เอเชียนเกมส์ 1998
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เอเชียนเกมส์ 1998 เป็นการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 41 ประเทศ และมีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 36 ชนิด โดยสนามแข่งขันที่ใช้เป็นหลัก คือ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต, ศูนย์กีฬาหัวหมาก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และศูนย์กีฬาเมืองทองธานี รวมถึงสนามกีฬาอื่น ๆ คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
เมืองเจ้าภาพ | กรุงเทพมหานคร |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
คำขวัญ | มิตรภาพไร้พรมแดน (Friendship Beyond Frontiers) |
ประเทศเข้าร่วม | 41 ประเทศ |
นักกีฬาเข้าร่วม | 6,554 คน |
กีฬา | 36 ชนิดกีฬา |
ชนิด | 377 ประเภท |
พิธีเปิด | 6 ธันวาคม 2541 |
พิธีปิด | 20 ธันวาคม 2541 |
ประธานพิธีเปิด | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย |
ประธานพิธีปิด | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร |
นักกีฬาปฏิญาณ | ปรีดา จุลละมณฑล |
ผู้ตัดสินปฏิญาณ | ทรงศักดิ์ เจริญพงษ์ |
ผู้จุดคบเพลิง | สมรักษ์ คำสิงห์ |
สนามกีฬาหลัก | สนามราชมังคลากีฬาสถาน |
เว็บไซต์ทางการ | asiangames.th |
แมสคอตของการแข่งขันครั้งนี้ คือ ช้าง ไชโย และมีคำขวัญว่า Friendship beyond Frontiers หรือ มิตรภาพไร้พรมแดน[1][2]
การคัดเลือกเจ้าภาพ
แก้คณะกรรมการบริหารสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2533 ณ โรงแรมปักกิ่ง พาเลซทาวเวอร์ และมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้บรรจุวาระการประชุมเลือกประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ในการประชุมใหญ่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียในวันรุ่งขึ้น โดยมีประเทศที่เสนอขอสมัครเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งนี้รวม 3 ประเทศ คือ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, กรุงไทเป ไต้หวัน
การประชุมใหญ่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 37 ประเทศ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 ณ โรงแรมปักกิ่ง โดยให้ผู้แทนของประเทศที่เสนอขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบรรยายเสนอผลงานการเตรียมตัวรับเป็นเจ้าภาพ (Presentation) ตามลำดับพร้อมทั้งตอบข้อซักถามของผู้แทนประเทศสมาชิกต่าง ๆ จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้มีการลงคะแนนลับเพื่อเลือกประเทศเจ้าภาพต่อไป
เมืองที่ผ่านการคัดเลือก
แก้ผลการลงคะแนนเลือกประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ปรากฏดังนี้ [3]
การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพ เอเชียนเกมส์ 1998 | ||
---|---|---|
เมือง | ประเทศ | คะแนน |
กรุงเทพมหานคร | ไทย | 20 |
ไทเป | จีนไทเป | 10 |
จาการ์ตา | อินโดนีเซีย | 7 |
ที่ประชุมจึงมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ต่อจากเมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ได้จัดกีฬาเอเชียนเกมส์มากที่สุดถึง 4 ครั้ง คือ เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ,เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 ,เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 และเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
แก้เมือง | ประเทศ | คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | ไทย | คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (COC) | ชนะเลิศ |
