เลเรปูว์บลีแก็ง

พรรคการเมืองในประเทศฝรั่งเศส
(เปลี่ยนทางจาก The Republicans (France))

เลเรปูว์บลีแก็ง (ฝรั่งเศส: Les Républicains, LR) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวาในประเทศฝรั่งเศส โดยมีนีกอลา ซาร์กอซี อดีตประธานาธิบดีและผู้ก่อตั้งพรรค เป็นประธานพรรคคนแรก[b]

เลเรปูว์บลีแก็ง
Les Républicains
ผู้ก่อตั้งนีกอลา ซาร์กอซี
ประธานเอริก ซิออตติ
รองประธานบริหารฟร็องซัว-ซาเวียร์ เบลลามี
เลขาธิการอานนี่ แจ็นวาร์ด
ก่อตั้ง30 พฤษภาคม ค.ศ. 2015
(ก่อตั้ง)
11 กรกฎาคม ค.ศ. 2015
(การเปลี่ยนชื่อพรรคตามกฎหมาย)
ก่อนหน้าสหภาพเพื่อขบวนการประชาชน (ชื่อเดิม)
ที่ทำการ238, rue de Vaugirard
75015 Paris
สมาชิกภาพ  (ปี ค.ศ. 2022)91,105 คน (อ้างสิทธิ์)
อุดมการณ์อนุรักษนิยม
ลัทธินิยมโกล
จุดยืนขวา
กลุ่มระดับชาติสหภาพขวาและศูนย์กลาง
กลุ่มระดับสากลศูนย์กลางประชาธิปไตยนานาชาติ
สหภาพประชาธิปัตย์นานาชาติ
กลุ่มในรัฐสภายุโรปพรรคประชาชนยุโรป
สี   สีน้ำเงิน, สีแดง
สมัชชาแห่งชาติ
47 / 577
วุฒิสภา
121 / 348
รัฐสภายุโรป
6 / 79
ประธานสภาแผนก
39 / 98
ประธานสภาแคว้น
3 / 18
นายกเทศมนตรี[a]
92 / 279
เว็บไซต์
republicains.fr
การเมืองฝรั่งเศส
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

เป็นการเปลี่ยนชื่อของสหภาพเพื่อขบวนการประชาชน (ฝรั่งเศส: Union pour un mouvement populaire) ซึ้งก่อตั้งในปีค.ศ. 2002 และเป็นชื่อเดิมของพรรค จนกระทั่งปีค.ศ. 2015 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม มีการประชุมครั้งใหญ่ที่เป็นจุดกำเนิดของพรรค[1] แม้แต่เป็นแค่การเปลี่ยนชื่อตามกฎหมาย[2]

ประวัติการเลือกตั้ง

แก้

การเลือกตั้งประธานาธิบดี

แก้

ปีค.ศ. 2017

แก้

ในปีค.ศ. 2016 พรรคเลเรปูว์บลีแก็งได้จัดการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรกเพื่อเสนอชื่อผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีถัดไป (ค.ศ. 2017)[3] ซึ้งเป็นครั้งแรกที่พรรคขวาและพรรคกลางได้จัดการเลือกตั้งขั้นต้นแบบเปิด[4] ผลการเลือกตั้งนี้ได้ปรากฏว่าฟร็องซัว ฟียง อดีตนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีนีกอลา ซาร์กอซี ได้รับเลือกตั้งและเอาชนะอาแล็ง ฌูว์เป อดีตนายกรัฐมนตรีภายใต้สมัยที่หนึ่งของอดีตประธานาธิบดีฌัก ชีรัก[5][6][7] ในการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรก มีนีกอลา ซาร์กอซี ที่ลงเป็นผู้สมัครเช่นกัน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งเนื่องจากมาเพียงที่สาม[8] จากนั้น ฟียงก็ลงเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีทั่วไป แต่กลับไม่ได้รับเลือกตั้งเนื่องจากมาเพียงที่สาม[9] หลังผู้สมัครสองคนในการเลือกตั้งครั้งนั้นคือแอมานุแอล มาครง และมารีน เลอ แปน ฟียงก็เรียกร้องให้ลงคะแนนเสียงให้มาครงมากกว่าเลอ แปน[10]

ปีค.ศ. 2022

แก้

ในปีค.ศ. 2021 พรรคได้จัดขึ้นการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรกครั้งใหม่เพื่อเสนอชื่อผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีค.ศ. 2022 แต่ครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งภายในพรรคเท่านั้น[11] ปรากฏว่าวาเลรี เปแคร็ส ประธานสภาแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ได้รับเลือกตั้งและเอาชนะเอริก ซิออตติ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติจังหวัดอาลป์-มารีตีม เขตที่ 1[12] แต่ในการเลือกตั้งทั่วไป เปแคร็สกลับไม่ได้รับเลือกตั้งเนื่องจากมาเพียงที่ห้า[13] และเป็นเลือกตั้งครั้งแรกที่ได้รับคะแนนที่น้อยมาก[14] นับตั้งแต่พรรคในชื่อเดิมลงสมัครการเลือกตั้งประธานาธิบดี

