ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 (อังกฤษ: 2016 UEFA European Football Championship; ฝรั่งเศส: Championnat d'Europe de football 2016) หรือรู้จักกันในชื่อ ยูโร 2016 (Euro 2016) เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งที่ 15 จัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยการแข่งขันรอบสุดท้ายจัดขึ้นที่ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016
Championnat d'Europe de football 2016 (ฝรั่งเศส)
ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพประเทศฝรั่งเศส
วันที่10 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ทีม24
สถานที่10 (ใน 10 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส (สมัยที่ 1)
รองชนะเลิศธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน51
จำนวนประตู108 (2.12 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม2,427,303 (47,594 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดฝรั่งเศส อ็องตวน กรีแยซมาน
(6 ประตู)
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมโปรตุเกส รือนาตู ซังชึช[1]
2012
2020

การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีทีมลงแข่งขันในรอบสุดท้าย 24 ทีม เปลี่ยนจากการแข่งขันเดิมที่มี 16 ทีม ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ 1996[2] ภายใต้การจัดการแข่งขันแบบใหม่นั้น จะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม รอบแพ้คัดออกจะมี 3 รอบ และนัดชิงชนะเลิศ โดย 24 ทีมแบ่งเป็น 19 ทีม (แชมป์กลุ่มและรองแชมป์กลุ่มของรอบคัดเลือก 9 กลุ่ม รวมไปถึงทีมอันดับที่ 3 ทีมีคะแนนดีที่สุด), ฝรั่งเศส ซึ่งเข้ารอบอัตโนมัติจากการเป็นเจ้าภาพ และ ทีมจากการแขงขันเพลย์ออฟแบบเหย้า-เยือนของทีมอันดับที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 4 ทีม

ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากการจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน โดยชนะ ประเทศอิตาลี และ ประเทศตุรกี ในการคัดเลือกเจ้าภาพครั้งนี้[3][4] ซึ่งการแข่งขันจะจัดที่ 10 สนาม ใน 10 เมือง: บอร์โด, ล็องส์, ลีล, ลียง, มาร์แซย์, นิส, ปารีส, แซ็ง-เดอนี, แซ็งเตเตียน และ ตูลูซ โดยการจัดการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 3 ในการเป็นเจ้าภาพของประเทศฝรั่งเศส หลังจากจัดการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1960 และ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 ซึ่งทีมชาติฝรั่งเศสเป็นแชมป์ในรายการนี้ 2 ครั้ง คือปี 1984 และ 2000

ทีมที่ชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันใน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 ที่ประเทศรัสเซีย

รอบคัดเลือก

แก้
 
  ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย
  ทีมที่ไม่ได้เข้ารอบสุดท้าย

การจับสลากรอบคัดเลือกมีขึ้นที่ ปาเลส์ เดส์ กอนเกรส์ อาโกรโปลิส ใน นิส เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[5] รอบคัดเลือกเริ่มในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557[6] พร้อมกับเพิ่มทีมเป็น 24 ทีม ประเทศกลางในการจัดอันดับจะได้มีโอกาสเข้ารอบสุดท้ายเพิ่มขึ้น

