ฟุตบอลทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์
ฟุตบอลทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ (อังกฤษ: Switzerland national football team, เยอรมัน: Schweizer Fußballnationalmannschaft, ฝรั่งเศส: Équipe de Suisse de football, อิตาลี: Nazionale di calcio della Svizzera, รูมันช์: Squadra naziunala da ballape da la Svizra) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลสวิส
![]() | |||
ฉายา | Nati (ทีมชาติ) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลสวิส | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มูรัท ยาคิน | ||
กัปตัน | กรานิต จากา | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | กรานิต จากา (135)[1] | ||
ทำประตูสูงสุด | อเล็กซานเดอร์ ฟราย (42) | ||
รหัสฟีฟ่า | SUI | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 20 ![]() | ||
อันดับสูงสุด | 3 (สิงหาคม ค.ศ. 1993) | ||
อันดับต่ำสุด | 83 (ธันวาคม ค.ศ. 1998) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
![]() ![]() (ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส; 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905) | |||
ชนะสูงสุด | |||
![]() ![]() (ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1924) | |||
แพ้สูงสุด | |||
![]() ![]() (บาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์; 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1909) ![]() ![]() (บูดาเปสต์, ประเทศฮังการี; 29 ตุลาคม ค.ศ. 1911) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 12 (ครั้งแรกใน 1934) | ||
ผลงานดีที่สุด | 8 ทีมสุดท้าย (1934, 1938, 1954) | ||
ยูฟ่ายูโรปาลีก | |||
เข้าร่วม | 5 (ครั้งแรกใน 1996) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบก่อนรองชนะเลิศ (2020, 2024) | ||
ยูฟ่าเนชันส์ลีก รอบสุดท้าย | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2019) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับที่สี่ (2019) | ||
เกียรติยศ |
ทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์มีผลงานที่ดีที่สุดคือ สามารถเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย 3 ครั้งในฟุตบอลโลก คือในปี 1934, 1938 และ 1954 โดยใน 1954 ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพนั้น พวกเขาแพ้ให้กับออสเตรียในรอบก่อนรองชนะเลิศ 7–5 ซึ่งถือเป็นนัดที่มีการทำประตูกันมากที่สุดในฟุตบอลโลก[3] ต่อมาในฟุตบอลโลก 2006 สวิตเซอร์แลนด์ทำสถิติใหม่ในรายการนี้ด้วยการตกรอบทั้งที่ไม่เสียประตูเลยแม้แต่ลูกเดียว โดยพวกเขาแพ้การยิงลูกโทษต่อยูเครนในรอบ 16 ทีมสุดท้าย พวกเขาเสียประตูอีกครั้งหนึ่งในนัดที่พบกับชิลีในฟุตบอลโลก 2010 ทำให้สวิตเซอร์แลนด์กลายเป็นทีมชาติที่ไม่เสียประตูติดต่อกันนานที่สุดในฟุตบอลโลก[4]
สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียเป็นเจ้าภาพร่วมในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 โดยสวิตเซอร์แลนด์ได้ลงเล่นเป็นครั้งที่สามในรายการนี้ แต่ก็ตกรอบแบ่งกลุ่มเป็นครั้งที่สามด้วยเช่นกัน[5][6] อย่างไรก็ตาม สวิตเซอร์แลนด์สามารถผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 และมีผลงานดีที่สุดในรายการนี้ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 เมื่อพวกเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายโดยเอาชนะแชมป์โลกอย่างฝรั่งเศส[7][8]
ผลงานที่ดีที่สุดของทีมในการแข่งขันฟุตบอลทางการคือรางวัลเหรียญเงินในโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ซึ่งพวกเขาแพ้อุรุกวัย 3–0 ในรอบชิงชนะเลิศ[9]
ประวัติ
แก้1924–1966: ยุคแรกและการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก
แก้ทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์มีส่วนร่วมในการแข่งขันระดับนานาชาติในฟุตบอลโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 มีผลงานคือคว้าเหรียญเงิน โดยแพ้อุรุกวัยในรอบชิงชนะเลิศ 3–0[10] ต่อมา พวกเขามีส่วนร่วมในฟุตบอลโลก 1934 ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ (8 ทีมสุดท้าย) จากการชนะเนเธอร์แลนด์ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 3–2 แต่แพ้เชโกสโลวาเกีย[11][12] และผ่านเข้าถึงรอบเดียวกันนี้ในฟุตบอลโลก 1938 เอาชนะเยอรมนีในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 4–2 ในนัดแข่งใหม่ แต่แพ้ฮังการี 2–0[13][14][15] ต่อมาในฟุตบอลโลก 1950 สวิตเซอร์แลนด์อยู่กลุ่มเดียวกับบราซิล, ยูโกสลาเวีย และเม็กซิโก ในนัดแรกนั้นพวกเขาแพ้ยูโกสลาเวียขาดลอย 4–0 ตามด้วยการเสมอบราซิล 2–2 และชนะเม็กซิโก 2–1 จบอันดับ 3 ของกลุ่ม[16] สวิตเซอร์แลนด์ได้รับการคัดเลือกเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1954 จากการคัดเลือกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1946 ณ นครลักเซมเบิร์ก และในการแข่งขันรอบสุดท้าย พวกเขาจบอันดับ 2 ของกลุ่มตามหลังอังกฤษ โดยชนะอิตาลีและแพ้อังกฤษ[17] เข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายจากการแข่งเพลย์ออฟชนะอิตาลี[18] พวกเขาแพ้ให้กับออสเตรียในรอบก่อนรองชนะเลิศ 7–5 ซึ่งถือเป็นนัดที่มีการทำประตูกันมากที่สุดในฟุตบอลโลก สวิตเซอร์แลนด์ตกรอบแบ่งกลุ่มในฟุตบอลโลก 1962 แพ้รวดทั้ง 3 นัดที่พบกับชิลี (3–1), เยอรมนีตะวันตก (2–1) และอิตาลี (3–0)[19] ซึ่งเป็นผลงานที่เท่ากับฟุตบอลโลก 1966 แพ้เยอรมนีตะวันตก (5–0), สเปน (2–1 และอาร์เจนตินา (2–0)[20]
