ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012

(เปลี่ยนทางจาก ยูโร 2012)

การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 (อังกฤษ: 2012 UEFA European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ยูโร 2012 (อังกฤษ: EURO 2012) เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งที่ 14 จัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยการแข่งขันรอบสุดท้ายจัดขึ้นที่ประเทศโปแลนด์และยูเครน ระหว่างวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน ถึงวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012
Mistrzostwa Europy w Piłce Nożnej 2012 (โปแลนด์)
Чемпіонат Європи з футболу 2012 (ยูเครน)
ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพโปแลนด์
ยูเครน
วันที่8 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม
ทีม16
สถานที่(ใน 8 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติสเปน สเปน (สมัยที่ 3)
รองชนะเลิศธงชาติอิตาลี อิตาลี
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน31
จำนวนประตู76 (2.45 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม1,440,896 (46,481 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดสเปน เฟร์นันโด ตอร์เรส
รัสเซีย อะลัน ดซาโกเอฟ
โครเอเชีย มาริออ มันจูกิช
เยอรมนี มารีโอ โกเมซ
อิตาลี มารีโอ บาโลเตลลี
โปรตุเกส คริสเตียโน โรนัลโด
(3 ประตู) [1]
2008
2016

เจ้าภาพทั้งสองประเทศผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการคัดเลือกของยูฟ่าเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ที่เมืองคาร์ดิฟฟ์ของเวลส์[2] โดยมีโครเอเชียกับฮังการี และอิตาลีเป็นผู้เข้าร่วมประมูลเป็นประเทศเจ้าภาพ นับเป็นเจ้าภาพร่วมครั้งที่ 3 ของฟุตบอลยูโร โดยก่อนหน้านี้ คือเบลเยียมกับเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และออสเตรียกับสวิตเซอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)

โดยในรอบคัดเลือก มีทีมชาติเข้าร่วมแข่งขัน 51 ประเทศ ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) อนึ่ง ปีนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่มีทีมชาติเข้าแข่งขันในรอบสุดท้ายจำนวน 16 ประเทศ

เมืองและสนามแข่งขัน แก้

เมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ได้แก่ วอร์ซอ กดัญสก์ วรอตสวัฟ และพอซนานของโปแลนด์ กับเคียฟ ลวีฟ โดเนตสค์ และคาร์คิฟของยูเครน โดยมีการปรับปรุงระบบพื้นฐาน เช่นสร้างสนามฟุตบอลขึ้นใหม่ 6 แห่ง เพื่อใช้กับการแข่งขันครั้งนี้ ส่วนสนามเก่า 2 แห่ง คือในพอซนานและคาร์คิฟ ก็มีการปรับปรุงอย่างมาก[3][4] และมีสนาม 3 แห่งที่อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงสุดของยูฟ่า

วอร์ซอ (Warsaw) กดัญสก์ (Gdańsk) วรอตสวัฟ (Wrocław) พอซนาน (Poznań)
สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ
ความจุ: 50,000 ที่นั่ง[5]
แปกีแยแออาแรนากดัญสก์
ความจุ: 40,000 ที่นั่ง[6]
สตาดียอมมีแยย์สกี
ความจุ: 40,000 ที่นั่ง[7]
สตาดียอมมีแยย์สกี
ความจุ: 40,000 ที่นั่ง[8]
3 นัดในกลุ่มเอ
นัดเปิดสนาม, รอบ 8 ทีม, รอบรองชนะเลิศ
3 นัดในกลุ่มซี
รอบ 8 ทีม
3 นัดในกลุ่มเอ 3 นัดในกลุ่มซี
       
เคียฟ (Kyiv) โดเนตสค์ (Donetsk) คาร์คิฟ (Kharkiv) ลวีฟ (Lviv)
สนามโอลิมปิสกี เนชันแนล สปอร์ตส์ คอมเพล็กซ์
ความจุ: 70,050 ที่นั่ง[9]
ดอนบัสส์อาเรนา
ความจุ: 50,000 ที่นั่ง[10]
เมตาลิสต์สเตเดียม
ความจุ : 35,000 ที่นั่ง[11]
อาเรนาลวีฟ
ความจุ: 30,000 ที่นั่ง[12]
3 นัดในกลุ่มดี
รอบ 8 ทีม, นัดชิงชนะเลิศ
3 นัดในกลุ่มดี
รอบ 8 ทีม, รอบรองชนะเลิศ
3 นัดในกลุ่มบี 3 นัดในกลุ่มบี
   

หมายเหตุ: ข้อมูลความจุของแต่ละสนาม แจ้งตามที่ยูฟ่าระบุไว้ แต่อาจไม่ใช่จำนวนที่นั่งจริงของสนามนั้น

การแข่งขัน แก้

รอบแบ่งกลุ่ม แก้

เวลาที่ระบุ เป็นมาตรฐานเวลาออมแสงยุโรปกลาง (เวลาสากลเชิงพิกัด+2) ในโปแลนด์ และเวลาออมแสงยุโรปตะวันออก (เวลาสากลเชิงพิกัด+3) ในยูเครน

สีที่ใช้ในตารางคะแนน
2 ทีมที่มีคะแนนมากที่สุดที่จะได้เข้ารอบต่อไป
2 ทีมที่จะตกรอบ

กลุ่ม A แก้


ทีม แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  เช็กเกีย 3 2 0 1 4 5 −1 6
  กรีซ 3 1 1 1 3 3 0 4
  รัสเซีย 3 1 1 1 5 3 +2 4
  โปแลนด์ 3 0 2 1 2 3 −1 2


8 มิถุนายน 2012 #1โปแลนด์  1 – 1  กรีซวอร์ซอ
18:00 UTC+2 รอแบร์ต แลวันดอฟสกี   17' รายงาน ดีมีตริส ซัลปินจีดิส   51' สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ
ผู้ชมในสนาม: 56,070 คน
ผู้ตัดสิน:   การ์โลส เบลัสโก การ์บาโย
8 มิถุนายน 2012 #2รัสเซีย  4 – 1  เช็กเกียวรอตสวัฟ
20:45 UTC+2 อะลัน ดซาโกเอฟ   15',   79'
โรมัน ชีโรคอฟ   24'
โรมัน ปัฟลูย์เชนโค   82'
รายงาน วาตสลัฟ ปิลาร์   52' สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (วรอตสวัฟ)
ผู้ชมในสนาม: 40,803 คน
ผู้ตัดสิน:   ฮาวเวิร์ด เวบบ์
12 มิถุนายน 2012 #9กรีซ  1 – 2  เช็กเกียวรอตสวัฟ
18:00 UTC+2 เธโอฟานิส เจกัส   53' รายงาน เปเตอร์ ยิราเช็ก   3'
วาตสลัฟ ปิลาร์   6'
สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (วรอตสวัฟ)
ผู้ชมในสนาม: 41,105 คน
ผู้ตัดสิน:   สเตฟาน ลานัว
12 มิถุนายน 2012 #10โปแลนด์  1 – 1  รัสเซียวอร์ซอ
20:45 UTC+2 ยากุป บวัชต์ชือกอฟสกี   57' รายงาน อะลัน ดซาโกเอฟ   37' สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ
ผู้ชมในสนาม: 55,920 คน
ผู้ตัดสิน:   วอลฟ์กัง ชตาร์ค
16 มิถุนายน 2012 #18โปแลนด์  0 – 1  เช็กเกียวรอตสวัฟ
20:45 UTC+2 รายงาน เปเตอร์ ยิราเช็ก   72' สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (วรอตสวัฟ)
ผู้ชมในสนาม: 41,480 คน
ผู้ตัดสิน:   เครก ทอมสัน
16 มิถุนายน 2012 #17กรีซ  1 – 0  รัสเซียวอร์ซอ
20:45 UTC+2 โยร์โกส การังกูนิส   45+2' รายงาน สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ
ผู้ชมในสนาม: 55,614 คน
ผู้ตัดสิน:   ยูนัส เอริกซอน

