ตูลูซ (ฝรั่งเศส: Toulouse, ออกเสียง: [tuluz] ( ฟังเสียง)) หรือ ตูลูซอ (อุตซิตา: Tolosa, ออกเสียง: [tuˈluzɔ]) เป็นเทศบาลในจังหวัดโอต-การอน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลักของแคว้นอ็อกซีตานีซึ่งติดกับประเทศสเปน แต่มีพรมแดนธรรมชาติคือเทือกเขาพิรินีคั่นไว้ ตูลูซเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรอยู่ราว 1,300,000 คน[5] เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินของโลก โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และโรงงานของแอร์บัส นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของอินเทลภาคพื้นยุโรปตลอดจนหน่วยงานด้านอวกาศของฝรั่งเศส

ตูลูซ
ธงของตูลูซ
ธง
ตราราชการของตูลูซ
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
Per Tolosa totjorn mai
ประเทศฝรั่งเศส
แคว้นอ็อกซีตานี
จังหวัดโอต-การอน
เขตแห่ง
อำเภอ(11 อำเภอ) ตูลูซ-1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 และ 11
สหเทศบาลมหานครตูลูซ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–2026) Jean-Luc Moudenc (LR)
พื้นที่1118.3 ตร.กม. (45.7 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง (2020[1])957.5 ตร.กม. (369.7 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล (2020[2])6,520.2 ตร.กม. (2,517.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (มกราคม ค.ศ. 2018)2
486,828 คน
 • อันดับอันดับที่ 4 ในประเทศฝรั่งเศส
 • ความหนาแน่น4,100 คน/ตร.กม. (11,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง (Jan. 2019[3])1,035,280 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง1,100 คน/ตร.กม. (2,800 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล (Jan. 2019[4])1,454,158 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล220 คน/ตร.กม. (580 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์31555 /
เว็บไซต์www.toulouse.fr
1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ 2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของตูลูซ (TLS) ความสูง: 151 เมตร (495 ฟุต), ปกติ ค.ศ. 1991–2020, สูงสุด ค.ศ. 1947–ปัจจุบัน
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 21.2
(70.2)
24.1
(75.4)
27.1
(80.8)
30.0
(86)
34.4
(93.9)
40.2
(104.4)
40.2
(104.4)
40.7
(105.3)
35.3
(95.5)
31.8
(89.2)
24.3
(75.7)
21.1
(70)
40.7
(105.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.7
(49.5)
11.2
(52.2)
15.0
(59)
17.6
(63.7)
21.4
(70.5)
25.7
(78.3)
28.2
(82.8)
28.5
(83.3)
24.8
(76.6)
19.7
(67.5)
13.5
(56.3)
10.4
(50.7)
18.8
(65.8)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 6.3
(43.3)
7.1
(44.8)
10.3
(50.5)
12.7
(54.9)
16.4
(61.5)
20.3
(68.5)
22.6
(72.7)
22.8
(73)
19.3
(66.7)
15.3
(59.5)
9.9
(49.8)
7.0
(44.6)
14.2
(57.6)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.9
(37.2)
3.1
(37.6)
5.5
(41.9)
7.9
(46.2)
11.4
(52.5)
15.0
(59)
17.0
(62.6)
17.1
(62.8)
13.9
(57)
10.9
(51.6)
6.3
(43.3)
3.6
(38.5)
9.6
(49.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -18.6
(-1.5)
-19.2
(-2.6)
-8.4
(16.9)
-3.0
(26.6)
-0.8
(30.6)
4.0
(39.2)
7.6
(45.7)
5.5
(41.9)
1.9
(35.4)
-3.0
(26.6)
-7.5
(18.5)
-12.0
(10.4)
−19.2
(−2.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 52.5
(2.067)
37.2
(1.465)
45.3
(1.783)
65.2
(2.567)
73.6
(2.898)
64.2
(2.528)
40.1
(1.579)
44.6
(1.756)
45.7
(1.799)
54.3
(2.138)
55.0
(2.165)
49.3
(1.941)
627.0
(24.685)
ความชื้นร้อยละ 87 82 77 76 76 72 68 71 74 81 85 88 78.1
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 9.2 7.8 8.2 9.3 9.9 7.1 5.7 5.9 6.6 7.5 10.0 8.7 95.8
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 1.8 2.0 0.5 0.3 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.5 1.2 6.1
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 89.1 118.2 175.3 188.5 212.3 231.8 258.6 246.4 210.1 155.2 99.9 89.7 2,075.1
แหล่งที่มา 1: Meteo France[6]
แหล่งที่มา 2: Infoclimat.fr (relative humidity 1961–1990)[7]

อุตสาหกรรม

แก้

ตูลูซ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองสำคัญแห่งอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานแอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินโดยสารรายใหญ่ระดับโลกของฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็น "บ้านของแอร์บัส" เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของพนักงานแอร์บัสมากกว่า 25,000 คน และยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตคองคอร์ด เครื่องบินความเร็วสูง และยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถไฟเตเฌเว รถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงระดับโลก อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถาบันศึกษาอวกาศแห่งชาติตูลูซ ที่ได้ชื่อว่าเป็น "นาซ่าแห่งยุโรป" ที่มีพนักงานทำงานกว่า 10,000 คน อีกด้วย[5]