1992–1996: รอย ฮอดจ์สัน
แก้รอย ฮอดจ์สัน ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษเข้ามารับตำแหน่งในปี 1992 ในช่วงที่เขารับตำแหน่งนั้น สวิตเซอร์แลนด์ไม่ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรายการเมเจอร์นับตั้งแต่ปี 1966[21] ในช่วงการคุมทีมของเขา สวิตเซอร์แลนด์ขึ้นถึงอันดับ 3 ของโลกในเดือนสิงหาคม 1993 นับเป็นอันดับที่ดีที่สุดถึงปัจจุบัน[22] พาทีมผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 1994 โดยแพ้ไปเพียงนัดเดียวในรอบคัดเลือก ซึ่งในกลุ่มนั้นมีทีมแกร่งอย่างอิตาลี, โปรตุเกส และสกอตแลนด์ พวกเขาชนะอิตาลีในบ้าน ตามด้วยการบุกไปเสมอ 2–2 โดยออกนำก่อน 2–0 และพวกเขาเก็บได้ 4 คะแนนจากสกอตแลนด์จากการชนะในบ้าน 3–1 และบุกไปเสมอ 1–1[23][24][25] พวกเขาเก็บได้ 2 คะแนนจากโปรตุเกสด้วยการเสมอในบ้าน 1–1 และบุกไปแพ้ 1–0 ที่โปร์ตู[26] ในการแข่งขันรอบสุดท้าย สวิตเซอร์แลนด์เสมอเจ้าภาพอย่างสหรัฐในนัดเปิดสนาม 1–1 ตามด้วยการชนะโรมาเนีย 4–1 และแพ้โคลอมเบียในนัดสุดท้าย 2–0 เข้ารอบในฐานะทีมรองแชมป์กลุ่ม แต่แพ้สเปนในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 3–0[27][28]
2000–2008
แก้สวิตเซอร์แลนด์ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 อย่างง่ายดายด้วยการแพ้ในรอบคัดเลือกเพียงนัดเดียวต่อตุรกี 2–1[29] แต่ในรอบแบ่งกลุ่มนั้น พวกเขาจบอันดับสุดท้าย โดยเสมออังกฤษในนัดแรก 1–1 จากจุดโทษท้ายเกมของคูบิเลย์ เทือร์คยิลมาซ และแพ้เนเธอร์แลนด์ในนัดต่อมา 2–0 ปิดท้ายด้วยการแพ้สกอตแลนด์ 1–0 ยุติเส้นทางไว้แค่รอบแรก[30] ต่อมา พวกเขาไม่ผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศส โดยจบในอันดับ 4 ในรอบคัดเลือก เอาชนะได้ 3 นัดจากการชนะฟินแลนด์ 3–2, ชนะฮังการี 1–0 และชนะคาซัคสถาน 5–0 รวมถึงเสมอฮังการี 1–1 และแพ้อีก 3 เกม รวมถึงแพ้นอร์เวย์ทั้งเหย้าและเยือน[31]
สวิตเซอร์แลนด์จบอันดับ 1 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 รอบคัดเลือก โดยเอาชนะได้ 4 จาก 8 นัด และแพ้เพียงนัดเดียวเมื่อบุกไปแพ้รัสเซีย 4–1 ในช่วงเวลานี้ทีมมีผลงานโดดเด่นจากผลงานของกองหน้าอย่างอเล็กซานเดอร์ ฟราย ในการแข่งขันรอบสุดท้าย สวิตเซอร์แลนด์อยู่กลุ่มเดียวกับแชมป์เก่าอย่างฝรั่งเศส, อังกฤษ และโครเอเชีย พวกเขาเริ่มต้นการแข่งขันด้วยการเสมอโครเอเชีย 0–0 และแพ้อังกฤษ 3–0 และแพ้ฝรั่งเศสในนัดสุดท้าย 3–1 จบอันดับสุดท้ายของกลุ่ม และทำได่เพียง 1 ประตูตลอดการแข่งขันจากโยฮัน วอนแลนเธน ซึ่งกลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ทำประตูได้ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ทำสถิติแซงหน้าเวย์น รูนีย์ซึ่งเพิ่งทำสถิติไป 4 วันก่อนหน้านี้[32]
สวิตเซอร์แลนด์ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 2006 จากการเอาชนะตุรกีในรอบเพลย์ออฟตามกฏการยิงประตูทีมเยือน นับเป็นการกลับไปแข่งขันรายการนี้ครั้งแรกตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1994[33] พวกเขาลงสนามนัดแรกเสมอฝรั่งเศส 0–0 และชนะโตโก 2–0 และเอาชนะเกาหลีใต้ 2–0 สวิตเซอร์แลนด์ต้องยุติเส้นทางในรอบ 16 ทีมสุดท้ายอย่างน่าเสียดายจากการแพ้การยิงจุดโทษยูเครน 3–0 หลังจากเสมอกันในเวลาปกติ 0–0 พวกเขายังเป็นทีมเดียวในการแข่งขันที่ตกรอบโดยไม่เสียประตูเลย[34] สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008[35] ทว่าพวกเขามีงานผลงานน่าผิดหวัง โดยแพ้เช็กเกียในนัดเปิดสนาม 1–0 และแพ้ตุรกี 2–1 และพวกเขาอำลาการแข่งขันด้วยการชนะโปรตุเกส 2–1[36]
2008–2014: ยุคของอ็อตมาร์ ฮิตซ์เฟลด์
แก้ในฟุตบอลโลก 2010 สวิตเซอร์แลนด์เอาชนะทีมแชมป์ในครั้งนี้ซึ่งก็คือสเปน 1–0 จากประตูของแฌลซัน ฟือร์นังดึช แต่พวกเขาตกรอบ ก่อนหน้านี้พวกเขาทำสถิติไม่เสียประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายนานที่สุด 559 นาที ทำลายสถิติเดิมของอิตาลีจำนวน 9 นาที[38][39] ก่อนจะเสียประตูให้กับชิลีในนัดต่อมาโดยมาร์ก กอนซาเลซ และปิดท้ายด้วยการเสมอฮอนดูรัส 0–0[40] สวิตเซอร์แลนด์ไม่ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษที่ไม่ผ่านเข้าแข่งขันรายการนี้ โดยในรอบคัดเลือกพวกเขาอยู่ร่วมกลุ่มกับอังกฤษ, มอนเตเนโกร, เวลส์ และบัลแกเรีย ในนัดแรกพวกเขาแพ้ต่ออังกฤษ 3–1 ซึ่งเป็นนัดที่แจร์ดัน ชาชีรี ทำประตูแรกในนามทีมชาติ ตามด้วยการแพ้มอนเตเนโกร 1–0[41][42] พวกเขาทำผลงานได้ดีในนัดต่อมา เอาชนะเวลส์ 4–1 แต่ก็เสมออีกสองนัดที่พบกับบัลแกเรีย (0–0) และอังกฤษ (2–2)[43][44][45] แต่นับว่าพวกเขายังมีความหวังอยู่บ้าง เมื่อเอาชนะบัลแกเรียได้ 3–1 จากแฮตทริกของชาชีรี[46] อย่างไรก็ตาม ในนัดต่อมาพวกเขาแพ้เวลส์ 2–0 ซึ่งผู้เล่นแนวรับอย่างเรโต ซีกเลอร์ ได้รับใบแดง และความหวังในการเข้ารอบหมดลงอย่างเป็นทางการ เมื่อมอนเตเนโกรตีเสมออังกฤษเป็น 2–2[47][48] แม้พวกเขาจะล้างแค้นด้วยการเอาชนะมอนเตเนโกรในนัดสุดท้าย 2–0[49] ชาชีรีถือเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในรอบคัดเลือกครั้งนี้จำนวน 4 ประตู[50]
ในรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลก 2014 สวิตเซอร์แลนด์ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก จากการชนะฮอนดูรัสขาดลอย 3–0 จากแฮตทริกของชาชีรี พวกเขายุติเส้นทางในรอบต่อมา แม้จะสู้กับอาร์เจนตินาได้สูสีตลอดทั้งเกม และเสียประตูให้แก่อังเฆล ดิ มาริอา ในช่วงต่อเวลาพิเศษนาทีที่ 118
2016–2021: ยุคของวลาดิมีร์ เป็ตกอวิช
แก้ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 สวิตเซอร์แลนด์อยู่ในกลุ่มเอร่วมกับเจ้าภาพอย่างฝรั่งเศส, แอลเบเนีย และโรมาเนีย โดยในนัดแรก สวิตเซอร์แลนด์ชนะแอลเบเนีย 1–0 จากการทำประตูชัยของฟาบีอาน แชร์ในนาทีที่ 5 ของเกม[51] นัดถัดมา พวกเขาเสมอกับโรมาเนีย 1–1 โดยถูกขึ้นนำจากการเสียลูกโทษ แต่ก็ตามตีเสมอได้จากการทำประตูของอัดมีร์ เมห์เมดีในช่วงครึ่งหลัง[52] และในนัดสุดท้ายของกลุ่ม พวกเขาเสมอกับฝรั่งเศส 0–0 อย่างไรก็ตาม เกมนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีที่เสื้อของผู้เล่นสวิสฉีกขาดในตอนที่กำลังเบียดแย่งกับผู้เล่นฝรั่งเศส และลูกบอลแตกในตอนที่อ็องตวน กรีแยซมานและวาลอน เบห์รามีกำลังแย่งบอลกัน นอกจากนี้ เกมยังแข่งขันบนสนามที่พื้นผิวแย่ จนผู้จัดการและผู้เล่นของทั้งสองทีมออกมาวิจารณ์ หลังจากเกมนั้น ผู้ผลิตชุดแข่งของสวิตเซอร์แลนด์ออกมากล่าวว่าชุดแข่งผลิตจากวัสดุที่บกพร่องจนฉีดขาดในระหว่างการเล่น[53][54][55] สวิตเซอร์แลนด์จบเป็นอันดับที่สองกลุ่มและผ่านเข้ารอบไปเจอกับโปแลนด์ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย พวกเขาเสียประตูก่อนแต่ก็ตีเสมอได้จากลูกยิงจักรยานอากาศของแจร์ดัน ชาชีรี เกมยังคงเสมอเมื่อจบช่วงต่อเวลาพิเศษ ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ผู้เล่นคนอื่นยิงลูกโทษเข้ากันหมด ยกเว้นเสียแต่กรานิต จากาซึ่งเป็นคนยิงคนที่สอง ยิงลูกโทษไม่เข้า ทำให้โปแลนด์เอาชนะการยิงลูกโทษไปได้ 5–4[56][57][58]
ในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 2018 สวิตเซอร์แลนด์อยู่กลุ่มเดียวกันกับโปรตุเกส, ฮังการี, หมู่เกาะแฟโร, ลัตเวีย และอันดอร์รา[59] สวิสเริ่มต้นรอบคัดเลือกด้วยการเอาชนะแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอย่างโปรตุเกส 2–0 ทั้งที่โปรตุเกสเพิ่งชนะเลิศรายการนั้นมาได้ไม่ถึงสองเดือน ณ วันที่แข่งขัน (6 กันยายน)[60] หลังจากนั้น พวกเขาเอาชนะฮังการี 3–2, อันดอร์รา 2–1, หมู่เกาะแฟโร 2–0 และลัตเวีย 1–0 ทำให้พวกเขาชนะห้านัดแรก ขึ้นเป็นอันดันที่หนึ่งของกลุ่มด้วยคะแนน 15 แต้มเต็ม[61][62][63][64] ต่อมาในห้าเกมที่เหลือ พวกเขาชนะหมู่เกาะแฟโร 2–0, อันดอร์รา 3–0, ลัตเวีย 3–0 และฮังการี 5–2[65][66][67][68] อย่างไรก็ตาม พวกเขาพ่ายแพ้ต่อโปรตุเกส 2–0 ในนัดสุดท้ายของกลุ่ม[69] ทำให้พวกเขาจบอันดับที่ 2 ของกลุ่ม ต้องไปแข่งขันในรอบเพลย์ออฟ[59][70] ซึ่งพวกเขาจับสลากพบกับนอร์เทิร์นไอร์แลนด์ ในเลกแรกซึ่งแข่งขันวันที่ 9 พฤศจิกายน พวกเขาชนะ 1–0 จากการยิงลูกโทษที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ของรีการ์โด โรดรีเกซ และในเลกที่สองซึ่งแข่งในอีกสามวันถัดมา ทั้งสองทีมเสมอกัน 0–0 ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ได้เข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่ประเทศรัสเซียด้วยผลประตูรวม 1–0[71][72][73] ก่อนที่การแข่งขันฟุตบอลโลกจะเริ่มขึ้น สวิตเซอร์แลนด์อยู่อันดับที่ 6 จากการจัดอันดับโลกฟีฟ่า นับเป็นอันดับที่สูงกว่าแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยนั้นอย่างฝรั่งเศสเสียอีก[74]
ในฟุตบอลโลก สวิตเซอร์แลนด์อยู่ในกลุ่มอีร่วมกับบราซิล, เซอร์เบีย และคอสตาริกา[76] พวกเขาแข่งขันนัดเปิดสนามด้วยการเสมอกับบราซิล 1–1[77] ก่อนที่นัดถัดมาจะเอาชนะเซอร์เบียด้วยการทำประตูชัยของแจร์ดัน ชาชีรี[78] ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทางเซอร์เบียเนื่องจากเขา, กรานิต จากา และชเต็ฟฟัน ลิชท์ชไตเนอร์ (ซึ่งมีเชื้อสายแอลเบเนีย) ทำท่าดีใจด้วยการไขว้มือเป็นรูปนกอินทรีสองหัวซึ่งเป็นตราแผ่นดินของแอลเบเนีย เพื่อแสดงถึงความเป็นชาตินิยมแอลเบเนีย อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าไม่ได้สั่งแบนพวกเขาทั้งสามคน[79][80][81][82] นัดสุดท้ายของกลุ่ม พวกเขาเสมอกับคอสตาริกา 2–2 จากการทำประตูของเบลริม เจไมลีและยอซิป เดอร์มิช ทำให้พวกเขาจบอันดับที่สองของกลุ่ม[83] ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้าย พวกเขาพ่ายแพ้ต่อสวีเดน 1–0 ทำให้พวกเขายุติเส้นทางในฟุตบอลโลกแต่เพียงเท่านี้[84]
วันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2018 สวิตเซอร์แลนด์ได้รับเลือกให้เข้าร่วมแข่งขันในฤดูกาลเปิดตัวของยูฟ่าเนชันส์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันโดยทีมชาติสมาชิกของยูฟ่า พวกเขาถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่มที่ 2 ของลีกเอ ร่วมกับเบลเยียมและไอซ์แลนด์[85][86]
ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 สวิตเซอร์แลนด์จบอันดับที่สามของกลุ่มเอซึ่งมีทีมร่วมกลุ่มของอิตาลี, เวลส์ และตุรกี อย่างไรก็ตาม พวกเขาสามารถผ่านเข้าสู่รอบถัดไปได้ด้วยการเป็นอันดับสามที่ดีที่สุด ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้าย พวกเขาเอาชนะฝรั่งเศสด้วยการยิงลูกโทษหลังจากที่เสมอกันในเวลา 120 นาที 3–3 ทั้ง ๆ ที่ถูกนำถึง 1–3 ในช่วงครึ่งหลัง ทำให้พวกเขาชนะในรอบแพ้คัดออกของรายการใหญ่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1938[87][88]
2021–ปัจจุบัน: ยุคมูรัท ยาคิน
แก้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2021 มูรัท ยาคิน เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมคนใหม่[89] โดยในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนยุโรป สวิตเซอร์แลนด์จบอันดับ 1 ในกลุ่มซีเหนือทีมอย่างอิตาลี ส่งผลให้พวกเขาได้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายที่ประเทศกาตาร์[90] ซึ่งต่อมาสวิตเซอร์แลนด์จบอันดับ 2 ของกลุ่มจี ก่อนจะเข้าไปแพ้โปรตุเกส 6–1 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย[91] ต่อมาในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 รอบคัดเลือก ค.ศ. 2023 สวิตเซอร์แลนด์อยู่ร่วมกลุ่มกับโรมาเนีย, อิสราเอล, เบลารุส, คอซอวอ และอันดอร์รา และพวกเขาจบอันดับ 2 ตามหลังโรมาเนีย[92] สวิตเซอร์แลนด์ทำผลงานได้ดีในการแข่งขันรอบสุดท้าย โดยจบอันดับ 2 ของกลุ่มจากการมี 5 คะแนน และเอาชนะอิตาลีในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แต่ก็ต้องยุติเส้นทางเพียงเท่านี้หลังแพ้จุดโทษอังกฤษ 5–3 ภายหลังเสมอกัน 1–1 สวิตเซอร์แลนด์มีผลงานย่ำแย่ในการแข่งขันยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2024–25 พวกเขาไม่สามารถเอาชนะทีมใดจากการแข่งขัน 6 นัดจบอันดับสุดท้ายของกลุ่ม และตกชั้นสู่ลีกบีในฤดูกาล 2026–27
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนยุโรป – กลุ่มบี สวิตเซอร์แลนด์อยู่ร่วมกับสวีเดน, สโลวีเนีย และคอซอวอ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2025 สวิตเซอร์แลนด์มีโปรแกรมกระชับมิตรไปเยือนนอร์เทิร์นไอร์แลนด์ที่เบลฟาสต์
ภาพลักษณ์ทีม
แก้ชุดแข่งขัน
แก้ชุดเหย้าของทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์เป็นเสื้อสีแดง กางเกงขาสั้นสีขาว และถุงเท้าสีแดง ในขณะที่ชุดเยือนจะสลับสีเป็นเสื้อสีขาว กางเกงขาสั้นสีแดง และถุงเท้าสีขาว โดยสีกางเกงและถุงเท้าสามารถสลับสีกันได้ในบางกรณี นับตั้งแต่ที่ก่อตั้งทีมใน ค.ศ. 1895 ทีมชาติในชุดแข่งตามสีที่ปรากฏบนธงชาติ ผู้ผลิตชุดในปัจจุบันคือพูมาซึ่งผลิตชุดแข่งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1998
ผู้ผลิตชุดแข่ง
แก้ผู้ผลิต | ช่วงปี |
---|---|
อาดิดาส | 1976–1989 |
แบล็กกี | 1990–1992 |
ลอตโต | 1992–1998 |
พูมา | 1998– |
ทีมงานฝึกสอน
แก้ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มูรัท ยาคิน |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | Hakan Yakin Vincent Cavin |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | Patrick Foletti |
ผู้ฝึกสอนกายภาพ | Oliver Riedwyl |
ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน
แก้สัญชาติ | ชื่อ | สถิติ | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | เปอร์เซ็นต์ชนะ | ||
วลาดิมีร์ เป็ตกอวิช | 1 สิงหาคม 2014 – ปัจจุบัน | 76 | 41 | 15 | 20 | 53.95 | |
ออทท์มาร์ ฮิทซ์เฟลด์ | 1 กรกฎาคม 2008 – 1 กรกฎาคม 2014 | 61 | 30 | 18 | 13 | 49.18 | |
Jakob "Köbi" Kuhn | 11 กันยายน 2001 – 30 มิถุนายน 2008 | 70 | 30 | 16 | 24 | 42.86 | |
Enzo Trossero | 14 กรกฎาคม 2000 – 8 มิถุนายน 2001 | 8 | 3 | 3 | 2 | 37.50 | |
Hans-Peter Zaugg | 19 กุมภาพันธ์ 2000 – 26 เมาายน 2000 | 0 | 0 | 0 | 0 | — | |
Gilbert Gress | 1 กรกฎาคม 1998 – 31 ธันวาคม 1999 | 12 | 4 | 3 | 5 | 33.33 | |
Rolf Fringer | 15 สิงหาคม 1996 – 14 ตุลาคม 1997 | 9 | 3 | 1 | 5 | 33.33 | |
Artur Jorge | 13 มีนาคม 1996 – 18 มิถุนายน 1996 | 4 | 0 | 1 | 3 | 0.00 | |
รอย ฮอดจ์สัน | 1 กรกฎาคม 1992 – 30 พฤศจิกายน 1995 | 22 | 9 | 5 | 8 | 40.91 | |
Uli Stielike | 1 กรกฎาคม 1989 – 31 ธันวาคม 1991 | 17 | 7 | 4 | 6 | 41.18 | |
Daniel Jeandupeux | 12 มีนาคม 1986 – 26 เมษายน 1989 | 21 | 5 | 8 | 8 | 23.81 | |
