราซิล) ที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลชายของฟีฟ่าแบบผู้เล่น 11 คนในทุกรุ่นอายุ ฝรั่งเศสมีชาติคู่ปรับหลายทีมด้วยกัน ได้แก่ เบลเยียม, บราซิล[8], อังกฤษ[9], เยอรมนี, อิตาลี, โปรตุเกส และสเปน[10]

ประวัติทีม

แก้

ทีมชาติฝรั่งเศสตั้งทีมขึ้นมาในช่วง ค.ศ. 1904 ในช่วงที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1904[11] โดยลงเล่นในเกมอย่างเป็นทางการนัดแรกกับเบลเยียมในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 ซึ่งเกมดังกล่าวจบลงด้วยผลเสมอ 3–3 ในขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905 ฝรั่งเศสได้ลงเล่นในเกมระดับชาติในสนามของตนเองอย่างเป็นทางการในเกมที่พบกับสวิตเซอร์แลนด์ที่สนามปาร์กเดแพร็งส์ ต่อหน้าผู้ชมราว 500 คน และพวกเขาเอาชนะไปได้ 1–0 จากประตูของแกสตัน ซีเปรส์ สืบเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างฟีฟ่าและสหภาพสมาคมกีฬากีฬาแห่งฝรั่งเศส (USFSA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์กรปกครองด้านกีฬาในฝรั่งเศส ในช่วงทศวรรษที่ 1890 และต้นทศวรรษ 1900 ทำให้อำนาจในการบริหารทีมของฝรั่งเศสยังคงไม่ชัดเจนในช่วงเวลานั้น ต่อมา ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1908 คณะกรรมการกีฬาแห่งฝรั่งเศส (CFI) ซึ่งเป็นองค์กรคู่แข่งของ USFSA มีมติให้ฟีฟ่าเป็นผู้รับผิดชอบการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกที่กำลังจะมาถึง และใน ค.ศ. 1919 คณะกรรมการกีฬาแห่งฝรั่งเศสได้กลายสภาพเป็นสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส (FFF) ก่อนที่ USFSA จะควบรวมกับสหพันธ์ในอีกสองปีต่อมา

ใน ค.ศ. 1930 ฝรั่งเศสได้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกที่จัดขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย โดยเกมแรกในรายการนี้ของฝรั่งเศสคือถล่มทีมชาติเม็กซิโก 4–1 โดยลูว์เซียง โลร็อง ที่เป็นผู้ยิงประตูแรกของเกม กลายเป็นนักเตะที่ทำประตูแรกสุดของศึกฟุตบอลโลกอีกด้วย แต่ฝรั่งเศสกลับแพ้ 0–1 ใน 2 เกมต่อมากับอาร์เจนตินาและชิลี ทำให้ต้องตกรอบแรก ต่อมา ใน ค.ศ. 1934 ฝรั่งเศสยังคงต้องผิดหวังต่อไป เมื่อตกรอบแรกจากการแพ้ออสเตรีย[12] แต่พวกเขาทำผลงานได้ดีขึ้นในครั้งที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 1938 โดยผ่านไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศก่อนจะแพ้ให้กับอิตาลี 1–3

ในยุคทศวรรษที่ 1950 นับเป็นยุคทองของวงการฟุตบอลของฝรั่งเศส จากการแจ้งเกิดของนักเตะชื่อดังอย่างฌุสต์ ฟงแตน เจ้าของตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของฟุตบอลโลก และแรมง กอปา ตำนานดาวยิงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับเรอัลมาดริด ใน ค.ศ. 1958 ฝรั่งเศสสามารถคว้าอันดับ 3 จากการถล่มทีมชาติเยอรมนีตะวันตก 6–2 โดยฟงแตนยิงคนเดียว 4 ประตู ใน ค.ศ. 1960 ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เป็นครั้งแรก แต่พวกเขากลับทำได้แค่อันดับ 4 หลังจากแพ้ทีมชาติเชโกสโลวาเกีย 0–2 และหลังจากนั้น ฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคตกต่ำจากการเปลี่ยนผู้จัดการทีมบ่อยครั้ง และล้มเหลวในการผ่านเข้าไปเล่นในการแข่งขันเมเจอร์ และไม่สามารถคว้าแชมป์ใดได้เลยในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970

