ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก

ฟุตบอลโลก 2018 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยมีประเทศรัสเซีย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในรอบสุดท้าย จะมีเพียง 32 ทีมจากประเทศต่างๆทั่วโลกที่จะมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันรอบสุดท้ายที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งจะต้องแข่งขันรอบคัดเลือกทั่วโลกโดยแบ่งเป็นตัวแทนจากทวีปต่างๆจนเหลือ 32 ทีมสุดท้าย ภายใต้การควบคุมของฟีฟ่า ฟุตบอลโลกครั้งนี้ มีทีมจากชาติสมาชิก ฟีฟ่า ทั้งหมด 208 ทีมจากทั่วโลก ลงแข่งขันเพื่อคัดเอา 31 ทีมผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายร่วมกับเจ้าภาพรัสเซีย โดยทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกได้แก่ ภูฏาน และ ซูดานใต้ การคัดเลือกจะแยกกันเป็นโซน โซนเอเชียจะเริ่มแข่งขันเป็นที่แรก ในวันพฤหัสบดี ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558 ระหว่าง ติมอร์-เลสเต และ มองโกเลีย[1]

ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก
รายละเอียดการแข่งขัน
วันที่12 มีนาคม 2558 – 14 พฤศจิกายน 2560
ทีม210 (จาก 6 สมาพันธ์)
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน872
จำนวนประตู2454 (2.81 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม18,369,864 (21,066 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดโปแลนด์ รอแบร์ต แลวันดอฟสกี
ซาอุดีอาระเบีย โมฮัมหมัด อัล-ซาห์ลาวี
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาห์เหม็ด คาลิล
(คนละ 16 ประตู)
2014
2022

ทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน

แก้
 
  ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
  ทีมที่ยังมีโอกาสผ่านเข้ารอบ
  ทีมที่ไม่ผ่านเข้ารอบ
  ทีมที่ถูกตัดสิทธิ์จากฟีฟ่า
  ไม่ใช่สมาชิกของฟีฟ่า
ทีม วิธีการของ
รอบคัดเลือก
วันที่ของ
รอบคัดเลือก
จำนวนครั้งที่ลงสนาม
ในรอบสุดท้าย
เข้าร่วมครั้งล่าสุด จำนวนครั้งที่ลงสนาม
ในรอบสุดท้าย
ติดต่อกัน
ผลงานที่ดีที่สุด
ครั้งที่ผ่านมา
  รัสเซีย เจ้าภาพ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 111 2014 2 อันดับ 4 (1966)2
  บราซิล ชนะเลิศ โซนอเมริกาใต้ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 21 2014 21 ชนะเลิศ (1958, 1962, 1970, 1994, 2002)
  อิหร่าน ชนะเลิศ โซนเอเชีย รอบที่ 3 กลุ่ม เอ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 2014 2 รอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2006, 2014)
  ญี่ปุ่น ชนะเลิศ โซนเอเชีย รอบที่ 3 กลุ่ม บี 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 6 2014 6 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2002, 2010)
  เม็กซิโก ชนะเลิศ โซนอเมริกาเหนือ รอบที่ 5 1 กันยายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 16 2014 7 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1970, 1986)
  เบลเยียม ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม เอช 3 กันยายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 13 2014 2 อันดับ 4 (1986)
  เกาหลีใต้ รองชนะเลิศ โซนเอเชีย รอบที่ 3 กลุ่ม เอ 5 กันยายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 10 2014 9 อันดับ 4 (2002)
  ซาอุดีอาระเบีย รองชนะเลิศ โซนเอเชีย รอบที่ 3 กลุ่ม บี 5 กันยายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 2006 1 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1994)
  เยอรมนี ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม ซี 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 193 2014 17 ชนะเลิศ (1954, 1974, 1990, 2014)
  อังกฤษ ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม เอฟ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 15 2014 6 ชนะเลิศ (1966)
  สเปน ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม จี 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 15 2014 11 ชนะเลิศ (2010)
  ไนจีเรีย ชนะเลิศ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 กลุ่ม บี 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 6 2014 3 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1994, 1998, 2014)
  คอสตาริกา รองชนะเลิศ โซนอเมริกาเหนือ รอบที่ 5 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 2014 2 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (2014)
  โปแลนด์ ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม อี 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 8 2006 1 อันดับ 3 (1974, 1982)
  อียิปต์ ชนะเลิศ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 กลุ่ม อี 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 3 1990 1 รอบแรก (1934, 1990)
  ไอซ์แลนด์ ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม ไอ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 1 1
  เซอร์เบีย ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม ดี 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 124 2010 1 อันดับ 4 (1930, 1962)5
  โปรตุเกส ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม บี 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 7 2014 5 อันดับ 3 (1966)
  ฝรั่งเศส ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม เอ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 15 2014 6 ชนะเลิศ (1998)
  อุรุกวัย รองชนะเลิศ โซนอเมริกาใต้ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 13 2014 3 ชนะเลิศ (1930, 1950)
  อาร์เจนตินา อันดับที่ 3 โซนอเมริกาใต้ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 17 2014 12 ชนะเลิศ (1978, 1986)
  โคลอมเบีย อันดับที่ 4 โซนอเมริกาใต้ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 6 2014 2 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (2014)
  ปานามา อันดับที่ 3 โซนอเมริกาเหนือ รอบที่ 5 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 1 1
  เซเนกัล ชนะเลิศ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 กลุ่ม ดี 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 2 2002 1 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (2002)
  โมร็อกโก ชนะเลิศ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 กลุ่ม ซี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 1998 1 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1998)
  ตูนิเซีย ชนะเลิศ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 กลุ่ม เอ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 2006 1 รอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2002, 2006)
  สวิตเซอร์แลนด์ ผู้ชนะ โซนยุโรป รอบที่ 2 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 11 2014 4 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1934, 1938, 1954)
  โครเอเชีย ผู้ชนะ โซนยุโรป รอบที่ 2 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 2014 2 อันดับ 3 (1998)
  สวีเดน ผู้ชนะ โซนยุโรป รอบที่ 2 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 12 2006 1 รองชนะเลิศ (1958)
  เดนมาร์ก ผู้ชนะ โซนยุโรป รอบที่ 2 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 2010 1 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1998)
  ออสเตรเลีย ผู้ชนะ คอนคาเคฟ พบ เอเอฟซี เพลย์ออฟ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 2014 4 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006)
  เปรู ผู้ชนะ โอเอฟซี พบ คอนเมบอล เพลย์ออฟ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 5 1982 1 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1970), 1978)
หมายเหตุ
  • 1: ฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ที่รัสเซียเข้าแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าถือว่ารัสเซียเป็นทีมที่สืบทอดมาจากสหภาพโซเวียตซึ่งผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 7 ครั้ง
  • 2: ผลงานที่ดีที่สุดของรัสเซียคือรอบแบ่งกลุ่มในปี 1994 2002 และ 2014 อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าถือว่ารัสเซียเป็นทีมที่สืบทอดมาจากสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นเจ้าของผลงานนี้
  • 3: ระหว่างปี 1951 และ 1990 เยอรมนีมักถูกเรียกว่า "เยอรมนีตะวันตก" เพื่อไม่ให้สับสนกับประเทศเยอรมนีตะวันออกและทีมชาติซึ่งมีอยู่ในขณะนั้น
  • 4: ฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เซอร์เบียเข้าแข่งขัน อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าถือว่าเซอร์เบียเป็นทีมที่สืบทอดมาจากยูโกสลาเวียและเซอร์เบียและมอนเตเนโกรที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายรวมกันอีก 10 ครั้ง
  • 5: ในฟุตบอลโลก 1930 ไม่มีนัดชิงอันดับที่ 3 และไม่มีการมอบรางวัลให้กับทีมที่ได้อันดับที่ 3 โดยทั้งสหรัฐอเมริกาและยูโกสลาเวียแพ้ในรอบรองชนะเลิศ อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าจัดอันดับทีมดังกล่าวเป็นอันดับที่ 3 และ 4 ตามลำดับ

รูปแบบการแข่งขัน

แก้

รูปแบบของการแข่งขันที่มีคุณสมบัติขึ้นอยู่กับแต่ละสมาพันธ์ แต่ละรอบอาจเล่นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้[2]