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 23 และ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 มีมติอนุมัติในหลักการให้กำหนดเป็นนโยบายบันได 3 ขั้น สู่การพัฒนากีฬาของชาติ โดยให้ประเทศไทยรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา 3 ระดับ ได้แก่ ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ และมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทย เสนอตัวรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ต่อสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการที่ประเทศไทยขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 แล้ว คณะทำงานทุกท่านช่วยกันอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ การกีฬาแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มีการประชุมวางแผนมาเป็นระยะ ๆ และได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ เพื่อนำไปมอบให้ผู้แทนชาติต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมและที่สำคัญคณะทำงานได้จัดทำวีดิทัศน์ที่แสดงถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อประกอบการบรรยายเสนอขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 |
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ
แก้ปี 2537 สุขวิช รังสิตพลในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ผลักดันให้จัดทำสปอร์ตคอมเพล็กซ์ในที่ขององค์การรถไฟฟ้ามหานครเพื่อจะได้ย้ายชุมชนคลองเตยมาอยู่ฟรี หลังการจัดการแข่งขันแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเเละพลตรีจำลอง ศรีเมือง รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีแทน[4]
ปี2539-2540 สุขวิช รังสิตพล ผู้คิดคำขวัญ มิตรภาพไร้พรมแดน (Friendship Beyond Frontier) ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ปรับปรุง ราชมังคลากีฬาสถาน และ มอบงบประมาณส่วนที่เหลือจากสัมปทานให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการสปอร์ตคอมเพล็กซ์[5]
รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการอำนวยการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 อย่างเป็นทางการเพื่อเตรียมการรองรับการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยมี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมกับได้แต่งตั้งคณะกรรมการออกเป็น 6 สาขา เพื่อดำเนินงานเร่งด่วนในการก่อสร้างสนามรวมทั้งหมู่บ้านนักกีฬาเพื่อรองรับการจัดการแข่งขัน ได้แก่
|
|
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ขึ้นใหม่ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมี นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันฯ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ เป็น 9 ฝ่าย ภายใต้การดูแลของสำนักเลขาธิการ ได้แก่
|
|
|
สนามแข่งขัน
แก้จังหวัด | สนามแข่งขัน[6][7] | กีฬาที่แข่ง |
---|---|---|
สนามกีฬาหลัก | ||
กรุงเทพมหานคร | การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก | |
ราชมังคลากีฬาสถาน | พิธีเปิดและพิธีปิด, ฟุตบอล | |
อินดอร์ สเตเดียม | เซปักตะกร้อ | |
อาคารเวลโลโดรม | จักรยานประเภทลู่ | |
สนามยิงปืน | ยิงปืน | |
ลานยิงเป้าบิน | ยิงเป้าบิน | |
นนทบุรี | เมืองทองธานี | |
อิมแพ็ค อารีน่า | มวยสากล | |
อิมแพ็ค ฮอลล์ 1-5 | บิลเลียดและสนุกเกอร์, ยิมนาสติก, วอลเลย์บอล | |
ธันเดอร์โดม | ยกน้ำหนัก | |
ธันเดอร์โดมสเตเดียม | รักบี้ | |
คอร์ตเทนนิส | เทนนิส | |
ปทุมธานี | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต | |
สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต | กรีฑา, ฟุตบอล | |
ยิมเนเซียม 1 | บาสเกตบอล, ยูโด, มวยปล้ำ | |
ยิมเนเซียม 2 | แบดมินตัน | |
ยิมเนเซียม 3 | แฮนด์บอล | |
ยิมเนเซียม 4 | ฟันดาบ | |