การศึกษา

แก้

ตูลูซถือเป็นเมืองใหญ่อันดันสามทางด้านการศึกษาของฝรั่งเศส รองจากปารีสและลียง โดยตูลูซมีจำนวนนักเรียนและนักศึกษารวมกันถึง 110,000 คน ในปี ค.ศ. 2008 และ 122,000 คน ในปี ค.ศ. 2012[9] โดยตูลูซมีชื่อเสียงด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงและเทคโนโลยีมากมาย โดยเฉพาะโรงเรียนโปลีเทคนิคระดับสูงที่มีชื่อเสียงในศาสตร์เฉพาะด้าน คือ เกษตรศาสตร์, การไฟฟ้า, คอมพิวเตอร์, ธาราศาสตร์ และเคมีศาสตร์ เช่นเดียวกับที่มีสถานบันการศึกษาที่ถือว่าเป็นที่สุดยอดระดับโลกหลายด้านทั้ง วิศวรกรรมการบิน, พาณิชยกรรม, สัตวแพทยศาสตร์, สถาปัตยกรรม, กฎหมาย และศิลปะ[5]

การศึกษาระดับอุดมศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยตูลูซ (Université de Toulouse) ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1229 แต่ในปัจจุบันวลี Université de Toulouse เป็นเพียงชื่อของกลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ในตูลูซที่มีอำนาจในการจัดการตนเองอย่างเป็นอิสระเฉกเช่นมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วไป โดยมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวมีดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยตูลูซ 1 กาปีตอล (Université Toulouse 1 Capitole) เน้นเปิดสอนในสาขากฎหมาย เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจ
  2. มหาวิทยาลัยตูลูซ - ฌ็อง โฌแร็ส (Université Toulouse - Jean Jaurès) ชื่อเดิมคือมหาวิทยาลัยตูลูซที่ 2 - เลอมีราย (Université de Toulouse II - Le Mirail) เน้นเปิดสอนด้านมนุษยศาสตร์ เช่น สาขาภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา เป็นต้น
  3. มหาวิทยาลัยตูลูซที่ 3 - ปอล ซาบาตีเย (Université Toulouse III - Paul Sabatier) เน้นเปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์และพยาบาล มหาวิทยาลัยตูลูซ 3 ตั้งชื่อตามศาสตราจารย์ปอล ซาบาตีเย ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี ค.ศ. 1912[10]
  4. สถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทาง (grandes écoles) ซึ่งเป็นระบบการศึกษาเฉพาะของฝรั่งเศสที่ขนานไปกับระบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางที่ตั้งอยู่ที่ตูลูซ ได้แก่

สถาปัตยกรรม

แก้

ถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมชั้นสูง แต่ตูลูซก็ยังเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด เนื่องจากทางเทศบาลเมืองได้ช่วยกันรักษารวมถึงอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโบราณอันเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองตั้งแต่ยุคอาณาจักรโรมันไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม ทำให้ที่นี่มีทั้งสถาปัตยกรรม, โบราณวัตถุ และโบราณสถานต่าง ๆ มากมาย

ในอดีตตูลูชเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรวิซิกอทในศตวรรษที่ 5 และเป็นเมืองหลวงของแคว้นล็องก์ด็อกในปลายยุคกลาง ในนครตูลูซเป็นที่ตั้งของมรดกโลกโดยยูเนสโกสองแห่งด้วยกันคือ กานาลดูว์มีดี และ มหาวิหารแซงเซร์นัน ตึกรามบ้านช่องในใจกลางเมืองของตูลูซมักก่อด้วยอิฐสีส้มแดง ดูแลคล้ายสีกลีบดอกกุหลาบ จึงทำให้เมืองนี้ได้ชื่อว่า "นครสีชมพู" (La Ville Rose)[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "Comparateur de territoire - Unité urbaine 2020 de Toulouse (00758)". INSEE. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
  2. "Comparateur de territoire - Aire d'attraction des villes 2020 de Toulouse (005)". INSEE. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
  3. INSEE. "Statistiques locales - Toulouse : Unité urbaine 2020 - Population municipale 2019". สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
  4. INSEE. "Statistiques locales - Toulouse : Aire d'attraction des villes 2020 - Population municipale 2019". สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 หน้า 20 กีฬา, ตูลูส... เมืองสีหวาน เกมสีเลือด?. "ตะลุยยูโร" โดย ทีมข่าวกีฬา. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,340: วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 แรม 14 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก
  6. "TOULOUSE–BLAGNAC (31)" (PDF). Fiche Climatologique: Statistiques 1991–2020 et records (ภาษาฝรั่งเศส). Meteo France. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
  7. "Normes et records 1961–1990: Toulouse-Blagnac (31) – altitude 151m" (ภาษาฝรั่งเศส). Infoclimat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 7 August 2019.
  8. "TOULOUSE–FRANCAZAL (31)" (PDF). Fiche Climatologique: Statistiques 1991–2020 et records (ภาษาฝรั่งเศส). Meteo France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 March 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
  9. ข้อมูลตามเว็บไซต์ของกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัยของฝรั่งเศส http://www.enseignementsup-recherche.gouv.fr/?feuilleCSS=chrome
  10. http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/laureates/1912/sabatier-bio.html

ข้อมูล

แก้
  • Le Stang, Anne (2006). Histoire de Toulouse illustrée (ภาษาฝรั่งเศส). leperegrinateurediteur.com. ISBN 2-910352-44-7.
  • Kerrison, Helen & Jeremy (2008). The Practical Guide to Toulouse. leperegrinateurediteur.com. ISBN 978-2-910352-46-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้