เข้าสู่ทศวรรษที่ 1980 ฝรั่งเศสกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งจากการนำทัพของมีแชล ปลาตีนี ตัวทำเกมจอมเทคนิค และสามสุดยอดกองกลางอย่างฌ็อง ตีกานา, อาแล็ง ฌีแร็ส และลูยส์ แฟร์น็องแดซ ที่ประสานงานร่วมกันจนถูกขนานนามว่า สี่เหลี่ยมมหัศจรรย์ (Magic Square)[13] พวกเขาพาทีมคว้าแชมป์ได้สำเร็จในศึกยูโร 1984 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ โดยปลาตีนีได้เป็นดาวซัลโวของรายการด้วยการยิงไปถึง 9 ประตู รวมถึงหนึ่งในประตูในเกมที่ชนะสเปน 2–0 ในนัดชิงชนะเลิศ

นอกจากนี้ ในปีเดียวกัน ฝรั่งเศสยังสามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิก 1984 ก่อนที่จะคว้าแชมป์รางวัลอาร์เตมีโอ ฟรังกี (คอนเฟเดอเรชันส์คัพในปัจจุบัน) ในปีถัดมาทำให้พวกเขาได้รับการยกให้เป็นทีมเต็งในฟุตบอลโลก 1986 แต่ทำได้แค่อันดับ 3 ด้วยการแพ้เบลเยียม 2–4 จนกระทั่ง ค.ศ. 1996 ฝรั่งเศสเริ่มก้าวขึ้นมาสู่การเป็นยอดทีมของวงการฟุตบอลโลก จากการที่เข้าสู่ยุคผลัดใบโดยนำนักเตะดาวรุ่งเข้ามารับใช้ชาติหลายต่อหลายคน ในยูโร 1996 ฝรั่งเศสทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ก็ต้องหยุดอยู่ที่รอบตัดเชือกเช่นเดิมหลังจากแพ้สาธารณรัฐเช็ก ต่อมาในฟุตบอลโลก 1998 ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพฝรั่งเศสประสบความสำเร็จคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยแรกด้วยการถล่มบราซิลในนัดชิงชนะเลิศ 3–0[14]

ใน ค.ศ. 2000 ฝรั่งเศสยังคงรักษาความฟอร์มที่ดีไว้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยการคว้าแชมป์ยูโร 2000 ด้วยการชนะอิตาลี 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ[15] ภายใต้การเล่นเกมและสร้างสรรค์เกมของซีเนดีน ซีดาน สุดยอดกองกลางจอมเทคนิค ทำให้พวกเขาทำสถิติเป็นชาติแรกที่ครองแชมป์ทั้งฟุตบอลโลกและฟุตบอลยูโรนับตั้งแต่ที่เยอรมนีตะวันตกเคยทำได้เมื่อปี 1974 นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังขึ้นไปอันดับ 1 ในการจัดอันดับโลกของฟีฟ่าอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสเริ่มกลับสู่ความตกต่ำอีกครั้ง หลังจากไม่สามารถป้องกันแชมป์ฟุตบอลโลก 2002 ได้ โดยพวกเขาต้องหยุดอยู่ที่รอบแบ่งกลุ่มเท่านั้น โดยไม่สามารถชนะทีมใดได้เลย[16] ก่อนที่ผลงานจะดีขึ้นมาในยูโร 2004 โดยผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ แต่ก็ปราชัยต่อกรีซ แชมป์ในรายการนั้น[17] ใน ค.ศ. 2006 ฝรั่งเศสเกือบจะไม่ผ่านไปเล่นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 แต่ยังดีที่บรรดานักเตะรุ่นเก่าที่เคยประกาศตัดสินใจอำลาทีมชาติเปลี่ยนใจกลับมาช่วยทีมอีกครั้ง และพวกเขาก็ยังโชว์ฟอร์มได้ดีอย่างต่อเนื่องในรอบสุดท้าย และเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ แต่ก็ต้องแพ้อิตาลีจากการดวลจุดโทษ ต่อมาในยูโร 2008 ฝรั่งเศสต้องตกรอบแรก เนื่องจากถูกจับให้อยู่ในกลุ่มที่มีทีมเต็งแชมป์ทั้งเนเธอร์แลนด์ อิตาลี และโรมาเนีย[18]