ยิมเนเซียม 5 | เทเบิลเทนนิส | |
ยิมเนเซียม 6 | วูซู | |
ยิมเนเซียม 7 | คาราเต้, เทควันโด | |
คอร์ตเทนนิส | ซอฟท์เทนนิส | |
ลาน 1 | ยิงธนู | |
ลาน 2 | ซอฟต์บอล | |
ศูนย์กีฬาทางน้ำ | กีฬาทางน้ำ | |
สนามกีฬาอื่น | ||
กรุงเทพมหานคร | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน | ฮอกกี้ |
พี.เอส.โบว์ลิ่ง บางกะปิ เดอะมอลล์ บางกะปิ | โบว์ลิ่ง | |
สนามศุภชลาศัย | ฟุตบอล | |
สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง | ฟุตบอล | |
สนามกีฬาธูปะเตมีย์ | ฟุตบอล | |
สนามกีฬากองทัพบก | รักบี้ | |
ปทุมธานี | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา | เบสบอล, ฮอกกี้ |
อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ | กอล์ฟ | |
นครนายก | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ | แฮนด์บอล, ซอฟต์บอล, กาบัดดี้ |
สระบุรี | ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร | ขี่ม้า |
สุพรรณบุรี | สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี | ฟุตบอล |
โรงยิมเนเซี่ยม สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี | บาสเกตบอล | |
นครสวรรค์ | สนามกีฬากลางจังหวัดนครสวรรค์ | ฟุตบอล |
เชียงใหม่ | สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี | ฟุตบอล |
นครราชสีมา | อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ | จักรยานเสือภูเขา |
ถนนพหลโยธิน | จักรยานถนน | |
ศรีสะเกษ | สนามศรีนครลำดวน | ฟุตบอล |
ชลบุรี | โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน | สควอช |
อ่าวดงตาล | เรือใบ | |
หาดจอมเทียน | วอลเลย์บอลชายหาด | |
อ่างเก็บน้ำมาบประชัน | เรือแคนู, เรือพาย | |
สงขลา | สนามกีฬาติณสูลานนท์ | ฟุตบอล |
โรงยิมเนเซียมสุวรรณวงศ์ | เซปักตะกร้อ | |
ตรัง | สนามกีฬากลางจังหวัดตรัง | ฟุตบอล |
โรงยิมเนเซี่ยม สนามกีฬากลางจังหวัดตรัง | เซปักตะกร้อ | |
สุราษฎร์ธานี | สนามกีฬากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี | ฟุตบอล |
สถานที่ที่ไม่ใช่การแข่งขัน
แก้จังหวัด | สถานที่ | รายการ |
---|---|---|
นนทบุรี | เมืองทองธานี | ศูนย์สื่อมวลชน (MPC) |
ปทุมธานี | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต | ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (IBC) |
หมู่บ้านนักกีฬา |
การแข่งขัน
แก้การจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 คณะกรรมการได้กำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินการจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน โดยต้องแสดงออกถึงการถ่ายทอดปรัชญา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นไทย การดำเนินวิถีชีวิตของชนชาติไทย วิวัฒนาการสู่อนาคตของคนไทย โดยบ่งบอกถึงการแสดงออกซึ่งความเป็นชาวเอเชีย ความเป็นสากลทางการกีฬา โดยให้สอดคล้องกับคำขวัญของการแข่งขันครั้งนี้ คือ "มิตรภาพไร้พรมแดน Friendship Beyond Frontiers" อีกทั้งดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมนูญของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ภายในเวลาที่กำหนดไว้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง
คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้คัดเลือก บริษัท เจ เอส แอล จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน โดยพิจารณาจากการนำเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ ความเป็นสากลในรูปแบบการแสดง การใช้เทคนิคพิเศษ แสง สี เสียง ศักยภาพของบริษัท ตลอดจนแม่บทในการดำเนินงาน
