ฟุตบอลทีมชาติยิบรอลตาร์
ฟุตบอลทีมชาติยิบรอลตาร์ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของยิบรอลตาร์ ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ควบคุมและบริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์
Shirt badge/Association crest | ||||
ฉายา | GFA Team 54[1] | |||
---|---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ (GFA) | |||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ฮูลิโอ เซซาร์ ริบาส ![]() | |||
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | โฆเซ การ์โลส กิลปริเอโต ![]() | |||
กัปตัน | รอย ชิโปลินา | |||
ติดทีมชาติสูงสุด | เลียม วอล์กเกอร์ (59) | |||
ทำประตูสูงสุด | ลี แคสเซียโร (3) | |||
สนามเหย้า | วิกตอเรีย สเตเดียม | |||
รหัสฟีฟ่า | GIB | |||
| ||||
อันดับฟีฟ่า | ||||
อันดับปัจจุบัน | 196 ![]() | |||
อันดับสูงสุด | 190 (ตุลาคม 2018–ปัจจุบัน) | |||
อันดับต่ำสุด | 206 (เมษายน 2017–มีนาคม 2018) | |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||
![]() ![]() (ฟารู, โปรตุเกส; 19 พฤศจิกายน 2013) | ||||
ชนะสูงสุด | ||||
![]() ![]() (ฟารู, โปรตุเกส; 4 มิถุนายน 2014) ![]() ![]() (ยิบรอลตาร์; 25 มีนาคม 2018)
![]() ![]() (ยิบรอลตาร์; 16 ตุลาคม 2018) | ||||
แพ้สูงสุด | ||||
![]() ![]() (นิส, ฝรั่งเศส; 18 พฤศจิกายน 2023) |
ทีมชาติยิบรอลตาร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของยูฟ่า หลังจากผ่านความเห็นชอบจากการโหวตของชาติสมาชิกยูฟ่าในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 [3] และได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก โดยนับเป็นการเข้าร่วมแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ของยูฟ่าเป็นครั้งแรก ต่อมาได้ยิบรอลตาร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าในเดือนพฤษภาคม 2016 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 211 ของฟีฟ่า
ด้วยประชากรเพียง 33,000 คน ทำให้ดินแดนยิบรอลตาร์ กลายเป็นชาติสมาชิกที่มีขนาดเล็กที่สุดของยูฟ่าเมื่อวัดจากจำนวนประชากร
แม้ว่ายิบรอลตาร์จะไม่ใช่หมู่เกาะ แต่ก็เคยส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาไอส์แลนด์ เกม ในปี 1993 และชนะเลิศในกีฬาไอส์แลนด์ เกม 2007 ที่เกาะโรดส์
เข้าเป็นสมาชิกของยูฟ่า
แก้สมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ (GFA) ได้ยื่นเรื่องขอเข้าเป็นสมาชิกยูฟ่า เป็นครั้งแรกในปี 1999 แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากได้รับการคัดค้านจากประเทศสเปน โดยข้อคัดค้านของสเปนนั้นนอกจากจะอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนยิบรอลตาร์ที่ยังเป็นข้อพิพาทกับสหราชอาณาจักรแล้ว ยังยกเหตุผลว่าการอนุมัติให้ยิบรอลตาร์เข้าเป็นสมาชิกของยูฟ่านั้น จะเป็นการส่งเสริมให้ดินแดนอื่นที่อยู่ในความปกครองของสเปนอย่างแคว้นกาตาลุญญาและแคว้นบาสก์ ใช้เป็นบรรทัดฐานในการขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกของยูฟ่าเช่นกัน และอาจส่งผลให้เกิดการแยกตัวออกมาจากสเปน
อย่างไรก็ตามการลงคะแนนเสียงมีขึ้นอีกครั้งในปี 2007 โดยสมาคมฟุตบอลสเปนได้มีการออกมากดดันว่าหากสมาคมฟุตบอลของยิบรอลตาร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของยูฟ่า สมาคมฟุตบอลสเปนจะขอถอนทีมออกจากการแข่งขันในทุกรายการของยูฟ่าเพื่อเป็นการประท้วง ท่ามกลางการกดดันจากทางสเปน มีชาติสมาชิกเพียง 3 ชาติเท่านั้นที่โหวตให้การสนับสนุนยิบรอลตาร์ คืออังกฤษ ,สก็อตแลนด์ และเวลส์ ซึ่งทั้งหมดต่างก็เป็นชาติที่อยู่ในสหราชอาณาจักร ที่ปกครองยิบรอลตาร์เอง