 
ซีเนดีน ซีดาน ผู้เล่นคนสำคัญในทศวรรษ 2000

ต่อมาใน ค.ศ. 2010 ฝรั่งเศสต้องผิดหวังอีกครั้งหลังตกรอบแรกฟุตบอลโลก 2010[19] และยังมีปัญหาภายในทีมระหว่างนักเตะ และ แรมง ดอแมแน็ก ผู้ฝึกสอนอีกด้วย ต่อมาในยูโร 2012 ฝรั่งเศสก็เริ่มทำผลงานดีขึ้น โดยผ่านเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้สเปนไป 0–2 และ ดีดีเย เดช็อง เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม

ในฟุตบอลโลก 2014 ฝรั่งเศสผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนจะแพ้เยอรมนีไป 0–1 ต่อมา ในฟุตบอลยูโร 2016 พวกเขาผ่านเข้าชิงชนะเลิศแต่แพ้โปรตุเกสในช่วงต่อเวลา 0–1[20] และในฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ฝรั่งเศสภายใต้นักเตะแกนหลักอย่าง กีลียาน อึมบาเป, อ็องตวน กรีแยซมาน และ ปอล ปอกบา ทำผลงานยอดเยี่ยมผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศกับทีมชาติโครเอเชีย และคว้าแชมป์ได้เป็นสมัยที่ 2 โดยเอาชนะไป 4–2 และพวกเขายังประสบความสำเร็จต่อเนื่องด้วยการคว้าแชมป์ยูฟ่าเนชันส์ลีก สมัยแรกใน ค.ศ. 2021 จากการชนะสเปน 2–1[21]

ในฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ฝรั่งเศสลงป้องกันแชมป์ในฐานะหนึ่งในทีมเต็งแชมป์ พวกเขาทำผลงานยอดเยี่ยมด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม และเอาชนะโปแลนด์, อังกฤษ และโมร็อคโกในรอบแพ้คัดออก ผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่ 4 แต่แพ้อาร์เจนตินาในการดวลจุดโทษภายหลังเสมอกันด้วยผลประตู 3–3

เกียรติประวัติ

แก้
 
ทีมชาติฝรั่งเศสคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 2 ในฟุตบอลโลก 2018

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวเพื่อลงแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์

สถิติทีมชาตินับถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2022 หลังจบการแข่งขันกับเดนมาร์ก

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK อูว์โก โยริส (1986-12-26) 26 ธันวาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 141 0 แม่แบบ:Country data FRE ลอสแอนเจลิส
16 1GK สแตฟว์ ม็องด็องดา (1985-03-28) 28 มีนาคม ค.ศ. 1985 (39 ปี) 34 0   แรน
23 1GK อาลฟงส์ อาเรออลา (1993-02-27) 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 5 0   เวสต์แฮม ยูไนเต็ด

2 2DF แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์ (1996-03-28) 28 มีนาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 47 2   ไบเอิร์น มิวนิก
3 2DF แอ็กแซล ดิซาซี (1998-03-11) 11 มีนาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 0 0   อาแอ็ส มอนาโก
4 2DF ราฟาแอล วาราน (1993-04-25) 25 เมษายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 88 5   แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
5 2DF ฌูล กูนเด (1998-11-12) 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 14 0   บาร์เซโลนา
17 2DF วีลียาม ซาลิบา (2001-03-24) 24 มีนาคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 7 0   อาร์เซนอล
18 2DF ดาโย อูว์ปาเมกาโน (1998-10-27) 27 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 9 1   ไบเอิร์น มิวนิก
21 2DF ลูกัส แอร์น็องแดซ (1996-02-14) 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (28 ปี) 33 0   ไบเอิร์น มิวนิก
22 2DF ตีโอ แอร์น็องแดซ (1997-10-06) 6 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 9 1   เอซี มิลาน
24 2DF อีบราอีมา โกนาเต (1999-05-25) 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 4 0   ลิเวอร์พูล

6 3MF มาเตโอ แกนดูซี (1999-04-14) 14 เมษายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 6 1   มาร์แซย์
8 3MF โอเรเลียง ชัวเมนี (2000-01-27) 27 มกราคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 16 1   เรอัล มาดริด
13 3MF ยูซุฟ โฟฟานา (1999-01-10) 10 มกราคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 4 0   อาแอ็ส มอนาโก
14 3MF อาเดรียง ราบีโย (1995-04-03) 3 เมษายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 31 3   ยูเวนตุส
15 3MF ฌอร์ด็อง แวร์ตู (1993-03-01) 1 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 5 0   มาร์แซย์
25 3MF เอดัวร์โด กามาวีงกา (2002-11-10) 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (21 ปี) 4 0   เรอัล มาดริด