กลุ่ม B แก้


ทีม แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  เยอรมนี 3 3 0 0 5 2 +3 9
  โปรตุเกส 3 2 0 1 5 4 +1 6
  เดนมาร์ก 3 1 0 2 4 5 −1 3
  เนเธอร์แลนด์ 3 0 0 3 2 5 −3 0


9 มิถุนายน 2012 #3เนเธอร์แลนด์  0 – 1  เดนมาร์กคาร์คิฟ
19:00 UTC+3 ไมเคิล โครห์น-เดห์ลี   24' สนามกีฬา: เมตาลิสต์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 35,923 คน
ผู้ตัดสิน:   ดามีร์ สคอมีนา
9 มิถุนายน 2012 #4เยอรมนี  1 – 0  โปรตุเกสลวีฟ
21:45 UTC+3 มารีโอ โกเมซ   72' สนามกีฬา: อาเรนาลวีฟ
ผู้ชมในสนาม: 32,990 คน
ผู้ตัดสิน:   สเตฟาน ลานัว
13 มิถุนายน 2012 #11เดนมาร์ก  2 – 3  โปรตุเกสลวีฟ
19:00 UTC+3 นิคลาส เบนท์เนอร์   41',   80' เปเป   24'
เอลดีร์ ปุชตีกา   36'
ซิลเวสตรี วาเรลา   87'
สนามกีฬา: อาเรนาลวีฟ
ผู้ชมในสนาม: 31,840 คน
ผู้ตัดสิน:   เครก ทอมสัน
13 มิถุนายน 2012 #12เนเธอร์แลนด์  1 – 2  เยอรมนีคาร์คิฟ
21:45 UTC+3 โรบิน ฟาน เพอร์ซี   73' มารีโอ โกเมซ   24',   38' สนามกีฬา: เมตาลิสต์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 37,750 คน
ผู้ตัดสิน:   ยูนัส เอริกซอน
17 มิถุนายน 2012 #20เดนมาร์ก  1 – 2  เยอรมนีลวีฟ
21:45 UTC+3 ไมเคิล โครห์น-เดห์ลี   24' ลูคัส โพดอลสกี   19'
ลาร์ส เบนเดอร์   80'
สนามกีฬา: อาเรนาลวีฟ
ผู้ชมในสนาม: 32,990 คน
ผู้ตัดสิน:   การ์โลส เบลัสโก การ์บาโย

กลุ่ม C แก้


ทีม แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  สเปน 3 2 1 0 6 1 +5 7
  อิตาลี 3 1 2 0 4 2 +2 5
  โครเอเชีย 3 1 1 1 4 3 +1 4
  ไอร์แลนด์ 3 0 0 3 1 9 −8 0


10 มิถุนายน 2012 #5สเปน  1 – 1  อิตาลีกดัญสก์
18:00 UTC+2 เซสก์ ฟาเบรกัส   64' อันโตนีโอ ดี นาตาเล   61' สนามกีฬา: แปกีแยแออาแรนา
ผู้ชมในสนาม: 38,869 คน
ผู้ตัดสิน:   วิกโตร์ กอชชอย
10 มิถุนายน 2012 #6ไอร์แลนด์  1 – 3  โครเอเชียพอซนาน
20:45 UTC+2 ฌอน เซนต์ เลดเจอร์   19'
มารีโอ มานจูคิช   3',   49'
นีคีตซา เยลาวิช   43'
สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (พอซนาน)
ผู้ชมในสนาม: 39,550 คน
ผู้ตัดสิน:   บเยิร์น ไคเพิร์ส
14 มิถุนายน 2012 #13อิตาลี  1 – 1  โครเอเชียพอซนาน
18:00 UTC+2 อันเดรอา ปีร์โล   39' มารีโอ มานจูคิช   72' สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (พอซนาน)
ผู้ชมในสนาม: 37,096 คน
ผู้ตัดสิน:   ฮาวเวิร์ด เวบบ์
14 มิถุนายน 2012 #14สเปน  4 – 0  ไอร์แลนด์กดัญสก์
20:45 UTC+2 เฟร์นันโด ตอร์เรส   4'70'
ดาบิด ซิลบา   49'
เซสก์ ฟาเบรกัส   83'
สนามกีฬา: แปกีแยแออาแรนา
ผู้ชมในสนาม: 39,150 คน
ผู้ตัดสิน:   เปดรู ปรูเองซา
18 มิถุนายน 2012 #21โครเอเชีย  0 – 1  สเปนกดัญสก์
20:45 UTC+2 เคซุส นาบัส   88' สนามกีฬา: แปกีแยแออาแรนา
ผู้ชมในสนาม: 39,076 คน
ผู้ตัดสิน:   วอลฟ์กัง ชตาร์ค
18 มิถุนายน 2012 #22อิตาลี  2 – 0  ไอร์แลนด์พอซนาน
20:45 UTC+2 อันโตนีโอ กัสซาโน   35'
มารีโอ บาโลเตลลี   90'
สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (พอซนาน)
ผู้ชมในสนาม: 38,794 คน
ผู้ตัดสิน:   จือเนย์ต ชากือร์

กลุ่ม D แก้


ทีม แข่ง ชนะ แพ้ เสมอ ได้ เสีย +/- คะแนน
  อังกฤษ 3 2 1 0 5 3 +2 7
  ฝรั่งเศส 3 1 1 1 3 3 0 4
  ยูเครน 3 1 0 2 2 4 −2 3
  สวีเดน 3 1 0 2 5 5 0 3


