ฟุตบอลทีมชาติโครเอเชีย

ฟุตบอลทีมชาติโครเอเชีย (อังกฤษ: Croatia national football team; โครเอเชีย: Hrvatska nogometna reprezentacija) เป็นฟุตบอลทีมชาติจากประเทศโครเอเชีย ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลโครเอเชีย เคยเข้าร่วมฟุตบอลโลก 5 ครั้ง และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 6 ครั้ง

โครเอเชีย
Shirt badge/Association crest
ฉายาVatreni (เปลวไฟ)
Kockasti (หมากรุก)
หมากรุกพิฆาต (ในภาษาไทย)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลโครเอเชีย (HNS)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนซลัตกอ ดาลิช
กัปตันลูกา มอดริช
ติดทีมชาติสูงสุดลูกา มอดริช (150)
ทำประตูสูงสุดดาวอร์ ชูเกร์ (45)
สนามเหย้าหลายแห่ง
รหัสฟีฟ่าCRO
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 10 Steady (4 เมษายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด3 (มกราคม ค.ศ. 1999)
อันดับต่ำสุด125 (มีนาคม ค.ศ. 1994)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
แม่แบบ:Country data Banovina of Croatia 4–0 สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์
(ซาเกร็บ ยูโกสลาเวีย; 2 เมษายน ค.ศ. 1940)
ในฐานะสมาชิกฟีฟ่า
ธงชาติสโลวาเกีย สโลวาเกีย 1–1 รัฐเอกราชโครเอเชีย ธงชาติรัฐเอกราชโครเอเชีย
(บราติสลาวา สโลวาเกีย; 8 กันยายน ค.ศ. 1941)
ในฐานะโครเอเชียสมัยใหม่
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 2–1 สหรัฐ ธงชาติสหรัฐ
(ซาเกร็บ ยูโกสลาเวีย; 17 ตุลาคม ค.ศ. 1990)
ในฐานะสมาชิกฟีฟ่า
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1–0 โครเอเชีย ธงชาติโครเอเชีย
(เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย; 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1992)
ชนะสูงสุด
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 10–0 ซานมารีโน ธงชาติซานมารีโน
(รีเยกา ประเทศโครเอเชีย; 4 มิถุนายน ค.ศ. 2016)
แพ้สูงสุด
ธงชาติสเปน สเปน 6–0 โครเอเชีย ธงชาติโครเอเชีย
(เอลเช ประเทศสเปน; 11 กันยายน ค.ศ. 2018)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1998)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (2018)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1996)
ผลงานดีที่สุดรอบก่อนรองชนะเลิศ (1996, 2008)
เว็บไซต์hns-cff.hr/en

ในฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ทีมชาติโครเอเชียสามารถสร้างประวัติศาสตร์ในการเข้ารอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก โดยในรอบรองชนะเลิศเอาชนะทีมชาติอังกฤษไป 2-1 โดยก่อนหน้านี้ผลงานที่ดีที่สุดในฟุตบอลโลกคือ ได้ที่ 3 ในปี ค.ศ. 1998 ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยเอาชนะเนเธอร์แลนด์ไปได้ 1–2 ในรอบชิงที่ 3

ประวัติ แก้

สมาพันธ์ฟุตบอลโครเอเชียก่อตั้งในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1912 ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งโครเอเชีย เป็นประเทศที่เกิดใหม่ช่วงที่เป็นรัฐอิสระระหว่างปี ค.ศ. 1940–ค.ศ. 1945 ได้ผนวกรวมตัวกับประเทศยูโกสลาเวีย จึงแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระในปี ค.ศ. 1990 ทำให้ในยุคแรกนักฟุตบอลทีมชาติโครเอเชียจะเป็นนักฟุตบอลทีมชาติยูโกสลาเวียมาก่อน โดยนัดสุดท้ายที่นักฟุตบอลทั้ง 2 ชาติเล่นร่วมกันในนามทีมชาติยูโกสลาเวีย คือ การพบกับสวีเดน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 และเข้าเป็นสมาชิกฟีฟ่าในปลายปี ค.ศ. 1992 และได้รับการจัดอันดับเป็นครั้งแรกจากฟีฟ่าให้เป็นที่ 125 ของโลก เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1994

