ฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์

ทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศสิงคโปร์

ฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศสิงคโปร์ ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน สิงคโปร์ถือเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 4 สมัยใน ค.ศ. 1998, 2004, 2007 และ 2012 ซึ่งเป็นสถิติอันดับสอง มีสีประจำทีมคือสีแดงและสีขาว มีฉายาคือ "The Lions" (สิงโต)

ฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์
Shirt badge/Association crest
ฉายาThe Lions
สมาคมสมาคมฟุตบอลสิงคโปร์
(FAS)
สมาพันธ์ย่อยสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน
(เอเอฟเอฟ)
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
(เอเอฟซี)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนสึโตมุ โอกุระ
กัปตันฮาริซซ์ ฮารุน
ติดทีมชาติสูงสุดดาเนียล เบนเนตต์ (146)[1]
ทำประตูสูงสุดฟันดี อะฮ์มัด (55)[2]
สนามเหย้าสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์
สนามกีฬาจาลันเบอซาร์
รหัสฟีฟ่าSIN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน155 เพิ่มขึ้น (28 เมษายน พ.ศ 2567)[3]
อันดับสูงสุด73 (สิงหาคม ค.ศ. 1993)
อันดับต่ำสุด173 (ตุลาคม ค.ศ. 2017)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
[[Image:{{{flag alias-colonial}}}|22x20px|border |ธงชาติสิงคโปร์]] สิงคโปร์ 1–0 สาธารณรัฐจีน ธงชาติไต้หวัน
(สิงคโปร์; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1948)[4]
ชนะสูงสุด
ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 11–0 ลาว ธงชาติลาว
(ประเทศสิงคโปร์; 15 มกราคม ค.ศ. 2007)
แพ้สูงสุด
ธงชาติประเทศพม่า พม่า 9–0 สิงคโปร์ ธงชาติสิงคโปร์
(กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย; 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1984)
ผลงานดีที่สุดรอบกลุ่ม (1984)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
เข้าร่วม12 (ครั้งแรกใน 1996)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1998, 2004, 2007, 2012)

ทีมชาติสิงคโปร์เป็นทีมฟุตบอลที่เก่าแก่ทีมหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยสมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ถือเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดในทวีป[5] แม้จะมีประชากรน้อย แต่พวกเขามีนโยบายการสร้างทีมที่แข็งแกร่งและสามารถแข่งขันกับทีมอื่นในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างมั่นคง โดยเน้นการใช้นักเตะโอนสัญชาติ สิงคโปร์เป็นชาติแรกที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน และเป็นทีมเดียวในรายการดังกล่าวที่ชนะในรอบชิงชนะเลิศทุกครั้งที่ตนเองเข้าชิง โดยคว้าแชมป์สมัยแรกใน ค.ศ. 1998 จากการชนะเวียดนาม ตามด้วยการชนะอินโดนีเซียใน ค.ศ. 2004 และชนะไทยใน ค.ศ. 2007 และ 2012

สิงคโปร์ยังเคยทำผลงานได้ดีในการแข่งระดับทวีป ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 รอบคัดเลือก พวกเขาเป็นทีมเดียวในที่เอาชนะอิรักได้ ซึ่งอิรักเป็นทีมแชมป์ในการแข่งขันรอบสุดท้าย รวมทั้งสามารถเสมอกับทีมที่มีอันดับโลกเหนือกว่าพวกเขาอย่างจีน (ค.ศ. 2006 และ 2009) และออสเตรเลีย (ค.ศ. 2008) ได้ และในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก สิงคโปร์บุกไปยันเสมอญี่ปุ่นได้ถึงสนามกีฬาไซตามะ 2002 ด้วยผลประตู 0–0 ซึ่งถือเป็นเกมเดียวที่ญี่ปุ่นไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ในรอบคัดเลือกดังกล่าว

ประวัติ

แก้

สมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1892 ถือเป็นองค์กรทางด้านฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย การแข่งขันครั้งแรกของทีมชาติสิงโปร์เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1921 ในรายการ มาลายา คัพ (มาเลเซีย คัพ ในปัจจุบัน) ซึ่งจัดการแข่งขันโดยทหารเรือจากบริติชมาลายา สิงคโปร์เป็นหนึ่งในหกชาติที่ได้ร่วมแข่งขันในปีแรก สิงคโปร์ยังคงร่วมแข่งขันรายการนี้อย่างต่อเนื่อง และไม่เคยทำผลงานที่แย่กว่าตำแหน่งแชมป์หรือรองแชมป์เลย กระทั่งการแข่งขันได้ยุติลงชั่วคราวใน ค.ศ. 1941 เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงเวลานั้นสิงคโปร์ยังได้ร่วมแข่งขันมาเลเซียนลีก

