ฉางชุน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฉางชุน (จีน: 长春; พินอิน: Chángchūn; แปลตรงตัว: "ฤดูใบไม้ผลิอันยาวนาน") เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลจี๋หลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน[5] ตั้งอยู่ใจกลางที่ราบซงเหลียวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนแผ่นดินใหญ่ ฉางชุนมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด โดยเขตการปกครองของฉางชุนประกอบด้วยเขตจำนวน 7 เขต นครระดับอำเภอจำนวน 2 แห่ง และอำเภอจำนวน 1 แห่ง[6] ฉางชุนเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนร่วมกับเฉิ่นหยาง ต้าเหลียน และฮาร์บิน
ฉางชุน 长春市 | |
---|---|
สถานที่สำคัญในฉางชุนจากภาพบนเวียนตามเข็มนาฬิกา: ภาพมุมกว้างของเมือง (สองภาพบน) อาคารรัฐบาลของประเทศแมนจู รูปปั้นที่จัตุรัสวัฒนธรรม โบสถ์คริสต์ฉางชุน และอนุสาวรีย์มรณสักขีชาวโซเวียต | |
ที่ตั้งของจังหวัดฉางชุน (สีเหลือง) ในมณฑลจี๋หลิน (สีเทาอ่อน) ประเทศจีน | |
พิกัด: 43°53′13″N 125°19′29″E / 43.88694°N 125.32472°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
มณฑล | จี๋หลิน |
เขตการปกครองระดับอำเภอ | 7 เขต 2 นครระดับอำเภอ 1 อำเภอ |
ได้รับสถานะเมือง | พ.ศ. 2432 |
ได้รับสถานะนคร | พ.ศ. 2475 |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | หวัง ไข่ |
• ผู้ว่าการ | หลิว ซิน |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งจังหวัด | 20,604 ตร.กม. (7,955 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง (2018)[2] | 803 ตร.กม. (310 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 3,061 ตร.กม. (1,182 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 222 เมตร (730 ฟุต) |
ประชากร (พ.ศ. 2553)[3] | |
• ทั้งจังหวัด | 7,674,439 คน |
• ความหนาแน่น | 370 คน/ตร.กม. (960 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง (พ.ศ. 2561)[2] | 3,575,000 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 4,500 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 3,815,270 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,200 คน/ตร.กม. (3,200 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (มาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 130000 |
รหัสพื้นที่ | 0431 |
รหัส ISO 3166 | CN-JL-01 |
ป้ายทะเบียนรถ | 吉A |
จีดีพี (พ.ศ. 2560) | 653.0 พันล้านเหรินหมินปี้ |
- ต่อหัว | 86,931 เหรินหมินปี้ |
เว็บไซต์ | www.changchun.gov.cn |
[4] |
ฉางชุน | |||||||||||||||||||||||||||||||
"ฉางชุน" เขียนโดยใช้อักษรจีนตัวย่อ | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 长春 | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 長春 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Chángchūn | ||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "ฤดูใบไม้ผลิอันยาวนาน" | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
ระหว่าง พ.ศ. 2475 และ 2488 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ตั้งประเทศแมนจูขึ้นเป็นรัฐบาลหุ่นเพื่อยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ฉางชุนกลายเป็นเมืองหลวงของประเทศแมนจูในระหว่างนั้นและถูกเปลี่ยนชื่อเป็นซินกิง (อังกฤษ: Hsinking; จีน: 新京; พินอิน: Xīnjīng; แปลตรงตัว: "เมืองหลวงใหม่") เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนก่อตั้งใน พ.ศ. 2492 หลังจักรวรรดิญี่ปุ่นหมดอำนาจ รัฐบาลจีนได้สถาปนาฉางชุนให้เป็นเมืองหลวงของมณฑลจี๋หลินใน พ.ศ. 2497
ฉางชุนเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญโดยเฉพาะรถยนต์ และได้รับฉายาว่า "เมืองแห่งรถยนต์"[7][8] และ "ดีทรอยต์เมืองจีน"[9]
ภูมิศาสตร์
แก้ภูมิอากาศ