ทีมที่ผ่านเข้ารอบ

แก้
ประเทศ วิธีการเข้ารอบ วันที่เข้ารอบ จำนวนครั้งที่เข้ารอบ[n 1]
  ฝรั่งเศส เจ้าภาพ 28 พฤษภาคม 2010 8 (1960, 1984, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012)
  อังกฤษ ชนะเลิศ กลุ่ม E 5 กันยายน 2015 8 (1968, 1980, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2012)
  เช็กเกีย[n 2] ชนะเลิศ กลุ่ม A 6 กันยายน 2015 8 (1960, 1976, 1980, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012)
  ไอซ์แลนด์ รองชนะเลิศ กลุ่ม A 6 กันยายน 2015 0 (ครั้งแรก)
  ออสเตรีย ชนะเลิศ กลุ่ม G 8 กันยายน 2015 1 (2008)
  ไอร์แลนด์เหนือ ชนะเลิศ กลุ่ม F 8 ตุลาคม 2015 0 (ครั้งแรก)
  โปรตุเกส ชนะเลิศ กลุ่ม I 8 ตุลาคม 2015 6 (1984, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012)
  สเปน ชนะเลิศ กลุ่ม C 9 ตุลาคม 2015 9 (1964, 1980, 1984, 1988, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012)
  สวิตเซอร์แลนด์ รองชนะเลิศ กลุ่ม E 9 ตุลาคม 2015 3 (1996, 2004, 2008)
  อิตาลี ชนะเลิศ กลุ่ม H 10 ตุลาคม 2015 8 (1968, 1980, 1988, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012)
  เบลเยียม ชนะเลิศ กลุ่ม B 10 ตุลาคม 2015 4 (1972, 1980, 1984, 2000)
  เวลส์ รองชนะเลิศ กลุ่ม B 10 ตุลาคม 2015 0 (ครั้งแรก)
  โรมาเนีย รองชนะเลิศ กลุ่ม F 11 ตุลาคม 2015 4 (1984, 1996, 2000, 2008)
  แอลเบเนีย รองชนะเลิศ กลุ่ม I 11 ตุลาคม 2015 0 (ครั้งแรก)
  เยอรมนี[n 3] ชนะเลิศ กลุ่ม D 11 ตุลาคม 2015 11 (1972, 1976, 1980, 1984, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012)
  โปแลนด์ รองชนะเลิศ กลุ่ม D 11 ตุลาคม 2015 2 (2008, 2012)
  รัสเซีย[n 4] รองชนะเลิศ กลุ่ม G 12 ตุลาคม 2015 10 (1960, 1964, 1968, 1972, 1988, 1992, 1996, 2004, 2008, 2012)
  สโลวาเกีย รองชนะเลิศ กลุ่ม C 12 ตุลาคม 2015 0 (ครั้งแรก)
  โครเอเชีย รองชนะเลิศ กลุ่ม H 13 ตุลาคม 2015 4 (1996, 2004, 2008, 2012)
  ตุรกี อันดับสามที่ดีที่สุด 13 ตุลาคม 2015 3 (1996, 2000, 2008)
  ฮังการี ชนะเลิศ เพลย์ออฟ 15 พฤศจิกายน 2015 2 (1964, 1972)
  สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชนะเลิศ เพลย์ออฟ 16 พฤศจิกายน 2015 2 (1988, 2012)
  สวีเดน ชนะเลิศ เพลย์ออฟ 17 พฤศจิกายน 2015 5 (1992, 2000, 2004, 2008, 2012)
  ยูเครน ชนะเลิศ เพลย์ออฟ 17 พฤศจิกายน 2015 1 (2012)
  1. ตัวหนา: ชนะเลิศ, ตัวเอียง: เจ้าภาพ
  2. ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960–80, สาธารณรัฐเช็ก เข้าสู่รอบสุดท้ายของทัวร์นาเมนต์นี้ในฐานะ เชโกสโลวาเกีย
  3. ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960–88, เยอรมนี เข้าสู่รอบสุดท้ายของทัวร์นาเมนต์นี้ในฐานะ เยอรมนีตะวันตก
  4. ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960–88, รัสเซีย เข้าสู่รอบสุดท้ายของทัวร์นาเมนต์นี้ในฐานะ สหภาพโซเวียต และในปี ค.ศ. 1992 ในฐานะ เครือรัฐเอกราช

การจับสลากรอบสุดท้าย

แก้

การจับสลากในรอบสุดท้ายมีขึ้นที่ ปาเลส์ เดส์ คอนเกรส์ เด ลา ปอร์เต เมยอต์ ใน ปารีส เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558[6][5]

โถ 15
ทีม ค่าสัมประสิทธิ์ อันดับ
  สเปน6 37,962 2
  เยอรมนี 40,236 1
  อังกฤษ 35,963 3
  โปรตุเกส 35,138 4
  เบลเยียม 34,442 5
โถ 2
ทีม ค่าสัมประสิทธิ์ อันดับ
  อิตาลี 34,345 6
  รัสเซีย 31,345 9
  สวิตเซอร์แลนด์ 31,254 10
  ออสเตรีย 30,932 11
  โครเอเชีย 30,642 12
  ยูเครน 30,313 14
โถ 3
ทีม ค่าสัมประสิทธิ์ อันดับ
  เช็กเกีย 29,403 15
  สวีเดน 29,028 16
  โปแลนด์ 28,306 17
  โรมาเนีย 28,038 18
  สโลวาเกีย 27,171 19
  ฮังการี 27,142 20
โถ 4
ทีม ค่าสัมประสิทธิ์ อันดับ
  ตุรกี 27,033 22
  สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 26,902 23
  ไอซ์แลนด์ 25,388 27
  เวลส์ 24,531 28
  แอลเบเนีย 23,216 31
  ไอร์แลนด์เหนือ 22,961 33
5 เจ้าภาพ ฝรั่งเศส (ค่าสัมประสิทธิ์ 33,599) เข้ารอบอัตโนมัติ
6 สเปนได้อยู่ในโถที่ 1 อัตโนมัติจากการเป็นแชมป์เก่า

