วุฒิสภาฝรั่งเศส

48°50′54″N 2°20′14.2″E / 48.84833°N 2.337278°E / 48.84833; 2.337278

วุฒิสภาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

Sénat français
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาฝรั่งเศส
ผู้บริหาร
ประธาน
ฌ็อง-ปีแยร์ แบล (Jean-Pierre Bel), จากพรรคสังคมนิยม (Parti socialist)
โครงสร้าง
สมาชิก348 (ก.ย. 2554)
กลุ่มการเมือง
การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งทางอ้อม
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
27 กันยายน 2563
ที่ประชุม
พระราชวังลุกซ็องบูร์ กรุงปารีส
เว็บไซต์
Senat.fr

วุฒิสภาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Sénat français) เป็นสภาสูงในรัฐสภาฝรั่งเศส มีประธานวุฒิสภา (président) เป็นผู้ดำเนินการประชุม

วุฒสิภามีความสำคัญน้อยกว่าสภาผู้แทนราษฎร เช่นเดียวกับการอภิปรายในวุฒิสภาที่มีความตึงเครียดน้อยกว่า ฉะนั้น วุฒิสภาจึงได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนน้อย

องค์ประกอบและการเลือกตั้ง

แก้

ก่อนเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 สมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 321 คน โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 9 ปี ซึ่งต่อมาได้ถูกปรับลดเหลือเพียง 6 ปี ในขณะที่จำนวนสมาชิกวุฒิสภาได้เพิ่มขึ้นทีละเล็กน้อยจนถึง 348 คนในปีค.ศ. 2011 เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร[1] ในอดีตการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจะมีขึ้นทุก ๆ 3 ปีโดยเลือกตั้งทีละหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดในทุก ๆ 3 ปี[2]

การได้มาของสมาชิกวุฒิสภาจะผ่านการเลือกตั้งทางอ้อม โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ฝรั่งเศส: grands électeurs จำนวนประมาณ 150,000 คน ซึ่งเป็นข้าราชการจากหน่วยงานปกครองต่าง ๆ ได้แก่ สมาชิกสภาภาค, สมาชิกสภาจังหวัด นายกเทศมนตรี สมาชิกเทศบาลในเมืองขนาดใหญ่ รวมทั้งสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม 90% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้แทนที่เลือกโดยสมาชิกสภาที่ปรึกษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นการทำให้วุฒิสภานั้นมักจะออกเสียงเข้าข้างบริเวณที่ห่างไกลความเจริญ

ในขณะที่พรรคการเมืองที่มีเสียงนำในสภาผู้แทนราษฎรมักจะเปลี่ยนพรรคได้อยู่เสมอ แต่วุฒิสภามักจะไม่ค่อยพบการเปลี่ยนแปลงมากนักนับตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ซึ่งมักจะนำโดยสมาชิกพรรคสังคมนิยม[3] จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งล่าสุดในปีค.ศ. 2009[4] ถึงแม้ว่าพรรคฝ่ายซ้ายอย่างพรรคสังคมนิยมซึ่งเคยเป็นเสียงข้างมากมาตลอดจากการชนะการเลือกตั้งของภาคต่าง ๆ ในฝรั่งเศส (ยกเว้นเพียงสองภาค) รวมทั้งเมืองใหญ่และเล็กส่วนใหญ่ซึ่งถือเป็นเสียงมากกว่า 50% ของประชากรทั้งหมด ยังไม่สามารถได้เสียงข้างมากในครั้งนี้ นอกจากนี้วุฒิสภายังถูกครหาว่าเป็นสถานที่ลี้ภัยของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสอบตกจากการเลือกตั้งทั่วไป

ชาวฝรั่งเศสที่พักอาศัยอยู่นอกประเทศหรือเขตการปกครองของประเทศฝรั่งเศสมีผู้แทนในวุฒิสภาจำนวน 12 คน[5]

ที่นั่งในสภาถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่การประชุมสภาครั้งแรกในสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งสมาชิกพรรคฝ่ายซ้ายจะนั่งทางซีกซ้ายของประธานวุฒิสภา และสมาชิกพรรคฝ่ายขวาจะนั่งอยู่ทางซีกขวา

ประธานวุฒิสภา

แก้

ตำแหน่งประธานวุฒิสภานั้นมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกวุฒิสภา โดยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 แล้ว ตามตำแหน่งประธานวุฒิสภา จะเป็นบุคคลถัดมาในการสืบตำแหน่ง "รักษาการประธานาธิบดี" ในกรณีที่ประธานาธิบดีในขณะนั้นถึงแห่อสัญกรรม ลาออก หรือถูกถอดถอนจากตำแหน่ง (เฉพาะกรณีปัญหาสุขภาพ) จนกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่เสร็จสิ้นลง โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วสองครั้งกับ อาแล็ง ปอแอร์ (Alain Poher) หลังจากการลาออกของประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล (Charles de Gaulle) และอีกครั้งหนึ่งภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีฌอร์ฌ ปงปีดู (Georges Pompidou)