Paul Wolfisberg | 1 มกราคม 1981 – 31 ธันวาคม 1985 20 มิถุนายน 1989 – 22 มิถุนายน 1989 |
33 | 11 | 12 | 10 | 33.33 | |
Leo Walker | 5 พฤษภาคม 1979 – 21 ธันวาคม 1980 | 12 | 3 | 0 | 9 | 25.00 | |
Roger Vonlanthen | 28 กุมภาพันธ์ 1977 – 28 มีนาคม 1979 | 9 | 1 | 0 | 8 | 11.11 | |
Miroslav Blažević | 22 กันยายน 1976 – 9 ตุลาคม 1976 | 2 | 0 | 0 | 2 | 0.00 | |
Bruno Michaud | 26 เมษายน 1972 – 9 พฤษภาคม 1973 | 3 | 0 | 2 | 1 | 0.00 | |
Louis Maurer | 1 กรกฎาคม 1970 – 30 มิถุนายน 1972 | 8 | 4 | 2 | 2 | 50.00 | |
René Hüssy | 22 เมษายน 1970 – 3 พฤษภาคม 1970 22 มิถุนายน 1973 – 8 กันยายน 1976 |
25 | 4 | 3 | 18 | 16.00 | |
Erwin Ballabio | 14 กุมภาพันธ์ 1968 – 3 พฤศจิกายน 1969 | 4 | 2 | 1 | 1 | 50.00 | |
Alfredo Foni | 1 กรกฎาคม 1964 – 5 มกราคม 1967 1 ตุลาคม 1967 – 23 ธันวาคม 1967 |
15 | 4 | 2 | 9 | 26.67 | |
Jiri Sobotka | 15 เมษายน 1964 – 10 พฤษภาคม 1964 | 3 | 1 | 0 | 2 | 33.33 | |
Willibald Hahn | 20 กันยายน 1958 – 25 ตุลาคม 1959 | 2 | 0 | 0 | 2 | 0.00 | |
Jacques Spagnoli | 1 พฤษภาคม 1955 – 26 พฤษภาคม 1958 | 8 | 1 | 2 | 5 | 12.50 | |
Hans Rüegsegger | 19 กันยายน 1954 – 10 ตุลาคม 1954 | 1 | 0 | 0 | 1 | 0.00 | |
Franco Andreoli | 19 มีนาคม 1950 – 22 พฤศจิกายน 1950 | 6 | 2 | 2 | 2 | 33.33 | |
Karl Rappan | 19 กันยายน 1937 – 12 มิถุนายน 1938 1 กุมภาพันธ์ 1942 – 2 ตุลาคม 1949 1 กรกฎาคม 1953 – 30 มิถุนายน 1954 27 มีนาคม 1960 – 11 พฤศจิกายน 1963 |
36 | 10 | 5 | 21 | 27.78 | |
Schweizer Auswahlkomitee | 14 ธันวาคม 1924 – 25 มีนาคม 1934 14 ตุลาคม 1934 – 17 พฤษภาคม 1937 18 กันยายน 1938 – 1 มกราคม 1941 15 ตุลาคม 1950 – 20 กันยายน 1952 |
45 | 9 | 8 | 28 | 20.00 | |
Jimmy Hogan | 1924 – 1924 | 2 | 1 | 0 | 1 | 50.00 | |
Francois Dégerine | 1905 – 1910 | 3 | 1 | 0 | 2 | 33.33 |
รายชื่อผู้เล่น
แก้รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[93]
ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ เช็กเกีย[94][95]
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | ยัน ซ็อมเมอร์ | 17 ธันวาคม ค.ศ. 1988 | 76 | 0 | โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค |
12 | GK | โยนัส อ็อมลีน | 10 มกราคม ค.ศ. 1994 | 4 | 0 | มงเปอลีเย |
21 | GK | เกรกอร์ โคเบิล | 6 ธันวาคม ค.ศ. 1997 | 3 | 0 | โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ |
24 | GK | Philipp Köhn | 2 เมษายน ค.ศ. 1998 | 0 | 0 | เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค |
13 | DF | ริการ์โด โรดริเกซ | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1992 | 100 | 9 | โตรีโน |
22 | DF | ฟาบีอาน แชร์ | 20 ธันวาคม ค.ศ. 1991 | 72 | 8 | นิวคาสเซิลยูไนเต็ด |
5 | DF | มานูเอ็ล อาคันจี | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 | 42 | 1 | แมนเชสเตอร์ซิตี |
4 | DF | นีโค เอ็ลเวดี | 30 กันยายน ค.ศ. 1996 | 40 | 1 | โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค |
3 | DF | ซิลวาน วิทเมอร์ | 5 มีนาคม ค.ศ. 1993 | 33 | 2 | ไมนทซ์ 05 |
18 | DF | เอรัย เจอแมร์ท | 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 | 9 | 0 | บาเลนเซีย |
23 | MF | แจร์ดัน ชาชีรี (รองกัปตัน) | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1991 | 108 | 26 | ชิคาโกไฟเออร์ |
10 | MF | กรานิต จากา (กัปตัน) | 27 กันยายน ค.ศ. 1992 | 106 | 12 | อาร์เซนอล |
8 | MF | เรโม ฟร็อยเลอร์ | 15 เมษายน ค.ศ. 1992 | 48 | 5 | นอตทิงแฮมฟอเรสต์ |
6 | MF | เดอนี ซาการียา | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 | 42 | 3 | เชลซี |
15 | MF | จีบรีล โซ | 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 | 32 | 0 | ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท |
11 | MF | Renato Steffen | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 | 27 | 1 | ลูกาโน |
2 | MF | แอดีมิลซง ฟือร์นังดึช | 15 เมษายน ค.ศ. 1996 | 22 | 2 | ไมนทซ์ 05 |
25 | MF | Fabian Frei | 8 มกราคม ค.ศ. 1989 | 22 | 3 | บาเซิล |
14 | MF | Michel Aebischer | 6 มกราคม ค.ศ. 1997 | 11 | 0 | โบโลญญา |
26 | MF | Ardon Jashari | 30 มิถุนายน ค.ศ. 2002 | 1 | 0 | ลูเซิร์น |
25 | MF | Fabian Rieder | 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 | 0 | 0 | ยังบอยส์ |
9 | FW | ฮาริส เซเฟรอวิช | 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 | 88 | 25 | กาลาทาซาไร |
7 | FW | เบรล เอ็มโบโล | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 | 58 | 11 | มอนาโก |
17 | FW | รูเบน บาร์กัส | 5 สิงหาคม ค.ศ. 1998 | 26 | 4 | เอาคส์บวร์ค |
16 | FW | คริสทีอัน ฟัสนัคท์ | 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 | 15 | 4 | ยังบอยส์ |