แก้ฉางชุนมีสี่ฤดู ได้รับอิทธิพลลมมรสุม ภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน: Dwa ) ฤดูหนาวมีความยาวนาน (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม) อากาศหนาวเย็นและลมแรง แต่แห้งเนื่องจากอิทธิพลของ ไซบีเรียแอนไทไซโคลน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยเดือนมกราคมที่ − 14.7° C ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ค่อนข้างสั้นโดยมีหยาดน้ำฟ้าอยู่บ้าง แต่อากาศมักจะแห้งและมีลมแรง ฤดูร้อนอากาศร้อนและชื้นโดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมเนื่องจากมรสุมเอเชียตะวันออก ค่าเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม 23.2° C มักจะมีหิมะเล็กน้อยในช่วงฤดูหนาวและมีปริมาณน้ำฝนรายปีตกชุกตั้งแต่มิถุนายนถึงสิงหาคม ด้วยเปอร์เซ็นต์แสงแดดที่ได้รับต่อเดือนตั้งแต่ 47 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกรกฎาคมถึง 66 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ปีปกติจะเห็นแสงอาทิตย์ประมาณ 2,617 ชั่วโมงและระยะเวลาปลอดน้ำค้างแข็ง 140 ถึง 150 วัน อุณหภูมิที่สูงที่สุดมีตั้งแต่ −33.0° C ถึง 35.7° C[10]
ข้อมูลภูมิอากาศของฉางชุน (พ.ศ. 2524-2553 เฉลี่ย, สูงสุด-ต่ำสุด 2494-2561) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 4.6 (40.3) |
14.5 (58.1) |
23.4 (74.1) |
31.9 (89.4) |
35.2 (95.4) |
36.7 (98.1) |
38.0 (100.4) |
35.6 (96.1) |
30.6 (87.1) |
27.8 (82) |
20.7 (69.3) |
11.7 (53.1) |
38.0 (100.4) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | −9.6 (14.7) |
−4.2 (24.4) |
4.0 (39.2) |
14.5 (58.1) |
21.7 (71.1) |
26.4 (79.5) |
27.5 (81.5) |
26.7 (80.1) |
21.8 (71.2) |
13.5 (56.3) |
1.7 (35.1) |
−6.7 (19.9) |
11.44 (52.6) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | −14.7 (5.5) |
−9.8 (14.4) |
−1.6 (29.1) |
8.5 (47.3) |
15.8 (60.4) |
21.1 (70) |
23.2 (73.8) |
22.1 (71.8) |
16.0 (60.8) |
7.7 (45.9) |
−3.2 (26.2) |
−11.6 (11.1) |
6.13 (43.03) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -19.0 (-2.2) |
−14.6 (5.7) |
−6.7 (19.9) |
2.8 (37) |
10.1 (50.2) |
16.0 (60.8) |
19.3 (66.7) |
17.9 (64.2) |
10.8 (51.4) |
2.7 (36.9) |
−7.4 (18.7) |
−15.7 (3.7) |
1.35 (34.43) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -36.5 (-33.7) |
−31.9 (-25.4) |
−27.7 (-17.9) |
−12.2 (10) |
−3.4 (25.9) |
4.5 (40.1) |
11.1 (52) |
3.9 (39) |
−3.7 (25.3) |
−13.4 (7.9) |
−24.7 (-12.5) |
-33.2 (-27.8) |
−36.5 (−33.7) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 4.0 (0.157) |
4.5 (0.177) |
13.6 (0.535) |
23.8 (0.937) |
50.4 (1.984) |
94.7 (3.728) |
168.6 (6.638) |
133.0 (5.236) |
42.7 (1.681) |
22.6 (0.89) |
13.2 (0.52) |
6.0 (0.236) |
577.1 (22.72) |
ความชื้นร้อยละ | 66 | 58 | 51 | 47 | 50 | 62 | 78 | 77 | 67 | 59 | 62 | 66 | 61.9 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 มม.) | 4.6 | 4.5 | 5.9 | 6.7 | 10.2 | 13.0 | 15.1 | 12.1 | 7.9 | 6.0 | 5.7 | 6.1 | 97.8 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 179.9 | 196.3 | 234.7 | 235.3 | 258.4 | 248.9 | 213.2 | 230.0 | 237.1 | 215.1 | 172.4 | 159.9 | 2,581.2 |
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration,[11][12] Weather China[10] และ Weather Atlas[13] |
เขตการปกครองและประชากร
แก้นครฉางชุนมีฐานะเป็นนครระดับมณฑล โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขตจำนวน 7 เขต นครระดับอำเภอจำนวน 2 แห่ง และอำเภอจำนวน 1 แห่ง ได้แก่
แผนที่นครฉางชุน | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
เขตหนานกวาน
เขตควานเฉิง
เขตเฉาหยาง
เขตเอ้อร์เต้า
เขตลู่ยเหฺวียน
เขตชฺวางหยาง
เขตจิ่วไท่
อำเภอ
หนงอาน นครยหฺวีชู่
นครเต๋อฮุ่ย
| ||||||
ชื่อ | จีนย่อ | พินอิน | ประชากร (พ.ศ. 2560) | พื้นที่ (ตร.กม.) | ||
เขตเมือง | ||||||
เขตควานเฉิง | 宽城区 | Kuānchéng Qū | 855,159 | 238 | ||
เขตเฉาหยาง | 朝阳区 | Cháoyáng Qū | 1,007,870 | 237 | ||
เขตลู่ยเหฺวียน | 绿园区 | Lùyuán Qū | 1.002,672 | 216 | ||
เขตหนานกวาน | 南关区 | Nánguān Qū | 1,123,779 | 81 | ||
เขตเอ้อร์เต้า | 二道区 | Èrdào Qū | 809,390 | 452 | ||
ชานเมือง | ||||||
เขตจิ่วไท่ | 九台区 | Jiǔtái Qū | 700,606 | 3,375 | ||