  • ในการแข่งขันรูปแบบลีกหากมีมากกว่า 2 ทีมขึ้นไปจะเล่่่นแบบเหย้า-เยือน โดยการแข่งขันแบบพบกันหมด หรือในข้อยกเว้นที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการฟีฟ่า หากเป็นการแข่งขันที่พบกันนัดเดียวจะให้ทีมใดทีมหนึ่งเป็นทีมเหย้าหรือแข่งขันกันที่สนามกลาง
  • ในรูปแบบการแข่งขันแพ้คัดออก จะให้ทั้งสองทีมลงเล่นแบบเหย้า-เยือน

กฎการจัดอันดับ

แก้

ในรูปแบบลีกอันดับของทีมในแต่ละกลุ่มจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ดังต่อไปนี้[2]

  1. คะแนน (ชนะ 3 คะแนน, เสมอ 1 คะแนน, แพ้ 0 คะแนน)
  2. ประตูได้เสีย
  3. ประตูได้
  4. คะแนนที่ได้ในเกมที่พบกัน
  5. ประตูที่ได้ในเกมที่พบกัน
  6. ประตูทีมเยือนที่ทั้งสองทีมพบกัน (เฉพาะการเสมอกันระหว่างสองทีมในรูปแบบลีก)
  7. คะแนนแฟร์เพลย์
    • ใบเหลืองแรก: ลบ 1 คะแนน
    • ใบเหลืองใบที่สอง: ลบ 3 คะแนน
    • ใบแดงโดยตรง: ลบ 4 คะแนน
    • ใบแดงหลังจากได้รับใบเหลืองแล้ว: ลบ 5 คะแนน
  8. จับสลากโดยคณะกรรมการฟีฟ่า

กรณีที่ทีมที่จบในตำแหน่งเดียวกันในกลุ่มต่าง ๆ ถูกนำมาเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาว่าทีมใดจะผ่านไปสู่รอบต่อไปเกณฑ์จะตัดสินโดยสมาพันธ์จะต้องได้รับการอนุมัติจากฟีฟ่า[2]

ในรูปแบบรอบแพ้คัดออก ทีมที่มีคะแนนรวมสูงกว่าจะผ่านเข้าสู่รอบถัดไป ในกรณีที่คะแนนรวมเท่ากันจะมีการใช้ กฎประตูทีมเยือน หากประตูทีมเยือนยังเท่ากันจะมีการเล่นช่วงต่อเวลาพิเศษ 30 นาที แบ่งออกเป็นครึ่งละ 15 นาที กฎประตูทีมเยือนจะถูกนำมาใช้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ เช่นกัน หากคะแนนรวมเสมอกันและไม่มีทีมใดเป็นผู้ชนะในกฎประตูทีมเยือนจะตัดสินโดย การดวลลูกโทษ[2]

การคัดเลือก

แก้

โซนเอเชีย

แก้

อยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย

  • รอบแรก: มี 12 ทีม (ทีมอันดับ 35-46) มาเล่นรอบคัดเลือกเพื่อหา 6 ทีมเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
  • รอบสอง: มี 40 ทีม (ทีมอันดับ 1-34 และ 6 ทีมที่ผ่านรอบแรก) มาแบ่งเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ทีม โดยจะคัดเอาผู้ชนะของแต่ละกลุ่ม มี 8 ทีม และทีมอันดับสองที่มีผลงานดีที่สุดอีก 4 ทีมผ่านเข้ารอบสามต่อไป
  • รอบสาม: จากการแข่งขันรอบสองจะมี 12 ทีมที่ผ่านเข้ามาถึงรอบสุดท้ายจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม โดยแชมป์และรองแชมป์ของกลุ่มจะผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย
  • รอบสี่: อันดับสามของทั้งสองกลุ่มจะมาเพลย์ออฟเพื่อหาผู้ชนะไปแข่งกับตัวแทนจากทวีปอื่น

และการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกครั้งนี้ จะเป็นการหาทีมที่ผ่านเข้าไปแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 ไปในตัวด้วย[3]

รอบปัจจุบัน (รอบที่ 3)