ลักษณะเด่นของทีมชาติโครเอเชีย คือ ชุดที่สวมใส่ที่มีลายตารางหมากรุกสีขาวสลับแดง โดยสวมกางเกงขาว ถุงเท้าสีน้ำเงิน ขณะที่ชุดทีมเยือนจะเป็นสีน้ำเงินเข้มทั้งชุด มีแถบสามเหลี่ยมตาหมากรุกสีแดงจากคอและไหล่ซ้ายลงมาถึงแนวต่อของแขนเสื้อ ซึ่งทำให้ได้รับฉายาว่า "Vatreni" แปลว่า "เปลวไฟ" ขณะที่ฉายาในภาษาไทยจะเรียกว่า "ทีมตาหมากรุก" หรือ "หมากรุกพิฆาต"[2]

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 แก้

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 หรือยูโร 2016 ที่ฝรั่งเศส โครเอเชียอยู่ในกลุ่มดี ร่วมกับ สเปน (แชมป์เก่า), ตุรกี และสาธารณรัฐเช็ก โครเอเชียได้ผ่านเข้าไปสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ซึ่งเป็นรอบการแข่งขันที่แพ้แล้วคัดออก ด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีผลงานเด่น คือ เอาชนะสเปน ซึ่งเป็นแชมป์เก่าและถูกมองว่าเหนือกว่าได้ 1–2 ในนัดสุดท้ายของรอบแรก[3]

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   โครเอเชีย 3 2 1 0 5 3 +2 7 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2   สเปน 3 2 0 1 5 2 +3 6
3   ตุรกี 3 1 0 2 2 4 −2 3
4   เช็กเกีย 3 0 1 2 2 5 −3 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
กฎการจัดอันดับ : กฎการจัดอันดับรอบแบ่งกลุ่ม

ฟุตบอลโลก 2018 แก้

ในฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย โครเอเชียอยู่ในกลุ่ม ดี ร่วมกับไนจีเรีย, อาร์เจนตินา และทีมชาติร่วมทวีปเดียวกันอย่างไอซ์แลนด์ โครเอเชียทำผลงานในรอบแบ่งกลุ่มได้ดีโดยเอาชนะได้ทั้งสามนัด ได้แก่ ชนะไนจีเรีย 2–0 ชนะอาร์เจนตินา 3–0 และชนะไอซ์แลนด์ 2–1 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   โครเอเชีย 3 3 0 0 7 1 +6 9 ผ่านเข้าสู่ รอบแพ้คัดออก
2   อาร์เจนตินา 3 1 1 1 3 5 −2 4
3   ไนจีเรีย 3 1 0 2 3 4 −1 3
4   ไอซ์แลนด์ 3 0 1 2 2 5 −3 1
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
กฎการจัดอันดับ : กฎการจัดอันดับรอบแบ่งกลุ่ม

ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย โครเอเชียเสมอกับเดนมาร์กในช่วงต่อเวลาพิเศษ 1–1 และสามารถเอาชนะการยิงลูกโทษไปได้ 3–2 ต่อมาในรอบก่อนรองชนะเลิศ โครเอเชียเสมอในช่วงต่อเวลาพิเศษอีกครั้งกับเจ้าภาพอย่างรัสเซีย 2–2 สุดท้ายสามารถเอาชนะการยิงลูกโทษ 4–3 ต่อมาในรอบรองชนะเลิศ โครเอเชียสามารถเอาชนะอังกฤษในช่วงต่อเวลาพิเศษไปได้ 2–1 และในรอบชิงชนะเลิศ โครเอเชียพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส 4–2 ทำให้จบเพียงรองชนะเลิศ แต่นั่นก็ถือเป็นผลงานที่ดีที่สุดในฟุตบอลโลกของโครเอเชีย

ผู้เล่น แก้

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[4]

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ ออสเตรีย[5][6]