เขตชฺวางหยาง | 双阳区 | Shuāngyáng Qū | 400,933 | 1,677 | ||
เมืองบริวาร | ||||||
นครเต๋อฮุ่ย | 德惠市 | Déhuì Shì | 949,786 | 3,435 | ||
นครยหฺวีชู่ | 榆树市 | Yúshù Shì | 1,266,969 | 4,712 | ||
ชนบท | ||||||
อำเภอหนงอาน | 农安县 | Nóng'ān Xiàn | 1,149,680 | 5,400 |
ข้อมูลจากการสำมะโนประชากรครั้งที่หกเมื่อ พ.ศ. 2553 ฉางชุนมีประชากร 7.677 ล้านคน[14] อัตราการเกิดอยู่ที่ 6.08 คนต่อประชากร 1,000 คน และอัตราการตายอยู่ที่ 5.51 คนต่อประชากร 1,000 คน ประชากรในเขตเมือง (ควานเฉิง เฉาหยาง ลู่ยเหฺวียน หนานกวาน และเอ้อร์เต้า) มีจำนวน 3.53 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 46 สัดส่วนประชากรเพศชายต่อเพศหญิงเป็น 1.021:1[14]
เศรษฐกิจ
แก้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของฉางชุนใน พ.ศ. 2553 อยู่ที่ 332.9 พันล้านเหรินหมินปี้[4]
อุตสาหกรรมสำคัญของฉางชุนได้แก่รถยนต์ ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ยา อิเล็กทรอนิกส์ วัสดุก่อสร้าง และพลังงาน[7] เครือ FAW (First Automotive Works) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนตั้งอยู่ในฉางชุน โดยโรงงานผลิตเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2496[15] และการผลิตเริ่มต้นใน พ.ศ. 2499[16] เครือ FAW ผลิตรถยนต์หลายยี่ห้อในประเทศจีน รวมทั้งรถยนต์หรู "หงฉี" และยังร่วมกับบริษัทรถยนต์จากต่างประเทศได้แก่อาวดี้ ฟ็อลคส์วาเกิน และโตโยต้า อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในฉางชุนทำให้ฉางชุนมีฉายาว่า "ดีทรอยต์เมืองจีน"[9]
การศึกษาและวัฒนธรรม
แก้สถาบันอุดมศึกษา
แก้ฉางชุนมีสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 27 แห่ง โดยสถาบันที่สำคัญได้แก่มหาวิทยาลัยจี๋หลินและมหาวิทยาลัยครูแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[17]
กีฬา
แก้สโมสรกีฬาที่สำคัญในฉางชุนได้แก่สโมสรฟุตบอลฉางชุนย่าไท่ซึ่งแข่งขันในไชนีสซูเปอร์ลีกและเคยชนะเลิศในฤดูกาล 2550 และสโมสรบาสเกตบอลจี๋หลินนอร์ทอีสต์ไทเกอร์ซึ่งแข่งขันในสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศจีน นอกจากนี้ ฉางชุนยังเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2007
บุคคลสำคัญจากฉางชุน
แก้- หลิว เสี่ยวโป ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำ พ.ศ. 2553 จากการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศจีนโดยปราศจากความรุนแรง
- เออิจิ เนงิชิ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำ พ.ศ. 2553 (ร่วมกับริชาร์ด เฮ็กและอากิระ ซูซูกิ) จากแนวคิดการใช้สารประกอบแพลเลเดียมเพื่อเร่งปฏิกิริยาการควบแน่นเพื่อสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์
ความสัมพันธ์เมืองพี่น้อง
แก้ฉางชุนได้สถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่น้องกับเมืองต่าง ๆ ดังนี้ (ปีที่เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ระบุในวงเล็บ)[18][19][20][21][22][23]
- ช็องจิน จังหวัดฮัมกย็องเหนือ ประเทศเกาหลีเหนือ (พ.ศ. 2545)
- เซแก็ซแฟเฮร์วาร์ ประเทศฮังการี (พ.ศ. 2553)
- เซ็นได จังหวัดมิยางิ ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2523)
- ฌิลินา ประเทศสโลวาเกีย (พ.ศ. 2535)
- ติฆัวนา รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย ประเทศเม็กซิโก (พ.ศ. 2556)
- นอวีซาด ประเทศเซอร์เบีย (พ.ศ. 2524)
- เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2526)
- ปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย (พ.ศ. 2554)
- ปลอฟดิฟ ประเทศบัลแกเรีย (พ.ศ. 2553)
- ม็องเทรย จังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี ประเทศฝรั่งเศส (พ.ศ. 2551)
- มอรา ประเทศสวีเดน (พ.ศ. 2548)
- มาสเตอร์ตัน ประเทศนิวซีแลนด์ (พ.ศ. 2538)
- มินสค์ ประเทศเบลารุส (พ.ศ. 2535)
- ลิตเทิลร็อก รัฐอาร์คันซอ สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2537)
- วอร์นามบูล รัฐวิกทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย (พ.ศ. 2555)
- ว็อลฟส์บวร์ค รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี (พ.ศ. 2549)