ต่อมายูฟ่าได้ออกกฏว่าชาติใดที่จะขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ต้องเป็นรัฐเอกราชที่ได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติเท่านั้น ทำให้สมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ ยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา หรือ ศาลกีฬาโลก โดยศาลได้ตัดสินว่ากฏเรื่องรัฐเอกราชที่ยูฟ่าออกมานั้น ไม่สามารถใช้บังคับกับสมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ได้ เพราะไม่ใช่กฏที่มีอยู่ในขณะที่ยิบรอลตาร์ขอเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่เป็นการออกกฏขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ยิบรอลตาร์ได้ยื่นเรื่องขอเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ยูฟ่าจึงมิอาจใช้หลักรัฐเอกราชในการปฏิเสธความเป็นชาติสมาชิกของดินแดนยิบรอลตาร์ได้
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 สมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ได้เป็นสมาชิกของยูฟ่าอย่างเป็นทางการจากการโหวตของบรรดาสมาชิก ที่จัดขึ้นในลอนดอน โดยมีเพียงสเปนและเบลารุส ที่โหวตไม่สนับสนุน
เข้าเป็นสมาชิกของฟีฟ่า
แก้หลังจากชนะคดีที่ศาลกีฬาโลกจนได้เป็นสมาชิกของยูฟ่า ต่อมายิบรอลตาร์ได้ยื่นเรื่องขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่า โดยในเดือนกันยายน ปี 2014 คำขอเข้าเป็นสมาชิกของฟีฟ่าได้ถูกปฏิเสธ โดยเซพพ์ บลัทเทอร์ประธานของฟีฟ่า ยกเหตุผลในเรื่องที่ยิบรอลตาร์มีสถานะเป็นดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตามเหตุผลดังกล่าวเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ในวงการฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจากก่อนหน้านี้ฟีฟ่าเคยรับชาติที่ยังไม่มีเอกราชสมบูรณ์ในตัวเอง เข้าเป็นสมาชิกของฟีฟ่าถึง 22 ชาติ (ในจำนวนนี้ มีถึง 5 ชาติที่เป็นสมาชิกของยูฟ่า คือหมู่เกาะแฟโร ที่มีสถานะเป็นเขตปกครองตนเองขึ้นตรงกับเดนมาร์ก และอังกฤษ,สก็อตแลนด์,เวลส์,ไอร์แลนด์เหนือที่เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร) โดยสมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ได้ยื่นเรื่องฟ้องร้องฟีฟ่าต่อศาลกีฬาโลก ให้เพิกถอนมติเดิมและรับยิบรอลตาร์เข้าเป็นสมาชิก ซึ่งวิธีการเดียวกันนี้ทำให้ยิบรอลตาร์ได้เข้าเป็นสมาชิกของยูฟ่ามาแล้ว
เดือนพฤษภาคม ปี 2015 ศาลกีฬาโลก ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับคดีที่สมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ฟ้องร้องฟีฟ่าไว้พิจารณาในชั้นศาล ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ปี 2016 ฟีฟ่าได้จัดประชุมเพื่อรับยิบรอลตาร์เป็นสมาชิก โดยการลงคะแนนเสียงของสมาชิกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 2016 ที่เม็กซิโก ได้ผ่านความเห็นชอบให้ยิบรอลตาร์เข้าเป็นสมาชิกของฟีฟ่า ด้วยคะแนนเสียง 172 ต่อ 12 ทำให้ยิลรอลตาร์ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่าลำดับที่ 211 ถัดจากทีมชาติคอซอวอ ที่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกลำดับที่ 210 ของฟีฟ่าในปี ค.ศ. 2016 และทำให้ยิบรอลตาร์มีสิทธิ์เข้าแข่งขันในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
ผลงานในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
แก้ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016
แก้วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2014 ยิบรอลตาร์ลงแข่งขันในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รอบคัดเลือก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยพบกับทีมชาติโปแลนด์
สนามเหย้า
แก้ในอดีตก่อนจะเป็นสมาชิกของยูฟ่า ทีมชาติยิบรอลตาร์ใช้ สนามกีฬาวิกตอเรีย เป็นสนามเหย้าสำหรับแข่งขันระดับชาติ โดยสนามกีฬาแห่งนี้มีความจุ 5,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ใกล้กับสนามบินยิบรอลตาร์ บนถนนวินสตัน เชอร์ชิล อเวนิว
โดยสมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ ได้มีโครงการก่อสร้างสนามกีฬายูโรปา พอยต์ ซึ่งมีความจุ 10,000 ที่นั่งเพื่อมาใช้แทนที่สนามเดิม[4][5][6] โดยการก่อสร้างสนามใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ.2013[7] ระหว่างการก่อสร้างสนามใหม่นี้ทีมชาติยิบรอลตาร์ จะต้องใช้สนาม เอสตาดิอู อัลการ์เว ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองฟารู, ประเทศโปรตุเกส เป็นสนามเหย้าแทน เนื่องจากสนามกีฬาวิกตอเรียยังไม่ผ่านมาตรฐานของยูฟ่า ในการจัดการแข่งขันระดับชาติอย่างเป็นทางการ[8]
อย่างไรก็ตาม แม้ทีมชาติยิบรอลตาร์จะไม่สามารถใช้งานสนามกีฬาวิกตอเรียสำหรับแข่งขันในรายการของยูฟ่า อย่างฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือกได้ แต่ยังสามารถใช้สนามนี้ได้ในการแข่งขันกระชับมิตร[9]
สถิติ
แก้ผู้เล่นที่ลงสนามให้ทีมชาติมากที่สุด
แก้ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2018
# | ชื่อ | ช่วงเวลา | จำนวนนัดที่ลงสนาม | จำนวนประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|
1 | เลียม วอล์กเกอร์ | 2013– | 33 | 2 | เซเด ซาน โรเก บีไน เยฮูดา เทลอาวีฟ ลินคอล์น เรด อิมพส์ ยูโรปา เอฟซี นอตส์ เคาน์ตี |
2 | โจเซฟ ชิโปลินา | 2013– | 31 | 2 | ลินคอล์น เรด อิมพส์ |
3 | รอย ชิโปลินา | 2013– | 30 | 1 | ลินคอล์น เรด อิมพส์ |
4 | ฌอน-คาร์ลอส การ์เซีย | 2014– | 26 | 0 | ลินคอล์น เรด อิมพส์ |
5 | ไรอัน แคสเซียโร | 2013– | 24 | 0 | ลินคอล์น เรด อิมพส์ |
ไคล์ แคสเซียโร | 2013– | 24 | 1 | ลินคอล์น เรด อิมพส์ | |
7 | แอนโธนี บาร์ดอน | 2014– | 23 | 0 | ลินคอล์น เรด อิมพส์ เชฟฟีลด์ เอฟซี |
ลี แคสเซียโร | 2014– | 23 | 2 | ลินคอล์น เรด อิมพส์ | |
9 | จอร์แดน เปเรซ | 2013–2016 | 17 | 0 | ลินคอล์น เรด อิมพส์ ไลออน ยิบรอลตาร์ เซ็นต์ โจเซฟ เอฟซี |
10 | เจย์ซี โอลิเวโร | 2016– | 16 | 0 | อบิงดอน ยูไนเต็ด |
แจ็ก เซอร์เจนต์ | 2014– | 16 | 0 | แมนเชสเตอร์ 62 ลินคอล์น เรด อิมพส์ |
ผู้ยิงประตูสูงสุดในทีมชาติ
แก้ณ วันที่ สิงหาคม 2018
# | ชื่อ | ช่วงเวลา | ประตู | จำนวนนัดที่ลงสนาม | ค่าเฉลี่ยการยิงประตู |
---|---|---|---|---|---|
1 | เจค กอสลิง | 2014– | 2 | 12 | 0.167 |
ลี แคสเซียโร | 2014– | 2 | 19 | 0.105 | |
เลียม วอล์กเกอร์ | 2013– | 2 | 29 | 0.069 | |
4 | ไคล์ แคสเซียโร | 2013– | 1 | 23 | 0.043 |
รอย ชิโปลินา | 2013– | 1 | 28 | 0.036 | |
แอนโธนี เฮอร์นานเดซ | 2014– | 1 | 13 | 0.077 |
ผู้เล่นที่มีชื่อเสียง
แก้- แดนนี ฮิกกินบอตแธม (อดีตผู้เล่นแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด,เซาท์แฮมป์ตัน,ซันเดอร์แลนด์)
- สก็อต ไวส์แมน (สคันธอร์ป ยูไนเต็ด)
- เจค กอสลิง (บริสตอล โรเวอร์ส)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Team 54". Gibraltar Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-18. สืบค้นเมื่อ 22 August 2014.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
- ↑ http://m.bbc.com/sport/football/22657481[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Our new national stadium". team54.gi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ 24 May 2013.
- ↑ "'NO POLITICS, JUST FOOTBALL' – BEISO". Gibraltar Chronicle. 3 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 24 May 2013.
- ↑ Doyle, Paul (23 May 2013). "Gibraltar set to be new kids on the Rock as Uefa votes on its future". London: Guardian.co.uk. สืบค้นเมื่อ 24 May 2013.
- ↑ Franco, Liam. "GIB'S MAN IN UEFA FLAGS UP STADIUM PROJECT ON TWITTER". Gibraltar Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
- ↑ "Algarve – temporary home for Gibraltar's international football matches". GBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
- ↑ Bailey, Graeme. "Slovakia to be Gibraltar's first opponents". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 5 November 2013.