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ

แก้

ปีค.ศ. 2017

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของปีค.ศ. 2017 ด้วยมีฟร็องซัว บาโรวง เป็นผู้นำเลือกตั้ง พรรคเลเรปูว์บลีแก็งได้ชนะแค่ 112 ที่นั่ง[15] ซึ่งน้อยกว่าได้รับในปีค.ศ. 2012 ด้วยชื่อพรรคเดิม (82 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งนั้น) แต่ปรากฏว่าเป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก เนื่องจากพรรคสังคมนิยมและพรรคที่ร่วมในพันธมิตรนั้นได้ชนะแค่ 45 ที่นั่งเอง เสียงข้างมากซึ่งพรรคสังคมนิยมเคยมีในสภานิติบัญญัติในชุดที่ผ่านมา (ชุดที่ 14) ส่วนใหญ่ได้ชนะโดยพรรคลาเรปูว์บลีก็องมาร์ช พรรคที่สนับสนุนเสียงข้างมากของประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง

ปีค.ศ. 2022

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติครั้งปีค.ศ. 2022 ด้วยมีคริสตียอง จาก็อบ ประธานพรรคเลเรปูว์บลีแก็งในขณะนั้น เป็นผู้นำเลือกตั้ง พรรคได้ชนะแค่ 61 ที่นั่ง[16] ซึ่งลดลง 51 ที่นั่งที่ได้ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา

ผลการเลือกตั้ง

แก้
การเลือกตั้ง ผู้สมัครเลือกตั้ง คะแนนรอบที่ 1 คะแนนรอบที่ 2
คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2017[9] ฟร็องซัว ฟียง 7,212,995 20.01% ไม่ผ่านรอบที่ 2
2022[13] วาเลรี เปแคร็ส 1,679,001 4.78% ไม่ผ่านรอบที่ 2

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ

แก้
การเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง คะแนนรอบที่ 1 คะแนนรอบที่ 2 จำนวนที่นั่ง ผลการเลือกตั้ง
คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง
2017[15] ฟร็องซัว บาโรวง 3,573,427 15.77% 4,040,203 22.23%
112 / 577
ฝ่ายค้าน
2022[16] คริสตียอง จาก็อบ 2,385,814 10.49% 1,478,589 7.13%
61 / 577
ฝ่ายค้าน
2024 2,106,166 6.57% 1,474,722 5.41%
39 / 577
พรรคร่วมรัฐบาล

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา

แก้
การเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง ผลการเลือกตั้ง
2017 บรูโน่ เรอไตล์โยล์
146 / 348
เสียงข้างมาก
2020
148 / 348
เสียงข้างมาก
2023
139 / 348
เสียงข้างมาก

การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรป

แก้
การเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง จำนวนที่นั่ง
2019 ฟร็องซัว-ซาเวียร์ เบลลามี 1,920,407 8.48%
7 / 74

การเลือกตั้งระดับเทศบาล

แก้
การเลือกตั้ง คะแนนรอบที่ 1 คะแนนรอบที่ 2 จำนวนที่นั่งสภาเทศบาล จำนวนนายกเทศมนตรี[c]
คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง
2020 725,454 4.59% 330,615 5.35%
5,173 / 22,618
14 / 42

เชิงอรรถ

แก้
  1. เมืองที่มีประชากรมากกว่า 30,000 คน
  2. ตำแหน่งนี้เทียบเทียมกับตำแหน่งหัวหน้าพรรคก็ว่าได้
  3. เมืองที่มีประชากรมากกว่า 100,000 คน

อ้างอิง

แก้
  1. "Sarkozy met les Républicains en ordre de bataille pour 2017". Le Monde.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2015-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-03-06.
  2. "Annonce JOAFE n°1317 de la parution n°20150028 du 11 juillet 2015". Journal-officiel.gouv.fr. 2015-07-11. สืบค้นเมื่อ 2024-03-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Présidentielle : la primaire UMP se tiendra les 20 et 27 novembre 2016". Le Figaro (ภาษาฝรั่งเศส). 2015-04-02.
  4. Vinocur, Nicholas (2016-01-11). "Big fight for the French Right". POLITICO (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "PROCLAMATION DES RESULTATS DU 1ER TOUR, ARRETANT LA LISTE DES DEUX CANDIDATS HABILITES A SE PRESENTER POUR LE 2ND TOUR" (PDF). primaire2016.org (ภาษาฝรั่งเศส). 2016-11-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-11-24. สืบค้นเมื่อ 2024-03-06. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 58 (help)
  6. "PROCLAMATION DES RESULTATS DU 2ND TOUR DE LA PRIMAIRE DE LA DROITE ET DU CENTRE" (PDF). primaire2016.org (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2024-03-06.
  7. "อดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ฟร็องซัว ฟียง ชนะการเลือกตั้งเบื้องต้นรอบที่ 2". สถานีวิทยุเวียดนาม. 2016-11-28. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "France Sarkozy: Ex-president exits after defeat". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-11-20. สืบค้นเมื่อ 2024-03-06.
  9. 9.0 9.1 "Election présidentielle 2017 : résultats globaux du premier tour". interieur.gouv.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "Fillon, Mélenchon, Hamon, Poutou... Quelle est la consigne de vote des neuf éliminés en vue du second tour ?". Franceinfo (ภาษาฝรั่งเศส). 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. de Boissieu, Laurent (2021-09-25). "Les Républicains enterrent la primaire ouverte". La Croix (ภาษาฝรั่งเศส). ISSN 0242-6056. สืบค้นเมื่อ 2024-03-06.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Willsher, Kim (2021-12-04). "'The right is back': Gaullists pick female candidate Valérie Pécresse to take on Macron". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). The Guardian. ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2024-03-06.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 "*Rappel des Résultats au 1er tour". www.archives-resultats-elections.interieur.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "'มาครง-เลอเปน' คว้าชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรก". 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 "Résultats France Entière Législatives 2017". archives-resultats-elections.interieur.gouv.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 "Résultats France Entière". archives-resultats-elections.interieur.gouv.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)