แก้
  ผ่านเข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2018
  ผ่านเข้าสู่ รอบที่ 4
กลุ่ม เอ กลุ่ม บี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   อิหร่าน 10 22
2   เกาหลีใต้ 10 15
3   ซีเรีย 10 13
4   อุซเบกิสถาน 10 13
5   จีน 10 12
6   กาตาร์ 10 7
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   ญี่ปุ่น 10 20
2   ซาอุดีอาระเบีย 10 16
3   ออสเตรเลีย 10 16
4   สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 10 12
5   อิรัก 10 5
6   ไทย 10 2
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า

โซนแอฟริกา

แก้

อยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา

  • รอบแรก และรอบที่ 2 : แข่งขันแบบน็อกเอาต์ เหย้า-เยือน เพื่อคัด 20 ทีมเข้ารอบสี่
  • รอบที่ 3 : แข่งขัน 20 ทีม แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีมเล่นแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน แชมป์ของแต่ละกลุ่มได้ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้าย

รอบปัจจุบัน (รอบที่ 3)

แก้

จับสลากวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ สำนักงานใหญ่ซีเอเอฟ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์[4]

  ผ่านเข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2018
กลุ่ม เอ กลุ่ม บี กลุ่ม ซี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   ตูนิเซีย 6 14
2   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 6 13
3   ลิเบีย 6 4
4   กินี 6 3
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   ไนจีเรีย 6 14
2   แซมเบีย 6 8
3   แคเมอรูน 6 7
4   แอลจีเรีย 6 2
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   โมร็อกโก 6 12
2   โกตดิวัวร์ 6 8
3   กาบอง 6 6
4   มาลี 6 4
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
กลุ่ม ดี กลุ่ม อี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   เซเนกัล 6 14
2   บูร์กินาฟาโซ 6 9
3   กาบูเวร์ดี 6 6
4   แอฟริกาใต้ 6 4
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   อียิปต์ 6 13
2   ยูกันดา 6 9
3   กานา 6 7
4   สาธารณรัฐคองโก 6 2
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า

โซนอเมริกาเหนือ

แก้

อยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และแคริบเบียน

  • รอบแรก: มี 14 ทีม (ทีมอันดับ 22–35) มาเล่นรอบคัดเลือกเพื่อหา 7 ทีมเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
  • รอบสอง: มี 20 ทีม (ทีมอันดับ 9–21 และ 7 ทีมที่ผ่านรอบแรก) มาเล่นรอบคัดเลือกเพื่อหา 10 ทีมเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
  • รอบสาม: มี 12 ทีม (ทีมอันดับ 7–8 และ 10 ทีมที่ผ่านรอบสอง) มาเล่นรอบคัดเลือกเพื่อหา 6 ทีมเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
  • รอบสี่: มี 12 ทีม (ทีมอันดับ 1–6 และ 6 ทีมที่ผ่านรอบสาม) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม เล่นแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน แชมป์และรองแชมป์ของแต่ละกลุ่มผ่านเข้ารอบ 5
  • รอบห้า (Hexagonal): 6 ทีมจากรอบ 4 จะเล่นแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน อันดับ 1, 2 และ 3 ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ส่วนอันดับ 4 ไปเล่นเพลย์ออฟกับทีมที่ 5 จากโซนเอเชีย

รอบปัจจุบัน (รอบที่ 5)

แก้
  ผ่านเข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2018
รอบที่ 5
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   เม็กซิโก 10 21
2   คอสตาริกา 10 16
3   ปานามา 10 13
4   ฮอนดูรัส 10 13
5   สหรัฐ 10 12
6   ตรินิแดดและโตเบโก 10 6
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า

โซนอเมริกาใต้

แก้

อยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้

ตารางคะแนน

แก้
  ผ่านเข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2018
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   บราซิล 18 41
2   อุรุกวัย 18 31
3   อาร์เจนตินา 18 28
4   โคลอมเบีย 18 27
5   เปรู 18 26
6   ชิลี 18 26
7   ปารากวัย 18 24
8   เอกวาดอร์ 18 20
9   โบลิเวีย 18 14
10   เวเนซุเอลา 18 12
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า

โซนโอเชียเนีย

แก้

อยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย

รอบปัจจุบัน (รอบที่ 3)

แก้

กลุ่ม เอ แม่แบบ:ตารางคะแนนฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนโอเชียเนีย – รอบที่ 3 กลุ่ม เอ