สนามแข่งขัน

แก้

ในครั้งแรกนั้น ฝรั่งเศสได้เสนอสนามแข่งขันจำนวน 12 แห่ง ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นได้ลดลงมาเหลือ 9 แห่งในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 แต่กลับมาเลือกใช้ 11 สนามในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554[7] และสุดท้าย สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส จะเลือกเพียง 9 สนามที่จะใช้ในการแข่งขันนี้

ซึ่งในส่วนของ 7 สนามแรกที่จะเลือกนั้น ได้แก่ สตาดเดอฟร็องส์ ซึ่งเป็นสนามเหย้าของทีมชาติฝรั่งเศส, อีก 4 สนามที่สร้างขึ้นใหม่ในลีล, ลียง, นิส และ บอร์โด และสนามในปารีส กับ มาร์แซย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ส่วนอีก 2 แห่งนั้น หลังจากที่สทราซบูร์ ได้ถอนตัวเนื่องจากมีปัญหาทางด้านการเงิน[8] โดยในการโหวตรอบแรกเลือกล็องส์ และ น็องซี เป็นเมืองที่จัดการแข่งขันแทนแซ็งเตเตียน กับ ตูลูซ โดยจะจัดเป็นสนามแข่งขันสำรองแทน

ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 สนามแข่งขันได้เพิ่มเป็น 11 แห่ง เนื่องจากการแข่งขันใหม่จะมี 24 ทีมเข้าแข่งขัน ต่างจากครั้งก่อนหน้าซึ่งมีเพียง 16 ทีม[9][10] โดยอีก 2 เมืองที่เพิ่มเข้ามาคือแซ็งเตเตียน กับ ตูลูซ อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 น็องซีได้ขอถอนตัวจากการเป็นเมืองที่ใช้ในการแข่งขัน หลังจากมีปัญหาจากการปรับปรุงสนาม[11] ทำให้เหลือ 10 เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

โดยในการแข่งขันครั้งนี้ สตาดเดอลาโบฌัวร์ ใน น็องต์ กับ สตาดเดอลามอซง ใน มงเปอลีเย (สนามแข่งขันฟุตบอลโลก 1998) ไม่ถูกเลือกใช้จัดการแข่งขัน ซึ่งสนามแข่งขันทั้ง 10 สนามได้รับการยืนยันจากคณะกรรมการของยูฟ่าในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556[12]

แซ็ง-เดอนี มาร์แซย์ ลียง ลีล
สตาดเดอฟร็องส์ สตาดเวลอดรอม ปาร์กอแล็งปิกลียอแน สตาดปีแยร์-โมรัว
48°55′28″N 2°21′36″E / 48.92444°N 2.36000°E / 48.92444; 2.36000 (Stade de France) 43°16′11″N 5°23′45″E / 43.26972°N 5.39583°E / 43.26972; 5.39583 (Stade Vélodrome) 45°45′56″N 4°58′52″E / 45.76556°N 4.98111°E / 45.76556; 4.98111 (Stade des Lumières) 50°36′43″N 3°07′50″E / 50.61194°N 3.13056°E / 50.61194; 3.13056 (Stade Pierre-Mauroy)
ความจุ : 81,338 ความจุ : 67,394
(ปรับปรุง)
ความจุ : 59,286
(สนามใหม่)
ความจุ : 50,186
(สนามใหม่)
   
 
 
 
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 (ฝรั่งเศส)
 
ปารีส บอร์โด
ปาร์กเดแพร็งส์ มัตมุตอัตล็องติก
48°50′29″N 2°15′11″E / 48.84139°N 2.25306°E / 48.84139; 2.25306 (ปาร์กเดแพร็งส์) 44°53′50″N 0°33′43″W / 44.89722°N 0.56194°W / 44.89722; -0.56194 (บอร์โด)
ความจุ : 48,712
(ปรับปรุง)
ความจุ : 42,115
(สนามใหม่)
   