19 | FW | Noah Okafor | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 | 8 | 2 | เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค |
สถิติผู้เล่น
แก้- ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2021[96]
- ผู้เล่น ตัวหนา หมายถึง ผู้เล่นที่ยังคงลงเล่นให้กับทีมชาติในปัจจุบัน
|
|
สถิติการแข่งขัน
แก้สวิตเซอร์แลนด์ยังไม่เคยชนะเลิศการแข่งขันระดับนานาชาติ ผลงานที่ดีที่สุดของพวกเขาคือการเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลโลกสามครั้งในปี 1934, 1938 และ 1954 และการเป็นรองแชมป์โอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่พวกเข้าพ่ายแพ้ต่ออุรุกวัยในรอบชิงชนะเลิศที่ปารีส 3–0[97] อย่างไรก็ตาม ทีมชาติชุดเยาวชนมีความสำเร็จมากกว่า โดยทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปีเคยชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2002 และ 2009 ในขณะที่ทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปีเคยเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2002 และเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2011[98][99][100][101]
ฟุตบอลโลก
แก้สถิติในฟุตบอลโลก | สถิติในรอบคัดเลือก | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย | ผู้เล่น | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ||
1930 | ไม่ได้เข้าร่วม | ถูกเชิญเข้าร่วม | |||||||||||||||
1934 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 7 | 2 | 1 | 0 | 1 | 5 | 5 | ผู้เล่น | 2 | 0 | 2 | 0 | 4 | 4 | ||
1938 | 7 | 3 | 1 | 1 | 1 | 5 | 5 | ผู้เล่น | 1 | 1 | 0 | 0 | 2 | 1 | |||
1950 | รอบแบ่งกลุ่ม | 6 | 3 | 1 | 1 | 1 | 4 | 6 | ผู้เล่น | 2 | 2 | 0 | 0 | 8 | 4 | ||
1954 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 8 | 4 | 2 | 0 | 2 | 11 | 11 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นเจ้าภาพ | |||||||
1958 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 4 | 0 | 1 | 3 | 6 | 11 | ||||||||||
1962 | รอบแบ่งกลุ่ม | 16 | 3 | 0 | 0 | 3 | 2 | 8 | ผู้เล่น | 5 | 4 | 0 | 1 | 11 | 10 | ||
1966 | 16 | 3 | 0 | 0 | 3 | 1 | 9 | ผู้เล่น | 6 | 4 | 1 | 1 | 7 | 3 | |||
1970 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 6 | 2 | 1 | 3 | 5 | 8 | ||||||||||
1974 | 6 | 2 | 2 | 2 | 2 | 4 | |||||||||||
1978 | 4 | 1 | 0 | 3 | 3 | 5 | |||||||||||
1982 | 8 | 2 | 3 | 3 | 9 | 12 | |||||||||||
1986 | 8 | 2 | 4 | 2 | 5 | 10 | |||||||||||
1990 | 8 | 2 | 1 | 5 | 10 | 14 | |||||||||||
1994 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | 16 | 4 | 1 | 1 | 2 | 5 | 7 | ผู้เล่น | 10 | 6 | 3 | 1 | 23 | 6 | ||
1998 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 8 | 3 | 1 | 4 | 11 | 12 | ||||||||||
2002 | 10 | 4 | 2 | 4 | 18 | 12 | |||||||||||
2006 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | 10 | 4 | 2 | 2 | 0 | 4 | 0 | ผู้เล่น | 12 | 5 | 6 | 1 | 22 | 11 | ||
2010 | รอบแบ่งกลุ่ม | 19 | 3 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | ผู้เล่น | 10 | 6 | 3 | 1 | 18 | 8 | ||
2014 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | 11 | 4 | 2 | 0 | 2 | 7 | 7 | ผู้เล่น | 10 | 7 | 3 | 0 | 17 | 6 | ||
2018 | 14 | 4 | 1 | 2 | 1 | 5 | 5 | ผู้เล่น | 12 | 10 | 1 | 1 | 24 | 7 | |||
2022 | 12 | 4 | 2 | 0 | 2 | 5 | 9 | ผู้เล่น | 8 | 5 | 3 | 0 | 15 | 2 | |||
2026 | ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน | ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน | |||||||||||||||
2030 | |||||||||||||||||
2034 | |||||||||||||||||
ทั้งหมด | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 12/22 | 41 | 14 | 8 | 19 | 55 | 73 | — | 140 | 68 | 37 | 35 | 220 | 150 |
- *การเสมอนับรวมถึงนัดที่ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
แก้สถิติในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | สถิติในรอบคัดเลือก | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย | ผู้เล่น | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ||
1960 | ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน | ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน | |||||||||||||||
1964 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 2 | 0 | 1 | 1 | 2 | 4 | ||||||||||
1968 | 6 | 2 | 1 | 3 | 17 | 13 | |||||||||||
1972 | 6 | 4 | 1 | 1 | 12 | 5 | |||||||||||
1976 | 6 | 1 | 1 | 4 | 5 | 10 | |||||||||||
1980 | 8 | 2 | 0 | 6 | 7 | 18 | |||||||||||
1984 | 6 | 2 | 2 | 2 | 7 | 9 | |||||||||||
1988 | 8 | 1 | 5 | 2 | 9 | 9 | |||||||||||
