ฟุตบอลทีมชาติจีน

ฟุตบอลทีมชาติจีน (จีนตัวย่อ: 中国国家足球队; จีนตัวเต็ม: 中國國家足球隊; พินอิน: Zhōngguó guójiā zúqiú duì; ฟีฟ่ายอมรับภายใต้ชื่อ China PR) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลจีนซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย

ทีมชาติจีน
Shirt badge/Association crest
ฉายา龙之队
(มังกร)
สมาคมสมาคมฟุตบอลจีน (CFA)
สมาพันธ์ย่อยEAFF (เอเชียตะวันออก)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนBranko Ivanković
กัปตันอู๋ ซี
ติดทีมชาติสูงสุดหลี่ เหว่ยเฟิง (112)
ทำประตูสูงสุดเห่า ไห่ตง (39)
สนามเหย้าสนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
รหัสฟีฟ่าCHN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 90 Steady (19 ธันวาคม 2024)[1]
อันดับสูงสุด37 (ธันวาคม ค.ศ. 1998)
อันดับต่ำสุด109 (มีนาคม ค.ศ. 2013)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 2–1 China ธงชาติสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)
(มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์; 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913)[2]
ชนะสูงสุด
ธงชาติจีน จีน 19–0 กวม ธงชาติกวม
(นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม; 26 มกราคม ค.ศ. 2000)
แพ้สูงสุด
ธงชาติบราซิล บราซิล 8–0 จีน ธงชาติจีน
(เรซีฟี ประเทศบราซิล; 10 กันยายน ค.ศ. 2012)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2002)
ผลงานดีที่สุดรอบกลุ่ม (2002)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม12 (ครั้งแรกใน 1976)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (1984, 2004)
EAFF Championship
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 2003)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ, (2005, 2010)

ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน ทีมชาติจีนมีสถานะเป็นฟุตบอลทีมชาติจีนไทเป (ตัวแทนของสาธารณรัฐจีน) ซึ่งทีมชาติจีนได้สถานะกลับมาอีกครั้งในทศวรรษ 1970 และกลายเป็นทีมชาติจีนอย่างในปัจจุบัน นอกจากนี้ในประเทศจีนยังมีทีมชาติฮ่องกงและทีมชาติมาเก๊าซึ่งยังคงใช้ชื่อทีมเดิม และไม่ได้รวมเข้ากับทีมชาติจีน แม้ว่าจีนจะได้ดินแดนคืนจากสหราชอาณาจักรในปี 1997 และจากโปรตุเกสในปี 1999

ทีมชาติจีนยังไม่เคยประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับสูง ผลงานที่ผ่านมาคือชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันออก (East Asian Football Championship) ใน ค.ศ. 2005 และ 2010 ผลงานดีที่สุดในรายการระดับทวีปคือรองชนะเลิศฟุตบอลเอเชียนคัพ 2 สมัยใน ค.ศ. 1984 และ 2004 ทีมชาติจีนเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 โดยตกรอบแบ่งกลุ่มจากการแพ้รวดทุกนัดและไม่สามารถยิงประตูได้

จีนมีคู่อริคือญี่ปุ่น สืบเนื่องจากความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม และเป็นคู่แข่งของเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้

ประวัติ

แก้

ยุคแรก (ค.ศ. 1913–1949)

แก้
 
ทีมชาติจีนในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1936

การแข่งขันฟุตบอลในระดับนานาชาติครั้งแรกของทีมชาติจีนถูกจัดขึ้นโดยเอลวูด บราวน์ ผู้บริหารกีฬาชาวอเมริกันซึ่งมีชื่อเสียงจากการส่งเสริมกีฬาในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสมาคมกีฬาในขณะนั้น และยังเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกล โดยกีฬาหลายประเภทในรายการนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันเอเชียนเกมส์[3] บราวน์เชิญทีมชาติจีนให้ร่วมแข่งขันกีฬาตะวันออกไกล 1913 ที่มะนิลาซึ่งมีการบรรจุกีฬาฟุตบอลอยู่ในรายการนั้น ในการคัดเลือกนักฟุตบอลในครั้งนั้น มีการตัดสินใจร่วมกันว่าผู้ชนะการแข่งขันกีฬาแห่งชาติจีนใน ค.ศ. 1910 จะได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนของประเทศ ซึ่งผู้ชนะได้แก่ตัวแทนจากสโมสรฟุตบอลเซาท์ไชนา[4] ผู้ก่อตั้งสโมสรและผู้ฝึกสอนในขณะนั้นอย่าง Mok Hing (莫慶) ถือเป็นผู้ฝึกสอนคนแรกของทีมชาติจีน นำทีมชาติลงแข่งขันกับทีมชาติฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 ณ กรุงมะนิลา และจีนแพ้ด้วยผลประตู 2–1

สถานการณ์ความไม่สงบจากการปฏิวัติซินไฮ่ส่งผลให้จีนไม่สามารถลงแข่งขันรายการแรกได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนชื่อทีมเป็นฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐจีน ไม่สามารถหยุดยั้งเซี่ยงไฮ้จากการได้รับรางวัลการแข่งขันชิงแชมป์กีฬาตะวันออกไกล 1915 ได้ สโมสรฟุตบอลเซาท์ไชนาซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อสมาคมกีฬาเซาท์ไชนาได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนของประเทศอีกครั้ง ในการแข่งขันเพลย์ออฟสองนัดกับฟิลิปปินส์ จีนชนะนัดแรก 1–0 จากนั้นเสมอในนัดต่อมา 0–0 คว้าแชมป์รายการนี้เป็นครั้งแรก[5] และเนื่องจากการแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับภูมิภาคครั้งแรกและครั้งเดียวสำหรับทีมชาตินอกสหราชอาณาจักร จีนจึงตั้งเป้าที่จะสถาปนาตนเองให้เป็นมหาอำนาจในภูมิภาค ด้วยการคว้าแชมป์รวมทั้งหมด 9 รายการ[6]