   
แซ็งเตเตียน นิส ล็องส์ ตูลูซ
สตาดฌอฟรัว-กีชาร์ อลิอันซ์ริวีเอรา สตาดเฟลิกซ์-บอลาร์ต สตาดียอมมูว์นีซีปาล
45°27′39″N 4°23′24″E / 45.46083°N 4.39000°E / 45.46083; 4.39000 (Saint-Étienne) 43°42′25″N 7°11′40″E / 43.70694°N 7.19444°E / 43.70694; 7.19444 (Nice) 50°25′58.26″N 2°48′53.47″E / 50.4328500°N 2.8148528°E / 50.4328500; 2.8148528 (Lens) 43°34′59″N 1°26′3″E / 43.58306°N 1.43417°E / 43.58306; 1.43417 (Toulouse)
ความจุ : 41,965
(ปรับปรุง)
ความจุ : 35,624
(สนามใหม่)
ความจุ : 38,223
(ปรับปรุง)
ความจุ : 33,150
(ปรับปรุง)
       

รูปแบบการแข่งขัน

แก้

ผู้เล่น

แก้

ในแต่ละทีมชาติสามารถส่งผู้เล่นลงทำการแข่งขันได้ 23 คน โดย 3 คนต้องเป็นผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู และต้องส่งรายชื่อก่อนวันเปิดการแข่งขัน 10 วัน ซึ่งหากมีผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บหรือเหตุผลอื่นที่ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ สามารถที่จะเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ก่อนที่จะแข่งขันนัดแรก[13]

รอบแบ่งกลุ่ม

แก้

ยูฟ่าได้ประกาศโปรแกรมการแข่งขันออกมาเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557,[14][15] และได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หลังจบการจับสลากเสร็จสิ้น.[16] เวลาทั้งหมดเป็นเวลาท้องถิ่น, CEST (UTC+2).

กลุ่มเอ

แก้
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   ฝรั่งเศส (H) 3 2 1 0 4 1 +3 7 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2   สวิตเซอร์แลนด์ 3 1 2 0 2 1 +1 5
3   แอลเบเนีย 3 1 0 2 1 3 −2 3
4   โรมาเนีย 3 0 1 2 2 4 −2 1
แหล่งที่มา : UEFA
(H) เจ้าภาพ.


กลุ่มบี

แก้
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   เวลส์ 3 2 0 1 6 3 +3 6 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2   อังกฤษ 3 1 2 0 3 2 +1 5
3   สโลวาเกีย 3 1 1 1 3 3 0 4
4   รัสเซีย 3 0 1 2 2 6 −4 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า


กลุ่มซี

แก้
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   เยอรมนี 3 2 1 0 3 0 +3 7 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2   โปแลนด์ 3 2 1 0 2 0 +2 7
3   ไอร์แลนด์เหนือ 3 1 0 2 2 2 0 3
4   ยูเครน 3 0 0 3 0 5 −5 0
แหล่งที่มา : ยูฟ่า


กลุ่มดี

แก้
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   โครเอเชีย 3 2 1 0 5 3 +2 7 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2   สเปน 3 2 0 1 5 2 +3 6
3   ตุรกี 3 1 0 2 2 4 −2 3
4   เช็กเกีย 3 0 1 2 2 5 −3 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า


กลุ่มอี

แก้
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   อิตาลี 3 2 0 1 3 1 +2 6 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2   เบลเยียม 3 2 0 1 4 2 +2 6
3   สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 3 1 1 1 2 4 −2 4
4   สวีเดน 3 0 1 2 1 3 −2 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า


กลุ่มเอฟ

แก้
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   ฮังการี 3 1 2 0 6 4 +2 5 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2   ไอซ์แลนด์ 3 1 2 0 4 3 +1 5
3   โปรตุเกส 3 0 3 0 4 4 0 3
4   ออสเตรีย 3 0 1 2 1 4 −3 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า


ตารางคะแนนทีมอันดับที่สาม

แก้
อันดับ กลุ่ม ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 B   สโลวาเกีย 3 1 1 1 3 3 0 4 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 E   สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 3 1 1 1 2 4 −2 4
3 F   โปรตุเกส 3 0 3 0 4 4 0 3
4 C   ไอร์แลนด์เหนือ 3 1 0 2 2 2 0 3
5 D   ตุรกี 3 1 0 2 2 4 −2 3
6 A   แอลเบเนีย 3 1 0 2 1 3 −2 3
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
กฎการจัดอันดับ : กฏการจัดอันดับรอบแบ่งกลุ่ม

