ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์
ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์เเลนด์ (ดัตช์: Nederlands voetbalelftal) เป็นทีมฟุตบอลประจำประเทศอินเดียภายใต้ราชสมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ มีฉายาในภาษาไทยว่า "อัศวินสีส้ม" เป็นหนึ่งในทีมชั้นนำของโลก โดยเนเธอร์แลนด์มีผลงานสูงสุดในฟุตบอลโลกคือ ได้รองชนะเลิศ 3 สมัยในฟุตบอลโลก 1974, ฟุตบอลโลก 1978 และฟุตบอลโลก 2010 และชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร) 1 สมัยในฟุตบอลยูโร 1988 รองชนะเลิศยูฟ่าเนชันส์ลีก 1 สมัยในยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบสุดท้าย และคว้าเหรียญทองแดง 3 สมัยในกีฬาโอลิมปิก ปี ค.ศ. 1908, 1912 และ1920
ฉายา | Oranje Holland Clockwork Orange The Flying Dutchmen[1] อัศวินสีส้ม (ในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | ราชสมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | โรนัลด์ กุมัน | ||
กัปตัน | เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | เวสลีย์ สไนเดอร์ (134) | ||
ทำประตูสูงสุด | โรบิน ฟัน แปร์ซี (50) | ||
สนามเหย้า | หลายแห่ง | ||
รหัสฟีฟ่า | NED | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 7 (20 มิถุนายน 2024)[2] | ||
อันดับสูงสุด | 1[3] (สิงหาคม ค.ศ. 2011) | ||
อันดับต่ำสุด | 36[4] (สิงหาคม ค.ศ. 2017) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
เบลเยียม 1–4 เนเธอร์แลนด์ (แอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม; 30 เมษายน ค.ศ. 1905) | |||
ชนะสูงสุด | |||
เนเธอร์แลนด์ 11–0 ซานมารีโน (ไอนด์โฮเฟิน ประเทศเนเธอร์แลนด์; 2 กันยายน .ศ. 2011) | |||
แพ้สูงสุด | |||
อังกฤษสมัครเล่น 12–2 เนเธอร์แลนด์ (ดาร์ลิงตัน ประเทศอังกฤษ; 21 ธันวาคม ค.ศ. 1907)[A] | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 11 (ครั้งแรกใน 1934) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (1974, 1978, 2010) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 10 (ครั้งแรกใน 1976) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1988) | ||
ยูฟ่าเนชันส์ลีก รอบสุดท้าย | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2019) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (2019) | ||
เว็บไซต์ | OnsOranje.nl (ในภาษาดัตช์) |
ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ได้รับฉายาว่า "Clockwork Orange" ในช่วงที่ได้ชื่อว่าเล่นได้ตามกลยุทธ์โททัลฟุตบอลที่มีการต่อบอลได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ยังเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "ทีมชาติฮอลแลนด์"
ประวัติ
แก้ยุคแรกของทีม (1865-1938)
แก้ชาวอังกฤษนำกีฬาฟุตบอลเข้ามาเผยแพร่ในเนเธอร์แลนด์หรือฮอลแลนด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1865 และจากนั้นมาพวกเขาก็คิดในเรื่องเกมการเล่นของตัวเองที่แตกต่างออกไป รวมทั้งสร้างนักเตะที่เป็นตำนานขึ้นมาอย่างมากมาย หลังจากที่สมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1879 และมีการลงสนามเกมระดับนานาชาติครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1905 ด้วยการบุกไปเอาชนะเบลเยียมเพื่อนบ้าน 4-1 ซึ่งแอ็ดดี เดอ เนเฟอ ยิงไปคนเดียว 4 ประตู
จากนั้นก็มาได้เหรียญทองแดงโอลิมปิกในปี ค.ศ. 1908 และค.ศ. 1912[5][6] และมีโอกาสเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อปี ค.ศ. 1934 หลังจากที่ 4 ปีก่อนหน้านี้ปฏิเสธคำเชิญของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) แต่ก็ทำได้เพียงแค่ตกรอบแรกทั้งในปี ค.ศ. 1934 และ ค.ศ. 1938 แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้วก็มีการก่อตั้งลีกอาชีพของตัวเองขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้นักเตะของตัวเองออกไปค้าแข้งกับสโมสรในต่างแดน