สมาคมฟุตบอลจีนก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1924 และเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ใน ค.ศ. 1931[7] จากการวางรากฐานดังกล่าว ส่งผลให้จีนมุ่งมุ่นพัฒนาทีมสู่การแข่งขันระดับนานาชาติร่วมกับญี่ปุ่น ทั้งสองชาติถือเป็นชาติแรกของทวีปเอเชียทีได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน โดยลงแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ที่เบอร์ลินซึ่งจีนตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายจากการแพ้สหราชอาณาจักร 2–0[8]

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง อุบัติขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่นเสื่อมถอยลงโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อญี่ปุ่นประกาศจัดการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกล 1938[9] การแข่งขันครั้งนี้จะถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในขณะที่ญี่ปุ่นกำลังจัดการแข่งขันของตันเองเผื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 2,600 ปีจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นอย่างประเทศแมนจู และระบอบวาง จิงเว่ย์ที่ได้รับการจัดระเบียบใหม่ซึ่งมีฐานที่ตั้งในเมืองหนานจิงซึ่งถูกญี่ปุ่นยึดครอง อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้เล่นที่มีชื่อเสียงคนใดจากจีนลงแข่งขันในเกมฉลองครบรอบจักรวรรดิญี่ปุ่น[10]

การแข่งขันทุกนัดในช่วงระหว่างสงครามไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 จีนหันมาให้ความสนใจกับกีฬาโอลิมปิกอีกครั้งเพื่อการยกระดับชื่อเสียงสู่ระดับนานาชาติ ต่อมา เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1948 จีนลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 โดยเป็นอีกครั้งที่พวกเขาตกรอบ 16 ทีมโดยในครั้งนี้แพ้ตุรกี 4–0[11] จากนั้นประเทศได้เข้าสู่ช่วงกลางของสงครามกลางเมืองจีน เมื่อสงครามสิ้นสุด ทีมชาติจีนได้ถูกแบ่งออกเป็นสองทีม ทีมแรกคือฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน และอีกทีมได้แก่ฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐจีน (ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นฟุตบอลทีมชาติจีนไทเป)[12]

ยุคแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน (1950–1976)

แก้

ทีมฟุตบอลสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เพิ่งแยกตัวออกมา ได้ปฏิรูปสมาคมฟุตบอลขึ้นใหม่และได้รับการยอมรับสถานะทางการจากฟีฟ่าในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1952[13] ต่อมา ประเทศฟินแลนด์ซึ่งเป็นประเทศแรกที่พัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เชิญทีมชาติจีนให้เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 Li Fenglou ถือเป็นผู้จัดการทีมอย่างเป็นทางการคนแรกของทีมชาติจีน อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องจากความล่าช้าในการส่งทีมลงแข่งขันทำให้พวกเขาพลาดการลงแข่งขันรายการนี้ แต่ทีมชาติฟินแลนด์ยังคงต้อนรับพวกเขาด้วยการจัดเกมกระชับมิตรขึ้นในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1952 ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นการแข่งขันทางการนัดแรกของทีมจีน เกมจบลงด้วยความพ่ายแพ้ 4–0[14][15] ต่อมา ประเทศจีนส่งตัวนักฟุตบอลอายุน้อยหลายคนไปฝึกฝนที่ประเทศฮังการีใน ค.ศ. 1954 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันรายการแรกของฟีฟ่า[16] แต่พวกเขาตกรอบฟุตบอลโลก 1958 รอบคัดเลือกโดยแพ้อินโดนีเซีย[17]

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1958 จีนระงับการมีส่วนร่วมในการแข่งขันใด ๆ ที่ได้รับการรับรองโดยฟีฟ่า เมื่อฟีฟ่าเริ่มรับรองให้สาธารณรัฐจีนมีสถานะเป็นประเทศอื่นแทน เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่กรณีพิพาทและการโต้แย้งทางการทูตซึ่งทำให้ทีมชาติจีนถอนตัวจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้[18] และเป็นระยะเวลาหลายปีที่ทีมชาติจีนไม่มีส่วนร่วมในการแข่งขันทางกางรายการใด โดยมีเพียงการลงแข่งเกมกระชับมิตรกับทีมต่าง ๆ ที่ยอมรับพวกเขาในฐานะทายาทเพียงหนึ่งเดียวของฟุตบอลทีมชาติจีนเท่านั้น ก่อนที่สหประชาชาติจะให้การรับรองทีมจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นตัวแทนอย่างถูกต้องเพียงหนึ่งเดียวของประเทศจีนตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1971 นอกจากนี้ ผลจากการพิจารณาดดีใน ค.ศ. 1973 คณะชาตินิยมจีนซึ่งเคยใช้ชื่อ "สาธารณรัฐจีน" ก็ได้หยุดใช้ชื่อดังกล่าว และเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น "จีนไทเป" ในปี 1980[19] สิ่งนี้ทำให้ทีมชาติจีนกลับสู่เวทีการแข่งขันนานาชาติอีกครั้ง เริ่มจากการเข้าเป็นสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียใน ค.ศ. 1974 และกลับสู่การเป็นสมาชิกฟีฟ่าทางการอีกครั้งในปี 1979[20][21]