สิงคโปร์ชนะเลิศมาเลเซีย คัพ 24 สมัย และมาเลเซียนลีก 2 สมัย และหลังจากคว้าแชมป์ลีกและมาเลเซีย คัพ ได้ทั้งสองรายการใน ค.ศ. 1994 สมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ได้ถอนตัวจากการแข่งขันทุกรายการในประเทศมาเลเซีย ภายหลังเกิดข้อพิพาทกับสมาคมฟุตบอลมาเลเซียในเรื่องการจัดสรรจำนวนเงินในการจำหน่ายบัตรเข้าชม สิงคโปร์จึงไปก่อตั้งลีกของตนเองในนาม สิงคโปร์พรีเมียร์ลีก ใน ค.ศ. 1996 และสมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ได้เริ่มมีการพัฒนาทีมชาติให้แข็งแกร่งในการแข่งขันระดับนานาชาติ

สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพการแข่งขันเอเชียนคัพ 1984 ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวจนถึงปัจจุบันที่พวกเขาได้ร่วมแข่งขันรายการนี้ โดยตกรอบแบ่งกลุ่มจากการมี 4 คะแนน แม้จะเอาชนะอินเดียและเสมอกับทีมใหญ่อย่างอิหร่านได้ และพวกเขามีอันดับโลกฟีฟ่าที่ดีที่สุดคืออันดับ 73 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993 สิงคโปร์คว้าเหรียญทองแดงในซีเกมส์ 1995 ที่จังหวัดเชียงใหม่[6] หลังจากแพ้เจ้าภาพและทีมแชมป์ในครั้งนั้นอย่างทีมชาติไทย 0–1 ในรอบรองชนะเลิศ ต่อมา สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1996 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีแรก แต่พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มโดยแพ้ไทยในนัดสุดท้าย[7] ตามด้วยการตกรอบรองชนะเลิศซีเกมส์ 1997 โดยแพ้อินโดนีเซีย และแพ้เวียดนามในนัดชิงเหรียญทองแดง[8][9]

สิงคโปร์คว้าแชมป์รายการแรกได้ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1998 ภายใต้การนำของ แบร์รี วิทเบรด ผู้ฝึกสอนชาวอังกฤษโดยไม่แพ้ทีมใดในรอบแบ่งกลุ่มรวมถึงเอาชนะมาเลเซียและลาว และเอาชนะอินโดนีเซียในรอบรองชนะเลิศ 2–1 ก่อนจะชนะเวียดนามในรอบชิงชนะเลิศ 1–0[10][11] แยน บอร์ก โพลเซน ชาวเดนมาร์กได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของสมาคมใน ค.ศ. 1999[12] ก่อนจะรับตำแหน่งเป็นผู้ฝึกสอนแทนที่ วินเซนต์ สุบรามาเนียม ซึ่งลาออกใน ค.ศ. 2000 จากผลงานย่ำแย่ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2000 ซึ่งพวกเขาตกรอบแรก โดยต่อมาสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพร่วมรายการดังกล่าวอีกครั้งใน ค.ศ. 2002 แต่ก็ตกรอบแรกอีกครั้ง โดยแพ้คู่ปรับสำคัญอย่างมาเลเซียในนัดแรก 0–4 และการเอาชนะลาวรวมถึงเสมอทีมไทยในนัดสุดท้ายนั้นไม่เพียงพอต่อการเข้ารอบ โพลเซนถูกปลดหลังจบการแข่งขัน

ราดอยโก อัฟราโมวิช เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2004 พวกเขาผ่านรอบแบ่งกลุ่มโดยไม่แพ้ทีมใด ตามด้วยการชนะพม่าไปอย่างสนุกด้วยผลประตูรวมสองนัด 8–5 ซึ่งต้องเล่นกันถึงช่วงต่อเวลา และพวกเขาคว้าแชมป์สมัยที่สองได้จากการชนะอินโดนีเซียในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 5–2 โดยบุกไปชนะถึงกรุงจาการ์ตาได้ 3–1 ในเลกแรก และกลับมาชนะได้อีก 2–1 ต่อหน้าแฟน ๆ 55,000 คนที่สิงคโปร์