1992 | 8 | 4 | 2 | 2 | 19 | 7 | |||||||||||
1996 | รอบแบ่งกลุ่ม | 13 | 3 | 0 | 1 | 2 | 1 | 4 | ผู้เล่น | 8 | 5 | 2 | 1 | 15 | 7 | ||
2000 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 8 | 4 | 2 | 2 | 9 | 5 | ||||||||||
2004 | รอบแบ่งกลุ่ม | 15 | 3 | 0 | 1 | 2 | 1 | 6 | ผู้เล่น | 8 | 4 | 3 | 1 | 15 | 11 | ||
2008 | รอบแบ่งกลุ่ม | 11 | 3 | 1 | 0 | 2 | 3 | 3 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นเจ้าภาพ | |||||||
2012 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 8 | 3 | 2 | 3 | 12 | 10 | ||||||||||
2016 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | 11 | 4 | 1 | 3 | 0 | 3 | 2 | ผู้เล่น | 10 | 7 | 0 | 3 | 24 | 8 | ||
2020 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 7 | 5 | 2 | 2 | 1 | 8 | 9 | ผู้เล่น | 8 | 5 | 2 | 1 | 19 | 6 | ||
2024 | กำลังแข่งขัน | ผู้เล่น | |||||||||||||||
2028 | ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน | ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน | |||||||||||||||
2032 | |||||||||||||||||
ทั้งหมด | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 5/16 | 18 | 3 | 8 | 7 | 16 | 24 | — | 100 | 44 | 24 | 32 | 172 | 122 |
- *การเสมอนับรวมถึงนัดที่ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
- **กรอบสีแดงหมายถึงการแข่งขันที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพ
เกียรติประวัติ
แก้- อันดับ 4 (1): 2018–19
อ้างอิง
แก้- ↑ "FIFA Century Club" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
- ↑ "World Cup 1954 finals". 3 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2007. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ Taylor, Daniel (21 June 2010). "Chile 1-0 Switzerland | World Cup Group H match report". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ uefa.com. "UEFA EURO 2008 - History - Standings – UEFA.com". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ "Switzerland 1-2 Turkey" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 11 June 2008. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "History: Switzerland 1-1 Poland | UEFA EURO 2016". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ UEFA.com. "History: Switzerland 1-1 Spain | UEFA EURO 2020". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Olympic Football Tournament Paris 1924 - Switzerland 0:3 (0:1) Uruguay - Overview". FIFA. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ "Olympic Football Tournament Paris 1924: Switzerland - Uruguay". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "1934 FIFA World Cup Italy ™ - Matches - FIFA.com". web.archive.org. 2015-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1934 FIFA World Cup Italy ™ - Matches - FIFA.com". web.archive.org. 2015-02-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1938 FIFA World Cup France ™ - Matches - FIFA.com". web.archive.org. 2015-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-11. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1938 FIFA World Cup France ™ - Matches - FIFA.com". web.archive.org. 2015-09-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1938 FIFA World Cup France ™ - Matches - FIFA.com". web.archive.org. 2015-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1950 FIFA World Cup Brazil ™ - Groups - FIFA.com". web.archive.org. 2015-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1954 FIFA World Cup Switzerland ™ - Groups - FIFA.com". web.archive.org. 2015-04-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1954 FIFA World Cup Switzerland ™ - Matches - FIFA.com". web.archive.org. 2015-02-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-23. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1962 FIFA World Cup Chile ™ - Groups - FIFA.com". web.archive.org. 2015-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-04. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1966 FIFA World Cup England ™ - Groups - FIFA.com". web.archive.org. 2015-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Switzerland - International Matches". www.rsssf.org.
- ↑ "The man that is Roy Hodgson". Fulhamweb.
- ↑ "World Cup 1994 QUALIFYING". allworldcup.narod.ru.
- ↑ "World Cup 1994 QUALIFYING". allworldcup.narod.ru.
- ↑ "World Cup 1994 QUALIFYING". allworldcup.narod.ru.
- ↑ "World Cup 1994 QUALIFYING". allworldcup.narod.ru.