11 มิถุนายน 2012 #7ฝรั่งเศส  1 – 1  อังกฤษโดเนตสค์
19:00 UTC+3 ซามีร์ นัสรี   39' โจเลียน เลสคอตต์   30' สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา
ผู้ชมในสนาม: 47,400 คน
ผู้ตัดสิน:   นีโกลา ริซโซลี
11 มิถุนายน 2012 #8ยูเครน  2 – 1  สวีเดนเคียฟ
21:45 UTC+3 อันดรีย์ เชฟเชนโค   55'62' ซลาตัน อีบราฮีมอวิช   52' สนามกีฬา: สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ
ผู้ชมในสนาม: 64,290 คน
ผู้ตัดสิน:   จือเนย์ต ชากือร์
15 มิถุนายน 2012 #15ยูเครน  0 – 2  ฝรั่งเศสโดเนตสค์
19:00 UTC+3[13] เฌเรมี เมแนซ   53'
ยออาน กาบาย   56'
สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา
ผู้ชมในสนาม: 48,000 คน
ผู้ตัดสิน:   บเยิร์น ไคเพิร์ส
15 มิถุนายน 2012 #16สวีเดน  2 – 3  อังกฤษเคียฟ
21:45 UTC+3[14] เกล็น จอห์นสัน   49' (เข้าประตูทีมตัวเอง)
ยูลอฟ เมลแบร์   59'
แอนดี แคร์โรลล์   23'
ทีโอ วอลคอตต์   64'
แดนนี เวลเบก   78'
สนามกีฬา: สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ
ผู้ชมในสนาม: 64,640 คน
ผู้ตัดสิน:   ดามีร์ สคอมีนา
19 มิถุนายน 2012 #23ยูเครน  0 - 1  อังกฤษโดเนตสค์
21:45 UTC+3 เวย์น รูนีย์   48' สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา
ผู้ชมในสนาม: 48,700 คน
ผู้ตัดสิน:   วิกโตร์ กอชชอย
19 มิถุนายน 2012 #24สวีเดน  2 – 0  ฝรั่งเศสเคียฟ
21:45 UTC+3 ซลาตัน อีบราฮีมอวิช   54'
เซบาสเตียน ลาร์สสัน   90+1'
สนามกีฬา: สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ
ผู้ชมในสนาม: 63,010 คน
ผู้ตัดสิน:   เปดรู ปรูเองซา

รอบแพ้คัดออก แก้

รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศ
                   
21 มิถุนายน – วอร์ซอ        
    เช็กเกีย  0
27 มิถุนายน – โดเนตสค์
    โปรตุเกส  1  
    โปรตุเกส  0 (2)
23 มิถุนายน – โดเนตสค์
        สเปน  0 (4)  
    สเปน  2
1 กรกฎาคม – เคียฟ
    ฝรั่งเศส  0  
    สเปน  4
22 มิถุนายน – กดัญสก์    
      อิตาลี  0
    เยอรมนี  4
28 มิถุนายน – วอร์ซอ
    กรีซ  2  
    เยอรมนี  1
24 มิถุนายน – เคียฟ
        อิตาลี  2  
    อังกฤษ  0 (2)
    อิตาลี  0 (4)  
 


รอบก่อนรองชนะเลิศ แก้

23 มิถุนายน 2012 #27สเปน  2 – 0  ฝรั่งเศสโดเนตสค์
21:45 UTC+3 ชาบี อาลอนโซ   19'90+1' (จุดโทษ) รายงาน สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา
ผู้ชมในสนาม: 47,000 คน[17]
ผู้ตัดสิน:   นีโกลา ริซโซลี

รอบรองชนะเลิศ แก้

นัดชิงชนะเลิศ แก้

สถิติการแข่งขัน แก้

ผู้ทำประตู แก้

กรณีมีผู้ทำประตูในจำนวนเท่ากัน ยูฟ่าจะพิจารณาการจัดอันดับ ตามระยะเวลาที่ลงสนามจากน้อยไปหามาก[1]

ผู้ทำประตูทีมตัวเอง

กฎระเบียบและวินัย แก้

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อผู้เล่น ที่ได้รับใบแดงหรือใบเหลืองสะสม จนส่งผลให้ต้องรับโทษห้ามลงแข่งขัน

ชื่อ ในนัดที่พบกับ จะลงสนามไม่ได้ในนัดที่พบกับ รายละเอียด
  เวย์น รูนีย์   ในรอบคัดเลือกกับ   มอนเตเนโกร ในกลุ่มดีกับ   ฝรั่งเศส
และ   สวีเดน
ได้รับใบแดงในการแข่งขัน
นัดสุดท้ายของยูโร 2012 รอบคัดเลือก กลุ่มจี
  โซกราติส ปาปัสตาโทปูโลส     ในกลุ่มเอกับ   โปแลนด์ ในกลุ่มเอกับ   เช็กเกีย
  วอสเซียค ชแซนสนือ   ในกลุ่มเอกับ   กรีซ ในกลุ่มเอกับ   รัสเซีย
  เชโรม โบอาเทง   ในกลุ่มบีกับ   โปรตุเกส
  ในกลุ่มบีกับ   เนเธอร์แลนด์
ในกลุ่มบีกับ   เดนมาร์ก
  โยร์โกส การังกูนิส   ในกลุ่มเอกับ   โปแลนด์
  ในกลุ่มเอกับ   รัสเซีย
รอบก่อนรองชนะเลิศกับ   เยอรมนี
  โคเซ โคเลบัส   ในกลุ่มเอกับ   โปแลนด์
  ในกลุ่มเอกับ   รัสเซีย
รอบก่อนรองชนะเลิศกับ   เยอรมนี
  คีท แอนดรูส์     ในกลุ่มซีกับ   อิตาลี ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกกับ   คาซัคสถาน
  อะนาโตลีย์ ตีมอชชุค   ในกลุ่มดีกับ   ฝรั่งเศส
  ในกลุ่มดีกับ   อังกฤษ
ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกกับ   อังกฤษ
  ฟีลิป แม็กแซ็ส   ในกลุ่มดีกับ   ยูเครน
  ในกลุ่มดีกับ   สวีเดน
รอบก่อนรองชนะเลิศกับ   สเปน
  กริสเตียน มัจโจ   ในกลุ่มซีกับ   สเปน
  ในรอบก่อนรองชนะเลิศกับ   อังกฤษ
รอบรองชนะเลิศกับ   เยอรมนี

การยิงลูกโทษ แก้

เป็นประตู แก้

ยิงพลาด แก้

ผู้ตัดสิน แก้

ประเทศ ผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสินเพิ่มเติม
  อังกฤษ ฮาวเวิร์ด เวบบ์ ไมเคิล มัลลาร์คีย์
ปีเตอร์ เคอร์คัป
สตีเฟน ไชลด์ (สำรอง)
มาร์ติน แอตคินสัน
มาร์ก แคลตเทนเบิร์ก
  ฝรั่งเศส สเตฟาน ลานัว เอริก ด็องโซ
เฟรเดริก กาโน
มีชาแอล อานอนีเย (สำรอง)
เฟรดี โฟแทรล
รัดดี บูว์แก
  เยอรมนี วอลฟ์กัง ชตาร์ค ยัน-เฮนดริค ซัลเวอร์
ไมค์ พิคเคิล
มาร์ค บอร์ช (สำรอง)
โฟลเรียน ไมเออร์
เดนิซ ไอเทคิน
  ฮังการี วิกโตร์ กอชชอย กาโบร์ เอเริช
เจิร์จ ริง
โรเบร์ต กิชปาล (สำรอง)
อิชต์วาน วอด
ตอมาส โบกนาร์
  อิตาลี นีโกลา ริซโซลี เรนาโต ฟาเวรานี
อันเดรอา สเตฟานี
ลูกา มัจจานี (สำรอง)
จันลูกา รอกกี
ปาโอโล ตาลยาเวนโต
  เนเธอร์แลนด์ บเยิร์น ไคเพิร์ส ซันเดอร์ ฟาน รูเคิล
เอร์วิน เซย์นสตรา
นอร์เบอร์ทุส ซีมอนส์ (สำรอง)
พอล ฟาน บูเคิล
ริชาร์ด ลีสเวลท์
  โปรตุเกส เปดรู ปรูเองซา เบร์ตีนู มีรังดา
รีการ์ดู ซังตุช
ตีอากู ตรีกู (สำรอง)
ชอร์ชี โซซา
ดูอาร์ตี โกมิช
  สกอตแลนด์ เครก ทอมสัน แอลัสเตอร์ รอสส์
เดเร็ก โรส
เกรอัม เชมเบอส์ (สำรอง)
วิลเลียม คอลลัม
ยวน นอร์ริส
  สโลวีเนีย ดามีร์ สคอมีนา พรีมอซ อาร์ฮาร์
มาร์คอ สทันต์ซิน
มาเทย์ ชูนิช (สำรอง)
มาเทย์ ยุก
สลัฟคอ วินชิช
  สเปน การ์โลส เบลัสโก การ์บาโย โรเบร์โต อาลอนโซ เฟร์นันเดซ
ควน การ์โลส ยุสเต คีเมเนซ
เคซุส กัลโบ กวาดามูโร (สำรอง)
ดาบิด เฟร์นันเดซ บอร์บาลัน
การ์โลส โกลส โกเมซ
  สวีเดน ยูนัส เอริกซอน สเตฟัน วิตต์เบิร์ก
มาทีอัส คลาเซนีอุส
เฟรดริก นิลซอน (สำรอง)
มาร์คุส สเตริมแบร์ซอน
สเตฟัน ยูฮาเนซอน
  ตุรกี จือเนย์ต ชากือร์ บาฮัตติน ดูรัน
ตารึก โอนกุน
มุสตาฟา เอมเร เอยีโซย (สำรอง)
ฮือเซยิน เจอเชก
บือเลนต์ ยึลดือรึม