สิงคโปร์ตกรอบเอเชียนคัพ 2007 รอบคัดเลือกโดยชนะได้เพียงหนึ่งนัดจากห้านัด และอัฟราโมวิชนำทีมลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007 ในฐานะแชมป์เก่าและเป็นเจ้าภาพร่วมกับทีมชาติไทย พวกเขาเริ่มต้นด้วยการเสมอเวียดนาม แต่ในนัดที่สองพวกเขาชนะลาว 11–0 นับเป็นสถิติการชนะด้วยผลประตูที่มากที่สุดตลอดกาลของทีม และเสมออินโดนีเซียในนัดสุดท้าย ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศเอาชนะจุดโทษมาเลเซีย ภายหลังจากเสมอกัน 1–1 ทั้งสองนัด และเข้าไปป้องกันแชมป์ได้โดยชนะไทยด้วยผลประตูรวม 3–2 โดยชนะในเลกแรกในบ้านได้ 2–1 และบุกไปเสมอ 1–1 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน จากประตูท้ายเกมของ ไครูล อัมรี คว้าแชมป์สมัยที่สาม

 
ราดอยโก อัฟราโมวิช ผู้ฝึกสอนชาวเซอร์เบีย ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ฝึกสอนที่ดีที่สุดของทีมชาติสิงคโปร์ ด้วยผลงานชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 3 สมัย

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ล้มเหลวในการแข่งขัน ค.ศ. 2008 แม้พวกเขาจะชนะสามนัดรวดในรอบแบ่งกลุ่มที่พบกับอินโดนีเซีย, พม่า และกัมพูชา โดยทำประตูไปได้ถึง 10 ประตู ทว่าพวกเขาแพ้เวียดนามแชมป์ในปีนั้นในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 0–1

ในฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก สิงคโปร์ผ่านปาเลสไตน์ และ ทาจิกิสถาน เข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มก่อนจะตกรอบเมื่อแพ้ต่อคู่แข่งที่แข็งแกร่งจากตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบีย ต่อมาใน เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก สิงคโปร์ตกรอบโดยชนะได้สองจากหกนัด จบอันดับสุดท้าย รวมถึงแพ้ทีมดังอย่างอิหร่าน 0–6 และแพ้ในบ้านต่อทีมชาติไทย 1–3 แต่พวกเขาก็เล่นได้ยอดเยี่ยมโดยบุกไปชนะไทยได้ 1–0 เช่นกัน และสิงคโปร์ยังมีผลงานย่ำแย่ต่อเนื่องจากการตกรอบแบ่งกลุ่ม ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2010 โดยชนะเพียงนัดเดียว และแพ้เวียดนามในนัดสุดท้าย และจากผลงานดังกล่าวทำให้แฟนบอลวิจารณ์อย่างหนัก สมาคมฟุตบอลตัดสินใจพักการแข่งขันทุกรายการเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อวางแผนและปรับปรุงทีมใหม่ และกลับมาเอาชนะมัลดีฟส์ในเกมกระชับมิตร 4–0 ณ สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ และเสมอไทย 0–0 ตามด้วยการลงแข่งขันสุลต่านออฟสลังงอร์ รายการพิเศษที่จัดขึ้นระหว่างสองสโมสรฟุตบอลคู่แข่ง ได้แก่ สโมสรสลังงอร์และสิงคโปร์ และสิงคโปร์ชนะ 1–0 คว้าแชมป์สมัยที่หก

สิงคโปร์ตกรอบในฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก แต่คว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2012 ได้เป็นสมัยที่สี่ เอาชนะฟิลิปปินส์ในรอบรองชนะเลิศ และชนะไทยในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 3–2 โดยชนะในเลกแรกที่บ้าน 3–1 และแพ้ที่กรุงเทพมหานคร 0–1[13] ราดอยโก อัฟราโมวิช ลาทีมหลังจบการแข่งขัน เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ฝึกสอนที่ดีที่สุดของทีมชาติสิงคโปร์มาถึงปัจจุบัน ถัดมาในเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก สิงคโปร์ตกรอบโดยแพ้ทีมร่วมกลุ่มอย่างจอร์แดน และซีเรีย

เบิร์นด์ ชตังเงอ เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนใน ค.ศ. 2013[14] พาทีมชนะในเกมกระชับมิตรสองนัดที่พบกับพม่าและลาว และชตังเงอเป็นผู้เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการเล่นของทีม ให้เคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว เน้นการวิ่งและการจ่ายลูกบอลแบบจังหวะเดียว และยังเพิ่มความฟิตให้นักเตะ พวกเขาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014 ร่วมกับเวียดนาม แต่ไม่สามารถป้องกันแชมป์ได้ และย่ำแย่ถึงขั้นตกรอบแบ่งกลุ่มโดยชนะพม่าได้เพียงนัดเดียว แต่แพ้คู่ปรับอย่างไทย (1–2) และ มาเลเซีย (1–3) และตกรอบฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก รอบที่ 2 แต่ก็เก็บได้ถึง 10 คะแนน และได้รับเสียงชื่นชมจากการบุกไปเสมอทีมใหญ่อย่างญี่ปุ่นได้ถึงสนามกีฬาไซตามะ 2002 รวมทั้งเอาชนะชาติตะวันออกกลางอย่างอัฟกานิสถาน 1–0 และแพ้ซีเรียไปเพียงหนึ่งประตู[15]