จุดประสงค์และประเด็นหลักของการจัดพิธีเปิด-ปิดครั้งนี้ คือ แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของเอเชีย ถ่ายทอดความเป็นไทย ความเป็นสากลทางการกีฬา ศักยภาพและมาตรฐานในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติของประเทศไทย โดยจัดให้มีความยิ่งใหญ่ตระการตา โดยเน้นความประหยัด และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้สอดคล้องต่อปีแห่งการท่องเที่ยว Amazing Thailand
ต่อมา คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้มีมติให้ บริษัท เจ เอส แอล จำกัด ปรับลดเวลาในการจัดแสดงพิธีเปิดและพิธีปิดให้กระชับลงกว่าเดิม พิธีเปิดจากเดิมใช้เวลา 3 ชั่วโมงให้คงเหลือ 2 ชั่วโมงครึ่ง และพิธีปิดจากเดิมใช้เวลา 3 ชัวโมงครึ่ง ให้คงเหลือ 2 ชั่วโมง เพื่อให้มีช่วงเวลาเหมาะสมเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดและทอดพระเนตรการแสดง ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน
ในครั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพได้ประมวลภาพหมู่ประเทศสมาชิกมาเป็นสัญลักษณ์ อันจะเสนอให้โลกรับรู้ได้ถึง "SPIRIT OF ASIA" หรือ "จิตวิญญาณแห่งบูรพา" โดยทำให้ภาพกระจ่างชัด ด้วยการแบ่งออกเป็น 4 ช่วง และมีความหมายโดยนัยอีกหนึ่งระดับ คือ
- "ดวงตะวัน" (สีแดง) แทนกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออก มีความหมายโดยนัย คือ ความเข้มแข็งและยังอาจหมายถึงเพศชาย
- "จันทรา" (สีเหลือง) แทนกลุ่มประเทศแถบเอเชียใต้ตอนกลาง มีความหมายโดยนัย คือ ความนุ่มนวลอ่อนโยนและยังอาจหมายถึงเพศหญิง
- "ดารา" (สีฟ้า) แทนกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันตก มีความหมายโดยนัย คือ ประชาคมหรือการอยู่ร่วมกันเป็นสัมพันธ์บริสุทธิ์ของทารก เด็กและเยาวชน
- "มหากุมุท" (สีขาว) แทนกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความหมายโดยนัย คือ สันติสุข หรือความรู้แจ้ง
พิธีเปิด
แก้พิธีเปิดราชมังคลากีฬาสถานและพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยเสด็จด้วย การจุดไฟในกระถางคบเพลิงเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2541 นักวิ่งคบเพลิงมอบให้ สมรักษ์ คำสิงห์นำไปจุดไฟที่บุษบก ก่อนที่ไฟในบุษบกจะพุ่งไฟไฟใส่กระถางคบเพลิง ระหว่างนั้นชาวพนักงานรัวเปิงและประโครมสังข์คั่นไปด้วย
ด้วยความคิดรวบยอดและสัญลักษณ์สำคัญดังกล่าว จึงจัดการแสดงพิธีเปิดและพิธีปิดร่วมกันด้วยเรื่องราวของจิตวิญญาณแห่งบูรพาอันเป็นเอกภาพ โดยแบ่งการแสดงพิธี้ปิดออกเป็น 2 องก์ และการแสดงพิธีปิดอีก 2 องก์ ในระหว่างแต่ละองก์นั้น จะประกอบด้วยหัวใจของงาน คือ พิธีการ OCA ซึ่งถือเอาพิธีการจุดและดับคบเพลิงเป็นจุดเด่น สำหรับพิธีเปิดนั้น แม้พิธีการ OCA และการจุดคบเพลิงจะเป็นทางการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว บรรยากาศของการแสดงทุกชุดก็จะจัดออกมาเสริมสร้างให้เกิดความสง่างามยิ่งขึ้น เป็นความตระการตาที่สมบูรณ์ด้วยเนื้อหา ที่ต้องจารึกอยู่ในความทรงจำอันประกอบด้วย 2 องก์ คือ
องก์ที่ 1 สวัสดีบูรพา เป็นการแสดงภาคกลางวัน มีการแสดง 3 ชุด คือ รุ่งอรุโณทัย สหพันธไมตรี สวัสดีไชโย เมื่อเข้าสู่พิธีการ OCA จนกระทั่งเสร็จสิ้น
องก์ที่ 2 คีตบูรพา เป็นการแสดงภาคกลางคืน มีการแสดง 3 ชุด คือ ทวยเทพปิติอำนวยชัย จิตวิญญาณบูรพา คีตภารดร
