ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3

การแข่งขันฟุตบอลทีมชาติรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 2018

ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3 เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศของทวีปเอเชียเพื่อคัดเลือกทีมฟุตบอลเข้าแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เริ่มแข่งในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึง 5 กันยายน พ.ศ. 2560[1] โดยมีทีมแข่งขันในรอบนี้ทั้งสิ้น 12 ทีม ซึ่งจะได้รับสิทธิ์เข้าแข่งรอบสุดท้ายของเอเชียนคัพ 2019 โดยอัตโนมัติอีกด้วย

รูปแบบการแข่งขัน แก้

ในรอบที่ 3 นี้ 12 ทีมที่ผ่าน รอบที่ 2 มาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม แข่งแบบพบกันหมด เหย้า - เยือน โดยจะคัดอันดับ 1 และอันดับ 2 ของแต่ละกลุ่มผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซียทันที ส่วนอันดับที่ 3 ของแต่ละกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบที่ 4

ทีมที่ผ่านเข้ารอบ แก้

กลุ่ม แชมป์กลุ่ม รองแชมป์กลุ่ม
(4 ทีมที่ดีที่สุดที่ผ่านเข้ารอบ)
เอ   ซาอุดีอาระเบีย   สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
บี   ออสเตรเลีย
ซี   กาตาร์   จีน
ดี   อิหร่าน
อี   ญี่ปุ่น   ซีเรีย
เอฟ   ไทย   อิรัก
จี   เกาหลีใต้
เอช   อุซเบกิสถาน

ทีมวางในการจับสลาก แก้

การจับสลากการแข่งขันในรอบที่สามจะมีขึ้นในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559 ที่ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย[2]

การจับสลากแบ่งสายจะใช้ อันดับโลกฟีฟ่า ของเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 เป็นหลักในการแบ่งโถ โดยทั้ง 12 ทีมจะอยู่ใน 6 โถดังต่อไปนี้[3]

  • โถที่ 1 ประกอบไปด้วยทีมอันดับที่ 1–2
  • โถที่ 2 ประกอบไปด้วยทีมอันดับที่ 3–4
  • โถที่ 3 ประกอบไปด้วยทีมอันดับที่ 5–6
  • โถที่ 4 ประกอบไปด้วยทีมอันดับที่ 7–8
  • โถที่ 5 ประกอบไปด้วยทีมอันดับที่ 9-10
  • โถที่ 6 ประกอบไปด้วยทีมอันดับที่ 11-12

แต่ละกลุ่มจะมีหนึ่งทีมจากแต่ละโถ การแข่งขันของแต่ละกลุ่มได้รับการตัดสินโดยอัตโนมัติตามลำดับของแต่ละทีม หมายเหตุ: ตัวหนา คือทีมที่ผ่านเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลโลก ตัวเอน คือทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบที่ 4

โถ 1 โถ 2 โถ 3 โถ 4 โถ 5 โถ 6

  อิหร่าน (42)
  ออสเตรเลีย (50)

  เกาหลีใต้ (56)
  ญี่ปุ่น (57)

  ซาอุดีอาระเบีย (60)
  อุซเบกิสถาน (66)

  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (68)
  จีน (81)

  กาตาร์ (83)
  อิรัก (105)

  ซีเรีย (110)
  ไทย (119)

กลุ่ม แก้

กลุ่ม เอ แก้

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ            
1   อิหร่าน 10 6 4 0 10 2 +8 22 ผ่านเข้ารอบ ฟุตบอลโลก 2018 1–0 2–2 2–0 1–0 2–0
2   เกาหลีใต้ 10 4 3 3 11 10 +1 15 0–0 1–0 2–1 3–2 3–2
3   ซีเรีย 10 3 4 3 9 8 +1 13 ผ่านเข้าสู่ รอบที่ 4 0–0 0–0 1–0 2–2 3–1
4   อุซเบกิสถาน 10 4 1 5 6 7 −1 13 0–1 0–0 1–0 2–0 1–0
5   จีน 10 3 3 4 8 10 −2 12 0–0 1–0 0–1 1–0 0–0
6   กาตาร์ 10 2 1 7 8 15 −7 7 0–1 3–2 1–0 0–1 1–2
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
กฎการจัดอันดับ : เงื่อนไขการเข้ารอบ