ชตังเงอไม่ได้รับการขยายสัญญา และเขาถูกแทนที่โดย วี. ซุนดรามูร์ธี พาทีมลงแข่งฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 แต่พวกเขาตกรอบแรกอีกครั้ง โดยเสมอหนึ่งนัด แพ้สองนัดไม่ชนะทีมใด และในเอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3 สิงคโปร์ตกรอบโดยไม่ชนะทีมใด ต่อมา ทัตสึมะ โยชิดะ ผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำหน้าที่ต่อ แต่ทีมก็ตกรอบในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 โดยชนะได้ 2 นัดจาก 8 นัด และประเทศสิงคโปร์ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 พวกเขาอยู่ในกลุ่มเอร่วมกับไทย, ฟิลิปปินส์, พม่า, และติมอร์-เลสเต และสิงคโปร์ผ่านรอบแบ่งกลุ่มในฐานะรองแชมป์กลุ่มด้วยผลงานชนะ 3 นัด และแพ้ 1 นัด โดยแพ้ทีมชาติไทยในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม 0–2[16] และแพ้อินโดนีเซียในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 3–5 ซึ่งในนัดที่สองต้องเล่นกันถึงช่วงต่อเวลา เป็นผลให้โยชิดะอำลาตำแหน่งผู้ฝึกสอน[17] และ ทาคายูกิ นิชิกายะ เข้ามารับตำแหน่งต่อ

สนามแข่งขัน

แก้
สนามเหย้าของทีมชาติสิงคโปร์
สนาม ความจุ ที่ตั้ง ใข้งานล่าสุด
  สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ 55,000 กัลลัง v    พม่า
(5 ธันวาคม 2021; ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 กลุ่ม เอ)
  สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ 8,000 กัลลัง v    เติร์กเมนิสถาน
(5 กันยายน 2017; เอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3)
  Bishan Stadium 3,500 Bishan v    มองโกเลีย
(12 ตุลาคม 2018; กระชับมิตร)
Choa Chu Kang Stadium 4,268 Choa Chu Kang v    อินเดีย
(16 ตุลาคม 2012; กระชับมิตร)
  Jurong West Stadium 4,200 Jurong West v    ปากีสถาน
(19 พฤศจิกายน 2012; กระชับมิตร)
  Jurong East Stadium 2,700 Jurong East v    บรูไน
(6 มิถุนายน 2015; กระชับมิตร)
Hougang Stadium 3,800 Hougang v    ฮ่องกง
(9 กันยายน 2014; กระชับมิตร)
  Yishun Stadium 3,400 Yishun v    กัมพูชา
(17 พฤศจิกายน 2014; กระชับมิตร)

ผลงาน

แก้
  • 1998 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2002 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2006 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2010 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2014 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2018 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2022 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2026 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1956-2023 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

รายชื่อผู้เล่น 27 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 พบกับ   เกาหลีใต้ และ   ไทย ในวันที่ 6 และ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567[18]

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 หลังแข่งขันกับ   เกาหลีใต้

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK Hairul Syirhan (1995-08-21) 21 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 0 0   เกย์ลัง อินเตอร์เนชันแนล
12 1GK Zharfan Rohaizad (1997-02-21) 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (27 ปี) 0 0   ไลออนซิตีเซเลอส์
18 1GK Hassan Sunny (1984-04-02) 2 เมษายน ค.ศ. 1984 (40 ปี) 114 0   อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ (S)
1GK Syazwan Buhari (1992-09-22) 22 กันยายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 2 0   บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์