เริ่มด้วยด้วยการโหมโรง ชุด THE COLLECTION OF HIS MAJESTY KING BHUMIBOL ADULYADEJ การแสดงชุดแรกขององก์ที่ 1 รุ่งอรุโณทัย ด้วยเหตุที่ภุมิภาคตะวันออกเป็นหมู่มวลประชาชาติที่เห็นดวงตะวันก่อน จึงเริ่มด้วยภาพพระอาทิตย์ฉายแสง เมื่อพระอาทิตย์ฉายแสง ย่อมก่อให้เกิด ชีวิตบุปผชาติ เบ่งบายสะพรั่งหลายสีหลากพันธุ์ทั่วพื้นภูมิภาค จากนั้นจึงกำเนิดอารยธรรมอันรุ่งเรือง ผิดแผกแตกต่างกันไปผูกเป็นสายสัมพันธ์อันปีติปราดมทย์ในการแสดงชุด สหพันธไมตรี ด้วยการแสดงชุด สวัสดีไชโย เปฌนการต้อนรับเข้าสู่พิธีการ OCA และการจุดคบเพลิง จากนั้นจึงเริ่มภาคกลางคืนด้วยการแสดงขององก์ที่ 2 คือ ทวยเทพปีติอำนวยชัย เป็นยามราตรีอันบรรเจิดพิสดาร เมื่อเหล่าทวยเทพทั้งหลายทุกถ้วนเทวฤทธิ์ร่วมฉลองชัย ทำให้มนุษย์โลกหรรษาต่างยินดีปรีดาด้วยศรัทธาในการอยู่ร่วมกันโดยไมตรีจิตมิตรภาพในการแสดงชุด จิตวิญญาณแห่งบูรพา ทั้งนี้ด้วยการร้องรำทำเพลงเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร ต่อด้วยความมุ่งหวังในสายสัมพันธ์อันสันติสุขที่มีกีฬาเป็นสื่อนั้น โดยการแสดงชุด คีตภารดร
ชุดการแสดงในพิธีเปิด | เวลา |
รุ่งอรุโณทัย | 7 นาที |
สหพันธ์ไมตรี | 8 นาที |
สวัสดีไชโย | 9 นาที |
เฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ตราธิราชเจ้า | 5 นาที |
พิธีการ OCA | 1 ชั่วโมง 20 นาที |
ทวยเทพปิติอำนวยชัย | 13 นาที |
จิตวิญญาณบูรพา | 11 นาที |
คีตภราดร | 12 นาที |
พลุและดอกไม้ไฟ | 5 นาที |
รวมเวลาการแสดง | 2 ชั่วโมง 30 นาที |
พิธีปิด
แก้พิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร(พระยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล(พระยศในขณะนั้น) โดยเสด็จด้วย[8]
ชนิดกีฬา
แก้กีฬาที่แข่งขันในเอเชียนเกมส์ 1998 |
---|
|
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
แก้คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน |
---|
|
สรุปเหรียญการแข่งขัน
แก้ด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ โดยแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
* เจ้าภาพ (ไทย)
ลำดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | จีน (CHN) | 129 | 78 | 67 | 274 |
2 | เกาหลีใต้ (KOR) | 65 | 46 | 53 | 164 |
3 | ญี่ปุ่น (JPN) | 52 | 61 | 68 | 181 |
4 | ไทย (THA)* | 24 | 26 | 40 | 90 |
5 | คาซัคสถาน (KAZ) | 24 | 24 | 30 | 78 |
6 | จีนไทเป (TPE) | 19 | 17 | 41 | 77 |
7 | อิหร่าน (IRI) | 10 | 11 | 13 | 34 |
8 | เกาหลีเหนือ (PRK) | 7 | 14 | 12 | 33 |
9 | อินเดีย (IND) | 7 | 11 | 17 | 35 |
10 | อุซเบกิสถาน (UZB) | 6 | 22 | 12 | 40 |
11–33 | Remaining | 35 | 70 | 114 | 219 |
รวม (33 ประเทศ) | 378 | 380 | 467 | 1225 |
การตลาด
แก้สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน
แก้- สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ได้มาจากการประกวดที่จัดโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการอำนวยการแข่งขันฯ ซึ่งมีภาพส่งเข้าประกวดจากทั่วประเทศทั้งหมด 181 ภาพ ภาพที่ได้รับคัดเลือกเป็นผลงานของ นางสาวตรึงใจ ตั้งสกุล นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยนำเอาตัวอักษร "A" ในภาษาอังกฤษ ที่หมายถึงทวีปเอเชียมาประยุกต์เป็นรูปองค์พระมหาเจย์ดีสีทองที่ใช้เก็บพระบรมสารีริกธาตุ สิ่งสำคัญสูงสุดของศาสนาพุทธ ซึ่งอักษรตัว "A" อยู่ภายใต้หลังคาทรงไทย มีความบ่งบอกถึงชาวเอเชีย (Asia) และนักกีฬา (Athlete) ที่มาร่วมการแข่งขันทุกชาติ จะได้รับความอบอุ่นด้วยมิตรไมตรีของประเทศไทยในฐานะเจ้าบ้าน สำหรับรูปดวงอาทิตย์สีแดงเปล่งรัศมีเป็นเปลว 16 แฉก ที่อยู่เหนือสัญลักษณ์ฯ นั้น คือ สัญลักษณ์ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ที่หมายถึง ความรอบรู้ พลังของนักกีฬาที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
- สัญลักษณ์ Bangkok 1998
สัญลักษณ์ Bangkok 1998 เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักทางกราฟิกที่มีบทบาทอย่างสูงต่อการกำหนดเอกลักษณ์ของการแข่งขันที่สาขาศิลปกรรมและการออกแบบเพิ่มเติมขึ้นมาในระบบ เพื่อช่วยให้การสร้างภาพลักษณ์ของการแข่งขัน มีความเด่นชัด เป็นสากล มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและเพิ่มสุนทรียภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยในด้านของการประชาสัมพันธ์ชื่อของเมืองที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันให้เป็นที่ปรากฏ