รอบแพ้คัดออก

แก้

ในรอบแพ้คัดออกนั้น จะมีการต่อเวลาพิเศษ และ การดวลลูกโทษ เพื่อตัดสินผู้ชนะหากเสมอกัน[13]

โครงสร้างของรอบแพ้คัดออก

แก้

ในรอบ 16 ทีม ยูฟ่าได้จัดการแข่งขันดังนี้:[53]

  • นัดที่ 1: ทีมรองชนะเลิศกลุ่มเอ กับ ทีมรองชนะเลิศกลุ่มซี
  • นัดที่ 2: ทีมชนะเลิศกลุ่มดี กับ ทีมอันดับที่สามกลุ่มบี/อี/เอฟ
  • นัดที่ 3: ทีมชนะเลิศกลุ่มบี กับ ทีมอันดับที่สามกลุ่มเอ/ซี/ดี
  • นัดที่ 4: ทีมชนะเลิศกลุ่มเอฟ กับ ทีมรองชนะเลิศกลุ่มอี
  • นัดที่ 5: ทีมชนะเลิศกลุ่มซี กับ ทีมอันดับที่สามกลุ่มเอ/บี/เอฟ
  • นัดที่ 6: ทีมชนะเลิศกลุ่มอี กับ ทีมรองชนะเลิศกลุ่มดี
  • นัดที่ 7: ทีมชนะเลิศกลุ่มเอ กับ ทีมอันดับที่สามกลุ่มซี/ดี/อี
  • นัดที่ 8: ทีมรองชนะเลิศกลุ่มบี กับ ทีมรองชนะเลิศกลุ่มเอฟ

โดยการจัดการแข่งขันจะมีทีมอันดับที่ 3 ที่มีคะแนนดีที่สุด 4 ทีมได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรอบ 16 ทีม:[53]

  โอกาสที่เป็นไปได้
  โอกาสที่เป็นไปไม่ได้
ทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด ทีมชนะเลิศกลุ่มเอ ทีมชนะเลิศกลุ่มบี ทีมชนะเลิศกลุ่มซี ทีมชนะเลิศกลุ่มดี
A B C D 3C 3D 3A 3B
A B C E 3C 3A 3B 3E
A B C F 3C 3A 3B 3F
A B D E 3D 3A 3B 3E
A B D F 3D 3A 3B 3F
A B E F 3E 3A 3B 3F
A C D E 3C 3D 3A 3E
A C D F 3C 3D 3A 3F
A C E F 3C 3A 3F 3E
A D E F 3D 3A 3F 3E
B C D E 3C 3D 3B 3E
B C D F 3C 3D 3B 3F
B C E F 3E 3C 3B 3F
B D E F 3E 3D 3B 3F
C D E F 3C 3D 3F 3E

รอบ 8 ทีมจะจัดการแข่งขันดังนี้:[53]

  • นัดที่ 1: ผู้ชนะรอบ 16 ทีมนัดที่ 1 กับ ผู้ชนะรอบ 16 ทีมนัดที่ 2
  • นัดที่ 2: ผู้ชนะรอบ 16 ทีมนัดที่ 3 กับ ผู้ชนะรอบ 16 ทีมนัดที่ 4
  • นัดที่ 3: ผู้ชนะรอบ 16 ทีมนัดที่ 5 กับ ผู้ชนะรอบ 16 ทีมนัดที่ 6
  • นัดที่ 4: ผู้ชนะรอบ 16 ทีมนัดที่ 7 กับ ผู้ชนะรอบ 16 ทีมนัดที่ 8

รอบรองชนะเลิศจะจัดการแข่งขันดังนี้:[53]

  • นัดที่ 1: ผู้ชนะรอบ 8 ทีมนัดที่ 1 v ผู้ชนะรอบ 8 ทีมนัดที่ 2
  • นัดที่ 2: ผู้ชนะรอบ 8 ทีมนัดที่ 3 v ผู้ชนะรอบ 8 ทีมนัดที่ 4

รอบชิงชนะเลิศจะจัดการแข่งขันดังนี้:[53]