2 2DF Fairuz Fazli (2005-01-20) 20 มกราคม ค.ศ. 2005 (19 ปี) 0 0   Young Lions
3 2DF ไรฮาน สจวร์ต (2000-02-15) 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 (24 ปี) 14 0   บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
4 2DF Christopher van Huizen (1992-11-28) 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 20 1   ไลออนซิตีเซเลอส์
5 2DF Amirul Adli (1996-01-13) 13 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 27 0   บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์
6 2DF Nur Adam Abdullah (2001-04-13) 13 เมษายน ค.ศ. 2001 (23 ปี) 8 0   Young Lions
15 2DF Lionel Tan (1997-06-05) 5 มิถุนายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 12 3   ไลออนซิตีเซเลอส์
17 2DF Jordan Emaviwe (2001-04-09) 9 เมษายน ค.ศ. 2001 (23 ปี) 0 0   Balestier Khalsa
20 2DF Joshua Pereira (1997-10-10) 10 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 6 0   เกย์ลัง อินเตอร์เนชันแนล
21 2DF Safuwan Baharudin (1991-09-22) 22 กันยายน ค.ศ. 1991 (32 ปี) 112 13   เซอลาโงร์
2DF Jacob Mahler (2000-04-10) 10 เมษายน ค.ศ. 2000 (24 ปี) 11 3   มาดูรา ยูไนเต็ด
2DF อีร์ฟัน ฟันดี (1997-08-13) 13 สิงหาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 48 2   บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
2DF Raoul Suhaimi (2005-09-18) 18 กันยายน ค.ศ. 2005 (18 ปี) 0 0   Young Lions

7 3MF Song Ui-young (1993-11-08) 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 25 4   ไลออนซิตีเซเลอส์
8 3MF Shah Shahiran (1999-11-14) 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 22 1   ทัมปิเนสโรเวอร์
14 2DF Hariss Harun (กัปตัน) (1990-11-19) 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 (33 ปี) 130 12   ไลออนซิตีเซเลอส์
16 3MF Hami Syahin (1998-12-16) 16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 22 0   ไลออนซิตีเซเลอส์
22 3MF Glenn Kweh (2000-03-26) 26 มีนาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 12 0   บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์
23 3MF ฮาฮิส สจวร์ต (2001-03-20) 20 มีนาคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 3 0   เชียงราย ยูไนเต็ด
3MF Farhan Zulkifli (2002-11-10) 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (21 ปี) 1 0   Young Lions

9 4FW อิคซัน ฟันดี (1999-04-09) 9 เมษายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 37 17   บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
10 4FW Faris Ramli (1992-08-24) 24 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 80 13   บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์
11 4FW Daniel Goh (1999-08-13) 13 สิงหาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 5 0   อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ (S)
13 4FW Taufik Suparno (1995-10-31) 31 ตุลาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 7 0   บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์
19 4FW อิลฮาน ฟานดี (2002-11-08) 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (21 ปี) 13 2   Deinze

อ้างอิง

แก้
  1. "FIFA Century Club" (PDF). Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2015.
  2. Morrison, Neil. "Fandi Ahmad – Century of International Appearances". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 30 January 2010.
  3. [1]
  4. "Singapore matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Singapore. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
  5. "Flashback Friday: Singapore Amateur Football Association founded on Aug 29, 1892". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 2014-08-29. ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
  6. "30 and that's it: [New Sunday Times, , 2* - ProQuest". www.proquest.com.
  7. "Singapore lure the Johor fans: [Main/Lifestyle, , - ProQuest". www.proquest.com.
  8. "SEA Games – 1997". AFF - The Official Website Of The Asean Football Federation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-11-25.
  9. "South East Asian Games 1997 (Jakarta, Indonesia)". www.rsssf.com.
  10. "Flash Back: AFF Championship 1998 | Goal.com". www.goal.com.
  11. Gene, Ng Keng (2016-05-28). "Football: Singapore's national coaches through the years". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
  12. Gene, Ng Keng (2016-05-28). "Football: Singapore's national coaches through the years". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
  13. "AFF Suzuki Cup 2020". www.affsuzukicup.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
  14. "Bernd Stange unveiled as new Singapore coach | Goal.com". www.goal.com.
  15. "FAS HEADLINES | The Football Association of Singapore". web.archive.org. 2016-03-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  16. Limited, Bangkok Post Public Company. "Thailand beat Singapore 2-0 to remain unbeaten in Suzuki Cup". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.
  17. "Singapore national football coach Tatsuma Yoshida quits post to be with family in Japan". CNA (ภาษาอังกฤษ).
  18. "Ogura names Singapore squad for upcoming matches against Korea Republic and Thailand".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์ ถัดไป
1996 ไทย     อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(1998 (สมัยที่ 1))
  2000 ไทย  
2002 ไทย     อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(2004 (สมัยที่ 2)
2007 (สมัยที่ 3))
  2008 เวียดนาม  
2010 มาเลเซีย     อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(2012 (สมัยที่ 4))
  2014 ไทย