ความล้มเหลวในทวีป (1980–2009)

แก้
 
การแข่งขันระหว่างจีนและซาอุดีอาระเบียในเอเชียนคัพ 1984

จีนกลับมามีส่วนร่วมในการแข่งขันทางการในเอเชียนเกมส์ 1974 ตามด้วยอันดับ 3 ในเอเชียนคัพ 1976[22] ในปี 1980 จีนลงแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 รอบคัดเลือกแต่ตกรอบโดยแพ้นิวซีแลนด์ในรอบเพลย์ออฟ[23] ต่อมาในฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือก จีนลงแข่งขันกับฮ่องกงในนัดสุดท้ายของรอบคัดเลือกในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1985 โดยจีนต้องการเพียงผลเสมอจะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก แต่ฮ่องกงเป็นฝ่ายพลิกสถานการณ์กลับมาชนะไป 2–1 ก่อให้เกิดเหตุจราจลทั้งภายในและนอกสนามในกรุงปักกิ่ง และพวกเขาล้มเหลวอีกครั้งในฟุตบอลโลก 1990 รอบคัดเลือก แม้จะผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย โดยเสียสองประตูในช่วงเวลาสามนาทีในนัดสุดท้ายที่พบกับกาตาร์ ต่อมาในรอบคัดเลือกปี 1994 พวกเขาตกรอบอีกครั้งภายใต้ผู้ฝึกสอนต่างชาติคนแรกอย่างเคลาส์ ชแลพเนอร์ ชาวเยอรมัน โดยจบอันดับ 2 ของกลุ่มตามหลังอิรัก[24] ในปี 1987 เซีย เหยียวซิน กลายเป๋นผู้เล่นชาวจีนคนแรกที่ไปเล่นอาชีพในต่างแดน โดยร่วมกับเป็กซโวลเลอในลีกเอเรอดีวีซี ตามมาด้วยกู กัวหมิงซึ่งเล่นให้กับเอสเฟา ดาร์มสตัดท์ 98 ในเยอรมนี และกัปตันทีมในขณะนั้นอย่างเจีย ซิ่วฉวน และกองหน้าอย่าง หลิว ไห่กวงย้ายไปเล่นให้สโมสรฟุตบอลปาร์ติซานซึ่งยังเป็นยูโกสลาเวียในขณะนั้น[25][26]

ภายหลังจากล้มเหลวในการผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 1998 ทีมชาติจีนแต่งตั้งบอรา มีลูตีนอวิชผู้ฝึกสอนชาวเซอร์เบีย และจีนมีผลงานที่พัฒนาขึ้นเริ่มจากการคว้าอันดับ 4 ในเอเชียนคัพ 2000 โดยผ่านเข้ารอบเป็นที่ 1 ของกลุ่ม และชนะกาตาร์ในรอบ 16 ทีม 3–1 และแพ้อริอย่างญี่ปุ่นในรอบรองชนะเลิศ 3–2 ตามด้วยการแพ้เกาหลีใต้ในนัดชิงอันดับสาม 1–0[27] จากความสำเร็จดังกล่าวสร้างความเชื่อมั่นในแก่จีนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 โดยในรอบคัดเลือกนั้นพวกเขาชนะรวดทั้ง 6 นัดทำไปถึง 25 ประตู ตามด้วยการชนะถึง 6 จาก 8 นัดในรอบคัดเลือกรอบที่ 2 รวมถึงการเอาชนะทีมจากตะวันออกกลางอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, โอมาน และกาตาร์[28] แต่ในการแข่งขันรอบสุดท้ายนั้น จีนตกรอบแบ่งกลุ่มโดยแพ้รวดและไม่สามารถทำประตูได้เลย และนั่นถือเป็นฟุตบอลโลกเพียงครั้งเดียวของพวกเขาจนถึงปัจจุบัน[29]

จีนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันเอเชียนคัพ 2004 โดยในรอบแบ่งกลุ่มพวกเขาเอาชนะกาตาร์และอินโดนีเซีย และเสมอบาห์เรน ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศและเอาชนะอิรัก 3–0 ตามด้วยการเจอกับทีมที่แข็งแกร่งกว่าอย่างอิหร่านในรอบรองชนะเลิศและจีนเอาชนะการดวลจุดโทษไป 4–3 หลังจากเสมอกันในเวลาปกติ 1–1 แต่แพ้ญี่ปุ่นในรอบชิงชนะเลิศ 3–1 ซึ่งได้รับการวิจารณ์จากผู้สนับสนุนทีมชาติจีนถึงการตัดสินที่น่ากังขาในนัดนี้[30] การแข่งขันนัดนี้มีผู้ชมมากถึง 250 ล้านคน นับว่ามากที่สุดสำหรับจำนวนผู้ชมการแข่งขันกีฬารายการใดรายการหนึ่งในประเทศจีนในขณะนั้น[31]

จีนชนะการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันออก 2005 โดยชนะเกาหลีเหนือ 2–0[32] และเข้าสู่การแข่งขันรอบคัดเลือกของเอเชียนคัพ 2007 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทีมได้รับการวิจารณ์อย่างหนักและทำผลงานได้น่าอับอาย โดยทำได้เพียง 1 ประตูจากจุดโทษของเซา เจียยี่ ในนัดที่พบสิงคโปร์ในบ้าน และพวกเขาทำได้เพียงบุกไปเสมอสิงคโปร์ นอกจากนี้ ในช่วงการเตรียมความพร้อมสำหรับรอบคัดเลือกครั้งนี้ ทีมชาติจีนเดินทางไปแข่งกระชับมิตรกับฟุตบอลชายทีมชาติสหรัฐและแพ้ไปอย่างเหนือความคาดหมาย 4–1[33] อีกทั้งยังแพ้ทีมอันดับสุดท้ายของลีกอย่างสโมสรฟุตบอลรีล ซอลต์ เลค 1–0 นำไปสู่ความกังวลที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้สนับสนุน[34][35] และจีนตกรอบแบ่งกลุ่มเอเชียนคัพ 2007 จากการมี 4 คะแนน แม้พวกเขาจะประเดิมนัดแรกด้วยการชนะมาเลเซีย 5–1 ความล้มเหลวในรายการนี้ถูกวิจารณ์อย่างหนักโดยเฉพาะทางสื่อสังคม รวมถึงผู้ที่ตกเป็นเป้าอย่างผู้ฝึกสอนและสมาคม วลาดิมีร์ เปตรอวิช เข้ามาเป็นผู้ฝึกสอนคนใหม่[36] หลายฝ่ายมีการแสดงทรรศนะว่าการที่ทีมชาติจีนต้องพึ่งพาผู้ฝึกสอนต่างชาติหลายรายตลอดทศวรรษที่ผ่านมา สะท้อนถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลในการแสวงหาผู้ฝึกสอนภายในประเทศ[37]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 จีนตกรอบฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก โดยแพ้อิรัก และกาตาร์ในบ้านตนเอง เปตรอวิชพ้นจากตำแหน่งหลังจบโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 หยิน ตีเชง เข้ามาเป็นรักษาการผู้ฝึกสอน

2010–ปัจจุบัน

แก้

เกา หงโป ได้รับการแต่งตั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 การมาถึงของเขาทำให้ทีมชาติจีนเลือกใช้กลยุทธ์ใหม่ในการเล่น โดยหันมาเน้นการส่งบอลบนพื้น และใช้แผนการเล่น 4-2-3-1 ซึ่งเป็นที่สังเกตว่า นักฟุตบอลจีนใช้กลยุทธ์ในการจ่ายบอลยาวมากเกินไปมาตลอดสิบปีที่ผ่านมา เหว่ย ตี้ นายกสมาคมฟุตบอลจีนในขนะนั้นเน้นย้ำว่า "ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ พวกเขาต้องแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณและความกล้าหาญของทีม ผมหวังว่าภายในระยะเวลาหนึ่งปี เราจะสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของทีมต่อสาธาณชนได้"[38] เกาพ้นจากตำแหน่งหลังจากจีนตกรอบแบ่งกลุ่มเอเชียนคัพ 2011 แต่เขามีค่าเฉลี่ยในการพาทีมชนะสูงถึง 65% สูงที่สุดสำหรับผู้ฝึกสอนชาวจีนนับตั้งแต่ Nian Weisi (67.86%)

โฆเซ อันโตนิโอ กามาโช

แก้

เกาถูกแทนที่โดยโฆเซ อันโตนิโอ กามาโช ด้วยระยะเวลาการว้าจ้าง 3 ปีและค่าตอบแทนสูงถึง 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[39] เหว่ย ตี้ อธิบายว่าการตัดสินใจครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวที่จะช่วยให้ประเทศไล่ตามคู่แข่งอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ได้ทัน โดยเขากล่าวว่า “เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้แล้ว ฟุตบอลจีนยังตามหลังอยู่มาก เราจำเป็นต้องทำงานด้วยมุมมองระยะยาวและเริ่มไล่ตามให้ทันด้วยแนวทางที่เป็นรูปธรรม ประชาชนคาดหวังอย่างมากว่าจีนจะผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิลได้ พวกเขากลัวว่าการเปลี่ยนผู้ฝึกสอนในนาทีสุดท้ายอาจส่งผลเสียต่อโอกาสเข้ารอบของทีม ฉันเข้าใจเรื่องนั้นดี แต่เราไม่มีเวลาให้เสียอย่างเปล่าประโยชน์"

ยู่ หงเฉิน รองประธานสมาคมฟุตบอลกล่าวว่า "รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2014 เป็นเพียงงานชั่วคราวสำหรับเขา แม้จะล้มเหลว กามาโชจะยังได้รับโอกาสต่อไป เมื่อเราเริ่มหาผู้ฝึกสอนคนใหม่ให้กับทีมชาติ เรามุ่งเน้นไปที่ประเทศในแถบยุโรป เช่น เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสเปนเป็นหลัก ประการแรก พวกเขามีแนวคิดในด้านฟุตบอลขั้นสูง และประการที่สอง พวกเขามีระบบการฝึกสอนเยาวชนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเราสามารถเรียนรู้จากพวกเขาได้ เราหวังว่าเขาจะช่วยเราค้นหารูปแบบการเล่นที่เหมาะสมได้"