สัญลักษณ์นี้มีการนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ค่อนข้างมาก เช่น การตกแต่งศูนย์กีฬาและสนามแข่งขัน การจัดทำวัสดุสิ่งพิมพ์เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เอกสารที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นต้น
- สัญลักษณ์กีฬา
สัญลักษณ์กีฬา เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักทางกราฟิกที่มีบทบาทอย่างสูงต่อการกำหนดเอกลักษณ์ของการแข่งขันที่สาขาศิลปกรรมและการออกแบบเพิ่มเติมขึ้นมาในระบบ เพื่อช่วยให้การสร้างภาพลักษณ์ของการแข่งขันมีความเด่นชัด เป็นสากล มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และเพิ่มสุนทรียภาพแก่การแข่งขัน สัญลักษณ์ที่ออกแบบในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 42 ชนิดกีฬา โดยแบ่งเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มชนิดกีฬาหลักจำนวน 36 ชนิด
- กลุ่มประเภทกีฬาในกลุ่มชนิดกีฬาหลักจำนวน 4 ประเภทกีฬา
- กลุ่มชนิดกีฬาสาธิตจำนวน 2 ชนิดกีฬา
- ลายจักสาน
ลายจักสาน เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 โดยกำหนดให้ใช้ประกอบในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หรือโฆษณาการแข่งขัน โดยสื่อความหมายถึงความเป็นเอกภาพในดินแดนเอเชียและสะท้อนคุณค่าถึงมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นประเทศใดเพราะลายจักสานเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของประเทศส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ ลายจักสานยังถือเป็นสัญลักษณ์ของงานหัตถศิลป์ของชนชาติตะวันออกที่สืบสานกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานนับแต่อดีตกาล ลวดลายของเส้นสายที่สอดประสานกันนั้น เป็นวิถีที่คุ้นเคยและอบอุ่นของชาวเอเชีย สื่อความหมายถึงคำกล่าวต้อนรับชนทุกชาติ และพลังแห่งเอเชียในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ทั้งยังมีนัยสำคัญ คือ เป็นการสอดประสาน ถักทอหรือรวมเข้าด้วยกัน สื่อความหมายถึงความร่วมมือกัน ความสมัครสมาน ความสามัคคี
คำขวัญ
แก้"มิตรภาพไร้พรมแดน" หรือ "Friendship Beyond Frontiers" คำขวัญประจำการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เป็นวลีที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ที่สนับสนุนและส่งเสริม "ปรัชญาของการแข่งขันกีฬา" อย่างชัดเจนที่สุด หัวใจของปรัชญากีฬา คือ การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี มีน้ำใจ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภาพรวมของมิตรภาพ ซึ่งจเไม่มีอุปสรรคใด ๆ มาขวางกั้น ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ต่างกัน ฯลฯ เมื่อทุกคนเข้าสู่เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ทุกคนจะถูกหล่อหลอมให้เข้าสู่แนวร่วมเดียวกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในที่สุด โดยคำขวัญนี้เป็นแนวความคิดของ สุขวิช รังสิตพล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13
มาสคอต
แก้หลังจากประเทศสมาชิกสภาโอลิมปิกแห่งเอเซีย 43 ชาติ มีมติให้เกียรติประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ จึงมีมติเห็นชอบให้ใช้ช้าง เป็นมาสคอต หรือ สัตว์นำโชคของการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เนื่องจากช้างเป็นสัญลักษณ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยมาแต่โบราณ ทั้งยังเป็นสัตว์ที่แข็งแรง มีความเฉลียวฉลาด