กลุ่ม บี แม่แบบ:ตารางคะแนนฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนโอเชียเนีย – รอบที่ 3 กลุ่ม บี

รอบสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนโอเชียเนีย – รอบที่ 3

โซนยุโรป

แก้

อยู่ภายใต้การดูแลของสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป

ตำแหน่งสุดท้าย (รอบแรก)

แก้
  ผ่านเข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2018
  ผ่านเข้าสู่ รอบที่ 2
กลุ่ม เอ กลุ่ม บี กลุ่ม ซี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   ฝรั่งเศส 10 23
2   สวีเดน 10 19
3   เนเธอร์แลนด์ 10 19
4   บัลแกเรีย 10 13
5   ลักเซมเบิร์ก 10 6
6   เบลารุส 10 5
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   โปรตุเกส 10 27
2   สวิตเซอร์แลนด์ 10 27
3   ฮังการี 10 13
4   หมู่เกาะแฟโร 10 9
5   ลัตเวีย 10 7
6   อันดอร์รา 10 4
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   เยอรมนี 10 30
2   ไอร์แลนด์เหนือ 10 19
3   เช็กเกีย 10 15
4   นอร์เวย์ 10 13
5   อาเซอร์ไบจาน 10 10
6   ซานมารีโน 10 0
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
กลุ่ม ดี กลุ่ม อี กลุ่ม เอฟ
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   เซอร์เบีย 10 21
2   สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 10 19
3   เวลส์ 10 17
4   ออสเตรีย 10 15
5   จอร์เจีย 10 5
6   มอลโดวา 10 2
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   โปแลนด์ 10 25
2   เดนมาร์ก 10 20
3   มอนเตเนโกร 10 16
4   โรมาเนีย 10 13
5   อาร์มีเนีย 10 7
6   คาซัคสถาน 10 3
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   อังกฤษ 10 26
2   สโลวาเกีย 10 18
3   สกอตแลนด์ 10 18
4   สโลวีเนีย 10 15
5   ลิทัวเนีย 10 6
6   มอลตา 10 1
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
กลุ่ม จี กลุ่ม เอช กลุ่ม ไอ
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   สเปน 10 28
2   อิตาลี 10 23
3   แอลเบเนีย 10 13
4   อิสราเอล 10 12
5   มาซิโดเนียเหนือ 10 11
6   ลีชเทินชไตน์ 10 0
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   เบลเยียม 10 28
2   กรีซ 10 19
3   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 10 17
4   เอสโตเนีย 10 11
5   ไซปรัส 10 10
6   ยิบรอลตาร์ 10 0
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   ไอซ์แลนด์ 10 22
2   โครเอเชีย 10 20
3   ยูเครน 10 17
4   ตุรกี 10 15
5   ฟินแลนด์ 10 9
6   คอซอวอ 10 1
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า

รอบปัจจุบัน (รอบสอง)

แก้
ทีมแรก   ผล   ทีมที่สอง   นัดแรก     นัดที่สอง  
ไอร์แลนด์เหนือ   0–1   สวิตเซอร์แลนด์ 0–1 0–0
โครเอเชีย   4–1   กรีซ 4–1 0–0
เดนมาร์ก   5–1   สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 0–0 5–1
สวีเดน   1–0   อิตาลี 1–0 0–0


รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ

แก้

คอนคาแคฟ พบ เอเอฟซี

แก้
ทีมแรก   ผล   ทีมที่สอง   นัดแรก     นัดที่สอง  
ฮอนดูรัส   1–3   ออสเตรเลีย 0–0 1–3

โอเอฟซี พบ คอนเมบอล

แก้
ทีมแรก   ผล   ทีมที่สอง   นัดแรก     นัดที่สอง  
นิวซีแลนด์   0–2   เปรู 0–0 0–2

อ้างอิง

แก้
  1. http://football.kapook.com/news-21596
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Regulations – 2018 FIFA World Cup Russia" (PDF). FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-01.
  3. ไทยเริ่มรอบสอง! เอเอฟซีเผยขั้นตอนคัดบอลโลก 2018-เอเชียนคัพ 2019
  4. "June draw for third round of African Zone qualifiers". FIFA.com. 20 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-01. สืบค้นเมื่อ 2016-04-13.