ยุคทองของสามทหารเสือและแชมป์ฟุตบอลยุโรป
แก้การตั้งลีกอาชีพในปี ค.ศ. 1954 ทำให้มาตรฐานการเล่นของทีมดีขึ้นมาจนกระทั่งในยุคทศวรรษที่ 70 ก็มีนักเตะชื่อดังอย่างโยฮัน ไกรฟฟ์, โยฮัน เนสเกินส์ และรืด โกรล ในรูปแบบการเล่นที่เรียกว่าโททัลฟุตบอล ที่เน้นการต่อบอลที่แม่นยำ และการเคลื่อนที่อันเป็นเอกลักษณ์ ภายใต้การคุมทีมของรีนึส มีเคิลส์ พร้อมด้วยการมีสโมสรชั้นนำอย่างอาแจ็กซ์ ซึ่งเนเธอร์แลนด์ได้เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเมื่อปี ค.ศ. 1974 แต่ไปแพ้ให้เยอรมนีตะวันตก 1-2 อย่างน่าเสียดาย[7]
และในยูโร 76 เนเธอร์แลนด์คว้าอันดับ 3 มาครองได้ รวมทั้งฟุตบอลโลก ค.ศ. 1978 มีโอกาสได้เข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งแต่ก็ไปแพ้ให้กับอาร์เจนตินา เจ้าภาพ 1-3[8] จากนั้นฟุตบอลของเนเธอร์แลนด์เริ่มจะก้าวสู่ช่วงขาลงไปพร้อม ๆ กับยุคของโยฮัน ไกรฟฟ์ จนกระทั่งมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นยุคของรืด คึลลิต, ฟรังก์ ไรการ์ด และมาร์โก ฟัน บัสเติน ซึ่งเรียกว่า "สามทหารเสือ" ทำให้วงการฟุตบอลดัตช์กลับมารุ่งเรื่องได้อีกครั้ง และสามารถคว้าแชมป์ยูโร 1988 ได้สำเร็จโดยเอาชนะสหภาพโซเวียตไปได้ในนัดชิงชนะเลิศ 2-0 ซึ่งนั่นถือว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุดของเนเธอร์แลนด์เพียงรายการเดียวตราบจนถึงทุกวันนี้[9]
ความล้มเหลวในรายการใหญ่ (1990-2008)
แก้อย่างไรก็ตามในฟุตบอลโลก ค.ศ. 1990, ค.ศ. 1994, ค.ศ. 1998 และยูโร 1992-ยูโร 1996 ผลงานของทีมออกมาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และในยูโร 2000 ที่เนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพร่วมกับเบลเยียมก็ตกรอบรองชนะเลิศเมื่อแพ้อิตาลีในการดวลจุดโทษไปอย่างน่าเสียดาย ในฟุตบอลโลก ค.ศ. 2002 เนเธอร์แลนด์ไม่ผ่านเข้าแข่งขันรอบสุดท้าย ส่วนผลงานในยูโร 2004, ฟุตบอลโลก ค.ศ. 2006 และยูโร 2008 ก็ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะในยูโร 2008 ที่เนเธอร์แลนด์ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในรอบแบ่งกลุ่ม โดยเอาชนะรวดได้ทั้งสามนัดแม้อยู่ร่วมกลุ่มกับทีมเต็งอย่างฝรั่งเศสและอิตาลี แต่พวกเขากลับตกรอบที่สองในการแข่งขัน โดยแพ้ให้กับทีมชาติรัสเซียไปในช่วงต่อเวลาพิเศษ 1-3 [10]
รองแชมป์โลกสมัยที่ 3 (2010)
แก้ในฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ เนเธอร์แลนด์ภายใต้การคุมทีมของผู้จัดการทีม แบร์ต ฟัน มาร์ไวก์ สามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการคัดเลือกเป็นทีมแรกจากทวีปยุโรปด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมในการชนะ 8 นัดรวดในรอบคัดเลือกของโซนยุโรป กลุ่ม 9[11] และในรอบสุดท้าย เนเธอร์แลนด์สร้างผลงานชนะในรอบแรกทั้งสามนัดในรอบแบ่งกลุ่ม ในนัดที่พบกับทีมชาติญี่ปุ่น, ทีมชาติเดนมาร์ก และทีมชาติแคเมอรูน และสามารถเอาชนะสโลวาเกียได้ในรอบ 16 ทีสุดท้าย 2-1 ก่อนที่จะผ่านเข้าไปพบกับทีมเต็งแชมป์อย่างทีมชาติบราซิล ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย และพวกเขาสามารถเอาชนะไปได้ 2-1 ก่อนที่จะเอาชนะอุรุกวัยในรอบรองชนะเลิศ ผ่านเข้าชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกในรอบ 32 ปี[12] พวกเขาเข้าไปพบกับทีมชาติสเปน แต่เป็นฝ่ายแพ้ไป 0-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ[13]
ยูโร 2012