กลุ่ม บี แก้

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ            
1   ญี่ปุ่น 10 6 2 2 17 8 +9 20 ผ่านเข้ารอบ ฟุตบอลโลก 2018 2–1 2–0 1–2 2–1 4–2
2   ซาอุดีอาระเบีย 10 5 1 4 17 14 +3 16 1–0 2–2 3–0 1–0 1–2
3   ออสเตรเลีย 10 4 4 2 16 15 +1 16 ผ่านเข้าสู่ รอบที่ 4 1–1 3–2 2–0 2–0 2–2
4   สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 10 4 0 6 10 15 −5 12 0–2 2–1 0–1 2–0 3–2
5   อิรัก 10 1 2 7 11 19 −8 5 1–1 1–2 1–1 1–0 4–5
6   ไทย 10 0 2 8 6 24 −18 2 1–2 2–3 3–2 2–1 3–2
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
กฎการจัดอันดับ : เงื่อนไขการเข้ารอบ









ผู้ทำประตูสูงสุด แก้

 
โทมี จูริช กองหน้าทีมชาติออสเตรเลีย 1 ใน 4 ผู้ทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3
 
โมฮันหนัด อับดุล-ราฮีม กองหน้าทีมชาติอิรัก 1 ใน 4 ผู้ทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3

การแข่งขันทั้งหมดมี 129 ประตูจากการแข่งขัน 60 นัด มีค่าเฉลี่ย 2.15 ประตูต่อนัด

5 ประตู
4 ประตู
3 ประตู
2 ประตู
1 ประตู
การทำเข้าประตูตัวเอง 1 ประตู

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ซีเรียลงเล่นแมตช์เหย้าของพวกเขานอกประเทศซีเรียเนื่องมาจากเหตุผลด้านความปลอดภัยจาก สงครามกลางเมืองซีเรีย.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 อิรักจะต้องลงเล่นแมตช์เหย้าของพวกเขาในอิหร่านเนื่องมาจากความกังวลด้านความปลอดภัยที่มาจาก สงครามกลางเมืองอิรัก. อย่างไรก็ตาม, แต่เนื่องจากการบอกปัดปฏิเสธของซาอุดีอาระเบียที่จะลงเล่นในประเทศอิหร่านหลังจาก เหตุโจมตีคณะทูตซาอุดีอาระเบียในประเทศอิหร่าน, นัดแรกจะลงเล่นในประเทศมาเลเซีย.[6]
  3. ออสเตรเลีย จะลงเล่นประจำนัดที่ 8 ของพวกเขาในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เพราะการมีส่วนร่วมของพวกเขาในการแข่งขัน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017.[7]

อ้างอิง แก้

  1. "ExCo approves expanded AFC Asian Cup finals". AFC. 16 เมษายน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "2018 FIFA World Cup: Asian Qualifying Round 3 line up complete". Asian Football Confederation. 30 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. "FIFA/Coca-Cola World Ranking – March 2016 (AFC)". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 3 มีนาคม พ.ศ. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-02. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "叙利亚官宣12强赛5主场定澳门 中国足协承担费用". Sina Sports. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. ซีเรียจะต้องลงเล่นแมตช์เหย้าในมาเก๊าเนื่องมาจากความกังวลด้านความปลอดภัยที่มาจาก สงครามกลางเมืองซีเรีย[4]
  6. "AFC deny Iraq's demand to play Saudi Arabia in Iran". Goal.com. 29 เมษายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "Australia, Japan to go head-to-head following Asian draw". FIFA.com. 12 เมษายน พ.ศ. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-07. สืบค้นเมื่อ 2016-04-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "Australia v Saudi Arabia - Socceroos Match Centre". socceroos.com.au.
  9. "Football: FIFA replaces Qatari referee for UAE World Cup qualifier; Singaporean steps in". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-05. สืบค้นเมื่อ 2017-06-13.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้