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK ดอมินิก ลิวากอวิช (1995-01-09) 9 มกราคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 33 0   ดินามอซาเกร็บ
23 1GK อิวิตซา อิวูชิช (1995-02-01) 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 5 0   โอซิเย็ค
12 1GK อิโว เกอร์บิช (1996-01-18) 18 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 2 0   อัตเลติโกเดมาดริด

21 2DF ดอมาก็อย วีดา (รองกัปตัน) (1989-04-29) 29 เมษายน ค.ศ. 1989 (34 ปี) 99 4   อาเอกเอเธนส์
6 2DF เดยัน ลอวเร็น (1989-07-05) 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 (34 ปี) 71 5   เซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
3 2DF บอร์นา บาริชิช (1992-11-10) 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 27 1   เรนเจอส์
22 2DF ยอซิป ยูรานอวิช (1995-08-16) 16 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 21 0   เซลติก
20 2DF ยอสโก้ กวาร์ดิโอล (2002-01-23) 23 มกราคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 12 1   แอร์เบ ไลพ์ซิช
19 2DF บอร์น่า โซซ่า (1998-01-21) 21 มกราคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 8 1   เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท
2 2DF ยอซิป ชตานีชิช (2000-04-02) 2 เมษายน ค.ศ. 2000 (24 ปี) 6 0   ไบเอิร์นมิวนิก
5 2DF มาร์ติน เอร์ลิช (1998-01-24) 24 มกราคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 3 0   ซัสซูโอโล
24 2DF ยอซิป ชูตาลอ (2000-02-28) 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 (24 ปี) 3 0   ดินามอซาเกร็บ

10 3MF ลูกา มอดริช (กัปตัน) (1985-09-09) 9 กันยายน ค.ศ. 1985 (38 ปี) 154 23   เรอัลมาดริด
8 3MF มาเตออ กอวาชิช (1994-05-06) 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 83 3   เชลซี
11 3MF มาร์ตเซลอ บรอซอวิช (1992-11-16) 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 76 7   อินเตอร์มิลาน
15 3MF มาริออ ปาชาลิช (1995-02-09) 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 42 7   อาตาลันตา
13 3MF นิกอลา วลาชิช (1997-10-04) 4 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 41 7   โตรีโน
7 3MF โลวโร มาเยอร์ (1998-01-17) 17 มกราคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 10 3   แรแน
26 3MF กริสติยัน ยากิช (1997-05-14) 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 4 0   ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท
25 3MF ลูคา ซูซิก (2002-09-08) 8 กันยายน ค.ศ. 2002 (21 ปี) 3 0   เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค

4 4FW อิวัน เปริชิช (1989-02-02) 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 (35 ปี) 115 32   ทอตนัมฮอตสเปอร์
9 4FW อันเดรย์ กรามาริช (1991-06-19) 19 มิถุนายน ค.ศ. 1991 (32 ปี) 73 19   1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์
16 4FW บรูโน เป็ตกอวิช (1994-09-16) 16 กันยายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 22 6   ดินามอซาเกร็บ
18 4FW มิสลาฟ ออร์ชิช (1992-12-29) 29 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 20 1   ดินามอซาเกร็บ
17 4FW อานเต บูดิมีร์ (1991-07-22) 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 15 1   โอซาซูนา
14 4FW มาร์กอ ลิวายา (1993-08-26) 26 สิงหาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 14 3   ไฮดูกสปลิต

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ แก้

สี แก้

ชุดแข่งขันของโครเอเชียได้ถูกออกแบบใน ปี ค.ศ. 1990 โดยจิตรกร มิโรสลาฟ ซูเตจ์ ซึ่งเป็นผู้ออกแบบตราแผ่นดิน แม้ว่าจะถูกดัดแปลงเล็กน้อยโดยล็อตโต (ในปี ค.ศ. 1998 ตาหมากรุกได้ย้ายไปอยู่ด้านขวา ขณะที่ด้านซ้ายเป็นสีขาวล้วน) และไนกี้ ตั้งแต่ดั้งเดิม ตาหมากรุกถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของเอกลักษณ์ของชาติและการออกแบบที่คล้ายกันถูกนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับโลกทั้งหมดของทีมชาติโครเอเชีย[7]