กามาโชนำทีมลงแข่งกระชับมิตรกับบราซิลในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2012 และแพ้ไปอย่างขาดลอย 8–0 ซึ่งเป็นการแพ้ที่ขาดลอยที่สุดในการแข่งขันระดับนานาชาติของจีน และทำให้พวกเขามีอันดับโลกที่ต่ำที่สุดทีอันดับ 109[40] กามาโชพาทีมลงแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก โดยแพ้ซาอุดีอาระเบียในนัดแรก 2–1[41] กามาโชถูกปลดหลังจากจีนแพ้ทีมชาติไทยในเกมกระชับมิตรที่ประเทศจีน 5–1 ฟู่ ป๋อ เข้ามาทำหน้าที่รักษาการต่อ โดยใน ค.ศ. 2015 สี จิ้นผิง ในฐานะเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประกาศวิสัยทัศน์ให้ฟุตบอลชายของจีนเป็นทีมที่ดีที่สุดในเอเชียภายในปี 2030 และในปีถัดมา สมาคมฟุตบอลจีนก็ได้เปิดตัวแผนงานอันทะเยอทะยานที่จะเป็นทีมที่ดีที่สุดในโลกภายในปี 2050[42]

อแล็ง แปร์แร็ง และ การกลับมาของ เกา หงโป

แก้

อแล็ง แปร์แร็ง ผู้ฝึกสอนชาวฝรั่งเศสพาทีมลงแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก โดยมีโชคเล็กน้อยจากผลการแข่งขันระหว่างไทยและเลบานอน ซึ่งแม้ทีมไทยจะแพ้แต่ประตูของอดิศักดิ์ ไกรษร ทำให้จีนได้เปรียบเลบานอนได้ด้านผลต่างประตูได้-เสีย[43] จากนั้นจีนผลมีงานที่ดีในเกมกระชับมิตรกับทีมต่าง ๆ ได้แก่ มาซิโดเนียเหนือ, คูเวต, ปารากวัย และไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับทีม ต่อมาในเอเชียนคัพ 2015 จีนเข้ารอบเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มโดยชนะซาอุดีอาระเบีย 1–0, ชนะอุซเบกิสถาน 2–1 และชนะเกาหลีเหนือ 2–1 แต่ยุติเส้นทางด้วยการแพ้ออสเตรเลีย 2–0 จากสองประตูโดยทิม เคฮิลล์[44] และจีนลงแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 เข้ารอบเป็นอันดับ 2 จากการชนะ 5 นัด, เสมอ 2 นัด และแพ้ 1 นัด แปร์แร็งพ้นจากตำแหน่งหลังพาทีมเสมอฮ่องกง 0–0 ในรอบนี้และเกา หงโป กลับมารับตำแหน่งอีกครั้ง แต่ในรอบคัดเลือก – รอบที่ 3 จีนอยู่ร่วมกลุ่มกับทีมแกร่งกว่าอย่างเกาหลีใต้ และอิหร่าน ทีมของเกาไม่ชนะใครเลยในสี่นัดแรกของรอบคัดเลือกครั้งนี้ เกาลาออกจากตำแหน่งภายหลังความพ่ายแพ้ต่อซีเรียในบ้าน รวมทั้งบุกไปแพ้อุซเบกิสถาน โดยความพ่ายแพ้ต่อซีเรียในบ้านซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากแฟน ๆ จำนวนมาก[45]

มาร์เชลโล ลิปปี

แก้
 
นักฟุตบอลทีมชาติจีนลงอบอุ่นร่างกาย ณ เมืองเตหะราน ก่อนการแข่งขันกับอิหร่านในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย

มาร์เชลโล ลิปปี ได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2016[46] และพาทีมลงแข่งในนัดที่เหลือ จีนเอาชนะเกาหลีใต้ 1–0 จากประตูของหยู ต้าเปา เป็นครั้งแรกที่จีนเอาชนะเกาหลีใต้ได้ในการแข่งขันที่ได้รับการรับรองโดยฟีฟ่า ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดจากเหตุการณ์ระบบป้องกันภัยเขตระดับความสูงขาลง[47] อย่างไรก็ตาม จีนบุกไปแพ้อิหร่านในนัดต่อมา และการเสมอซีเรีย 2–2 ทำให้จีนหมดโอกาสเข้ารอบอย่างเป็นทางการ แม้จะเอาชนะอุซเบกิสถาน 1–0 และบุกชนะกาตาร์ในนัดสุดท้าย 2–1[48]

 
ทีมชาติจีนฉลองชัยชนะภายหลังเอาชนะทีมชาติไทย 2–1 ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายเอเชียนคัพ 2019

ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 จีนผ่านรอบแบ่งกลุ่มจากผลงานเอาชนะคีร์กีซสถาน 2–1 และชนะฟิลิปปินส์ 3–0 แม้จะแพ้เกาหลีใต้ในนัดสุดท้าย 2–0 ตามด้วยการชนะไทยในรอบ 16 ทีม 2–1 แต่ยุติเส้นทางในรอบ 8 ทีมโดยแพ้อิหร่าน 3–0 และลิปปีประกาศลาออก[49] ฟาบีโอ กันนาวาโร เข้ามารับตำแหน่งควบคู่กับการเป็นผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลกว่างโจว แต่เขาอำลาตำแหน่งหลังผ่านไปเพียง 2 นัด[50] และเนื่องจากไม่สามารถหาผู้ฝึกสอนคนใหม่ได้ สมาคมจึงว่าจ้างลิปปีให้กลับมาทำทีมอีกครั้ง จีนจึงเริ่มทำการแปลงสัญชาติให้กับผู้เล่นต่างชาติหลายราย โดยมี นิโก เยนนาริส ชาวไซปรัสที่เกิดในอังกฤษ[51], ไทอัส บราวนิง (เจียง กวงไถ) ซึ่งเป็นผู้เล่นที่เกิดในอังกฤษอีกคนหนึ่งที่ได้รับการแปลงสัญชาติ[52] รวมถึงเอลเคสัน ชาวบราซิลซึ่งไม่มีเชื่้อสายจีนก็ได้รับการแปลงสัญชาติเช่นกัน[53] อย่างไรก็ตาม พวกเขายังคงล้มเหลวในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก จีนทำได้เพียงการเอาชนะทีมเล็กอย่างมัลดีฟส์และกวม ตามด้วยการบุกไปเสมอฟิลิปปินส์ และจากความพ่ายแพ้ต่อซีเรีย 2–1 ทำให้ลิปปีลาออก[54]

หลี่ เถีย และ หลี่ เชียวเผิง

แก้

หลี่ เถีย อดีตผู้เ่ล่นทีมชาติจีนชุดฟุตบอลโลก 2002 ได้รับการแต่งตั้งคุมทีมในวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2020[55] จีนมีคะแนนตามหลังซีเรีย 5 คะแนน แม้จีนจะแซงเข้ารอบในฐานะทีมอันดับ 1 แต่พวกเขาเอาชนะได้ในนัดที่เหลือ ในจำนวนนี้รวมถึงชัยชนะที่สำคัญต่อฟิลิปปินส์ 2–0 และเอาชนะซีเรีย 3–1 เข้าสู่รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3 ในฐานะทีมอันดับ 2 ที่มีผลงานดีที่สุดจากทุกกลุ่ม[56][57] แต่จีนมีผลงานย่ำแย่ในการคุมทีมของหลี่ จีนไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการแข่งขันในประเทศเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 พวกเขาเริ่มด้วยการแพ้ออสเตรเลีย 3–0 และแพ้ญี่ปุ่น 1–0 แม้จะเอาชนะเวียดนาม 3–2 แต่การแพ้ซาอุดีอาระเบีย 3–2 และเสมออีก 2 นัดต่อโอมานและออสเตรเลียทำให้สถานการณ์การเข้ารอบยากลำบาก หลี่ได้รับแรงกดดันอย่างหนักก่อนจะถูกปลดในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2021[58][59] หลี่ เซียวเผิง เข้ามาคุมทีมต่อ นัดแรกของเขานั้นจีนบุกไปแพ้ญี่ปุ่น 2–0 ณ สนามกีฬาไซตามะ 2002 ทำให้จีนหมดลุ้นเข้ารอบอย่างอัตโนมัติ แต่ยังพอมีลุ้นในการเข้ารอบเพลย์ออฟ[60] อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของจีนไม่ดีขึ้น พวกเขาบุกไปแพ้เวียดนามที่ฮานอย 3–1 และเสมอซาอุดีอาระเบีย 1–1 จีนตกรอบอย่างเป็นทางการและแพ้โอมานในนัดสุดท้าย 2–0

ปัจจุบัน

แก้

ภายหลังจากความล้มเหลวดังกล่าว จีนลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันออก ภายใต้ผู้ฝึกสอนชั่วคราวอย่าง อเล็กซานดาร์ ยันกอวิช จีนจบอันดับ 3 ในการแข่งขัน โดยเอาชนะฮ่องกง 1–0 และเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปีที่พวกเขาไม่แพ้ญี่ปุ่นในฐานะทีมเยือนโดยบุกไปเสมอ 0–0 ที่สนามกีฬาโทโยตะ ส่งผลให้ยันกอวิชได้รับการจ้างอย่างถาวร[61] เพื่อเตรียมทีมลงแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก ต่อมา ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2024 จีนแพ้ต่อฮ่องกงในเกมกระชับมิตร 2–1 นับเป็นการแพ้ฮ่องกงครั้งแรกในรอบกว่า 39 ปี[62] และในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2023 จีนตกรอบจากการมี 2 คะแนนและนับเป็นครั้งแรกที่ทีมชาติจีนทำประตูไม่ได้เลยติดต่อกัน 3 นัดในรายการนี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้สนับสนุนและยันกอวิชพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2024

บรันกอ อิวานกอวิช เข้ามารับตำแหน่งในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 จีนเกือบจะตกรอบฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 แต่ยังผ่านเข้ารอบเป็นทีมอันดับ 2 ตามหลังเกาหลีใต้จากการมี 8 คะแนนเท่ากับทีมชาติไทย แต่พวกเขามีผลงานการพบกันที่เหนือกว่า โดยบุกไปชนะ 2–1 ที่กรุงเทพมหานคร และเสมอ 1–1 ที่เฉิ่นหยาง ต่อมาในรอบคัดเลือก – รอบที่ 3 จีนเริ่มต้นด้วยการแพ้ญี่ปุ่น 7–0 ที่ไซตามะ และแพ้ซาอุดีอาระเบียในนัดต่อมา 2–1 ตามด้วยบุกไปแพ้ออสเตรเลีย 3–1 จีนคว้าชัยชนะนัดแรกในรอบนี้จากการเปิดบ้านเอาชนะอินโดนีเซีย 2–1 และยังบุกไปชนะบาห์เรน 1–0 และกลับมาเปิดบ้านแพ้ญี่ปุ่น 3–1

