ฟุตบอลทีมชาติมองโกเลีย

ฟุตบอลทีมชาติมองโกเลีย (มองโกเลีย: Монголын хөлбөмбөгийн үндэсний шигшээ баг, Mongolyn khölbömbögiin ündesnii shigshee bag) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศมองโกเลียในการแข่งขันระดับนานาชาติ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลีย ซึ่งเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออกและสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย แม้ว่าสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลียจะก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1959 แต่ทีมชาติกลับไม่ได้แข่งขันในระดับนานาชาติเป็นระยะเวลายาวนานถึง 38 ปี จนกระทั่งได้แข่งขันอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1998

 มองโกเลีย
ฉายาХөх Чононууд (Khökh Chononuud; หมาป่าสีน้ำเงิน)
Чингис Хаан (Tchingis Khaan; เจงกีส ข่าน)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลีย
(МXX)
สมาพันธ์ย่อยสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออก (EAFF)
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนอิชิโระ โอตสึกะ
กัปตันTsend-Ayush Khurelbaatar
ติดทีมชาติสูงสุดGaridmagnai Bayasgalangiin
Lümbengarav Donorov
Tsedenbal Norjmoogiin (35)
ทำประตูสูงสุดLümbengarav Donorov
Naranbold Nyam-Osor (8)[1]
สนามเหย้าศูนย์ฟุตบอลสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลีย
รหัสฟีฟ่าMNG
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 190 เพิ่มขึ้น 1 (20 มิถุนายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด160 (สิงหาคม ค.ศ. 2011)
อันดับต่ำสุด205 (กรกฎาคม ค.ศ. 2015)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 12–0 มองโกเลีย มองโกเลีย
(ซินกิง แมนจู; 10 สิงหาคม 1942)
ชนะสูงสุด
ธงชาติมองโกเลีย มองโกเลีย 9–0 หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา Flag of the Northern Mariana Islands
(อูลานบาตาร์ มองโกเลีย; 4 กันยายน 2018)
แพ้สูงสุด
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 15–0 มองโกเลีย ธงชาติมองโกเลีย
(เชียงใหม่ ไทย; 5 ธันวาคม 1998)
เอเอฟซี โซลิแดริตีคัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2016)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม (2016)

ประวัติ

แก้
 
ทีมชาติมองโกเลียเคยใช้สนามกีฬาแห่งชาติเป็นสนามเหย้าจนกระทั่งศูนย์ฟุตบอลสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลียได้ถูกสร้างขึ้น[3]

ระหว่าง ค.ศ. 1960 ถึง 1998 ทีมชาติมองโกเลียไม่เคยลงเล่นในระดับนานาชาติจนกระทั่งพวกเขาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่าใน ค.ศ. 1998[4] การแข่งขันครั้งแรกของมองโกเลียเกิดขึ้นในฟุตบอลเอเชียนเกมส์ 1998 รอบคัดเลือก ซึ่งพวกเขาพ่ายแพ้ต่อคูเวต 11–0 และแพ้อุซเบกิสถาน 15–0

พวกเขาเข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2002 แต่พวกเขาพ่ายแพ้ถึงห้านัดติดต่อกันก่อนที่จะเสมอกับบังกลาเทศ 2–2 ต่อมาในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 มองโกเลียเปิดบ้านแพ้มัลดีฟส์ 0–1 ก่อนที่จะบุกไปแพ้ที่มาเลในเลกที่สองถึง 12–0 จนต้องตกรอบแรกในที่สุด ต่อมาในรอบแรกของฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก มองโกเลียแพ้เกาหลีเหนือด้วยผลประตูรวมถึง 9–2 ต่อมาในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2014 มองโกเลียแพ้พม่าในรอบแรก 2–1 และในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก รอบแรก มองโกเลียถูกจับสลากพบกับติมอร์-เลสเต และพวกเขาได้สิทธิ์ชนะบาย 3–0 ทั้งสองนัดหลังจากที่ติมอร์ถูกตรวจพบว่ามีผู้เล่นที่ลงทะเบียนผิดกฎ อย่างไรก็ตาม มองโกเลียตกรอบคัดเลือกรอบที่สอง

ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก รอบแรก มองโกเลียสามารถเอาชนะบรูไนด้วยผลประตูรวม 3–2[5] แต่ในรอบที่สอง มีนัดที่พวกเขาพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นถึง 14–0 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2021 พวกเขาปลดรัสติสลัฟ บอซิกออกจากตำแหน่ง และได้แต่งตั้งชูอิจิ มาเสะเป็นผู้ฝึกสอนคนใหม่ ต่อมาในวันที่ 7 มิถุนายน มองโกเลียสามารถพลิกเอาชนะคีร์กีซสถาน 1–0 ได้อย่างเหนือความคาดหมาย นับเป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถเอาชนะทีมจากเอเชียกลางและเป็นครั้งแรกที่พวกเขาเอาชนะทีมที่อันดับโลกฟีฟ่าสูงกว่า 100 ได้ในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก

อ้างอิง

แก้
  1. Földesi, László. "International Goals of Mongolia". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 January 2011.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  3. Lim, Miakka. "Azkals now in Mongolia, tired but in high spirits". GMA Network. สืบค้นเมื่อ 14 August 2016.
  4. "Mongolian football takes a giant steppe". FIFA.com.[ลิงก์เสีย]
  5. "Quintet through as Mongolia make history". FIFA.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้