- วินด์เซอร์ รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา (พ.ศ. 2535)
- อุลซัน ประเทศเกาหลีใต้ (พ.ศ. 2537)
- อูลาน-อูเด สาธารณรัฐบูเรียตียา ประเทศรัสเซีย (พ.ศ. 2543)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Geographic Location". Changchun Municipal Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 4 July 2008.
- ↑ 2.0 2.1 Cox, Wendell (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2018.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "Archived copy" 2010年长春市国民经济和社会发展统计公报 [Statistics Communique on National Economy and Social Development of Changchun, 2010] (ภาษาจีน). 5 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2011. สืบค้นเมื่อ 17 February 2012.
{{cite news}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Illuminating China's Provinces, Municipalities and Autonomous Regions-Jilin". PRC Central Government Official Website. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ "中央机构编制委员会印发《关于副省级市若干问题的意见》的通知. 中编发[1995]5号" (ภาษาจีน). 豆丁网. 1995-02-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2014. สืบค้นเมื่อ 28 May 2014.
- ↑ 7.0 7.1 "Changchun (Jilin) City Information". HKTDC Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ Macleod, Alick (July 2014). "The Automobile Industry in China" (PDF). geography.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 15 November 2019.
- ↑ 9.0 9.1 "Spacing: Understanding the Urban Landscape". SpacingToronto. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2010. สืบค้นเมื่อ 14 October 2010.
- ↑ 10.0 10.1 长春城市介绍 [Archived copy]. Weather China (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2014. สืบค้นเมื่อ 17 October 2014.
- ↑ "China Meteorological Administration". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 24 December 2018.
- ↑ 中国气象数据网 - WeatherBk Data [Archived copy]. China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-11-09.
- ↑ d.o.o, Yu Media Group (August 2010). "Changchun, China - Detailed climate information and monthly weather forecast". Weather Atlas. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.
- ↑ 14.0 14.1 "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census" (ภาษาจีน). National Bureau of Statistics of China. 20 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2012. สืบค้นเมื่อ 28 May 2014.
- ↑ FAW Group Steps up Global Expansion FAW Official Site, Mar 27, 2007 เก็บถาวร 19 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ About FAW > Key Events FAW Official Site เก็บถาวร 4 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Society". Changchun Municipal Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2012. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
- ↑ "Sister Cities". Changchun Municipal People's Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2015. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
- ↑ "Twin towns and Sister cities of Minsk [via WaybackMachine.com]" (ภาษารัสเซีย). The department of protocol and international relations of Minsk City Executive Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-07-21.
- ↑ Bozsoki, Agnes. "Partnervárosok Névsora Partner és Testvérvárosok Névsora" [Partner and Twin Cities List]. City of Székesfehérvár (ภาษาฮังการี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-08. สืบค้นเมื่อ 2013-08-05.
- ↑ "Sister Cities". Warrnambool City Council.
- ↑ "Žilina – oficiálne stránky mesta: Partnerské mestá Žiliny [Žilina: Official Partner Cities]". © 2008 MaM Multimedia, s.r.o.. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-12-11.
- ↑ "Our Sister Cities". Sister Cities New Zealand. click List all