ประธานวุฒิสภาคนปัจจุบัน ได้แก่ ฌ็อง-ปีแยร์ แบล (Jean-Pierre Bel)

อำนาจตามรัฐธรรมนูญ

แก้

ภายใต้รัฐธรรมนูญ วุฒิสภานั้นเกือบจะมีอำนาจใกล้เคียงกับสภาผู้แทนราษฎร กระบวนการร่างกฎหมาย เริ่มต้นจากพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรี (เรียกว่า projets de loi) หรือโดยสมาชิกรัฐสภา (เรียกว่า propositions de loi) เพื่อตรากฎหมาย การร่างกฎหมายก็ต้องผ่านการพิจารณาจากทั้งสองสภาเพื่อให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเดียวกัน หากทั้ง 2 สภามีความเห็นตรงกันก็ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา โดยขั้นตอนนี้จะกินเวลานานกว่าทั้งสองสภาจะบรรลุข้อยุติในร่างกฎหมายนั้น ๆ แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 สภามีความเห็นไม่ตรงกัน ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็จะถูกส่งกลับไปกลับมาระหว่าง 2 สภา (navette) ซึ่งนายกรัฐมนตรีสามารถขอให้มีการตั้ง "คณะกรรมาธิการ" (commission mixte paritaire) ประกอบด้วยสมาชิกได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วม ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 7 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่หากคณะกรรมาธิการร่วมกันไม่สามารถตกลงกันได้อีก ร่างกฎหมายนั้นจะถูกส่งไปให้ทั้งสองสภาพิจารณาอีกครั้ง และหลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นส่วนข้างมากฝั่งรัฐบาล ซึ่งกรณีนั้นไม่เกิดขึ้นบ่อย โดยปกติแล้วทั้งสองสภานั้นจะสามารถหาข้อยุติได้ในที่สุด หรือมิฉะนั้นคณะรัฐมนตรีก็จะถอดเรื่องออกจากการพิจารณา

อย่างไรก็ตาม อำนาจในการตรากฎหมายนั้นจึงเสมือนตกอยู่ในมือของสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคณะรัฐมนตรีนั้นมาจากพรรคเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังสามารถเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี (motion de censure) ได้ แต่อำนาจที่จะผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจนั้นค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะในกรณีรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 นั้น คณะรัฐมนตรีที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งนั้นถูกสงวนสิทธิ์การถูกลงมติไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาจะสามารถยื่นมติไม่ไว้วางใจได้ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกอย่างน้อยจำนวนร้อยละสิบของสมาชิกทั้งหมดลงชื่อร่วมกัน หากการลงมติไม่ไว้วางใจครั้งนั้นไม่ผ่านการรับรองจากเสียงส่วนใหญ่แล้ว สมาชิกที่ร่วมลงชื่อนั้นจะไม่สามารถยื่นมติไม่ไว้วางใจได้อีกจนกระทั่งปิดสมัยประชุม หากการลงมตินั้นได้รับการสนับสนุน การจะลงมติไม่ไว้วางใจผ่านได้นั้นต้องได้เสียงส่วนใหญ่เกินกึ่งหนึ่งของสภา มิใช่เพียงเสียงข้างมากดั่งกรณีการออกเสียงรับรองทั่วไป โดยทั่วไปแล้วหากสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภานั้นมีเสียงส่วนมากคนละพรรคกัน สภาผู้แทนราษฎรมักจะมีอำนาจเหนือกว่า และการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างสองสภานั้นยังไม่เคยพบมาก่อนในรัฐสภาฝรั่งเศส

วุฒิสภายังมีหน้าท่สอดส่องดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีโดยจัดพิมพ์เป็นรายงานต่าง ๆ ประจำในแต่ละปี

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "The French Senate". Senat.fr (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Les groupes politiques". Senat.fr. 13 January 2011. สืบค้นเมื่อ 21 April 2011.
  3. Gilles Le Béguec. Les socialistes et le Sénat. Parlement[s], Revue d'histoire politique. n° 6 2006/2. pp. 57–72. L'Harmattan. ISBN 978-2-200-92116-3. ISSN 1768-6520. doi:10.3917/parl.006.0057.
  4. "Sénat, le triomphe de l'anomalie – Libération". Libération. France. 25 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-28. สืบค้นเมื่อ 21 April 2011.
  5. Sénat français. "Sénateurs représentant les Français établis hors de France – Sénat". Senat.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-05. สืบค้นเมื่อ 21 April 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้