ข้อมูลทั่วไป แก้

 
การจัดดอกไม้เป็นภาพตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน
 
สลาเวกและสลัฟโค


ลูกฟุตบอล แก้

แทงโกทเวลฟ์ (อังกฤษ: Tango Twelve) เป็นชื่อทางการของลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งออกแบบโดยอาดิดาส เพื่อให้นักฟุตบอลควบคุมลูกได้ง่ายขึ้น โดยพัฒนาขึ้นจากจาบูลานีที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010[22]

บัตรเข้าชมการแข่งขัน แก้

สำหรับบัตรเข้าชมการแข่งขันทั้งหมด 31 นัด เป็นจำนวนบัตรทั้งหมด 1.4 ล้านใบ มีการจำหน่ายอย่างเป็นทางการผ่านเว็บไซต์ของยูฟ่าและสมาคมฟุตบอลของทั้ง 16 ชาติในรอบสุดท้าย ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) [23] โดยยอดจำหน่ายบัตรเข้าชมในครั้งนี้เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันครั้งก่อนถึงร้อยละ 17 และทำลายสถิติการจำหน่ายบัตรของยูฟ่าด้วย[24] ซึ่งบัตรในแต่ละส่วนของอัฒจันทร์ มีราคาตั้งแต่ 30 ยูโร (สำหรับที่นั่งหลังประตู) จนถึง 600 ยูโร (สำหรับที่นั่งวีไอพี ในนัดชิงชนะเลิศ) โดยผู้เข้าชมสามารถเลือกซื้อบัตรรวมตลอดการแข่งขันก็ได้ หรือจะซื้อที่หน้าสนามในแต่ละนัดก็ได้เช่นกัน[25]

สัญลักษณ์และคำขวัญ แก้

คำขวัญประจำการแข่งขันครั้งนี้คือ "สร้างประวัติศาสตร์ไปด้วยกัน" (โปแลนด์: Razem tworzymy przyszłość; ยูเครน: Творимо історію разом) โดยคำขวัญนี้แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองประเทศตั้งใจจะจัดการแข่งขันให้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันรายการนี้ ส่วนสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันเป็นการใช้ "วีตีนันคี" อันเป็นศิลปะการตัดกระดาษในพื้นที่ชนบทของโปแลนด์และยูเครน ซึ่งแสดงถึงความเป็นธรรมชาติ มาประกอบในส่วนต่าง ๆ ของภาพ[26][27]

โดยมีการจัดงานประกาศคำขวัญและตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันอย่างเป็นทางการไปพร้อมกันที่จัตุรัสมีไคลิฟสกาของเคียฟ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ซึ่งในส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้ มีการฉายแสงสีเป็นภาพตราสัญลักษณ์ดังกล่าวบนพื้นผิวของอาคารสำคัญใน 8 เมืองที่ตั้งสนามแข่งขันด้วย[26]

ตุ๊กตาสัญลักษณ์ แก้

สลาเวก (Slavek) และสลัฟโค (Slavko) เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันครั้งนี้ ทั้งสองเป็นฝาแฝดกันและเป็นตัวแทนของทั้งสองประเทศ มีการออกแบบให้สีเหมือนกับธงชาติโปแลนด์และยูเครน[28] โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส ผู้ผลิตแอนิเมชันระดับโลก ซึ่งประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) อนึ่ง ชื่อของทั้งสองตัวนี้ได้รับการลงคะแนนสูงสุดจากผู้ชมเว็บไซต์ทางการของการแข่งขัน โดยชนะชื่อ แชมกอ กับ สตริมโค และ แกลแมก กับ ลัดโค

เพลงประจำการแข่งขัน แก้

ฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขันครั้งนี้ คัดเลือกให้เพลง Endless Summer ของโอเชียนา นักร้องชาวเยอรมันเป็นเพลงประจำการแข่งขัน[29]

ของที่ระลึก แก้

ยูฟ่าลงนามในสัญญาร่วมกับวอร์เนอร์บราเธอร์สให้เป็นผู้ผลิตของที่ระลึกสำหรับประชาสัมพันธ์การแข่งขันครั้งนี้[30] ซึ่งมีมากมายเช่น อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า อุปกรณ์ยานยนต์ ของใช้เด็ก กระเป๋า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รองเท้า ของฝากทั่วไป สิ่งทอ ของตกแต่งบ้าน อัญมณี สิ่งตีพิมพ์ เครื่องเขียน ของเล่น และเกม[31]

การจัดแสดงถ้วยรางวัล แก้

ถ้วยรางวัลอ็องรี เดอโลแน (อังกฤษ: Henri Delaunay Trophy) ของการแข่งขันรายการนี้ จะเดินทางไปรอบเมืองที่ตั้งสนามแข่งขัน ในระยะ 7 สัปดาห์ก่อนแข่งขัน โดยในระยะ 100 วันก่อนเปิดสนาม ถ้วยนี้จะเดินทางด้วยบอลลูนจากเมืองนียงของสวิตเซอร์แลนด์ และจะผ่าน 14 เมืองในสองประเทศเจ้าภาพ ซึ่งจะผ่าน 7 เมืองของโปแลนด์คือ วอร์ซอ, วรอตสวัฟ, กดัญสก์, พอซนาน, กรากุฟ, คาโตวีตเซ และวุช กับอีก 7 เมืองของยูเครนคือ เคียฟ, อีวาโน-ฟรันคิฟสค์, คาร์คิฟ, โดเนตสค์, ดนีโปรเปตรอฟสค์, ลวีฟ และโอเดสซา[32][33]