ผลงาน

แก้
  • 1930-1951 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1958 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1962-1978 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1982-1998 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2002 - รอบแรก
  • 2006-2022 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1956-1972 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1976 - อันดับสาม
  • 1980 - รอบแรก
  • 1984 - อันดับสอง
  • 1988 - อันดับสี่
  • 1992 - อันดับสาม
  • 1996 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2000 - อันดับสี่
  • 2004 - อันดับสอง
  • 2007 - รอบแรก
  • 2011 - รอบแรก
  • 2015 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2019 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2023 - รอบแรก
  • 2003 - อันดับสาม
  • 2005 - ชนะเลิศ
  • 2008 - อันดับสาม
  • 2010 - ชนะเลิศ
  • 2013 - รองชนะเลิศ
  • 2015 - รองชนะเลิศ
  • 2017 - อันดับสาม
  • 2019 - อันดับสาม

ผู้เล่น

แก้

นักเตะชุดปัจจุบัน

แก้

รายชื่อผู้เล่น 30 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 พบกับ   ไทย ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567[63]

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567 หลังแข่งขันกับ   สิงคโปร์

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1GK Yan Junling (1991-01-28) 28 มกราคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 57 0   เซี่ยงไฮ้พอร์ต
1GK Wang Dalei (1989-01-10) 10 มกราคม ค.ศ. 1989 (36 ปี) 30 0   ชานตงไท่ชาน
1GK Liu Dianzuo (1990-06-25) 25 มิถุนายน ค.ศ. 1990 (34 ปี) 4 0   อู่ฮั่น ทรี ทาวน์
1GK Bao Yaxiong (1997-05-23) 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 0 0   เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว

2DF Zhu Chenjie (2000-08-23) 23 สิงหาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 28 1   เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว
2DF Liu Yang (1995-06-17) 17 มิถุนายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 28 0   ชานตงไท่ชาน
2DF Tyias Browning (1994-05-30) 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 26 1   เซี่ยงไฮ้พอร์ต
2DF Gao Zhunyi (1995-08-21) 21 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 15 0   ชานตงไท่ชาน
2DF Jiang Shenglong (2000-12-24) 24 ธันวาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 8 0   เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว
2DF Li Shuai (1995-06-18) 18 มิถุนายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 2 0   เซี่ยงไฮ้พอร์ต
2DF Wang Zhen'ao (1999-08-10) 10 สิงหาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 0 0   เซี่ยงไฮ้พอร์ต
2DF Han Pengfei (1993-04-28) 28 เมษายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 0 0   เทียนจิน ไทเกอร์
2DF Yang Zexiang (1994-12-14) 14 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 0 0   เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว

3MF Xie Pengfei (1993-06-29) 29 มิถุนายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 18 0   เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว
3MF Wang Shangyuan (1993-06-02) 2 มิถุนายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 17 1   เหอหนาน
3MF Gao Tianyi (1998-07-01) 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 5 0   เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว
3MF Cheng Jin (1995-02-18) 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 0 0   Zhejiang Professional
3MF Xie Wenneng (2001-02-06) 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 (23 ปี) 0 0   ชานตงไท่ชาน
3MF Xu Haoyang (1999-01-15) 15 มกราคม ค.ศ. 1999 (26 ปี) 0 0   เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว
3MF Huang Zhengyu (1997-01-24) 24 มกราคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 0 0   ชานตงไท่ชาน

4FW อู๋ เหล่ย์ (1991-11-19) 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 (33 ปี) 96 36   เซี่ยงไฮ้พอร์ต
4FW Zhang Yuning (1997-01-05) 5 มกราคม ค.ศ. 1997 (28 ปี) 30 5   เป่ย์จิงกั๋วอัน
4FW Wei Shihao (1995-04-08) 8 เมษายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 29 4   เฉิงดู รองเชิง
4FW Elkeson (1989-07-13) 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 19 4   เฉิงดู รองเชิง
4FW Alan (1989-07-10) 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 10 3   Qingdao West Coast
4FW Fang Hao (2000-01-03) 3 มกราคม ค.ศ. 2000 (25 ปี) 5 0   เป่ย์จิงกั๋วอัน
4FW Fernandinho (1993-03-16) 16 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 2 1   ชานตงไท่ชาน
4FW Xie Weijun (1997-11-14) 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 1 0   เทียนจิน ไทเกอร์
4FW Behram Abduweli (2003-03-08) 8 มีนาคม ค.ศ. 2003 (21 ปี) 0 0   Shenzhen Peng City