แก้ในการแข่งขันยูโร 2012 เนเธอร์แลนด์เป็นทีมหนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้เป็นแชมป์ แต่พวกเขากลับตกรอบแรกอย่างน่าผิดหวัง แม้จะมีนักเตะชั้นนำในทีมมากมาย อาทิ โรบิน ฟัน แปร์ซี, อาร์เยิน โรบเบิน, เวสลีย์ สไนเดอร์ และมาร์ก ฟัน โบมเมิล โดยไม่สามารถเอาชนะใครได้เลยในรอบแบ่งกลุ่ม โดยแพ้ให้กับเดนมาร์ก, เยอรมนี และโปรตุเกส เสียประตูไปทั้งสิ้น 5 ลูก และยิงได้เพียงแค่ 2 ลูกเท่านั้น[14]
อันดับสามในฟุตบอลโลก 2014
แก้ในฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพ เนเธอร์แลนด์ภายใต้การคุมทีมของ ลูวี ฟัน คาล ไม่ได้เป็นทีมที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้แชมป์หรือเป็นทีมเต็งมาตั้งแต่ต้น ยิ่งไปกว่านั้น นักฟุตบอลกว่าครึ่งทีมเป็นนักฟุตบอลรุ่นใหม่ที่ส่วนมากยังไม่เคยผ่านการแข่งขันระดับใหญ่มาก่อนและเล่นอยู่ในลีกภายในประเทศ เช่น เฟเยนูร์ด และอาแจ็กซ์ แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งอยู่ในกลุ่มบีก็สามารถเก็บชัยชนะรวดได้ทั้ง 3 นัด[15] โดยประเดิมสนามเป็นฝ่ายเอาชนะทีมชาติสเปนซึ่งเป็นแชมป์เก่าและเป็นคู่ชิงชนะเลิศในฟุตบอลโลกครั้งที่แล้วไปได้ถึง 5-1 อย่างพลิกความคาดหมาย ตามด้วยการเอาชนะทีมชาติออสเตรเลียและชิลีได้ในสองนัดถัดมา ก่อนจะเอาชนะทีมชาติเม็กซิโกไปได้ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 2-1
เนเธอร์แลนด์สามารถผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศพบกับ อาร์เจนตินา ทั้งคู่เสมอกันในเวลาปกติและยังเสมอกันอีกในช่วงต่อเวลาพิเศษ 120 นาที 0-0 จึงต้องตัดสินด้วยการดวลจุดโทษ ปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์เป็นฝ่ายแพ้อาร์เจนตินาไป 2-4[15] ต้องไปแข่งชิงอันดับสามกับบราซิล เจ้าภาพ ซึ่งเนเธอร์แลนด์ฝ่ายเอาชนะไปได้ 3-0[16]
ความล้มเหลวในยูโร 2016 และฟุตบอลโลก 2018
แก้ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายได้ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 เป็นต้นมา[17]รวมไปถึงการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศ รัสเซีย ซึ่งเนเธอร์แลนด์ก็ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายได้อีกเช่นกัน [18]
ผลงานโดดเด่น
แก้- ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในปี 1988 (ชนะเลิศ)
- ฟุตบอลโลก 1974 (รองชนะเลิศ)
- ฟุตบอลโลก 1978 (รองชนะเลิศ)
- ฟุตบอลโลก 1998 (อันดับที่ 4)
- ฟุตบอลโลก 2010 (รองชนะเลิศ)
- ฟุตบอลโลก 2014 (อันดับที่ 3)
- ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2018–19 (รองชนะเลิศ)
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[19][20]
ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ เบลเยียม[21]
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | แร็มโก ปัสเฟร์ | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983 | 2 | 0 | อายักซ์ |
13 | GK | จึสติน ไบไลว์ | 22 มกราคม ค.ศ. 1998 | 6 | 0 | ไฟเยอโนร์ด |
23 | GK | อันดรีส โนปเปิร์ต | 7 เมษายน ค.ศ. 1994 | 0 | 0 | เฮเรินเฟน |
2 | DF | ยือร์รีเยิน ติมเบอร์ | 17 มิถุนายน ค.ศ. 2001 | 10 | 0 | อายักซ์ |
3 | DF | มัตไตส์ เดอ ลิคต์ | 12 สิงหาคม ค.ศ. 1999 | 38 | 2 | ไบเอิร์นมิวนิก |
4 | DF | เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ (กัปตัน) | 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 | 49 | 6 | ลิเวอร์พูล |
5 | DF | นาตัน อาเก | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 | 29 | 3 | แมนเชสเตอร์ซิตี |
6 | DF | สเตฟัน เดอ ไฟร | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 | 59 | 3 | อินเตอร์มิลาน |