การกระจายเสียงและแพร่ภาพการแข่งขันในประเทศไทย แก้

สมาคมฟุตบอลยุโรป ทำสัญญาจำหน่ายลิขสิทธิ์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ (Broadcasting Rights) การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ในประเทศไทยให้แก่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) โดยประกาศเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของยูฟ่า เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ทั้งนี้ในข่าวดังกล่าวระบุว่า จีเอ็มเอ็มฯจะถ่ายทอดสดการแข่งขันทั้ง 31 นัด ผ่านช่องโทรทัศน์ดาวเทียมของตน, ออกอากาศสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของไทย, และบริการโดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับทางเว็บไซต์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยทั้งสองระบบหลัง สามารถรับชมได้ทั้งแบบถ่ายทอดสด และแบบรายการตามสั่ง[34]

จากนั้นจีเอ็มเอ็มฯ ชี้แจงว่าจะดำเนินการถ่ายทอดสด ผ่านสองช่องโทรทัศน์ดาวเทียม ของสายงานจีเอ็มเอ็มสปอร์ต[35] ที่ออกอากาศผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของบริษัทลูกคือ จีเอ็มเอ็มแซต (เดิมชื่อ จีเอ็มเอ็มวันสกาย) [36] โดยใช้วิธีเข้ารหัสลับ (Encryption) เพื่อควบคุมสัญญาณดาวเทียมในช่วงเวลาที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันครั้งนี้ ไม่ให้รับชมจากนอกอาณาเขตประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาที่ทำไว้กับยูฟ่า ซึ่งมีเพียงกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของจีเอ็มเอ็มแซตเท่านั้น ที่สามารถถอดรหัสลับ (Decryption) ดังกล่าวได้[37] ซึ่งแม้จะใช้กล่องรับสัญญาณของจีเอ็มเอ็มแซต ก็ไม่สามารถรับชมการแข่งขันผ่านช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินได้ หากแต่จะต้องรับชมจากช่องโทรทัศน์ดาวเทียมของจีเอ็มเอ็มแซตเท่านั้น[35]

สำหรับคณะผู้บรรยายการแข่งขันรายการนี้ ประกอบด้วย สาธิต กรีกุล, สมศักดิ์ สงวนทรัพย์, พันเอกทันตแพทย์ฤทธิกร การะเวก[38], ไพโรจน์ กิ่งแก้ว, อิสรพงษ์ ผลมั่ง, สุรเดช สันติเลิศประภพ, จารุวัฒน์ พริบไหว และ โภควัฒน์ ดีเจริญ[39] ซึ่งก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละนัด จะมีรายการ ฟุตบอลเมเนีย ซึ่งจะเชิญบุคคลมีชื่อเสียง มาพูดคุยเกี่ยวกับการแข่งขัน โดยมีกพล ทองพลับ และสุวินัย อ่อนสอาด เป็นผู้ดำเนินรายการ[40] นอกจากนั้น ในระยะที่มีการแข่งขัน จีเอ็มเอ็มสปอร์ตยังผลิตและออกอากาศสดรายการพิเศษ โรดทูยูโรไฟนัล ดำเนินรายการโดย ฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์, ยูโรทอล์ก ดำเนินรายการโดย พีรพล เอื้ออารียกูล และ ยูโรอัปเดต ดำเนินรายการโดย สุรเดช สันติเลิศประภพ ซึ่งทั้งสามรายการจะแพร่ภาพต่อทางไทยทีวีสีช่อง 3 ในเวลาเดียวกันด้วย

ทั้งนี้ จีเอ็มเอ็มฯดำเนินการเจรจาทางธุรกิจการค้า กับบริษัทเอกชนผู้ดำเนินงานสื่อสารมวลชนหลายประเภท เพื่อเผยแพร่การแข่งขันรายการนี้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังต่อไปนี้[35]

  • บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - เป็นช่องทางหลักของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เนื่องจากถ่ายทอดสดการแข่งขันจำนวน 27 จาก 31 นัด และรับสัญญาณ 3 รายการพิเศษ รายงานผลพร้อมบันทึกการแข่งขัน (รีวิว - Review), วิเคราะห์วิจารณ์กับรายงานก่อนการแข่งขัน (ปรีวิว - Preview) ซึ่งผลิตโดยจีเอ็มเอ็มฯ[41] รวมถึงได้รับวีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันทุกนัด เพื่อนำไปเผยแพร่ประกอบการนำเสนอข่าว
  • บริษัท อาร์ทีเอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 - ถ่ายทอดสดการแข่งขัน จำนวน 3 นัดคือ รอบแรกนัดสุดท้ายของกลุ่มเอกับกลุ่มซี และนัดชิงชนะเลิศ (ร่วมกับไทยทีวีสีช่อง 3) [41] รวมถึงได้รับวีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันทุกนัด เพื่อนำไปเผยแพร่ประกอบการนำเสนอข่าว
  • บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ - ถ่ายทอดสดการแข่งขัน จำนวน 3 นัดคือคู่เปิดสนาม (ร่วมกับช่อง 7 สี ,ไทยทีวีสีช่อง 3 และโมเดิร์นไนน์ทีวี) และรอบแรกนัดสุดท้ายของกลุ่มบีกับกลุ่มดี[41] รวมถึงได้รับวีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันทุกนัด เพื่อนำไปเผยแพร่ประกอบการนำเสนอข่าว
  • บริษัท ดีทีวีเซอร์วิส จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียมดีทีวี ในเครือบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) - ดำเนินการถ่ายทอดสดและบันทึกการแข่งขัน ด้วยระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-Definition Television) [42] ผ่านสองช่องรายการของสถานีฯคือ ดีทีวี-เอชดี1 และ ดีทีวี-เอชดี2 ด้วยกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ซึ่งดีทีวีพัฒนาร่วมกับจีเอ็มเอ็มแซต[43]
  • ผู้ประกอบการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก จำนวนสองรายคือ บริษัท เคเบิลไทยโฮลดิง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอช และ สมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี หรือซีโอเอ[44] - ด้วยวิธีเช่ากล่องรับสัญญาณดาวเทียมของจีเอ็มเอ็มแซต เพื่อรับสัญญาณจากช่องรายการของจีเอ็มเอ็มสปอร์ต ซึ่งถ่ายทอดสดการแข่งขัน แล้วนำไปออกอากาศต่ออีกทอดหนึ่ง[35]
  • บริษัท โมโนเทคโนโลยี จำกัด ผู้ดำเนินกิจการเว็บไซต์เอ็มไทย (www.mthai.com) - พัฒนาเว็บไซต์ www.gmmeuro.com เก็บถาวร 2012-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ร่วมกับจีเอ็มเอ็มฯ เพื่อจัดทำระบบถ่ายทอดสดและบันทึกการแข่งขัน ทั้งรูปแบบที่ผู้ผลิตดำเนินการแพร่ภาพให้รับชม และรูปแบบที่ผู้ชมเลือกนัดแข่งขันที่ต้องการได้เอง[45]
  • บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินกิจการเว็บไซต์มติชนออนไลน์และข่าวสดออนไลน์ - เผยแพร่วีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันทุกนัด แบบไม่มีเสียงบรรยาย อันเป็นลักษณะเดียวกับที่สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ผู้ดำเนินการถ่ายทอดสดทั้งสามแห่งได้รับ[46]
  • บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส ในระบบจีเอสเอ็มแอดวานซ์และวันทูคอล - ให้บริการเนื้อหาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดังกล่าวประกอบด้วย ถ่ายทอดสดและวีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญ (ไฮไลต์) ของการแข่งขันทุกนัด รวมถึงรายการสนทนาเชิงสันทนาการว่าด้วยการแข่งขัน พร้อมทั้งเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับการแข่งขัน และบทวิเคราะห์วิจารณ์การแข่งขันจากผู้เชี่ยวชาญ[47]

กรณีปัญหาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด แก้

 
ประกาศว่าด้วยลิขสิทธิ์การเผยแพร่ บนหน้าจอของช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ส่วนที่ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม

ผู้บริหารบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินงานสถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก แถลงข่าวเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เรียกร้องให้ทรูวิชั่นส์ สามารถถ่ายทอดสัญญาณจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินทั้งสาม ในช่วงเวลาที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันตามปกติ โดยอ้างว่าเป็นหลักสากลที่ไม่เคยมีการปิดกั้นสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน[48] จากนั้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ผู้บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็มแซต จำกัด แถลงข่าวชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า ทางจีเอ็มเอ็มติดต่อกับทรูวิชั่นส์ เพื่อเจรจาธุรกิจการค้าตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ทว่าฝ่ายทรูวิชั่นส์มิได้ตอบกลับแต่ประการใด ดังนั้นจึงไม่สามารถให้ทรูวิชั่นส์ ถ่ายทอดสัญญาณตามที่เรียกร้องได้[37]

จนกระทั่งในวันที่ 6 มิถุนายน ทรูวิชั่นส์ยื่นหนังสือด่วน ถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหารือถึงข้อกังวลของสมาชิกทรูวิชั่นส์ว่า จะสามารถรับชมการแข่งขันครั้งนี้ได้หรือไม่ และขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในกรณีดังกล่าวด้วย กสทช.จึงนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) เป็นวาระพิเศษ โดยมีมติว่าสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ต้องปฏิบัติกับผู้ประกอบการโทรทัศน์ ระบบบอกรับสมาชิก ทุกรายอย่างเสมอภาคกัน และประชาชนต้องไม่ได้รับผลกระทบ กสทช.จึงเชิญทรูวิชั่นส์ และผู้ประกอบการโทรทัศน์ทั้งสามช่อง เข้าชี้แจงเพิ่มเติมในช่วงบ่ายวันรุ่งขึ้น[49]

ต่อมาในเวลา 13:30 น. วันที่ 7 มิถุนายน กสทช.เปิดรับฟังคำชี้แจงจากผู้แทนช่อง 3, ททบ.5,ช่อง 7 สี, โมเดิร์นไนน์ทีวี และทรูวิชั่นส์ พร้อมเอกสารสัญญาระหว่างทั้งสามช่องกับทรูวิชั่นส์ และระหว่างทั้งสามช่องกับจีเอ็มเอ็มฯ เพื่อประกอบการพิจารณา หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ระบุในสัญญา เข้าสู่การประชุมคณะอนุกรรมการ กสท.อีกครั้ง แล้วมีมติให้โทรทัศน์ภาคพื้นดิน ออกอากาศให้ประชาชนรับชม อย่างปกติตามกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ และให้ทรูวิชั่นส์ดำเนินการใดๆ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคปกติแก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งทรูวิชั่นส์มีโฆษณาว่าจะแพร่ภาพให้สมาชิกได้ชม[50]

หลังจากเข้าให้ข้อมูลกับ กสทช.แล้ว ผู้บริหารทรูวิชั่นส์ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้านี้มีการเจรจาหาทางออกมาตลอด แต่จีเอ็มเอ็มฯ มีจุดยืนชัดเจนว่า ต้องการจำหน่ายผ่านกล่องรับสัญญาณ ดังนั้น กสทช.ควรออกคำสั่งทางปกครอง บังคับให้โทรทัศน์ภาคพื้นดินทั้งสามช่อง กลับไปเจรจากับจีเอ็มเอ็มฯ เพื่อให้สามารถรับชมได้ตามปกติในทุกช่องทาง แต่หากมติ กสทช.เป็นผลให้ต้องระงับการแพร่ภาพทั้งสามช่อง ในช่วงเวลาถ่ายทอดสดการแข่งขันครั้งนี้จริง ทรูวิชั่นส์จะนำรายการกีฬาคุณภาพมาเสนอฉายทดแทน โดยทาง กสทช.เปิดเผยว่า ถ้าทรูวิชั่นส์ไม่สามารถแพร่ภาพ ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินตามที่โฆษณาไว้ จะต้องชำระค่าปรับแก่ กสทช.วันละ 50,000-5,000,000 บาท ตามความผิดที่ระบุในพระราชบัญญัติ กสทช.พ.ศ. 2551[50]

จากนั้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ทรูวิชั่นส์เปิดสำนักงานของตน เพื่อเจรจากับจีเอ็มเอ็มฯ ในกรณีดังกล่าวตลอดทั้งวัน ทว่ายังไม่อาจสรุปได้ เนื่องจากทางจีเอ็มเอ็มฯ ต้องนำผลการเจรจา ไปแจ้งให้ยูฟ่าเป็นผู้อนุมัติ ในขั้นสุดท้ายเสียก่อน เป็นผลให้ทรูวิชั่นส์ไม่สามารถถ่ายทอดสดการแข่งขันตั้งแต่นัดแรกได้ โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ทรูวิชั่นส์แสดงหน้าจอกราฟิก พร้อมประกาศความว่า "ทรูวิชั่นส์ ขออภัยท่านสมาชิก ที่ไม่สามารถรับชมยูโร 2012 ในช่วงนี้ได้ เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5,7, 9 ได้ตกลงกับผู้ถือลิขสิทธิ์ ไม่อนุญาตให้ทรูวิชั่นส์แพร่ภาพต่อ อย่างไรก็ดี ทรูวิชั่นส์ ก็ยังใช้ความพยายามในการเจรจากับเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อจะสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ เพื่อประโยชน์ต่อสมาชิกทรูวิชั่นส์ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุป ในวันจันทร์หรืออังคารที่จะถึงนี้" [51]

ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน กสทช.มีหนังสือถึงทรูวิชั่นส์ แจ้งมติคณะอนุกรรมการ กสท.ที่พิจารณาว่าทรูวิชั่นส์มีความผิดฐานละเว้นกระทำการ ซึ่งขัดต่อคำสั่งทางปกครอง โดยให้เร่งดำเนินการตามคำสั่ง และให้จ่ายค่าปรับแก่ กสทช.เป็นเงิน 20,000 บาทต่อวัน จนกว่าจะปฏิบัติตามที่สัญญากับสมาชิกผู้ชม ทั้งนี้หนังสือดังกล่าว กำหนดให้ทรูวิชั่นส์ดำเนินการให้แล้วเสร็จ และรายงานผลกลับมายัง กสทช.ภายในเวลา 16:30 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน[52] ในวันเดียวกัน ทรูวิชั่นส์ออกแถลงการณ์ถึงสมาชิก ขออภัยที่ไม่สามารถดำเนินการให้สามารถรับชมการแข่งขันได้ และขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงขอมอบสิทธิพิเศษ เพิ่มช่องรายการแบบให้เปล่า ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม ซึ่งช่องรายการที่เพิ่มให้ จะแตกต่างไปตามระดับของสมาชิก[53]