7 4FW อ็องตวน กรีแยซมาน (1991-03-21) 21 มีนาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 112 42   อัตเลติโก มาดริด
9 4FW ออลีวีเย ฌีรู (1986-09-30) 30 กันยายน ค.ศ. 1986 (38 ปี) 116 51   เอซี มิลาน
10 4FW กีลียาน อึมบาเป (กัปตัน) (1998-12-20) 20 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 61 31   เรอัล มาดริด
11 4FW อุสมาน แดมเบเล (1997-05-15) 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 30 4   บาร์เซโลนา
12 4FW ร็องดาล กอโล มัวนี (1998-12-05) 5 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 2 0   ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท
20 4FW กีงส์แล กอมาน (1996-06-13) 13 มิถุนายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 42 5   ไบเอิร์น มิวนิก
26 4FW มาร์คัส ตูราม (1997-10-06) 6 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 6 0   เมินเชินกลัทบัค

ถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้

แก้

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้

ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร ถูกเรียกครั้งล่าสุด
GK สแตฟว์ ม็องด็องดา (1985-03-28) 28 มีนาคม ค.ศ. 1985 (39 ปี) 34 0   มาร์แซย์ v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021
GK เบอร์นัวต์ กอสตีล (1987-07-03) 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี) 1 0   บอร์โด v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021

DF ดาโย อูว์ปาเมกาโน (1998-10-27) 27 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 6 1   ไบเอิร์น มิวนิก v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021
DF เกลม็อง ล็องแกล (1995-06-17) 17 มิถุนายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 15 1   บาร์เซโลนา v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021
DF ลีโอ ดูบัวส์ (1994-09-14) 14 กันยายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) 13 0   โอลิมปิก ลียง v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021
DF กูร์ต ซูมา (1994-10-27) 27 ตุลาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 11 1   เวสต์แฮม ยูไนเต็ด v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021
DF นอร์ดี มูคิเอเล (1997-11-01) 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (26 ปี) 1 0   ไลพ์ซิช v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021

MF ปอล ปอกบา (1993-03-15) 15 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 91 11   แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด v.   แอฟริกาใต้, 29 มีนาคม 2022
MF ฌอด็อง แวร์ตูร์ (1993-03-01) 1 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 5 0   โรมา v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021
MF ตอมา เลอมาร์ (1995-11-12) 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (28 ปี) 27 4   อัตเลติโก มาดริด v.   ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021
MF กอร็องแต็ง ตอลีโซ (1994-08-03) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 28 2   ไบเอิร์นมิวนิก v.   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, 1 กันยายน 2021
MF มูซา ซีซอโก (1989-08-16) 16 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 71 2   วอตฟอร์ด ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020

FW อ็องตอนี มาร์ซียาล (1995-12-05) 5 ธันวาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 30 2   เซบิยา v.   สเปน, 10 ตุลาคม 2021

สถิติเกี่ยวกับผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นที่ลงเล่นให้ทีมชาติมากที่สุด