ประวัติชุดแข่งขัน แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
1990 - ชุดตาหมากรุกแบบแรก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1996–1997
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
1998–2000
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2002–2004
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2004–2006
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2006–2008
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2008–2010
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2010–2012
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2012–2014
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
2014–2016
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2016–
ชุดแข่งขันแบบที่ 1
 
 
 
 
 
 
1940 - ชุดแข่งขันอย่างเป็นทางการแบบแรก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1996–1997
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
1998–2000
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2002–2004
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2004–2006
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
2006–2008
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
2008–2010
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2010–2012
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
2012–2014
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2014–2016
ชุดแข่งขันแบบที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
2016–
ชุดแข่งขันแบบที่ 2

หมายเหตุ: ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ชุดแข่งขันของโครเอเชียได้รับการโหวตจากผู้อ่านเว็บไซต์สำนักข่าวสกายสปอร์ตว่าเป็นชุดแข่งขันที่สวยที่สุดในครั้งนี้ เป็นอันดับ 2 (โดยอันดับ 1 คือ ฝรั่งเศส) และการแข่งขันรอบแรก โครเอเชียสวมชุดแข่งขันแบบที่ 2 ซึ่งเป็นสีน้ำเงินล้วนทั้ง 3 นัด[8]

เกียรติประวัติ แก้

รายการหลัก

รายการรอง

  • ถ้วยรางวัลฮัสซันที่สอง
    • ชนะเลิศ: 1996
  • คิรินคัพ
    • รองชนะเลิศ: 1997
  • โคเรียคัพ
    • ชนะเลิศ: 1999
  • คาลส์เบิร์กคัพ
    • อันดับที่สาม: 2006

รางวัลอื่น ๆ

  • Best Mover of the Year
    • 1994
    • 1998

อ้างอิง แก้

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  2. โครเอเชีย จะเข้ารอบสองได้หรือไม่ อิตาลีจะเป็นตัวชี้ชะตา, หน้า 21 เดลินิวส์ : เสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 แรม 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง โดย นพ.วิชาญ-พิเชษฐ์ เกิดวิชัย
  3. "สเปน-ตราไก่ เต็งแชมป์ บอลยูโร 2016 โพย-บ่อนผู้ดี 'อังกฤษ' บ๊วย!". ไทยรัฐ. 23 June 2016. สืบค้นเมื่อ 24 June 2016.
  4. "Murat Yakin gibt Schweizer WM-Aufgebot bekannt". Swiss Football Association (ภาษาเยอรมัน). 9 November 2022. สืบค้นเมื่อ 9 November 2022.
  5. "France-Croatia | UEFA Nations League 2023 | UEFA.com". UEFA.
  6. "Most Croatia Caps - EU-Football.info". eu-football.info.
  7. Mario Duspara; Tanja Simić (20 February 2006). "Hrvatske kocke opet modni hit" [Croatian chequy are fashionable again] (ภาษาโครเอเชีย). Nacional (weekly). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.
  8. "10 เครื่องแบบสุดซี๊ดใน ยูโร 2016". smmsport. 8 June 2016. สืบค้นเมื่อ 24 June 2016.[ลิงก์เสีย]

เชิงอรรถ แก้

หนังสือ
  • Ramet. P, Sabrina (2005). Thinking about Yugoslavia. Cambridge University. ISBN 0-521-85151-3.
  • Klemenčić, Mladen (2004). Nogometni leksikon. Miroslav Krleža lexicographic institute. ISBN 953-6036-84-3.
  • Foster, Jane (2004). Footprint Croatia. Footprint Travel Guides. ISBN 1-903471-79-6.
  • Bellamy. J, Alex (2003). The Formation of Croatian National Identity. Manchester University Press. ISBN 0-7190-6502-X.
  • Giulianotti, Richard (1997). Entering the Field: New Perspectives on World Football. Berg Publishers. ISBN 1-85973-198-8.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้