16 | DF | ไทเรลล์ มาลาเซีย | 17 สิงหาคม ค.ศ. 1999 | 6 | 0 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด |
17 | DF | เดลีย์ บลินด์ | 9 มีนาคม ค.ศ. 1990 | 94 | 2 | อายักซ์ |
22 | DF | แด็นเซิล ดึมฟรีส | 18 เมษายน ค.ศ. 1996 | 37 | 5 | อินเตอร์มิลาน |
25 | DF | เจเรมี ฟริมโปง | 10 ธันวาคม ค.ศ. 2000 | 0 | 0 | ไบเออร์ เลเวอร์คูเซิน |
11 | MF | สเตเฟิน แบร์เคยส์ | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1991 | 39 | 2 | อายักซ์ |
14 | MF | เดวี กลาสเซิน | 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 | 35 | 9 | อายักซ์ |
15 | MF | มาร์เติน เดอ โรน | 29 มีนาคม ค.ศ. 1991 | 30 | 0 | อาตาลันตา |
20 | MF | เติน โกปไมเนิร์ส | 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 | 10 | 1 | อาตาลันตา |
21 | MF | แฟร็งกี เดอ โยง | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 | 45 | 1 | บาร์เซโลนา |
24 | MF | เคนเน็ธ เทย์เลอร์ | 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 | 2 | 0 | อายักซ์ |
26 | MF | ซาฟี ซีโมนส์ | 21 เมษายน ค.ศ. 2003 | 0 | 0 | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน |
7 | FW | สเตเฟิน แบร์คไวน์ | 8 ตุลาคม ค.ศ. 1997 | 24 | 7 | อายักซ์ |
8 | FW | โกดี คักโป | 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 | 9 | 3 | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน |
9 | FW | ลืก เดอ โยง | 27 สิงหาคม ค.ศ. 1990 | 38 | 8 | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน |
10 | FW | แม็มฟิส เดอไป | 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 | 81 | 42 | บาร์เซโลนา |
12 | FW | โนวา ลัง | 17 มิถุนายน ค.ศ. 1999 | 5 | 1 | กลึบบรึคเคอ |
18 | FW | ฟินเซนต์ ยันส์เซิน | 15 มิถุนายน ค.ศ. 1994 | 20 | 7 | แอนต์เวิร์ป |
19 | FW | เวาต์ เวคอสต์ | 7 สิงหาคม ค.ศ. 1992 | 15 | 3 | เบชิกทัช |
อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง
แก้- โยฮัน ไกรฟฟ์
- โยฮัน เนสเกินส์
- รืด โกรล
- ฟรังก์ ไรการ์ด
- มาร์โก ฟัน บัสเติน
- รืด คึลลิต
- โรนัลด์ กุมัน
- แด็นนิส แบร์คกัมป์
- มาร์ก โอเฟอร์มาร์ส
- แปตริก ไกลเฟิร์ต
- โรย มากาย
- ปีแยร์ ฟัน โฮยโดงก์
- จิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์
- เวสลีย์ สไนเดอร์
- คลาเรนซ์ ซีดอร์ฟ
- เอ็ดการ์ ดาวิดส์
- ฟรังก์ เดอ บูร์
- โรนัลด์ เดอ บูร์
- แอ็ดวิน ฟัน เดอร์ซาร์
- ฟิลลิป โกกือ
- ยาป สตัม
- โจฟันนี ฟัน โบรงก์ฮอสต์
- รืด ฟัน นิสเติลโรย
- ไมเกิล ไรซีเคอร์
- มาร์ก ฟัน โบมเมิล
- อาร์เยิน โรบเบิน
- โรบิน ฟัน แปร์ซี
- ดีร์ก เกอวต์
สนามแข่ง
แก้ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ไม่ได้ใช้สนามแข่งขันสนามใดสนามหนึ่งเป็นหลัก (เช่นเดียวกับชาติอื่นๆ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายการแข่งขัน, สภาพอากาศ, คู่แข่ง และปัจจัยอื่นๆ แต่โดยส่วนมากแล้วจะลงแข่งขัน ณ สนาม โยฮัน ไกรฟฟ์อาเรนา ซึ่งเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาเอฟเซ อายักซ์ โดยการแข่งขันนัดแรกอย่างเป็นทางการของเนเธอร์แลนด์ ณ สนามแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคมปี 1997 ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนยุโรป ระหว่างเนเธอร์แลนด์และทีมชาติซานมารีโน ซึงเนเธอร์แลนด์เอาชนะไปได้ 4-0[22] โดยสนามแห่งนี้มีชื่อเดิมว่า อัมส์เตอร์ดัมอาเรนา ก่อนจะเปลี่ยนเป็น โยฮัน ไกรฟฟ์อาเรนา ในปี 2018 เพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึงการจากไปของ โยฮัน ไกรฟฟ์ ตำนานนักเตะผู้ล่วงลับชาวเนเธอร์แลนด์[23]
หมายเหตุ