แก้

แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน

อันดับ ชื่อ ช่วงเวลา จำนวนนัดที่ลงสนาม ประตู สโมสร
1 ลิลิยอง ตูว์ราม 1994–2008 142 2 อาแอส มอนาโก
ปาร์มา
ยูเวนตุส
บาร์เซโลนา
2 อูว์โก โยริส 2008–ปัจจุบัน 141 0 นิส
โอลิมปิก ลียง
ทอตนัม ฮอตสเปอร์
3 ตีแยรี อ็องรี 1997–2010 123 51 อาแอส มอนาโก
ยูเวนตุส
อาร์เซนอล
บาร์เซโลนา
4 มาร์แซล เดอไซยี 1993–2004 116 3 โอลิมปิก มาร์แซย์
เอซี มิลาน
เชลซี
ออลีวีเย ฌีรู 2011–ปัจจุบัน 116 51 มงเปอลีเย
อาร์เซนอล
เชลซี
เอซี มิลาน
6 อ็องตวน กรีแยซมาน 2014–ปัจจุบัน 112 42 อัตเลติโกเดมาดริด
บาร์เซโลนา
7 ซีเนดีน ซีดาน 1994–2006 108 31 บอร์โด
ยูเวนตุส
เรอัลมาดริด
8 ปาทริค วิเอรา 1997–2009 107 6 อาร์เซนอล
ยูเวนตุส
อินเตอร์ มิลาน
9 ดีดีเย เดช็อง 1989–2000 103 4 โอลิมปิก มาร์แซย์
บอร์โด
ยูเวนตุส
เชลซี
10 โรล็อง บล็องก์ 1989–2000 97 16 มงเปอลีเย
นาโปลี
นีมส์
แซ็ง เตเตียน
โอแซร์
บาร์เซโลนา
โอลิมปิก มาร์แซย์
อินเตอร์ มิลาน
บิเซนเต ลิซาราซู 1992–2004 97 2 บอร์โด
แอธเลติก บิลเบา
บาร์เยิร์น มิวนิก
การีม แบนเซมา 2007–ปัจจุบัน 97 37 โอลิมปิก ลียง
เรอัลมาดริด
13 ซิลแว็ง วิลตอร์ 1999–2006 92 26 บอร์โด
อาร์เซนอล
โอลิมปิก ลียง
14 ปอล ปอกบา 2010–ปัจจุบัน 91 11 ยูเวนตุส
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
15 ราฟาแอล วาราน 2013– 88 5 เรอัล มาดริด
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
16 ฟาเบียง บาร์แตซ 1994–2006 87 0 โอลิมปิก มาร์แซย์
อาแอส มอนาโก
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
17 วีลียาม กาลัส 2002–2010 84 5 เชลซี
อาร์เซนอล
แบลซ มาตุยดี 2010–2019 84 9 อาแอ็ส แซ็งเตเตียน
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
ยูเวนตุส
19 ยูริ จอร์เกฟฟ์ 1993–2002 82 28 อาแอส มอนาโก
ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง
อินเตอร์ มิลาน
ไคเซอร์สเลาเทิร์น
โบลตัน
มานุแอล อมอรอส 1982–1992 82 1 อาแอส มอนาโก
โอลิมปิก มาร์แซย์
21 ปาทริส เอวรา 2004–2016 81 0 อาแอส มอนาโก
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ยูเวนตุส
ฟร็องก์ รีเบรี 2006–2014 81 16 โอลิมปิก มาร์แซย์
บาเยิร์นมิวนิก
23 ฟลอร็อง มาลูดา 2004–2012 80 9 โอลิมปิก ลียง
เชลซี
24 รอแบร์ ปีแร็ส 1996–2012 79 14 แม็ส
โอลิมปิก มาร์แซย์
อาร์เซนอล
ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2022[22]