ทรูวิชั่นส์ทำหนังสือชี้แจงถึง กสทช.ลงวันที่ 12 มิถุนายน โดยมีความเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของ กสทช.มีความคลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้อง และไม่อาจรับฟังได้ เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่าทรูวิชั่นส์กระทำผิดตามกฎหมาย จึงขอเรียกร้องต่อ กสทช.เพื่อทบทวนให้ยกเลิกหรือแก้ไขคำสั่งอย่างรอบคอบอีกครั้ง ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ในเนื้อหาดังกล่าวยังยืนยันว่า ไม่ยินยอมให้เผยแพร่ทางกล่องรับสัญญาณ ผ่านสายเคเบิลของบริษัทฯ ทั้งนี้หากทรูวิชั่นส์กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยการแพร่ภาพสัญญาณออกไป ก็จะมีโทษพักใช้หรือระงับใบอนุญาต จึงขอยืนยันว่า ทรูวิชั่นส์จะใช้ความพยายามดีที่สุด เพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการและการโฆษณาของบริษัทฯ ภายใต้ขอบเขตทางกฎหมาย ทั้งขอสงวนสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง หรือมาตรการบังคับในเรื่องนี้จนถึงที่สุด[54]

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน จีเอ็มเอ็มแซตแถลงข่าวว่า ยูฟ่าส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาแจ้งผลให้ทราบ โดยไม่อนุญาตให้ทรูวิชั่นส์ออกอากาศต่อจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เนื่องจากพ้นระยะที่เปิดให้ร้องขอสิทธิเผยแพร่ต่อ และพึงพอใจกับช่องทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแล้ว[55] ส่วนผู้บริหารทรูวิชั่นส์ ให้สัมภาษณ์แสดงความผิดหวัง ที่ไม่สามารถถ่ายทอดจากทั้งสามช่องได้ แต่ขอยอมรับผลที่เกิดขึ้น และจะไม่ยื่นเรื่องไปชี้แจงแก่ยูฟ่า หรือเจรจากับจีเอ็มเอ็มฯ อีกแล้ว[56]

จากนั้นมีการเรียกผู้บริหารและผู้แทนของจีเอ็มเอ็มแกรมมี่, จีเอ็มเอ็มแซต, ทรูวิชั่นส์, ช่อง 3, ททบ.5, ช่อง 7 สี,โมเดิร์นไนน์ทีวี ไปชี้แจงกับหลายหน่วยงานเช่น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน[57], คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม ร่วมกับคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เป็นประธาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตำแหน่ง และร่วมฟังการชี้แจงนี้ด้วย ประกาศนัดผู้บริหารจีเอ็มเอ็มแกรมมี่และทรูวิชั่นส์ ชี้แจงกับตนในช่วงบ่ายวันที่ 15 มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาล[58] หลังจากนั้นทั้งสามฝ่ายแถลงข่าวร่วมกัน โดยระบุว่าจีเอ็มเอ็มฯ ส่งผู้แทนไปเจรจากับยูฟ่า พร้อมยื่นข้อเรียกร้องและแจ้งถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และหากยูฟ่ากำหนดให้ดำเนินการอย่างไรก็ตาม ทรูวิชั่นส์ยินดีปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข แม้แต่การเปิดช่องรายการเฉพาะกิจ เพื่อถ่ายทอดสดการแข่งขันรายการนี้โดยเฉพาะก็ตาม ทั้งนี้หากยูฟ่ายังไม่อนุญาต ทางจีเอ็มเอ็มฯ ก็พร้อมจะเปิดสัญญาณให้เป็นอิสระ ทั้งนี้ต้องให้ผู้มีอำนาจสั่งการมา โดยจะขอรับผิดชอบร่วมกับผู้สั่งการนั้น[59]