- ↑ "1994 FIFA World Cup USA ™ - matches_T - FIFA.com". web.archive.org. 2015-02-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-28. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "1994 FIFA World Cup USA ™ - matches_T - FIFA.com". web.archive.org. 2015-02-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ UEFA.com. "History: Switzerland 1-2 Türki̇ye | UEFA EURO 1996". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ UEFA.com. "History: Scotland 1-0 Switzerland | UEFA EURO 1996". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "World Cup 1998 qualifications". www.rsssf.org.
- ↑ Doyle, Paul (2008-05-27). "Euro 2008 team preview No1: Switzerland". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Turkey 4-2 Switzerland" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2005-11-16. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ Lea, Greg (2018-06-01). "The dullest game in World Cup history: Switzerland v Ukraine in 2006". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Austria-Switzerland to host Euro 2008" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2002-12-12. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Switzerland 2-0 Portugal" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2008-06-15. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Switzerland v Argentina, 29 February 2012". 11v11.com. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "The official website for European football". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Chile 1-0 Switzerland". news.bbc.co.uk.
- ↑ "Switzerland 0-0 Honduras". news.bbc.co.uk.
- ↑ "Switzerland 1-3 England" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2010-09-07. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Montenegro 1 Switzerland 0: match report". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2010-10-08.
- ↑ "Switzerland 4-1 Wales" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2010-10-12. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ Staff (2011-03-26). "Bulgaria and Switzerland left adrift of England after stalemate". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "England 2-2 Switzerland". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Shaqiri steals the show". Sky Sports (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Euro 2012: Wales 2-0 Switzerland". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Euro 2012: Montenegro 2-2 England". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ UEFA.com. "History: Switzerland 2-0 Montenegro | UEFA EURO 2012". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ UEFA.com. "The official website for European football". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Albania 0-1 Switzerland". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "Romania 1-1 Switzerland". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 15 June 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "Switzerland 0-0 France". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 19 June 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "BBC Sport". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "France, Swiss dish up Euros' strangest moment". NewsComAu. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "Switzerland 1-1 Poland (pens 4-5)". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 25 June 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ Sport, Telegraph (25 June 2016). "Switzerland 1 Poland 1, Euro 2016: Poles win 5-4 on penalties despite Xherdan Shaqiri wonder-goal". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "Poland beat Swiss after Xhaka penalty miss to reach Euro 2016 quarters". Evening Standard (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ 59.0 59.1 FIFA.com. "2018 FIFA World Cup Russia™ - Qualifiers - Europe". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-19. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ Gadd, Mick (6 September 2016). "Switzerland 2-0 Portugal: Euro 2016 champions come crashing back to earth". mirror. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Hungary-Switzerland". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Andorra-Switzerland". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Switzerland-Faroe Islands". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Switzerland-Latvia". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Faroe Islands-Switzerland". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Switzerland-Andorra". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Latvia-Switzerland". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Switzerland-Hungary". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Portugal 2-0 Switzerland". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Standings". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Northern Ireland 0-1 Switzerland". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 9 November 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ Anderson, David (9 November 2017). "Northern Ireland vs Switzerland live score and goal updates". mirror. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "European Qualifiers - Switzerland-Northern Ireland". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ FIFA.com. "The FIFA/Coca-Cola Men's World Ranking". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ Сборная Швеции зрелищно вышла в четвертьфинал ЧМ-2018 (фото). Soccer.ru (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ FIFA.com. "2018 FIFA World Cup Russia™ - Groups". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-03. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ FIFA.com. "2018 FIFA World Cup Russia™ - Matches - Brazil - Switzerland". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ FIFA.com. "2018 FIFA World Cup Russia™ - Matches - Serbia - Switzerland". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-30. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Serbia 1-2 Switzerland: Xherdan Shaqiri steals vital win for Swiss". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ Doyle, Paul (22 June 2018). "World Cup 2018: Serbia 1-2 Switzerland – as it happened". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Serbia 1-2 Switzerland: Late Shaqiri break shatters Serbian hearts". ProSoccerTalk (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "World Cup 2018: Switzerland trio avoid bans for 'eagle gesture' goal celebrations". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 25 June 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ Smyth, Rob (27 June 2018). "Switzerland 2-2 Costa Rica: World Cup 2018 – as it happened". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ Glendenning, Barry (3 July 2018). "Sweden 1-0 Switzerland: World Cup 2018 – as it happened". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ UEFA.com. "UEFA Nations League 2018/19 League Phase draw". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "UEFA Nations League draw: England get Spain, Germany face France | Goal.com" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "France 3-3p Switzerland: Swiss stun world champions with penalty shootout win after thriller in Bucharest". Eurosport. 28 June 2021.
- ↑ "France 3 Switzerland 3 (4-5 on pens)". BBC Sport. 28 June 2021. สืบค้นเมื่อ 29 June 2021.
- ↑ swissinfo.ch/ug (2021-08-09). "New manager for Swiss national football team appointed". SWI swissinfo.ch (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ Harris, Daniel (2021-11-15). "World Cup clockwatch: Switzerland qualify, Italy in play-offs – as it happened". the Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Portugal 6-1 Switzerland: Ronaldo replacement Ramos scores hat-trick as Portugal advance". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Romania 1-0 Switzerland (Nov 21, 2023) Game Analysis". ESPN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Murat Yakin gibt Schweizer WM-Aufgebot bekannt". Swiss Football Association (ภาษาเยอรมัน). 9 November 2022. สืบค้นเมื่อ 9 November 2022.
- ↑ "Switzerland-Portugal | UEFA Nations League 2023 | UEFA.com". UEFA.
- ↑ "Most Switzerland Caps - EU-Football.info". eu-football.info.
- ↑ "Switzerland – Record International Players". RSSSF.
- ↑ FIFA.com. "Olympic Football Tournament Paris 1924 - Switzerland 0:3 (0:1) Uruguay - Overview - FIFA.com". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ "uefa.com - UEFA European U-17 C'ship". 9 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2016. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ FIFA.com (17 October 2009). "Swiss take their place in history". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ uefa.com (25 May 2002). "Under-21 2002 - History - France-Switzerland – UEFA.com". Uefa.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ uefa.com (25 June 2011). "Under-21 2011 - History - Switzerland-Spain – UEFA.com". Uefa.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.