ผู้เล่นที่ยิงประตูให้ทีมชาติมากที่สุด

แก้

แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน

อันดับ ชื่อ ช่วงเวลา ประตู จำนวนนัดที่ลงเล่น สโมสร ค่าเฉลี่ย
1 ออลีวีเย ฌีรู 2011–2024 57 137 มงเปอลีเย
อาร์เซนอล
เชลซี
เอซี มิลาน
0.42
2 ตีแยรี อ็องรี 1997–2010 51 123 อาแอส มอนาโก
ยูเวนตุส
อาร์เซนอล
บาร์เซโลนา
0.42
3 อ็องตวน กรีแยซมาน 2014–ปัจจุบัน 42 112 เรอัลโซซิเอดัด
อัตเลติโก มาดริด
บาร์เซโลนา
0.39
4 มีแชล ปลาตีนี 1976–1987 41 72 น็องซี
แซ็งต์-เตเตียน
ยูเวนตุส
0.57
5 การีม แบนเซมา 2007–ปัจจุบัน 37 97 โอลิมปิก ลียง
เรอัลมาดริด
0.38
6 ดาวิด เตรเซเแก 1998–2008 34 71 อาแอส มอนาโก
ยูเวนตุส
0.47
7 ซีเนดีน ซีดาน 1994–2006 31 106 บอร์โด
ยูเวนตุส
เรอัลมาดริด
0.28
กีลียาน อึมบาเป 2017– 31 61 ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง 0.47
9 ฌุสต์ ฟงแตน 1953–1960 30 21 โอเฌเซ นิส
แร็งส์
1.42
ฌ็อง-ปีแยร์ ปาแป็ง 1986–1995 30 54 โอลิมปิก มาร์แซย์
เอซี มิลาน
บาเยิร์นมิวนิก
0.55
11 ยูริ จอร์เกฟฟ์ 1993–2002 28 82 อาแอส มอนาโก
ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง
อินเตอร์ มิลาน
ไคเซอร์สเลาเทิร์น
โบลตัน
0.34
12 ซิลแว็ง วิลตอร์ 1999–2006 26 92 บอร์โด
อาร์เซนอล
โอลิมปิก ลียง
0.28
13 ฌ็อง แว็งซ็อง 1953–1961 22 46 ลีล
สตาด เดอ แร็งส์
0.47
14 ฌ็อง นีกอลา 1933–1938 21 25 รูอ็อง 0.84
15 ปอล นีกอลา 1920–1931 20 35 เรด สตาร์ แอฟเซ 0.57
เอริก ก็องโตนา 1987–1995 20 45 โอลิมปิก มาร์แซย์
มงเปอลีเย
ลีดส์ ยูไนเต็ด
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
0.38
17 ฌ็อง บาแร็ตต์ 1944–1952 19 32 ลีล 0.57
18 โรเฌร์ ปีอ็องโตนี 1952–1961 18 37 น็องซี
แร็งส์
0.48
แรมง กอปา 1952–1962 18 45 แร็งส์
เรอัลมาดริด
0.40
20 โรล็อง บล็องก์ 1989–2000 16 97 มงเปอลีเย
นาโปลี
นีม
แซ็ง-เตเตียน
โอแซร์
บาร์เซโลนา
โอลิมปิก มาร์แซย์
อินเตอร์ มิลาน
0.16
ฟร็องก์ รีเบรี 2006–2014 16 81 โอลิมปิก มาร์แซย์
บาเยิร์นมิวนิก
0.20
22 เออแฌน มาแอส 1911–1913 15 11 เรด สตาร์ แอฟเซ 1.36
แอฟวร์ แรเวลลี 1966–1975 15 30 แซ็ง-เตเตียน
นีซ
0.50
ดอมีนิก รอเชโต 1975–1986 15 49 แซ็ง-เตเตียน
ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง
0.30
ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2022[23]

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เดส์ชองส์ตั้ง "เอ็มบัปเป้" กัปตันทีมชาติฝรั่งเศสคนใหม่". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 21 March 2023.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  3. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  4. Davis, Dan (2017-08-29). "The mutiny of Les Bleus: how France capitulated at the 2010 World Cup". These Football Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  5. https://www.bbc.co.uk/sport/football/44754965
  6. https://www.eurosport.com/football/uefa-nations-league-finals/2020-2021/spain-v-france-follow-live-coverage_sto8576173/story.shtml
  7. "Member Associations". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  8. Kay, Oliver. "Messi, Mbappe and an uncomfortable rivalry defined by mutual respect". The Athletic (ภาษาอังกฤษ).
  9. "France fans savour 'brilliant' World Cup win over England". web.archive.org. 2022-12-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-22. สืบค้นเมื่อ 2024-03-20.
  10. Okwonga, Musa (2021-10-11). "France's Win Over Spain Was a Prelude to an Epic Rivalry in the Making". The Ringer (ภาษาอังกฤษ).
  11. "History of Football in France". Sports and Leisure in France.
  12. "Football World Cup 1934 in Italy". www.footballhistory.org.
  13. UEFA.com (2016-04-06). "France's 'Magic Square' – the best ever midfield?". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  14. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  15. UEFA.com (2003-10-06). "Trezeguet's golden goal sinks Italy as France make history and win the EURO 2000 final". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  16. 161385360554578 (2018-06-05). "Remembering France's hilariously bad World Cup defence in 2002". Dream Team FC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  17. "France 0-1 Greece" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
  18. UEFA.com (2008-06-13). "Dominant Netherlands stun France in Group C to reach EURO 2008 knockouts in style". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  19. "World Cup 2010: France revolt leaves Raymond Domenech high and dry". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-06-20.
  20. "Germany 0-2 France: Antoine Griezmann's double sees Didier Deschamps' side into Euro 2016 final". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
  21. UEFA.com (2021-10-10). "Spain 1-2 France: Les Bleus seal trophy with another comeback". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  22. Luis Fernando Passo Alpuin. "Goals for Venezuela National Team". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
  23. Luis Fernando Passo Alpuin. "Goals for Venezuela National Team". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้