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
  2. "China matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: China. สืบค้นเมื่อ 18 November 2014.
  3. "Olympic Council of Asia : Games". web.archive.org. 2016-08-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-05. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  4. "China League History". www.rsssf.org.
  5. "Second Far Eastern Games 1915 (Shanghai)". www.rsssf.org.
  6. "Far Eastern Games". www.rsssf.org.
  7. "FIFA.com - China PR on FIFA.com". web.archive.org. 2010-06-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  8. "Olympic Football Tournament Berlin 1936: Great Britain - Republic of China". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Olympic Council of Asia : Games". web.archive.org. 2016-08-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-05. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  10. "2600th Anniversary of the Japanese Empire 1940 (Tokyo)". www.rsssf.org.
  11. "Olympic Football Tournament London 1948: Turkey - Republic of China". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  12. Guoth, Nick (6 April 2012). "Association Football, China". In Nauright, John; Parrish, Charles (eds.). Sports around the World [4 volumes]: History, Culture, and Practice. ABC-CLIO. p. 190. ISBN 978-1598843002.
  13. "网易". www.163.com.
  14. "China National Football Team Database - China PR 0-4 Finland". teamchina.freehostia.com.
  15. "Live Scores - China PR - Matches - FIFA.com". web.archive.org. 2016-04-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  16. "China sends U20s to train abroad, gets foreign coach, fails to qualify for World Cup - Wild East Football". web.archive.org. 2018-06-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  17. "China National Football Team Database - Matches". teamchina.freehostia.com.
  18. "10th-15th Olympic Summer Games: 1936-1952 - Official Website of the Chinese Olympic Committee". web.archive.org. 2016-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-19. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  19. "足協簡介 - 中華民國足球協會CTFA". web.archive.org. 2016-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-22. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  20. "TBT #04 – When Israel almost made history in Oceania". Oceania Football Center (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-05.
  21. "FIFA proposals on Israel settlements fall short: Palestinians" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-11. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  22. "Asian Nations Cup 1976". www.rsssf.org.
  23. icade (2017-07-06). "Ninety minutes from glory: China's 1982 World Cup qualifying campaign". Wild East Football (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  24. icade (2016-07-11). "Klaus Schlappner: China manager". Wild East Football (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  25. "Saga over As Dong Joins Man Utd -- china.org.cn". www.china.org.cn.
  26. "A FOREIGN FIELD: JIA XIUQUAN AND LIU HAIGUANG AT PARTIZAN". IBWM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-02-11.
  27. www.cctv.com https://www.cctv.com/sports/teyue/view1047.html. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  28. "CHINA FACTS & FIGURES 2002 - china.org.cn". www.china.org.cn.
  29. "China and the World Cup". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  30. "CNN.com - Chinese riot after Japan win final - Aug 7, 2004". web.archive.org. 2013-06-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-28. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  31. "Asian Cup final smashes viewing records". SportBusiness (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-08-13.
  32. "East Asian Championship 2005". www.rsssf.org.
  33. "China National Football Team Database - China PR 1-4 USA". teamchina.freehostia.com.
  34. "United States - MLS - Results, fixtures, tables and news - Soccerway". web.archive.org. 2010-09-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-07. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  35. "MLS table, league standings, stats & results, Football USA | BetExplorer". www.betexplorer.com.
  36. "China appoints Petrovic as national coach - Reuters". web.archive.org. 2019-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  37. "Jobless Haan reflects China's football crisis". www.chinadaily.com.cn.
  38. "New boss vows to revive China's football in 5 years". web.archive.org. 2011-06-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  39. "Camacho To Be New Coach of China National Football Team | The China Times". web.archive.org. 2012-03-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  40. "Match Report: Brazil 8-0 China - Goal.com". web.archive.org. 2012-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-12. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  41. "Summary - Asian Cup Qualification - Asia - Results, fixtures, tables and news - Soccerway". int.soccerway.com (ภาษาอังกฤษ).
  42. "China's Du Zhaocai elected as EAFF President". english.news.cn (ภาษาอังกฤษ).
  43. "Asian Cup 2015 (Qs): Thailand 2-5 Lebanon". the-AFC (ภาษาอังกฤษ).
  44. Reuters (2015-01-22). "Tim Cahill double against China sends Australia into Asian Cup semi-finals". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  45. "Chinese fans call for football head resignation after Syria defeat". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-10-07. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  46. "Official: Lippi new China Coach - Football Italia". football-italia.net (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-10-22.
  47. "China beats South Korea 1-0 in 'football war' played in front of 10,000 police officers – Shanghaiist". web.archive.org. 2018-07-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-23. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  48. "China's faint World Cup hopes vanish despite win in Qatar". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2017-09-06.
  49. "Lippi bows out as Iran send hapless China packing from the Asian Cup". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2019-01-24.
  50. "Cannavaro quits as China coach after two games". FotMob (ภาษาอังกฤษ). 2019-04-29.
  51. Duerden, John (2019-07-01). "From Nico Yennaris to Li Ke: the name change fuelling Chinese dreams". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  52. "Can China win the soccer World Cup with a handful of naturalised players? Probably not". finance.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-07-06.
  53. Lewis, Aimee (2019-08-21). "Brazilian-born striker set to play for China". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  54. Church, Michael. "Lippi quits as China coach after Syria defeat". U.S. (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  55. "China Daily Website - Connecting China Connecting the World". www.chinadaily.com.cn.
  56. "China beats the Philippines in World Cup Asian qualifier - Xinhua | English.news.cn". www.xinhuanet.com.
  57. "新华网_让新闻离你更近". www.news.cn.
  58. "Chinese coach Li Tie left disappointed as World Cup hopes hang by thread". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2021-11-12.
  59. "Former Everton star Li Tie quits as China coach". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-15. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.
  60. "China's World Cup qualifying dreams all but over after Japan defeat". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-27.
  61. "China draws with Japan in East Asian Football Championship - People's Daily Online". en.people.cn.
  62. "Andersen hails Hong Kong's 'aggression' in historic win over China". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-02.
  63. "国足公布新一期集训名单 阿兰回归张玉宁落选" (ภาษาจีน). Xinhuanet. 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้