สำหรับผู้ออกแบบนั้น สำนักเลขาธิการได้มอบหมายให้นายอรรณพ กิตติชัยวรรณ หรือ แอ้ด มติชน นักวาดการ์ตูนชื่อดังของหนังสือพิมพ์มติชน เป็นผู้วาดภาพช้าง และเพื่อให้เกิดภาพสัญลักษณ์ที่สมบูรณ์พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการประกวดตั้งชื่อช้างนำโชคดังกล่าว ปรากฏว่ามีผู้สนใจจากทั่วประเทศ 538 คน ตั้งชื่ส่งเข้าประกวด และมีการตัดสินในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมี นายปัจจัย บุนนาค เป็นประธานผู้ตัดสิน ผลการตัดสินให้ใช้ชื่อช้างนำโชคว่า "ช้างไชโย" ซึงเมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายถึงความแข็งแรง ความฉลาด ความสุขและความสนุกสนาน
เพลงประจำการแข่งขัน
แก้เพลงหลักประจำการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 มีทั้งสิ้น 4 เพลง ได้แก่
- เพลง บิน เพลงนี้จัดทำขึ้น 2 ภาษา คือ รูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รูปแบบภาษาไทย ประพันธ์คำร้องและทำนองโดยชัยรัตน์ วงศ์เกียรติขจร เรียบเรียงเสียงประสานโดยอุกฤษณ์ พลางกูร ขับร้องโดยชัชชัย สุขาวดี รูปแแบบภาษาอังกฤษ ใช้ชื่อว่า เพลง FLY ขับร้องโดยฉันทนา กิติยาพันธ์
- เพลง ช้างไชโย ประพันธ์คำร้องโดยอภิชาติ ดำดี เรียบเรียงเสียงประสานโดยบรูซ แกสตัน และ สุริยา เดชบุญพบ ขับร้องโดยอาภาพร นครสวรรค์
- เพลง แชมเปี้ยนเอเชียนเกมส์ เพลงนี้จัดทำขึ้น 2 ภาษา คือ รูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รูปแบบภาษาไทย ประพันธ์คำร้องและทำนองและเรียบเรียงโดยยืนยง โอภากุล เรียบเรียงดนตรีไทยโดยบรูซ แกสตัน ขับร้องโดยยืนยง โอภากุล
- เพลง Asian Games In 98 ประพันธ์คำร้องและทำนองโดยบรูซ แกสตัน
ผู้ให้การสนับสนุน
แก้การถ่ายทอดสด
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Past Asian Games - Bangkok 1998 Asian Games". OCA. beijing2008.cn (official website of 2008 Beijing Olympics). November 22, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-30. สืบค้นเมื่อ May 26, 2011.
- ↑ "13th Asian Games Bangkok 1998 - Chai-Yo". GAGOC. gz2010.cn (official website of 2010 Asian Games). April 27, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-28. สืบค้นเมื่อ May 26, 2011.
- ↑ คณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13. รายงานการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร:
- ↑ https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/MainGroup/2537(1-19)/18-2537(%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AF).PDF[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.rangsun.econ.tu.ac.th/data/06/03-41/12-03-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C.pdf
- ↑ "Sadec Asiad 1998 venues". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-20. สืบค้นเมื่อ 2017-10-17.
- ↑ "Thailand's King Bhumibol Adulyadej ('BOOM-ee-pon Ah-doon-ya-det') formally opened the..." upi.com. 6 December 1998.
- ↑ "part 8 Opening Ceremony Asian Game 1998(bangkok)". YouTube.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เอเชียนเกมส์ 1998 จากเว็บสยามกีฬา
- เพลงประกอบการแข่งขัน เก็บถาวร 2007-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วิดีโอคลิปพิธีเปิดการแข่งขัน
ก่อนหน้า | เอเชียนเกมส์ 1998 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เอเชียนเกมส์ 1994 (ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น) |
การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (6 - 20 ธันวาคม ค.ศ. 1998) |
เอเชียนเกมส์ 2002 (ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้) |