  • ผู้ชนะรอบรองชนะเลิศนัดที่ 1 v ผู้ชนะรอบรองชนะเลิศนัดที่ 2

ภาพรวมการแข่งขัน

แก้
 
Round of 16รอบ 8 ทีมรอบรองชนะเลิศรอบชิงชนะเลิศ
 
              
 
25 มิถุนายน – แซ็งเตเตียน
 
 
  สวิตเซอร์แลนด์1 (4)
 
30 มิถุนายน – มาร์แซย์
 
  โปแลนด์1 (5)
 
  โปแลนด์1 (3)
 
25 มิถุนายน – ล็องส์
 
  โปรตุเกส1 (5)
 
  โครเอเชีย0
 
6 กรกฎาคม – ลียง
 
  โปรตุเกส
(ต่อเวลา)
1
 
  โปรตุเกส2
 
25 มิถุนายน – ปารีส
 
  เวลส์0
 
  เวลส์1
 
1 กรกฎาคม – ลีล
 
  ไอร์แลนด์เหนือ0
 
  เวลส์3
 
26 มิถุนายน – ตูลูซ
 
  เบลเยียม1
 
  ฮังการี0
 
10 กรกฎาคม – แซ็ง-เดอนี
 
  เบลเยียม4
 
  โปรตุเกส
(ต่อเวลา)
1
 
26 มิถุนายน – ลีล
 
  ฝรั่งเศส0
 
  เยอรมนี3
 
2 กรกฎาคม – บอร์โด
 
  สโลวาเกีย0
 
  เยอรมนี1 (6)
 
27 มิถุนายน – แซ็ง-เดอนี
 
  อิตาลี1 (5)
 
  อิตาลี2
 
7 กรกฎาคม – มาร์แซย์
 
  สเปน0
 
  เยอรมนี0
 
26 มิถุนายน – ลียง
 
  ฝรั่งเศส2
 
  ฝรั่งเศส2
 
3 กรกฎาคม – แซ็ง-เดอนี
 
  สาธารณรัฐไอร์แลนด์1
 
  ฝรั่งเศส5
 
27 มิถุนายน – นิส
 
  ไอซ์แลนด์2
 
  อังกฤษ1
 
 
  ไอซ์แลนด์2
 

รอบ 16 ทีมสุดท้าย

แก้

เวลส์  1–0  ไอร์แลนด์เหนือ
มักออลีย์   75' (เข้าประตูตัวเอง) รายงาน






รอบ 8 ทีมสุดท้าย

แก้



รอบรองชนะเลิศ

แก้

รอบชิงชนะเลิศ

แก้

สถิติ

แก้

ผู้ทำประตู

แก้
6 ประตู
3 ประตู
2 ประตู
1 ประตู
การทำเข้าประตูตัวเอง 1 ครั้ง

แหล่งที่มา: ยูฟ่า[69][70]

รางวัล

แก้
รองเท้าทองคำ

รองเท้าทองคำมอบรางวัลนี้ให้กับ อ็องตวน กรีแยซมาน, ผู้ที่ทำหนึ่งประตูในรอบแบ่งกลุ่มและห้าประตูในรอบแพ้คัดออก.

รองเท้าเงิน

รองเท้าเงินมอบรางวัลนี้ให้กับ คริสเตียโน โรนัลโด, ผู้ที่ทำสองประตูในรอบแบ่งกลุ่มและหนึ่งประตูในรอบแพ้คัดออก, ตลอดจนรวมทั้งสามแอสซิสต์.

รองเท้าทองแดง

รองเท้าทองแดงมอบรางวัลนี้ให้กับ ออลีวีเย ฌีรู, ผู้ที่ทำหนึ่งประตูในรอบแบ่งกลุ่มและสองประตูในรอบแพ้คัดออก, ตลอดจนรวมทั้งสองแอสซิสต์; เพื่อนร่วมชาติอย่าง ดีมีทรี ปาแย็ต ได้สะสมจำนวนเท่ากัน, แต่ลงเล่นมากกว่า 50 นาทีซึ่งมากกว่า ฌีรู.

อ้างอิง

แก้
  1. "Renato Sanches named Young Player of the Tournament". UEFA.com. Union of European Football Associations. 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. New European champion Renato Sanches has been chosen above Kingsley Coman and Portugal team-mate Raphael Guerreiro for the SOCAR Young Player of the Tournament award. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "UEFA approves 24-team Euro from 2016". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 September 2008. สืบค้นเมื่อ 19 September 2015.