ฟุตบอลทีมชาติมาเก๊า
ฟุตบอลทีมชาติมาเก๊า (จีน: 澳門足球代表隊; โปรตุเกส: Selecção Macaense de Futebol) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของเขตบริหารพิเศษมาเก๊า อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลมาเก๊า (จีน: 澳門足球總會; Portuguese: Associação de Futebol de Macau) และมีอันดับโลกฟีฟ่าในอันดับท้าย ๆ แม้ว่าทีมชาติจะรู้จักกันในชื่อ มาเก๊า แต่สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออกจะเรียกชื่อทีมว่า มาเก๊า, จีน
ฉายา | เดอะกรีนส์ | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลมาเก๊า | ||
สมาพันธ์ย่อย | สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออก (EAFF) | ||
สมาพันธ์ | สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | Chan Hiu Ming | ||
กัปตัน | Cheang Cheng Ieong | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | Cheang Cheng Ieong (49) | ||
ทำประตูสูงสุด | Chan Kin Seng (17)[1] | ||
สนามเหย้า | Estádio Campo Desportivo | ||
รหัสฟีฟ่า | MAC | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 186 (15 มีนาคม ค.ศ. 2018) | ||
อันดับสูงสุด | 156 (กันยายน ค.ศ. 1997) | ||
อันดับต่ำสุด | 204 (กรกฎาคม ค.ศ. 2014) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
มาเก๊า 1–5 เกาหลีใต้ (มาเก๊า; 25 มกราคม ค.ศ. 1949)[2] | |||
ชนะสูงสุด | |||
มาเก๊า 6–1 หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (โยนา, กวม; ค.ศ. 2009) | |||
แพ้สูงสุด | |||
มาเก๊า 0–10 ญี่ปุ่น (มัสกัต, โอมาน; 25 มีนาคม ค.ศ. 1997) ญี่ปุ่น 10–0 มาเก๊า (โตเกียว, ญี่ปุ่น; 22 มิถุนายน ค.ศ. 1997) |
ฟุตบอลทีมชาติมาเก๊า | |||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 澳門足球代表隊 | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 澳门足球代表队 | ||||||||||||||||||||
|
มาเก๊าไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของเอเชียนคัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันออก แต่ก็เคยผ่านรอบคัดเลือกของเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ 2006 ซึ่งมาเก๊าเสมอหนึ่งนัด และแพ้สองนัด
ทีมชาติมาเก๊าเริ่มแข่งขันในระดับนานาชาติตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1999 ซึ่งมาเก๊ายังคงเป็นดินแดนของโปรตุเกส ก่อนที่จะถูกคืนให้จีน ทีมชาติมาเก๊าถูกแยกออกจากทีมชาติจีนด้วยกฎหมายพื้นฐานมาเก๊า ซึ่งอนุญาตให้มาเก๊ามีทีมตัวแทนเป็นของตนเอง สำหรับในมาเก๊านั้น ทีมชาติของตนจะถูกเรียกว่า "ทีมมาเก๊า" (澳門隊) ในขณะที่ทีมชาติจีนจะถูกเรียกว่า "ทีมชาติ" (國家隊)
การถูกสั่งห้ามโดยฟีฟ่า
แก้มาเก๊าเคยถูกสั่งห้ามโดยฟีฟ่า ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติเป็นบางครั้ง เนื่องจากอิทธิพลของการเมืองที่แทรกแซงสมาคมฟุตบอล แต่ต่อมา มาเก๊าได้ปรับปรุงตนเอง ทำให้โทษนี้ถูกยกเลิกไป[3][4]
สถิติการแข่งขัน
แก้ฟุตบอลโลก
แก้- 1930–1978: ส่วนหนึ่งของโปรตุเกส
- 1982–1986: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1990: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
- 1994–2022: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เอเชียนคัพ
แก้- 1956–1976: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
- 1980: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1984–1988: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
- 1992–2004: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2007: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
- 2011–2023: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันออก
แก้- 2003: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 3 ในรอบคัดเลือก)
- 2005: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
- 2008: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 4 ในรอบคัดเลือก)
- 2010: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 3 ในรอบคัดเลือก)
- 2013: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 2 ในรอบคัดเลือก)
- 2015: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 2 ในรอบคัดเลือก)
- 2017: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 3 ในรอบคัดเลือก)
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ
แก้เอเอฟซีซอลิแดริตีคัพ
แก้- 2016: รองชนะเลิศ
อ้างอิง
แก้- ↑ Mamrud, Roberto; Stokkermans, Karel. "Players with 100+ Caps and 30+ International Goals". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2011. สืบค้นเมื่อ 4 February 2011.
- ↑ "Macao matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Macao. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
- ↑ "Macau suspended by FIFA due to political interference". ESPN. 15 February 2005. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
- ↑ "FIFA suspends the Macau Football Association". FIFA. 15 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-17. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.