แก้- ↑ การแข่งขันรอบนี้ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษไม่ถือเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติเต็มรูปแบบ และไม่ปรากฏในสถิติทีมชาติ เพราะในเวลานั้นอังกฤษเคยเล่นฟุตบอลอาชีพแล้ว อย่างไรก็ตาม เนเธอร์แลนด์ยังไม่มีฟุตบอลอาชีพจนถึง ค.ศ. 1954 ในอดีต ผู้เล่นที่ออกจากเนเธอร์แบนด์แล้วกลายเป็นมืออาชีพในประเทศอื่นจะถูกห้ามไม่ให้อยู่ในทีมชาติ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Holland's media-friendly football pros". Radio Netherlands Worldwide. 17 December 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 July 2013.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking - Ranking Table - FIFA.com". www.fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2019.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking - Ranking Table - FIFA.com". www.fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2019.
- ↑ "Games of the VII. Olympiad - Football Tournament". www.rsssf.com.
- ↑ "Games of the V. Olympiad - Football Tournament". www.rsssf.com.
- ↑ "The greatest World Cup tragedies: Holland 1974 · The Score". web.archive.org. 2014-06-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Hersey, Will (2018-06-14). "Remembering Argentina 1978: The Dirtiest World Cup Of All Time". Esquire (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ UEFA.com (2003-10-05). "Van Basten volley crowns Netherlands' EURO 1988 final win against USSR". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ยูโร2004 : ฮอลแลนด์กลับมาอย่างมีลุ้น เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากกรุงเทพธุรกิจ
- ↑ อัศวินสีส้ม”ตีตั๋วไป”บอลโลก” เป็นทีมแรกของยุโรป”คาเปลโล”เตือน”สิงโต&q
- ↑ โค้ชทีมฮอลแลนด์ ปลื้มใจนำทีมเข้าชิงชนะเลิศ เป็นครั้งแรกในรอบ 32 ปีจากช่อง 7
- ↑ สรุปผลการแข่งขัน
- ↑ อเฟลลายเศร้าดัตช์ตกรอบแรกยูโร2012 จากสยามสปอร์ต
- ↑ 15.0 15.1 ""เนย์มาร์"เชียร์"ฟ้าขาว" อยากเห็น"เมสซี่"ชูถ้วย". ข่าวสด. 12 July 2014. สืบค้นเมื่อ 13 July 2014.
- ↑ "เนเธอร์แลนด์ ถล่ม บราซิล 3-0 คว้าที่ 3 บอลโลก". ไทยพีบีเอส. 14 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-17. สืบค้นเมื่อ 13 July 2014.
- ↑ "คลิปไฮไลท์ยูโร 2016 ฮอลแลนด์ 2-3 สาธารณรัฐเช็ก Netherlands 2-3 Czech Republic". football-fun.net. 14 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 14 October 2015.
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/1126607
- ↑ @OnsOranje (21 October 2022). "🦁 final squad: This is the list of 26 players where our final World Cup 2022 squad will be selected from! 📋" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ @OnsOranje (11 November 2022). "🦁 Our 26 Lions for the @FIFAWorldCup ! #NothingLikeOranje | #FIFAWorldCup" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Most Netherlands Caps". EU-Football.info.
- ↑ "Geschiedenis". Johan Cruijff ArenA (ภาษาดัตช์).
- ↑ "Welkom in de Johan Cruijff ArenA!". Johan Cruijff ArenA (ภาษาดัตช์).
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- OnsOranje.nl – official website (ในภาษาดัตช์)
- VoetbalStats.nl – statistics of the national football team (ในภาษาดัตช์)
- UEFA profile
- FIFA profile
- Netherlands – Record International Players at the RSSSF archive
- Dutch National Team Coaches at the RSSSF archive