ในวันที่ 16 มิถุนายน ผู้บริหารระดับสูงของสมาคมฟุตบอลยุโรป จะนำกรณีปัญหาของประเทศไทย มาเป็นตัวอย่างเพื่อพิจารณาระเบียบ การจำหน่ายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลของยูฟ่า แก่ประเทศต่างๆ ในโอกาสต่อไป ทั้งนี้แต่เดิม ยูฟ่ากำหนดวิธีจำหน่ายลิขสิทธิ์ดังกล่าวอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยไม่พบปัญหาแต่อย่างใด จนกระทั่งเกิดกรณีปัญหาจากเคเบิลทีวีทรูวิชั่นส์ดังกล่าว ซึ่งยูฟ่าไม่อนุมัติให้เชื่อมสัญญาณถ่ายทอดสดการแข่งขัน อันเป็นการให้ช่วงสิทธิต่อ เนื่องจากเป็นโทรทัศน์ที่ต้องเสียค่าบริการ ผู้บริหารของยูฟ่าจึงตระหนักว่า การบริหารจัดการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาที่มีลิขสิทธิ์ ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงเห็นควรให้ปรับปรุงระเบียบวิธีการจำหน่ายลิขสิทธิ์เสียใหม่ โดยคำนึงถึงสภาวะทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เป็นการเฉพาะของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มมูลค่าในการจำหน่ายลิขสิทธิ์ดังกล่าวขึ้นอีก[60]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "UEFA EURO 2012 Top scorers". ยูฟ่า. 1 กรกฎาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "EURO joy for Poland and Ukraine". UEFA. 18 April 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-21. สืบค้นเมื่อ October 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Municipal Stadium Poznan launched in style". UEFA. 21 September 2010.
  4. "Metalist Stadium lights up Kharkov". UEFA. 5 December 2009.
  5. "National Stadium Warsaw". UEFA.com. Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  6. "Arena Gdansk". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  7. "Municipal Stadium Wroclaw". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-19. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  8. "Municipal Stadium Poznan". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  9. "Olympic Stadium, Kyiv". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-22. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  10. "Donbass Arena". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  11. "Metalist Stadium". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  12. "Arena Lviv". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  13. ผู้ตัดสินสั่งยุติการแข่งขันชั่วคราว หลังจากเริ่มไปได้ 3 นาที เนื่องจากฝนตกหนัก แล้วกลับมาแข่งต่อในเวลา 20:00 UTC+3
  14. เลื่อนไปเริ่มแข่งขันเวลา 22:00 UTC+3 เนื่องจากนัดที่ 15 จบช้ากว่าที่กำหนด เนื่องจากฝนตกหนัก
  15. "Full-time report Czech Republic-Portugal" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  16. "Full-time report Germany-Greece" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 22 June 2012. สืบค้นเมื่อ 22 June 2012.
  17. "Full-time report Spain-France" (PDF). Union of European Football Associations. 23 June 2012. สืบค้นเมื่อ 23 June 2012.
  18. "Full-time report England-Italy" (PDF). Union of European Football Associations. 24 June 2012. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  19. "Full-time report Portugal-Spain" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 June 2012. สืบค้นเมื่อ 27 June 2012.
  20. "Full-time report Germany-Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 28 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  21. "Full-time report Spain-Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  22. Liew, Jonathan (2 ธันวาคม 2011). "Adidas's new Tango 12 ball moves on from the World Cup Jabulani". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
  23. "Apply now for UEFA EURO 2012 ticket sales". UEFA. 1 March 2011.
  24. "Massive demand for UEFA EURO 2012 tickets". UEFA. 1 April 2011.
  25. "Ticket prices for UEFA EURO 2012 announced". UEFA. 15 February 2011.
  26. 26.0 26.1 "Logo/brand". UEFA. 14 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-05-08.
  27. "Co-hosts in bloom for EURO 2012". UEFA. 14 December 2009.
  28. "EURO 2012 mascots named Slavek and Slavko". UEFA. 4 December 2010.
  29. "Oceana the No1 choice to sing song for EURO –". Uefa.com. 2 December 2011. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
  30. "UEFA appoints worldwide licensing representative". UEFA.com. Union of European Football Associations. 8 June 2010. สืบค้นเมื่อ 3 April 2012.
  31. "Official licensed products" (PDF). uefa-euro2012-licencee.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 3 April 2012.
  32. ""Trophy Tour" page". uefa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-01. สืบค้นเมื่อ 27 April 2012.
  33. "Follow the Trophy tour under way in Warsaw". uefa.com. สืบค้นเมื่อ 27 April 2012.
  34. Media Rights for UEFA EURO 2012 announced in Thailand: GMM Grammy awarded exclusive rights in Thailand, UEFA News on Website, 26 April 2011.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 'GMM' อัด 'ทรูวิชั่นส์' บิดเบือนเหตุ 'จอดำ', เว็บไซต์คมชัดลึก, 11 มิถุนายน 2555.
  36. แกรมมี่ ปรับโฉม"วันสกาย"ทุ่ม100ล้านเปลี่ยนโลโก้ ปั้นใหม่"จีเอ็มเอ็ม แซท"ลุยทีวีดาวเทียม, มติชนออนไลน์, 22 มีนาคม 2555.
  37. 37.0 37.1 แฟนทรูฯแห้ว! แกรมมี่แจงลิขสิทธิ์บอลยูโร-เปิดทางเจรจา2ฝ่ายสางปัญหาจอดำ, มติชนออนไลน์, 1 มิถุนายน 2555.
  38. ทำเนียบบุคลากร เก็บถาวร 2012-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กองทันตแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก.
  39. “บิ๊กจ๊ะ” นำทีมผู้บรรยาย ระเบิดความมันส์ ศึกยูโร 2012[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 8 มิถุนายน 2555.
  40. จีเอ็มเอ็มสปอร์ต ประกาศยืนยันทรู ยังไม่สามารถรับชมฟุตบอลยูโร 2012 ได้[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 8 มิถุนายน 2555.
  41. 41.0 41.1 41.2 “บอลยูโร สุดคึกแกรมมี่จับมือช่อง 3-5-7-9-ดีทีวี ถ่ายสดคาดเรตติ้งสูงสุด-สปอนเซอร์ล้น”[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต เก็บถาวร 2012-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 26 เมษายน 2555.
  42. DTV News เก็บถาวร 2012-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ดีทีวี-เอชดี เก็บถาวร 2012-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  43. Official : ประกาศ!! ชมยูโรฟรีที่กล่องทีวีจีเอ็มเอ็มแซตเท่านั้น[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 31 พฤษภาคม 2555.
  44. แกรมมี่ทุ่ม30ล้านจัดลานเชียร์บอลยูโรทั่วประเทศ, เว็บไซต์สยามสปอร์ต ยูโร 2012, 1 มิถุนายน 2555.
  45. จีเอ็มเอ็มสปอร์ต จับมือ MThai ถ่ายสดบอลยูโร 2012 ทางอินเทอร์เน็ตฟรี[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 9 มิถุนายน 2555.
  46. อย่าพลาด!! ติดตามชมคลิปไฮไลต์ บอลยูโร ทุกแมตช์ ได้ที่นี่ ทุกวันจนจบการแข่งขัน, ข่าวสดออนไลน์, 7 มิถุนายน 2555.
  47. “AIS – GMM Z Sport” ชมถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโรบนมือถือ[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 29 พฤษภาคม 2555.
  48. ทรูแถลงเรียกร้องคนไทยควรได้ชมยูโรผ่านฟรีทีวี, เว็บไซต์สยามสปอร์ต ยูโร 2012, 30 พฤษภาคม 2555.
  49. "กสทช."นัดเคลียร์ "ทรูวิชั่นส์-ฟรีทีวี" วันนี้ หาข้อสรุปถ่ายทอดบอลยูโร ขีดเส้น8มิ.ย.รายงานผล, มติชนออนไลน์, 7 มิถุนายน 2555.
  50. 50.0 50.1 กสทช. ฟันธง ห้ามทรูวิชั่นส์จอดำช่วงศึกยูโร ผิดสัญญาส่อปรับวันละ 5 ล้าน, มติชนออนไลน์, 7 มิถุนายน 2555.
  51. "ทรู วิชั่นส์"ฝันสลาย! เจรจาสิทธิ์ถ่ายทอดบอลยูโรกับแกรมมี่เหลว กลั้นใจ "จอดำ" 3 วัน ศุกร์-อาทิตย์, มติชนออนไลน์, 8 มิถุนายน 2555.
  52. กสทช.ส่งหนังสือไล่จี้"ทรู วิชั่นส์"เร่งแก้จอดำ เส้นตาย4โมงครึ่ง12มิ.ย.แจ้งผล-ขู่ลุยต่อปรับ2หมื่น, มติชนออนไลน์, 11 มิถุนายน 2555.
  53. ทรูวิชั่นส์มอบสิทธิพิเศษให้สมาชิก ชดเชยที่ไม่สามารถถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 เก็บถาวร 2012-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ทรูวิชั่นส์, 11 มิถุนายน 2555.
  54. "ทรูวิชั่นส์" โต้คำสั่ง "กสทช." อ้างคลาดเคลื่อน ไม่อาจรับฟัง วอนให้ทบทวน-ยกเลิก, มติชนออนไลน์, 12 มิถุนายน 2555.
  55. "แกรมมี่"แถลง"ยูฟ่า"ปฏิเสธส่งสัญญาณให้"ทรู"อ้างช้าไป เตรียมแจง กสทช. สมาชิกชมจอมืดจนจบการแข่งขัน, มติชนออนไลน์, 13 มิถุนายน 2555.
  56. ทรูฯผิดหวัง"ยูฟ่า"รับสภาพ"จอดำ"จนจบบอลยูโร, มติชนออนไลน์, 13 มิถุนายน 2555.
  57. รอยูฟ่าชี้-'ทรู' จอดำ, หนังสือพิมพ์ข่าวสด, 13 มิถุนายน 2555.
  58. "วรวัจน์" เตรียมทำหนังสือถึง "จีเอ็มเอ็มแชท" เรียกดูสัญญากับ "ยูฟ่า", มติชนออนไลน์, 14 มิถุนายน 2555.
  59. รบ.เรียก"แกรมมี่-ทรู"ยุติศึกจอมืดบอลยูโร "อากู๋"เผยส่งคนกล่อม"ยูฟ่า"รอบ 2 แล้ว รอลุ้นผลสัปดาห์หน้า, มติชนออนไลน์, 15 มิถุนายน 2555.
  60. ทรูวิชั่นส์ "จอดำ" กลายเป็นกรณีตัวอย่างระดับโลก "ยูฟ่า" รื้อใหม่กติกาขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดบอลยูโร, มติชนออนไลน์, 16 มิถุนายน 2555.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้